กระดานเสวนานักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว:
สารบัญถามตอบปัญหาศาสนา
ฟอรั่ม
หน้าแรก
ค้นหา
ปฏิทิน
Contact
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
GoogleTagged
กระดานเสวนานักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
»
เสวนาเชิงวิชาการ
»
อัลหะดีษ
»
มุสตอละฮุ้ลหะดีษ (หลักพิจารณาอัลหะดีษ) ตอนที่ 2
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: มุสตอละฮุ้ลหะดีษ (หลักพิจารณาอัลหะดีษ) ตอนที่ 2 (อ่าน 3045 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Ahlulhadeeth
เพื่อนใหม่ (O_0)
กระทู้: 27
Respect:
+4
มุสตอละฮุ้ลหะดีษ (หลักพิจารณาอัลหะดีษ) ตอนที่ 2
«
เมื่อ:
พ.ย. 13, 2012, 03:12 AM »
0
Tweet
วิชา มุสตอละฮุ้ลหะดีษ (หลักพิจารณาอัลหะดีษ) ตอนที่ 2
โดย รอฟีกี มูฮำหมัด
4.5.อัลอิสนาด
คำว่า อิสนาด (
الإسناد
) ในแง่ของภาษา หมายถึง
"การพาดพิง"
หรือ
"การอ้างอิง"
และในแง่ของวิชาการนั้น คำว่า
"อิสนาด"
นั้น หมายถึง
"แนวทางที่นำไปสู่ตัวบทของหะดีษ"
ซึ่งเป็นสำนวนจากการต่อเนื่องของนักรายงานหะดีษ ที่รับหะดีษมาจากคนหนึ่ง สู่อีกคนหนึ่ง เรื่อยไปจนถึงท่านร่อซู้ล(ซล.)
4.6.อัลมัตน์
คำว่า มะตั่น (
المتن
) ในแง่ของภาษา หมายถึง
"สิ่งที่มั่นคงแข็งแรง"
หรือ
"สิ่งที่ยกขึ้นมาจากพื้นดิน"
และในแง่ของวิชาการนั้น คำว่า
"มะตั่น"
นั้น หมายถึง
"ตัวบทของหะดีษ"
หรือ
"ถ้อยคำของหะดีษ"
4.7.อัสสนัด
คำว่า สนัด (
السند
) ในแง่ของภาษาหมายถึง
"การพาดพิง"
และ
"สิ่งที่ถูกยึดถือ"
และในแง่ของวิชาการนั้น คำว่า
"สนัด"
นั้น หมายถึง
"ความต่อเนื่องของนักรายงานจนถึงตัวบท"
ซึ่งนักวิชาการหะดีษนั้น ได้ใช้คำว่า
"อิสนาด"
และ
"สนัด"
ในความหมายเดียวกัน
4.8.อัรรอวีย์
คำว่า รอวีย์ (
الراوي
) หมายถึง
"ผู้รายงานหะดีษด้วยสายรายงานของเขาเอง"
เหมือนกันไม่ว่าตัวผู้รายงานนั้น จะมีความรู้เกี่ยวกับหะดีษหรือไม่ก็ตาม (เช่น ความรู้ในเรื่องของสายรายงาน)
4.9.อัลมุสนิด
คำว่า มุสนิด (
المسنِد
) ใส่กัสเราะห์ที่ตัว
ن
หมายถึง
"ผู้รายงานหะดีษด้วยสายรายงานของเขาเอง"
เหมือนกันไม่ว่าตัวผู้รายงานนั้น จะมีความรู้เกี่ยวกับหะดีษหรือไม่ก็ตาม ดังนั้น คำว่า
"มุสนิด"
กับ คำว่า
"รอวีย์"
จึงมีความหมายเดียวกัน
4.10.อัลมุสนัด
คำว่า มุสนัด (
الْمسنَد
) ใส่ฟัตฮะห์ที่ตัว
ن
นั้น ถูกนำมาใช้ใน 3 ความหมาย คือ
1. คือ หะดีษที่สายรายงานของมันต่อเนื่องกันตั้งแต่ผู้รายงานคนแรกจนถึงผู้รายงานคนสุดท้าย และเข้าอยู่ในความหายนี้ คือ หะดีษมัรฟัวะอ์ หะดีษเมากูฟ และหะดีษมักตัวะอ์
2. คือ หะดีษที่สายรายงานของมันต่อเนื่องกันตั้งแต่ผู้รายงานคนแรกจนถึงผู้รายงานคนสุดท้าย และเข้าอยู่ในความหมายนี้ คือ หะดีษมัรฟัวะอ์เท่านั้น ท่านอีหม่ามฮากิม ได้กล่าวว่า
"คำนี้(มุสนัด)จะไม่ถูกใช้ในเรื่องของเมากูฟ และมักตัวะอ์ นอกจาก(จะถูกใช้)ในหะดีษมัรฟัวะอ์ที่มีสายรายงานต่อเนื่องกันเท่านั้น"
3. คือ หนังสือที่รวบรวมคำรายงานของบรรดาซอฮาบะห์แต่ละคนไว้อย่างเป็นเอกเทศ (ไม่ปะปนกัน) เช่น มุสนัดของท่านอีหม่ามอะห์หมัด
4.11.อัลมู่ฮัดดิษ
คำว่า อัลมู่ฮัดดิษ (
المحدث
) หมายถึง
"นักหะดีษ"
ได้แก่ บุคคลที่คร่ำหวอดอยู่กับวิชาหะดีษ ทั้งด้านของการรายงานและการวิเคราะห์ โดยมีความสามารถในการอรรถาธิบายอัลหะดีษ และมีความสามารถในการแยกแยะสายรายงาน ประเภท ชนิดของหะดีษ และสถานภาพของผู้รายงานหะดีษแต่ละคนได้เป็นอย่างดี
4.12.อัลฮาฟิส
คำว่า อัลฮาฟิส (
الحافظ
) หมายถึง
"ผู้ที่ท่องจำหะดีษตั้งแต่ 100,000 ขึ้นไป รวมทั้งมะตั่น(ตัวบท) และสายรายงาน(สนัด) และมีความรู้เกี่ยวกับประวัติของผู้รายงานหะดีษ และสถานภาพของพวกเขา"
4.13.อัลฮุจญะห์
คำว่า อัลฮุจญะห์ (
الحجة
) หมายถึง
"ผู้ที่ท่องจำหะดีษตั้งแต่ 300,000 ขึ้นไป รวมทั้งมะตั่น(ตัวบท) และสายรายงาน(สนัด) และมีความรู้เกี่ยวกับประวัติของผู้รายงานหะดีษ และสถานภาพของพวกเขา"
4.14.อัลฮากิม
คำว่า อัลฮากิม (
الحاكم
) หมายถึง
"ผู้ที่ท่องจำหะดีษตั้งแต่ 800,000 ขึ้นไป รวมทั้งมะตั่น(ตัวบท) และสายรายงาน(สนัด) และมีความรู้เกี่ยวกับประวัติของผู้รายงานหะดีษ และสถานภาพของพวกเขา และรู้ถึงการรับหะดีษจากพวกเขาและการไม่รับหะดีษ"
4.15.อะมีรุ้ลมุอ์มี่นีน ฟิ้ล หะดีษ
คำว่า อะมีรุ้ลมุอ์มี่นีน ฟิ้ล หะดีษ (
أمير المؤمنين في الحديث
) ก็คือ
"ฉายาทางด้านหะดีษ"
ซึ่งจะถูกกล่าวให้กับบุคคลหนึ่ง ที่มีความสามารถและมีความเชี่ยวชาญอย่างที่สุด ทางด้านของจดจำและการวิเคราะห์อัลหะดีษ ซึ่งพวกเขามิได้บรรลุสู่ฉายานี้เอง นอกจากเป็นผู้ที่ถูกเรียก หรือ ถูกขนานนามจากนักวิชาการหะดีษด้วยกัน
ความสำคัญของพวกเขา ก็คือ พวกเขาเป็นผู้นำทางด้านหะดีษ และเป็นผู้ที่ถูกหวนคืน เมื่อบรรดาอุลามาอ์มีความขัดแย้งกันในเรื่องของหะดีษ พวกเขาก็จะกลับไปดูข้อชี้ขาดและคำตัดสินของบรรดาอะมีรุ้ลมุอ์มี่นีน ฟิ้ล หะดีษ เหล่านี้ และก็จะยึดเอาคำตัดสิ้นของพวกเขาในขณะที่เกิดความขัดแย้ง
ผู้ที่ได้รับตำแหน่งนี้ มีอยู่หลายท่าน เช่น
1.ท่านอีหม่ามมาลิก(รฮ.) เจ้าของหนังสือ
"อัลมู่วัตเตาะอ์"
2.ท่านอีหม่ามบุคอรีย์(รฮ.) เจ้าของหนังสือ
"ซอเฮี๊ยะห์บุคอรีย์"
3.ท่านอีหม่ามอิบนุฮาญัร อัลอัสกอลานีย์(รฮ.) เจ้าของหนังสือ
"ฟัตฮุ้ลบารีย์"
4.16.อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างคำว่า "สนัด" และ "อิสนาด" ?
คำว่า
"สนัด"
นั้น ก็คือ
"ตัวของสายรายงาน"
เช่น หะดีษที่ท่านอีหม่ามมุสลิมได้รายว่า
حدثنا أبو بكر بن إسحاق ، أخبرنا ابن أبي مريم ، أخبرنا محمد بن جعفر ، قال أخبرني العلاء بن عبد الرحمن بن يعقوب مولى الحُرَقَة ، عن أبيه ، عن أبي هريرة رضي الله عنه قال : قال رسول الله صلى الله عليه وسلم :
((
مِنْ عَلَامَاتِ الْمُنَافِقِ ثَلَاثَةٌ ، إِذَا حَدَّثَ كَذَبَ ، وَإِذَا وَعَدَ أَخْلَفَ ، وَإِذَا اؤْتُمِنَ خَانَ
))
ความว่า : ท่านอบูบักร บิน อิสหาก ได้เล่าให้พวกเราฟังว่า อิบนุ อบีมัรยัม ได้บอกแก่พวกเราว่า มูฮำหมัด บิน ญะอ์ฟัร ได้บอกแก่พวกเรา โดยกล่าวว่า อัลอะลาอ์ บิน อับดิรเราะหมาน บิน ยะอ์กูบ เมาลา อัลคู่ร่อเกาะห์ ได้บอกฉัน โดยกล่าวมาจากพ่อของเขา ซึ่งนำมาจากท่านอบูฮู่รอยเราะห์(รด.)ซึ่งท่านได้กล่าวว่า ท่านร่อซู้ล(ซล.)ทรงกล่าวว่า
"เครื่องหมายของมู่นาฟิกนั้นมี 3 อย่าง คือ เมื่อพูดก็โกหก เมื่อสัญญาก็ผิดคำสัญญา และเมื่อได้รับการไว้วางใจก็บิดพริ้ว"
(บันทึกโดย ท่านอีหม่ามมุสลิม ในซอเฮี๊ยะห์มุสลิม บี่ชัรฮิ้ลนะวะวีย์ เล่ม 2 หน้า 47 )
สายรายงานโดยเริ่มตั้งแต่ท่าน อบูบักร บิน อิสหาก เรื่อยมา จนกระทั่งมาถึงท่านร่อซู้ล(ซล.)นั้น เราเรียกว่า
"สนัด"
หรือ
"สายรายงาน"
ซึ่งได้แก่ ตัวของสายรายงานทั้งหมด ซึ่งนับได้ 7 ท่าน หากไม่นับรวมท่านร่อซู้ล(ซล.) นั่นแหละ คือ
"สนัด"
หรือ
"สายรายงาน"
ส่วนคำว่า
"อิสนาด"
ก็คือ
"การอ้างอิงสายรายงาน"
เช่น การที่คนหนึ่งพูดว่า : ท่านอบูบักร บิน อิสหาก ได้รายงานมากจาก ท่านอิบนุ อบีมัรยัม ซึ่งรายงานมาจากท่าน มูฮำหมัด บิน ญะอ์ฟัร โดยนำมาจาก........เรื่อยไปจนถึงท่านร่อซู้ล(ซล.) อย่างนี้แหละ คือ
"อิสนาด"
หรือ
"การอ้างอิงสายรายงาน"
ดังที่ ท่านอิบนุญะมาอะห์ กล่าวว่า
"อิสนาด"
หมายถึง
"การรายงานหะดีษพร้อมกับระบุตัวผู้รายงาน"
และคำว่า
"สนัด"
ก็คือ
"สายสืบที่นำเข้าสู่ตัวบทของหะดีษ"
ดังนั้น เมื่อทั้ง
"สนัด"
และ
"อิสนาด"
ก็คือ
"การบอกถึงแนวทางของตัวบท"
อันได้แก่
"สายรายงาน"
นักวิชาการหะดีษ จึงได้ใช้คำว่า
"สนัด"
และ
"อิสนาด"
ให้อยู่ในความหมายเดียยวกัน
ส่วน
"มะตั่น"
หรือ
"ตัวบท"
ก็คือ คำกล่าวของท่านนบี(ซล.)ที่ว่า : ((
من علامات المنافق ثلاثة : إذا حدث كذب ، وإذا وعد أخلف ، وإذا ائتمن خان
))
_______________________________________________________________________________________________
อ่านย้อน >
มุสตอละฮุ้ลหะดีษ (หลักพิจารณาอัลหะดีษ) ตอนที่ 1
อ่านต่อ >
มุสตอละฮุ้ลหะดีษ (หลักพิจารณาอัลหะดีษ) ตอนที่ 3
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิ.ย. 19, 2013, 04:36 AM โดย Ahlulhadeeth
»
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล
บันทึกการเข้า
Muftee
เพื่อนรัก (6_6)
กระทู้: 1899
เพศ:
ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
Respect:
+190
Re: มุสตอละฮุ้ลหะดีษ (หลักพิจารณาอัลหะดีษ) ตอนที่ 2
«
ตอบกลับ #1 เมื่อ:
พ.ย. 13, 2012, 05:41 PM »
0
นำเสนอต่อไปครับ ขออัลลอฮ ตะอาลา ทรงตอบแทนความดี
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล
บันทึกการเข้า
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //
Ahlulhadeeth
เพื่อนใหม่ (O_0)
กระทู้: 27
Respect:
+4
Re: มุสตอละฮุ้ลหะดีษ (หลักพิจารณาอัลหะดีษ) ตอนที่ 2
«
ตอบกลับ #2 เมื่อ:
พ.ย. 13, 2012, 08:06 PM »
0
เช่นกันครับ อามีนนน
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระดานเสวนานักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
»
เสวนาเชิงวิชาการ
»
อัลหะดีษ
»
มุสตอละฮุ้ลหะดีษ (หลักพิจารณาอัลหะดีษ) ตอนที่ 2
GoogleTagged
bmk
หะดี
com
หะดิษ
47883778
มุสลิม
google
มัรฟั๊
44442042
bge
1355325884
yms
agc
53371865
วิชา
66917471
android
หะดีษ
47380653