ผู้เขียน หัวข้อ: การอพยพของยิวไปยังอาณาจักรออตโตมานหลังจากถูกขับไล่ออกจากสเปน  (อ่าน 2534 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

การอพยพของยิวไปยังอาณาจักรออตโตมานหลังจากถูกขับไล่ออกจากสเปน

      อาณาจักรออตโตมานปรากฏขึ้นในศตวรรษที่ 14 ของคริสต์ศักราช ตั้งอยู่ในจักรวรรดิบีซินตีนในอะนาโดลและตะวันออกของยุโรป ซึ่งเป็นสถานที่ที่ยิวได้สามารถรอดพ้นการกดขี่ขมเหงจากสเปน อาณาจักรออตโตมานได้เปิดประตูสองบานเพื่อต้อนรับชาวยิว ในขณะที่ยุโรปซึ่งนับถือศาสนาคริสต์ปิดประตูใส่ชาวยิวเกือบทุกบาน ยิวได้เข้ามาอาศัยร่มเงาของการช่วยเหลือของออตโตมานเป็นระยะเวลาที่ยาวนานถึง 5 ศตวรรษ พวกเขาได้รับความมั่นคงที่ไม่เคยได้จากที่ไหนในประวัติศาสตร์ของพวกเขา (อ้างอิง: อะห์มัด อุสมาน หน้าที่ 7)
 เมื่อยิวได้รับความรู้และกอบโกยความรู้จากอิรัก อันดาโลส เฟสต๊อต และยังได้รับทรัพย์สินเงินทองในเมืองเหล่านี้ ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขายังได้รับความมั่นคงและความคุ้มครองชีวิตในร่มเขาของออตโตมาน ซึ่งเป็นที่สังเกตได้ว่า ประวัติศาสตร์ยิวในอะนาโดลได้เริ่มขึ้นก่อนการอพยพของยิวซะฟาร์ดิม (Sephardim เป็นนามชื่อที่ใช้เรียกแทนยิวที่อาศัยอยู่ในสเปน) หลายศตวรรษ

 สังคมยิวในอาณาจักรออตโตมานประกอบด้วย 3 กลุ่มดังนี้

1. ยิวที่อาศัยอยู่ในประเทศบีซินตีน ต่อมาพวกเขาก็ศิโรราบให้กับอาณาจักรออตโตมานหลังจากที่ประเทศบีซินตีนตกเป็นเมืองขึ้นของออตโตมาน

2. ยิวที่อพยพมาจากออสเตรีย ฮังการี รัสเซีย เยอรมัน และโปแลนด์

3. ยิวที่อพยพมาจากสเปน โปรตุเกส อิตาลี ซึ่งพวกเขาอพยพมาเนื่องจากถูกขับไล่ออกมาจากประเทศเหล่านี้ จนมาได้รับการช่วยเหลือจากออตโตมาน

      ยิวกลุ่มแรกที่อพยพออกจากสเปนและย่างก้าวเข้าสู่อาณาจักรออตโตมานคือยิวที่ถูกเรียกว่า มารอนูวา (ยิวที่ย่างก้าวเข้าสู่ออตโตมานและเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามด้วยความสมัครใจโดยไม่มีการบังคับแต่อย่างใด) ต่อมายิวเยอรมันก็ได้หลั่งไหล่กันเข้ามาทัดจากกลุ่มยิวมารอนูวา เช่นเดียวกับยิวฝรั่งเศสที่ถูกขับไล่ออกจากฝรั่งเศสใน ค.ศ.1394 (ฮ.ศ.797) โดยพวกเขามุ้งหน้ามายังเมืองเอดีร์เนในตุรกีและตั้งหลักปักฐานอยู่ที่นั้น
ชาวตุรกีได้ให้การช่วยเหลือยิวเหล่านี้ ยิวส่วนใหญ่ได้มุ้งหน้าไปยังเมืองใหญ่ๆในอาณาจักรออตโตมาน เช่น เมืองกาเซียนเตป เอดีร์เน อิซมีร์ ซาลานิก และตั้งหลักปักฐานอยู่เป็นจำนวนมากใกล้ๆกับทางเข้าเมืองอิสตันบูล พวกเขาให้ความสมคัญกับเงินตราเป็นอย่างมาก และหาโอกาสให้กับตัวเองที่จะเข้าไปทำงานในราชวังในตำแหน่งหมอหลวง

     ในช่วงศตวรรษที่ 16-18 เมืองอิสตันบูลกลายเป็นศูนย์กลางของการตีพิมภาษาฮิบรู และได้กลายมาเป็นเมืองที่มีความสำคัญที่สุดในโลกของยิว โรงพิมพ์แห่งแรกที่ถือกำเนิดขึ้นในแผ่นดินออตโตมานคือโรงพิมพ์ของโคตันเบร็อค ในปี ค.ศ.1546 ยิวได้ตีพิมพ์ The Pentateuch (หนังสือ 5 เล่มแรกของคัมภีร์ไบเบิล) ในศตวรรษที่ 18 โรงพิมพ์อิบรอฮีม มุตะฟัรริเกาะห์ได้ถูกก่อตั้งขึ้นภายใต้การดูแลของรัฐบาลออตโตมาน และผู้ที่มีชื่อเสียงในแวดวงการตีพิมพ์คือนายซอมูเอล บุตร มาฮยาส และนายดาฟิด ซึ่งทั้งสองได้ถูกขับไล่ออกจากสเปน เช่นเดียวครอบครัวโซนเซนโยที่มาจากอิตาลี

      ในเมืองซาลานิก ชาวยิวได้ใช้ชีวิตอย่างสุขสบายไปพร้อมๆกับชาวออตโตมาน ซาลานิกถือว่าเป็นศูนย์กลางการลงทุนทางด้านเศรษฐกิจของแผ่นดินออตโตมาน ดังนั้นยิวจึงได้ทุ่มตัวลงไปบนสังเวียนแห่งการทำการค้าและการครอบครองหลายๆอย่างที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในอาณาจักรออตโตมาน และก็ได้เสพสุขอย่างเสรีในอาณาจักรนี้

      และในอาณาจักรนี้ จะพบว่ายิวสเปนที่อพยพมานั้นได้รับรู้ถึงความเป็นอยู่ที่สุขสบาย ความเป็นอิสรเสรี และได้ปฏิบัติศาสนกิจอย่างเต็มที่ แม้กระทั่งมติและพิธีกรรมของพระยิวต่างก็ได้รับการยินยอมจากรัฐบาลออตโตมาน ยิ่งไปกว่านั้นมติที่ออกมาจากพระยิวได้กลายมาเป็นกฎหมายเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนายิว พระยิวถือว่าเป็นตัวแทนของยิวทั้งหมดในประเทศต่อรัฐบาลออตโตมาน

      บรรดาสุลต่านได้อนุญาตให้ยิวขนส่งสินค้าในประเทศยุโรปไปยังออตโตมานได้ โดยที่สุลต่านเหล่านั้นไม่เคยรู้ถึงภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นตามมาจากพวกยิวเหล่านี้

      ราชวงศ์อุสมานได้อนุญาตให้ผู้อพยพที่เป็นยิวซึ่งถูกขับไล่มาจากสเปนให้มาตั้งหลักปักฐานอยู่ในรั่วของอาณาจักรออตโตมาน ในขณะที่ประเทศยุโรปต่างก็ปฏิเสธการตั้งหลักปักฐานของยิวในประเทศของตน เพราะยุโรปต่างก็รู้ถึงบทบาทและวิธีการในการสร้างความวุ่นวายของพวกยิว การกรุเรื่องโกหกต่างๆนานา และการที่พวกยิวต้องการยึดครองประเทศ

      ราชวงศ์อุสมานได้เป็นประตูให้ยิวสเปนได้เข้ามาในอาณาจักรของตนมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1492 (ฮ.ศ.898) ให้พวกเขาเข้ามาทำงาน โดยไม่เคยสังเกตพฤติกรรมของพวกยิว พวกเขาย่างเท้าเข้าสู่ออตโตมานอย่างง่ายดาย จนกระทั้งพวกเขาได้เริ่มงานโดยพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการค้าระหว่างประเทศ ได้สร้างความวุ่นวายต่างๆ และได้เข้าครอบครองตลาดการเงินต่างๆไว้ในกำมือ ซึ่งเป็นส่วนที่ส่งผลกระทบและขัดต่อทัศนะของอัลอิสลามในช่วงนั้นและช่วงต่อๆมา จนกระทั่งพวกเขาได้กลายมาเป็นเจ้าของกิจการการค้าต่างๆระดับใหญ่ในเมืองอิซมีร์ ซาลานิก และอิสตันบูล

       ยิวในเมืองอิสตันบูลแข่งขันกับนายกรัฐมนตรีและบรรดารัฐมนตรีอื่นๆในการสร้างที่อยู่อาศัยที่โอ่อ่า และพวกเขาก็ได้มีส่วนร่วมในบทบาทในโครงการต่างๆ (มูฮัมมัด นูรุดดีน , ตุรกีในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลง หน้าที่ 178)

      ยังด้านนี้เอง การรู้ภาษาตะวันตกและความคลั่งใคร่ในการทำการค้าของยิวได้เปิดโอกาสให้พวกเขาเข้าทำงานในตำแหน่งสำคัญๆของประเทศในระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่จะเข้าร่วมในการพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆในยุโรป

      รอชีด ริฎอ ได้กล่าวถึงอันตรายที่เกิดจากยิวไว้ในหนังสืออัลมานารว่า

?ยิวคือกลุ่มชนที่ยึดถือว่าการกินดอกเบี้ยอันโสมมเป็นเรื่องปกติ พวกเขาจะไม่จ่ายเงินตราไปเพื่อการกุศลใด นอกเสียจากจะต้องได้รับสิ่งตอบแทน ด้วยเล่ห์เหลี่ยมและทรัพย์สินของพวกเขาทำให้ประเทศฝรั่งเศสกลายเป็นฟุตบอลที่อยู่ในอุ่มมือของพวกเขา พวกเขาเข้าครอบครองและครอบงำโบสถ์คริสต์ต่างๆ และเรียกโบสถ์ว่า ?บุตรีแห่งโบสถ์ที่บริสุทธิ์? และตีความความหมายของชื่อนี้ถึง ?ความมืดมนในหมู่เกาะทั้งหลายที่ต้องการโอ้อวดต่อประชาชาติและประเทศต่างๆถึงความยุติธรรมและความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และทะเยอทะยานที่จะอยู่เหนือยอดอันสูงสุดในด้านความรู้ พลเมือง การเมือง ความร่ำรวยและสักยะภาพ? ใช่หรือไม่ที่พวกยิวเหล่านี้ไม่สามารถมากไปกว่านี้ในรัฐบาลออตโตมานอย่างที่เราได้รู้มาถึงความอ่อนแอของยิวและความต้องการทรัพย์สินของพวกเขา พวกเขาได้ทิ่มแทงออตโตมานอย่างหนักหน่วงใช่หรือไม่ และอันตรายของพวกเขามีมากมายใช้หรือไม่? ดังนั้นบัยตีลมักดิส (อัลกุดซิ์) ณ ที่นั้นแล้วคือสถานอันยิ่งใหญ่ของชาวมุสลิมและคริสเตียน ดังนั้นเมื่อยิวได้กำชัยเหนืออัลกุดซิ์ พวกเขาก็ได้สถาปนากษัตริย์ให้แก่พวกเขา และถือว่ามัสญิดอัลอักซอร์คือวิหารซาโลมอน คือทิศในการสักการะของพวกเขา คือสถานสักการะเฉพาะพวกเขา? และท่านอะห์มัด นูรีย์ อันนาอีมีย์ยังได้ยกคำพูดของพระยิวนามว่าอิสฮากที่เขียนสาส์นถึงยิวทั่วโลกในช่วงต้นศตวรรษที่ 15 ว่า ?ฉันได้เขียนสาส์นนี้ขึ้นมา โดยที่ฉันต้องการที่จะบอกถึงสภาพของยิวในเยอรมันที่ความตายได้เทวีมากขึ้นสำหรับพวกเขา แท้จริงแล้วพี่น้องยิวในเยอรมันได้ประสบกับความทุกข์ทรมานอย่างใหญ่หลวง โดยที่พวกเขาต้องถูกกดขี่ ถูกบังคับให้ออกจากเยอรมัน แท้จริงฉันมีเชื้อสายมาจากฝรั่งเศส แต่ว่าฉันเกิดในเยอรมัน ดังนั้นฉันขอประกาศให้กับพวกท่านได้รับทราบว่า ตุรกีคือแผ่นดินซึ่งที่ไม่มีสิ่งใดที่จะบกพร่องไปในแผ่นดินแห่งนี้ ทุกคนที่นี่ดีกับพวกท่าน แน่นอนเส้นทางไปสู่แผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์จะถูกเปิดให้กับพวกท่านโดยผ่านทางตุรกี ไม่มีอะไรที่จะดีสำหรับพวกท่านในการที่พวกท่านจะอาศัยอยู่ภายใต้การปกครองของมุสลิม (อาณาจักรออตโตมาน) มากไปกว่าการอยู่ภายใต้การปกครองของพวกคริสเตียน ณ ที่นี่ ทุกคนจะได้อยู่อย่างสันติภายใต้ต้นองุ่นและต้นมะเดื่อ ณ ที่นี่พวกท่านจะได้รับการอนุญาตให้สวมเสื้อผ้าชาวยิว ส่วนแผ่นดินคริสเตียนนั้นตรงกับข้ามกับที่นี่ ฉันขอเรียกร้องให้พวกท่านออกจากแผ่นดินที่ถูกสาปซึ่งพวกท่านได้อยู่ที่นั้น และจงมายังตุรกี?

      ในศตวรรษที่ 17 ขบวนการต่างๆของยิวได้ถูกจัดตั้งขึ้นในอาณาจักรออตโตมาน ซึ่งขบวนการต่างๆนั้นถูกเรียกว่า ?ขบวนการปลดแอก? โดยที่พวกยิวได้เรียกร้องไปสู่การอพยพไปยังแผ่นดินที่ถูกสัญญาไว้ ซึ่งอยู่ในประเทศปาเลสไตน์ เป็นสาเหตุทำให้เกิดความตรึงเครียดระหว่างความสำพันธ์ยิวกับออตโตมาน วิถีใหม่ในวิชีตยิวที่อาศัยอยุ่ในออตโตมานถูกเริ่มรู้จักในนามของวิถีแห่งกลุ่มตรงกันข้ามของปฏิบัติการแบบยิวในการเข้าปกครองออตโตมาน จนกระทั่ง สุลต่านมูร๊อดที่ 3 (ค.ศ.1574-ค.ศ1595)=(ฮ.ศ.982-ฮ.ศ.1004) ได้กล่าวถึงสถานการณ์ยิวในช่วงเวลาดังกล่าวว่า ?อะไรจะเกิดขึ้น? หากว่าฉันได้ตัดผู้นำทั้งหมดของพวกเขา?

โดย : ดร.ฮูดา ดูรอววิช
แปลและเรียบเรียงโดย : อะห์มัด มุสตอฟา โต๊ะลง
www.ridwanclub.com
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged