ทัศนะไม่ตรงกันจะทำอย่างไรดี เช่นการทำบุญ 7 วันของคนตาย แต่เขาไม่เห็นด้วย และการที่บ้านเราจะทำบุญเมาลิด แต่เขาถือว่าสิ่งนั้นเป็นบิดอะห์ หากแต่งงาน การใช้ชีวิตร่วมกัน ต่อไปในอนาคตภรรยาก็ต้องเชื่อฟังสามี ต้องทำตามที่สามีบอกงั้นหรือ หาทางออกไม่เจอจริงๆๆค่ะ
สลามครับ.
ทรรศนะไม่ตรงทำไงดี ไม่ต้องทำไรมากมากนะเพียงแค่ศึกษาให้เข้าใจ อย่าศึกษาแค่รู้เท่านั้น แค่นี้ก็หมดปัญหาแล้ว เพราะผู้ที่เข้าใจคือผู้รู้ทั้งภายนอกภายในรู้ลึกรู้จริงในสิ่งที่บรรดานักวิชาการมีความเห็นต่างกัน เขาเรียกว่า (فقيه النفس ) หนังสือ موسوعة الفقهية
หรือผู้ที่เข้าใจคือ( الفقيه بالظواهر والبواطن ) ผู้ที่รู้ลึกรู้จริงเข้าใจจริง ส่วนคนรู้คือ (العالم بالظواهرفقط ) ผู้ที่รู้ภายนอกหรือรู้ผิวเผินเท่านั้นหนังสือเล่มนี้ว่าอย่างนี้หนังสือเล่มนั้นว่าแบบนั้นแต่ไม่รู้ว่านักวิชาการท่านอื่นๆเขาว่าอย่างไร
ดังนั้นที่เราเห็นว่ามีการถกเถียงกันบ่อยครั้งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับคนที่รู้เข้าเถียงกัน คนที่เข้าใจเขาจะไม่เถียงกันเขาจะให้เกียจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิชาการระดับมุจฮิด พวกเรานี้ก็เอาคำตอบของบรรดานักวิชาการเหล่านี้มาตอบแล้วทำไมต้องเอาเป็นเอาตายกันด้วย ดังที่ กออีเดาะห์ได้กล่าวว่า (لاإنكار في المسائل الإجتهادية) เรื่องความเห็นต่างในปัญหา อิจติฮาด จะเอาเป็นเอาตายกันไม่ได้ (หนังสือ อัล-อิฟตาอ์ ของ ดร.ยูซุฟ ก๊อรฏอวีย์) ยกเว้นบางกรณี เช่น ถ้าหลักฐานั้นมัน แวกแนว( شاذ) เป็นต้น (หนัง موسوعة فقهية )
ดังนั้นเอง ใครที่เห็นว่าทำบุญ 7 วันทำได้ซึ่งมีกล่าวไว้ในหนังสือ อิอานะห์ก็ทำไป ส่วนใครที่เห็นว่าไม่สมควรกระทำ ถ้าจะทำให้ทำแค่ 1 วัน หรือ 3 วัน ซึ่งมีหนังสือหลายเล่มได้กล่าวเอาไว้ก็ทำไป (ปัญหาก็คือ คนที่ไม่ทำ 7 วันอย่าไปกล่าวหาเขาว่าทำบิดอะห์ ส่วนคนที่ทำ 7 วันก็อย่ายึดติกับ 7 วันจนเกินไป) แค่นี้เราก็จะอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ( الإختلاف رحمة ليس بنقمة ) ความเห็นต่างของนักวิชาการ คือ ความเมตตาจากอัลลอฮ์ ซ.บ ไม่ใช่ การลงโทษจากพระองค์ (หนังสือ البيان القويم ของ เชค อาลี ญุมอัต มุฟตี อียิปต์ )