ผู้เขียน หัวข้อ: YOUTH AND MORALS:คุณธรรมนำชีวิต  (อ่าน 3887 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
YOUTH AND MORALS:คุณธรรมนำชีวิต
« เมื่อ: ต.ค. 14, 2009, 08:39 PM »
0


 salam

     ขออนุญาตนำเนื้อหาจากหนังสือเก่าๆเล่มนึงมาฝากไว้ในเวบนะคะ
เผื่อวันใดที่หนังสือเล่มนี้หายไปหรือลืมเอาไว้ที่ไหน
จะได้กลับมาทวนเนื้อหาในเวบนี้ได้
เพราะคิดว่าคงไม่มีวางขายในปัจจุบันแล้วน่ะค่ะหรือถ้ามีก็คงหายากน่าดู
เสียดายเนื้อหาค่ะ เลยกะจะพิมพ์เนื้อหาลงในเวบเพื่อเก็บเอาไว้
และอาจจะยังประโยชน์แก่ผู้ที่เข้ามาอ่านบ้างไม่มากก็น้อย
และขอใช้กระทู้นี้เพื่อแลกเปลี่ยนบทความและปรัชญาเกี่ยวกับคุณธรรมนำชีวิต
จากผู้รู้ท่านอื่นๆด้วยน่ะค่ะ...

วัสลามุอะลัยกุมวะเราะมาตุลลอฮฺวะบารอกาตุ

             
                loveit: loveit: loveit:

"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ ส้มโชกุน

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 39
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: YOUTH AND MORALS:คุณธรรมนำชีวิต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ต.ค. 14, 2009, 08:58 PM »
0
 salam


รออ่านอยุ่น่ะค่ะ.....

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: YOUTH AND MORALS:คุณธรรมนำชีวิต
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ต.ค. 14, 2009, 09:01 PM »
0
                        ชื่อหนังสือ              : คุณธรรมนำชีวิต
                        Title                      :Youth and Morals
                            
                         ผู้เขียน                  : ซัยยิด มุจตาบา มุซาวี ลารี
                         Writer                   : Sayyid Mujtaba Musavi Lari
                            
                          ผู้แปล                   :  ดร.กิติมา อมรทัต
                          Translator             : Dr.Kitima  Amoradhat

                          ผู้จัดพิมพ์              : อัล-หุดา
                          Publisher              : Al-Huda

                          จำนวนพิมพ์          : 2,000เล่ม
                          Circulation            : 2,000 Copies

                         วันที่จัดพิมพ์           : 25 พฤษภาคม 2536
                          Date of Publishing  : 25 May 1993

                              
                                    loveit: loveit: loveit:


"คุณค่าแห่งมิตรภาพ"

   ความรักคือความรู้สึกตามธรรมชาติของมนุษย์อย่างหนึ่ง
เหตุนี้เราเองจึงเห็นว่า คนทุกคนจะถูกดึงดูดโดยพลังภายในอย่างหนึ่ง
ไปสู่สมาชิกคนอื่นๆที่อยู่ในประเภทเดียวกัน

ดังนั้น ความต้องการอันเป็นสัญชาตญาณนี้ต้องได้รับการสนองตอบ
และทุกคนต้องสร้างความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้องกับบุคคลหรือกลุ่มคนบางกลุ่ม
หรือบางคนเพื่อให้ได้รับประโยชน์ทางสังคมจากความสัมพันธ์เช่นนี้

ความรักคือรากฐานของความมั่นคงปลอดภัยและความสุขสบาย

ความรักเป็นความต้องการด้านจิตใจที่ให้ความรื่นรมย์ที่สุด

ซึ่งเกิดขึ้นในกาลเวลา ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดมีค่าไปยิ่งกว่าความรักอีกแล้ว

      ความทุกข์ความปวดร้าวอันเกิดจากการสูญเสียผู้เป็นที่รักนั้น
เป็นความทุกข์ที่หนักที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์

จิตใจคนเราย่อมต้องการได้อาศัยพักพิงอยู่ในจิตใจของคนอื่นๆ
มิฉะนั้นเราจะถูกฉีกทึ้งด้วยน้ำมือของความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย
และความวิตกกังวล เลยกลายเป็นเหยื่อแห่งความบีบคั้นของโลกเราเอง

ในเรืื่องนี้มีปราชญ์ผู้หนึ่งกล่าวไว้ว่า

“ความลับของความสุขนั้นอยู่ในการรักษาความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้อง
กับโลกของเราไว้แทนที่จะสร้างความยุ่งเหยิงขึ้น
ผู้ที่ไม่สามารถรักมนุษย์ได้ย่อมไม่สามารถมีชีวิตอยู่โดยไร้กังวล
และม่ันคงปลอดภัยได้”


      สิ่งผูกพันที่สามารถนำเอาส่วนประกอบต่างๆของสังคมมาอยู่รวมกัน
ได้ดีที่สุดก็คือสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นจากความรู้สึกที่จริงใจและความรักที่แท้จริง
ความกลมกลืนที่มีอยู่ระหว่างคนสองคนคือสิ่งที่จะทำให้เขารวมกันได้
ในโลกแห่งความรักและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
จากสิ่งนี้เองก็จะเกิดความผาสุกตลอดกาลขึ้น

แต่กระนั้นเพื่อที่จะทำให้ความผาสุกเช่นนั้นดำรงอยู่ได้
คนเราควรจะปัดความแตกต่างกันออกไปเสียและสร้างความปรองดองต่อกัน
ขึ้นในเรื่องบางอย่างที่ควรจะทำได้


      มิตรภาพที่มีค่าที่สุดก็คือมิตรภาพซึ่งมิได้ตั้งอยู่บนผลประโยชน์ส่วนตัว
แต่คู่เคียงไปกับความรู้สึกในความเป็นพี่น้องกันและสามารถให้ความพึงพอใจ
แก่ดวงวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งต้องการความรักความสุขสบายได้

คนที่แสดงตนว่าเป็นมิตรที่ซื่อสัตย์ไม่ควรที่จะยอมให้สิ่งใด
มาทำให้ความรูสึกที่มีต่อมิตรของเขาสั่นสะเทือนไปได้

อันที่จริงเขาควรพยายามที่จะปลดเปลื้องความเสียหายและความปวดร้าว
ซึ่งมีอยู่ในหัวใจของเพื่อนออกไปเสียและชี้ให้เพื่อนได้แลเห็น
อุทยานแห่งความรักและการปลอบใจ

ผู้ที่ร้องขอความรักจากผู้อื่นควรมีความสามารถที่จะให้สิ่งที่มีอยู่
ในความรู้สึกของตนแก่ผู้อื่นได้ก่อน

นักปราชญ์ผู้หนึ่งกล่าวไว้ว่า

“ชีวิตของเรานั้นเป็นเหมือนแผ่นดินที่เต็มไปด้วยขุนเขา”

เมื่อใดก็ตามที่ใครคนหนึ่งส่งเสียงออกมา
ก็จะได้ยินเสียงนั้นสะท้อนกลับมาหาตัวเอง
ผู้ที่มีดวงใจเต็มไปด้วยความรักผู้อื่นย่อมได้รับความรักจากผู้อื่นเช่นเดียวกัน


เป็นความจริงที่ว่า ชีวิตด้านวัตถุของเราขึ้นอยู่กับการแลกเปลี่ยน
เราไม่ต้องกล่าวว่า ชีวิตด้านจิตวิญญาณของเราต้องขึ้นอยู่กับพื้นฐานเช่นเดียวกัน

แต่จะเป็นไปได้อย่างไรที่เราจะหวังว่าจะได้รับความซื่อสัตย์จากผู้อื่น
โดยที่เราเองไม่ซื่อสัตย์ต่อเขา

และเราจะขอความรักจากผู้อื่ืนได้อย่างไรโดยที่เราไม่รักคนอืื่นก่อน


    ความสัมพันธ์กับผู้อื่นย่อมมีอันตรายอย่างยิ่งหากว่ามิได้ตั้งอยู่บนความรัก
และความซื่อสัตย์ของทั้งสองฝ่าย

ถ้าฝันร้ายแห่งความหน้าไหว้หลังหลอกเข้าครอบคลุมหัวใจและชีวิตของมนุษย์
ถ้าการประจบประแจงมาแทนที่ความซื่อสัตย์และมิตรภาพ
ความกลมกลืนกันและความเห็นอกเห็นใจกันก็ย่อมจะอ่อนแอลง
แล้วความร่วมมือกันก็ย่อมหมดไปจากสังคม


     ไม่ต้องสงสัยเลยว่าพวกเราหลายคนได้เคยพบคนอื่นๆที่ไม่เคยมีความรัก
หรือความรู้สึกที่แท้จริงอยู่ในหัวใจของเขา
คนเหล่านี้ซ่อนเร้นตัวตนที่แท้จริงอยู่เบื้องหลังหน้ากากแห่งความรัก
แต่ก็มีอยู่บ่อยๆที่เราสามารถมองออกไปพ้นหน้ากากซึ่งปกปิดความเป็นจริง
และความรู้สึกที่แท้จริงของพวกเขาไว้ได้
เป็นผลให้ความสัมพันธ์ที่เรามีต่อเขาสามารถทำลายหน้ากากเช่นนั้นลงไปได้


     ที่จริงนั้นรากเหง้าประการหนึ่งของความสุขและวิธีพัฒนาจิตใจอย่างได้ผลก็คือ

...การมีมิตรที่แท้จริงกับผู้ที่มีความเที่ยงธรรม...

ทั้งนี้ก็เพราะความคิดของบุคคลย่อมพัฒนาไปภายใต้ร่มเงาแห่งความสัมพันธ์เช่นนี้
ซึ่งจะทำให้จิตใจขึ้นถึงระดับความศรัทธาแก่กล้าและมาตรฐานอันดีเลิศได้

เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นที่เราต้องตรวจสอบผู้ที่เราคบเป็นมิตรให้รอบคอบเสียก่อน
เราจะผิดอย่างไม่น่าให้อภัยเลย ถ้าเราจะสร้างมิตรภาพกับผู้ใด
ที่เรายังไม่พิสูจน์เสียก่อน...
ความสัมพันธ์ในทางลบย่อมเป็นอันตรายต่อความสุขของมนุษย์


...มีต่อค่ะ...


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ต.ค. 15, 2009, 01:00 PM โดย nada-yoru »
"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ as-satuly

  • พลังแห่งการศรัทธา
  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 997
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +10
    • ดูรายละเอียด
Re: YOUTH AND MORALS:คุณธรรมนำชีวิต
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ต.ค. 14, 2009, 09:10 PM »
0

และขอใช้กระทู้นี้เพื่อแลกเปลี่ยนบทความและปรัชญาเกี่ยวกับคุณธรรมนำชีวิต


          ญะซากิลลาฮฺ...รออ่านอยู่เช่นกัน และอยากให้พระนาง "nada-yoru" นั้น ได้ทำการพิมพ์และนำเสนอแบบจากหน้าปกแรกถึงปกหลังเลยยิ่งดีไปใหญ่(หากหนังสือเล่มดังกล่าวนี้ไม่มีการพิมพ์ต่อแล้วหรือว่าหาซื้อยากเกินไป) เผื่อว่า จะได้มีการรวบรวม หรือทำเป็นเอกสารที่ดีมีคุณค่าต่อไป และอีกทั้งเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้อีกด้านที่(น่าจะ)ตรงกับเจตนรมณ์ของผู้เขียนหนังสือเล่มดังกล่าวนี้ด้วย เพื่อคุณธรรมนำชีวิตจะได้ยังประโยชน์แก่พวกเราทั้งหลายสืบไป...วัลลลอฮุอะอฺลัม - วัสสลามุอะลัยกุม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ต.ค. 14, 2009, 09:12 PM โดย as-satuly »

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: YOUTH AND MORALS:คุณธรรมนำชีวิต
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ต.ค. 14, 2009, 09:25 PM »
0
"อิสลามเรียกร้องให้มีการมองโลกในแง่ดีและความไว้วางใจกัน"


     อิสลามได้สร้างรากฐานไว้ในบรรดาผู้ศรัทธา
ด้วยการทำให้หัวใจของพวกเขาเต็มไปด้วยศรัทธา

ด้วยประการฉะนี้ ศาสนาของเราจึงนำผู้ถือศาสนา
ไปสู่ความสุขสบายและความมั่นคง

พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวว่า
ท่านศาสดา ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมผู้มีเกียรตินั้น
มีความเชื่อใจคนอื่นมากเสียจนพวกตีสองหน้าพากันวิพากย์วิจารณ์ท่าน


    อิสลามสั่งให้มุสลิมไว้วางใจกันและกันและให้คิดเอาว่าผู้อื่นมีเจตนาดี

เพราะฉะนั้น อิสลามจึงไม่อนุญาตให้ผู้ใดถือว่าการกระทำของมุสลิม
เป็นไปในทางชั่วช้าเลวทรามโดยไม่มีหลักฐานพยานที่เหมาะสม
ต่อการคิดไปเช่นนั้น

ท่านศาสดา ซอลลอลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

“จงคาดหมายสิ่งที่ดีจากพี่น้องของท่าน นอกจากว่าจะมีอะไรบางอย่างเกิดขึ้น
ซึ่งทำให้ท่านคิดไปเป็นอย่างอื่น และจงอย่าคิดว่าถ้อยคำของเขาเลวทราม
ในเมืื่อยังมีทางที่มันจะเป็นถ้อยคำที่ดีได้”
                                        (ญามิ อัส-สะอาดาต,เล่ม2,หน้า28)



   เมื่อคนเราไว้วางใจซึ่งกันและกันก็ย่อมเพิ่มความรักที่มีต่อกันและกันให้มากขึ้น
และนำเอาความกลมเกลียวกันมาสู่ชีวิตของเขา

บรรดาท่านผู้นำของมุสลิมได้แสดงให้เห็นความสำคัญของการไว้ใจกัน
ไว้หลายประการด้วยกัน

ท่านอิม่ามอลี(อ.)ได้กล่่าวไว้ครั้งหนึ่งว่า

“เขาผู้ที่ไว้วางใจผู้อื่นย่อมได้รับความรักจากผู้อื่น”
                                                                                       (ฆุรอร อัล-ฮิกัม)

ดร.มัรดินก็ได้กล่าวว่า

“เมื่อคุณสร้างมิตรภาพกับใคร จงพยายามมองแต่ส่วนดีของเขา
แล้วก็จงพยายามสะสมลักษณะดีๆที่คุณพบในตัวเขาไว้ในความสำนึกของคุณ
ถ้าคุณสามารถจำคำแนะนำนี้ไว้ในใจได้ คุณก็จะมีชีวิตที่ดีและน่าพอใจ
และจะได้พบว่าทุกคนก็ต่างเอาด้านดีและด้านที่มีเมตตาของเขา
มาแสดงให้คุณเห็นและจะพยายามเอาชนะใจของคุณให้เป็นมิตรกับเขา”

                                                                    (พิโรซี ฟีกรฺ-ภาษาเปอร์เซีย)

 
    เป็นไปได้ด้วยว่าการดูโลกในแง่ดีและความไว้วางใจย่อมมีผลต่อความคิด
และการกระทำของผู้ที่ถูกชักจูงไปในทางที่ผิด

สรุปได้ว่า ความไว้วางใจและการดูโลกในแง่ดีนั้นก่อให้เกิดรากฐาน
สำหรับการพ้นทุกข์ของบุคคลเช่นกัน

   ครั้งหนึ่งท่านอิม่ามอลี(อ.)ได้กล่าวว่า

“ความไว้วางใจย่อมช่วยชีวิตเขาผู้หมกมุ่นอยู่ในความบาป”

ดร.เดล คาร์เนกีก็เล่าว่า

“เมื่อเร็วๆนี้ผมได้พบผู้จัดการสัมปทานภัตตาคารผู้หนึ่ง
กลุ่มภัตตาคารกลุ่มนี้มีชื่อว่า “งานที่ทรงเกียรติ” ในภัตตาคารเหล่านี้
ซึ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อปี1885 พนักงานไม่เคยส่งใบเก็บเงินแก่ลูกค้าเลย
แต่ลูกค้าจะสั่งสิ่งที่เขาต้องการกิน พอกินเสร็จแล้วเขาก็จะคำนวณเงิน
และเอาไปจ่ายให้คนเก็บเงินโดยไม่มีปัญหาใดๆเลย

ผมพูดกับผู้จัดการคนนั้นว่า “คุณคงมีผู้ตรวจตราอยู่ลับๆซีนะ?
คุณจะไว้ใจลูกค้าทุกคนน่ะไม่ได้หรอก”
เขาก็ตอบว่า

“เปล่าเลย เราไม่ได้คอยดูลูกค้าของเราลับๆหรอกครับ
แต่เราก็ยังรู้ว่าวิธีของเรานั้นเหมาะสมดี มิฉะนั้นแล้วเราคงไม่เจริญก้าวหน้า
ได้หรอกในระหว่่างห้าสิบปีหลังนี้”

ลูกค้าของภัตตาคารนี้รู้สึกว่าเขาได้รับการปฏิบัติอย่างให้เกียรติ
ทฤษฎีนี้มาจากความคิดที่ว่าทั้งคนจน คนรวย หัวขโมยและขอทาน
ต่างก็ล้วนพยายามกระทำดีในเมื่อมีผู้คาดหมายว่าเขาจะต้องทำดี”



มร.หลุยส์ นักจิตวิทยาสังคมผู้หนึ่งกล่าวว่า

“ถ้าท่านคบกับคนนิสัยไม่ดี จิตใจไม่มั่นคงและกำลังพยายามนำเขา
ไปสู่ความดีและความมั่นคง ก็จงพยายามทำให้เขารู้สึกว่าท่านไว้ใจเขา
จงปฏิบัติต่อเขาเหมือนกับคนที่มีเกียรติและน่านับถือ
ท่านจะพบว่าเขาจะพยายามรักษาความไว้วางใจที่คุณมีต่อเขาไว้
เป็นผลให้เขาพยายามทำตัวให้สมกับความไว้วางใจของคุณ
เพื่อพิสูจน์ว่าเขามีค่าเช่นนั้น”
                                         
                                                           (จากหนังสือ วิธีการเอาชนะใจเพื่อน)


ดร.กิลเบต โรเบน เขียนไว้ว่า

“จงไว้ใจเด็กๆเถิด ผมหมายความว่า จงปฏิบัติต่อพวกเขาเหมือนกับว่า
เขาไม่เคยทำอะไรผิดเลย หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ จงลบอดีตของเขาเสีย
และให้อภัยแก่การกระทำของเขา จงพยายามมอบหมายหน้าที่สำคัญๆ
ให้แก่คนที่ประพฤติตัวไม่ดี คนเหล่านั้นก็จะมีความประพฤติดีขึ้น
พร้อมกับงานใหม่ๆทุกอย่างที่ท่านมอบให้เขาทำ

ท่านจะเห็นว่าเขามีคุณสมบัติดีขึ้นเพื่อให้เหมาะกับงานที่ท่านมอบให้
การจำกัดอุปสรรคที่มีอยู่ในการแก้ไขผู้ใดให้ดีขึ้นนั้น
อาจทำได้ด้วยการกระทำดีและไว้ใจผู้นั้น

จากนี้เราอาจกล่าวได้ว่าการกระทำที่ไม่พึงปรารถนาส่วนมากนั้น
เป็นแค่เพียงปฏิกริยาที่มีมาเพื่อจะเติมช่องว่างในชีวิตของส่วนบุคคลให้เต็มเท่านั้น”



เซอร์ยาลบินท์ มักจะแนะให้ไว้ใจมอบเงินไว้แก่เด็กๆที่มีนิสัยขี้ขโมย
และให้งานซึ่งเหมาะสมกับความสามารถของคนที่เกียจคร้านทำ

ความไว้วางใจทำให้คนเรามีความสบายใจ


ท่านอิม่ามอลี(อ.)ได้กล่าวไว้ว่า

“ความไว้วางใจคือการปลอบโยนจิตใจและทำให้ความศรัทธามั่นคงขึ้น”
                                                             (ฆุรอร อัล-ฮิกัม,หน้า376)



ดร.มัรดินกล่าวว่า

“ไม่มีสิ่งใดที่จะทำให้ชีวิตดูงดงามในสายตาของเราหรือลดความทุกข์ของเรา
ให้น้อยลงและปูทางความสำเร็จได้ดีเหมือนการมองโลกในแง่ดีและความไว้วางใจ

เพราะฉะนั้น จงระวังความคิดที่เป็นภัยเช่นเดียวกับที่ท่านระวังโรคร้าย
และผลอันเต็มไปด้วยอันตรายของมัน

จงเปิดใจให้แก่ความคิดในทางที่ดี แล้วท่านจะเห็นว่าท่านสามารถช่วยตัวเอง
จากความคิดร้ายที่มีอยู่ได้ง่ายเพียงไร”
                                                                     
                                                                                      (พิโรซี ฟิกรฺ)



เป็นความจำเป็นที่มุสลิมจะต้องปฏิบัติดีต่อกันและกันในวิธีที่จะไม่ทำให้เกิด
ความประสงค์ร้ายขึ้นในสังคมของเขา

ในเรื่องนี้ท่านอิม่ามอลี(อ.)มักแนะนำให้มุสลิมคิดในทางที่ดีในเรื่องของกันและกัน
และมิให้กระทำในแบบที่จะทำให้ผู้อื่นไม่ไว้ใจเรา

ท่านยังได้แนะนำด้วยว่า เราควรจะหลีกเลี่ยงเสียจากความระแวงสงสัยกัน
ท่านได้กล่าวว่า

“เขาผู้ซึ่งมีความหวังในตัวท่านได้ให้ความไว้วางใจของเขาแก่ท่าน
เพราะฉะนั้น อย่าทำให้เขาผิดหวังเลย”
                                                       
                                                                                 (ฆุรอร อัล-ฮิกัม,หน้า680)


ท่านอิม่ามอลี(อ.)ได้กล่าวถึงจุดที่คนเราจะใช้ตัดสินการให้เหตุผล
แก่การคิดถึงผู้อื่นไว้ดังนี้

“ความคาดหวังของคนเราคือตาชั่งสำหรับเหตุผลของเขา
และความประพฤติของเขาคือประจักษ์พยานที่ซื่อสัตย์ที่สุด
ในเรื่องความจริงแท้ของเขา”
                                                     
                                                                 (ฆุรอร อัล-ฮิกัม,หน้า474)



     เนื่องจากว่าคนที่มีความคาดหมายในทางไม่ดีต่อผู้อื่นนั้น
ขาดความสามารถที่จะหาเหตุผลได้ตามหลักตรรกวิทยา

ท่านอิม่ามอลี(อ.)จึงถือว่า การไม่คิดไปในทางร้ายของมุสลิม
คือสัญญาณแห่งพลังทางจิตวิญญาณของเขา ท่านได้กล่าวว่า

“ผู้ที่ปฏิเสธไม่ยอมคิดในทางร้ายต่อพี่น้องของเขาย่อมเป็นผู้มีเหตุผลที่ดี
และหัวใจของเขาจะสงบสุข”
                                                       
                                                                                 (ฆุรอร อัล-ฮิกัม,หน้า676)

ซามูเอล สไมล์กล่าวว่า

“ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าผู้มีนิสัยและจิตใจที่เข้มแข็งย่อมมีความสุข
และมีความหวังในชีวิต เขามองดูทุกคนและทุกสิ่งด้วยความไว้วางใจและสบายใจ

คนฉลาดแลเห็นดวงอาทิตย์อันแจ่มใสอยู่เหนือเมฆทุกก้อนไป
และย่อมรู้ว่าเบื้องหลังความทุกข์ทรมานทุกอย่างนั้นย่อมมีความสุข
ที่เขาใฝ่ฝันถึงอยู่ คนเหล่านี้ย่อมได้พบพลังใหม่ทุกครั้งเมื่อเขาได้รับ
ความเดือดร้อนด้วยปัญหาใหม่ๆ และพบความหวังอยู่ในความเศร้าโศก
หมดหวังทุกอันไป ผู้ที่มีนิสัยเช่นนั้นย่อมมีความสุขที่แท้จริง
และนับว่าเป็นคนโชคดี

แสงแห่งความสุขจะเจิดจ้าอยู่ในดวงตาของเขา
และเราจะเห็นว่าเขายิ้มแย้มอยู่เสมอ ดวงใจของคนชนิดนี้จะส่องประกายแวววาว
เหมือนดวงดาวและเขาจะมองดูทุกสิ่งด้วยดวงตาที่มีความเข้าใจ
และด้วยสีสันที่ปรารถนา”


ท่านอิม่ามซอดิก(อ.)ถือว่าการคาดหมายในสิ่งดีนั้นเป็นสิทธิ์อย่างหนึ่ง
ที่มุสลิมพึงมีต่อกันและกัน

“ในบรรดาสิทธิที่ผู้มีศรัทธาผู้หนึ่งมีต่อผู้มีศรัทธาอีกผู้หนึ่งนั้นก็คือ
การไม่ระแวงสงสัยเขา”
                                               
                                                              (อุซูล อัล-กาฟี,เล่ม1,หน้า394)



อันที่จริงนั้นสิ่งที่สามารถทำให้คนเรามีการมองโลกในแง่ดี
และมีความไว้วางใจได้มากที่สุดก็คือความศรัทธานั่นเอง

ถ้าหากว่าประชาชาติทั้งมวลเป็นชนชาติเดียวกับผู้ที่มีศรัทธาในอัลลอฮฺ
ในศาสดาของพระองค์และในวันพิพากษาครั้งสุดท้ายแล้วไซร้
ก็จะเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนจะไว้ใจซึ่งกันและกัน

การขาดศรัทธาในหมู่ผู้คนก็คือสาเหตุที่ทำให้มีความระแวงแพร่หลายอยู่ในสังคม
ผู้มีศรัทธาซึ่งหัวใจของเขามีความสุขด้วยความเชื่อมั่นและไว้วางพระทัย
ในอัลลอฮฺย่อมสามารถพึ่งพิงอาศัยพลังอันไม่มีจำกัดนั้นได้
เมื่อเขาได้รับความเดือดร้อนจากความอ่อนแอของเขา

เขาจะหาที่พึ่งในอัลลอฮฺในระหว่างที่เขาตกระกำลำบาก

สิ่งนี้จะฝึกฝนดวงวิญญาณของเขาและมีผลกระทบต่อศีลธรรมของเขาอย่างลึกซึ้ง


...ยังมีต่ออีกค่ะ...


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ต.ค. 15, 2009, 12:57 PM โดย nada-yoru »
"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: YOUTH AND MORALS:คุณธรรมนำชีวิต
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ต.ค. 14, 2009, 10:07 PM »
0
salam


รออ่านอยุ่น่ะค่ะ.....

วะอาลัยกุมมุสลามค่ะ

ชื่นใจจังค่ะ... ;D
ค่อยมีแรงพิมพ์ขึ้นมาอีกโขเลยค่ะ... loveit:




และขอใช้กระทู้นี้เพื่อแลกเปลี่ยนบทความและปรัชญาเกี่ยวกับคุณธรรมนำชีวิต


          ญะซากิลลาฮฺ...รออ่านอยู่เช่นกัน และอยากให้พระนาง "nada-yoru" นั้น
ได้ทำการพิมพ์และนำเสนอแบบจากหน้าปกแรกถึงปกหลังเลยยิ่งดีไปใหญ่
(หากหนังสือเล่มดังกล่าวนี้ไม่มีการพิมพ์ต่อแล้วหรือว่าหาซื้อยากเกินไป)
เผื่อว่า จะได้มีการรวบรวม หรือทำเป็นเอกสารที่ดีมีคุณค่าต่อไป
และอีกทั้งเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้อีกด้านที่(น่าจะ)ตรงกับเจตนรมณ์
ของผู้เขียนหนังสือเล่มดังกล่าวนี้ด้วย
เพื่อคุณธรรมนำชีวิตจะได้ยังประโยชน์แก่พวกเราทั้งหลายสืบไป...
วัลลลอฮุอะอฺลัม - วัสสลามุอะลัยกุม



อินชาอัลลอฮฺ ตอนแรกกะจะเอาแค่เนื้อหาที่ตัวเองประทับใจมาลง ;D
แต่อ่านอย่างนี้แล้วก็ทำให้คิดได้เพิ่มขึ้น...เป็นความคิดที่ดีเลยค่ะ
เรื่องการรวบรวมพิมพ์เผยแพร่ต่อไป...
ถ้าอย่างนั้นข้าน้อยจะค่อยๆทยอยพิมพ์เอามาแปะเรื่อยๆนะคะ...

จริงๆหนังสือเล่มนี้นั้น พ่อของข้าน้อยยัดเยียด(หรือเปล่าชักลืม)ให้
ตอนมาอยู่ในต่่างแดน แถมบอกส่งท้ายว่า ปีนึงอ่านได้ครั้งนึงก็เยี่ยมแล้ว...
ตอนเอามาสองปีแรกไม่แลเลยค่ะ วางไว้ที่สูงๆ เดินผ่านไปมาทุกวัน...
ไม่เคยสนใจจะแหงนหน้าขึ้นไปมองเลยค่ะ...ฝุ่นเกาะเต็ม...
เลยว่าจะเอามาปัดฝุ่นเสียทีค่ะ...
จึงทำให้รู้ว่าปรัชญาที่พ่อเอามาใช้สอนเรามันมีอยู่ในหนังสือเล่มนี้ด้วยนี่เองค่ะ...

ปล...เรียกข้าน้อยว่าพระนางเลยหรือท่าน... oh:
อัลฮัมดุลิลลาฮฺ...

วัสลามุอะลัยกุมค่ะ

^__________^
"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: YOUTH AND MORALS:คุณธรรมนำชีวิต
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ต.ค. 17, 2009, 03:35 PM »
0
 salam

                                    "การมองโลกในแง่ดี"

ความไว้วางใจและความสงบในใจ


   ในชีวิตที่ไม่แน่นอนนั้น มนุษย์ต้องการความมั่นคงมากกว่าสิ่งใด
ผู้ที่ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายโดยไม่มีอาวุธคือความมั่นคงนั้น
ย่อมจะต้องประสบความล้มเหลวและความพ่ายแพ้

อันที่จริงนั้นเมื่อความรับผิดชอบของคนเราเพิ่มขึ้น
ความจำเป็นที่จะต้องมีความมั่นคงและแน่นอนก็เพิ่มขึ้นด้วย

ด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องเรียนรู้ถึงวิธีหลีกเลี่ยง
ความวิกตกกังวลและวิธีแสวงหาความมั่นคงและแน่นอนมาใส่ตัว

   การดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สมบัติ อำนาจ ชื่อเสียงและผลกำไร
ด้านวัตถุอื่นๆนั้นเป็นเพียงสิ่งเท็จสิ่งปลอม
ความพยายามที่ใช้ไปในทางนี้จะเสียไปโดยเปล่าประโยชน์
เนื่องจากว่าความสุขของมนุษย์นั้นอยู่ในดวงจิตของเขาเอง
เมื่อธารแห่งความทุกข์ฝังลึกอยู่ในหัวใจของเขา
เจ้าชายแห่งความศรัทธา ซอลลอลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่่า

....ยารักษานั้นอยู่ภายในดวงวิญญาณของมนุษย์เอง...

ดังนั้นเราจึงไม่สามารถพบสิ่งที่มีประสิทธิภาพจากอิทธิพลภายนอก
ได้เหมือนกับสิ่งที่มีอยู่ในดวงวิญญาณของมนุษย์เอง

เพราะเหตุว่าอิทธิพลภายนอกนั้นเป็นของชั่วคราว
จึงเป็นไปไม่ได้ที่มันจะนำมนุษย์ไปสู่ความพึงพอใจอย่างสมบูรณ์


   อพิคเตตัสกล่าวว่า

“เราต้องบอกให้มนุษย์รู้ว่าเขาไม่สามารถพบความสุขและความโชคดี
อยู่ในที่ที่เขาแสวงหาเพื่อตัวเองอย่างตามบุญตามกรรมได้
ความสุขที่แท้จริงน้ั้นมิได้อยู่ในอำนาจและความสามารถ

ทั้งมิราดและอกลูอิสต่างก็เป็นคนที่มีความทุกข์ทั้งๆที่มีอำนาจอยู่มากมาย
ในทำนองเดียวกัน ความสุขมิได้อยู่ที่ความร่ำรวยและเงินทองจำนวนมาก

ตัวอย่างเช่น โครอีสัสมิได้มีความสุขทั้งๆที่เขาร่ำรวยมีทรัพย์สมบัติมหาศาล
เราจะหาความสุขจากอำนาจการปกครองหรืออำนาจทางการเมืองก็มิได้อีกเช่นกัน
กษัตริย์โรมันต่างก็ไม่มีความสุขทั้งๆที่มีอำนาจมากมายใหญ่หลวง

   “แท้จริงแล้วเรามิได้หาความสุขได้ด้วยการมีสิ่งต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นนี้
รวมกันเสียด้วยซ้ำไป ใครๆก็รู้ดีว่านิโร แซนด์เนปาลและอฆัมนินนั้น
ต้องร้องไห้อยู่เรื่อยไปเพราะพวกเขาเป็นเหมือนของเล่น
ที่อยู่ในมือของความโชคร้าย แต่กระนั้นคนเหล่านี้ก็มีทั้งความร่ำรวย อำนาจ
และชื่อเสียง เพราะฉะนั้นมนุษย์ต้องแสวงหาความสุขที่แท้จริง
จากดวงวิญญาณและจิตสำนึกของเขาเอง”



   เราต้องยอมรับว่าในธรรมชาตินั้นมีปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้อีกมากมาย
การท่ีมีเครื่องจักรกลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นไม่เป็นการเพียงพอ
ที่จะทำให้ชีวิตที่ไร้กังวลได้ เครืื่องจักรกลเหล่านี้มิใช่แต่เพียงไม่สามารถ
ลดจำนวนความทุกข์ในโลกลงได้เท่าน้ัน แต่ยังนำปัญหา
และความไม่แน่นอนใหม่ๆมาให้มนุษย์อีกมากมายด้วย

   เพราะฉะน้ัน เพื่อที่จะปลดปล่อยตัวเราเองให้พ้นจากความทุกข์ของชีวิต
ซึ่งมีอยู่ตลอดไปและเพ่ือจะให้พ้นจากเมฆหมอกดำมืด
ซึ่งทำให้ดวงวิญญาณของเรามืดมนไป เราจึงจำต้องมีความนึกคิด
ที่ได้รับการนำทางอย่างถูกต้องเสียโดยเร็ว ความนึกคิดนั้นสามารถหาความสุข
มาให้มนุษย์ได้ในทำนองเดียวกับที่สามารถนำเอาความก้าวหน้าหลายๆอย่าง
ในชีวิตทางด้านวัตถุมาให้

ตรงนี้เองที่พลังแห่งความคิดจะปรากฏออกมาอย่างชัดเจนและแสดงอิทธิพล
อันน่าพิศวงซึ่งมีต่อชีวิตมนุษย์ออกมาให้เห็น


   การมีความนึกคิดที่โปร่งใสนั้นเปรียบได้ดังกระแสน้ำที่ไหลลิ่ว
ซึ่งพัดพาให้มนุษย์ไปสู่ระดับที่ดีเลิศได้มากกว่าผลกำไรทางวัตถุ
จะทำได้ด้วยการนำเขาไปสู่โลกใหม่ที่กว้างขวาง

การคิดที่ถูกต้องเที่ยงธรรมจะป้องกันคนท่ีเฉลียวฉลาดมิให้กลายเป็นของเล่น
ในมือของคนรวยได้

ผู้ที่มีความสามารถในการคิดและทำความคิดของเขาให้เจริญเติบโต
จนกลายเป็นศูนย์กลางของชีวิตความเป็นอยู่ของตน ย่อมสามารถยืนหยัด
อย่างมั่นคงได้เมื่อยามที่มีอันตรายเกิดขึ้นแก่เขาด้วยการใช้ทัศนะที่กว้างไกล


   เพื่อที่จะคุ้มครองตัวเรามิให้ตกเป็นเหยื่อของเหตุการณ์ต่างๆ
และเพื่อจะป้องกันตัวเราเองจากการละเลยไม่สนใจรวมทั้งการเห็นสิ่งใดจนเกินจริง
เราก็ต้องสร้างตาชั่งแห่งความคิดขึ้นให้ตัวเราสำหรับใช้พิจารณาพฤติกรรม
และความประพฤติของเรา

ดังน้ันก็จะนำทางเราให้อยู่ในแนวความคิดที่ถูกต้อง
ซึ่งจะทำให้เรามีพลังจิตสามารถเอาชนะความวิตกกังวลได้

   นักวิชาการชั้นนำชาวตะวันตกคนหนึ่งกล่าวว่า

“บางทีเราไม่สามารถเลือกบุคคลที่มีความประพฤติและมีวิธีคิดเหมือนกับของเราได้
แต่เรามีอิสระที่จะเลือกความคิดของเราเอง
เราเป็นผู้พิพากษาความนึกคิดของเราเอง เราอาจเลือกเอาสิ่งที่เราถือว่าเหมาะสม
สาเหตุและอิทธิพลจากภายนอกนั้นมิใช่ส่วนหนึ่งของเรา
จนเราจะยอมให้มันมาควบคุมและบีบบังคับให้เราคิดไปในทางนั้นๆได้

เพราะฉะนั้นเราต้องเลือกแนวความคิดที่ถูกต้องและตัดแนวความคิดที่ไม่ดี
ออกไปเสีย ดวงวิญญาณของเราจะถูกนำไปยังแนวทางความคิดของเรา
หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ความคิดของเราย่อมนำเราไปในลักษณะใดๆที่มันต้องการ

เหตุนี้เราจึงไม่ควรปล่อยให้ตัวเรายึดถือความคิดอันชั่วร้ายใดๆไว้
หรือยอมให้สิ่งที่เราไม่พอใจมาครอบครองความคิดของเราไว้
เพราะความคิดเช่นนั้นจะจับเราไว้และทำให้เรากลายเป็นเหยื่อ
ของควาทุกข์นานาประการ เราต้องดิ้นรนต่อสู้ไปให้บรรลุถึงความสมบูรณ์
ความหวังอันดีงามที่สุดและจุดหมายอันมีเกียรติที่สุด
เนื่องจากว่าความลับแห่งความสำเร็จและความสุขนั้นมีอยู่ในการคิดอันเที่ยงธรรม”


มีต่อค่ะ



"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: YOUTH AND MORALS:คุณธรรมนำชีวิต
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ต.ค. 17, 2009, 03:43 PM »
0


ผลของการมองโลกในแง่ดี


   ในทำนองเดียวกับที่ระบบร่างกายถูกโรคภัยไข้เจ็บต่างๆมารบกวน
ความสอดคล้องกลมกลืนแห่งความคิด ซึ่งมีอยู่ในความคิดนึกของคนๆหนึ่ง
ก็ถูกรบกวนด้วยปัจจัยต่างๆโดยสันดานอันชั่วร้าย ทั้งๆที่ความนึกคิดนั้นมีอำนาจ
แต่ก็ไม่อาจเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อความประพฤติของคนๆนั้นได้

เพราะฉะนั้นมนุษย์จะรู้สึกเป็นสุขได้ก็แต่เพียงเมื่อเขามีความประพฤติที่ดี
และสอดคล้องกับความคิด ความประพฤติและความกระตือรือร้นของเขาเท่านั้น
จึงเป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่จะต้องกำจัดรากเหง้าแห่งสันดาน
ที่จะทำให้ความสุขสบายของเขาต้องแปดเปื้อนออกไปเสีย


   ปัจจัยสองอย่างซึ่งช่วยให้เกิดความคิดที่กลมกลืนก็คือการเห็นโลกในแง่ดี
กับทัศนะที่ดีต่อชีวิตและสิ่งอื่นๆ

การมองโลกในด้านดีและการคาดหมายที่ดีต่อคนอื่นๆที่อยู่รอบๆตัว
ก็คือเครื่องประกันถึงความสุขสำราญของบรรดาผู้ที่อยู่ท่ามกลางมนุษย์

สิ่งที่ตรงข้ามกับการมองโลกในแง่ดีก็คือการมองโลกในแง่ร้าย
และการคิดในทางร้ายต่อผู้อื่น ซึ่งจะทำให้ความสามรถในการคิดอย่างเที่ยงธรรม
หยุดชงักลงไปและความสามารถที่จะเคลื่อนไปสู่ความสมบูรณ์พร้อมก็ลดลงไป

เราอาจกล่าวถึงการมองโลกในแง่ดีให้ดีที่สุดได้ว่าเป็นเสมือนแสงสว่างในความมืด
ซึ่งจะขยายกว้างขึ้นในขณะที่อาณาเขตแห่งการคิดขยายออก

ด้วยการมองโลกในด้านดีนี้ความรักความเมตตาปรานีจะเกิดขึ้นในตัวมนุษย์
จึงทำให้เกิดการพัฒนาใหม่ๆขึ้นในทัศนะที่เก่ียวกับชีวิตของผู้นั้น
ทำให้มนุษย์สามารถแลเห็นสีสันที่สดสวยยิ่งขึ้นในชีวิตได้

ดังนั้นจึงทำให้เขามีความสามารถที่จะสังเกตดูผู้คนทั้งหลายในทัศนะใหม่
และมีพลังที่จะตัดสินคนแต่ละคนได้อย่างเท่าเทียมกันและอย่างยุติธรรม

ความทุกข์ทรมานของคนที่มองโลกในแง่ดีจะหายไปและความหวังของเขา
จะเพิ่มขึ้นในขณะที่เขาสามารถรักษาความสัมพันธ์ทางกายและทางใจ
กับส่วนประกอบต่่างๆในสังคมไว้ได้อย่างดีที่สุด


   ไม่มีปัจจัยใดที่สามารถลดจำนวนปัญหาในชีวิตของมนุษย์ลงได้
เหมือนกับการมองโลกในด้านดี เราจะเห็นร่องรอยแห่งความสุขบนใบหน้า
ของผู้มองโลกในแง่ดีได้ชัดเจนกว่า มิใช่แต่เพียงในขณะที่เขามี
ความพึงพอใจเท่านั้นแต่ตลอดชีวิตของเขาทั้งในสถานการณ์ที่ดีและเลว
รัศมีแห่งความสุขจะเปล่งออกมาจากดวงวิญญาณอันเป็นสุข
ของผู้ที่มองโลกในแง่ดีอยู่ตลอดเวลา


   เรามีความจำเป็นที่จะต้องได้รับความไว้วางใจจากผู้อื่น
และการที่จะให้มีความไว้วางใจกันระหว่างบุคคลต่างๆ
จำเป็นที่จะต้องให้การมองโลกให้แง่ดีกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของพวกเขา

นี่คือเรื่องที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อความสุขของส่วนบุคคลและสังคม
ความไว้วางใจกันในระหว่างสมาชิกของสังคมใดๆนั้น
ย่อมเป็นปัจจัยสำคัญของความเจริญก้าวหน้าของสังคมนั้น

เรื่องตรงกันข้ามก็เป็นความจริงเช่นเดียวกันคือ ความไม่ไว้ใจกัน
ย่อมเป็นปัจจัยที่ก่อความพินาศล่มจมในอนาคตของสังคมได้

การสื่อสารระหว่่างส่วนประกอบต่างๆในสังคมของการเห็นโลกในแง่ดี
ก็คือความสอดคล้องกลมกลืนกัน ความร่วมมือและความไว้วางใจกัน

ยิ่งกว่านั้นความสงบสุขในเรื่องชีวิตสังคมจะมีแต่เพียงเมื่อความสัมพันธ์
ระหว่างสมาชิกของชีวิตนั้นเป็นไปด้วยความรักใคร่ปรองดองกัน
และมีความไว้วางใจและความคาดหมายที่ดีต่อกันและกัน


   นักวิชาการผู้หนึ่งในด้านนี้กล่าวว่า

“การคาดหมายที่ดีนั้นเป็นลักษณะของความเชื่อ
ไม่มีสิ่งใดจะสัมฤทธิ์ผลได้หากไม่มีความเชื่อและความหวัง”


   เมื่อความไว้วางใจผู้อื่นเพิ่มขึ้น ความไว้วางใจในตัวเองก็ย่อมจะเพิ่มขึ้นด้วย
นี่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในสังคมทุกแห่ง

โดยไม่มีข้อยกเว้น ในเรื่องน้ีเราไม่ควรมองข้ามข้อเท็จจริงที่ว่า
มีความแตกต่างอย่างมากอยู่ระหว่างการมองโลกในแง่ดี
กับการไว้ใจผู้อื่นกับความเชื่อใครอย่างรวดเร็วและไม่มีเหตุผล

ความไว้วางใจมิได้หมายความว่า มุสลิมจะยอมตนแก่ผู้ที่เขาไม่รู้จักโดยสิ้นเชิง
หรือเชื่อฟังโดยมิได้สอบสวนหาความเป็นจริงและตรวจตรา
สิ่งที่ผู้นั้นพูดให้ดีเสียก่อน

ในทำนองเดียวกัน เราไม่อาจจะถือว่าผู้กระทำความผิด
และความอยุติธรรมโดยเปิดเผยนั้นควรที่เราจะไว้ใจได้

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ความไว้วางใจย่อมมีข้อยกเว้น
ไม่รวมเอาสมาชิกบางคนของสังคมเข้าไว้ด้วยในสภาพบางอย่าง

อันที่จริงนั้น บุคคลที่มีความไว้วางใจย่อมต้องทำการตรวจสอบ
และศึกษาเสียก่อนทุกๆอย่างก่อนที่จะสรุปลงไป

เพราะฉะนั้น การกระทำของเขาจึงขึ้นอยู่กับความระมัดระวัง
และการสอบสวนตรวจตราให้รอบคอบ


วัลลอฮุอะลัม


 
"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ Bangmud

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2821
  • Respect: +127
    • ดูรายละเอียด
Re: YOUTH AND MORALS:คุณธรรมนำชีวิต
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ต.ค. 17, 2009, 10:09 PM »
0
 salam
อ่านแล้วสงสัยว่าจะเป็นนักวิชาการชีอะฮฺเป็นผู้เขียน(ไม่รู้แน่นะครับ)
แต่การเรียกอิหม่ามอะลีย์และอิหม่ามอัศศอดิกรวมทั้งการอ้างหนังสือ อุศูลอัลกาฟี ผมเคยฟังมาว่าเป็นหนังสือชีอะฮฺไม่ใช่หรือครับ
ถ้าผมเข้าใจผิด ขอมะอัฟอย่างแรง
ใครรู้จริงช่วยบอกที
แชมัด

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: YOUTH AND MORALS:คุณธรรมนำชีวิต
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ต.ค. 17, 2009, 10:25 PM »
0
salam
อ่านแล้วสงสัยว่าจะเป็นนักวิชาการชีอะฮฺเป็นผู้เขียน(ไม่รู้แน่นะครับ)
แต่การเรียกอิหม่ามอะลีย์และอิหม่ามอัศศอดิกรวมทั้งการอ้างหนังสือ อุศูลอัลกาฟี ผมเคยฟังมาว่าเป็นหนังสือชีอะฮฺไม่ใช่หรือครับ
ถ้าผมเข้าใจผิด ขอมะอัฟอย่างแรง
ใครรู้จริงช่วยบอกที
แชมัด

วะอะลัยกุมมุสลามค่ะ

อันตัวข้าน้อยนั้นไม่รู้เช่นกันค่ะว่าเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้เป็นของแนวทางใด
เพราะเป็นของพ่อของข้าน้อยเอง...ซึ่งพ่อข้าน้อยนั้น
ท่านอยู่ในสังกัดมัซฮับ แต่ท่านอาจจะศึกษาแนวทางอื่นร่วมด้วย
ก็อาจจะเป็นได้...ข้าน้อยเป็นเพียงลูกสาวที่ไม่ค่อยเอาไหน
เลยไม่ทราบว่าพ่อคิดอ่านอย่างไรกับเรื่องนี้เช่นกันค่ะ...
แต่อ่านแล้วมันทำให้จิตใจสงบ
และเป็นหนังสือเก่าจนไม่แน่ใจว่่าอาจจะไม่มีวางจำหน่ายแล้ว
เลยอยากเผยแผ่ หากไม่เหมาะสมยังไง โปรดชี้แนะด้วยนะคะ

วัสลามุอะลัยกุมค่ะ

^____________^



"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: YOUTH AND MORALS:คุณธรรมนำชีวิต
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ต.ค. 18, 2009, 12:05 AM »
0
 salam
เป็นหนังสือที่ผู้แต่งอยู่ในสายชีอะห์แน่นอนครับคงต้องพิจารณาข้อมูลในเชิงวิชาการและหากจะวิจารณ์ก็คงต้องยึดหลักสากลทั่วไปเพื่อพิจารณาสิ่งที่เป็นประโยชน์จากหนังสือซึ่งน่าจะได้รับการแนะนำจากผู้มีความเข้าใจโดยแท้จริง หมายถึงว่าถ้ามีข้อมูลใดขัดต่อแนวทางของอะห์ลิสซุนนะห์ก็นำเสนออย่างสร้างสรรค์  อาจารย์ผู้ถ่ายถอดก็เป็นนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับในสังคมทางด้านวิชาการหรืออาจบอกได้ว่าเป็นอาจารย์ของนักวิชาการหลายท่าน  โดยเฉพาะนักศึกษาที่เรียนประเทศอินเดีย   หนังสือเล่มนี้ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อภาษาไทยในการพิมพ์ครั้งใหม่เป็นชื่อ  "อาวุธ แห่งชีีวิตครับ"  งานหนังสือแห่งชาติไปเดินดูมา  สำนักพิมพ์  14 publication จัดพิมพ์ครับ

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: YOUTH AND MORALS:คุณธรรมนำชีวิต
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ต.ค. 18, 2009, 04:05 AM »
0
^
^

วะอะลัยกุมมุสลามค่ะ

ญะซากัลลอฮุคอยรอนค่ะ

วัสลามมุอะลัยกุมวะเรามาตุลลอฮฺวะบะรอกาตุ

"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ Bangmud

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2821
  • Respect: +127
    • ดูรายละเอียด
Re: YOUTH AND MORALS:คุณธรรมนำชีวิต
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ต.ค. 19, 2009, 11:08 AM »
0
 salam
น้ำค้าง(นะดา) อย่าเพิ่งถอดใจ mjehoh กล่าวถูกต้องว่าเราศึกษาในเชิงวิชาการได้ ที่บ้านก็มีหนังสือชีอะฮฺหลายเล่ม โดยเฉพาะ ثم اهتدية  ถ้าอ่านดี ๆ ก็จะได้แนวคิด หรือวิธีการที่เอาไปใช้ได้ในการดะอฺวะฮฺ
หนังสือพระไตรปิฎกก็มี(แต่ไม่เคยอ่าน) นำ Youth & Moral มาลงต่อได้เลยครับ จะคอยติดตาม
แชมัด

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: YOUTH AND MORALS:คุณธรรมนำชีวิต
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ต.ค. 19, 2009, 11:32 AM »
0
วะอะลัยกุมมุสลามค่ะ

คือว่าาาาาาาาา...มันคนละแนวทางกับทางเวบน่ะค่ะ(แม้จะเป็นแค่เรื่องทั่วไป)
กลัวจะมีปัญหาตามมาน่ะค่ะ...ความจริงตัวข้าน้อยเอง
พยายามศึกษาอ่านของหลายๆศาสนาอยู่เหมือนกันค่ะ
โดยเฉพาะศาสนาที่คนญี่ปุ่นเขานับถือกัน(ลัทธิชินโต)...
ทุกครั้งที่ศึกษาก็หวังแค่ต้องการความรู้ พร้อมดุอาฮฺขอต่ออัลลอฮฺว่า
อย่าให้เราสับสน อย่าให้เราหลงทาง อย่าให้เราห่างไกลจากแนวทางที่เที่ยงตรง

แต่การนำเสนอนั้นมันอาจจะเป็นดาบสองคมก็ได้น่ะค่ะ
กลัวตรงนี้มากกว่าค่ะแช...อีกอย่างตัวข้าน้อยนั้นความรู้ในการแยกแยะ
หรือพิจารณาสิ่งใดยังไม่มากพอ(เอาตัวเองยังไม่รอดเลยค่ะ ;D)

พอนำเสนอเรื่องศาสนาตรงๆมันเลยเสียวสันหลังวาบๆ
แต่หากให้เล่าโน่นนี่ไปเรื่อย อย่างที่ตัวเองประสบมาหรืออ่านมา
ค่อยสบายใจกว่าค่ะ...แต่หากมีผู้แนะนำคอยชี้แนะอยู่เรื่อยๆ
บางทีมันอาจจะเกิดผลดีมากกว่าผลเสีย...

อีกอย่างหนังสือเล่มนี้ก็ออกใหม่แล้วด้วยน่ะค่ะ...
เลยไม่รู้ว่ามันยังจำเป็นแค่ไหนที่จะนำเสนอต่อน่ะค่ะ....
วอนผู้รู้โปรดชี้แนะด้วยนะคะ...


 loveit:

วัสลามุอะลัยกุมค่ะ

^___________^
"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: YOUTH AND MORALS:คุณธรรมนำชีวิต
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: ธ.ค. 19, 2012, 12:27 AM »
0
"อิสลามเรียกร้องให้มีการมองโลกในแง่ดีและความไว้วางใจกัน"


     อิสลามได้สร้างรากฐานไว้ในบรรดาผู้ศรัทธา
ด้วยการทำให้หัวใจของพวกเขาเต็มไปด้วยศรัทธา

ด้วยประการฉะนี้ ศาสนาของเราจึงนำผู้ถือศาสนา
ไปสู่ความสุขสบายและความมั่นคง

พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวว่า
ท่านศาสดา ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมผู้มีเกียรตินั้น
มีความเชื่อใจคนอื่นมากเสียจนพวกตีสองหน้าพากันวิพากย์วิจารณ์ท่าน


    อิสลามสั่งให้มุสลิมไว้วางใจกันและกันและให้คิดเอาว่าผู้อื่นมีเจตนาดี

เพราะฉะนั้น อิสลามจึงไม่อนุญาตให้ผู้ใดถือว่าการกระทำของมุสลิม
เป็นไปในทางชั่วช้าเลวทรามโดยไม่มีหลักฐานพยานที่เหมาะสม
ต่อการคิดไปเช่นนั้น

ท่านศาสดา ซอลลอลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

จงคาดหมายสิ่งที่ดีจากพี่น้องของท่าน นอกจากว่าจะมีอะไรบางอย่างเกิดขึ้น
ซึ่งทำให้ท่านคิดไปเป็นอย่างอื่น และจงอย่าคิดว่าถ้อยคำของเขาเลวทราม
ในเมืื่อยังมีทางที่มันจะเป็นถ้อยคำที่ดีได้”
                                         (ญามิ อัส-สะอาดาต,เล่ม2,หน้า28)



   เมื่อคนเราไว้วางใจซึ่งกันและกันก็ย่อมเพิ่มความรักที่มีต่อกันและกันให้มากขึ้น
และนำเอาความกลมเกลียวกันมาสู่ชีวิตของเขา

บรรดาท่านผู้นำของมุสลิมได้แสดงให้เห็นความสำคัญของการไว้ใจกัน
ไว้หลายประการด้วยกัน

ท่านอิม่ามอลี(อ.)ได้กล่่าวไว้ครั้งหนึ่งว่า

“เขาผู้ที่ไว้วางใจผู้อื่นย่อมได้รับความรักจากผู้อื่น”
                                                                                       (ฆุรอร อัล-ฮิกัม)

ดร.มัรดินก็ได้กล่าวว่า

“เมื่อคุณสร้างมิตรภาพกับใคร จงพยายามมองแต่ส่วนดีของเขา
แล้วก็จงพยายามสะสมลักษณะดีๆที่คุณพบในตัวเขาไว้ในความสำนึกของคุณ
ถ้าคุณสามารถจำคำแนะนำนี้ไว้ในใจได้ คุณก็จะมีชีวิตที่ดีและน่าพอใจ
และจะได้พบว่าทุกคนก็ต่างเอาด้านดีและด้านที่มีเมตตาของเขา
มาแสดงให้คุณเห็นและจะพยายามเอาชนะใจของคุณให้เป็นมิตรกับเขา”

                                                                    (พิโรซี ฟีกรฺ-ภาษาเปอร์เซีย)

 
    เป็นไปได้ด้วยว่าการดูโลกในแง่ดีและความไว้วางใจย่อมมีผลต่อความคิด
และการกระทำของผู้ที่ถูกชักจูงไปในทางที่ผิด

สรุปได้ว่า ความไว้วางใจและการดูโลกในแง่ดีนั้นก่อให้เกิดรากฐาน
สำหรับการพ้นทุกข์ของบุคคลเช่นกัน

   ครั้งหนึ่งท่านอิม่ามอลี(อ.)ได้กล่าวว่า

“ความไว้วางใจย่อมช่วยชีวิตเขาผู้หมกมุ่นอยู่ในความบาป”

ดร.เดล คาร์เนกีก็เล่าว่า

“เมื่อเร็วๆนี้ผมได้พบผู้จัดการสัมปทานภัตตาคารผู้หนึ่ง
กลุ่มภัตตาคารกลุ่มนี้มีชื่อว่า “งานที่ทรงเกียรติ” ในภัตตาคารเหล่านี้
ซึ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อปี1885 พนักงานไม่เคยส่งใบเก็บเงินแก่ลูกค้าเลย
แต่ลูกค้าจะสั่งสิ่งที่เขาต้องการกิน พอกินเสร็จแล้วเขาก็จะคำนวณเงิน
และเอาไปจ่ายให้คนเก็บเงินโดยไม่มีปัญหาใดๆเลย

ผมพูดกับผู้จัดการคนนั้นว่า “คุณคงมีผู้ตรวจตราอยู่ลับๆซีนะ?
คุณจะไว้ใจลูกค้าทุกคนน่ะไม่ได้หรอก”
เขาก็ตอบว่า

“เปล่าเลย เราไม่ได้คอยดูลูกค้าของเราลับๆหรอกครับ
แต่เราก็ยังรู้ว่าวิธีของเรานั้นเหมาะสมดี มิฉะนั้นแล้วเราคงไม่เจริญก้าวหน้า
ได้หรอกในระหว่่างห้าสิบปีหลังนี้”

ลูกค้าของภัตตาคารนี้รู้สึกว่าเขาได้รับการปฏิบัติอย่างให้เกียรติ
ทฤษฎีนี้มาจากความคิดที่ว่าทั้งคนจน คนรวย หัวขโมยและขอทาน
ต่างก็ล้วนพยายามกระทำดีในเมื่อมีผู้คาดหมายว่าเขาจะต้องทำดี”



มร.หลุยส์ นักจิตวิทยาสังคมผู้หนึ่งกล่าวว่า

“ถ้าท่านคบกับคนนิสัยไม่ดี จิตใจไม่มั่นคงและกำลังพยายามนำเขา
ไปสู่ความดีและความมั่นคง ก็จงพยายามทำให้เขารู้สึกว่าท่านไว้ใจเขา
จงปฏิบัติต่อเขาเหมือนกับคนที่มีเกียรติและน่านับถือ
ท่านจะพบว่าเขาจะพยายามรักษาความไว้วางใจที่คุณมีต่อเขาไว้
เป็นผลให้เขาพยายามทำตัวให้สมกับความไว้วางใจของคุณ
เพื่อพิสูจน์ว่าเขามีค่าเช่นนั้น”
                                         
                                                           (จากหนังสือ วิธีการเอาชนะใจเพื่อน)


ดร.กิลเบต โรเบน เขียนไว้ว่า

“จงไว้ใจเด็กๆเถิด ผมหมายความว่า จงปฏิบัติต่อพวกเขาเหมือนกับว่า
เขาไม่เคยทำอะไรผิดเลย หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ จงลบอดีตของเขาเสีย
และให้อภัยแก่การกระทำของเขา จงพยายามมอบหมายหน้าที่สำคัญๆ
ให้แก่คนที่ประพฤติตัวไม่ดี คนเหล่านั้นก็จะมีความประพฤติดีขึ้น
พร้อมกับงานใหม่ๆทุกอย่างที่ท่านมอบให้เขาทำ

ท่านจะเห็นว่าเขามีคุณสมบัติดีขึ้นเพื่อให้เหมาะกับงานที่ท่านมอบให้
การจำกัดอุปสรรคที่มีอยู่ในการแก้ไขผู้ใดให้ดีขึ้นนั้น
อาจทำได้ด้วยการกระทำดีและไว้ใจผู้นั้น

จากนี้เราอาจกล่าวได้ว่าการกระทำที่ไม่พึงปรารถนาส่วนมากนั้น
เป็นแค่เพียงปฏิกริยาที่มีมาเพื่อจะเติมช่องว่างในชีวิตของส่วนบุคคลให้เต็มเท่านั้น”



เซอร์ยาลบินท์ มักจะแนะให้ไว้ใจมอบเงินไว้แก่เด็กๆที่มีนิสัยขี้ขโมย
และให้งานซึ่งเหมาะสมกับความสามารถของคนที่เกียจคร้านทำ

ความไว้วางใจทำให้คนเรามีความสบายใจ


ท่านอิม่ามอลี(อ.)ได้กล่าวไว้ว่า

“ความไว้วางใจคือการปลอบโยนจิตใจและทำให้ความศรัทธามั่นคงขึ้น”
                                                             (ฆุรอร อัล-ฮิกัม,หน้า376)



ดร.มัรดินกล่าวว่า

“ไม่มีสิ่งใดที่จะทำให้ชีวิตดูงดงามในสายตาของเราหรือลดความทุกข์ของเรา
ให้น้อยลงและปูทางความสำเร็จได้ดีเหมือนการมองโลกในแง่ดีและความไว้วางใจ

เพราะฉะนั้น จงระวังความคิดที่เป็นภัยเช่นเดียวกับที่ท่านระวังโรคร้าย
และผลอันเต็มไปด้วยอันตรายของมัน

จงเปิดใจให้แก่ความคิดในทางที่ดี แล้วท่านจะเห็นว่าท่านสามารถช่วยตัวเอง
จากความคิดร้ายที่มีอยู่ได้ง่ายเพียงไร”
                                                                     
                                                                                      (พิโรซี ฟิกรฺ)



เป็นความจำเป็นที่มุสลิมจะต้องปฏิบัติดีต่อกันและกันในวิธีที่จะไม่ทำให้เกิด
ความประสงค์ร้ายขึ้นในสังคมของเขา

ในเรื่องนี้ท่านอิม่ามอลี(อ.)มักแนะนำให้มุสลิมคิดในทางที่ดีในเรื่องของกันและกัน
และมิให้กระทำในแบบที่จะทำให้ผู้อื่นไม่ไว้ใจเรา

ท่านยังได้แนะนำด้วยว่า เราควรจะหลีกเลี่ยงเสียจากความระแวงสงสัยกัน
ท่านได้กล่าวว่า

“เขาผู้ซึ่งมีความหวังในตัวท่านได้ให้ความไว้วางใจของเขาแก่ท่าน
เพราะฉะนั้น อย่าทำให้เขาผิดหวังเลย”
                                                         
                                                                                 (ฆุรอร อัล-ฮิกัม,หน้า680)


ท่านอิม่ามอลี(อ.)ได้กล่าวถึงจุดที่คนเราจะใช้ตัดสินการให้เหตุผล
แก่การคิดถึงผู้อื่นไว้ดังนี้

“ความคาดหวังของคนเราคือตาชั่งสำหรับเหตุผลของเขา
และความประพฤติของเขาคือประจักษ์พยานที่ซื่อสัตย์ที่สุด
ในเรื่องความจริงแท้ของเขา”
                                                       
                                                                 (ฆุรอร อัล-ฮิกัม,หน้า474)



     เนื่องจากว่าคนที่มีความคาดหมายในทางไม่ดีต่อผู้อื่นนั้น
ขาดความสามารถที่จะหาเหตุผลได้ตามหลักตรรกวิทยา

ท่านอิม่ามอลี(อ.)จึงถือว่า การไม่คิดไปในทางร้ายของมุสลิม
คือสัญญาณแห่งพลังทางจิตวิญญาณของเขา ท่านได้กล่าวว่า

“ผู้ที่ปฏิเสธไม่ยอมคิดในทางร้ายต่อพี่น้องของเขาย่อมเป็นผู้มีเหตุผลที่ดี
และหัวใจของเขาจะสงบสุข”
                                                         
                                                                                 (ฆุรอร อัล-ฮิกัม,หน้า676)

ซามูเอล สไมล์กล่าวว่า

“ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าผู้มีนิสัยและจิตใจที่เข้มแข็งย่อมมีความสุข
และมีความหวังในชีวิต เขามองดูทุกคนและทุกสิ่งด้วยความไว้วางใจและสบายใจ

คนฉลาดแลเห็นดวงอาทิตย์อันแจ่มใสอยู่เหนือเมฆทุกก้อนไป
และย่อมรู้ว่าเบื้องหลังความทุกข์ทรมานทุกอย่างนั้นย่อมมีความสุข
ที่เขาใฝ่ฝันถึงอยู่ คนเหล่านี้ย่อมได้พบพลังใหม่ทุกครั้งเมื่อเขาได้รับ
ความเดือดร้อนด้วยปัญหาใหม่ๆ และพบความหวังอยู่ในความเศร้าโศก
หมดหวังทุกอันไป ผู้ที่มีนิสัยเช่นนั้นย่อมมีความสุขที่แท้จริง
และนับว่าเป็นคนโชคดี

แสงแห่งความสุขจะเจิดจ้าอยู่ในดวงตาของเขา
และเราจะเห็นว่าเขายิ้มแย้มอยู่เสมอ ดวงใจของคนชนิดนี้จะส่องประกายแวววาว
เหมือนดวงดาวและเขาจะมองดูทุกสิ่งด้วยดวงตาที่มีความเข้าใจ
และด้วยสีสันที่ปรารถนา”


ท่านอิม่ามซอดิก(อ.)ถือว่าการคาดหมายในสิ่งดีนั้นเป็นสิทธิ์อย่างหนึ่ง
ที่มุสลิมพึงมีต่อกันและกัน

“ในบรรดาสิทธิที่ผู้มีศรัทธาผู้หนึ่งมีต่อผู้มีศรัทธาอีกผู้หนึ่งนั้นก็คือ
การไม่ระแวงสงสัยเขา”
                                               
                                                              (อุซูล อัล-กาฟี,เล่ม1,หน้า394)



อันที่จริงนั้นสิ่งที่สามารถทำให้คนเรามีการมองโลกในแง่ดี
และมีความไว้วางใจได้มากที่สุดก็คือความศรัทธานั่นเอง

ถ้าหากว่าประชาชาติทั้งมวลเป็นชนชาติเดียวกับผู้ที่มีศรัทธาในอัลลอฮฺ
ในศาสดาของพระองค์และในวันพิพากษาครั้งสุดท้ายแล้วไซร้
ก็จะเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนจะไว้ใจซึ่งกันและกัน

การขาดศรัทธาในหมู่ผู้คนก็คือสาเหตุที่ทำให้มีความระแวงแพร่หลายอยู่ในสังคม
ผู้มีศรัทธาซึ่งหัวใจของเขามีความสุขด้วยความเชื่อมั่นและไว้วางพระทัย
ในอัลลอฮฺย่อมสามารถพึ่งพิงอาศัยพลังอันไม่มีจำกัดนั้นได้
เมื่อเขาได้รับความเดือดร้อนจากความอ่อนแอของเขา

เขาจะหาที่พึ่งในอัลลอฮฺในระหว่างที่เขาตกระกำลำบาก

สิ่งนี้จะฝึกฝนดวงวิญญาณของเขาและมีผลกระทบต่อศีลธรรมของเขาอย่างลึกซึ้ง








อยู่ๆก็ให้นึกถึงหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา...
เลยนึกได้ว่า เคยเอามาลงไว้ที่นี่แล้ว...

ใครจะรู้ว่า...ปัจจุบันนี้ ความไว้วางใจหาได้ยากยิ่งกว่า
อะไรทั้งหมดที่มีในโลกนี้เสียอีก...


...ที่ได้ฟังได้เรียนมาคงไม่ผิด ที่หากว่าเมื่อไหร่
ที่ความไว้วางใจไม่มีเสียแล้ว ความวุ่นวายก็จะติดตามมา...

...วันนี้ได้คุยปรับทุกข์กับพ่อ จนได้ข้อคิดบางอย่างกลับมา
เมื่อได้ใคร่ครวญสิ่งต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิต...

...ครั้งหนึ่งพ่อเคยถามว่า ทำไมเรียนจบแล้วไม่อยู่ทำงานต่อ
ที่ญี่ปุ่น...

...ตอนนั้นตอบพ่อไปว่า...คนที่นั่นไม่มีเสน่ห์พอ
ที่จะดึงดูดใจให้อยู่ต่อน่ะพ่อ...อยู่กับคนที่เคยไม่ไว้ใจเรา
อยู่กับสังคมที่มีแต่คนไม่ไว้ใจกันและกัน มันเหนื่อยๆ
และอึดอัด...จนอยู่แล้วไม่มีความสุข...

...คำถามต่อมาจากคนอื่นๆอีกว่า ทำไมไม่มีฟงมีแฟน
เป็นคนญี่ปุ่นกลับมาบ้างหรือ อย่าบอกนะว่าไปอยู่มาหลายปี
แล้วไม่มีปิ๊งใครบ้าง...

...ข้าน้อยยิ้มแล้วตอบไปแบบตรงๆไม่อ้อมค้อมเลยว่า..
ไม่มี...เพราะคนญี่ปุ่นไม่อาจทำให้รักได้...
ไม่ใช่ไม่อยากรักเขา แต่รักไม่ได้ ไม่รู้ทำไม...

...วันนี้ได้บอกกับพ่อไปว่า...หนูรู้แล้วนะพ่อ
ว่าทำไมเมื่อก่อนถึงรักคนญี่ปุ่นไม่ได้...
ไม่ใช่เพราะหนูเป็นคนใจแข็ง รักยากอะไรหรอกค่ะ
พ่อก็รู้ว่าถ้าใครดีกับหนู หนูรักหมด...
แต่ก็เพิ่งมารู้สึกแปลกๆว่าทำไมหนูถึงไม่รักคนญี่ปุ่น
คนที่นั่นก็ดูน่ารักจะตาย แต่ทำไมหนูถึงรู้สึกเฉยๆ
ไม่เกลียด แต่ก็ไม่ได้รู้สึกอะไรเป็นพิเศษ...

วันนี้หนูเข้าใจตัวเองมากขึ้นแล้วล่ะพ่อ...
เพราะเมื่อถอยออกมา มันทำให้หนูเห็นอะไร
ในมุมกว้างขึ้น...

เพราะว่า...ความรักมันจะเกิดขึ้นไม่ได้
หากไม่มีความไว้วางใจต่อกัน...คนญี่ปุ่นไม่เคยไว้ใจเรา
เขาไม่เคยให้ความไว้วางใจเรา...เขาระแวงเรา เขากลัวเรา
เขาไม่พูดตรงๆหรอกว่าไม่ไว้ใจเรา แต่การกระทำทุกอย่าง
ของเขามันทำให้เรารู้สึกว่า เขาไม่ไว้ใจเรา...
ไม่เชื่อใจเรา...เขาจึงไม่กล้าเปิดใจ...

แล้วเราจะรักเขาได้อย่างไร มันยากมากเลยกับการจะรัก
คนที่เขาไม่เคยให้ความไว้วางใจเรา...
ทั้งๆที่เราจริงใจกับเขา...ไม่เคยคิดร้ายกับเขา...
ไม่เคยต้องการอะไรจากเขามากมาย นอกจากความจริงใจ
ในการคบหากันก็เท่านั้น...

วันนี้เลยไม่ค่อยแปลกใจกับตัวเอง
ที่ไม่ได้รู้สึกรักใคร่คนญี่ปุ่นนัก
เพราะรู้สึกได้ว่า...เขาทำให้เรารักเขาไม่ได้...
เขาไม่มีเสน่ห์พอให้เรารักได้...

ก็เลยไม่รู้ว่า คนที่ไม่ไว้ใจคนอื่น เขารักคนอื่นได้ยังไง
และถ้ารัก...รักจริงๆหรือเปล่า...


เพราะที่ผ่านมาเหมือนทุกอย่างที่ทำๆกัน
มันคือหน้าที่ที่ต้องทำ พอหมดหน้าที่ ก็จบ...
และก็จบลงจริงๆ...สายใยสายสัมพันธ์มันน้อยมากค่ะ...

เพราะการทำอะไรเพราะมันคือหน้าที่
กับการทำอะไรที่ทำด้วยใจนั้น
ผลลัพธ์ของมันย่อมไม่เหมือนกัน

ซึ่งเมื่อนำกลับมาเทียบดู
มันช่างแตกต่างกับความรู้สึกที่เรามีต่อเพื่อนคนไทย
และเพื่อนสมัยมัธยม เพราะเขาเหล่านั้นเรารัก
และผูกพันกัน จริงใจต่อกันและกัน จากกันก็ยังคิดถึงกัน...



“เขาผู้ที่ไว้วางใจผู้อื่นย่อมได้รับความรักจากผู้อื่น”

ย่อมเป็นอมตะวาจา...

เพราะข้าน้อยเชื่อแล้วว่า...ต้นรักจะไม่งอกงาม
บนผืนดินที่ปราศจากความไว้วางใจ...

เมื่อใดที่ท่านถูกทำให้รู้สึกเหมือนเขาไม่ไว้ใจ
ท่านก็จะเข้าใจว่า มันยากที่เราจะรักเขาคนนั้นได้....
และมันยากที่รักจะเกิดบนสภาพที่ไร้ความไว้วางใจ...

เพราะการไม่ไว้ใจกัน ก็เท่ากับการไม่ให้เกียรติกัน...
และปกติคนที่มองโลกในแง่ลบ ก็มักจะไม่ค่อย
ไว้ใจใคร...

และเหนือสิ่งอื่นใด...

พ่อบอกว่า...

"คนที่ไม่น่าไว้วางใจที่สุด ก็คือ คนที่ไม่เคยไว้วางใจใคร..."


ถ้าท่านคิดว่า...การไม่ไว้วางใจกัน มันเป็นเรื่องธรรมดา
ขอให้ท่านเชื่อเถอะว่า...นั่นแหล่ะคือภัยมืด
ที่กำลังรุกรานสังคมเราอย่างเงียบๆ...มันมาแบบไม่มีเสียง
แต่อานุภาพของมัน สามารถทำลายความสงบมั่นคง
ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว....

เพราะที่ข้าน้อยเจอ...ธุรกิจปัจจุบัน
หากเราเข้าไปที่ไหนสักแห่ง ไม่ว่าจะร้านค้า
หรือสถานบริการ ทุกที่จะมีกล้องวงจรปิด...
ที่ทำงานก็มีกล้องวงจรปิด ไม่ว่าเราจะใช้คอมฯทำอะไร
ก็จะมีคนคอยจับตา แอบดูการทำงานของเราอยู่...
ไม่ว่าจะเดินไปไหน ก็มีคนคอยสอดส่องสายตาจับผิดเราอยู่

ทุกๆครั้งที่เข้าที่ทำงาน...
มันทำให้รู้สึกเหมือนเดินเข้าไปในคุกที่ปราศจากลูกกรง
แต่มันกักขังเรา ไม่ให้เรามีอิสรภาพ
ไม่ให้เราขยับเขยื้อนไปไหนได้...

เราเหมือนอะไรสักอย่างที่เมื่อเข้าไปในนั้นแล้ว
ก็ต้องทำตามทุกอย่างที่ระบบที่นั่นสั่งให้ทำ...

กฎที่เขาออกมาบังคับเรา ไม่ได้ช่วยให้เรามีอิสรภาพ
ไม่ได้ออกมาเพื่อตัวเรา แต่ออกกฎเหล่านั้นมาเพื่อตัวเขา
โดยล้วน...เราไม่ได้ประโยชน์อะไรจากกฎเหล่านั้นเลย

ต่างจากกฎของอัลลอฮฺ พระองค์สร้างกฎให้เราทำ
สั่งห้ามเรา ทุกอย่างนั้นล้วนเพื่อเป็นประโยชน์แก่ตัวเราทั้งนั้น

เมื่อมองไปรอบๆ ทำให้นึกถึงอัลลอฮฺ
แล้วก็ต้อง อัลฮัมดุลิลลาฮฺ...

กฎของพระองค์ช่างออกแบบมาเพื่อตัวเราโดยเฉพาะเลย
มันเป็นกฎที่ก่อให้เกิดสิ่งดีๆและเป็นประโยชน์ต่อเราทั้งนั้น
หาได้เป็นกฎเพื่อตัวพระองค์เองไม่...
มันช่างแตกต่างจากกฎที่มนุษย์วางไว้ให้เราทำตามเหลือเกิน


ใครๆชอบว่าข้าน้อยชอบฉีกกฎ แหวกกฎ
แต่เขาก็บอกว่า ทำไมข้าน้อยจึงยังมั่นคงกับศาสนา
ที่มีกฎมากมายที่ทำตามได้ยาก
ไม่เห็นจะแหกกฎศาสนาบ้าง
แต่กลับมาฉีกกฎ แหกกฎชาวบ้าน ไม่ชอบเดินตามกรอบ
ที่คนส่วนใหญ่เขาทำกัน...
ชอบแหวก ชอบพังกำแพงออกไปแบบนี้ตลอด...


วันนี้ก็ได้ฉีกกฎเขาไปสองข้อใหญ่ๆ
และเขาก็ต้องยอมรับในเหตุผลของเรา...
ในเมื่อมันไม่ได้อำนวยประโยชน์ให้แก่ใคร
จะสร้างกฎนั่นมาทำไม...ข้าน้อยก็ถามเขาไปตรงๆแบบนั้น...
แบบเจ็บสุดช้ำ...ไม่ไหวจะทนน่ะค่ะกับกฎแบบนั้น...
มันไม่ชอบธรรม เลยรับไม่ได้สุดๆ...

และบอกเขาไปว่า...
เราก็มีจรรยาบรรณต่อหน้าที่การงานของเรา
เชื่อเราบ้างเถอะ ไว้ใจเราบ้างเถอะ...
เพราะหากเราทำอะไรอย่างที่ท่านคิดหวาดกลัวไปนั้น
ก็เท่ากับเรากำลังฆ่าตัวตายชัดๆ เราไม่ทำแบบนั้นหรอก
เราไม่เอาประวัติเสียๆมาแปะบนหน้าผากเราหรอกค่ะ
อนาคตเรายังมีให้คิดถึง ให้คาดหวัง เราไม่มาทำอะไร
ที่ดูเป็นการทำลายตัวเองแบบนั้นแน่ๆ...
เราก็คนหนึ่งที่อยากทำดี...อยากให้คนอื่นมองว่าดี...
อยากได้รับความไว้วางใจจากคนอื่น...
ไม่ใช่ความหวาดระแวง สงสัย...

ก่อนไปนอน...อยากฝากเนื้อเพลงนี้เอาไว้นิดนึงนะคะ
แม้จะเป็นเนื้อเพลง แต่เชื่อว่ามันไม่ได้ไร้สาระเลย...


"ออกเดินจากบ้านสู่เมืองฟ้า สู่เมืองเทวาเมืองบางกอก
เดินทางเดียวดายจากบ้านนอก มาเล่ามาเรียนมาศึกษา

เจอะคนทั้งแบบนี้แบบนั้น เจอะทั้งแมงวันทั้งจิ้งจอก
เจอะทั้งคนดีคนกลับกลอก คนหวังปอกลอกมีมากมาย

ต้ังใจร่ำเรียนทุกค่ำเช้า ถึงหนักถึงเบาไม่ร้องบอก
อยู่ไปวันๆเหมือนมีปลอก ลากคอให้เดินตามทาง...

ชี้ให้ฉันเดินไปทางไหน จะเร่งรีบไปตามคุณบอก
หัวใจเฉื่อยชาแบกช้ำชอก แตกหักยับเยินป่นปี้

ชี้ให้ฉันเขียน ฉันรีบเขียน ชี้ให้ฉันเรียน ให้ฉันสอบ
แข่งขันกันไปหลายรอบ เหมือนเลือกเอาม้าพันธฺุ์ดี

ทำเพื่อหนทางที่วาดหวัง รีดเข็นพลังพุ่งพวยออก
ก็ตามประสาคนจนตรอก หวังงานทำเงินเลี้ยงครอบครัว

จวบจนฉันจบการศึกษา รับใบปริญญาที่ฉันชอบ
สุขใจแค่ไหนไม่ต้องบอก ยิ้มพลางเดินพลางสบายดี

รีบเดินย่ำต๊อกหางาน ความสดชื่นบานที่เคยมี
เริ่มหดเริ่มหายขึ้นทุกที ไม่มีไม่มี ไม่มีงาน

รับคนสิบห้าคนทำงาน เด็กฝากเด็กท่านเอาหนึ่งโหล
ที่เหลือหมื่นพันร้องไห้โฮ ระบบทางแก้ไม่มี...

หลายที่หลายแห่งคนทำงาน เช้าชามเย็นชามสองขั้นปี
แต่คนขยันทำงานดี ไม่มี ไม่มี ไม่มองมา...

อย่างนี้เมื่อไหร่บ้านเมืองไทย เจริญก้าวไปทัดเทียมทัน
นานาประเทศตามคำขวัญ ที่เขียนเอาไว้สวยดี

อุตส่าห์ร่ำเรียนมาแทบตาย แต่ผลสุดท้ายต้องตกงาน
หมดเงินหมดแรงอยู่ตั้งนาน วิมานมาพังไร้ชิ้นดี...

แม่จ๋าลูกกลับมาแนบเนา กลับสู่บ้านเราด้วยช้ำชอก
ทุ่มเทกายใจให้บ้านนอก...หลังถูกจับขังหลายปี...

แม่จ๋าลูกกลับมาแนบเนา กลับสู่บ้านเราด้วยช้ำชอก
ทุ่มเทกายใจให้บ้านนอก

...หลังถูกจับขังหลายปี..."


ลูกกรงที่ขังเราอยู่ บางครั้ง เราก็มองด้วยตาไม่เห็น

วันนี้...การได้กลับมาอ่านบทความเหล่านี้อีกครั้ง
มันทำให้เราได้คิดในสิ่งที่เคยลืมคิดไป...

และทำให้คิดอะไรได้ขึ้นมาอีกครั้ง...
พรุ่งนี้ยังไม่สาย ที่จะเริ่มฉีกยิ้ม เอาใหม่อีกครั้งค่ะ....

^______________^

ขุด


วัสลามค่ะ

"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

 

GoogleTagged