« เมื่อ: ม.ค. 10, 2013, 02:00 AM »
0
ช่วงเวลาที่ผ่านมานี้ มีพี่น้องหลายๆ ท่านในเวปนี้ ที่สนใจในตำราศาสนาที่เป็นภาษาไทย ต่างก็หาซื้อตำราศาสนาของท่าน อาจารย์ อารีฟีน แสงวิมาน (เจ้าของเวปไซด์แห่งนี้) มาอ่านกัน .. ไม่ว่าจะเป็น ตำรา วิทยโวหาร(ฮิกัม) ,ตำรา อัตเตาบะฮฺ หรือ ตำราจดหมายถึงผู้ป่วย เป็นต้น
แต่นอกจาก ท่านอาจารย์ อารีฟีน แสงวิมาน แล้ว .. ยังมีอาจารย์อีกหนึ่งท่าน ซึ่งท่านก็เป็นผู้ทรงความรู้ของเวปสุนนะฮฺฯ แห่งนี้เช่นกัน และท่านก็เคยตอบปัญหาศาสนาให้กับพวกเรามามากมาย ในบอร์ดนิติศาสตร์อิสลาม(ฟิกฮฺ) แล้วท่านเองก้อเป็นผู้ดูแลบอร์ดนั้นอยู่ด้วย และอาจารย์ที่ข้าพเจ้ากำลังกล่าวถึงนี้ ก็คือ อาจารย์ มุสตอฟา โต๊ะลง หลังจากที่ ท่าอาจารย์ มุสตอฟา โต๊ะลง จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย อัล-อัซฮัร ไปเมื่อ 2-3 ปีก่อน ท่านก็ได้มีผลงานทางวิชาการศาสนาออกมาให้พวกเราได้ชื่นชมกันแล้ว เป็นจำนวน 6 เรื่องด้วยกัน .. และในวันนี้ ข้าพเจ้าจะเสนอแนะผลงานของท่าน ดังต่อไปนี้ คือ ..ปรัชญาแห่งบทบัญญัติอิสลาม

ตำรา "ปรัชญาแห่งบทบัญญัติอิสลาม" เล่มนี้ มีทั้งหมด 252 หน้า ราคาเล่มละ 150 บาท
สารบัญที่น่าสนใจ
หลักการอิสลามข้อที่ 1 : การปฏิญาณว่า แท้จริงไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮ์และมูฮัมหมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์
- ความหมายของการปฏิญาณว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์”
- วิชาว่าด้วยหลักการศรัทธานั้นประกอบด้วยหลายด้าน
- ลำดับขั้นเตาฮีด
- ความหมายของการปฏิญาณว่า : “มูฮัมหมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์”
- สัญลักษณ์ที่แสดงถึงความฏออัต (ภักดี) ต่อศาสดามูฮัมหมัด
- เหตุผลการมาของบรรดาศาสนทูต
- ศาสดามูฮัมหมัดผู้นำที่มีอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์
- คำพูดจากนักวิชาการทั่วโลกต่ออิสลาม
- ประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษาวิชาว่าด้วยหลักการยึดมั่นศรัทธา
- ความสำคัญของหลักการยึดมั่นศรัทธา 6 ประการ
- ภัยมหันต์จากการปฏิเสธศรัทธา
•ผลกระทบที่มีต่อชีวิตในภพนี้
•ผลกระทบที่มีต่อชีวิตในภพหน้า
- สิ่งที่จะทำให้สิ้นสภาพการเป็นมุสลิม
หลักการอิสลามข้อที่ 2 : การละหมาด
- การอาบน้ำละหมาด
- ความสัมพันธ์ระหว่างวิชาว่าด้วยปฏิกิริยาสะท้อนกับการอาบน้ำละหมาด
- วิธีการอาบน้ำละหมาดที่สมบูรณ์
- ร่องรอยทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากการอาบน้ำละหมาดที่สมบูรณ์
•การล้างมือ
•การบ้วนปาก
•การสูดน้ำเข้าจมูกและสั่งออก
•การล้างหน้า
•การล้างแขน
•การเช็ดศีรษะ
•การเช็ดหู
•การล้างเท้า
- สิ่งที่ทำให้เสียน้ำละหมาด
- สิ่งที่จำเป็นจะต้องมีน้ำละหมาด
- การละหมาด
- วิทยปัญญาในการบัญญัติละหมาด
- อิริยาบถต่างๆ ของละหมาดกับการบำบัดที่น่ามหัศจรรย์
- วิทยปัญญาของการหันหน้าไปยังทิศกิบลัตขณะละหมาด
- ความประเสริฐของการลุกขึ้นมาละหมาดในยามค่ำคืน
- การละหมาดเป็นประโยชน์ต่อผู้ตั้งครรภ์ เป็นอันตรายต่อผู้มีประจำเดือน
- เหตุผลของการกำหนดเวลาละหมาด
- เวลาที่ห้ามทำการละหมาด
- สิ่งที่ทำให้การละหมาดเป็นโมฆะ
- ข้อชี้ขาดของผู้ละทิ้งละหมาด
หลักการอิสลามข้อที่ 3 : การจ่ายซะกาต
- คำนิยามของซะกาต
- ผลที่ได้จากการจ่ายซะกาต
- วิทยปัญญาของการทำทานอย่างลับๆ
- จุดยืนของอิสลามกับบรรดาผู้ละทิ้งการจ่ายซะกาต
- ทรัพย์ที่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตมี 5 จำพวก
•ทองคำและเงิน
•ปศุสัตว์
•ธัญพืช และผลไม้
•ทรัพย์ที่เป็นสินค้า
•สินแร่และทรัพย์ที่ถูกฝังดินไว้
- แหล่งจ่ายซะกาต
- ซะกาตฟิตร์
- ความแตกต่างระหว่างซะกาตกับภาษี
หลักการอิสลามข้อที่ 4 : การถือศีลอด
- การถือศีลอด
- ประวัติการถือศีลอดก่อนและหลังประชาชาติมูฮัมหมัด
- ผลวิจัยทางการแพทย์ว่าด้วยการถือศีลอด
•การถือศีลอดตามแบบฉบับอิสลามกับการอดอาหารตามการแพทย์
•ประโยชน์จากการไม่ดื่มน้ำในขณะถือศีลอด
•การเคลื่อนไหวและการหยุดนิ่งขณะถือศีลอด
•การถือศีลอดในสภาวะคับขัน
•ถือศีลอดกับการขับสารพิษ
•การถือศีลอดกับโรคเบาหวาน
•การถือศีลอดกับฮอร์โมนของสตรี
•การถือศีลอดกับระบบทางเดินปัสสาวะ
•การถือศีลอดกับสตรีมีครรภ์
•ผลของการถือศีลอดอย่างต่อเนื่องต่อผู้ป่วยโรคไขข้อที่คล้ายโรคไขข้ออักเสบ
•การถือศีลอดในช่วงจันทร์เต็มดวงของทุกเดือน
•การถือศีลอดกับสุขภาพจิต
- แบบอย่างที่ดีในการบริโภคอาหารตามแบบฉบับอิสลาม
- การเข้าเดือนรอมาฎอน
- การถือศีลอดด้วยการเห็นเดือนเสี้ยวของประเทศอื่น
- สิ่งที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติ (สุนัต) ในขณะถือศีลอด
•รีบเร่งในการละศีลอด
•การละศีลอดด้วยอินทผลัม
•การขอพรขณะละศีลอด
•การรับประทานอาหารซุโฮร์ (อาหารก่อนแสงอรุณจะขึ้น)
•การล่าช้าในการรับประทานอาหารซุโฮร์
•มุ่งเน้นปฏิบัติคุณงามความดีให้มากๆ
- อัลกุรอานกับการรักษาเยียวยา
- ความประเสริฐของเดือนรอมาฎอนกับค่ำคืนอัลก็อดร์
- ละหมาดตะรอเวียะห์
- อีดิ้ลฟิตร์
- ซะกาตฟิตร์
- การถือศีลอด 6 วันในเดือนเชาว้าล
หลักการอิสลามข้อที่ 5 : การประกอบพิธีฮัจญ์
- ฮัจญ์
- วิทยปัญญาในการประกอบพิธีฮัจญ์
- การประกอบพิธีฮัจญ์ ณ “มักกะห์”
- การตอวาฟกุดูม (ตอวาฟขณะมาถึงบัยตุ้ลลอฮ์)
- รุ่ก่นและวาญิบในฮัจญ์ทั้ง 10 ประการ
•การครองเอี๊ยะรอม (รุ่ก่น)
•การพำนัก (วูกุฟ) ที่อารอฟะห์ (รุ่ก่น)
•การค้างแรมที่มุซดะลิฟะห์ (วาญิบ)
•การขว้างเสาหิน 7 ก้อนที่ญัมรอตุลอะเกาะบะห์ ณ มีนา (วาญิบ)
•การตอวาฟอิฟาเดาะห์ในวันที่ 10 หรือในวันตัชรีก (รุ่ก่น)
•การเดินซะแอระหว่างภูเขาซอฟาและมัรวะห์ 7 เที่ยว (รุ่ก่น)
•การพำนักที่ “มีนา” ในค่ำคืนของวันตัชรีก
•การขว้างเสาหิน 3 ต้นในวันที่ 11,12,13 ซุ้ลฮิจญะห์ (วาญิบ)
•การโกนศีรษะหรือการตัดผม “ตะฮัลลุล” (รุ่ก่น)
•การตอวาฟวิดาอ์ (ตอวาฟอำลาเพื่อจะเดินทางกลับ) (วาญิบ)
- รุ่ก่นและวาญิบของการประกอบพิธีฮัจญ์ มีความแตกต่างกัน
- เชือดสัตว์พลี
- การรักษาสุขภาพด้วยการเดิน
- น้ำซัมซัม
- ข้อห้ามสำหรับผู้ครองเอี๊ยะรอม
- ตารางเวลาและเส้นทางการทำฮัจญ์
- การเยี่ยมท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซิยาเราะห์นะบี)
- บรรณานุกรม
สนใจติดต่อสอบถามจากเฟสอาจารย์เค้าได้ที่ : http://www.facebook.com/photo.php?fbid=2239499160391&set=a.1679899570751.74518.1635414487&type=3&src=http%3A%2F%2Fsphotos-c.ak.fbcdn.net%2Fhphotos-ak-ash4%2F376114_2239499160391_1697055174_n.jpg&size=746%2C960
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 10, 2013, 02:12 AM โดย Napat »
// ณ. มุมหนึ่ง ปลายนา หลังคามุงจาก //«اتَّقِ اللَّهَ حَيْثُمَا كُنْتَ، وَأَتْبِعِ السَّيِّئَةَ الْحَسَنَةَ تَمْحُهَا، وَخَالِقِ النَّاسَ بِخُلُقٍ حَسَنٍ»
ความว่า “ท่านจงยำเกรงต่ออัลลอฮฺไม่ว่าท่านจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม และจงตามหลังความชั่วด้วยการปฏิบัติความดีเพื่อลบล้างมัน(ความชั่ว) และจงคลุกคลีกับผู้คนทั้งหลายด้วยคุณลักษณะนิสัยที่ดีงาม”
บันทึกโดยอัตติรมิซีย์