ผู้เขียน หัวข้อ: เรียนถาม เรื่อง จะละหมาดวันศุกร์หรือจะละหมาดดุห์รี  (อ่าน 4072 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ isma-il

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 232
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

อัสลามุอลัยกุม ฯ อาจารย์อัชอารีย์

....พอดีว่าวันนี้มีเรื่องที่ประสบกับตัวเอง เลยอยากจะรบกวนสอบถามเรื่องการละหมาดญุมอะห์ (วันศุกร์)

....คือเรื่องมีอยู่ว่า ผมทำงานอยู่หมู่บ้านหนึ่ง แต่หมู่บ้านนั้นมีมัสยิดใกล้ๆกัน 2 มัสยิด มิสยิดแรกห่างจากที่ทำงาน(ประมาณ) 2 กิโลเมตร และมิสยิดที่ 2 ห่างออกไป 4 กิโลเมตร (ใกลกว่า)

....มัสยิดแรกจะละหมาดดุห์รีแทนละหมาดวันศุกร์ เนื่องจากคนในมุเก็มมีจำนวนครัวเรือนน้อยเลยมีไม่ถึง 40 คน จึงไม่ได้ทำละหมาดญุมอัต
....แต่มัสยิดที่ 2 ทำการละหมาดญุมอัต

คำถาม

1. ผมเองซึ่งไม่ใช่คนพื้นที่นั้นแต่ทำงานแถวนั้น ควรจะละหมาดมัสยิดใด
2. ข้อนี้สงสัย มัสยิดแรกละหมาดดุห์ริได้หรือ และก็ระยะทาง ทางด้านศาสนาเข้ามีอธิบายไว้อย่างไร

ญาซากัลลอฮ์ฮูค๊อนรอ

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
بسم الله الرحمن الرحيم

الحمد لله رب العالمين و الصلاة والسلام على سيدنا محمد وعلي اله وصحبه أجمعين

1. หากคุณไม่ใช่คนในพื้นที่นั้น  คุณก็สามารถเลือกละหมาดที่มัสยิดที่คุณสะดวกจะไปนะครับ  หากไปมัสยิดแรกก็ให้ละหมาดซุฮ์รี่พร้อมกับพวกเขา  แต่ถ้าหากไปมัสยิดที่สอง  ก็ให้คุณทำละหมาดญุมุอะฮ์ตามพวกเขานะครับ

2. ละหมาดมัสยิดแรกนั้นถือว่าใช้ได้นะครับ  คือให้รวมตัวทำละหมาดซุฮ์ริพร้อมกับพวกเขา   ส่วนระยะทางนั้น  ไม่ได้กำหนดเอาไว้  แต่ให้เอาเขตชุมชนหรือเขตหมู่บ้านหรือการได้ยินเสียงอะซานมาเป็นตัวกำหนดนะครับ   

กล่าวคือ  ต้องปฏิบัติญุมุอะฮ์ในเขตชุมชน  ไม่ว่าเขตชุมชนนั้นจะเป็นเมืองหรือหมู่บ้านที่มีคนอาศัยอยู่ประจำถิ่นไม่น้อยกว่าสี่สิบคนที่เป็นผู้ชายที่จำเป็นต้องทำญุมุอะฮ์

ความหมายที่ว่า "เมือง" นั้น  คือ  ชุมชนขนาดใหญ่ที่มี  กอดี (ผู้พิพากษา) , ฮากิม (ผู้ปกครอง) , มีตลาดการค้า ,  และความหมายที่ว่า "หมู่บ้าน" นั้น  คือ  ชุมชนที่ไม่มีสิ่งดังกล่าว

ดังนั้น  จึงใช้ไม่ได้ที่จะทำญุมุอะฮ์ในกลางทุ่ง  และระหว่างกระโจมที่พักและในหมู่บ้านที่มีผู้ชายที่จำเป็นต้องทำญุมุอะฮ์ไม่ครบสี่สิบคน  ดังนั้น  ถ้าหากพวกเขาได้ยินเสียงอะซานจากเมืองใกล้เคียง , พวกเขาจึงเป็นออกไปละหมาดญุมุอะฮ์  และถ้าหากพวกเขาไม่ได้ยินเสียงอะซาน  ละหมาดญุมุอะฮ์ถือว่าหลุดร่วงไปจากพวกเขา

หลักฐานในหลักการข้อนี้คือ : ละหมาดญุมุอะฮ์ไม่ได้มีการปฏิบัติในสมัยท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  และคอลีฟะฮ์ทั้งสี่  นอกจากเป็นไปตามหลักการดังกล่าวและชาวอาหรับเผ่าต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่รอบ ๆ นครมะดีนะฮ์นั้น  พวกเขาไม่ได้ทำละหมาดญุมุอะฮ์  และท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ไม่เคยใช้ให้พวกเขาทำญุมุอะฮ์

 والله تعالى أعلى وأعلم
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged