
2. แตคำว่า สังกัด ในความคิดของผม การยึดติด หรือ ตะอัดซุบ และเป็นการตัดลีด ซึ่งในทัศนะของผม การตักลีด หมายถีง การตามแบบมึดบอดคีอไม่รู้ที่มาที่ไปในเรื่องนั้น ๆ ซึ่ง

งั้นแสดงว่าคุณroy4 เข้าใจคลาดเคลื่อนตั้งแต่คำนิยามคำว่าทัศนะ แล้วครับ ไม่เป็นไร ผมจะทบทวนให้อีกที
มัซฮับตามหลักภาษา หมายถึง ที่ไป หรือ ทางไป ตามหลักวิชาการ หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เกียวกับธรรมเนียมในเชิงปฏิบัติของปวงปราชญ์ที่ถูกนำมาใช้กับฮุ กุ่มต่างๆ ที่
อิมามในขั้นระดับมุจญฮิดได้วินิจฉัยออกมา หรือหมายถึงฮุกุ่มต่างๆ ที่ได้วินิจฉัยออกมาตรงตามกฎเกณฑ์และหลักการของอิมามที่อยู่ในขั้นระดับมุ จญฮิด โดยบรรดาสานุศิษย์ที่อยู่ในระดับมุจญฮิดที่ปฏิบัติตามหลักการต่างๆ ของอิมามในการวิเคราะห์วินิจฉัยฮุกุ่มออกมา
การมีมัซฮับหรือการตามมัซหับหรือการสังกัดมัซหับตามความที่กล่าวมานี้ จึงหมายถึง หนทางหรือแนวทางของบรรดาปวงปราชญ์ได้ยึดถือปฏิบัติกัน ไม่ว่าจะเป็นนักหะดิษ นักนิติศาสตร์ นักธิบายอัลกุรอาน และอักษรศาสตร์ ซึ่งในเรื่องนี้นั้น ไม่มีนักวิชาการท่านใดที่โลกยอมรับจะให้การปฏิเสธ เพราะท่านจะพบว่า บรรดานักวิชาการทั้งหลายเขาปฏิบัติตามมัซฮับที่ตนพึงพอใจทั้งสิ้นโดยเขานำมา ฟัตวาและตัดสินแก่ผู้คนทั้งหลายดังนั้นการตามหรือยึดถือตามมัซหับหนึ่งมัซหับใดก็คือ การยึดคำวินิจฉัยของปราญชระดับมุจญฮิดซึ่งก็ล้วนเอามาจากอัลกรุอ่านและอัชซุนนะทั้งหมด แล้ววินิจฉัยกลั่นกรองออกมาเป็นฮูกมต่างๆ เพราะสมัยท่านนบีการกำหนดฮุกมต่างๆนั้นยังไม่มีการบันทึกเพิ่งหลังทีท่านนบี(ซล)จากไปแล้ว ในสมัยของซอฮาบะและช่วงของตาบีอีน ซึ่งจะเห็นว่าแม้กระทั่ง ซอฮาบะยังยึดหรือตามมัสหับหรือแนวทางของบรรดาซอฮาบะด้วยกันโดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้บางคน เช่น
ถ้าเมืองมาดีนะ,มักกะก็จะยึดคำวินิจฉัยของท่านอิบนุอุมัร(รด) เเต่ถ้าในเมืองกูฟะ ก็จะตามทัศนะหรือยึดคำวินิจฉัยของท่านอิบนุอับบาส ถ้าแถวเมืองชามก็ยึดคำวินิจฉัยของ ท่านอิบนุมัสอูดฯลฯเป็นต้น
เพราะบรรดาซอฮาบะส่วนมากก็ใช่ว่าจะมีความรู้เท่าเทียมกันหมด เขาจำเป้นต้องมีหรือตามทัศนะใดทัศนะหนึ่งที่เขาต้องการและง่ายสำหรับเขาและใกล้กับบรรดาผู้รู้ของเขา ดังที่เรารับทราบว่าเหล่าซอฮาบะนั้นมีทั้งคนเก่ง คนฉลาด คนซื่อ คนความจำดี คนขี้ลืม หรือคนหนุ่ม คนสาวและทั้งหญิงและชายฯลฯ ซึ่งเขาไม่มีความสามารถที่จะเรียนรู้ถึงระดับขั้นวินิจฉัยตัวบทจากอัลกรุอ่านและอัลอาดิสได้เอง และการรับรู้อัลกรุอ่านและอัลฮาดิสก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะรับทราบเหมือนกันหมดเลยทีเดียว
[
อีหม่ามฮานาฟี เคยกล่าวไว้ว่า (ผมไม่จำชื่อหนังสือ) อย่านำคำพูดของฉันไปอ้าง ถ้าไม่รู้หลักฐานหรือที่ไปที่มาของมัน
หนังสืออะไรหรือ
-อีหม่ามชาฟีอีได้กล่าวว่า (เรียนรู้จากผู้รู้)ถ้าคำของฉันไปขัดแย้งกับคำพูดของท่านรอซูล ก็ให้ทิังคำพูดของฉันและไปยึดคำพูดของท่านรอซูล
party:นี่ก็คุณเข้าใจผิดอีกครับ เพราะคำพูดนี้คือ เป็นคำพูดที่ท่านอีม่ามชาฟีอี(รฮ)พูดกับศานุสิษย์ของท่านขณะที่ถามถึงปัญหาต่างๆที่เกี่ยวการระดับของการรับรู้ฮาดิส และในทางตรงกันข้าม เราจะพบว่า ไม่มีใดคำพูดทีท่านอีม่ามชาฟีอี(รฮ)ขัดแย้งกับกีตาบุลลอฮ์และอัชซุนนะ ไม่มีเลย
-ท่านอีหม่ามฆอซาลี ได้ตำหนิ การตักลีดว่า การตามที่มืดบอด ( blind following) หรือเป็นความเชื่อมือสอง ( second hand belief) (ผมจำชื่อหนังสือไม่ได้เช่นกัน แต่เป็นฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าจำไม่ผิดชื่อหนังสือขึ้นต้นด้วยคำว่า ฮีดายะฮ์...)
party:ท่านอีม่ามอัลคอซาลี(รฮ) พูดเกี่ยวกับคนโง่ที่ตักลีดเหมือนคนตาบอดไม่ยอมศึกษาที่มาที่ไป ทั้งที่มีความสามารถอ่านออกเขียนได้ แต่ไม่ศึกษาหาความรู้ก่อน ที่มีการตักลีดหรือตาม แต่ท่านไม่ปฏิเสธในเรื่องการยึดหรือตามทัศนะเพราะท่านก็ยึดทัศนะของอีม่ามชาฟีอี(รฮ)รวมทั้งท่านก็สนับสนุนให้บรรดาศิษย์ของท่านในเรื่องการตามมัซหับด้วย
3
. การยึดติดกับมัสฮับจะทำให้การปฏิบัติยุ่งยากหรือไม่ ตัวอย่างเช่น การละหมาดการตามมัสฮับ บางครั้งทำให้ยุ่งยากในการปฎิบัติหรือไม่ เช่น เราละหมาดตามหลังอีหม่ามฮะนาฟีที่เพิ่งกระทบกับภรรยามาได้ใหม หรือตามหลังอีหม่ามมาลีกีที่ได้กระทบสุนัขได้ใหม (และถ้าละหมาดซุบฮีตามทัศนะของเขา อีหม่ามเหล่านี้ไม่อ่านกูนุตด้วย) อันนี้เคยเกิดขึ้นกับตัวผม เพื่อนของผมเคยปฏิเสธที่จะไปละหมาดญุมอัดที่มัสยิดปากีสถานทั้งๆที่ใกล้กว่า
4. ถ้าเราตามมัสฮับ เช่นตามอีหม่ามชาฟีอี สมมุติไปขัดแย้งกับสุนนะฮ์นบี เช่น การกระทบภรรยาเสียน้ำละหมาด ซึ่งท่านอีหม่ามชาฟีอี แปลตรงตัวว่าสัมผัสของผิวหนัง แต่อีหม่ามอื่น เช่นฮานาฟี หมายถึงการมีเพศสัมพันธ์ และยังมีฮาดีสอีกมากมายเกี่ยวกับเรี่องนี้ ถ้าเป็นเช่นนี้ เราจะตามทัศนะของอีหม่ามดีหรือตามสุนนะฮ์ ดีครับ
hihi:คุณroy4ครับ การวินิจฉัยเรื่องการเสียน้ำละหมาดไม่ใช่เรื่องของความขัดแย้งกับซุนนะเกาลียะ หรือเฟียะลียะเลยแต่มันมาจากการวินิฉัยตัวบทจากอัลกรุอ่านที่แตกต่างกันต่างหาก
กรุณาไปดูกระทู้การกระทบกันเสียน้ำละหมาดหรือไม่ในเมื่อฮาดิสนั้นไม่สามารถตัดสินความชัดเจนได้ เพราะเรื่องนี้ มันเกิดจากการเข้าใจตัวบทเดียวกันยที่แตกต่างกันตั้งแต่สมัยซอฮาบะแล้ว ท่านอิบนุอับาส วินิจฉัยและตะวีลความหมายคำว่า
ลามัสตุมบอกว่าเรื่องการกระทบซูเราะอัลบากอเราะดังกล่าวนั้นหมายถึงการมีเพศสัมพันธ์ ท่านอิบนุอุมัร วินิจฉัยและตะวีลความหมายคำว่า
ลามัสตุมท่านแปลตามตัวตรงซึ่งแปลว่า เรื่องการกระทบซูเราะอัลบากอเราะดังกล่าวนั้นหมายถึงการสัมผัส
และนี้คือคำตอบจากอ.จอาลี เสือสมิง
บุคคลที่จะเลือกเอาประเด็นปัญหาศาสนาจากมัซฮับอื่น ๆ นั้น นักวิชาการในภาควิชาอุซูลุลฟิกฮฺ(หลักมูลฐานนิติศาสตร์อิสลาม) ได้ระบุเงื่อนไขที่จำต้องคำนึงถึงเอาไว้หลายประการด้วยกัน ดังนี้
1. ประเด็นปัญหาศาสนานั้นต้องอยู่ในหมวดของประเด็นปัญหาที่มีการวิเคราะห์โดยกำลังสติปัญญา (อิจติฮาดียะฮฺ) และไม่เด็ดขาด (ซ็อนฺนียะฮฺ) ส่วนเรื่องที่รู้กันโดยภาวะจำเป็นจากหลักการศาสนา อันเป็นสิ่งที่มีมติเห็นพ้อง (อิจญฺมาอฺ) และผู้ปฏิเสธเรื่องนั้น ๆ ถือเป็นผู้ปฏิเสธ ย่อมใช้ไม่ได้ในการเลือกเอาทัศนะที่ค้านกับเรื่องดังกล่าวมาปฏิบัติเพราะเป็นเรื่องที่มีตัวบทชัดเจนและเด็ดขาด (ก็อฏอียะฮฺ) ซึ่งกรณีนี้ไม่อนุญาตให้ใช้การวิเคราะห์โดยกำลังสติปัญญา ทั้ง ๆ ที่มีตัวบท
ดังนั้นจีงไม่อนุญาตให้ตัลฺฟีก หรือ ตักลีดฺ ซึ่งจะนำพาไปสู่การอนุมัติสิ่งที่ถูกบัญญัติห้ามเอาไว้ เช่น การดื่มของหมักที่ทำให้มึนเมาและการทำซินา เป็นต้น (อุซูลุลฟิกฮฺ อัลอิสลามีย์, ดร.วะฮฺบะฮฺ อัซซุฮัยลีย์, ดารุ้ลฟิกร์ (1996) เล่มที่ 2 หน้า 1144)
นอกจากนี้เรื่องที่เกี่ยวกับหลักศรัทธา (อะกออิด) การศรัทธา (อีมาน) และจริยธรรม (อัคล๊าก) ก็ไม่อนุญาตให้เช่นกัน (อ้างแล้ว 2/1150 โดยสรุป)
2. จะต้องไม่เป็นไปเพื่อการติดตามเสาะหาข้ออนุโลม (อัรรุค็อซฺ) ต่าง ๆ โดยเจตนาทั้ง ๆ ที่ไม่มีความจำเป็นถึงขึ้นวิกฤติ (ฎ่อรูเราะฮฺ) และอุปสรรคขัดข้อง (อุซฺร์) การกระทำเช่นนี้เป็นที่ต้องห้ามทั้งนี้เพื่อเป็นการปิดหนทางต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่ความเสียหายโดยทำลายข้อบังคับอันเป็นภารกิจทางศาสนบัญญัติ (อ้างแล้ว 2/1148 โดยสรุป)
3. การเลือกประเด็นข้อปัญหานั้น ๆ จะต้องไม่ทำลายคำตัดสินชี้ขาดของผู้เป็นฮากิม (ผู้ปกครอง) ทั้งนี้เพราะคำตัดสินของผู้ปกครองถือเป็นสิ่งยกเลิกข้อขัดแย้งทั้งปวงเพื่อป้องกันความวุ่นวายสับสนที่จะเกิดขึ้นได้ และประเด็นข้อปัญหานั้น ๆ จะต้องไม่เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความจำเป็นในการถอนตัวจากสิ่งที่เขาได้ปฏิบัติสิ่งนั้นไปแล้วโดยการถือตาม (ตักลีด) (อ้างแล้ว 2/1149 โดยสรุป)
4. จะต้องถือตามทัศนะที่กล่าวถึงประเด็นข้อปัญหานั้นเนื่องจากมีหลักฐานยืนยัน ดังนั้นบุคคลผู้นั้นจะต้องไม่เลือกเอาทัศนะที่อ่อนหลักฐานของมัซฮับต่าง ๆ แต่ให้ถือเลือกทัศนะที่มีหลักฐานแข็งแรงที่สุด ตลอดจนไม่ถือตามคำฟัตวาที่แหวกแนว (ช๊าซฺ) อีกทั้งผู้นั้นจำต้องรู้ถึงแนวทางต่าง ๆ ของมัซฮับที่เขาเลือกนำเอามาปฏิบัติ (อุซูลุลฟิกฮฺ ; อิหม่ามมุฮำมัด อบูซะฮฺเราะฮฺ ; ดารุ้ลฟิกร์ อัลอะรอบีย์ ; หน้า 379 โดยสรุป) และส่วนนี้เป็นคำตอบสำหรับคำถามของคุณ adam ในข้อ 2 ที่ถามว่า จำเป็นไหมที่จะต้องรู้ว่า การกระทำอย่างนี้เป็นของมัซฮับใด?
5. จะต้องพยายามอย่างสุดความสามารถในการที่จะไม่ละทิ้งข้อปัญหาที่เห็นพ้องไปปฏิบัติข้อที่มีทัศนะเห็นต่าง (อ้างแล้ว หน้าเดียวกัน)
6. จะต้องไม่ถือตามอารมณ์ของผู้คน หากแต่จำต้องถือตามสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ (อัลมัซละฮะฮฺ) และหลักฐาน (อ้างแล้ว หน้า 380) เงื่อนไขที่กล่าวมาข้างต้นทั้ง 6 ข้อนี้เป็นคำตอบสำหรับคำถามของคุณ adam ที่ถามว่า “มีเงื่อนไขในการตามมัซฮับอื่นหรือไม่?”
ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ (ร.ฮ.) กล่าวว่า : ย่อมไม่มีสิทธิสำหรับผู้หนึ่งผู้ใดในการที่เขาจะยึดเอามัซฮับที่เห็นต่างโดยอารมณ์ (ชะฮฺวะฮฺ) และบุคคลทั่วไป (อามมีย์) ย่อมไม่มีสิทธิในการที่เขาจะเลือกเฟ้นจากบรรดามัซฮับทั้งหลายในทุกข้อประเด็นปัญหาที่ดีที่สุดสำหรับเขาผู้นั้นและลามปามเปิดกว้าง ...” (อัลมุสตัซฟา 2/125) และย่อมเข้าสู่ภายใต้ขอบข่ายของชนิดนี้โดยสมควรอย่างยิ่งคือการเสาะแสวงหาติดตามข้ออนุโลมต่าง ๆ เพื่อความเพลิดเพลินและการยึดเอาคำกล่าวที่อ่อนหลักฐานจากทุก ๆ มัซฮับโดยถือตามความพอใจและอารมณ์ (อุซูลุลฟิกฮฺ อัลอิสลามีย์ ; ดร.วะฮฺบะฮฺ อัซซุฮัยลีย์ เล่มที่ 2 หน้า 1148-1149)
นี่คือคำตอบสำหรับคำถามข้อที่ 3 ซึ่งคุณ adam ถามมาว่า “การเลือกทำในบางอย่างที่ตรงกับความพอใจของเราจะได้ไหม?” (กล่าวคือ ทัศนะที่จะเลือกมาปฏิบัติและยึดถือนั้นต้องมีหลักฐานที่แข็งแรงถูกต้องมาสนับสนุนความพอใจหรือการที่เห็นว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งดีและปฏิบัติได้นั้นต้องเป็นไปตามหลักการ อันเป็นวิชาการมิใช่อาศัยอารมณ์หรือการต้องจริตมาเป็นบรรทัดฐาน
และผู้ใดอาบน้ำละหมาดและเช็ดศีรษะโดยถือตาม (ตักลีด) อิหม่ามอัชชาฟิอีย์ (ร.ฮ.) การอาบน้ำละหมาดของผู้นั้นถือว่าใช้ได้ ต่อมาเมื่อเขาผู้นั้นไปกระทบอวัยวะเพศของเขาในภายหลังโดยถือตามอิหม่ามอบูฮะนีฟะฮฺ (ร.ฮ.) ก็อนุญาตให้ผู้นั้นละหมาดได้ ทั้งนี้เพราะการอาบน้ำละหมาดของผู้ถือตามคนนี้ใช้ได้โดยมติเห็นพ้อง ทั้งนี้เพราะการสัมผัสอวัยวะเพศไม่ทำให้เสียในทัศนะของอิหม่ามอบูฮะนีฟะฮฺ (ร.ฮ.) ดังนั้นเมื่อบุคคลหนึ่งถือตามอิหม่ามของอบูฮะนีฟะฮฺ (ร.ฮ.) ในการไม่มีการทำลายสิ่งที่ถูกต้องในทัศนะของอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ (ร.ฮ.) การอาบน้ำละหมาดของผู้นั้นก็ยังคงอยู่ตามสภาพของมันด้วยการถือตาม (ตักลีด) อิหม่ามอบูฮะนีฟะฮฺ และในขณะนั้นจะไม่ถูกกล่าวว่า : แท้จริงการอาบน้ำละหมาดนั้นใช้ไม่ได้เนื่องจากการเสียน้ำละหมาดในทั้ง 2 มัซฮับ
ทั้งนี้เพราะประเด็นปัญหาทั้งสองเป็นกรณีที่แยกจากกัน เพราะการอาบน้ำละหมาดนั้นสมบูรณ์แล้ว โดยใช้ได้ด้วยการถือตามอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ (ร.ฮ.) และการอาบน้ำละหมาดก็ยังคงอยู่เรื่อยไปหลังการกระทบสัมผัสอวัยวะเพศนั้นด้วยการถือตามอิหม่ามอบูฮะนีฟะฮฺ (ร.ฮ.) ดังนั้นการถือตามอิหม่ามอบูฮะนีฟะฮฺ (ร.ฎ.) จึงเป็นไปในการคงอยู่ของการใช้ได้ มิใช่ในตอนเริ่มของมัน (ดูอุซูลุลฟิกฮฺ อัลอิสลามีย์ อ้างแล้ว เล่มที่ 2 หน้า 1146) ท่านอิบนุอับาส วินิจฉัยและตะวีลความหมายคำว่า
ลามัสตุมบอกว่าเรื่องการกระทบซูเราะอัลบากอเราะดังกล่าวนั้นหมายถึงการมีเพศสัมพันธ์ ท่านอิบนุอุมัร วินิจฉัยและตะวีลความหมายคำว่า
ลามัสตมท่านแปลตามตัวตรงซึ่งแปลว่า เรื่องการกระทบซูเราะอัลบากอเราะดังกล่าวนั้นหมายถึงการสัมผัส
5.การไม่สังกัดมัสฮับ คือการที่เรายึดตามสุนนะฮ์ โดยศึกษาดูจากหลักฐานที่แข็งแรง โดยไม่ยึดติดหรือตะอัซุบกับทัศนะของอีหม่าม ซึ่งถ้าจะดูฟีกฮ์หลักปฎิบัติของกลุุ่มสุนนะฮ์ที่ไม่ตักลีดแล้ว ก็ไม่มีอะไรไปขัดแย้งกับสี่มัสฮับนี้เลย เช่นการไม่เสียน้ำละหมาดเมื่อกระทบภรรยา ก็ตรงกับฮานาฟี การสัมผัสสุนัขได้ ตรงกับมาลีกี (คือให้ล้างเจ็ดน้ำ หนึ่งในนั้นเป็นน้ำดินกับภาชนะที่สุนัขเลียเท่านั้น) การอ่านบิสมิลละฮ์ เบา ๆ ก็ตรงกับอีหม่ามท่านอื่น ๆนอกเหนือจากชาฟีอี และอีกหลาย ๆเรื่องเมื่อศึกษาไปมันก็อยู่ในทัศนะของสี่อีหม่ามทั้งสิ้น ดั้งนั้น ถ้าเราตามฟักฮ์สุนนะ ได้ใหม คือเอากุรอานและฮาดิสเป็นหลักและเอาทัศนะอุลามาไว้ทีหลัง ซึ่งความจริงทั้งสี่อีหม่ามก็เอากุรอานและฮาดิสเป็นหลักอยู่แล้ว แต่อาจขัดแย้งในเรื่องการตีความและการยึดฮาดิสของละอีหม่าม
ทั้งหมดนี้คือทัศนะของผมครับ ขอขอบคุณด้วยความจริงใจอีกครั้ง หวังว่าจะได้รับเรื่องที่เป็นวิทยาทานต่อไป แต่ขอเรียนให้ทราบก่อนนะครับว่า ผมไม่ได้จบจากสายศาสนาโดยตรง และไม่ค่อยมีความรู้ภาษาอาหรับ
boulay:ถ้าคุณคิดว่าการมีมัสหับเป็นเรื่องไร้สาระและยุ่งยากก็แสดงว่า บรรดาสลัฟช่าง300ปีก็หลุ่มหลง ทั้งหมดใช่หรือไม่ เพราะคุณว่า ไม่จำเป็นต้องตามหรือยึดถือ ทั้งที่เขาเหล่านั้นมีความรู้มากกว่าคุณมากมายนัก
ปวงปราชญ์มัซฮับหะนะฟีย์
ท่านอิมามอบูยูซุฟ , ท่านอิมามมุหัมมัด บิน อัล-หะซัน , ท่านอับดุลเลาะฮ์ บิน อัลมุบาร๊อก , ท่านซุฟัร , ท่านญะฟัร อัฏเฏาะหาวีย์ , ท่านอัซซัรค่าชีย์ , อันนะซะฟีย์ , อะห์มัด บิน มุหัมมัด อัลบุคอรีย์ , ท่านอัซซัยละอีย์ , ท่านอัลกะมาล บิน อัลฮุมาม , ท่านอิบนุ อันนุญัยม์ , ท่านอิบนุอาบิดีน , และบรรดาปวงปราชญ์อีกหลายพันคนที่ได้ถูกบันทึกไว้ในหนังสือประวัติส่วนบุคคล ในมัซฮับหะนะฟีย์ ที่มีชื่อว่า ฏ่อบะก๊อต อัลหะนะฟียะฮ์ ถ้าจะพิจารณาประเทศต่างๆ ที่ปฏิบัติตามมัซฮับหะนะฟีย์โดยส่วนใหญ่แล้ว คือ อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ สินธุ อัฟกานิสถาน กลุ่มประเทศอาหรับในแถบชาม เช่นซีเรีย อิรัก และกลุ่มประเทศยุโรป ก็คือตามมัซฮับหะนะฟีย์ทั้งสิ้น
ปวงปราชญ์มัซฮับมาลิกีย์
ท่านอิมามอิบนุ อัลกอซิม , ท่านอัลอัชฮับ , ท่านซั๊วะหฺนูน , ท่านอะซัด บิน อัลฟุร๊อด , ท่านอัซบั๊ฆฺ , ท่านอิบนุ อับดุลบัรร์ , ท่านกอฏีย์ อัลอิยาฏ , ท่านอิบนุ อัลอะรอบีย์ อัลมาลิกีย์ , ท่านอบูบักร อัฏฏุรฏูชีย์ , ท่านอิบนุ อัลหาญิบ , ท่านอิบนุ อัลมุนัยยิร , ท่านอิบนุ รุชด์ , อัลบากิลลานีย์ , ท่านอัลบาญี , ท่านอัลกุรฏุบีย์ , ท่านอัลกุรอฟีย์ , ท่านอัชชาฏิบีย์ , ท่านอิบนุ คอลดูน , และบรรดาปวงปราชญ์อีกหลายท่านที่ถูกรวมอยู่ในตำรับตำราที่เกี่ยวกับประวัติ ส่วนบุคคลของมัซฮับมาลิกีย์ ซึ่งเรียกว่า “ฏ่อบะก๊อต มาลิกียะฮ์” นักปราชญ์เหล่านี้อยู่ในมัซฮับของอิมามมาลิกทั้งสิ้น และท่านสามารถกล่าวได้ว่า นักปราชญ์แห่งเมืองต่างๆ ในกลุ่มประเทศอาหรับตะวันตกในทวีปอาฟริกา เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 แห่งฮิจเราะฮ์ จวบจนถึงทุกวันนี้ ได้ยึดถือตามมัซฮับมาลิกีย์ทั้งสิ้น
ปวงปราชญ์มัซฮับอิมามชาฟิอีย์
ท่านอิมามอัลมุซะนีย์ , ท่านอิมามอัลบุวัยฏีย์ , ท่านอิบนุ อัลมุนซิร , ท่านมุหัมมัด บิน ญะรีร อัฏฏ๊อบรีย์ , ท่านอิบนุ สุรัยจฺญ์ , ท่านอิบนุ คุซัยมะฮ์ , ท่านอัลก๊อฟฟาล , ท่านอัลบัยฮะกีย์ , ท่านอัลค๊อฏฏอบีย์ , ท่านอบู อิสหาก อัลอัสฟิรอยีนีย์ , ท่านอบู อิสหาก อัชชีรอซีย์ , ท่านอัลมาวัรดีย์ , ท่านอบูฏ๊อยยิบ อัศเศาะลูกีย์ , ท่านอบูบักร อัลอิสมาอีลีย์ , ท่านอิมาม อัลหะร่อมัยน์ , ท่านหุจญฺตุลอิสลาม อัลฆ่อซาลีย์ , ท่านอัลบะฆอวีย์ , ท่านอัรรอฟิอีย์ , ท่านอบู ชามะฮ์ , ท่านอิบนุ ริฟอะฮ์ , ท่านอิบนุ ศ่อลาห์ , ท่านอิมามอันนะวาวีย์ , ท่านอิซซุดีน บิน อับดุสลาม , ท่านอิบนุ ดะกีก อัลอีด , ท่านอัลหาฟิซฺ อัลมุซซีย์ , ท่านตายุดดีน อัศศุบกีย์ , ท่านอัซซะฮะบีย์ , ท่านอิรอกีย์ , ท่านอัซซัรกาชีย์ , ท่านอิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์ , ท่านอัสศะยูฏีย์ , ท่านชัยคุลอิสลาม ซะกะรียา อัลอันซอรีย์ , และบรรดานักปราชญ์อีกเป็นพันๆ ที่ไม่สามารถเอ่ยนามพวกเขาได้ทั้งหมด และบรรดานักปราชญ์มัซฮับชาฟิอีย์ได้ถูกระบุไว้ในหนังสือ “อัฏฏ่อบะก๊อต อัชชาฟิอียะฮ์” ก็มีถึง 1419 ท่าน
ปวงปราชญ์มัซฮับหัมบาลีย์
ท่าน อิมามอาญุรรีย์ , ท่านอบู อัลค๊อฏฏอบ อัลกัลป์วาซะนีย์ , ท่านอบูบักร อันนัจญาร , ท่านอบูยะอฺลา , ท่านอัลอัษรอม , ท่านอิบนุ อบีมูซา , ท่านอิบนุ อัซซ๊อยรอฟีย์ , ท่านอิบนุ ฮุบัยเราะฮ์ , ท่านอิบนุ อัลเญาซีย์ , ท่านอิบนุ ตัยมียะฮ์ , ท่านอิบนุ รอญับ , ท่านอิบนุ รุซัยน์ , ท่านอิบนุรอญับ , และบรรดานักปราชญ์ท่านอื่นๆ อีกมากมาย และนักปราชญ์มัซฮับหัมบาลีย์ที่ได้ถูกกล่าวไว้ในหนังสือ “อัลมักซิด อัลอัรชัด” มีถึง 1315 ท่าน
ดังนั้น ประชาชาติอิสลามศตวรรษแล้วศตวรรษเล่าได้ให้การยอมรับในการตักลีดตามนัก ปราชญ์มุจญฮิดผู้วินิจฉัย ทั้งที่ในสิ่งดังกล่าวนี้ ก็ไม่ใช่เป็นความคลั่งไคล้และแบ่งพรรคแบ่งพวก แต่ความเป็นพี่น้องในศาสนา จึงทำให้พวกเขาอยู่ร่วมกัน และบรรดาวงล้อมที่ทำการศึกษาวิชาความรู้ ก็ได้สมานฉันท์พวกเขาเอาไว้ พวกเขาต่างศึกษาความรู้ซึ่งกันและกัน และยกย่องสรรเสริญกันและกัน โดยที่ท่านเกือบจะไม่พบถึงประวัตินักปราชญ์มัซฮับ หะนะฟีย์ มาลิกีย์ ชาฟิอีย์ และหัมบาลีย์ นอกจากว่า ปราชญ์ท่านหนึ่งได้เคยเป็นศิษย์และศึกษากับบรรดานักปราชญ์ที่ไม่ได้อยู่ใน มัซฮับของเขา