อัสลามุอะลัยกุม วะเราะมาตุลลอฮฺ วะบารอกาตุ
วันนี้ได้อ่านเกี่ยวกับเรื่องของทรัพย์หะรอม...
จากหลายๆกระทู้ เช่นกระทู้นี้
http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php?topic=3693.0แต่ยังมีบางอย่างที่ยังติดค้างอยู่ในใจค่ะ...
จึงอยากทราบว่า
กรณีที่1
นายก.ทำอาชีพผลิตเหล้าและขายเหล้า(อย่างเดียว)
แล้วเราก็เห็นและรู้ว่าเขามีเงินซื้อจ่ายสิ่งจำเป็น
ด้วยกับเงินจากการขายเหล้า...
และวันนึง...นายก.ก็เดินเข้ามาที่ร้านของเรา
ซึ่งเราเปิดร้านขายข้าว เขาประสงค์จะซื้ออาหารของเรา
ด้วยเงินขายเหล้าของเขา
อยากทราบว่า เราจะรับเงินขายเหล้าจากนายก.
มาใช้จ่ายได้หรือไม่ อย่างไร แล้วเงินที่เรารับมาจากนายก.
ที่ได้มาจากการขายเหล้าด้วยการขายอาหารของเรานั้น
เป็นทรัพย์หะรอมหรือไม่ อย่างไร...
หรือว่าเป็นทรัพย์คลุมเครือ...
กรณที่ 2
นายข.เปิดแผงขายเนื้อหมูในตลาดสด
ส่วนนายค.เป็นมุสลิมเปิดร้านขายเนื้อวัวไม่ไกลกันนัก
นายข.หยิบเงินที่เขาขายหมูไปเมื่อครู่มาซื้อเนื้อวัว
จากนายก.ไปปรุงอาหาร...
อยากทราบว่า ตัวของเงินหรือทรัพย์จากการขายหมูดังกล่าว
นั้น เป็นเงินหะรอมด้วยกับตัวของมันหรือไม่อย่างไร...
แล้วนายค.สามารถรับเงินดังกล่าวที่เขารู้และเห็นอยู่
อย่างชัดแจ้งเลยว่า เงินนั้นได้มาจากการขายหมู...
กรณีที่ 3
นายก.เป็นต่างศาสนิกที่เปิดร้านขายผัก
นายข.เป็นต่างศาสนิกที่เปิดร้านขายเหล้า
นายค.เป็นมุสลิมเปิดร้านขายผลไม้
แล้วนายก.ได้นำเงินจากการขายผักของเขา
มาซื้อเหล้าจากร้านของนายข.
แล้วนายข.ได้นำเงินดังกล่าวที่นายข.นำมาให้
เพื่อแลกกับเหล้าของเขาเมื่อครู่ไปซื้อผลไม้
จากนายค.
อยากทราบว่า...ในวงจรดังกล่าว เงินในลักษณะไหน
หรือทรัพย์ในลักษณะไหนเป็นทรัพย์หะรอม
หรือทรัพย์ที่ควรหลีกห่าง...
เนื่องจากส่วนลึกของข้าน้อยรู้สึกว่า...
เงินที่เกิดจากการที่เราได้มาด้วยสุจริต
ไม่ว่าเงินนั้นคนที่นำมาให้เราเพื่อแลกกับสิ่งที่เรามีนั้น
จะได้มาอย่างไรหรือโดยวิธีใด...มันก็ไม่น่าจะเป็น
เงินที่ต้องห้าม
อย่างเรามีอาชีพขายวัว
มีคนเป็นร้อยเป็นพันมาติดต่อซื้อวัวจากเรา...
และแน่นอนว่าคนที่มาติดต่อซื้อวัวของเรานั้น
เขาอาจจะนำเงินที่ได้มาโดยสุจริตหรือไม่อย่างไร
ซึ่งเป็นไปได้ทั้งนั้นมาแลกเปลี่ยนกับสินค้าของเรา
ซึ่งก็คือวัว...
ข้าน้อยจึงคิดว่า...เงินที่เรารับมาจากลูกค้านั้น
คือเงินจากการขายวัวของเรา...เงินจากการขายวัวของเรา
จึงเป็นเงินที่ดี...เพราะเราได้เงินนั้นมาด้วยวิธีที่ดี
ที่ถูกต้องตามหลักศาสนา...ไม่ว่าเงินที่ได้จากลูกค้ามานั้น
ลูกค้าจะได้เงินดังกล่าวมาด้วยวิธีใด...
เพราะเราไม่มีทางรับรู้ได้อย่างแจ้งชัดลงไปได้ว่า
เงินจากลูกค้าของเรานั้นเป็นเงินที่ได้มาอย่างไรบ้าง
หรือเราต้องถามลูกค้าเราว่าเขาได้เงินที่นำมาซื้อวัวของเรา
ได้อย่างไร...
เลยทำให้ข้าน้อยมองว่า...การที่เงินจะหะรอมหรือไม่
หรือทรัพย์ดังกล่าวนั้นจะหะรอมหรือไม่นั้น...
ขึ้นอยู่กับว่า เราได้เงินหรือทรัพย์นั้นๆมาด้วยวิธีการใด
เพราะตัวของ"เงิน"หรือ"ตัวของทรัพย์"มันไม่น่าจะหะรอม
จนกว่าจะเกิดการกระทำโดยมีมันเป็นสื่อกลางขึ้น...
เพราะ"เงิน"หรือธนบัตร ต่อให้มันจะเก่าหรือใหม่
คุณค่าของมันก็เท่ากัน...แต่เราจะใช้มันซื้อขายอะไรนั้น
ขึ้นอยู่กับการกระทำของเรา...
ดังนั้น ธนบัตรที่เราถืออยู่...ไม่ว่าจะเปลี่ยนมือ
หรือผ่านมือใครกี่คน...ตัวของมันจะหะรอมหรือไม่
ก็น่าจะขึ้นอยู่กับการกระทำของผู้ที่ใช้และรับมันมา
ว่าเอามันมาหรือใช้มันไปด้วยวิธีใด...ใช่หรือไม่คะ...
ย้ำนะคะว่า..."ทรัพย์หะรอม" หะรอมที่หมายถึง ต้องห้าม
คิดอย่างนี้ผิดถูกหรือไม่ อย่างไรคะ...
วอนผู้รู้ช่วยไขข้อกังขาดังกล่าวให้หน่อยจะได้มั้ยคะ...
เพราะรู้มาว่า ท่านรอซู้ล ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมนั้น
ได้ทำการติดต่อค้าขายกับคนต่างศาสนิกด้วย
และแน่นอนว่า เราไม่อาจจะรู้ได้ว่า คนต่างศาสนิกที่ว่านั้น
จะทำงานและได้เงินมาด้วยวิธีการใด และเงินของเขา
ได้มาอย่างไร ทางไหนบ้าง...
เลยอยากให้ผู้รู้ในเรื่องการค้าขายแลกเปลี่ยน
ในอิสลามช่วยแยกลักษณะของทรัพย์ให้กระจ่างชัด
และเข้าใจง่ายเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคนอ่านต่อไปน่ะค่ะ...
ปล.อาจจะอ่านไปแล้วงงบ้าง...แต่ขอย้ำว่า
คนโพสต์พยายามใช้ภาษาและอธิบายสุดความสามารถแล้ว...
อาจยาวไป เพราะหากสั้นๆกลัวว่าจะเข้าใจไม่ตรงกัน...
ขอขอบคุณล่วงหน้านะคะ...
วัสลามค่ะ