ท่านเชค อุษมาน อัด-ดิมยาฏีย์ อัช-ชาฟิอีย์ ได้กล่าวว่า ..
ونازع في ذلك في [المجموع] فقال : الصحيح المعتمد ، أن جميع ما في البحر يحل ميتته ، إلا الضفدع ، وحمل ما ذكروه من السلحفاة والحية - أى التي لا سم لها - لحرمة ذات السم مطلقا ،والنسناس على غير ما في البحر
"และเขาได้โต้แย้งกันในเรื่องดังกล่าว ในตำรา "อัล-มัจมัวะอ์ (โดย ท่านอิมาม อัน-นะวะวีย์)" โดยเขาได้กล่าวว่า "สิ่งที่ถูกต้อง และเป็นทัศนะที่ถูกยึดถือ คือ แท้จริงทุกสิ่งที่อยู่ในทะเล ซากสัตว์ตายของมัน(สัตว์ทะเลที่ตายโดยไม่ได้เชือด)นั้น ถือว่า เป็นสิ่งอนุมัติให้กินได้ ยกเว้นกบ(ที่ไม่อนุญาติให้กิน) และได้ถูกยึดถือตีความ(ถูกเทียบ) ต่อสิ่งที่บรรดานักนิติศาสตร์อิสลามได้กล่าวมา จากเต่าและงู(ไม่อนุญาตให้กินเนื้อของมันเช่นกัน) - ซึ่งหมายถึง งูที่ไม่มีพิษ - (โดยเทียบกับกบ) เนื่องจากการรับประทานสิ่งที่มีพิษนั้น เป็นสิ่งต้องห้ามเดิมๆ อยู่แล้ว และเงือกในเทพนิยาย(สัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายมนุษย์ มีตาเดียว โดยมันจะออกมาจากน้ำและสามารถพูดได้) ไม่ถือว่าเป็นสิ่งที่อยู่ในทะเล(ดังนั้น จึงไม่อนุญาตให้กินมัน)"
ดู ตำรา إعانة الطالبين โดย เชค อุษมาน บิน มุหัมมัด ชะฏอ อัล-บักรีย์ อัด-ดิมยาฏีย์ อัช-ชาฟิอีย์ เล่มที่ 2 หน้าที่ 771
ท่านเชค เชค อับดุลวะฮฺฮาบ อับดุสสลาม ฏุวัยละฮฺ ได้กล่าวว่า ..
ทัศนะของปวงปราชญ์ในมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ ที่ถูกต้อง ในเรื่องของการกินเต่า นั้นคือ เป็นสิ่งต้องห้าม เนื่องจากเนื้อของมันเป็นสิ่งสกปรก
ดู ตำรา فقه الأطعمة โดย เชค อับดุลวะฮฺฮาบ อับดุสสลาม ฏุวัยละฮฺ หน้าที่ 141
วัลลอฮุ ตะอาลา อะลา วะ อะลัม