ผู้เขียน หัวข้อ: คำถามจากผู้ที่กำลังศึกษาอิสลามเรื่องซะกาตครับ  (อ่าน 2001 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Carrothz

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 120
  • Respect: +24
    • ดูรายละเอียด

อ้างถึง
แต่ อิฉันมี ข้อสงสัยเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง ซะกาต
 ที่ จะรบกวนขอความรู้จากเพื่อน ๆ มุสลิม เพิ่มเติม ดังนี้ ค่ะ
 
ที่ บอกว่า

มูลค่าที่ต้องนับซะกาตควรนับรวมกับเงินสด เงินในธนาคาร มูลค่าคงคลังสินค้า
หรือ ทองที่คุณเป็นเจ้าของ นั้น
 
ในกรณีที่ เป็นการลงทุนเพื่อเก็งกำไร เช่น ที่ดิน หุ้น ทอง ( ซึ่งราคามันผันผวนมาก  )
 แล้ว ตอนสิ้นปี เราขาดทุนป่นปี้จากการเก็งกำไรมาก ๆ จนแทบหมดตัว
เราจะต้องจ่าย ซะกาตไหมคะ หรือว่า ขอค้างไว้ก่อนสะสมไว้จ่ายในปีที่ สามารถมีกำลังทรัพย์จ่ายได้
 


ขอยกตัวอย่าง ให้เห็นภาพ ชัดเจน เช่น
 

ถ้ามี ทองเพื่อเก็งกำไร ไว้ในครอบครอง
 สมมุติ ซื้อมา ตอนต้นปี ราคา 26,000 บาท/ 1 บาททอง
 เป็น จำนวน 200 บาททอง  ตอนนั้นจ่ายเงินซื้อทอง
=  26000*200 บาท=5,200,000 บาท
 

แต่พอ สิ้นปี ราคาทองลดลงเหลือ 20,000 บาท / 1บาททอง
 มูลค่าทอง ณ ตอนนั้น = 20,000 บาท * 200 = 4,000,000 บาท
 ซึ่งก็เท่ากับว่า ณ สิ้นปี ขาดทุน =  6,000*200 บาท = 1,200,000 บาท
 

ตอนสิ้นปี เมื่อ คำนวณ มูลค่าที่ต้องนับซะกาต
จึงต้องจ่าย 2.5 % ของมูลค่าทองที่มี = 2.5 % * 20,000*200 = 100,000 บาท
 แต่ ณ ขณะนั้น เราอยู่ในสภาวะขาดสภาพคล่อง ไม่มีเงินสดพอที่จะจ่าย ซะกาตเลย
 บัญชี รายรับ-รายจ่าย ขาดทุนติดลบ ( แต่ก็ยังมี จำนวนทอง 200 บาท ซึ่ง มากกว่า 5.6 บาทอยู่ดี )
แต่ถ้า ขายเอามาจ่ายเป็น ค่าซะกาต ก็คงขาดทุนยับเยิน
 เราจะต้องจ่าย ซะกาตไหมคะ หรือว่า ขอค้างไว้ก่อนสะสมไว้จ่ายในปีที่ สามารถมีกำลังทรัพย์จ่ายได้
 
แล้ว มูลค่าที่ต้องนับซะกาต นั้น
เวลา คำนวณ สามารถเอา ส่วนของมูลค่าเงินที่ลดลง
 เช่น เงินส่วนที่ ขาดทุนจากการเก็งกำไร ทอง มูลค่า 1,200,000 บาท
มา หักลบเพื่อลดหย่อน จาก  มูลค่าที่ต้องนับซะกาต ได้หรือไม่
 
เช่น ในครั้งนี้

ตอนซื้อทองมา มูลค่า= 26,000*200 บาท = 5,200,000 บาท
 
ตอนสิ้นปี มูลค่าลดลง เหลือ = 20,000*200 =4,000,000 บาท
( โดยขาดทุนจากการเก็งกำไร ทอง มูลค่า 1,200,000 บาท )
 

1. มูลค่าที่ต้องนับซะกาต คือ
20,000*200 =4,000,000 บาท
หรือ 4,000,000 - 1,200,000 = 2,800,000 บาท  คะ ?
 

2 หรือว่า  ปีนั้น อนุโลม ไม่ต้องจ่าย ซะกาต เลย เพราะถือว่า เป็นผู้มี หนี้สิน )
 หรือ  ขอค้างไว้ก่อนสะสมไว้จ่ายในปีที่ สามารถมีกำลังทรัพย์จ่ายได้
 
3.แล้ว ในกรณีที่ ต้องค้างไว้ก่อนสะสมไว้จ่ายในปีที่ สามารถมีกำลังทรัพย์จ่ายได้
 ถ้าทรัพย์สินที่มีนั้น มันไม่มีการ งอกเงย หรือ ทำกำไรเลย
 ( เช่น ทองที่เก็งกำไร ไว้ ขาดทุนยาวเป็น 10 ปี รวด )
ถ้า ดูจาก มูลค่าสะสมของการจ่ายซะกาต ก็จะมีการสะสม แบบแบบต้นทบดอก
 เช่นนี้ ผู้ที่เจอสภาวะแบบนี้ จะต้องปฏิบัติอย่างไร จึงจะไม่ขัดกับหลักอิสลาม คะ
 

ขอบคุณค่ะ ^^
http://pantip.com/topic/30418671

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
อัสลามุอะลัยกุม

ระหว่างรอท่านผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ปัญหา
ดังกล่าว...

ลองเข้าไปอ่านกระทู้นี้ดูนะคะ...

เพราะดูไปแล้วน่าจะเกี่ยวข้องกันอยู่ค่ะ

http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php?topic=7953.0

และก็...

http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php?topic=551.0


คือ...ที่ได้อ่านมาและได้ฟังมานั้น...

ทรัพย์สินทุกประเภทไม่ว่าสังหาริมทรัพย์
(เคลื่อนย้ายได้ เช่น เงิน ทอง)
หรืออสังหาริมทรัพย์ (เคลื่อนย้ายไม่ได้ เช่น ที่ดิน)
เมื่อซื้อมาเพื่อขายวายิบต้องจ่ายซากาต 


ปล.แต่เท่าที่อ่านๆมา เหมือนว่าผู้ที่ถูกกล่าวอ้างมานั้น
มีทองอยู่ในครอบครอง 200 บาท แต่ว่าเป็นหนี้(หรือเปล่าคะ)
เพราะถ้ามีทรัพย์สิน แต่เป็นหนี้(คือไม่ได้ชดใช้หนี้)
อันนี้...คงต้องรอคนมาตอบแล้วล่ะค่ะ...
เพราะเห็นบอกว่า...ขาดสภาพคล่อง...
เพราะปกติ หากเรามีทองในครอบครองขนาดนั้น...
แต่ขาดสภาพคล่อง มันจะขาดสภาพคล่องได้อย่างไร...
เพราะหากมีทอง 200 บาท ก็นับว่ามีทรัพย์สินเกินพิกัด
ที่ถูกกำหนดไว้แล้ว...

งงๆว่าใช่กรณีไหน

1.เรามีทรัพย์สินดังกล่าว แต่ทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้สร้างกำไรให้
แต่เราก็ยังมีทรัพย์ตัวนั้นอยู่ ไม่ได้เป็นหนี้เป็นสินแต่อย่างใด
แค่ทรัพย์ดังกล่าวตอนซื้อมากับปัจจุบันหากขายไปก็ขาดทุน
เพียงแค่นั้น...


หรือ

2.เรามีทรัพย์สินดังกล่าว...และทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้สร้างกำไรให้ ซ้ำยังก่อให้เกิดหนี้เสียอีกบาน...คือต่อให้ขายทรัพย์
หรือทอง200 บาทไป ก็ไม่สามารถใช้หนี้ได้หมด...

เลยอ่านแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจว่า...อยู่ในกรณีไหนน่ะค่ะ...

เพราะเคยมีกรณีหนึ่ง อันนี้คนใกล้ตัวค่ะ
เช่น หากเขามีเงิน 100 ล้านบาทในครอบครอง
แต่ปีนี้ ธุรกิจทำกำไรได้ไม่ดีนัก
ทำให้ขาดทุนไปหลายล้านบาท รายรับรายจ่ายติดลบ...
แต่เขาก็ยังมีเงินซึ่งเป็นทรัพย์สินของเขาที่เกิดจาก
การทำธุรกิจดังกล่าวอยู่ในธนาคาร 100 ล้านบาทนะคะ...
คือ ธุรกิจขาดทุนก็จริง แต่เขาไม่ได้เป็นคนล้มละลาย
เพราะการขาดทุนนั้น...แล้วเขาจะออกต้องออกซะกาต
ในส่วนของเงิน 100 ล้านที่เขาครอบครองมั้ยคะ...
(ที่ถามนั้นเพราะอยากรู้ค่ะ แต่คนที่ครอบครองคงไม่ออกซะกาต เพราะเขาไม่ได้เป็นมุสลิมน่ะค่ะ ถามเพื่อความรู้เท่านั้นค่ะ)

แล้วจะรออ่านคำตอบเช่นกันค่ะ เพราะว่าก็อยากรู้...

วัสลามค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เม.ย. 28, 2013, 09:41 PM โดย nada-yoru »
"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

 

GoogleTagged