
ครับ รายงานถึงมุญาฮิดเป็นรายงานที่อ่อน แต่เคยอ่านผ่านตาจากกระทู้ของผู้ใหญ่จากกระดานเสวนาแห่งนี้ได้ยินยันมากกว่าหนึ่งครั้งว่า ส่วนหนึ่งของเงื่อนไขการรับหะดีษของอุละมาอ์คือ تلقي العلماء بالقبول หมายถึงการยอมรับของอุละมาอ์ต่อหะดีษนั้น ถึงแม้ว่าจะมีสายรายงานที่อ่อนก็ตาม และหะดีษนี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของหะดีษเฎาะอีฟที่อุละมาอ์ยอมรับ และคำพูดของอิบนุญะรีรต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งที่บ่งบอกถึงการยอมรับของอุละมาอ์ต่อหะดีาดังกล่าว
مَا قَالَهُ مُجَاهِدٌ مِنْ أَنَّ اللهَ يُقْعِدُ مُحَمَّدًا صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَلَى عَرْشِهِ، قَوْلٌ غَيْرُ مَدْفُوعٍ صِحَّتُهُ، لا مِنْ جِهَةِ خَبَرٍ وَلا نَظَرٍ، وَذَلِكَ لأنهُ لا خَبَرَ عَنْ رَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، وَلا عَنْ أَحَدٍ مِنْ أَصْحَابِهِ، ولا عَنِ التَّابِعِينَ بِإِحَالَةِ ذَلِكَ...
แม้เป็นหะดีษที่อ่อนอุลามาอฺบางส่วนโดยเฉพาะอุลามาอฺฮัมบาลีบางส่วน ก็เป็นแค่รายงานคำพูดของท่านมุญาฮิด ไม่ใช่คำพูดของท่านนบี และหลักอะกีดะฮ์อิสลามต้องมาจากอัลลอฮ์และร่อซูล
ท่านอิบนุญะรีร บอกชัดเจนแล้วว่า
وأولى القولين في ذلك بالصواب ما صحّ به الخبر عن رسول الله
“ที่ดีเลิศจากสองทัศนะเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
ที่มีความถูกต้อง คือสิ่งที่รายงานศอฮิห์จากจากท่านร่อซูลุลลอฮ์”
ท่านอิบนุญะรีรบอกว่า
ที่ถูกต้อง คือการชะฟาอะฮ์ซึ่งเป็นสิ่งที่ศอฮิห์จากท่านร่อซูลุลลอฮ์
และท่านอิบนุญะรีร ได้กล่าวอีกว่า
مَا قَالَهُ مُجَاهِدٌ مِنْ أَنَّ اللهَ يُقْعِدُ مُحَمَّدًا صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَلَى عَرْشِهِ، قَوْلٌ غَيْرُ مَدْفُوعٍ صِحَّتُهُ، لا مِنْ جِهَةِ خَبَرٍ وَلا نَظَرٍ، وَذَلِكَ لأنهُ لا خَبَرَ عَنْ رَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، وَلا عَنْ أَحَدٍ مِنْ أَصْحَابِهِ، ولا عَنِ التَّابِعِينَ بِإِحَالَةِ ذَلِكَ
แปลสรุปคือ “การที่อัลลอฮ์ทรงเชิญนบีมุฮัมมัด(ซ.ล.)นั่งบนบัลลังก์ของพระองค์(โดยท่านอิบนุญะรีรได้กล่าวคำว่า นั่งพร้อมกับพระองค์มาเลย)นั้น ไม่ถูกปฏิเสธในด้านของสติปัญญา...”
ตรงนี้มีข้อสังเกตว่าท่านอิบนุญะรีรได้บอกว่า “การที่อัลลอฮ์ได้เชิญให้ท่านนบีนั่งบนบัลลังก์ของพระองค์” นั้นไม่มุสตะฮีลตามหลักสติปัญญา โดยท่านอิบนุญะรีร อัฏเฏาะบะรีย์ มิได้ระบุคำว่า “(นั่ง)พร้อมกับอัลลอฮ์” ซึ่งทุกฝ่ายก็ไม่เห็นว่าจะเป็นสิ่งที่มุสตะฮีลเหมือนกัน เนื่องจากอัลลอฮ์สามารถที่จะให้ท่านนบีมุฮัมมัดนั่งบนบัลลังก์ได้
ท่านอิบนุหะญัร ได้กล่าวรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
وَقَدْ جَاءَ عَنْ اِبْنِ مَسْعُودٍ عِنْد الثَّعْلَبِيِّ وَعَنْ اِبْنِ عَبَّاس عِنْد أَبِي الشَّيْخ وَعَنْ عَبْد اللَّه بْن سَلَام قَالَ : إِنَّ مُحَمَّدًا يَوْم الْقِيَامَة عَلَى كُرْسِيّ الرَّبّ بَيْنَ يَدَيْ الرَّبّ أَخْرَجَهُ الطَّبَرِيُّ . قُلْت : فَيَحْتَمِل أَنْ تَكُونُ الْإِضَافَة إِضَافَة تَشْرِيف
“ได้มีระบุมาจากท่านอิบนุมัสอูด จากรายงานของอัษษะละบีย์ และได้ระบุรายงานจากท่านอิบนุอับบาส จากรายงานของอะบีอัชชัยค์ และระบุรายงานจากท่านอับดุลลอฮ์ บิน สะลาม ได้กล่าวว่า “แท้จริงในวันกิยามะฮ์นั้น ท่านนบีมุฮัมมัดอยู่บนเก้าอี้ของอัลเลาะฮ์(นั่ง)อยู่ระหว่างเบื้องหน้าของพระองค์” นำเสนอรายงานโดยท่านอัฏเฏาะบะรีย์ ข้าพเจ้า(คือท่านอัลฮาฟิซ)อิบนุหะญัร)ขอกล่าวว่า อธิบายได้ว่า การพาดพิง(เก้าอี้ของอัลลอฮ์)นั้นเป็นการพาดพิงเพื่อเป็นเกียรติ(ไม่ใช่อัลลอฮ์มานั่งเก้าอี้ด้วย ซึ่งเหมือนกับบัยตุลลอฮ์ “บ้านของอัลลอฮ์” ที่มักกะฮ์ พาดพิงเพื่อเป็นเกียรติ เมื่อหมายถึงอัลลอฮ์มีบ้านอยู่)” ดู ฟัตหุลบารีย์
จากสายรายงานเหล่านี้ ระบุว่า ท่านนบีได้นั่งบนเก้าอี้ในวันกิยามะฮ์ โดยไม่ได้ระบุว่า “นั่งพร้อมกับอัลลอฮ์” ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ค้านกับสติปัญญา
จากสิ่งดังกล่าว สามารถสรุปได้ 2 ประการ
1. หากท่านนบีได้นั่งบนเก้าอี้หรือถูกเชิญให้นั่งเพียงคนเดียว ถือว่าไม่มีปัญหาทางด้านของสติปัญญา
2. หากท่านนบีนั่งและอัลลอฮ์นั่งพร้อมกับท่านนบี ปราชญ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์มากมายให้การคัดค้านและมีปัญหาทางด้านของสายรายงานและไม่มีรายงานที่ซอฮิห์ถึงท่านนบี(ซ.ล.)
ดังนั้นความพยายามที่ให้หลักอะกีดะฮ์ อัลลอฮ์นั่งพร้อมกับนบีมุฮัมมัด เป็นความเชื่อที่ชอบธรรมนั้น เป็นช่องทางที่ให้พวกชีอะฮ์โจมตีอะฮ์ลิสซุนนะฮ์และนำไปโพธนาให้คนเอาวามทั่วไปเข้าใจว่านแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์เชื่อกันแบบนี้ จนกระทั่งทำให้คนเอาวามออกจากอะฮ์ลิสซุนนะฮ์เพราะเป็นอะกีดะฮ์ที่สื่อให้เห็นว่าอัลลอฮ์เป็นรูปร่างนั่งพร้อมกับท่านนบีในวันกิยามะฮ์ วัลอิยาซุบิลลาฮ์
วัลลอฮุอะลัม