วันนี้มานำเสนอต่อจากครั้งที่แล้ว....
"สุสานแห่งกษัตริย์อูร์" คือคำที่เซอร์วูลลีย์ใช้เรียกสิ่งที่เขาขุดพบขึ้นมา
อันเนื่องมาจากความปิติยินดีกับการได้ขุดพบหลุมศพของเจ้าขุนมูลนายแห่งสุเมเรียน
ซึ่งมีความสง่างามและยิ่งใหญ่สมฐานะ
สิ่งเหล่านี้ได้ถูกขุดค้นบริเวณเนินโบราณที่มีความสูง 50 ฟุต
โดยพบว่ามีการซ้อนทับกันของสุสานเป็นชั้นๆ ในแนวยาว
ภายในหีบเก็บศพได้พบสิ่งของมีค่ามากมาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแก้ว จาน ชามทอง
สำริด ไข่มุกเม็ดใหญ่ อัญมณี และโลหะเงินรอบๆ โครงกระดูก
"เกือบทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเมื่อนานมาแล้ว" คือบันทึกต่อมาที่เขาเขียนไว้ในสมุดบันทึก
"แล้วการค้นพบต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ตอบข้อสงสัยของเรา มีการค้นพบศิลาจารึกจำนวนมาก
ในชั้นเถ้าถ่านซึ่งอยู่ใต้พื้นของสุสานกษัตริย์องค์หนึ่ง มีความเก่าแก่กว่าคำจารึกบนหลุมฝังศพ
วินิจฉัยโดยกองพิสูจน์อักษร คาดว่าศิลาจารึกเหล่านี้ถูกระบุไว้ประมาณ 3000 ปีก่อนคริสตกาล
นั่นคือ 2-3 ร้อยปีก่อนสุสานแห่งนี้"
เมื่ออุโมงค์ถูกขุดให้ลึกลงอีกชั้นดินใหม่ที่เกิดขึ้นก็เต็มไปด้วถ้วย ชาม กาน้ำต่างๆ
ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าเครื่องปั้นดินเผาดังกล่าวยังคงสภาพดั้งเดิมอย่างน่าประหลาดใจ
และมีลักษณะคล้ายๆ กับที่เคยพบในสุสานของกษัตริย์
พวกเขาตัดสินใจจะขุดให้ลึกลงเรื่อยๆ 3 ฟุต 6 ฟุต จนถึงชั้นดินเหนียว
ทันใดนั้น เมื่อมาถึงระยะ 10 ฟุต ชั้นดินเหนียวก็หมดลงอย่างฉับพลัน
ใต้ชั้นดินเหนียวเหล่านั้น พวกเขาได้พบหลักฐานชิ้นใหม่เกี่ยวกับมนุษย์
ลักษณะของเครื่องปั้นดินเผา และคุณภาพของมันเห็นได้ชัดว่ามีการเปลี่ยนแปลงไป
เป็นเครื่องปั้นดินเผาที่ทำด้วยมือ ไม่มีโลหะผสมอยู่ เป็นเครื่องใช้ในยุคแรกที่ทำขึ้นจากการทุบหิน
ซึ่งเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากเครื่องมือเครื่องใช้ในยุคหิน
มีเพียงอุทกภัยเท่านั้นที่สามารถอธิบายเกี่ยวกับชั้นดินเหนียวใต้เนินโบราณที่เมืองอูร์แห่งนี้
ส่วนในทะเลนั้นยังคงมีร่องรอยชัดเจนของเศษสิ่งมีชีวิตในทะเลหลงเหลืออยู่โดยจะฝังอยู่ในโคลน
(*1*)จากการวิเคราะห์ระดับจุลภาคแสดงให้เห็นว่า การทับถมของโคลนที่ใต้เนินโบราณเมืองอูร์นั้น
เป็นผลมาจากอุทกภัยครั้งใหญ่ที่ได้ทำลายล้างอารยธรรมสุเมเรียนโบราณ
เรื่องราวของนบีนุฮฺจึงได้ถูกรวบรวมไว้ภายใต้การขุดลึกลงใต้ทะเลทรายแห่งเมโสโปเตเมีย
แม็กซ์ มัลโลวาน ( Max Mallowan ) ได้บรรยายแนวคิดของลีโอนาร์ด วูลลีย์
ซึ่งได้กล่าวว่า ดินหรือทรายกองใหญ่ที่เกิดจากการทับถมของน้ำนั้นเกิดจากมหันตภัยของน้ำท่วม
นอกจากนี้ วูลลีย์ยังได้อธิบายอีกว่า ชั้นของพื้นดินที่เกิดจากการทับถมของน้ำท่วมนั้น
ได้แยกเมืองอูร์ออกจาก อัล-อุบัยด์ ( Al-Ubaid ) แห่งสุเมเรียน
ซึ่งมีการวาดลวดลายบนเครื่องปั้นดินเผา
(*2*)ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าเมืองอูร์นั้น เป็นอีกเมืองหนึ่งในบรรดาหลายๆ เมืองที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย
วอร์เนอร์ เคลเลอร์ ได้ให้ความสำคัญของการขุดค้นที่กล่าวถึงนั้น
โดยบอกว่าซากเมืองโบราณที่อยู่ใต้ชั้นดินโคลนที่ได้จากการขุดค้นในเมโสโปเตเมียนั้น
พิสูจน์ให้เห็นว่าที่แห่งนี้ได้เคยเกิดน้ำท่วมมาก่อน
(*3*)จากการุดค้นของเซอร์ลีโอนาร์ด วูลลีย์ ในที่ราบเมโสโปเตเมียนั้น
ปรากฏว่ามีชั้นดินเหนียวอยู่ในความลึก 2.5 เมตร ซึ่งมีความเป็นได้สูงว่าชั้นดินเหนียวเหล่านี้ได้ก่อตั้งขึ้น
โดยการอุ้มน้ำจากน้ำท่วมในครั้งนั้นทั้งหมด
ชั้นบนสุดที่เห็นเป็นสีเขียว นั่นคือ ที่ราบเมโสโปเตเมียชั้นต่อมาสีส้ม คือ อารยธรรมยุคหลังน้ำท่วมชั้นสีน้ำตาล คือ ชั้นโคลนชั้นล่างสุด คือ อารยธรรมยุคก่อนน้ำท่วมส่วนอีกเมืองหนึ่งที่มีร่อยรอยของน้ำท่วมก็คือ
"เมืองคิชแห่งอาณาจักรสุเมเรียน" ปัจจุบันก็คือ.................
---------------------------------------------------------------------
(*1*) เวินเนอร์ เคลเลอร์,
Und die Bible hat doch recth ( ไบเบิ้ลในฐานะประวัติศาสตร์ ; คัมภีร์แห่งคัมภีร์ ), นิวยอร์ก: วิลเลียม เมอร์โร, 1964, หน้า 25-29
(*2*) แม็ค มัลโลวาน,
คิดทบทวนอุทกภัยแห่งนุฮฺ, อิรัก: XXVI-2, 1964, หน้า70
(*3*) เวินเนอร์ เคลเลอร์,
Und die Bible hat doch recth ( ไบเบิ้ลในฐานะประวัติศาสตร์ ; คัมภีร์แห่งคัมภีร์ ), นิวยอร์ก: วิลเลียม เมอร์โร, 1964, หน้า 23-32
โปรดติดตามต่อไป...
ด้วยจิตคารวะ