ผู้เขียน หัวข้อ: การกินเนื้ออูฐ เสียน้ำละหมาดหรือไม่ ?? และการละหมาดในคอกอูฐ หุก่มว่าอย่างไร ??  (อ่าน 2589 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Muftee

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด

การรับประทานเนื้ออูฐเข้าไป ต้องอาบน้ำละหมาดใหม่หรือไม่ ??  และการละหมาดในคอกอูฐหรือคอกแพะนั้น หุก่มว่าอย่างไร ?? ชี้ขาดโดย เชค อะฏียะฮฺ ศ็อกรฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ



ศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ อาฏียะฮฺ ซ็อกรฺ เราะหิมะหุลลอฮฺ
อดีตประธานคณะกรรมาธิการวินิจฉัยปัญหาศาสนาอิสลามแห่งอัซฮัร
ประเทศอียิปต์


ตอบ ..

มีรายงานมาจากท่านรสูล(ซ.ล.) ว่า ..

أَنَّ رَجُلاً، سَأَلَ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم أَأَتَوَضَّأُ مِنْ لُحُومِ الْغَنَمِ ؟؟ قَالَ ‏"‏ إِنْ شِئْتَ فَتَوَضَّأْ وَإِنْ شِئْتَ فَلاَ تَوَضَّأْ ‏"‏ ‏.‏ قَالَ الرجل : أَتَوَضَّأُ مِنْ لُحُومِ الإِبِلِ ، قَالَ ‏"‏ نَعَمْ فَتَوَضَّأْ مِنْ لُحُومِ الإِبِلِ ‏"‏ ‏.‏ قَالَ الرجل : أُصَلِّي فِي مَرَابِضِ الْغَنَمِ ؟؟ قَالَ ‏ الرسول صلى الله عليه وسلم  "‏ نَعَمْ ‏"‏ ‏.‏ قَالَ الرجل : أُصَلِّي فِي مَبَارِكِ الإِبِلِ ؟؟ قَالَ ‏"‏ لاَ ‏"‏

“มีชายคนหนึ่งถามท่านรสูล ศ็อลล็อลลอฮุ อลัยฮิวะซัลลัม ว่า ฉันต้องอาบน้ำละหมาดหลังจากรับประทานเนื้อแพะหรือไม่ ?? ท่านรสูล(ซ.ล.) ตอบว่า หากท่านประสงค์จะอาบน้ำละหมาดก็จงทำเถิด และหากไม่ประสงค์จะอาบน้ำละหมาดก็ไม่เป็นไร  ชายคนนั้นก็ถามต่อไปว่า แล้วฉันต้องอาบน้ำละหมาดหลังจากรับประทานเนื้ออูฐหรือไม่ ?? ท่านรสูล(ซ.ล.) ก็ตอบว่า ใช่แล้ว .. ต้องอาบน้ำละหมาดหลังจากรับประทานเนื้ออูฐ  ชายคนดังกล่าวก็ถามต่ออีกว่า  แล้วฉันจะละหมาดในคอกแพะได้ไหม ?? ท่านรสูล(ซ.ล.) ก็ตอบว่า “ได้สิ” แล้วชายคนนั้นก็ถามต่ออีกว่า แล้วฉันจะละหมาดในคอกอูฐได้ไหม ?? ท่านท่านรสูล(ซ.ล.) ก็ตอบว่า “ไม่ได้”  (บันทึกโดย มุสลิม)


แลยังมีอีกรายงานหนึ่งว่า ..

إنما الوضوء مما مست النار ، توضأوا مما مست النار

“แท้จริงที่ต้องอาบน้ำละหมาด ก็อันเนื่องมาจากการรับประทานสิ่งที่สัมผัสกับไฟ (ดังนั้น)ท่านทั้งหลายก็จงอาบน้ำละหมาด เมื่อรับประทานของที่สัมผัสกับไฟ” (บันทึกโดย มุสลิม)


และมีรายงานจากท่านญาบิร บิน อับดิลลาฮฺ  เล่าวว่า ..

كان آخر الأمرين من رسول الله صلّى الله عليه وسلّم تركُ الوُضُوء مما مسَّت النار

“สิ่งสุดท้ายจากทั้งสองเรื่อง ที่มาจากท่านรสูล(ซ.ล.) คือ การทิ้งการอาบน้ำละหมาดใหม่ เมื่อได้รับประทานสิ่งที่สัมผัสกับไฟ” (บันทึกโดย อะบูดาวูด)


ทัศนะของปราชญ์ส่วนมาก มีความเห็นว่า  แท้จริงการกินเนื้ออูฐนั้น ไม่ทำให้เสียน้ำละหมาดแต่อย่างใด  ท่านอิมามอัล-นะวะวีย์ ได้กล่าวว่า ผู้ที่มีทัศนะเช่นนี้ คือ เคาะลีฟะฮฺผู้ทรงธรรมทั้งสี่(ท่านอะบูบักร ,ท่านอุมัร ,ท่านอุษมาน ,ท่านอะลีย์) ,ท่านอิบนุ มัศอูด ,ท่านอุบัย บิน กะอับ ,ท่านอิบนุอับบาส ,ปราชญ์ส่วนใหญ่จากตาบิอีน และยังเป็นทัศนะของท่านอิมาม อะบูหะนีฟะฮฺ ,ท่านอิมาม มาลิก ,ท่านอิมาม อัช-ชาฟิอีย์ และยังเป็นทัศนะของบรรดาสานุศิษย์ของพวกเขาอีกด้วย  ซึ่งปราชญ์กลุ่มนี้ได้อ้างหลักฐานจากหะดีษของท่าน ญาบิร บิน อับดิลลาฮฺ ที่ถูกกล่าวมาข้างต้นนั่นเอง  ซึ่งมันเป็นหะดีษที่กล่าวในรูปแบบของการครอบคลุมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเนื้ออูฐหรือเนื้อของสัตว์ชนิดอื่นก็ตาม คือ เมื่อกินเนื้อที่สัมผัสกับไฟไม่ว่าเนื้อสัตว์ชนิดใด ก็ไม่ต้องอาบน้ำละหมาดใหม่แต่ประการใด


ส่วนทัศนะของท่านอิมาม อะหฺมัด ,ท่านอิสหาก บิน รอหะวัยฮฺ ,ท่านยะหฺยา บิน ยะหฺยา ,ท่านอะบูบักร บิน มุนซิร ,ท่านอิบนุ คุซัยมะฮฺ  และยังได้ถูกรายงานมาจากบรรดาปราชญ์หะดีษ และเป็นทัศนะของเศาะหาบะฮฺกลุ่มหนึ่ง  โดยที่ปราชญ์กลุ่มนี้มีความเห็นว่า การกินเนื้ออูฐนั้น ทำให้เสียน้ำละหมาด โดยยึดตามหลักฐานของตัวบทข้างต้นจากหะดีษแรกและหะดีษที่สอง  และการรวมหะดีษจากทั้งสองทัศนะนี้นั้น มีความเห็นต่างๆ มากมายที่ถ่ายทอดมาจากบรรดาปวงปราชญ์  ซึ่งปราชญ์บางส่วนมีความเห็นว่า แท้จริงคำสั่งใช้ของท่านนบีที่บอกว่าให้ไปอาบน้ำละหมาด(อัล-วุดูอฺ) หมายถึง “ให้ไปล้างมือ” เพราะว่านี่คือความหมายทางภาษาของคำว่า “อัล-วุดูอฺ”


และทัศนะที่ถูกเลือกในการฟัตวาชี้ขาดในเรื่องนี้ คือ ทัศนะของปราชญ์นิติศาสตร์อิสลามส่วนใหญ่ที่มีความเห็นว่า “การกินเนื้ออูฐหรือการรับประทานสิ่งที่สัมผัสกับไฟนั้น ถือว่า ไม่ทำให้เสียน้ำละหมาดแต่อย่างใด”


ส่วนการละหมาดในคอกอูฐ(หรือแหล่งที่อูฐอาศัยอยู่เพื่อดื่มน้ำ)นั้น ถือว่าหะรอม(ต้องห้าม) ตามทัศนะของท่านอิมามอะหฺมัด ซึ่งท่านมีความเห็นว่า การละหมาดในคอกอูฐ ถือว่าไม่เศาะฮฺ(ใช้ไม่ได้)  ถ้าใครละหมาดในคอกอูฐ เขาจะต้องทำละหมาดใหม่อีกครั้งในสถานที่อื่น


ท่านอิมามมาลิก ได้ถูกถามจากว่า แล้วถ้าเขาที่ไม่มีสถานที่ใดนอกจากคอกอูฐละ เขาจะละหมาดในนั้นได้หรือไม่ ?? ท่านอิมามมาลิกก็ตอบว่า “อย่าได้ละหมาดในนั้น” และมีคนถามต่อว่า แล้วถ้าเราปูผ้าแล้วละหมาดบนผ้าละ จะได้หรือเปล่า ?? ท่านอิมามมาลิกก็ตอบว่า “ไม่ได้”


ท่านอิบนุ หัซมฺ อัซ-ซอฮิรีย์ ได้กล่าวว่า “ไม่อนุญาตให้ละหมาดในคอกอูฐ”


ตามทัศนะของปราชญ์นิติศาสตร์อิสลามส่วนใหญ่ มีความเห็นว่า แท้จริงการละหมาดในคอกอูฐ(หรือแหล่งที่อูฐอาศัยอยู่เพื่อดื่มน้ำ)นั้น ถือว่าเศาะฮฺ(ใช้ได้) ตราบใดที่ไม่มีนะยิส ส่วนการห้ามที่มาจากหะดีษนั้น เป็นการห้ามในเชิงมักรูฮฺ(น่ารังเกียจหรือไม่ควรกระทำ) เท่านั้น  แต่จะมีหุก่มห้ามก็ต่อเมื่อมีนะยิส  และอีกเหตุผลที่อนุญาตให้ละหมาดในคอกแพะได้ แต่ไม่อนุญาตให้ละหมาดในคอกอูฐ คือ เกรงว่าจะทำให้ผู้ละหมาดไม่มีความสงบ ,ไม่มีความนอบน้อมและไม่มีความมั่นคงในหัวใจ เนื่องบางทีอาจจะระแวงหรือตกใจกับเสียงร้องหรือการเคลื่อนไหวของอูฐ ซึ่งนำไปสู่การเสียละหมาดได้โดยมิบังควร


และยังมีหะดีษที่มาสนับสนุนถึงเหตุผลว่าไม่ควรละหมาดในคอกอูฐ ซึ่งมีสายรายงานที่เศาะเฮี๊ยะ ว่า ..

لا تصلوا فى أعطان الإبل ، فإنها خلقت من الجن ، ألا ترون إلى عيونها وهيئتها إذا نفرت

“ท่านทั้งหลายอย่าได้ละหมาดในคอกอูฐ(หรือแหล่งที่อูฐอาศัยอยู่เพื่อดื่มน้ำ) เพราะแท้จริงอูฐถูกสร้างมาจากญิน ท่านทั้งหลายไม่เห็นดวงตาของอูฐและลักษณะของอูฐเมื่อมันตกใจกลัวดอกหรือ” (บันทึกโดย อิมามอะหฺมัด)


ส่วนการละหมาดในคอกแพะหรือคอกแกะหรือแหล่งที่สัตว์เหล่านี้อาศัยอยู่เพื่อดื่มน้ำนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่อนุญาตให้ละหมาดได้ ด้วยตัวบทหะดีษที่มายืนยัน ซึ่งในคอกแพะหรือคอกแกะนั้น ไม่มีเหตุผลใดๆ ในการห้ามละหมาดเหมือนกับคอกอูฐหรือแหล่งที่อูฐอาศัยอยู่เพื่อดื่มน้ำ


ดู ตำรา  موسوعة أحسن الكلام في الفتاوى والأحكام  ประพันธ์โดย เชค อะฏียะฮฺ ศ็อกรฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ เล่มที่ 3  หน้าที่ 60

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ต.ค. 19, 2014, 10:40 PM โดย Muftee »
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ Muftee

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
ท่านรสูล(ซ.ล.) ได้กล่าวว่า ..

يقول الرسول : ( إن الإبل خلقت من الشياطين ، وإن وراء كل بعير شيطاناً ) . رواه سعيد بن منصور في سننه بإسنادٍ مرسل حسن

"แท้จริงอูฐถูกสร้างมาจากชัยฏอน และด้านหลังของอูฐทุกตัวนั้นมีชัยฏอนอยู่" (บันทึกโดย สะอีด บิน มันซูร ในตำราสุนันของเขาเอง เป็นหะดีษมุรสัลที่มีสถานภาพที่ดี)


ท่านอิหม่ามอัช-ชาฟีอี มีความเห็นว่า "มักรูฮฺ(น่ารังเกียจหรือไม่สมควร)ที่จะละหมาดใกล้ชัยฏอน ดังนั้นจึงมักรูฮฺที่จะละหมาดใกล้อูฐ เพราะอูฐถูกสร้างมาจากชัยฏอน ไม่ใช่เพราะสถานที่อูฐอยู่นั้นสกปรก"


ดู ตำรา الأم โดย ท่านอิมาม อัช-ชาฟิอีย์  ,บท การละหมาด  ,ว่าด้วยเรื่อง การละหมาดในคอกอูฐและคอกแพะ

// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ Muftee

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

 

GoogleTagged