ผู้เขียน หัวข้อ: ขอทราบ ข้อเท็จจริงเรื่องหุก่มข้อห้ามสตรีอ่านกุรอานโชว์ต่อสาธารณะ  (อ่าน 1519 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ โต๊ะกี IT

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 23
  • เพศ: ชาย
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

 :salam:เคยได้ยินผู้รู้บางท่านบอกว่า "มีข้อห้าม" การที่สตรีอ่านกุรอาน โชว์ต่อสาธารณะชน  หรืออ่านโชว์ทาง TV
หรือแม้แต่อ่านออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง  ใคร่ขอทราบข้อเ็ท็จจริงนี้จากผู้รู้อย่างละเอียดด้วย  ขอบคุณยิ่ง Oops:

ออฟไลน์ Bangmud

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2821
  • Respect: +127
    • ดูรายละเอียด
 :salam:

บังยีไม่ได้ล็อคอิน นานมากแล้วนะครับ หวังว่าอัลลอฮฺคงประทานสุขภาพที่ดีให้บัง แต่ผมเชื่อว่าบังยังคงตามอ่านตลอด

สำหรับคำถามของบังนั้น บังเอิญผมได้อ่านจาก เวบ มุสลิมะฮฺทูเดย์ มีคำตอบ โดย เชค ยูซุฟ ก็อรฺฎอวีย์ จึงลอกมาให้อ่านครับ

http://www.muslimahtoday.net/index.php?option=com_content&task=view&id=48&Itemid=42


เสียงของผู้หญิงเป็นเอาเราะฮฺหรือไม่?
ตอบคำถามโดย ชัยคฺ ดร. ยูซุฟ อัล-ก็อรฎอวียฺ
อาอิช แปลและเรียบเรียง

คำถาม
          มีพี่น้องมุสลิมะฮฺผู้เคร่งครัดจำนวนหนึ่ง พยายามจะบอกว่า เสียงของพวกเธอไม่อนุญาตให้ผู้ชายฟัง โดยอ้างทรรศนะของนักวิชาการบางท่าน อยากทราบว่าอิสลามมีจุดยืนอย่างไรกับเสียงของผู้หญิง?

คำตอบ

     นักวิชาการจำนวนมากออกคำวินิจฉัยที่ไม่มีน้ำหนักเกี่ยวกับเสียงของผู้หญิง  พวกเขาอ้างว่าผู้หญิงจะต้องลดเสียงของหล่อนลงเพื่อให้พูดแผ่ว ๆ หรือแม้กระทั่งเงียบไปเลย เว้นแต่ขณะที่เธอพูดกับสามีของเธอ  ผู้ปกครองของเธอ(รวมถึงชายคนอื่น ๆ ที่ต้องห้ามในการแต่งงานด้วย) หรือผู้หญิงอื่น ๆ เท่านั้น บทบาทของสตรีเพศในการติดต่อสัมพันธ์ได้กลายเป็นที่มาของการล่อลวงหรือการเย้ายวนใจต่อบุรุษเพศ
          อย่างไรก็ตาม อัล-กุรอานได้ระบุว่าเมื่อพวกเขาขอ(สิ่งใดก็ตาม)จากบรรดาภริยาของท่านนบี ก็จงขอพวกนางจากหลังม่าน    (อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล-อะฮฺซาบ 53) เนื่องจากคำถามต้องมีคำตอบมารดาแห่งศรัทธาชนได้ให้คำฟัตวาแก่ผู้คนเหล่านั้นที่ถามไถ่และได้เล่าฮะดีษเพื่อผู้ใดก็ตามที่ต้องการจะนำฮะดีษดังกล่าวไปถ่ายทอดในหมู่พวกเขา
          ยิ่งไปกว่านั้น ผู้หญิงเคยชินที่จะยื่นคำถามต่าง ๆ ต่อท่านนบี   ขณะที่มีผู้ชายอยู่ที่นั่นด้วย พวกเธอไม่ลำบากใจแต่อย่างใดเมื่อเสียงของเธอถูกรับฟัง  และท่านนบีก็ไม่เคยที่จะทักท้วงพวกเธออันเนื่องจากความกระตือรือร้นต่อความต้องการของพวกหล่อน 
แม้แต่ในกรณีของอุมัร อิบนฺ ค็อฏฏอบฺ ขณะที่ท่านถูกทักท้วงจากหญิงคนหนึ่งระหว่างที่ท่านคุฏบะฮฺอยู่บนมิมบัร  ท่านก็ไม่ได้ห้ามเธอแต่ประการใด  ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังยอมรับว่าหล่อนนั้นถูกส่วนท่านนั้นผิดและได้กล่าวว่า “แต่ละคนล้วนมีความรู้มากกว่าอุมัร”
           ตัวอย่างอื่น ๆ   อีกในอัล-กุรอานที่เกี่ยวกับการพูดคุยของผู้หญิงในที่สาธารณะชน ผู้ที่เป็นลูกสาวของท่านนบีชุอัยบฺ ซึ่งถูกเล่าไว้ในอัล-กุรอาน(ดู อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล-เกาะศ็อศ 23) นอกจากนี้อัล-กุรอานยังได้เล่าการสนทนาระหว่างท่านนบีสุไลมานกับราชินีแห่งเมืองสะบะอฺ รวมทั้งระหว่างตัวหล่อนกับผู้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของหล่อนด้วย
  ตัวอย่างทั้งหมดนี้สนับสนุนคำฟัตวาที่อนุญาตให้ผู้หญิงใช้เสียงออกความคิดเห็นของพวกเธอต่อหน้าสาธารณชนได้  สิ่งใดก็ตามที่ถูกบัญญัติแก่พวกเขาเหล่านั้นก่อนหน้าเรามันก็ได้ถูกบัญญัติแก่เราด้วย เว้นแต่ว่ามันถูกปฏิเสธอย่างเอกฉันท์โดยกฎหมายอิสลาม
          ฉะนั้น เว้นไว้แต่ข้อห้ามข้อเดียวก็คือ การที่ผู้หญิงพูดคุยนิ่มนวลอ่อนหวานและพูดจาเพราะพริ้งในอากัปกิริยาที่บ่งชี้ถึงการเร้าและการยั่วยวนต่อเพศชาย นี่คือความชัดเจนที่มีอยู่ในอัล-กุรอาน  ที่เป็นลักษณะคำพูดที่ดึงดูดใจที่อัลลอฮฺ ทรงตรัสไว้ในซูเราะฮฺ  อัล-อะฮฺซาบฺ อายะฮฺ 32 ที่ว่า



...หากพวกเธอยำเกรง(อัลลอฮฺ)ก็ไม่ควรพูดจาเพราะพริ้ง  เพราะจะทำให้ผู้ที่ในหัวใจของพวกเขามีโรคเกิดความโลภ แต่จงพูดด้วยถ้อยคำที่พอเหมาะพอควร
     สิ่งที่ถูกห้ามหลังจากนั้นคือ คำพูดที่อ่อนหวานที่ได้ล่อลวงผู้ที่มีหัวใจเป็นโรคที่ถูกกระตุ้นจากกิเลสตัณหาและไม่อาจกล่าวว่าการสนทนากับผู้หญิงแต่ละครั้งเป็นสิ่งต้องห้ามเนื่องจากอายะฮฺที่สมบูรณ์ของอัลลอฮฺที่กล่าวว่า وَقُلْنَ قَوْلاً مَعْرُوفًا แต่จงพูดด้วยถ้อยคำที่พอเหมาะพอควร (ซูเราะฮฺอัล-อะฮฺซาบฺ อายะฮฺที่32)
              การอ้างคำวินิจฉัยต่อผู้หญิงที่ไม่ให้ใช้เสียงนั้นเป็นแค่เพียงหนึ่งในความอยุติธรรมที่นักวิชาการและผู้นำบางคนได้พยายามที่จะก่อให้เกิดกับเธอ     


อย่างไรก็ตามสิ่งนี้สำหรับคำพูดทั่วไป ผมว่าน่าจะอนุโลมใช้กับการอ่านกุรฺอานได้ เพราะการอ่านกุรฺอานนั้นมีความดีงาม และกระตุ้นให้ผู้ฟังระลึกถึงอัลลอฮฺ มากกว่าคำพูดธรรมดาเสียอีก  วัลลอฮุอะอฺลัม

วัสสลาม

 

GoogleTagged