ผู้เขียน หัวข้อ: อิหม่ามชาฟิอียฺ ไม่ได้มีอากีดะฮฺเกี่ยวกับซีฟัตของอัลลอฮฺเช่นเดียวกับอาชาอิเราะฮ  (อ่าน 6108 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Ibnu Ubdullah

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 6
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

มีผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวว่า  พี่น้องที่ประกาศตัวว่าสังกัดมัซฮับชาฟิอียฺ  โดยเฉพาะในประเทศไทย  กลับไม่ได้มีอากีดะฮฺเกี่ยวกับซีฟัตของอัลลอฮฺเช่นเดียวกับอิหม่ามชาฟิอียฺ  แต่มีอากีดะฮฺตามทัศนะของอิหม่าม อบุล  หะซัน  อัลอัชอารียฺ  ซึ่งเป็นอากีดะฮฺที่ผสมผสานระหว่างอากีดะฮฺสลัฟและอากีดะฮฺของพวกมุอฺตะซิละฮฺ  เป็นคำกล่าวที่จริงหรือไม่  หากเป็นจริงดังที่ผู้รู้ท่านนี้กล่าว  เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 12, 2007, 07:36 AM โดย al-azhary »

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته

อัลอะชาอิเราะฮ์  มีอะกีดะฮ์เหมือนอิมามอัชชาฟิอีย์และท่านอบุลหะซันอัลอัชอะรีย์นะครับ  นักปราชญ์มากมายแต่ละยุคสมัยนั้น  ไม่มีผู้ใดกล่าวว่าอะกีดะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์ไม่มีเหมือนกับอะกีดะฮ์อิมามอัชชาฟิอีย์และอบูลอะหะซันอัลอัชอะรีย์

ยิ่งกว่านั้น  อะกีดะฮ์ของซอฮาบะฮ์  คืออะกีดะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์ครับ

والسلام
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته

ท่านพี่น้องครับ  คำว่า "อะกีดะฮ์เกี่ยวกับเรื่องซีฟัตของอัลเลาะฮ์"  นั้น  คือบทสรุปและเป้าหมายในการศรัทธาว่าอัลเลาะฮ์ทรงบริสุทธิ์จากการคล้ายและเหมือนกับมัคโลค ไม่ใช่วิธีการในการอ้างหลักฐาน  กล่าวคือ  บางคนคิดว่า  การตีความคืออะกีดะฮ์หรือการมอบหมาย(ตัฟวีฏ) คืออะกีดะฮ์   ดังนั้นจึงมีบางกลุ่มอ้างว่าหากตีความแล้วจะมีอะกีดะฮ์ไม่เหมือนกับสะลัฟ  ทั้งที่จุดมุ่งหมายของการตีความและมอบหมายคือหนทางในการอ้างหลักฐานเพื่อยืนยันในความบริสุทธิ์ของอัลเลาะฮ์ในการคล้ายและเหมือนกับมัคโลค

ผมประทับใจคำกล่าวของท่านอบูหะนีฟะฮ์ที่ว่า   ขณะที่มีคนหนึ่งได้ถามท่านอบูหะนีฟะฮ์ว่า "เหตุใดพวกท่านถึงพูดกันเรื่องวิชากะลาม  ทั้งที่ซอฮาบะฮ์ไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้เลย"  ท่านอบูหะนีฟะฮ์ตอบว่า "บรรดาซอฮาบะฮ์ก็ประหนึ่งมนุษย์ที่ไม่มีผู้ใดมาสู้รบกับพวกเขา  ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ต้องการที่จะเผยอาวุธออกมาใช้ และพวกเราก็ประหนึ่งมนุษย์ที่มีผู้เข้ามาสู้รบ  ดังนั้นพวกเราจึงต้องการเผยอาวุธเพื่อมาใช้ต่อสู้กับพวกเขา"

วัลลอฮุอะลัม

والسلام
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ส.ค. 19, 2007, 05:08 AM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ บาชีร

  • ปีสามสักที
  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2164
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +59
    • ดูรายละเอียด
นักเรียนปีสาม กฎหมายอิสลาม อัซฮัร ไคโร

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ almadany

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 346
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته

ท่านพี่น้องครับ  คำว่า "อะกีดะฮ์เกี่ยวกับเรื่องซีฟัตของอัลเลาะฮ์"  นั้น  คือบทสรุปและเป้าหมายในการศรัทธาว่าอัลเลาะฮ์ทรงบริสุทธิ์จากการคล้ายและเหมือนกับมัคโลค ไม่ใช่วิธีการในการอ้างหลักฐาน  กล่าวคือ  บางคนคิดว่า  การตีความคืออะกีดะฮ์หรือการมอบหมาย(ตัฟวีฏ) คืออะกีดะฮ์   ดังนั้นจึงมีบางกลุ่มอ้างว่าหากตีความแล้วจะมีอะกีดะฮ์ไม่เหมือนกับสะลัฟ  ทั้งที่จุดมุ่งหมายของการตีความและมอบหมายคือหนทางในการอ้างหลักฐานเพื่อยืนยันในความบริสุทธิ์ของอัลเลาะฮ์ในการคล้ายและเหมือนกับมัคโลค

والسلام

อัสลามุอะไลกุ้ม.....

......ผมเข้าใจอย่างนี้น่ะครับ...คืออะกีดะฮ์ในซีฟัตของอัลเลาะฮ์นั้นคือ...เพื่อศรัทธาในความบริสุทธิ์ต่อซีฟัตของพระองค์จากการไปเหมือนคล้ายกับมัคโลค(สิ่งอื่นจากอัลลอฮ์)...แต่หนทางในการอ้างหลักฐานแต่ละยุคสมัยมันต่างกัน...คือในช่วงยุคแรกนั้นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้น้อยมาก...บรรดาผู้คนส่วนใหญ่มีความรู้และอีหม่านที่เข้มแข็ง...จึงไม่ต้องการที่จะหาวิธีการสร้างความเข้าใจหรือพูดกันในเรื่องนี้ให้มากนัก....เพราะความศรัทธาอันแน่แฟ้นได้อยู่ในหัวใจของพวกเขาแล้ว....แต่มายุคสมัยหลังๆผู้คนกลับมีความอ่อนแอทางด้านศาสนาและภาษาอาหรับลงไปเรื่อยๆ...โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องซีฟัตของอัลลอฮ์...จึงตีความและอธิบายกันเลยเถิด...จนบางครั้งทำให้ซีฟัตของอัลลอฮ์ไปคล้ายกับลักษณะของมัคโลคไป...จึงทำหาวิธีการอธิบายและตีความเพื่อให้พวกเขาเข้าใจง่ายขึ้นและให้ตรงกับตามหลักภาษาอาหรับและเหมาะสมกับความมหายิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์...และต้องการทำให้ผู้คนทั่วไปยังคงศรัทธาในความบริสุทธิ์ของซีฟัตอัลลอฮ์ให้พ้นจากการคล้ายกับมัคโลคในทุกรูปแบบ.....

ผมขอทำให้เห็นภาพดังนี้น่ะ

สะลัฟส่วนใหญ่ทำการมอบหมายไปยังอัลลอฮ์   ------------------------------>>  เพื่อศรัทธาในความบริสุทธิ์ของอัลเลาะฮ์จากการไปคล้ายกับมัคโลค

ค่อลัฟส่วนใหญ่ทำการตีความจากนั้นมอบหมาย ------------------------------>>  เพื่อศรัทธาในความบริสุทธิ์ของอัลเลาะฮ์จากการไปคล้ายกับมัคโลค

สรุปว่าวิธีการหรือหนทางที่จะนำไปสู่อะกีดะฮ์ต่างกัน...แต่เป้าหมายอะกีดะฮ์เดียวกัน....และทั้งสองแนวทางนี้คือแนวทางของอัลอะชาอิเราะฮ์...ตามที่ผมศึกษาโดยถี่ถ้วนจากเว๊บไซต์แห่งนี้ครับ

วัสลาม.....
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ส.ค. 07, 2007, 07:15 AM โดย kowee »

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
ผมขอทำให้เห็นภาพดังนี้น่ะ

สะลัฟส่วนใหญ่ทำการมอบหมายไปยังอัลลอฮ์   ------------------------------>>  เพื่อศรัทธาในความบริสุทธิ์ของอัลเลาะฮ์จากการไปคล้ายกับมัคโลค

ค่อลัฟส่วนใหญ่ทำการตีความจากนั้นมอบหมาย ------------------------------>>  เพื่อศรัทธาในความบริสุทธิ์ของอัลเลาะฮ์จากการไปคล้ายกับมัคโลค

สรุปว่าวิธีการหรือหนทางที่จะนำไปสู่อะกีดะฮ์ต่างกัน...แต่เป้าหมายอะกีดะฮ์เดียวกัน....และทั้งสองแนวทางนี้คือแนวทางของอัลอะชาอิเราะฮ์...ตามที่ผมศึกษาโดยถี่ถ้วนจากเว๊บไซต์แห่งนี้ครับ

วัสลาม.....

ญะซากัลลอฮ์  เข้าใจทำรูปแบบครับ  เห็นภาพชัดเจนเลยครับ  ครั้งต่อๆไปเราน่าจะอธิบายให้เห็นชัดเฉกเช่นนี้ครับ  8)

ออฟไลน์ Ibnu Ubdullah

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 6
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
จากการศึกษาเรื่องอากีดะฮฺเกี่ยวกับการให้ความหมายของซีฟัตของอัลลอฮฺทางเว็บไซต์นี้  แบ่งออกเป็น  3  แนวทางใหญ่ๆ ด้วยกัน  คือ 
     แนวทางแรก  เป็นการมอบหมายความหมายของซีฟัตต่างๆ ที่อัลลอฮฺทรงระบุไว้กลับไปยังพระองค์  โดยปล่อยให้มันผ่านไป  ดังเช่นที่มันมีมา 

     แนวทางที่สองคือ  การตีความซีฟัตของอัลลอฮฺให้เหมาะสมกับความยิ่งใหญ่และความบริสุทธิ์ของพระองค์จากการเหมือนกับสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย  เช่น  พระหัตถ์ของอัลลอฮฺ  หมายถึง  อำนาจของอัลลอฮฺ  หรือ  อัลลอฮฺทรงอยู่เบื้องบน  หมายถึง  อัลลอฮฺทรงสูงส่ง  เป็นต้น

     และแนวทางที่สาม  คือ  การให้ความหมายซีฟัตของอัลลอฮฺดังเช่นที่อัลลอฮฺระบุไว้ในอัลกุรอานหรือคำบอกเล่าของท่านร่อซู้ล  ตามความหมายทางภาษานั้น  โดยปราศจากการตีความใดๆ  โดยเน้นว่า  ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์  เช่น  พระหัตถ์ของอัลลอฮฺ  หมายถึง  มือของอัลลอฮฺ  แต่เป็นมือที่ไม่มีมือของสิ่งถูกสร้างใดเสมอเหมือน  หรือ  อัลลอฮฺทรงอยู่เบื้องบน  หมายถึง  อัลลอฮฺทรงอยู่เบื้องบนจริงตามตัวบททางภาษานั้น 
 
    แนวทางที่หนึ่งและสองนั้น  คือแนวทางของสะลัฟและอาชาอิเราะฮฺ  ส่วนแนวทางที่สามนั้นคือแนวทางของวาฮะบียฺ  ผมเข้าใจเช่นนี้ถูกต้องใช่มั้ยครับ  แล้วแนวทางที่อยู่บนหนทางที่ถูกต้องคือ  แนวทางแรกและแนวทางที่สอง  ส่วนแนวทางที่สามคือแนวทางที่หลงผิดใช่มั้ยครับ  อยากให้อาจารย์อัลอัศฮารียฺยกตัวอย่างอุลามาอฺหรือนักปราชญ์อิสลามตั้งแต่สมัยซอฮาบะฮฺจนถึงปัจจุบันที่มีทัศนะตามแนวทางต่างๆ ทั้งสามแนวทางไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ  ยาซากัลลอฮฺครับ

ออฟไลน์ ahmedisa

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 102
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
munsheed filislam
www.myspace.com/ababeelrec โหลดฟรี

http://ahmedisa.multiply.com ท่วงทำนองของนักต่อสู้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
สะลัฟส่วนใหญ่ทำการมอบหมายไปยังอัลลอฮ์   ------------------------------>>  เพื่อศรัทธาในความบริสุทธิ์ของอัลเลาะฮ์จากการไปคล้ายกับมัคโลค

ค่อลัฟส่วนใหญ่ทำการตีความจากนั้นมอบหมาย ------------------------------>>  เพื่อศรัทธาในความบริสุทธิ์ของอัลเลาะฮ์จากการไปคล้ายกับมัคโลค

สรุปว่าวิธีการหรือหนทางที่จะนำไปสู่อะกีดะฮ์ต่างกัน...แต่เป้าหมายอะกีดะฮ์เดียวกัน....และทั้งสองแนวทางนี้คือแนวทางของอัลอะชาอิเราะฮ์...ตามที่ผมศึกษาโดยถี่ถ้วนจากเว๊บไซต์แห่งนี้ครับ

เป็นการนำเสนอในรูปแบบที่ดีมาก ๆ เลยครับ  เพราะทำให้เข้าใจง่ายดีครับ  ญะซากัลลอฮ์
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
จากการศึกษาเรื่องอากีดะฮฺเกี่ยวกับการให้ความหมายของซีฟัตของอัลลอฮฺทางเว็บไซต์นี้  แบ่งออกเป็น  3  แนวทางใหญ่ๆ ด้วยกัน  คือ .....
แนวทางที่หนึ่งและสองนั้น  คือแนวทางของสะลัฟและอาชาอิเราะฮฺ  ส่วนแนวทางที่สามนั้นคือแนวทางของวาฮะบียฺ  ผมเข้าใจเช่นนี้ถูกต้องใช่มั้ยครับ  แล้วแนวทางที่อยู่บนหนทางที่ถูกต้องคือ  แนวทางแรกและแนวทางที่สอง  ส่วนแนวทางที่สามคือแนวทางที่หลงผิดใช่มั้ยครับ 

ผมขออนุญาตแก้ไขเพื่อความถูกต้องดังนี้นะครับ

ความจริงแล้ว  คุณสมควรกล่าวว่า 

แนวทางที่หนึ่งนั้นเป็นแนวทางของสะลัฟส่วนมากและแนวทางที่สองเป็นแนวทางของสะลัฟส่วนน้อย(คือเป็นแนวทางของเคาะลัฟส่วนใหญ่) ซึ่งทั้งสองแนวทางนี้  คือแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์  ไม่ว่าจะหลักการมอบหมาย(ตัฟวีฏ) หรือหลักการตีความ(ตะวีล) ล้วนมีหลักฐานยืนยันจากสะลัฟทั้งสิ้น   โปรดดูเพิ่มเติม จุดยืนเกี่ยวกับซีฟัตของอัลอะชาอิเราะฮ์

ส่วนแนวทางที่สามนั้น  คือแนวทางของซุนนะฮ์วะฮาบีย์ปัจจุบันยึดถืออยู่ครับ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته

ผมจะยกตัวอย่างตามรูปแบบของน้อง kowee ดังนี้นะครับ

คำว่า "อิสติวาอฺ"  الإستواء  นั้น 

แนวทางที่หนึ่ง : คือ  เชื่อในอิสติวาอ์  แต่ขอมอบความหมาย , จุดมุ่งหมายที่แท้จริง และรูปแบบวิธีการไปยังอัลเลาะฮ์ตาอาลา 

แนวทางที่สอง : คือ  เชื่อในอิสติวาอ์  แต่ทำการตีความ (ตะวีล)เพื่อให้มีความเข้าใจง่ายโดยสอดคล้องกับหลักภาษาอัลกุรอาน(ภาษาอาหรับ) , ตรงกับหลักของศาสนา(ไม่คัดค้านกับตัวบทที่ชัดเจนเด็ดขาดและแน่นอน) , และสอดคล้องตามหลักของสติปัญญาไปพร้อม ๆ กัน  คือตีความว่า  มันคือ "การปกครอง"  แล้วทำการมอบหมายต่ออัลเลาะฮ์สำทับอีกครั้งหนึ่ง

แนวทางที่สาม : คือ  เชื่อในอิสติวาอ์  แต่ทำการอธิบายความหมาย (ตัฟซีร) ของมันให้อยู่ในเชิงภาษาของคำแท้ตามที่มนุษย์เข้าใจกัน  ซึ่งแนวทางนี้เลือกให้อยู่ในความหมายของ  "การนั่ง"

ทำให้เข้าใจแบบง่าย ๆ คือ

แนวทางที่หนึ่ง : เชื่อในอิสติวาอฺ >-------------------->> แต่มอบหมายกับความหมายและรูปแบบวิธีการ

แนวทางที่สอง : เชื่อในอิสติวาอฺ >-------------------->>  แต่ทำการตีความอยู่ในความหมายของการปกครอง

แนวทางที่สาม : เชื่อในอิสติวาอฺ  >-------------------->> แต่อธิบายให้อยู่ในความหมายของการนั่งบนบัลลังก์

สรุป : แนวทางที่หนึ่งและสอง  คือแนวทางของอัลอะชาอิเราะฮ์  ที่สอดคล้องกับ  หลักของภาษาอาหรับ(ภาษาอัลกุรอาน) , สอดคล้องกับหลักของศาสนา , และสอดคล้องกับหลักสติปัญญา   ทำไมผมจึงบอกว่าสอดคล้องกับหลักการของศาสนา  นั่นก็เพราะว่า  การมอบหมายต่ออัลเลาะฮ์เป็นสิ่งที่ศาสนาส่งเสริม  และการตีความว่า "การปกครอง" นั้น  มีอายะฮ์และหะดิษต่าง ๆ มากมายที่มายืนยันว่า  อัลเลาะฮ์  "ทรงอำนาจปกครอง"  และพระองค์ก็ทรงพระนามว่า  المالك  (พระองค์ทรงปกครอง)

ส่วนแนวทางที่สามนั้น  อธิบายตรงกับหลักภาษาอาหรับ   แต่ไม่ตรงกับหลักการของศาสนา  ที่ผมกล่าวอย่างนั้น  เพราะว่า  ไม่มีอัลกุรอานอายะฮ์ใดและหะดิษซอฮิห์บทใด  ที่สนับสนุนและระบุยืนยันว่า "อัลเลาะฮ์ทรงนั่ง" الجالس "อัลญาลิส" และอัลเลาะฮ์ก็ไม่ทรงมีพระนามว่า  الجالس "อัลญาลิส" (พระองค์ทรงนั่ง) หรือ القاعد "อัลกออิด" (พระองค์ทรงนั่ง)

แต่แนวทางที่สาม (คือซุนนะฮ์วะฮาบีย) มักกล่าวหาว่า  แนวทางที่สองนั้นปฏิเสธซีฟัต "อัลอิสติวาอฺ" ของอัลเลาะฮ์  ซึ่งความจริงแล้วเป็นความเข้าหลักการที่ผิดพลาด  เพราะแนวทางที่สองนั้น  ไม่ได้ปฏิเสธ "อิสติวาอฺ" เลยแม้แต่น้อย  แต่พวกเขาปฏิเสธความหมายต่าง ๆ ที่แนวทางที่สามทำการอธิบายต่างหาก

วัลลอฮุอะลัม   

والسلام
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
อีกตัวอย่างหนึ่งครับ

คำว่า يد الله  (ภาษาไทยแปลว่าพระหัตถ์ของอัลเลาะฮ์)  แต่ตามหลักการแล้วซีฟัตของอัลเลาะฮ์นั้นพระองค์ทรงตรัสไว้ในอัลกุรอานเป็นภาษาอาหรับ  ดังนั้น  ผมจึงขอใช้เรียกคำว่า "ยะดุน" يَدٌ  แล้วกันนะครับ  เพราะอัลเลาะฮ์ทรงเรียกอย่างนี้

คำว่า يد الله  "ยะดุลลอฮ์"  (ยะดุน) นั้น
 
แนวทางที่หนึ่ง : คือ  เชื่อในซีฟัต "ยะดุน"  แต่ขอมอบความหมาย , จุดมุ่งหมายที่แท้จริง และรูปแบบวิธีการไปยังอัลเลาะฮ์ตาอาลา 

แนวทางที่สอง : คือ  เชื่อในซีฟัต "ยะดุน"   แต่ทำการตีความ (ตะวีล)เพื่อให้มีความเข้าใจง่ายโดยสอดคล้องกับหลักภาษาอัลกุรอาน(ภาษาอาหรับ) , ตรงกับหลักของศาสนา(ไม่คัดค้านกับตัวบทที่ชัดเจนเด็ดขาดและแน่นอน) , และสอดคล้องตามหลักของสติปัญญาไปพร้อม ๆ กัน  คือตีความว่า  มันคือ "อำนาจ"  แล้วทำการมอบหมายต่ออัลเลาะฮ์สำทับอีกครั้งหนึ่ง

แนวทางที่สาม : คือ  เชื่อในซีฟัต "ยะดุน"  แต่ทำการอธิบายความหมาย (ตัฟซีร) ของมันให้อยู่ในเชิงภาษาของคำแท้ตามที่มนุษย์เข้าใจกัน  คือหมายถึงซีฟัตของอัลเลาะฮ์ที่เป็นส่วนอวัยวะที่เป็นฝ่ามือที่เป็นส่วนหนึ่งจากตัวตนของพระองค์! ที่เหมาะสมกับเกียรติของพระองค์!??

ทำให้เห็นง่าย ๆ คือ   

เชื่อในซีฟัตยะดุน >-------------------->> แต่มอบหมายกับความหมายและรูปแบบวิธีการ

เชื่อในซีฟัตยะดุน >-------------------->>  แต่ทำการตีความอยู่ในความหมายของอำนาจ

เชื่อในซีฟัตยะดุน  >-------------------->> แต่อธิบายให้อยู่ในความหมายของอวัยวะส่วนของร่างกายที่เป็นฝ่ามือให้กับอัลเลาะฮ์

สรุป : แนวทางที่หนึ่งและสองคือแนวทางของอัลอะชาอิเราะฮ์  ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ  ศรัทธาในความบริสุทธิ์ในซีฟัตอัลเลาะฮ์จากการไปคล้ายและเหมือนกับมัคโลคในทุกรูปแบบ   

ส่วนแนวทางที่สามนั้น  ถึงแม้ว่าพวกเขาปฏิเสธการเหมือนระหว่างมัคโลคกับอัลเลาะฮ์  แต่พวกเขายืนยันความคล้ายคลึง(ตัชบีฮ์)ระหว่างซีฟัตของอัลเลาะฮ์และมัคโลค  กล่าวคือ  มนุษย์มีส่วนอวัยวะที่เป็นฝ่ามืออยู่ที่ร่างกายและอัลเลาะฮ์ก็มีส่วนอวัยวะที่เป็นฝ่ามือที่อยู่ตัวตนของพระองค์!  แต่ไม่เหมือนกับมัคโลค!? ซึ่งเป็นแนวทางของวะฮาบีย์ปัจจุบัน

วัลลอฮุอะลัม 
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
เป็นการนำเสนอที่ชัดเจนและแยกแยะให้เข้าได้ง่ายครับท่านพี่น้อง

truth1979

  • บุคคลทั่วไป
http://www.------------------------------------------

------------------------

ถึงคุณ ถึงคุณ   truth1979

السلام عليكم ورحمة الله وبركاته

คุณกรุณาเสวนาแบบให้ตรงประเด็นนะครับ   อ้างอิงสิ่งที่ทางเราได้นำเสนอไป  แล้วทำการคัดค้าน  ส่วนลิงค์ที่คุณนำเสนอมานั้น  ผู้นำเสนอเขาไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า  เขามีหลักการอะกีดะฮ์แนวทางใหน  เพราะเขาไปก๊อบเก็บฟืนในยามค่ำคืนด้วยการเซริ์ทตามกูเกิ้ล  โดยไม่รู้ว่าอันใดมีการถ่ายทอดที่ซอฮิห์  อันใดที่ไม่ซอฮิห์  เขาเอาภาษาอังกฤษและภาษามาลายูมาอธิบายซีฟัตของอัลเลาะฮ์ที่ถูกกล่าวเป็นภาษาอาหรับ  ถือว่าเป็นการอธิบายเป็นบิดอะฮ์ไม่มีนักปราชญ์ผู้ทรงธรรมท่านใดในโลกดุนยานี้เขาทำกัน

อย่างเช่นเขาก๊อบมาจากกูเกิ้ลว่า

อัลบัยฮะกีย์ ได้กล่าวว่า

قال الفرّاء (( ثم استوى، أي صعد، قاله ابن عباس، وهو كقولك للرجل كان قاعداً فاستوى قائماً

อัลฟุรรอฺ กล่าวว่า “ คำว่า ثم استوى หมายถึง ขึ้น อิบนุอับบาส ได้กล่าวมัน และมัน เหมือนกับท่านกล่าวแก่คน ที่นั่งอยู่ว่า “แล้วเขาก็ลุกขึ้นยืน”

- อัลอัสมาอฺวัสสิฟาต เล่ม 2 หน้า 310

วิจารณ์ 

ตรงนี้เขาต้องการที่จะอ้างว่า  อัลเลาะฮ์ทรงนั่ง  ตามคำอธิบายของท่านอิบนุอับบาส  ซึ่งท่านอัลบัยฮะกีย์ได้นำเสนอเอาไว้ในหนังสือ  อัลอัสามาอ์วัสสิฟาต ของท่าน  แต่คนที่ไปก๊อบมาก็ได้ข้อมูลเพียงที่กูเกิ้ลเขาว่ามา  แต่หากเราอ่านหนังสือดังกล่าวของท่านอัลบัยฮะกีย์หลังจากนั้น  เราจะพบว่า  ท่านอัลบัยฮะกีย์เอง  ได้กล่าววิจารณ์สำทับไว้ว่า
 
وأما ما حكى عن إبن عباس رضى الله عنهما فإنما أخذه عن تفسير الكلبى والكلبي ضعيف

"สำหรับสิ่งที่ได้รายงานเล่ามาจากท่านอิบนุอับบาส  ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา นั้น  แท้จริงท่านอัลฟัรรออฺได้นำมาจากตีซีรของ อัลกัลบีย์ โดยที่อัลกัลบีย์นั้น มีสถานะภาพที่ฏออีฟ" 

ตัวอย่างต่อไป

  وأمامن حرف كلام الله وجعل العرش عبارة عن الملك كيف يصنع بقوله تعالى وَيَحْمِلُ عَرْشَ رَبِّكَ فَوْقَهُمْ يَوْمَئِذٍ ثَمَانِيَةٌ -الحاقة/17 وَكَانَ عَرْشُهُ عَلَى الْمَاءِ-هود/7 أيقول : ويحمل ملكه يَوْمَئِذٍ ثَمَانِيَةٌ وكان ملكه على الماء
สำหรับผู้ที่เปลี่ยน คำพูดของอัลลออ โดยทำให้คำว่า"อัลอัรชุ" มีความหมายว่า "อำนาจการปกครอง" แล้วจะทำอย่างไร กับ คำดำรัสของอัลลอฮที่ว่า (และ (มะลาอิกะฮฺ) จำนวนแปดท่านจะแบกบังลังก์แห่งพระเจ้าของเจ้าไว้เบื้องบนพวกเขาในวันนั้น ) -อัลหากเกาะฮ/17 และคำดำรัสที่ว่า(และบัลลังก์ของพระองค์อยู่บนน้ำ) - ฮูด/7
จะให้กล่าวว่า "และจำนวนแปดท่านจะแบงอำนาจาการปกครองของพระองค์ และอำนาจการปกครองของพระองค์อยู่บนน้ำอย่างนั้นหรือ ? - ชัรหอะกีดะฮอัฏเฏาะหาวียะฮ หน้า 249

วิจารณ์

ดูการอ้างอิงนี้ซิครับ   ผู้เขียนหนังสือดังกล่าวเอง  พยายามตบตาโจมตีความหมาย "การปกครอง"  โดยไปอ้างว่า  "หากทำให้คำว่า อะชัร(บัลลังค์)อยู่ในความหมายของการปกครองแล้วมาลาอิกะฮ์จะแบกอะรัชอย่างไร?" ทั้งที่ประเด็นที่นำเสนอนั้นคือเรื่อง "อัลอิสติวาอฺ" ไม่ใช่เรื่อง "อะรัช"  ดังนั้น หากตีความว่า อัลอิสติวาอฺ  หมายถึง "การปกครองเหนืออะรัช"  บรรดามะลาอิกะฮ์ก็ยังแบกอะรัชได้  เพราะเราไม่ได้ตีความเกี่ยวกับ อะรัช 

นั่นคือความสะเพร่าของผู้ที่นำเสนอผิดประเด็น 

ตัวอย่างต่อไป

อิหม่ามบุคอรี ได้กล่าวไว้ในเศาะเฮียะของท่านว่า

قال أبو العالية: (( استوى إلى السماء: ارتفع))، وقال مجاهد (( استوى علا على العرش

อบูอาลียะฮ กล่าวว่า คำว่า “อิสตะวา อิลัสสมาอฺ” หมายถึง ขึ้น (ไปยังฟากฟ้า) และ มุญาฮิด กล่าวว่า " อิสตะวา" คือ ขึ้น บน อะรัช

صحيح البخاري (13/403 ـ الفتح).

วิจารณ์

พิจารณาซิครับ  ก๊อบมาอีกทีแล้วยังแปลผิดในการอธิบายซีฟัตของอัลเลาะฮ์  คือคำว่า  علا على العرش ผู้ก๊อบจากกูเกิ้ลแปลว่า "ขึ้นบนอะรัช"  ทั้งที่ความหมายที่ถูกต้องนั้นคือ "สูงเหนืออะรัช"  ซึ่งความสูงเช่นนี้  คือสูงในเชิงนามธรรม  หมายถึง  สูงส่งเหนืออะรัช  ไม่ใช่สูงในเชิงรูปธรรม  คือ  สูงแบบอยู่ในสถานที่สูงๆ  เหมือนกับที่วะฮาบีย์ต้องการเชื่อกันแบบนี้ 

ตัวอย่างต่อไป

  6. ชัยคุ้ลอิสลาม อะบุ้ลอุษมาน อัศเศาะบูนีย์ (شيخ الاسلام ابو عثمان الصابوني ( 372-449 ) กล่าวว่า

ويعتقد اصحاب الحديث ويشهدون ان الله فوق سبع سمواته على عرشه كما نطق كتابه وعلماء الامة واعيان الائمة من السلف ، لم يختلفوا ان الله على عرشه وعرشه فوق سمواته

และบรรดานักหะดิษ เชื่อมั่นและ เป็นพยานว่า แท้จริง อัลลอฮ อยู่บนบรรดาฟากฟ้าทั้งเจ็ด ของพระองค์ บน บัลลังค์ของพระองค์ ดังที่ คัมภีร์ของพระองค์ ,บรรดาอุลามาอฺแห่งอุมมะฮ และบรรดาผู้นำที่มีชื่อเสียง จากชาวสะลัฟ ได้กล่าวเอาไว้ โดยที่พวกเขาไม่ได้มีความเห็นแตกต่างกัน (ในประเด็นที่ว่า ) แท้จริง อัลลอฮ ทรงอยู่บนบัลลังค์ของพระองค์ และบัลลังค์ของพระองค์ อยู่บน บรรดาชั้นฟ้าของพระองค์ “

- มุคตะศอร์อัลอะลูวี หน้า 265

วิจารณ์

หากเรากลับไปดูหนั้งสือ  มัจญมั๊วะอัรร่อซาอิลอัลมุนีรียะฮ์  เล่ม 1 หน้า 109  ซึ่งเป็นริซาละฮ์ของท่านอบูอุษมานอัศศอบูนีย์  เราจะพบถ้อยจริง ๆ ของท่านเพียงที่ว่า

ويعتقد اصحاب الحديث ويشهدون ان الله فوق سبع سمواته على عرشه كما نطق كتابه

นี่คือคำกล่าวของท่านอัศศอบูนีย์ 

ส่วนข้อความที่ว่า

 وعلماء الامة واعيان الائمة من السلف ، لم يختلفوا ان الله على عرشه وعرشه فوق سمواته

ซึ่งข้อความนี้ไม่ใช่คำพูดของท่านอัศศอบูนีย์เลยแม้แต่น้อย

ตัวอย่างต่อไป

7. อิหม่ามอบูนัศริน อัสสัจญซี (الامام ابو نصر السجزي ت 444 ) กล่าวว่า

فأئمتنا كسفيان الثوري ومالك وسفيان بن عيينة وحماد بن سلمة وحماد بن زيد وعبد الله بن المبارك وفضيل بن عياض واحمد بن حنبل واسحاق بن ابراهيم الحنظلي متفقــــــــــــون على ان الله سبحانه بذاتــــــه فوق العرش وان علمه بكل مكان وانه يرى يوم القيامة بالابصار فوق العرش وانه ينزل الى سماء الدنيا وانه يغضب ويرضى ويتكلم بما شاء فمن خالف شيئا من ذلك فهو منهم بريء وهم منه براء

บรรดาอิหม่ามของพวกเรา เช่น สุฟยาน อัษเษารีย์ , มาลิก ,สุฟยาน บุตร อุยัยนะฮ ,หัมมาด บุตร สะละมะฮ ,หัมมาด บุตร เซด ,อับดุลลอฮ บุตร อัลมุบารอ็ก ,อัลฟาฎีล บุตร อิยาฎ ,อะหมัด บุตร หัมบัล และอิสหาก บุตร อิบรอฮีม อัลหันเซาะลีย์ พวกเขาเห็นฟ้องต้องกันว่า อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ด้วยพระองค์เองนั้น อยู่บน บัลลังค์ (อะรัช) และความรอบรู้ของพระองค์นั้น ครอบคลุมทุกๆสถานที่ ,แท้จริงพระองค์จะถูกเห็นในวันกิยามะฮ ด้วยตา ทรงอยู่บนบัลลังค์ ,แท้จริง พระองค์ทรงเสด็จลงมายังฟากฟ้าดุนยา ,ทรงกริ้ว ,ทรงพอใจและทรงพูด ตามที่ทรงพระประสงค์ ดังนั้นผู้ใด มีความเห็นขัดแย้งต่อสิ่งใดๆ จากดังกล่าวนั้น เขาก็เป็นอิสระ (ไม่เกี่ยวข้อง) กับพวกเขา (อุลามาอฺที่กล่าวมาข้างต้น) และพวกเขา ก็เป็นอิสระ(ไม่เกี่ยวข้อง) กับเขาผู้นั้น”

درء التعارض 6/250 ونقل الذهبي كلامه هذا في السير 17/ 656

วิจารณ์

ท่านอัซซะฮะบีย์เองก็กล่าวไว้ในหนังสือ  อัลอุลุว์ ของท่าน  ในหมวดคำพูดของ  อบูนัสร์ อัสซิจญฺซีย์  โดยกล่าววิจารณ์คำพูดของ อบูนัสร์ อัสซิจญฺซีย์ เองว่า

قلت : هذا الذى نقله عنهم مشهور ومحفوظ سوى كلمة بذاته فإنها من كيسه نسبها إليهم بالمعني

"ฉัน (คือท่านอัซซะฮีย์) ขอกล่าวว่า : สิ่งที่เขาได้ถ่ายทอดจากพวกเขานั้น  เป็นสิ่งที่เลื่องลือและมีน้ำหนัก  เว้นแต่คำว่า   بذاته  "อัลเลาะฮ์(นั่ง)อยู่บนอะรัชด้วยซาตฺของพระองค์เอง"  ซึ่งมันเป็นกลเม็ดของอบูนัสริอัสสิจญฺซีย์  ที่ได้ทำการพาดพิงคำพูดของไปยังพวกเขาในเชิงของความหมาย"

ดังกล่าวนี้  เราจะสังเกตุได้เลยว่า  อบูนัสริ อัสสิจญฺซีย์  พยายามยัดเยียดทัศนะของตนเองให้กับปวงปราชญ์  ซึ่งตามหลักหะดิษแล้ว  ถือว่าเป็นการกุและโกหกอย่างหนึ่ง


ตัวอย่างต่อไป

6. มุหัมหมัด บิน หะซัน อัชชัยบานี (ศิษย์อบูหะนีฟะฮ) ได้กล่าวว่า

اتفق الفقهاء كلهم من المشرق إلى المغرب على الإيمان بالقرآن والأحاديث التي جاء بها الثقات عن رسول الله صلى الله عليه وسلم في صفة الرب عز وجل من غير تغيير ولا وصف ولا تشبيه، فمن فسر اليوم شيئا من ذلك فقد خرج مما كان عليه النبي صلى الله عليه وسلم وفارق الجماعة فإنهم لم يصفوا ولم يفسّروا ولكن أفتوا بما في الكتاب والسنة ثم سكتوا.

บรรดาฟุเกาะฮาอฺ(นักนิติศาสตร์อิสลาม) ทั้งหมด จากตะวันออก จนถึงตะวันตก ได้มีมติเห็นฟ้องกันว่า ให้ศรัทธาต่อ อัลกุรอ่านและบรรดาหะดิษ ที่ผู้ที่เชื่อถือได้ ได้นำมันมาจากท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ใน เรื่อง คุณลักษณะ(สิฟัต)ของพระเจ้า ผู้ทรงสูงส่ง ทรงเลิศยิ่ง โดยไม่มีการเปลียนแปลง ,ไม่มีการพรรณารูปร่างลักษณะและไม่มีการเปรียบเทียบ ดังนั้นในวันนี้ ผู้ใดอรรถาธิบายสิ่งใดจากดังกล่าวนั้น เขาก็ออกจากสิ่งที่ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ยึนหยัดอยู่บนมัน(หมายถึงที่นบียึดถืออยู่) และ เขาได้แยกตัวออกจากหมู่คณะ(อะฮลุสสุนนะฮ วัล ญะมาอะฮ) เพราะพวกเขา(อะฮลุสสุนนะฮ วัล ญะมาอะฮ) ไม่ได้พรรณารูปลักษณะ และไม่ได้อรรถถาธิบาย แต่ พวกเขา ได้ตอบ(ฟัตวา) ไปตามที่ปรากฏในอัลกิตาบ(อัลกุรอ่าน)และอัสสุนนะฮ หลังจากนั้นพวกเขาก็นิ่งเงียบ (โดยไม่ได้ตีความ) (1)**
........................

(1) ** Al-Baihaqi, Ahmad Ibn Al-Husain, Al-I’tiqad Wa Al-Hidayah Ila Sabil Ar-Rashad, Tahqiq: ‘Abd Allah Ahmad Ibn Ibrahim, Dar Ibn Hazm, Beirut, Lubnan 1420H, Hal: 123, Al-Lalakai, Hibatullah Ibn Al-Hasan, Syarh Usul I ‘tiqad Ahl As-Sunnah Wa Al-Jamaah, Tahqiq: Ahmad Sa’id Ramadan, Dar At-Tayyibah, Riyadh, 1408H, 3: 527, No: 930 dan Ad-Daraqutni, ‘Ali Ibn ‘Umar, As-Sifat, Tahqiq: ‘Abd Allah Al-Ghunaiman, Maktabah Ad-Dar, Madinah, Arab Saudi, 1402H, No: 062 (secara ringkas
................
ดังนั้น การตีความคำว่า "อิสติวาอฺ" จากความหมายเดิม คือ ประทับ หรือ สถิตย์ ไปเป็น"อำนาจการปกครอง" จึงเป็นการกระทำที่ออกนอกแนวทางที่ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ยึดถืออยู่

วิจารณ์

หากเป็นคำพูดของท่าน มุฮัมมัด บิน อัลหะซัน จริง  แน่นอนว่า เขาตำหนิในการตัฟซีร (ตามทัศนะของวะฮาบีย์) ซึ่งทำให้อยู่นอกแนวทางของท่านนบี  และท่านมุฮัมมัด บิน หะซัน เอง ก็ไม่ได้พาดพิงถึงเรื่อง  การตะวีล เลย  แล้วบังอะสันเขาจะมาสรุปตามอารมณ์นัฟซูได้ยังไงกัน  และคำพูดดังกล่าวนั้น  ก็ไม่ใช่ของท่าน มุฮัมมัด บิน หะซัน ด้วยซ้ำไป

บังอะสันไปก๊อบมาจากกูเกิ้ล  โดยมีคำว่า  من غير تغيير   แต่ความจริงแล้ว หากเรากลับไปดูในหนังสือ ของท่านอิบนุกุดามะฮ์ ซุมมุตตะวีล หน้า 6 หนังสืออัลอุลุว์ ของท่านอัซซะฮะบีย์ เราจะพบว่า มีถ้อยคำดังที่ว่า من غير تفسير  (คือไม่มีการอธิบาย)  ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงคำพูดของอุลามาอ์จึงเกิดขึ้นอย่างมโหฬารด้วยน้ำมือของแนวทางวะฮาบีย์

ผมบอกตรงๆ เลยครับว่า ไม่ค่อยสบายใจในการอ้างอิงพาดพิงคำพูดไปยังสะลัฟตามรูปแบบแนวทางของวะฮาบีย์ เท่าไหร่ที่แล้ววะฮาบีย์ได้อ้างคำอิงคำพูดของสะลัฟอยู่ในแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ แล้วเราก็ทำการแก้ต่างชี้แจงสายรายงานที่อ้างอิงไปถึงตามแนวทางของวะฮาบีย์ และผู้คนเอาวามทั่วไปอีกมากมายอีกสักเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ที่ต้องตกหลุมพรางกับการกล่าวอ้างของวะฮาบีย์ เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงจำเป็นต้องสร้างเวปไซท์ขึ้นมาที่ชื่อว่า www.sunnahstudents.comเพื่อที่จะทำการชี้แจงแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ตามทัศนะของอุลามาอ์ส่วนมากของอิสลาม เพื่อแก้ต่างแนวทางของวะฮาบีย์และชีอะฮ์ 12 อัรรอฟิเฏาะฮ์ ที่คุกคามมุสลิมที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งเวปไซท์ของเราในตอนนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ครับ แต่เราขอเปิดตั้งไว้ก่อนเพื่อตอบสนองผู้ที่ติดต่อมาทางเราให้เปิดมันเร็วๆ

เรามาเข้าเรื่องกันนะครับ จากการอ้างอิงของบังอะสันจากอุลามาอ์วะฮาบีย์ ในการอ้างคำพูดถึงท่าน มุหัมมัด บิน อัลหะซัน (รอฮิมะฮุลลอฮ์)นั้น มันมีการเพิ่มเติมคำพูดจากกลุ่มอัลหะนาบิละฮ์ที่วะฮาบีย์สืบทอดอะกีดะฮ์มาจากพวกเขา ซึ่งคำพูดของท่าน มุหัมมัด บิน อัลหะซัน ศิษย์ของท่านอิมามอบูหะนีฟะฮ์ ผู้นี้ ผมได้ไปเปิดดูจากหนังสือ อัลอุลู้ ลิล อะลียิลฆ๊อฟฟาร หน้าที่ 421 ตีพิมพ์ที่ ดารุล อิมาม อันนะวาวีย์ ปรากฏว่าคำกล่าวของท่าน มุหัมมัด บิน อัลหะซันมีดังนี้ครับ

نقل أبو القاسم هبة الله اللالكائي و والشيخ موفق الدين المقدسي وغيرهما بالإسناد عن أبي عبد الله بن ابي حنيفة الدبوسى سمعت محمد بن الحسن، يقول : اتفق الفقهاء كلهم من المشرق إلى المغرب على الإيمان بالقرآن والأحاديث التي جاء بها الثقات عن رسول الله صلى الله عليه وسلم في صفة الرب عز وجل من غير تفسير ولا وصف ولا تشبيه، فمن فسر شيئاً من ذلك فقد خرج عما كان عليه النبي صلى الله عليه وسلم وفارق الجماعة، لأنه وصفه بصفة لا شيء

วิจารณ์

จากสิ่งที่ผมได้อ้างอิงมานี้ ปรากฏว่า

1. การพาดพิงคำพูดไปยังท่าน มุหัมมัด บิน อัลหะซันนี้ ไม่มีสายรายงานมาระบุไปถึงท่าน มุหัมมัด บิน อัลหะซัน แต่มีเพียงกล่าวว่า بالإسناد "ด้วยสายรายงาน" แต่ไม่ได้ระบุว่ามีใครบ้าง???

2. คำกล่าวที่วะฮาบีย์ต้องการในการอ้างอิงของพวกเขานั้น คือคำว่า

فإنهم لم ينفوا ولم يفسروا، ولكن آمنوا بما في الكتاب والسنة ثم سكتوا، فمن قال بقول جهم- يعني في نفي الصفات وإخراجها عن ظاهر معناها- فقد فارق الجماعة؛

"แท้จริงพวกเขา(อัลญะมาอะฮ) พวกเขาไม่ปฏิเสธ และไม่อธิบาย(ตัฟสีร) แต่ว่า พวกเขาเชื่อในสิ่งที่อยู่ในอัลกิตาบและอัสสุนนะฮ หลังจากนั้น พวกเขาจะนิ่งเงียบ(ไม่เกินเลยไปกว่านั้น)ดังนั้นผู้ใด กล่าว ด้วยคำพูด(ทัศนะ)ของพวกญะมียะฮ(กลุ่มหนึ่งจากพวกมุอฺตะซิละฮ) หมายถึง ปฏิเสธบรรดาสิฟาต และพวกเขาอธิบายมันและพามันออกมาให้ผิดไปจากความหมายที่ปรากฏ แน่นอน เขาแปลกแยกจากอัลญะมาอะฮ"

ซึ่งคำกล่าวนี้ ไม่ใช่เป็นคำกล่าวของท่าน มุหัมมัด บิน อัลหะซัน เลยครับ และไม่ได้ระบุเอาไว้ในหนังสือ อัลอุลุ้ว์ ในฉบับตีพิมพ์ของ ดารุล อิมาม อันนะวาวีย์

แต่เมื่อผมได้ไปเปิดดูจากหนังสือ มุคตะซ๊อร อัลอุลุว์ ของท่านอัซซะบีย์ ที่ทำการย่อโดย ท่าน อัลบานีย์ หน้า 159 เราจะพบว่ามีข้อความที่แตกต่างกันดังนี้

نقل أبو القاسم هبة الله اللالكائي و والشيخ موفق الدين المقدسي وغيرهما بالإسناد عن أبي عبد الله بن ابي حنيفة الدبوسى سمعت محمد بن الحسن، يقول : اتفق الفقهاء كلهم من المشرق إلى المغرب على الإيمان بالقرآن والأحاديث التي جاء بها الثقات عن رسول الله صلى الله عليه وسلم في صفة الرب عز وجل من غير تفسير ولا وصف ولا تشبيه، فمن فسر شيئاً من ذلك فقد خرج عما كان عليه النبي صلى الله عليه وسلم وفارق الجماعة،( فإنهم لم ينفوا ولم يفسروا، ولكن آمنوا بما في الكتاب والسنة ثم سكتوا،
فمن قال بقول جهم فقد فارق الجماعة)؛ لأنه وصفه بصفة لا شيء

วิจารณ์

คำสิ่งที่ผมได้อ้างอิงไปนี้ จะพบว่ามีคำพูดที่ ท่านอัลบานีย์วงเล็บ(...) เอาไว้ คือคำว่า

( فإنهم لم ينفوا ولم يفسروا، ولكن آمنوا بما في الكتاب والسنة ثم سكتوا، فمن قال بقول جهم فقد فارق الجماعة)

และท่านอัลบานีย์ได้กล่าววิจารณ์มันเอาไว้ว่า

زيادة من اللالكائى

"(คำกล่าวนี้) เป็นการเพิ่มมาจากคำพูดของ อัลลาลิกาอีย์" ดู มุคตะซ๊อร อัลอุลุว์ ของท่านอัซซะบีย์ ที่ทำการย่อโดย ท่าน อัลบานีย์ หน้า 159

และคำว่า

يعني في نفي الصفات وإخراجها عن ظاهر معناها

คำนี้ ไม่ใช่เป็นคำพูดของท่าน มุหัมมัด บิน อัลหะซันโดยเด็ดขาด และไม่ใช่เป็นการเพิ่มเติมของ อัลลาลิกาอีย์ด้วย แต่มันเป็นการ เพิ่มเสริมแต่งจากวะฮาบีย์ปัจจุบันครับ ซุบหานัลลอฮ์ !! ที่บังอะสันเอาคำพูดเพิ่มเติมจาก อัลลากิลาอีย์และวะฮาบีย์ปัจจุบัน มาเหมารวมว่า เป็นคำพูดของท่าน มุหัมมัด บิน อัลหะซัน !!

จากสิ่งดังกล่าวนี้ ปรากฏแก่เราว่า สิ่งที่บังอะสันพยายามอ้างว่าเป็นคำพูดของท่านอิมาม มุหัมมัด บิน อัลหะซันนั้น มันกลับไม่ใช่เป็นคำพูดของท่าน มุหัมมัด บิน อัลหะซัน เลยแม้แต่น้อย และมันก็ไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกอะไร เพราะหะดิษนบีก็ยังมีการกุโกหก เพิ่มเติมกันอย่างมากมาย จะนับประสาอะไรกับคำพูดของผู้ที่ไม่ใช่เป็นนบี อย่างท่าน มุหัมมัด บิน อัลหะซัน และอุลามาอ์สะลัฟท่านอื่นๆ อีกมากมาย

เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงหนักใจครับ เพราะไม่รู้ว่า วะฮาบีย์และบังอะสันนั้น ได้นำคำกล่าวอ้างนี้ ไปบอกกับคนบ้านที่ไม่รู้เรื่องอะไร แล้วพวกเขาอาจจะหลงเชื่อกันง่ายๆ ที่ทั้งมันไม่ได้เป็นความจริง ดังนั้น เราจึงขอต่ออัลเลาะฮ์ ให้พี่น้องอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ พ้นจากการหลอกลวงในความเท็จที่พวกเขารู้เท่าไม่ถึงการด้วยเถิด...อามีน ยาร๊อบ.

ดังนั้น  ลิงค์ดังกล่าวไม่เหมาะสมสำหรับการนำเสนอความจริงแก่พี่น้องมุสลิมในเรื่องซีฟัตของอัลเลาะฮ์ตาอาลาหรอกครับ

ดังนั้น  หากคุณยอมรับในข้อความต่าง ๆ ที่ผู้ดูแลเวปไซท์นั้นก๊อบมาจากกูเกิ้ลล่ะก็   คุณก็ก๊อบมาอ้างอิงเป็นประเด็น ๆ ซิครับ  ทางเราจะได้ร่วมเสวนากัน  และการเสวนานั้นคือการสนทนาร่วมกันทั้งสองฝ่าย  ไม่ใช่ฉันนึกจะโพสต์  ก็จะโพสต์ของฉันเดียวโดยไม่สนใจการนำเสนอของคนอื่นนั้น  คงไม่ใช่ธรรมเนียมการเสวนาในเวปไซท์แห่งนี้นะครับ

والسلام

อัลอัซฮะรีย์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ส.ค. 09, 2007, 04:08 AM โดย al-azhary »

 

GoogleTagged