สารบัญถามตอบปัญหาศาสนา
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
โมฆะ ภาษาอาหรับว่า باطل คือนิติกรรมสัญญาที่ไม่ถูกต้องและใช้ไม่ได้ตั้งแต่ต้นโมฆียะ ภาษาอาหรับว่า فاسد คือนิติกรรมสัญญาที่มีความเสียหายหรือไม่สมบูรณ์
แต่ "โมฆียะ" ตามกฎหมายทั่วไปนั้น ถือว่ามีผลสมบูรณ์ตลอดเรื่อยมาแล้วนะครับ เพียงแต่ในเวลาต่อมา "ผู้ปกครอง" ของ "ผู้เยาว์" หรือ "ผู้อนุบาล" ของ "ผู้ไร้ความสามารถ" หรือ "ผู้พิทักษ์" ของ "ผู้เสมือนไร้ความสามารถ" ได้ทำการ "บอกเลิก" นิติกรรมนั้น ซึ่งจะมีผลทำการนิติกรรมต้องกลับไปสู่สภาพเดิม นั่นก็คือ เสมือนว่าไม่เคยมีนิติกรรมนั้นเกิดขึ้นมาก่อน แต่หากบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่จากกล่าวข้างต้น ทำการ "ให้สัตยาบัน" ต่อนิติกรรมนั้นแล้ว ก็จะถือว่า นิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์นับแต่ช่วงเวลาที่นิติกรรมนั้นเกิดขึ้น แต่หากไม่มีทั้งการ "บอกเลิก" หรือ "ให้สัตยาบัน" อย่างใดอย่างหนึ่งจากบุคคลดังกล่าวข้างต้น ก็ให้ถือว่านิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์อยู่อย่างนั้น จนกว่าจะมีการบอกเลิก หรือให้สัตยาบันนั่นเอง ... ผิดถูกยังงัย ก็ชี้แจงได้ครับ อันนี้ว่าไปตามที่ผมเข้าใจเท่านั้นเอง ... วัลลอฮุอะอ์ลัม
ท่าน Al Fatoni ครับ โมฆียะ คือ นิติกรรม หรือ สัญญาไม่สมบูรณ์บางส่วน ก็ถูกนิครับ หากสมบูรณ์หมดแล้วบอกล้างทีหลังทำไมครับ