ผู้เขียน หัวข้อ: การเสวนาเรื่อง อัลอิสติวาอฺ ระหว่างอะฮ์ลิสซุนนะฮ์กับวะฮ์ฮาบีย์  (อ่าน 5637 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ muqorrabeen

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 194
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด

 :salam:

ไปอ่านเจอมาในเฟส  เกี่ยวกับเสวนาเรื่องอะกีดะฮ์ระหว่างอะฮ์ลิสซุนนะฮ์กับวะฮ์ฮาบี  ซึ่งเห็นว่ามีประโยชน์  เลยนำมาเสนอให้พี่น้องได้อ่านเป็นกรณีศึกษา

อะหมัดรอซีดี บินอุษมาน อิสมัญ

ผมตอบไปแล้วว่า เชื่อและยืนยัน ในซิฟัต อิสต้าวา แต่ไม่ได้แปล ความหมายแบบท่าน อย่ามาโมเม ตอบผมครับ ที่ถาม...........

อะสัน หมัดอาดัม

ผมถามว่าอิหม่ามกุรฏุบีย์บอกว่าชาวสะลัฟยุคแรกเขาเชื่อเรื่องอิสติวาอฺอย่างไร ผมไม่ได้ถามว่าคุณเชื่ออย่างไร

เรามาดู อาสัน แปลคำถ่ายทอดของท่านอิหม่ามอัลกุรตุบีย์จากเว็ปอื่นครับ....อาสันอ้างอิงมาว่า...

อิหม่ามอัลกุรฏุบีย์ กล่าวอีกว่า

وقد كان السلف الأول لا يقولون بنفي الجهة , ولا ينطقون بل نطقوا هم والكافة بإثباتها لله , كما نطق كتابه وأخبرت رسله , ولم ينكر أحد من السلف الصالح أنه استوى على عرشه حقيقة .... , وإنما جهلوا كيفية الاستواء

และปรากฏว่าสะลัฟยุคแรก พวกเขาไม่ได้ปฏิเสธ คำว่า "ทิศ" และพวกเขาจะไม่พูด แต่ทว่า พวกเขาเองทั้งหมด รับรองมัน(ทิศ)แก่อัลลอฮ ดังที่คัมภีร์ของพระองค์ได้กล่าวเอาไว้และบรรดารอซูลของพระองค์ ได้บอกไว้ และไม่มีคนใดจากชาวสะลัพผู้ทรงธรรม ปฏิเสธ ว่า อัลลอฮทรงสถิตย์เหนือบัลลังก์ของพระองค์อย่างแท้จริง (ไม่ใช่อุปมาอุปมัย) ...และความจริงพวกเขาไม่รู้รูปแบบวิธีการของการอิสติวาอฺเท่านั้น - ดูที่มาข้างล่าง
) الجامع لأحكام القرآن 7/219-220

Sunnah Core Salafussalah

อาสัน แปลคำพูดของอิหม่ามกุรตุบีย์ที่ถ่ายทอดคำพูดของสะลัฟว่า “อัลลอฮ์ทรงสถิตย์เหนือบัลลังก์...” อยากถามว่า อาสันรู้ได้ไงว่า สะลัฟทั้งหมดในยุคแรกให้ความหมาย อิสตะวา ว่า “สถิต” และอาสัน รู้ได้ยังไงว่า อิสตะวา ที่ท่านอัลกุรตุบีย์กล่าวถึงทัศนะของสะลัฟ แปลว่า “สถิต” ...

สรุปคือ อาสัน โกหก!...ต่อสะลัฟและท่านอัลกุรตุบีย์...

เรามาเข้าใจคำพูดของท่านท่านอิหม่ามอัลกุรตุบีย์ที่ท่านได้กล่าวว่า

. وَقَدْ كَانَ السَّلَف الْأَوَّل رَضِيَ اللَّه عَنْهُمْ لَا يَقُولُونَ بِنَفْيِ الْجِهَة وَلَا يَنْطِقُونَ بِذَلِكَ , بَلْ نَطَقُوا هُمْ وَالْكَافَّة بِإِثْبَاتِهَا لِلَّهِ تَعَالَى كَمَا نَطَقَ كِتَابه وَأَخْبَرَتْ رُسُله . وَلَمْ يُنْكِر أَحَد مِنْ السَّلَف الصَّالِح أَنَّهُ اِسْتَوَى عَلَى عَرْشه حَقِيقَة

“แท้จริงสะลัฟยุคแรก ขออัลลอฮ์ทรงพึงพอพระทัยพวกเขา ไม่ได้กล่าวปฏิเสธทิศและพวกเขาไม่พูดสิ่งดังกล่าว(คือไม่พูดการมีทิศ) แต่พวกเขาและทั้งหมดได้พูดยืนยันทิศให้กับอัลลอฮ์ ตะอาลา เหมือนกับที่พระองค์ได้ทรงตรัสไว้ในคำภีร์ของพระองค์และเหมือนกับสิ่งที่บรรดาร่อซูลของพระองค์ได้บอกไว้ และไม่เคยมีสะลัฟศอลิห์คนใดปฏิเสธว่า อัลลอฮ์ทรง อิสตะวา เหนือบัลลังก์ของพระองค์อย่างแท้จริง...”

เรามาพิจารณทีละประโยคครับ...

คำพูดของท่านอัลกุรตุบีย์ที่ว่า “สะลัฟยุคแรกไม่ได้กล่าวปฏิเสธทิศ”

หมายถึง: พวกเขาไม่ได้ปฏิเสธเพราะว่าประเด็นปัญหาเรื่องทิศนั้น ไม่เคยเกิดขึ้นและนำมาถกในสมัยของพวกเขา

คำพูดของท่านอัลกุรตุบีย์ที่ว่า “พวกเขาไม่ได้พูดสิ่งดังกล่าว(คือไม่พูดการมีทิศ)”

หมายถึง: การที่พูดเขาไม่พูดการมีทิศนั้นเพราะว่า การยืนยันมีทิศทางไม่ใช่อะกีดะฮ์ของสะลัฟ

เพราะปราชญ์สะลัฟอย่างท่านอิมามอบูหะนีฟะฮฺกล่าวยืนยันในการปฏิเสธทิศว่า

ولقاء الله تعالى لأهل الجنة بلا كيف ولا تشبيه ولا جهة حق

" และการที่อัลเลาะฮฺ(ตะอาลา)ทรงพบกับชาวพบสวรรค์ โดยไม่มีวิธีการ ไม่มีการคล้ายคลึง และไม่มีทิศนั้น เป็นสัจจะธรรมความจริง" ดู กิตาบ อัลวะซียะฮฺ ของอบูหะนีฟะฮฺ หน้า 4

คำพูดของท่านอัลกุรตุบีย์ที่ว่า “แต่พวกเขาและทั้งหมดได้พูดยืนยันทิศให้กับอัลลอฮ์ ตะอาลา เหมือนกับที่พระองค์ได้ทรงตรัสไว้ในคำภีร์ของพระองค์และเหมือนกับสิ่งที่บรรดาร่อซูลของพระองค์ได้บอกไว้”

หมายถึง: อัลกุรอานและซุนนะฮ์มิได้บอกเจาะจงไว้เลยว่า อัลลลอฮ์ทรงมีทิศ แต่สะลัฟเพียงแค่ยืนยันบรรดาถ้อยคำที่บ่งชี้ถึงทิศแบบผิวเผินตามที่อัลกุรอานและซุนนะฮ์ได้ระบุเป็นถ้อยคำไว้โดยไม่เพิ่มเติมและสะลัฟก็ปล่อยผ่านมันไป...

เช่น ในอัลกุรอานได้ระบุว่า

علي العرش استوي

“พระองค์ทรงอิสตะวาเหนือบัลลังก์”

คำว่า “เหนือ” ตรงนี้ สะลัฟจะใช้คำว่า فوق العرش “เหนือบัลลังก์” เป็นต้น

และท่านอิหม่ามอัลกุรตุบีย์เอง ก็ได้กล่าวรายละเอียดหลักอะกีดะฮ์ของสะลัฟศอลิห์ ไว้ในตัฟซีรของท่านและในหนังสือ อัตติษการ ฟี อัฟเฎาะลิลอัซการของท่านไว้ว่า

وقد عرف أن مذهب السلف ترك التعرض لتأويلاتها مع قطعهم باستحالة ظواهرها فيقولون أمروها كما جاءت ، وذهب بعضهم إلى إبداء تأويلاتها ، وحملها على ما يصح حمله في اللسان عليها من غير قطع بتعيين محتمل منها

“แท้จริงได้ที่รู้จักกันดีว่า แนวทางของสะลัฟนั้น ไม่นำเสนอการตะวีล(ตีความ) พร้อมกับสะลัฟมั่นใจเด็ดขาดว่าความหมายผิวเผินของมัน(ของตัวบทเกี่ยวกับซีฟาตของอัลลลอฮ์)นั้นเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นพวกเขาจึงกล่าว “พวกท่านจงปล่อยผ่านมันไปเหมือนกับที่มันได้ระบุมา” และสะลัฟบางส่วนได้เปิดเผยการตีความ(ตะวีล)และทำการตีความตามนัยยะที่สามารถตีความได้ตามหลักภาษาอาหรับโดยไม่ฟันธงในการเจาะจงความหมายที่ตีความนั้น” อัตติษการ หน้า 226

คำพูดของอิหม่ามอัลกุรตุบีย์ชัดเจนแล้วว่าสะลัฟนั้น ไม่เข้าไปยุ่งความหมายผิวเผินของตัวบทแต่จะทำการอ่านหรือปล่อยผ่านมันไปและสะลัฟบางส่วนก็ทำการตะวีล(ตีความ)

ท่านอิหม่ามอัฏเฏาะบะรีย์ อุลามาอฺสะลัฟ กล่าวว่า

وَقَدْ بَيَّنَّا أَنَّ كُلَّ شَيْءٍ عالٍ بِالْقَهْرِ وَغَلَبَةٍ عَلَى شَيْءٍ، فَإِنَّ الْعَرَبَ تَقُوْلُ: هُوَ فَوْقَهُ

"เราได้อธิบายมาแล้วว่า แท้จริงทุกๆ ที่สูงด้วยอำนาจและพิชิตเหนือทุกๆ สิ่งนั้น คนอาหรับ(ทั่วไปในยุคสะลัฟ)จะพูดว่า สิ่งนั้น(หรือผู้นั้น)อยู่เหนือสิ่งนั้น(คือเหนือด้วยอำนาจและการพิชิต)" ตัฟซีรอัฏเฏาะบะรีย์ หรือ ญามิอุลบะยาน ฟี ตะวีลิลกุรอาน 13/42

คำพูดของท่านอัลกุรตุบีย์ที่ว่า “และไม่เคยมีสะลัฟศอลิห์คนใดปฏิเสธว่า อัลลอฮ์ทรง อิสตะวา เหนือบัลลังก์ของพระองค์อย่างแท้จริง...”

หมายถึง: สะลัฟนั้นเชื่อว่า อัลลอฮ์ทรงมีซีฟัต “อิสตะวา” ที่ฮะกีกัต คือระบุยืนยันไว้จริงในอัลกุรอาน...

สรุปคือ แนวทางของสะลัฟที่ท่านอิหม่ามอัลกุรตุบีย์ ได้บอกไว้นั้น ไม่สอดคล้องกับอะกีดะฮ์ของวะฮ์ฮาบี...ดังนั้นวะฮ์ฮาบีจึงแค่แอบอ้างว่าสะลัฟ

ออฟไลน์ muqorrabeen

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 194
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
Sunnah Core Salafussalah

อัลอิสติวาอฺเหนือบัลลังก์ ตามหลักของอะกีดะฮ์สะลัฟอัลอะชาอิเราะฮ์

ท่านอิมาม อัลอัชอะรีย์ ได้กล่าวไว้ใน หนังสือ อัลอิบานะฮฺ ฟี อุซูล อัลดิยานะฮฺ ว่า

وأن الله تعالى استوى على العرش على الوجه الذي قاله وبالمعنى الذي أراده ، استواء منزها عن المماسة والاستقرار والتمكن والحلول والانتقال ، لا يحمله العرش بل العرش وحملته محمولون بلطف قدرته ، ومقهورون في قبضته ، وهو فوق العرش وفوق كل شئ إلى نجوم الثرى ، فوقية لا تزيده قربا إلى العرش والسماء

ความว่า “แท้จริง อัลเลาะฮฺ ตะอาลา ได้ทรง อิสตะวาอฺ เหนือบัลลังก์ บนหนทางที่พระองค์ได้กล่าวไว้ และด้วยความหมายที่พระองค์ทรงประสงค์(ไม่ใช่ตามที่วะฮ์ฮาบีจะเอา) โดยอิสติวาอฺที่ ปราศจาก การสัมผัส ปรากศจากการสถิต ปราศจากการมั่นคงอยู่ ปราศจากการเข้าไปอยู่ และปราศจากการเคลื่อนไหว โดยที่บัลลังก์นั้นไม่ได้แบกพระองค์เอาไว้ แต่ทว่าบัลลังก์และบรรดา(มะลาอิกะฮ์)ผู้ที่แบกมันไว้นั้น ได้ถูกแบกด้วยความเมตตาจากอานุภาพของพระองค์ และพวกเขาถูกควบคุมอยู่ในอำนาจของพระองค์ โดยที่พระองค์ทรงเหนือบัลลังก์และเหนือทุกๆ สิ่งจนกระทั้งดวงดาวษุรอยยา (การอยู่เหนือของพระองค์นั้น) เป็นการอยู่เหนือโดยไม่ทำให้พระองค์เพิ่มการใกล้ไปยังบังลังก์และฟากฟ้า” ดู หนังสือ อัลอิบานะฮฺ หน้า 21 ตีพิมพ์ ดาร อัลอันซอร ตะห์กีกโดย ดร. เฟากียะฮฺ หุซัยน์ มะฮฺมูด

จากคำพูดของท่านอะบุลหะซัน อัลอัชอะรีย์ นี้ พอจะสรุปได้ดังนี้

1. อัลลอฮ์ทรงอิสติวาอฺตามที่พระองค์ได้ทรงตรัสไว้

2. ทรงอิสติวาอฺตามความหมายที่อัลลอฮ์ทรงประสงค์ หมายถึง มอบหมายการรู้ความหมายที่แท้จริงไปยังพระองค์(แต่วะฮ์ฮาบีย์รู้ความหมายและเจาะจงความหมายที่ไม่บังควร)

3. การอิสติวาอฺมิได้อยู่ในความหมายของ สถิต(แต่วะฮ์ฮาบีย์บอกว่า สถิต)

4. การอิสติวาอฺของพระองค์นั้น ไม่เคลื่อนไหว (แต่อะกีดะฮ์วะฮ์ฮาบีย์บอกว่าอัลลอฮ์เคลื่อนไหว

5. อัลลอฮ์ทรงเหนือบัลลังก์และเหนือทุกสิ่งที่ถูกสร้าง หมายถึงพระองค์ทรงเหนือทุกๆ สิ่งด้วยอำนาจการปกครองและสรรพสิ่งทั้งหลายอยู่ใต้อำนาจการบริหารของพระองค์ มิใช่หมายถึงอัลลอฮ์อยู่เหนือสุดบนทุกๆ สิ่งและทุกๆ สิ่งอยู่ใต้พระองค์

ท่านอิบนุ ฟูร็อก ได้อธิบายเป้าหมายตรงนี้ไว้ ซึ่งท่านเป็นปราชญ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์ ท่านเป็นลูกศิษย์ของท่าน อะบุลหะซัน อัลบาฮิลีย์ และท่านอะบุลหะซัน อัลบาฮิลีย์ เป็นศิษย์ของท่านอะบุลหะซัน อัลอัชอะรีย์

ท่านอิหม่ามอิบนุ ฟูร็อก ได้กล่าวว่า

و اعلم انا اذا قلنا ان الله عز ذكره فوق ما خلقلم نرجع به الى فوقية المكان والارتفاع على الأمكنة بالمسافة والاشراف عليها بالمماسة لشيء منها بل قلنا انه فوقها يحتمل وجهين احدهما , أن يراد به أنه قاهر لها مستول عليها اثباتا لاحاطة قدرته بها وشمول قهره لها , وكونها تحت تدبيره جارية على حسب علمة ومشيئته والوجة الثاني ان يراد به انه فوقها على معنى انه مباين لها با الصفة والنعت , وان ما يجوز على المحدثات من العيب والنقص والعجز والأفة والحاجة لا يصح شيء من ذلك عليه ولا يجوز وصفة به وهذا متعارف في اللغة ان يقال فلان فوق فلان ويراد بذالك رفعة المرتبة والمنزلة والله فوق خلقه على الوجهين جميعا وانما يمتنع الوجه الثالث وهو ان يكون على معنى التحيز في جهة والاختصاص ببقعة دون بقعة

“ท่านจงรู้เถิดว่า แท้จริงเมื่อเรากล่าวว่า อัลลอฮ์ตะอาลาทรงอยู่เหนือสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหลายนั้น พวกเราไม่เคยกลับไปให้ความหมายว่าอยู่เหนือแบบมีสถานที่หรือทรงอยู่สูงเหนือสถานที่แบบมีระยะทาง(ห่างระหว่างพระองค์กับมัคโลค)หรือทรงขึ้นไปบนบรรดามัคโลคด้วยสัมผัสสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากมัคโลคทั้งหลาย แต่เราขอกล่าวว่า แท้จริง การที่อัลลอฮ์ทรงเหนือสรรพสิ่งทั้งหลายนั้น สามารถอธิบายได้ 2 หนทาง

หนึ่ง: หมายถึง อัลลอฮ์ทรงอำนาจเหนือสรรพสิ่งทั้งหลายและทรงปกครองสรรพสิ่งทั้งหลาย โดยยืนยันถึงความเดชนุภาพและอำนาจของพระองค์ได้ห้อมล้อมแผ่คลุมสรรพสิ่งทั้งหลาย และสรรพสิ่งทั้งหลายนั้นอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของพระองค์ โดยเป็นไปตามความรอบรู้และความประสงค์ของพระองค์

สอง: หมายถึง อัลลอฮ์ทรงเหนือสรรพสิ่งทั้งหลายบนความหมายที่ว่า อัลลอฮ์และซีฟัตของพระองค์แตกต่าง(ไม่อยู่ร่วม)กับบรรดาสรรพสิ่งทั้งหลาย

และสิ่งที่อนุญาตให้เกิดขึ้นกับบรรดาสิ่งที่บังเกิดขึ้นมาใหม่ เช่น ข้อตำหนิ ข้อบกพร่อง ความอ่อนแอ โรค และความต้องการสิ่งอื่นนั้น จะเกิดขึ้นกับอัลลอฮ์ไม่ได้ และไม่อนุญาตให้พรรณนากับพระองค์เช่นนั้น

และนี้ก็คือ สิ่งที่รู้กันดีในด้านของภาษาอาหรับ เช่น กล่าวว่า คนหนึ่งอยู่เหนือคนหนึ่ง ซึ่งเป้าหมายคำพูดดังกล่าวก็คือ สูงในด้านของฐานันดรและเกียรติยศ ดังนั้นอัลลอฮ์ทรงเหนือมัคโลคของพระองค์ ก็อยู่บน 2 หนทางนี้ทั้งหมด

ส่วนประการสาม ถือว่าต้องห้าม หมายถึง การที่อัลลอฮ์อยู่บนความหมายของการเข้าไปยู่ในทิศใดทิศหนึ่งและจำกัดอยู่ ณ สถานที่หนึ่งเป็นการเฉพาะ” มุชกิลุลหะดีษ หน้า 81

สิ่งที่ได้รับจากการอธิบายแนวทางอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ของท่านอิบนุ ฟูร็อก คือ

1. คำพูดของสะลัฟที่ว่า “อัลลอฮ์เหนือมัคโลคหรือสรรพสิ่งทั้งหลาย” ตามแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์นั้น เข้าใจได้สองประการคือ อัลลอฮ์ทรงอำนาจการปกครองเหนือสรรพสิ่งทั้งหลายและพระองค์ทรงแตกต่างหรือไม่อยู่ร่วมกับสรรพสิ่งทั้งหลาย

2. บรรดาสรรพสิ่งทั้งหลายอยู่ภายใต้อำนาจการบริหารและการปกครองของอัลลอฮ์เนื่องจากพระองค์ทรงอำนาจปกครองเหนือสรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่ใช่อัลลอฮ์อยู่เหนือบนสรรพสิ่งทั้งหลายแล้วสรรพสิ่งทั้งหลายอยู่ใต้อัลลอฮ์(ซึ่งเป็นแนวทางของวะฮ์ฮาบีย์)

3. อัลลอฮ์มิได้อยู่เหนือมัคโลคโดยอยู่ห่างไกลแบบมีระยะทางระหว่างพระองค์กับมัคโลค(ซึ่งแตกต่างกับวะฮ์ฮาบีย์)

4. ไม่อนุญาตให้พรรณนาคุณลักษณะของอัลลอฮ์ให้ไปเหมือนกับคล้ายคลึงกับคุณลักษณะของมัคโลคหรือสรรพสิ่งทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นมาใหม่(ส่วนวะฮ์ฮาบีย์ปฏิเสธการเหมือนแต่ไม่ปฏิเสธการคล้ายคลึง/ตัชบีฮ์)

วัลลอฮุอะลัม....

ออฟไลน์ muqorrabeen

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 194
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
อาสัน หมัดอาดัม

มาดูคำพูดของอิหม่ามกุรฎุบีย์ในตัฟสีรของท่านให้หมดครับท่านคอร์.....

قَالَ مَالِكٌ رَحِمَهُ اللَّهُ : الِاسْتِوَاءُ مَعْلُومٌ - يَعْنِي فِي اللُّغَةِ - وَالْكَيْفُ مَجْهُولٌ ، وَالسُّؤَالُ عَنْ هَذَا بِدْعَةٌ . وَكَذَا قَالَتْ أُمُّ سَلَمَةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهَا . وَهَذَا الْقَدْرُ كَافٍ ، وَمَنْ أَرَادَ زِيَادَةً عَلَيْهِ فَلْيَقِفْ عَلَيْهِ فِي مَوْضِعِهِ مِنْ كُتُبِ الْعُلَمَاءِ . وَالِاسْتِوَاءُ فِي كَلَامِ الْعَرَبِ هُوَ الْعُلُوُّ وَالِاسْتِقْرَارُ

อิหม่ามมาลิก ขออัลลอฮเมตตาต่อท่านกล่าวว่า “อิสติวาอฺ นั้นเป็นที่รู้กัน หมายถึงในด้านภาษา(เป็นที่รู้กัน) และรูปแบบวิธีการนั้น ไม่เป็นที่รู้กัน และการถามเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้น เป็นบิดอะฮ และในทำนองเดียวกันนี้ อุมมุสะละมะฮ (ร.ฎ)ได้กล่าวเอาไว้ แค่นี้ก็พอเพียงแล้ว และผู้ใดต้องการที่จะ(รู้)เพิ่มเติม ก็จงดูมันในเรื่องของมันจากบรรดาตำราของอุลามาอฺและคำว่า”อิสติวาอฺ ในคำพูดอาหรับนั้น คือ สูง และการสถิต- ดู ตัฟสีรญามิอุลอะหกาม เล่ม ๗ หน้า ๒๑๙
.....................
ผมอยากให้ท่านซุนนะอคอร์ดูคำแปลนักวิชามาเลย์ข้างต้นสักนิด
والاستواء في كلام العرب هو العلوّ والاستقرار

Dan Istiwa` dalam bahasa Arab itu Meninggi dan Menetap”. (Tafsir al-Qurtubi, 1/2130-2131)

Sunnah Core Salafussalah

อาสันครับ นายต้องยกอ้างอิงคำพูดเกี่ยวกับบรรดาความหมายของ “อิสติวา” ของท่านอิหม่ามอัลกุรตุบีย์ให้หมดซิครับ ไม่ใช่จะเอาแค่สองความหมายที่ต้องการ

ซึ่งท่านอิหม่ามอัลกุรตุบีย์กล่าวบรรดาความหมายของอิสติวาอฺว่า

وَالِاسْتِوَاء فِي كَلَام الْعَرَب هُوَ الْعُلُوّ وَالِاسْتِقْرَار . قَالَ الْجَوْهَرِيّ : وَاسْتَوَى مِنْ اِعْوِجَاج , وَاسْتَوَى عَلَى ظَهْر دَابَّته ; أَيْ اِسْتَقَرَّ . وَاسْتَوَى إِلَى السَّمَاء أَيْ قَصَدَ . وَاسْتَوَى أَيْ اِسْتَوْلَى وَظَهَرَ . قَالَ : قَدْ اِسْتَوَى بِشْر عَلَى الْعِرَاق مِنْ غَيْر سَيْف وَدَم مِهْرَاق وَاسْتَوَى الرَّجُل أَيْ اِنْتَهَى شَبَابه . وَاسْتَوَى الشَّيْء إِذَا اِعْتَدَلَ . وَحَكَى أَبُو عُمَر بْن عَبْد الْبَرّ عَنْ أَبِي عُبَيْدَة فِي قَوْله تَعَالَى : " الرَّحْمَن عَلَى الْعَرْش اِسْتَوَى " [ طَه : 5 ] قَالَ : عَلَا . وَقَالَ الشَّاعِر : فَأَوْرَدْتهمْ مَاءً بِفَيْفَاء قَفْرَةٍ وَقَدْ حَلَّقَ النَّجْم الْيَمَانِيّ فَاسْتَوَى أَيْ عَلَا وَارْتَفَعَ. قُلْت : فَعُلُوّ اللَّه تَعَالَى وَارْتِفَاعه عِبَارَة عَنْ عُلُوّ مَجْده وَصِفَاته وَمَلَكُوته

นี่คือบรรดาความหมายอิสติวาอฺที่ท่านอัลกุรตุบีย์ได้บอกไว้ ซึ่งมิใช่หมายความว่า ทุกความหมายนี้ คือความหมายอัลอิสติวาอฺตามทัศนะของท่าน อัลกุรตุบีย์!

ท่านอัลกุรตุบีย์ ได้ให้บรรดาความหมาย อิสติวา โดยทั่วไปดังนี้

1. อัลอุลุว้ العلو “สูงส่ง”

2. อัลอิสติกร็อกร الإستقرار “สถิต” บนหลังสัตว์

3. อิสตะวา มิน อิอฺวิญาจญฺ وَاسْتَوَى مِنْ اِعْوِجَاج “ตรงหลังจากมีการโค้งงอ”

4. ก่อศ่อด้า قَصَدَ “มุ่ง”

5. อิสเตาลา اِسْتَوْلَى “ปกครอง”

6. ซ่อฮะร่อظَهَرَ “ปรากฏ”

7. อินตะฮา اِنْتَهَى شَبَابه “สิ้นสุด(วัยหนุ่ม)”

8. อิอฺตะดะล่า اِعْتَدَلَ “ตรง”

9. อิรตะฟะอ้า ارْتَفَعَ “สูงขึ้น”

แสดงว่า ท่านอัลกุรตุบีย์ ได้นำเสนอความหมายของ อิสติวาอฺ ถึง 9 ความหมายโดยที่ไม่ได้ให้น้ำหนักความหมายใด แต่หลังจากนั้นท่านนอิหม่ามอัลกุรตุบีย์ได้ชี้แจงถึงความหมายที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นความหมายที่นายจะไม่เอา!

แล้วท่านอัลกุรตุบีย์ ก็ได้สรุปความหมายที่ถูกต้องของอัลอิสติวาอฺว่า

قُلْت : فَعُلُوّ اللَّه تَعَالَى وَارْتِفَاعه عِبَارَة عَنْ عُلُوّ مَجْده وَصِفَاته وَمَلَكُوته

“ข้าพเจ้า(คืออิหม่ามอัลกุรตุบีย์) ขอกล่าวว่า ทรงสูงส่งและทรงสูงของอัลลอฮ์นั้น คือเป็นสำนวนหนึ่ง จากความสูงส่งของเกียรติ สูงส่งของคุณลักษณะ และสูงส่งอำนาจการปกครองของพระองค์”

ซึ่งเป็นการให้ความหมายที่สอดคล้องกับสะลัฟศอลิห์ อย่างท่านอัฏเฏาะบะรีย์ก็ได้กล่าวเช่นกันว่า

فَإِنْ زَعَمَ أَنَّ ذَلِكَ لَيْسَ بِإِقْبَالِ فِعْل وَلَكِنَّهُ إقْبَال تَدْبِير , قِيلَ لَهُ : فَكَذَلِكَ فَقُلْ : عَلَا عَلَيْهَا عُلُوّ مُلْك وَسُلْطَان لَا عُلُوّ انْتِقَال وَزَوَال

"ดังนั้น ก็จะถูกกล่าวแก่เขาว่า ท่านอ้างว่า การตีความคำว่า "اِسْتَوَى" นั้น คือ การมุ่งหน้า . ฉะนั้น หรือว่าพระองค์ทรงผินหลังให้กับฟากฟ้า จากนั้นพระองค์ก็มุ่งไปยังฟากฟ้า?? แต่หากเขาอ้างว่า ดังกล่าวนั้น ไม่ใช่การมุ่งหน้าแบบกระทำ(มุ่งหน้า) แต่เป็นการมุ่งบริหาร. (ท่านอัฏเฏาะบะรีย์จึงกล่าวตอบโต้ว่า) ก็ให้กล่าวแก่เขาว่า ดังนั้น แบบนั้นแหละ(คือการให้ความหมายว่าเป็นการมุ่งกระทำเชิงบริหาร) ท่านก็จงกล่าวว่า "พระองค์ทรงสูงส่งเหนือฟากฟ้า แบบการสูงส่งของการปกครองและอำนาจ (ไม่ใช่อยู่สูงแบบมีสถานที่) ไม่ใช่สูงแบบเคลื่อนย้ายและก็หายไป" ดู ตัฟซีร เฏาะบะรีย์ เล่ม 1/430

นี่คืออะกีดะฮ์สะลัฟของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์!

ออฟไลน์ muqorrabeen

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 194
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
อาสัน หมัดอาดัม

มาดูคำพูดของอิหม่ามกุรฎุบีย์ต่อ ครับอาจารย์คอร์

وأظهر هذه الأقوال وإن كنت لا أقول به ولا أختاره ما تظاهرت عليه الآي والأخبار أن الله سبحانه على عرشه كما أخبر في كتابه وعلى لسان نبيه بلا كيف، بائن من جميع خلقه هذا جملة مذهب السلف الصالح فيما نقل عنهم الثقات

และบรรดาทัศนะเหล่านี้ ที่ชัดเจนที่สุด แม้ว่า ข้าพเจ้าจะไม่ได้กล่าว(ไม่ได้มีทัศนะ)ด้วยมันและไม่ได้เลือกมัน คือ สิ่ง(ทัศนะ)ที่ อายะออัลกุรอ่านและบรรดาหะดิษ ได้แสดงให้ปรากฏบนมันคือ แท้จริงอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา อยู่บนอะรัช ของพระองค์ ตามสิ่งที่ถูกระบุในคัมภีร์ของพระองค์ และโดยผ่านคำพูดของนบีของพระองค์ โดยไม่ระบุรูปแบบวิธีการ(ว่าเป็นอย่างไร) ทรงแยกออกจากบรรดามัคลูคของพระองค์ นี้คือข้อสรุปของมัซฮับบรรพชนยุคก่อนผู้ทรงธรรม (สะละฟุศศอลิหฺ)ในสิงที่บรรดาผู้เชื่อถือได้รายงานจากพวกเขา – ดู อัลอัสนา ชัรหุอัสมาอุลหุสนา เล่ม ๒ หน้า ๑๓๒
...........................
ชัดเจนไหมครับ สำหรับความหมาย “สถิต” และชัดเจนไหมครับ ว่า การให้ความหมาย”ครอบครองโดยไม่แย่งชิง”นั้น เป็นเท็จ เพราะสะลัฟเขาไม่ตีความแบบอารีฟีน

Sunnah Core Salafussalah

การที่นายให้ความหมาย อิสติวาอฺว่า “สถิต” แต่ท่านอัลกุรตุบีย์เอง ก็ได้ให้ความหมาย “สถิต” ว่า “สถิตอยู่บนหลังสัตว์” แล้วนายยังจะมาภูมิใจให้จะเอาความหมาย สถิต ตามที่ท่านอิหม่ามอัลกุรตุบีย์กล่าวไว้กระนั้นหรือ?!

ส่วนคำกล่าวของท่านอัลกุรตุบีย์ ที่นายอ้างอิงมานั้น ถือว่าถูกต้อง แต่ไม่ตรงกับหลักอะกีดะฮ์วะฮ์ฮาบีย์

คำว่า

أن الله سبحانه على عرشه

อาสันแปลว่า “แท้จริงอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา อยู่บนอะรัช ของพระองค์”

ที่ดีควรแปลว่า “แท้จริงอัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงเหนือบัลลังก์ของพระองค์”

เพราะการให้ความหมายว่า “อยู่บน” นั้น เป็นการให้ความหมายแอบแฝงเบี่ยงเบนเพราะเป็นการให้ความหมายเดียวกับ “สถิต”

คำว่า

بلا كيف

อาสันแปลว่า “โดยไม่ระบุรูปแบบวิธีการ(ว่าเป็นอย่างไร)”

ที่ถูกต้อง แปลว่า “ไม่มีรูปแบบวิธีการ”

คำว่า

بائن من جميع خلقه

อาสันแปลว่า “ทรงแยกออกจากบรรดามัคลูคของพระองค์”

หมายถึง อัลลอฮ์ไม่ได้อยู่ปะปนกับมัคโลค ไม่ใช่อัลลอฮ์ทรงแยกจากมัคโลคโดยห่างไกลเป็นระยะทางที่ไกลโพ้น และยังให้ความหมายได้อีกว่า “ทรงแตกต่างกับบรรดามัคโลคของพระองค์”

หวังว่าอะสันคงไม่สร้างฟิตนะฮ์ไปมากกว่านี้...

ออฟไลน์ muqorrabeen

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 194
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
อาสัน หมัดอาดัม

คุณซุนนะฮคอร์ครับ ความหมายที่ท่านกล่าวข้างต้น ไม่ใช่คำพูดของอิหม่ามอัลกุรฏุบีย์ แต่ท่านได้รายงานคำพูดของ อัลเญาะฮะรีย์
(الْجَوْهَرِيّ) ซึ่งหนึ่ง ในความหมายเหล่านั้น คือ . อัลอิสติกร็อร الإستقرار “สถิต

Sunnah Core Salafussalah

อาสัน นายอ่านในสิ่งที่ผมได้นำเสนอไปบ้างหรือเปล่าครับเนี่ย?... ปัญหาตัวนายตอนนี้คือ ไม่ยอมอ่านในสิ่งที่ผู้เสวนาได้ชี้แจงความจริง มัวแต่ดันทุรังแก้ตัวน้ำขุ่นๆ น่ะครับ

ผมอยากถาม อาสันหน่อยน่ะครับ ที่ท่านอิหม่ามอัลกุรตุบีย์ บอกว่า

وَالِاسْتِوَاء فِي كَلَام الْعَرَب هُوَ

“อัลอิสติวาอฺในคำพูดของอาหรับนั้น คือ...”

ซึ่งทัศนะของท่านอัลกุรตุบีย์มีแค่ 2 ความหมายหรืออย่างไร? และการที่ท่านอิหม่ามอัลกุรตุบีย์ ได้นำความหมายอิสติวาอฺตามหลักภาษาอาหรับมาเสนอ โดยอ้างอิงจากคำพูดของท่าน อัลเญาฮะรีย์ นั้น เพราะท่านอัลเญาฮะรีย์เป็นอุลามาอฺภาษาอาหรับที่น่าเชื่อถือ ดังนั้นท่านอัลกุรตุบีย์จึงอ้างอิงคำพูดของท่านอัลเญาฮะรีย์ โดยยอมรับว่าความหมายอัลอิสติวาอฺนั้นมีมากมายตามที่ท่านอัลเญาฮะรีย์ได้กล่าวไว้ และถือว่าเป็นทัศนะของท่านอัลกุรตุบีย์ด้วย เพราะถ้าหากท่านอัลกุรตุบีย์ปฏิเสธการให้ความหมายอัลอิสติวาอฺของท่านอัลเญาฮะรีย์ แน่นอนว่าท่านอัลกุรตุบีย์ ก็ต้องชี้แจงและโต้ตอบว่า คำพูดของท่านอัลเญาฮะรีย์นั้น ไม่ต้องตามหลักภาษาอาหรับ แต่ความจริงมิใช่เป็นเช่นนั้น

การที่อิหม่ามอัลกุรตุบีย์ อ้างอิงคำพูดของปราชญ์ภาษาอาหรับอย่างท่านอัลเญาฮะรีย์ ก็เพื่อให้ผู้อ่านทราบถึงความหมายหลายนัยของอัลอิสติวาอฺ และหลังจากนั้น ท่านอัลกุรตุบีย์ ก็เลือกความหมายที่ดีที่สุดสำหรับซีฟัตอัลอิสติวาอฺของอัลลอฮ์ ก็คือ:

قُلْت : فَعُلُوّ اللَّه تَعَالَى وَارْتِفَاعه عِبَارَة عَنْ عُلُوّ مَجْده وَصِفَاته وَمَلَكُوته

“ข้าพเจ้า(คืออิหม่ามอัลกุรตุบีย์) ขอกล่าวว่า ทรงสูงส่งและทรงสูงของอัลลอฮ์นั้น คือเป็นสำนวนหนึ่ง จากความสูงส่งของเกียรติ สูงส่งของคุณลักษณะ และสูงส่งอำนาจการปกครองของพระองค์”

ดังนั้นท่านอัลกุรอาน ไม่ได้เลือกความหมาย อัลอิสต็อกร็อร “สถิต” เหมือนกับที่วะฮ์ฮาบีจะเอาเลย แต่ท่านอัลกุรตุบีย์เลือกความหมายที่สะลัฟได้ให้ไว้

ออฟไลน์ muqorrabeen

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 194
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
อาสัน หมัดอาดัม

ความหมายคำว่า “อิสเตาลา اِسْتَوْلَى “ปกครองโดยไม่แย่งชิง (ดังที่อารีฟีนแปล) เพราะความหมายนี้ไม่ใช่ความหมายในทัศนะสะลัฟแต่เป็นความหมายตามทัศนะ “มุฮตะซิละฮ”

Sunnah Core Salafussalah

อารีฟีน เอง ได้อ้างอิงการให้ความหมาย อัลอิสติวาอฺ ว่า ปกครอง จากสะละฟุศศอลิห์จากแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ คือท่านอิหม่าม อัซซัจญาจญฺ เป็นปราชญ์ตัฟซีร อีกทั้งเป็นปราชญ์ภาษาอาหรับของสะลัฟ ซึ่งอารีฟีน ได้อ้างอิงไว้ในเว็บไซต์ของเขาดังนี้

ท่านอิหม่ามอัซซัจญาจญฺ (ฮ.ศ. 241-311) ซึ่งเป็นปราชญ์ยุคสะลัฟได้กล่าวไว้ในตัฟซีรของท่านว่า

فَقَالَ: (عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى) ، وَقَالُوْا مَعْنَى (اِسْتَوَى) : اِسْتَوْلَى , وَاللَّهُ أَعْلَمُ

“อัลเลาะฮ์ ตะอาลาทรงตรัสว่า “พระองค์ทรงอิสตะวาเหนือบัลลังก์ และพวกเขากล่าวว่า ความหมาย อิสตะวา คือ อิสเตาลา(ปกครองโดยไม่มีการแย่งชิง)วัลลอฮุอะลัม” ตัฟซีร มะอานี อัลกุรอาน เล่ม 3 หน้า 229. ดูลิงค์นี้ ในโพสต์ตอบกลับที่ #4 http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php?topic=3059.0

ออฟไลน์ muqorrabeen

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 194
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
อาสัน หมัดอาดัม

แต่ไม่ใช่ทัศนะตามแนวสะลัฟ ตามข้อเท็จจริงจากคำพูดของท่านอิหม่ามกุรฏุบีย์ แต่สิ่งที่เป็นหลักฐานที่ทำให้อะชาอีเราะฮเสียหน้า และหักหน้าอะชาอีเราะฮยุคใหม่อย่างจัง เพราะอะชาอิเราะฮปฏิเสธ การอยู่เหนือบัลลังค์(อะรัช)ของอัลลอฮ คือ คำพูดของอิหม่ามกุรฏุบีย์เองที่ว่า
ولم ينكر أحد من السلف الصالح أنه استوى على عرشه حقيقة ....
และไม่มีคนใดจากชาวสะลัพผู้ทรงธรรม ปฏิเสธ ว่า อัลลอฮทรงสถิตเหนือบัลลังก์ของพระองค์จริงๆ - ตัฟสีรอัลญามิอุลอะหกามุลกุรอ่าน เล่ม 7 หน้า 219....สรุป สะลัฟยอมรับ การอยู่เหนืออะรัชของอัลลอฮ แต่ อะชาอีเราะยุคไหม่ไม่ยอมรับ...

Sunnah Core Salafussalah

อาสันโกหกอีกแล้ว! เพราะไม่มีอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ อัลอะชาอิเราะฮ์ ยุคไหนที่ปฏิเสธ การที่อัลลอฮ์ทรงอิสติวาอฺเหนือบัลลังก์หรอก เพราะเป็นสิ่งที่ถูกระบุไว้ในอัลกุรอาน แต่อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ อัลอะชาอิเราะฮ์ ปฏิเสธ การให้ความหมายอิสติวาอฺว่า นั่ง ประทับ สถิต ที่วะฮ์ฮาบีย์พยายามจะให้ความหมายต่างหาก ดังนั้นการที่ อัลอะชาอิเราะฮ์ ปฏิเสธความหมาย ประทับ นั่ง สถิต ก็มิได้หมายความว่า อัลอะชาอิเราะฮ์ปฏิเสธ อัลอิสติวาอฺ เพราะอัลอะชาอิเราะฮ์เลือกความหมาย อัลอิสติวาอฺ ว่า สูงส่งหรือปกครอง(โดยไม่มีการแย่งชิง)

ดังนั้นอาสัน ฝึกหัดแยกประเด็นให้ดีว่า ระหว่างอะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์กับวะฮ์ฮาบีย์ มิได้ขัดแย้งในเรื่องการมีซีฟัต อัลอิสติวาอฺ แต่ขัดแย้งในเรื่องการให้ความหมายของ อัลอิสติวาอฺ

เพราะฉะนั้นอาสันอย่าพยามฟิตนะฮ์บิดเบือนต่อหลักอะกีดะฮ์แนวทางอื่นจากตน เพราะมันบ่งชี้ว่าวะฮ์ฮาบีย์มีหลักการที่อ่อน มัวแต่คิดเพ้อฝันจินตนาการว่า อัลอะชาอิเราะฮ์ปฏิเสธซีฟัตนั้นซีฟัตนี้...ดังนั้นผมยิ่งมั่นใจว่าอัลอะชาอิเราะฮ์คืออะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ที่ถูกวะฮ์ฮาบีเคยใส่ร้ายอยู่ตลอดเวลา...

ออฟไลน์ muqorrabeen

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 194
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
อาสัน หมัดอาดัม

โต๊ะครูซุนนะฮคอร์ เอาเรื่อง 2 เรื่อง มาหมกเหม็ด ให้อยู่ในเรื่อง เดียวกัน เพื่อตบตาผู้อ่าน เพราะ
1. คำอธิบายข้างต้นของ อิหม่ามอัฏฏอ็บรีย์ ท่านได้อธิบายอายะฮ ที่ 29 ซูเราะฮ อัลบะกาะเราะฮ ที่ว่า
هُوَ الَّذِي خَلَقَ لَكُمْ مَا فِي الْأَرْضِ جَمِيعًا ثُمَّ اسْتَوَى إِلَى السَّمَاءِ فَسَوَّاهُنَّ سَبْعَ سَمَاوَاتٍ وَهُوَ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمٌ
29. พระองค์คือผู้ได้ทรงสร้างสิ่งทั้งมวลในโลกไว้สำหรับพวกเจ้า ภายหลังได้ทรงมุ่งสู่ฟากฟ้า (*1*) และได้ทำให้มันสมบูรณ์ขึ้นเป็นเจ็ดชั้นฟ้า และพระองค์นั้นได้ทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง
ประโยคที่ว่า ثُمَّ اسْتَوَى إِلَى السَّمَاء แปลว่า ได้ทรงมุ่งสู่ฟากฟ้า และความหมายคำว่า اسْتَوَى إِلَى แปลว่า มุ่งไปสู่ ,เจตนา ดังที่อิบนุกะษีร อธิบายว่า
أَيْ قَصَدَ إِلَى السَّمَاء وَالِاسْتِوَاء هَاهُنَا مُضَمَّن مَعْنَى الْقَصْد وَالْإِقْبَال لِأَنَّهُ عُدِّيَ بِإِلَى
หมายถึง เจตนามุ่งไปสู่ฟากฟ้า และคำว่า “อัลอิสติวาในที่นี้ ประกอบด้วยความหมายของคำว่า الْقَصْد (เจตนา)และคำว่า َالْإِقْبَال ( ไปข้างหน้า) เพราะ ว่ามัน(คำว่า อิสตะวา )ถูกให้เป็นกริยาสกรรมกริยา ด้วยคำว่า الى (อิลา) - ดู ตัฟสีรอิบนุกะษีร อรรถาธิบาย อายะฮที่ 29 ซูเราะฮอัลบะเกาะเราะฮ
อิหม่ามอัฏฏอ็บรีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) อรรถาธิบายว่า
وَقَوْله : { الرَّحْمَن عَلَى الْعَرْش
اسْتَوَى } يَقُول تَعَالَى ذكْره : الرَّحْمَن عَلَى عَرْشه ارْتَفَعَ وَعَلَا
และอัลลอฮ ตรัสว่า
ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตย์อยู่เหนือบัลลังก์ ) พระองค์ผู้ซึ่งการกล่าวถึงพระองค์สูงส่งยิ่ง ตรัสว่า
ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตย์อยู่เหนือบัลลังก์ หมายถึง อยู่สูง อยู่เหนือขึ้นไป - ดูตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ อรรถาธิบาย อายะฮที่ 5 ซูเราะฮ ฏอฮา

Sunnah Core Salafussalah

อาสัน พยายามกล่าวหาว่า ผมหมกเม็ด เนื่องจากผมไปเอาความหมายของ “อิสตะวา” ในซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์อายะฮ์ที่ 29 กับ “อิสตะวา” ในซูเราะฮ์ฏอฮา อายะฮ์ที่ 5 ให้เป็นซีฟัตเดียวกันและมีความหมายเดียวกัน

แต่จริงๆ แล้วอะสันหมกเม็ดและตบตาผู้อ่านเกี่ยวกับการตัฟซีรของท่านอัฏเฏาะบะรีย์ เนื่องจากความจริง อัลอิสติวาอฺ ทั้งสองอายะฮ์นั้น มีความหมายเดียวกันตามที่ท่านอัฏเฏาะบะรีย์ได้กล่าวไว้ ดังนี้คือ

อัลอิสติวาอฺในซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์อายะฮ์ที่ 29 ท่านอัฏเฏาะบะรีย์ได้เลือกความหมายที่ว่า

وأوْلى المعاني بقول الله جل ثناؤه:"ثم استوى إلى السماء فسوَّاهن"، علا عليهن وارتفع، فدبرهنّ بقدرته، وخلقهنّ سبع سموات

และอัลอิสติวาอฺในซูเราะฮ์ฏอฮา อายะฮ์ที่ 5 ท่านอัฏเฏาะบะรีย์ ได้ให้ความหมายว่า

وَقَوْله : { الرَّحْمَن عَلَى الْعَرْش اسْتَوَى } يَقُول تَعَالَى ذكْره : الرَّحْمَن عَلَى عَرْشه ارْتَفَعَ وَعَلَا

สรุปคือ อัลอิสติวาอฺทั้งสองอายะฮ์นี้มีความหมายเดียวกันตามที่ท่านอัฏเฏาะบีย์ได้เลือกเฟ้นไว้ คือความหมาย ارْتَفَعَ وَعَلَا ซึ่งผมจะอธิบายรายละเอียดต่อไป อินชาอัลเลาะฮ์

อาสันครับ นายสับสนเกินไปที่จะมาเสวนาเรื่องซีฟาตของอัลลอฮ์ตะอาลาน่ะ นายยกอายะฮ์อัลกุรอานเกี่ยวกับเรื่อง อัลอิสติวาอฺ มา แล้วก็ให้ความหมายอิสติวาอฺในอายะฮ์ว่า “ทรงสถิต”อยู่เหนือบัลลังก์ แล้วชงทัศนะของท่านอัฏเฏาะบะรีย์ว่า “สถิต” นี้หมายถึง “อยู่สูง อยู่เหนือขึ้นไป” กะว่าจะหลอกคนเอาวามให้เชื่อว่า อิสติวาอฺนั้น แปลว่า “สถิต” ตามทัศนะของท่านอัฏเฏาะบะรีย์!

อาสันครับ หากนายต้องการมีอะมานะฮ์ในเชิงวิชาการ ผมอยากจะแนะนายให้นำเสนอแบบถูกต้องดังต่อไปนี้

“ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงอิสตะวา เหนือบัลลังก์ หมายถึง อยู่สูง อยู่เหนือขึ้นไป” ไม่ใช่ “ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตเหนือบัลลังก์ หมายถึง อยู่สูง อยู่เหนือขึ้นไป” เพราะคำว่า สถิต ในภาษาอาหรับนั้น มิได้มีความหมายว่า อยู่สูง!

ส่วนในด้านของคำแปล ขอติงสักหน่อย เนื่องจากการที่ท่านอัฏเฏาะบะรีย์ ได้ให้ความหมาย อิสตะวา ว่า ارْتَفَعَ وَعَلَا ซึ่ง คำว่า عَلاَ หมายถึง “สูง” กล่าวคือ “สูงส่ง” ไม่ใช่ “อยู่สูง” และคำว่า ارْتَفَعَ หมายถึง “สูงขึ้นไป” ไม่ใช่ “อยู่เหนือขึ้นไป”

และคำว่า สูง ที่ท่านอัฏเฏาะบะรีย์ หมายถึงนั้น สูง ในความหมายใหน เราก็ต้องกลับไปดูตัฟซีรของท่านอัฏเฏาะบะรีย์ที่ระบุเกี่ยวกับ ซีฟัตอัลอิสติวาอฺในอายะฮ์ ที่ 29 ซูเราะฮ อัลบะกาะเราะฮ์ ว่า ท่านได้อธิบายไว้อย่างไร?

อัฏเฏาะบะรีย์ได้กล่าวว่า

فَإِنْ زَعَمَ أَنَّ ذَلِكَ لَيْسَ بِإِقْبَالِ فِعْل وَلَكِنَّهُ إقْبَال تَدْبِير , قِيلَ لَهُ : فَكَذَلِكَ فَقُلْ : عَلَا عَلَيْهَا عُلُوّ مُلْك وَسُلْطَان لَا عُلُوّ انْتِقَال وَزَوَال

"ดังนั้น ก็จะถูกกล่าวแก่เขาว่า ท่านอ้างว่า การตีความคำว่า "اِسْتَوَى" นั้น คือ การมุ่งหน้า . ฉะนั้น หรือว่าพระองค์ทรงผินหลังให้กับฟากฟ้า จากนั้นพระองค์ก็มุ่งไปยังฟากฟ้า?? แต่หากเขาอ้างว่า ดังกล่าวนั้น ไม่ใช่การมุ่งหน้าแบบกระทำ(มุ่งหน้า) แต่เป็นการมุ่งบริหาร. (ท่านอัฏเฏาะบะรีย์จึงกล่าวตอบโต้ว่า) ก็ให้กล่าวแก่เขาว่า ดังนั้น แบบนั้นแหละ(คือการให้ความหมายว่าเป็นการมุ่งกระทำเชิงบริหาร) ท่านก็จงกล่าวว่า "พระองค์ทรงสูงส่งเหนือฟากฟ้า แบบการสูงส่งของการปกครองและอำนาจ (ไม่ใช่อยู่สูงแบบมีสถานที่) ไม่ใช่สูงแบบเคลื่อนย้ายและก็หายไป" ดู ตัฟซีร เฏาะบะรีย์ เล่ม 1/430

หากแย้งว่า อัลอิสติวาอฺในซูเราะฮ์ฏอฮา อายะฮ์ที่ 5 กับอัลอิสติวาอฺในซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์อายะฮ์ที่ 29 มันแตกต่างกัน ผมขอตอบว่า ฮะกีกัตแก่นแท้แล้ว คือ ซีฟัตเดียวกัน มีความหมายเดียวกันตามทัศนะของท่านอัฏเฏาะบะรีย์ และอธิบายสนับสนุนเกลื้อกูลกัน

เพราะในซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์อายะฮ์ที่ 29 ท่านอัฏเฏาะบะรีย์ ได้กล่าวว่า

وأوْلى المعاني بقول الله جل ثناؤه:"ثم استوى إلى السماء فسوَّاهن"، علا عليهن وارتفع، فدبرهنّ بقدرته، وخلقهنّ سبع سموات

“บรรดาความหมายที่ดีที่สุด จากคำตรัสของอัลลอฮ์ ที่ว่า “หลังจากพระองค์ทรงอิสติวาสู่ฟากฟ้า แล้วพระองค์ก็ทรงสร้างมัน” คือ พระองค์ทรงสูงขึ้นสู่ฟากฟ้า แล้วพระองค์ก็ทรงบริหารฟากฟ้าด้วยเดชานุภาพของพระองค์และทรงสร้างฟ้าเจ็ดชั้น”

แล้วท่านอัฏเฏาะบะรีย์ ได้ตีความความหมายดังกล่าวว่า “ทรงสูงเหนือฟากฟ้า แบบการสูงส่งของการปกครองและอำนาจ”

และอายะฮ์ในซูเราะฮ์ฏอฮา อายะฮ์ที่ 5 ท่านอัฏเฏาะบะรีย์อธิบาย “ทรงอิสตะวาเหนือบัลลังก์” ว่า “ทรงสูงส่งเหนือบัลลังก์” ดังนั้นเมื่อบัลลังก์อยู่สูงเหนือฟากฟ้า แน่นอนว่า “อัลลอฮ์ทรงสูงส่งเหนือบัลลังก์ แบบการสูงส่งของการปกครองและอำนาจ”ด้วยเช่นกันนั่งเอง

และคำว่า ارتفع ท่านอัลบัยฮะกีย์ยังอธิบายเช่นกันว่า

وَمُرَادُهُ بِذَلِكَ وَاللهُ أَعْلَمُ إِرْتِفَاعُ أَمْرِهِ

“จุดมุ่งหมายของท่านอบีอาลียะฮ์ ด้วยกับสิ่งดังกล่าว(คืออิรตะฟะอ้า) - วัลลอฮุอะลัม – คือบัญชาของพระองค์ได้ขึ้นไป(มิใช่ว่าอัลเลาะฮ์ทรงมุ่งลงมาจากฟากฟ้าแล้วขึ้นไป)” ดู หนังสืออัลอัสมาอฺวะอัศศิฟาต หน้า 383

ดังนั้นอาสัน นายเลิกฟิตนะฮ์ได้แล้ว...

ออฟไลน์ muqorrabeen

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 194
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
อับดุลกอฮฺฮ๊าร ภัทรสุขสิโรตม์

http://www.online-english-thai-dictionary.com/definition.aspx?data=2&word=%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B8%95

(สก. สฺถิต; ฐิต) ก. ยืนอยู่, ตั้งอยู่.
source : อ.เปลื้อง ณ.นคร
สถิต : [สะถิด] ก. อยู่, ยืนอยู่, ตั้งอยู่, (ใช้เป็นคํายกย่องแก่สิ่งหรือบุคคลที่อยู่ในฐานะสูง) เช่น พระเจ้าสถิตบนสวรรค์ พระมหากษัตริย์สถิตบนพระที่นั่งสมเด็จพระสังฆราชสถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร. (ส. สฺถิต; ป. ??ต).
source : ราชบัณฑิตยสถาน
.................................................
แบบนี้ใช่มั้ยครับ?

ออฟไลน์ muqorrabeen

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 194
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
อาสัน หมัดอาดัม

อิบนุอับดุรบิรริ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
وقولهم استوى: أي استولى لا معنى له لأنه غير ظاهر في اللغة، ومعنى الاستيلاء في اللغة: المغالبة والله لا يغالبه ولا يعلوه أحد
พวกเขา(พวกมุอฺตะซิละฮ)กล่าวว่า คำว่า "อิสตะวา" หมายถึง อิสเตาลา( ครอบครอง หรือ เข้ายึดครอง) ซึ่งไม่ใช่ความหมายของมัน เพราะไม่ปรากฏในหลักภาษา และ ความหมายคำว่า "อิสติลาอฺ"ในทางภาษา หมายถึง การมีชัย ทั้งๆที่อัลลอฮ ไม่มีคนใดต่อสู้กับพระองค์ และไม่มีคนใดชัยชนะพระองค์ได้ - อัตตัมฮีด เล่ม 7 หน้า 131
...............เพราะฉะนั้นการตีความจึงสับสนน่าดู

Sunnah Core Salafussalah

ปราชญ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์สะลัฟศอฮิห์ที่ให้ความหมาย อิสตะวา ว่า อิสเตาลา (ปกครอง) นั้น หมายถึง ปกครองโดยปราศจากการแย่งชิงการปกครองจากผู้อื่น

ท่านอิหม่าม อับดุลลอฮ์ บิน ยะห์ยา อิบนุ อัลมุบาร็อก อัลยะซีดีย์ ซึ่งเป็นปราชญ์ภาษาอาหรับและตัฟซีรในยุคสะลัฟ (เสียชีวิต ปี 237 ฮ.ศ.) ได้กล่าวไว้ในตัฟซีร ของท่านว่า

على العرش استوى: استولى

“พระองค์ทรง อิสตะวา เหนือบัลลังก์: คือ อิสเตาลา (ปกครอง)” ฆ่อรีบุลกุรอาน วะ ตัฟซีรุฮู หน้า 113

ท่านอิหม่ามอัซซัจญาจญฺ (ฮ.ศ. 241-311) ซึ่งเป็นปราชญ์ยุคสะลัฟได้กล่าวไว้ในตัฟซีรของท่านเช่นกันว่า

فَقَالَ: (عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى) ، وَقَالُوْا مَعْنَى (اِسْتَوَى) : اِسْتَوْلَى , وَاللَّهُ أَعْلَمُ

“อัลเลาะฮ์ ตะอาลาทรงตรัสว่า “พระองค์ทรงอิสตะวาเหนือบัลลังก์ และพวกเขากล่าวว่า ความหมาย อิสตะวา คือ อิสเตาลา(ปกครองโดยไม่มีการแย่งชิง)วัลลอฮุอะลัม” ตัฟซีร มะอานี อัลกุรอาน เล่ม 3 หน้า 229

ท่านอิหม่าม อัลหะร่อมัยน์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลอิรชาด ของท่านว่า

لا يمتنع منا حَمْلُ الاستواء على القهر والغلبة وذلك شائع في اللغة ، إذ العرب تقول استوى فلان على الممالك إذا احتوى على مقاليد الملك واستعلى على الرقاب ، وفائدة تخصيص العرش بالذكر أنه أعظم المخلوقات في ظن البرية ، فنص تعالى عليه تنبيها بذكره على ما دونه ، فإن قيل الاستواء بمعنى الغلبة ينبئ عن سبق مكافحة ومحاولة ؛ قلنا: هذا باطل ، إذ لو أنبأ الاستواء عن ذلك لأنبأ عنه القهر

“ไม่ต้องห้ามจากเรา การที่ให้ความหมาย อัลอิสติวาอฺ บน อำนาจและการพิชิต โดย(การให้ความหมาย)สิ่งดังกล่าว เป็นสิ่งที่แพร่หลายในหลักภาษาอาหรับ เนื่องจากอาหรับนั้น จะพูดว่า บุคคลหนึ่งได้ อิสตะวา เหนืออาณาจักร เมื่อเขาได้ครอบครองบนภาระกิจการปกครองและขึ้นมามีอำนาจบนข้าทาสบริวารทั้งหลาย และเคล็ดลับที่กล่าวเจาะจงถึงอะรัช(บัลลังก์)นั้น เพราะอะรัชเป็นสิ่งถูกสร้างที่ใหญ่ที่สุดในความนึกคิดของประชาชาติ ดังนั้นอัลลอฮ์ตะอา ทรงระบุว่า พระองค์ทรงเหนืออะรัชเพื่อให้ตระหนักรู้ว่าพระองค์ทรงเหนือสิ่งที่อยู่ใต้อะรัชด้วย ฉะนั้น หากถูกกล่าวว่า อัลอิสติวาอฺ มีความหมายว่า พิชิต ที่บ่งบอกว่า มีการต่อสู้มาก่อนหน้านั้น เราขอตอบว่า คำนี้ไร้สาระ เพราะหากพระองค์ทรงบอกว่า อัลอิสติวาอฺ ก็หมายความว่าพระองค์ทรงบอกถึงอำนาจ” อัลอิรชาด หน้า 40-41

ดูคำพูดของท่านอิหม่ามอัลหะร่อมัยน์ที่ว่า

หากถูกกล่าวว่า อัลอิสติวาอฺ มีความหมายว่า พิชิต ที่บ่งบอกว่า มีการต่อสู้มาก่อนหน้านั้น เราขอตอบว่า คำนี้ไร้สาระ เพราะหากพระองค์ทรงบอกว่า อัลอิสติวาอฺ ก็หมายความว่าพระองค์ทรงบอกถึงอำนาจ”

หมายความว่า อัลลอฮ์ทรงมีลักษณะ (القهار) อำนาจปกครอง ซึ่งการมีอำนาจปกครองตรงนี้ ไม่ต้องไปพิชิตหรือต่อสู้กับผู้ใด!

นี่คือความหมายที่สะลัฟบางส่วนได้ให้เอาไว้ เราก็เลือกความหมายอำนาจปกครองที่ไม่ต้องพิชิตแย่งชิง ก็จบ ซึ่งดีเลิศกว่า ความหมาย นั่ง ประทับ สถิต ตามที่วะฮ์ฮาบีย์จะเอา!

ออฟไลน์ muqorrabeen

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 194
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
อาสัน หมัดอาดัม

คำว่า “สถิต เหนือบัลลังค์ ก็คือ ทรงอยู่เหนือบัลลังค์ ผมแปลตามผู้รู้ครับ ไม่ใช่คิดเอง ดู
http://www.alquran-thai.com/ShowSurah.asp
ท่านคอร์แปลอย่างไร ก็ไม่ได้หมายความว่า ท่านจะถือตามนั้น แต่ท่าน..........ตีความ ตีความ โดยช้หลักคิดปรัชญากรีก

Sunnah Core Salafussalah

การให้ความหมาย อัลอิสติวาอฺว่า สถิต ตามหลักอะกีดะฮ์ของวะฮ์ฮาบีนั้นนั้นไม่มีสายงานซอฮิห์จากสะลัฟเลยแม้แต่คนเดียว....

และตีความเป็นหลักคิดปรัชญากรีกได้อย่างไร ในเมื่อสะลัฟศอลิห์บางส่วนก็ตีความ หรือแสดงว่าสะลัฟศอลิห์มีพวกที่ใช้หลักคิดปรัชญากรีกด้วยซิครับ? แต่เวลาวะฮ์ฮาบีให้ความหมาย อิสติวาอฺว่า อัลลอฮ์นั่ง แล้วทำไมคิดบ้างว่าตนเอง ใช้หลักคิดของพวกยิว! เพราะยิวเชื่อแบบนั้นจริงๆ ผมไม่ได้กล่าวหาแต่ประการใด

อาสัน หมัดอาดัม

Sunnah Core Salafussalah กล่าวหาผมว่า
อาสันโกหกอีกแล้ว! เพราะไม่มีอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ อัลอะชาอิเราะฮ์ ยุคไหนที่ปฏิเสธ การที่อัลลอฮ์ทรงอิสติวาอฺเหนือบัลลังก์หรอก
............
ไม่จริงครับ เพราะแม้อะชาอีเราะฮ ไม่ปฏิเสธอายะฮนั้นก็จริง แต่ปฏิเสธความหมายเดิม แต่ตีความตามเหตุผลของตนคือ หมายถึง การปกครองโดยไม่แย่งชิง” ใช่ไหมครับ
ท่านนบี ศอ็ลฯ และบรรดาเศาะหาบะฮตีความแบบท่านไหมครับ....

Sunnah Core Salafussalah

อัลฮัมดุลิลลาฮ์ ที่อาสัน ยอมรับเสียทีว่า อัลอะชาอิเราะฮ์ไม่ปฏิเสธอายะฮ์ อัลอิสติวาอฺ ยิ่งกว่านั้น อัลอะชาอิเราะฮ์ก็ไม่ปฏิเสธ ซีฟัตอัลอิสติวาอฺ แต่เราปฏิเสธการให้ความหมายแบบยิวและวะฮ์ฮาบี คือ ความหมายของการ นั่งประทับ สถิต เป็นต้นเท่านั้น

ดังนั้นถ้าหาก “ความหมายเดิมของอัลอิสติวาอฺ คือการนั่งประทับและสถิตตามที่วะฮ์ฮาบีย์จะเอานั้น” เราชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ก็ขอปฏิเสธความหมายดังกล่าวอย่างแน่นอน เพราะไม่มีหลักฐานซอฮิห์ใดๆ จากท่านนบี(ซ.ล.)และศอฮาบะฮ์ ที่บอกว่า อัลลอฮ์ทรง สถิตและทรงนั่งบนบัลลังก์!

แต่การที่อัลอะชาอิเราะฮ์ได้ให้ความหมายหนึ่งของอัลอิสติวาอฺว่า “ทรงปกครองโดยไม่มีการแย่งชิง” ถือว่าเป็นความหมายหนึ่งที่สอดคล้องกับอัลกุรอาน เพราะการปกครองโดยไม่มีการแย่งชิงนั้น อยู่ในความหมายของ القهار “ผู้ทรงอำนาจปกครอง” เหนือบัลลังก์และสรรพสิ่งทั้งหลาย...

ออฟไลน์ muqorrabeen

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 194
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
อาสัน หมัดอาดัม

เพิ่มเติม อะชาอีเราะฮสะติวเด้น ยังเชื่อไม่เหมือนเจ้าของมัซฮับ คือ อิหม่ามอบูหะซัน อัลอัชอะรีย์ ดังหลักฐานต่อไปนี้
อิหม่ามอบูหะซัน อัลอัชอะรีย์ กล่าวว่า

وقالت المعتزلة في قول الله عزوجل (طه: 5) ]الرحمن على العرش استوى[ يعني استولى

และพวกมุอฺตะซิละฮ กล่าวเกี่ยวกับคำตรัสของอัลลอฮที่ว่า "พระเจ้าผู้ทรงเมตตาทรงอิสติวาอ์ อยู่บนอะรัช- ฏอฮา/5 ว่า หมายถึง อำนาจการปกครอง" - อัลมะกอลาตอิสลามียีน1/236

..........
จะเห็นได้ว่า อะกีดะฮของอิหม่ามอบูหะซัน อัลอัชอะรีย์ แตกต่างจากพวกที่อ้างว่าสังกัดมัซฮับ อัลอัชอะรียะฮ เพราะพวกเขามีความเชื่อ เช่นเดียวกับพวกมุอ์ตะซิละฮ คือ ตีความ "อิสติวาอฺ"ว่า อำนาจการปกครอง

Sunnah Core Salafussalah

อาสันอย่าทำตนเป็นคนที่หลงและทำให้คนอื่นหลงครับ คือ การที่ท่านอะบุลหะซัน อัลอัชอะรีย์ ได้ปฏิเสธ การให้ความหมาย อิสเตาลา (การปกครอง) ของพวกมั๊วะตะซิละฮ์นั้น หมายถึง อำนาจการปกครองที่ได้มาซึ่งการแย่งชิงหรืออำนาจการปกครองที่เกิดบังเกิดขึ้นมา ซึ่งมิใช่เป็นความหมายตามทัศนะของอัลอะชาอิเราะฮ์ และท่านอะบุลหะซันเอง กลับให้การยอมรับว่า อัลลอฮ์ทรงอิสเตาลา(ทรงอำนาจปกครอง)แต่ตั้งบรรพกาลก่อนที่จะสร้างบัลลังก์เสียอีก...

ท่านอะบุลหะซัน อัลอัชอะรีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ رسالة إلي أهل الثغر ริซาละฮ์ อิลา อะฮ์ลิษษั๊กร์) ของท่านว่า

وقال { الرحمن على العرش استوى } وليس استواؤه على العرش استيلاء كما قال أهل القدر لأنه تعالى لم يزل مستوليا على كل شيء

“และอัลลอฮ์ทรงตรัสว่า (พระผู้ทรงเมตตาทรงอิสตะวาเหนือบัลลังก์) โดยการอิสติวาอฺของอัลลอฮ์เหนือบัลลังก์นั้น มิใช่ความหมาย อิสตีลาอฺ (อำนาจการปกครอง)เสมือนกับที่ พวกก็อดรียะฮ์(หมายถึงพวกมั๊วะตะซิละฮ์)ได้กล่วไว้ เพราะว่าอัลลอฮ์ตะอาลานั้น ยังคงทรงอิสเตาลา(อำนาจปกครอง)เหนือทุกๆ สรรพสิ่งอยู่แล้ว” ริซาละฮ์ อิลา อะฮ์ลิษษั๊กร์ หน้า 233-234

พี่น้องโปรดพิจารณาคำพูดของท่าน อะบุลหะซัน อัลอัชอะรีย์ที่ว่า

لأنه تعالى لم يزل مستوليا على كل شيء

“เพราะว่าอัลลอฮ์ตะอาลานั้น ยังคงทรงอิสเตาลา(อำนาจปกครอง)เหนือทุกๆ สรรพสิ่งอยู่แล้ว”

ซึ่งเป็นคำพูดของท่านอะบุลหะซัน อัลอัชอะรีย์ นั้นทำให้เราทราบความจริงดังนี้

1. ท่านอะบุลหะซัน อัลอัชอะรีย์ ยอมรับว่าส่วนหนึ่งจากบรรดาความหมายของ อัลอิสติวาอฺ นั้น คือ อิสเตาลา (อำนาจปกครอง) แต่ท่านไม่เลือกความหมาย การปกครอง(อิสเตาลา)เหมือนกับพวกมั๊วะตะซิละฮ์

2. ท่านอะบุลหะซัน อัลอัชอะรีย์ ยอมรับในความหมาย อิสเตาลา ที่เหมาะสมกับความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์ คือ “อัลลอฮ์ตะอาลานั้น ยังคงทรงอิสเตาลา(อำนาจปกครอง)...” มาตั้งแต่เดิมแล้วโดยไม่ต้องไปแย่งชิงอำนาจการปกครองจากใคร

3. ท่านอะบุลหะซัน อัลอัชอะรีย์ ยอมรับว่า อิสเตาลา (อำนาจการปกครองตั้งแต่เดิมโดยไม่แย่งชิง) เป็นซีฟัต(คุณลักษณะ)ของอัลลอฮ์

นี่คือทัศนะที่แท้จริงของท่านอะบุลหะซัน อัลอัชอะรีย์ ที่วะฮ์ฮาบีย์ไม่เคยยอมเข้าใจและยังพยายามเข้าใจ คำว่า อิสเตาลา ให้อยู่ในความหมาย “การปกครองโดยมีการแย่งชิง” เพียงอย่างเดียวเท่านั้นซึ่งความคลั่งไคล้และเป็นศรัตรูกับคำว่า อิสเตาลา เกินไปจนไม่เห็นสัจธรรม

ด้วยเหตุนี้ จึงมีปราชญ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์บางส่วน ได้เลือกความหมาย อิสตะวา ว่า อิสเตาลา (อำนาจปกครองโดยไม่ต้องแย่งชิง) ซึ่งเป็นความหมายที่ท่านอะบุลหะซันให้การยอมรับ และเป็นความหมายที่สะลัฟบางส่วนก็ให้ไว้เช่นเดียวกัน

ดังนั้นอะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์ จึงมีความเชื่อมโยมกับแนวสะละฟุศศอลิห์อยู่เสมอ และอัลอะชาอิเราะฮ์นั้น อยู่ในแนวทางสะลัฟอย่างแท้จริงนั่นเอง

ส่วนการให้ความหมาย อิสติวา ของกลุ่มวะฮ์ฮาบีย์ ที่ว่า สถิตหรือนั่งบนบัลลังก์ นั้น มิใช่เป็นการให้ความหมายของสะละศอลิห์แต่อย่างใด แต่เป็นหลักคิดของยิวที่เชื่อว่าอัลลอฮ์ทรงนั่งบนบัลลังก์...

วัลลอฮุอะลัม

ออฟไลน์ muqorrabeen

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 194
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
อาสัน หมัดอาดัม

คุณซุนนะฮคอร์ อาจจะใช้ตรรกอริสโตเติลถามผมว่า “ อัลลอฮนั่งติดอยู่บนบัลลังค์ใช่ไหม ? จึงขอตอบล่วงหน้าว่า อิหม่ามมาลิกได้ให้คำตอบแล้ว คือ
الِاسْتِوَاءُ مَعْلُومٌ - يَعْنِي فِي اللُّغَةِ - وَالْكَيْفُ مَجْهُولٌ
อิสติวาอฺ นั้นเป็นที่รู้กัน หมายถึงในด้านภาษา(เป็นที่รู้กัน) และรูปแบบวิธีการนั้น ไม่เป็นที่รู้กัน – ที่มาอ้างแล้วจากตัฟสีรอัลกุรฏุบีย์

Sunnah Core Salafussalah

อาสัน นายกล่าวหาฟิตนะฮ์คนอื่นจนเหมือนเป็นเรื่องอิบาดะฮ์ แล้วชงเอง ตอบเอง อืม...ยังมีมนุษย์ประเภทนี้ด้วย...

ตกลงว่า อิสติวาอฺ ที่วะฮ์ฮาบีบอกว่า อยู่ในความหมาย “นั่ง”(บนบัลลังก์) นั้น ไม่มีจากท่านนบี จากซอฮาบะฮ์ และสะลัฟศอลิห์! แต่พวกยิวสะลัฟของพวกญาฮิลียะฮ์ต่างหากที่ให้ความหมายว่า นั่งบนบัลลังก์...!

อาสัน หมัดอาดัม

จึงขอถามว่า ท่านซูนนะฮ คอร์ว่า ท่านอิหม่ามหะเราะมัย เป็นอุลามาอฺยุคใดครับ ขอบบอกให้ท่านคอร์รู้ว่า อิหม่ามหะเราะมัยที่คุณนำมาอ้างคือ
أبو المعالي عبد الملك بن عبد الله بن يوسف بن محمد بن عبد الله بن حيوه الجويني،
เรียกสั้นๆว่า อบูลมะอาลี อัลญุวัยนีย์ มีชีวิตอยู่ ระหว่าง ปี ฮ.ศ 419 - 478
ท่านไม่ได้เป็นอุลามาอฺยุคสะลัฟนะครับ ใหนบอกว่า ตามสะลัฟ ดังชื่อ ซุนนะฮคอร์สะละฟุสศอลิหฺ”

Sunnah Core Salafussalah

อาสัน นายน่ะหมดสภาพทางวิชาการแล้ว...ข้อความที่ผมอ้างอิงจากท่านอิหม่ามอัลหะร่อมัยน์นั้น ทำไมนายถึงไม่อ่านทัศนะของอุลามาอฺสะลัฟอีก 2 ท่านที่บอกว่า อิสะวา คือ อิสเตาลา(อำนาจปกครอง)ที่ผมได้อ้างอิงก่อนหน้าคำพูดของอิหม่ามอัลหะร่อมัยน์ล่ะครับ?!

ออฟไลน์ muqorrabeen

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 194
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
อาสัน หมัดอาดัม

อิบนุ อบิลอิซซฺ กล่าวว่า “พวกญะฮฺมียะฮฺที่ปฏิเสธการอยู่สูงเหนือฟากฟ้าของซาต(อาตมัน)ของอัลลอฮนั้น แท้จริงแล้วพวกเขาคือผู้ปฏิบัติตามฟิรเอานฺ ส่วนผู้ที่ยืนยัน(เชื่อ)ในการอยู่สูงเหนือฟากฟ้าของซาตของอัลลอฮนั้น พวกเขาคือผู้เจริญรอยตามท่านนบีมูสาและเป็นผู้ปฏิบัติตามท่านนบีมุหัมมัด”- ชัรหฺ อัล-อะกีดะฮฺ อัฏ-เฏาะหาวียะฮฺ 2/441

Sunnah Core Salafussalah

อิบนุ อะบิลอิซซฺ ไม่ใช่สะลัฟครับ แต่เป็นค่อลัฟ เกิด ปี ฮ.ศ. 731

ท่านอิมามอะลี อัลกอรีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ชัรห์ อัลฟิกฮุลอักบัร ความว่า

وَالْحَاصِلُ أَنَّ الشَّارِحَ يَقُوْلُ بِعُلُوِّ الْمَكَانِ مَعَ نَفْيِ التَّشْبِيْهِ وَتَبِعَ فِيْهِ طَائِفَةٌ مِنْ أَهْلِ الْبِدْعَةِ

"สรุปว่า แท้จริงผู้ที่อธิบาย(หนังสืออะกีดะฮ์อัฏเฏาะฮาวียะฮ์)ได้กล่าวว่า (อัลเลาะฮ์) มีสถานที่อยู่สูงพร้อมกับปฏิเสธการคล้ายคลึง(กับมัคโลค) และได้ตามใน(คำกล่าวของเขานี) โดยกลุ่มหนึ่งจากพวกบิดอะฮ์(ปัจจุบันคือพวกวะฮ์ฮาบีตามทัศนะของอิหม่ามอะลี อัลกอรีย์)" ดู หน้า 182

ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ ฮะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ ได้กล่าวถึงท่านอิบนุ อะบิลอิซซฺ ความว่า

وَأَنَّ الْعُلَمَاءَ بِالدِّيَارِ الْمِصْرِيَّةِ خُصُوْصاً أَهْلَ مَذْهَبِهِ مِنَ الْحَنَفِيَّةِ أَنْكَرُوْا ذَلِكَ عَلَيْهِ

"แท้จริงบรรดาปราชญ์แห่งเมืองมิสร์(อียิปต์) โดยเฉพาะอย่างยิ่งปราชญ์ที่อยู่ในมัซฮับของเขาจากปวงปราชญ์ฮะนะฟีย์ ได้ทำการตำหนิเขาในสิ่งดังกล่าว(เรื่องการมะซูมของท่านนบี)" หนังสืออิมบาอุลฆุมุร ของท่านอิบนุฮะญัร 2/96

และส่วนหนึ่งจากอุลามาอ์มัซฮับฮัมบาลีย์ ได้ทำการตำหนิท่านอิบนุ อิบิลอิซซฺ ด้วย เช่น "ท่านซัยนุดดีน อิบนุ ร่อญับ , ท่านตะกียุดดีน อิบนุ มุฟลิหฺ , และน้องชายของท่านอิบนุมุฟลิห์..." หนังสืออิมบาอุลฆุมุร ของท่านอิบนุฮะญัร 2/96

ออฟไลน์ muqorrabeen

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 194
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
อาสัน หมัดอาดัม

อิหม่ามอัฏฏอ็บรีย์ อธิบายว่า
وَقَوْلُهُ : ( وَإِنِّي لَأَظُنُّهُ كَاذِبًا ) يَقُولُ : وَإِنِّي لِأَظُنُّ مُوسَى كَاذِبًا فِيمَا يَقُولُ وَيَدَّعِي مِنْ أَنَّ لَهُ فِي السَّمَاءِ رَبًّا أَرْسَلَهُ إِلَيْنَا
คำตรัสของพระองค์ที่ว่า( และแท้จริง ฉันคิดอย่างแน่ใจแล้วว่าเขาเป็นคนโกหก) เขากล่าวว่า หมายถึง แท้จริง ข้าแน่ใจแล้วว่า มูซาโกหกในสิ่งที่เขาพูด และเขาอ้างว่า แท้จริง เขามีพระเจ้าอยู่บนฟากฟ้า ,พระองค์ส่งเขามายังเรา” – ดูตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ อรรถาธิบาย ซูเราะฮฆอฟีร อายะฮที่ 36-37
อิบนุ อบิลอิซซฺ กล่าวว่า “พวกญะฮฺมียะฮฺที่ปฏิเสธการอยู่สูงเหนือฟากฟ้าของซาต(อาตมัน)ของอัลลอฮนั้น แท้จริงแล้วพวกเขาคือผู้ปฏิบัติตามฟิรเอานฺ ส่วนผู้ที่ยืนยัน(เชื่อ)ในการอยู่สูงเหนือฟากฟ้าของซาตของอัลลอฮนั้น พวกเขาคือผู้เจริญรอยตามท่านนบีมูสาและเป็นผู้ปฏิบัติตามท่านนบีมุหัมมัด”- ชัรหฺ อัล-อะกีดะฮฺ อัฏ-เฏาะหาวียะฮฺ 2/441
…………………………..
เพราะฉะนั้น ผมไม่มีอะไรจะกล่าว นอกจาก ขอแนะนำว่า “คุณ Sunnah Core Salafussalah จงเตาบะฮกลับตัวเสีย ที่มีความเชื่อ แบบฟิรเอานฺ คงเป็นเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็ได้ และหยุดสอนศิษย์สักพัก เพื่อทบทวนตัวเองเสียใหม่

ยังมีตอนต่อไปครับท่าน....อย่าลืมกอ็ปของอารีฟีนมาให้หมดนะท่านคอร์ เดือนเราะมะฏอนนี้ ผมเต็มที่ครับ เพื่ออัลลอฮ

Sunnah Core Salafussalah

วิจารณ์สิ่งที่วะฮาบีย์เข้าใจจากสูเราะฮฺฆอฟิร 40 : 36-37 นี้

1. วะฮาบีย์อ้างว่า นบีมูซาพูดว่าอัลเลาะฮ์อยู่บนฟ้า (ทั้งที่ไม่มีตัวบทอัลกุรอานและฮะดิษใดมาระบุเลยว่านบีมูซาพูด)

2. แต่วะฮาบีย์ได้อ้างว่า ฟิรอูนได้เข้าใจว่านบีมูซาบอกว่าอัลเลาะฮ์อยู่บนฟ้า

3. ทั้งที่ท่านนบีมูซาไม่เคยพูดเลยว่าอัลเลาะฮ์อยู่บนฟ้า แต่วะฮาบีย์อ้างว่านบีมูซาพูดว่าอัลเลาะฮ์อยู่บนฟ้า เพราะยึดถือตามความเข้าใจหรือการบอกเล่าของฟิรอูนอีกทอดหนึ่งจากคำพูดของนบีมูซาว่าอัลเลาะฮ์อยู่บนฟ้า

4. พอฟิรอูนขึ้นไปบนหอคอยอันสูงตระหง่าน ฟิรอูนก็ไม่เห็นอัลเลาะฮ์เลย แล้วกล่าวว่า "ฉันเข้าใจว่ามูซาเป็นคนโกหกเสียแล้ว" วะฮาบีย์เลยฟันธงว่า ฟิรอูนได้ปฏิเสธคำพูดของนบีมูซาที่ว่าอัลเลาะฮ์อยู่บนฟ้า

สรุปคือวะฮาบีย์ได้เปลี่ยนเอาความเท็จมาเป็นสัจธรรม โดยเข้าใจว่าฟิรอูนได้ยินนบีมูซาพูดว่าอัลเลาะฮ์อยู่บนฟ้า แล้ววะฮาบีย์ก็ยึดการรายงานบอกเล่าหรือความเข้าใจของฟิรอูน มาตัดสินว่านบีมูซาได้กล่าวว่าอัลเลาะฮ์อยู่บนฟ้า เราขอถามสักนิดเถอะว่า การได้ยินฮะดิษ(คำพูด)ของท่านนบีมูซา อะลัยฮิสลาม ซึ่งได้ทำการถ่ายทอดหรือรายงาน(ริวายะฮ์)โดยคนกาเฟรอย่างฟิรอูนนั้น มีความเชื่อถือ(ษิเกาะฮ์)หรือไม่? และถ้าหากมีคนโกหกหรือนักกุฮะดิษได้รายงานคำพูดของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นั้นพวกท่านจะเชื่อหรือไม่? แล้วเหตุใดวะฮาบีย์ถึงยอมรับความเข้าใจและการรายงานของฟิรอูนจากท่านนบีมูซา อะลัยอิสลาม อย่างสโรราบและด้วยความยินดี?! หรือว่าฟิรอูนผู้กุฟุรที่สุดในแผ่นดินกลายเป็นคนรายงานที่ษิเกาะฮ์(เชื่อถือได้)ในเรื่องอะกีดะฮ์ตามทัศนะของวะฮาบีย์เสียแล้ว?!

ความเข้าใจและสาเหตุการกระทำของฟิรอูน

1. ฟิรอูนเข้าใจว่าอัลเลาะฮ์อยู่บนฟ้าด้วยซาตของพระองค์ซึ่งสามารถขึ้นไปถึงได้โดยสร้างหอคอยอันสูงตระหง่านส่งขึ้นไปโดยไม่พ้นชั้นบรรยากาศของโลก

2. การที่ฟิรอูนได้ใช้ให้สร้างหอคอยสูงขึ้นไปบนฟ้านั้น เพราะมีเป้าหมาย นั่นก็คือเพื่อจะได้เห็นอัลเลาะฮ์

3. ในตัวบทอัลกุรอานได้ระบุให้เราทราบว่า ฟิรอูนนั้นเข้าใจและเชื่อว่าสามารถขึ้นไปหาอัลเลาะฮ์ได้

4. เมื่อฟิรอูนไม่เห็นว่าอัลเลาะฮ์อยู่บนฟากฟ้า , ไม่สามารถเห็นอัลเลาะฮ์ได้ , และไม่สามารถขึ้นไปหาอัลเลาะฮ์ได้นั้น ฟิรอูนจึงคิดในแง่ลบกับนบีมูซาทันทีแล้วกล่าวว่า وَإِنِّي لأظُنُّهُ كَاذِبًا "ฉันเข้าใจว่าเขานั้นเป็นผู้โกหก"

ผลลัพธ์ที่ได้รับจากข้างต้น คือ :

1. หากเราเชื่อตามความเข้าใจของฟิรอูนที่ได้ยินมาจากท่านนบีมูซา ก็แสดงว่าท่านนบีมูซานั้น บอกฟิรอูนว่า อัลเลาะฮ์อยู่บนฟ้าชั้นไม่ไกล , สามารถขึ้นไปหาอัลเลาะฮ์ได้ , และสามารถขึ้นไปเห็นอัลเลาะฮ์ได้ ซึ่งเราขอตอบว่า ท่านนบีมูซา อะลัยฮิสลาม ไม่ได้พูดอย่างนั้นแน่นอน แต่ฟิรอูนมันเชื่อของมันเองและคิดไปเองว่า อัลเลาะฮ์อยู่บนฟ้า ขึ้นไปเห็นอัลเลาะฮ์ได้ต่างหาก!

2. เมื่อฟิรอูนไม่มีความษิเกาะฮ์(ไม่มีความเชื่อถือ)ในการเข้าใจหรือรายงานคำพูดของนบีมูซา เราก็จะไปแอบอ้างบอกว่านบีมูซาพูดไม่ได้ ดังนั้นเมื่อนบีมูซาไม่ได้พูด แน่นอนว่าฟิรอูนเชื่อและความเข้าใจไปเองต่างหากที่ว่าอัลเลาะฮ์อยู่บนฟ้าด้วยซาตของพระองค์ ซึ่งความเชื่อและความเข้าใจของฟิรอูนนี้ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานไม่ได้

สรุปก็คือ

การที่เชื่อว่าอัลเลาะฮ์มีสถานแบบเฉพาะที่นั่งสถิตอยู่บนฟ้าด้วยซาตของพระองค์ในเชิงรูปธรรมเองนั้น ถือว่าเป็นอะกีดะฮ์ของฟิรอูนที่ถูกสาปแช่งนั่นเองครับ...

 

GoogleTagged