ฝนดาวตก,วันที่ 12 สิงหาคม จันทรุปราคาเต็มดวง 28 สิงหาคม50
เฝ้ารอ...ราชาฝนดาวตก,จันทรุปราคาเต็มดวง
ในเดือนสิงหาคมนี้มีปรากฏการณ์บนท้องฟ้าที่ได้รับการพิสูจน์จากนักวิทยาศาสตร์มาแล้วว่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่ นอนนั่นคือ ?ฝนดาวตก? วันที่ 12 สิงหาคม และอีกข่าวคราว จันทรุ ปราคาเต็มดวงในวันที่ 28 สิงหาคม วันที่ 12 สิงหาคม วันนี้เป็นวันที่ ฝนดาวตกสำคัญกลุ่มหนึ่ง ?ฝน ดาวตกเพอร์ซิอัส? (Perseid meteor shower)
ฝนดาวตก (meteor shower) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดดาวตกจำนวนมากในอัตราที่ถี่กว่าปกติ ในสภาวะปกติที่ไม่มีฝนดาวตกนั้น จะเกิดดาวตกประมาณ 10 ดวงต่อชั่วโมง แต่ในช่วงที่เกิดฝนดาวตก จะมีดาวตกเกิดขึ้นมาก อาจจะถี่ถึงหลายสิบดวงหรือกว่าร้อยดวงต่อชั่วโมง
สาเหตุที่มีฝนดาวตกนั้น เกิดจากการที่โลกโคจรเคลื่อนที่ฝ่าเข้าไปในธารอุกกาบาต สะเก็ดดาวเหล่านี้เป็นเศษขยะที่เกิดจากดาวหางเคยโคจรผ่านเข้ามา เมื่อดาวหางผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน จะเกิดการระเหิดของมวลสารออกไปเป็นสิ่งที่เราเห็นปรากฏเป็นหาง ของดาวหาง ฝุ่นที่ถูกพ่นออกไปนี้ จะคงอยู่ตามเส้นทางโคจรของดาวหางเดิม
แม้ดาวหางจะโคจรผ่านไปแล้วก็ตาม เมื่อโลกโคจรฝ่าเข้าไป ฝุ่นเหล่านั้นก็จะตกลงสู่บรรยากาศโลกกลายเป็นดาวตก เนื่องจากอัตราการตกนี้ถี่กว่าอัตราการตกในสภาวะปกติ เราจึงเรียกว่า ปรากฏการณ์ฝนดาวตก ดาวตกที่เกิดขึ้นจะดูเหมือนกับว่ามีทิศทางมาจากจุด ๆ หนึ่ง บนท้องฟ้า ซึ่งเรียกว่า เรเดียนต์
ฝนดาวตกใดมีเรเดียนต์ อยู่ที่กลุ่มดาวใด ก็จะมีชื่อตามกลุ่ม ดาวนั้น เช่น ฝนดาวตกกลุ่มดาว สิงโต มีจุดเรเดียนต์อยู่ในกลุ่มดาว สิงโต ฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ มีจุดเรเดียนต์อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ เป็นต้น
อารี สวัสดี นายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย กล่าวว่าในคืนวันที่ 12 สิงหาคมนี้ ฝนดาวตกเพอร์ซิอัส ได้ชื่อว่าเป็นราชาของฝนดาวตก ซึ่งเป็นฝุ่นดาวจำนวนมากของดาวหางที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าทั่วประเทศไทย โดยจะเริ่มสังเกตเห็นได้ตั้งแต่เวลา 22.00 น. ของคืนวันที่ 12 สิงหาคมนี้ จนใกล้เช้าของวันที่ 13 สิงหาคมนี้ เป็นจำนวนฝนดาวตก 100 ดวงต่อชั่วโมง
?ในปีนี้เกิดขึ้นในคืนจันทร์ดับ ที่ไม่มีแสงรบกวน จึงน่าจะสังเกตเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะหากไม่มีฝนตก จึงขอเชิญร่วมสังเกตปรากฏการณ์ในพื้นที่มืดโล่ง หรือบนตึกสูง โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างดาวลูกไก่ และดาวค้างคาว พร้อมติดตามได้ทางเว็บไซต์ http:// thaiastro.nectec.or.th?
การสังเกตฝนดาวตกเป็นการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ง่ายที่สุดและลงทุนน้อยที่สุดเราเพียงใช้ตาเปล่ามองขึ้นไปบนท้องฟ้า มองให้กว้าง ๆ ไม่ต้องเพ่งไปที่จุดใดจุดหนึ่ง ดาวตกจะเกิดขึ้นได้เกือบทั่วทั้งท้องฟ้ายกเว้นบริเวณที่อยู่ตรงข้ามกับจุดเรเดียนต์
การเฝ้ารอฝนดาวตกนั้น จำเป็นต้องแหงนดูท้องฟ้าเป็นเวลานานและค่อนข้างต่อเนื่อง การยืนหรือนั่งดูจะเมื่อยคอมาก จึงมีข้อแนะนำว่าควรจะนอนดูมากกว่า อาจจะใช้เก้าอี้พับหรือปูเสื่อนอนดูก็ได้ นับเป็นการสังเกตการณ์ที่เหมาะกับกิจกรรมเล่นสนุกกับเพื่อนฝูงอย่างยิ่ง
ปรากฏการณ์เฝ้ารอมหัศ จรรย์จากท้องฟ้าในครั้งนี้ อย่างที่บอกไป ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เกี่ยวข้องเช่นพวกกล้องดูดาว กล้องโทรทรรศน์ แต่ใช้เพียงตาเปล่าเท่านั้น หากใช้กล้องดูดาวหรือกล้องโทรทรรศน์อาจไม่เห็นอะไรเลยก็เป็นได้
พับเตียงผ้าใบรออีกไม่กี่วัน เตรียมตัวพบกับ ปรากฏการณ์ จันทรุปราคาเต็มดวง ในวันที่ 28 สิงหาคมนี้ รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวถึงปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง พระจันทร์สีส้มแดง ซึ่งจะเกิดในคืนวันที่ 28 สิงหาคมนี้ ว่าดวงจันทร์จะโคจรเข้าสู่เงาโลกในคืนจันทร์เพ็ญ จนเกิดเป็นจันทร์เสี้ยว
โดยสามารถเห็นได้ในเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย มหาสมุทรแปซิฟิก และอเมริกา ทั้งนี้ดวงจันทร์จะเริ่ม เคลื่อนเข้าสู่เงามัวของโลกตั้งแต่เวลา 14.50 น. เศษเข้าสู่เงามืดของโลกเวลา 15.51 น. จนเข้าสู่กลางคลาส ในเวลา 17.37 น. เป็น จันทรุปราคาเต็มดวงที่มีสีส้มแดง และจะเริ่มสว่างในเวลา 18.22 น. ส่วนประเทศไทยจะเห็นได้ในช่วงดวงจันทร์กำลังเคลื่อนออกจากเงา โลก ตั้งแต่ดวงจันทร์ขึ้นในเวลา 18.42 น. ไปจนถึง 19.24 น.
ปรากฏการณ์ของความอัศจรรย์บนท้องฟ้าเป็นเรื่องราวของวิทยาศาสตร์ สนุก และน่าสนใจ และมีให้เห็นไม่บ่อย.
จาก............
http://hilalthailand.comhttp://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/meteors/2007meteors.htmlhttp://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/2007eclipses.html