ผู้เขียน หัวข้อ: การเสวนาเรื่องการกล่าวคำเหนียต(อุซ๊อลลี)  (อ่าน 4350 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

السلام عليك ورحمة الله وبركاته

การเสวนาเรื่องอุศ๊อลลีย์นี้  เราได้เก็บบันทึกเอาไว้  ซึ่งเราปรารถนาจะให้พี่น้องได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบ  ในประเด็นการอิจญฮาดเกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ

والسلام

อัล-อัซฮะรีย์
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ส.ค. 12, 2007, 09:31 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเสวนาเรื่องการกล่าวคำเหนียต(อุซ๊อลลี)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มี.ค. 17, 2007, 06:26 AM »
0
al-farook

การกล่าวอุซ๊อลลีย์ เป็นการเรียกของคนเมืองไทยบ้านเรา แต่ภาษาอาหรับเขาเรียกว่า التلفظ بالنية (การกล่าวคำเหนียต) ดังนั้น ผมจะไม่ขอเรียกว่า การกล่าวอุซ๊อลลีย์ แต่ผมจะใช้คำว่า "การกล่าวคำเหนียต" ซึ่งเป็นการใช้ศัพท์ตามหลักวิชาการฟิกห์ และผมอยากทำความเข้าใจว่า การกล่าวคำเหนียตนี้ ไม่ใช่เป็นการกระทำที่อยู่ในละหมาด แต่เป็นการกระทำที่อยู่นอกละหมาด หรือก่อนจะเริ่มเข้ากระทำละหมาดด้วยการตักบีร และมีพี่น้องวะฮาบีย์บางคนกล่าวว่า "การกล่าวคำเหนียตในละหมาดนั้น เป็นบิดอะฮ์" ซึ่งหากใช้คำว่า ในละหมาด นั้น ผมเองก็ขอบอกว่า มันบิดอะฮ์ และทำให้เสียละหมาด อย่างไม่ต้องสงสัย แต่ประเด็นที่เราพูดนี้ คือการกล่าวคำเหนียตก่อนจากละหมาดครับ

การกล่าวคำเหนียต ก่อนจากละหมาด หรือก่อนจากตักบีร่อตุลเอี๊ยะหฺรอม ถือว่าเป็นสุนัต ตามทัศนะของอุลามาอ์ส่วนมาก ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กล่าวไว้ว่า

إنما الأعمال بالنيات

"แท้จริง บรรดาการปฏิบัตินั้น ด้วยการเหนียต"

จากหะดิษนี้ ท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้กล่าวว่า พวกท่านจงกล่าวคำเหนียตให้ดัง และเช่นเดียวกัน ท่านนบี(ซ.ล.) ก็ไม่ได้กล่าวว่า พวกท่านจงเหนียตค่อยๆในใจ ดังนั้น ผู้ใดที่ทำการเหนียตในใจของเขาในขณะที่ทำการตักบีร่อตุลเอี๊ยะหฺรอม โดยไม่ได้กล่าวคำเหนียตของเขาออกมานั้น แน่นอนว่า การละหมาดของเขาย่อมใช้ได้ และผู้ใดที่ทำการกล่าวคำเหนียตก่อนจากการตักบีรเล็กน้อยนั้น แน่นอนว่า การละหมาดของเขาย่อมใช้ได้เช่นเดียวกัน

ซึ่งแตกต่างกับมัซฮับของวะฮาบีย์ ที่กล่าวว่า การกล่าวคำเหนียตนี้ เป็นสิ่งที่หะรอม เป็นบิดอะฮ์ที่น่าตำหนิและลุ่มหลง ทำแล้วตกนรก โดยพวกเขาอ้างว่า ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยกระทำ หรือ ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทิ้งการกระทำดังกล่าวนั้น ซึ่งเป็นการอ้างหลักฐานที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากการที่ท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้กระทำ หรือทิ้งการกระทำนั้น ย่อมไม่ชี้ถึงหะรอม ต้องห้าม เนื่องจากสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ละทิ้งและเป็นสิ่งที่ต้องห้ามนั้น คือต้องมีหลักฐานที่มาระบุห้ามเป็นการเฉพาะเจาะจง ซึ่งเราก็ได้อธิบายเกี่ยวกับประเด็นนี้แล้ว ในภาคที่ 2 อัลหัมดุลิลลาห์

ดังนั้น การกล่าวคำเหนียตจะเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงไปได้อย่างไร? ในเมื่อมีหลักฐานยืนยันว่า ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทำการกล่าวคำเหนียตในบางส่วนของอิบาดะฮ์ต่างๆ เช่น ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กล่าวคำเหนียตโดยให้บรรดาซอฮาบะฮ์ได้ยิน ในขณะทำเอี๊ยะหฺรอมฮัจญฺว่า

لبيك بعمرة وحج

"ข้าพเจ้าได้สนองต่อพระองค์ ด้วยการทำอุมเราะฮ์และฮัจญฺ" (ดู ซ่อฮิหฺ มุสลิม เล่ม 2 หน้า 915 หะดิษที่ 215)

และวันหนึ่ง ท่านนบี(ซ.ล.) ได้เข้าไปหาท่านหญิงอาอิชะฮ์(ร.ฏ.) แล้วท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวโดยต้องการรับประทานอาหารว่า " ณ ที่พวกเธอนั้น มีสิ่งใด(ที่จะรับประทาน)บ้างใหม? ท่านหญิงอาอิชะฮ์ กล่าว" ไม่มี" ดังนั้น ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) จึงกล่าวว่า

فإنى إذن صائم

"แท้จริง งั้น ฉันก็ทำการถือศีลอด" (ดู ซอฮิหฺมุสลิม เล่ม 2 หน้า 809 หะดิษที่ 170)

ท่านอิมาม อันนะวาวีย์ (ร.ฏ.) (ผู้ที่พี่น้องวะฮาบีย์ เบื่อหน่ายในทัศนะของท่าน) กล่าวว่า " ในหะดิษนี้ เป็นหลักฐาน ให้กับมัซฮับของนักปราชญ์ส่วนมาก ที่ว่า การถือศีลอดสุนัตนั้น อนุญาติให้ทำการเหนียตตอนกลางวัน ก่อนจากดวงอาทิตย์คล้อยได้ " ( ดู ชัรหฺ ซอฮิหฺ มุสลิม เล่ม 8 หน้า 35)
เราขอกล่าวว่า การกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.) ที่ว่า

فإنى إذن صائم
"แท้จริง งั้น ฉันก็ทำการถือศีลอด"

ก็คือ การเหนียตถือศีลอด ตามความเห็นของนักปราชน์นั่นเอง คือ ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กล่าวออกมา โดยเจตนาทำการถือศีลอด

เมื่อท่านผู้อ่านได้เข้าใจสิ่งดังกล่าวมาแล้วนั้น เราก็จะพบว่า บรรดานักปราชญ์ได้ทำการเอา "การกล่าวคำเหนียตก่อนตักบีรร่อตุลเอี๊ยะหฺรอมนั้น ไปกิยาส(เทียบเคียง) กับการกล่าวคำเหนียตในฮัจญฺ และการถือศีลอด โดยมีเหตุผลร่วมกันที่ว่า ทั้งหมดนั้น เป็นอิบาดะฮ์ ที่จำเป็นต้องมีการเหนียต"

ท่าน ชัยค์ อับดุรเราะหฺมาน อัล-ญะซาอิรีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือฟิกห์มัซฮับทั้ง 4 ว่า

" สุนัตให้ทำการกล่าวคำเหนียตด้วยลิ้นของเขา(ผู้ที่ทำละหมาด) เช่น เขาได้กล่าวด้วยลิ้นของเขาว่า "ฉันละหมาดฟัรดูซุฮฺริ " เป็นต้น เพราะสิ่งดังกล่าวนั้น สามารถย้ำเตือนให้กับหัวใจ แต่หากเขาพลาดลิ้น ไปกล่าวว่า ฉันทำละหมาดอัสริ ก็ถือว่าไม่เป็นโทษแต่ประการใด เนื่องจากท่านทราบดีแล้วว่า สิ่งที่ถูกพิจารณาในการเหนียตนั้น คือเจตนาที่อยู่ในหัวใจ และการกล่าวคำเหนียตด้วยกับลิ้นเพียงอย่างเดียวนั้น ย่อมไม่ใช่เป็นการเหนียต แต่มันจะช่วยให้หัวใจมีการตื่นตัว (พร้อมในการทำการเหนียต) ดังนั้น การพลาดลิ้น ย่อมไม่มีโทษใดๆ ตราบใดที่การเหนียตในหัวใจนั้น มีความถูกต้อง และนี้ก็คือ หุกุ่ม ที่มีความสอดคล้องกันตามทัศนะของ มัซฮับชาฟิอีย์ยะฮ์ และมัซฮับหัมบาลีย์ (ว่าการกล่าวคำเหนียตเป็นสุนัต)

ส่วนมัซฮับของมาลิกีย์นั้น พวกเขากล่าวว่า " การกล่าวคำเหนียตนั้น ไม่ได้ถูกบัญญัติไว้ในละหมาด นอกจากเสียว่า ผู้ที่กระทำการละหมาด มีหัวใจที่ขาดสมาธิ ดังกล่าวนี้ มัซฮับมาลิกีย์ จึงกล่าวว่า การกล่าวคำเหนียตนี้ ไม่ต้องทำดีกว่าสำหรับผู้ที่จิตใจมีสมาธิแล้ว และถือว่า เป็นสุนัต สำหรับผู้ที่จิตใจยังขาดสมาธิ(ในการเหนียต) "

สำหรับมัซฮับหะนะฟีย์นั้น พวกเขากล่าวว่า " การกล่าวคำเหนียตเป็นบิดอะฮ์ แต่ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี หากทำไปเพื่อป้องกัน ความลังเล(วิสวัส)ขาดสมาธิ(ในการเหนียต) " ( ดู อัลฟิกหฺ อะลา อัลมะซาฮิบ อัลอัรบะอะฮ์ เล่ม 1 หน้า 171 ตีพิมพ์ ดารุลหะดิษ ไคโร )

จากสิ่งที่กล่าวมานี้ เราขอกล่าวว่า การเหนียตเจตนาทำอิบาดะฮ์ด้วยจิตใจที่มีสมาธินั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ศาสนาปราถนาต้องการ และการกล่าวคำเหนียตก็เป็นตัวช่วยย้ำเตือนจิตใจให้มีสมาธิในการเหนียต ดังนั้น การกล่าวคำเหนียตย่อมเป็นสิ่งที่ศาสนาส่งเสริมเช่นเดียวกัน ดังที่หลักการหนึ่งระบุไว้ว่า

ما لا يتم المطلوب الشرعى الا به فهو مطلوب شرعا

" สิ่งหนึ่ง ที่ถูกใช้ตามหลักศาสนาจะไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ด้วยกับมันนั้น แน่นอนว่า สิ่งนั้นย่อมถูกใช้ตามหลักศาสนาด้วยเช่นกัน"

เมื่อเป็นเช่นนี้ หากมีคนถามว่า การกล่าวคำเหนียตเป็นวายิบหรือไม่ ? เราขอตอบว่า "ไม่วายิบ" จะทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ แต่สำหรับผู้ที่ละหมาดโดยจิตใจยัง(วิสวัส) ว้าวุ่น ขาดสมาธิ ก็สมควรกล่าวคำเหนียตครับ

ข้อควรทราบ

การกล่าวคำเหนียตนั้น ไม่จำเป็นต้องกล่าวด้วยภาษาอาหรับเสมอไป เช่นกล่าวว่า "อุซ๊อลลี ฟัรฏ๊อซซุฮฺร..." แต่อนุญาติให้เรากล่าวเป็นภาษาไทยก่อนตักบีรเล็กน้อยว่า "ข้าพเจ้าละหมาดฟัรดูซุฮฺริ" ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว และก็ย่อมเป็นการดีอย่างยิ่ง เนื่องจากการเหนียตในใจของเรานั้น ก็เป็นภาษาไทยอยู่แล้ว และท่านผู้อ่านพึงทราบเถิดว่า การกล่าวคำเหนียต ไม่ใช่เป็นการกระทำในละหมาด แต่เป็นการกระทำก่อนละหมาด ดังนั้น ผู้ใดที่ทำการกล่าวคำเหนียตในละหมาด ก็ย่อมทำให้เสียละหมาดอย่างแน่นอน

พี่น้องวะฮาบีย์ทั้งหลายครับ สิ่งที่เราได้นำเสนอไปนั้น เพื่อที่จะให้พวกท่าน รู้ถึงหลักการของเรา ผมไม่ได้มีเจตนาที่จะให้พวกท่านมาทำเหมือนกับเราเลยแม้แต่น้อย อนึ่ง เรื่องการกล่าวคำเหนียตนี้ มันเป็นเพียงประเด็นข้อปลีกย่อยเล็กๆน้อยๆ ที่บรรดาปวงปราชน์มัซฮับทั้งสี่ได้ทำการวินิจฉัยเอาไว้ และการวินิจฉัยของพวกเขาเหล่านั้น ได้เน้นถึงเป้าหมายและเจตนารมณ์ของศาสนาในการทำอิบาดะฮ์ ซึ่งหากประเด็นข้อปลีกย่อยที่อยู่ในเชิงการวินิจฉัยของปวงปราชญ์นี้ ไปขัดแย้งกับทัศนะของพี่น้องวะฮาบีย์แล้ว การมีจิตใจกว้างขวาง ย่อมเป็นอุปนิสัยและแบบฉบับของสะละฟุศศอลิหฺ ชนผู้มีภูมิธรรม วัลลอฮุ อะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเสวนาเรื่องการกล่าวคำเหนียต(อุซ๊อลลี)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มี.ค. 17, 2007, 06:29 AM »
0
asan

น้อง al-farook กล่าวว่า
ดังนั้น ผู้ใดกล่าวว่า "ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ห้ามการกล่าวคำเหนียต " แน่นอนว่า เขาย่อมโกหกใส่ท่านนบี(ซ.ล.)
...........
ตอบ

คำพูดของน้อง ทำให้รู้สึกว่า บังไม่ควรจะมาหมกหมุนกับการโต้ตอบผ่านจอ ให้มากนัก เพราะเราเข้าใจ ไปคนละทางจริงๆ น้องเข้าใจว่า เรื่อง อิบาดะฮ ถ้านบีไม่ห้าม ถ้าเห็นว่าดีก็ถือว่าคิดขึ้นเองได้ ส่วนบังอะสันนั้น เชื่อว่า เรื่องอิบาดะฮในอิสลาม ต้องมาจากคำสอนของอัลลอฮและรอซูลของพระองค์เท่านั้น (รวมถึงแบบอย่างขอเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน) กล่าวคือ ต้องดูคำสั่งของอัลลอฮและอัสสุนนะฮ เป็นบรรทัดฐาน ดังหลักการที่ว่า

والعبادة مبناها على التوقيف والاتباع لا على الهوى والابتداع

และการอิบาดะฮนั้น ต้องวางอยู่บนหลักการที่ว่า รอคำสั่ง และปฏิบัติตาม ไม่ใช่ การใช้ความเห็นตามอารมณ์และ การอุตริขึ้นมาใหม่
كتاب الفتاوى الكبرى، الجزء 1،
صفحة 351
ถ้าอย่างนั้น ก็ขอจบเพียงแค่นี้ ขอให้โชคดี

al-farook

อ้างจากบังอะสัน

คำพูดของน้อง ทำให้รู้สึกว่า บังไม่ควรจะมาหมกหมุนกับการโต้ตอบผ่านจอ ให้มากนัก เพราะเราเข้าใจ ไปคนละทางจริงๆ น้องเข้าใจว่า เรื่อง อิบาดะฮ ถ้านบีไม่ห้าม ถ้าเห็นว่าดีก็ถือว่าคิดขึ้นเองได้

วิจารณ์

ไม่ใช่ครับอะสัน ผมไม่ได้คิดและเชื่อเอาเองว่า "เรื่องอิบาดะฮ์นั้น ถ้านบีไม่ห้าม หรือว่า เห็นดีก็ถือว่าคิดขึ้นเองได้" เรื่องอิบาดะฮ์นี้ เป็นเรื่องสำคัญ ผมคิดเอง เออเองไม่ได้หรอกครับ แต่ประเด็นที่ผมนำเสนอมานั้น มันเป็นการวินิจฉัยจากบรรดาปวงปราชญ์ นักมุจญฺฮิด ที่ทำการกิยาสและอิงไปยังคำไปการกระทำของท่านนบี(ซ.ล.) และพวกเขาได้วินิจฉัยโดยผ่านทางเจตนารมณ์และเป้าหมายของศาสนา โดยไม่ได้มีเจตนาจะสร้างความเสื่อมเสียให้กับศาสนาเลยแแม้แต่น้อย และพวกเขาไม่ได้วินิจฉัยสิ่งใดที่เป็นบิดอะฮ์และตามอมารมณ์โดยเรียกร้องเราสู่นรกเลย หากบังอะสันบอกว่ามันเป็นการกิยาส ย่อมไม่ได้ เราเองก็ได้อธิบายไปอย่างครบถ้วนแล้วในภาค 2 หากบังอะสันบอกว่า อิบาดะฮ์ต้องหยุดอยู่ที่คำสั่งเท่านั้น เราก็ได้อธิบายไปครบถ้วนแล้วในภาคที่สอง และพร้อมที่จะนำเสนอทบทวนได้อีกทุกเวลา ดังนั้น สิ่งที่ผมได้นำเสนอมานั้น ไม่ใช่คิดหุกุ่มเอาเองได้ แต่มันมีการอ้างอิงจากการวินิจฉัยของบรรดานักปราชญ์แทบทั้งสิ้น

และสิ่งที่บังอะสันเข้าใจนั้น ผมก็ไม่ได้ไปตำหนิในแนวทางของบังอะสันเลย คือให้เราเลือกเอา ใครไปบอกว่า หากไม่กล่าวคำเหนียต(หรืออุซ๊อลลีย์)นั้นไม่ได้ แบบนี้ผมขอตำหนิและเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากมันเป็นสิ่งที่ไม่วายิบแต่ประการใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนบ้านเราบางคน ที่เข้าใจว่า ต้อง่กล่าวอุศ๊อลลีย์ หากไม่กล่าวแล้วแบ่งแยกพวก อันนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง และในทางตรงกันข้าม การกล่าวว่าผู้กล่าวคำเหนียตนั้น ทำบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงถึงกับลงนรกนั้น ก็ไม่สมควรอย่างยิ่งเช่นเดียว การที่ต่างฝ่ายต่างเข้าใจในเรื่องศาสนาหรือเจตนารมณ์ของชาริอัตอิสลามนั้น เรื่องเล็กๆน้อยๆอย่างนี้ก็ไม่เกิดขึ้นอย่าแน่นอน แต่สำหรับตัวผมเองนั้น ผมจะไม่ค่อยกล่าวคำเหนียตสักเท่าไหร่ นอกจากว่า เวลาที่ผมเหนื่อยว้าวุ่นเกี่ยวกับภาระส่วนตัว เครียดกับการสอบการอ่านตำราที่ยากๆ หรืออ่านหนังสือไม่ทันในการสอบ ผมจะไม่ค่อยมีสมาธิมากนัก ผมก็จะทำการกล่าวคำเหนียต แต่ในยามปรกติ ยามที่จิตใจสงบนิ่ง ผมก็ไม่ทำการอ่านคำเหนียต เนื่องจากว่า การกล่าวคำเหนียตนั้น มันเป็นเพียงสุนัต ตามทัศนะที่ผมเลือกปฏิบัติครับ

ประเด็นในวันต่อไปก็เป็นเรื่องกาอ่านตัลกีนครับบังอะสัน บังอะสันจะอ้างอิงหลักฐานใดตามทัศนะของบัง ก็โปรดนำเสนอมาก่อนได้นะครับ หากรอผมนำเสนอก็อาจจะรอนานไม่ทันใจก็เป็นได้ แล้วผมจะทำการสนทนานำเสนอต่อไป อินชาอัลเลาะฮ์

แต่สำหรับประเด็นเรื่องการกล่าวคำเหนียตนี้ หากมีผู้ใดที่ต้องการจะชี้แจงเพิ่มเติมหรือจะสนทนาคัดค้าน โปรดสนทนาได้ต่อเรื่อยๆ เพราะยังไม่จบนะครับ เผื่อเราจะได้แนวคิดหรือหลักฐานอื่นๆมานำเสนอครับ

asan

น้อง al-farook กล่าวว่า
การอ้างหลักฐานของเราที่อยู่ในหลักการของศาสนา (ไม่ใช่ต้องอยู่ในการหลักของแนวทางวะฮาบีย์) เพื่อให้บังอะสันและพี่น้องวะฮาบีย์ทราบถึงเจตนารมณ์แนวทางของเราเท่านั้นเอง
...................................
ตอบ
ที่น้องพูดเช่นนี้ หมายความว่า แนวทางของผู้ที่น้องตั้งฉายาว่า ?พวกวะฮบีย์?นั้น ไม่ได้อยู่ในหลักการศาสนา เอาเถอะ..ไม่เป็นไร แนวทางของเราเกี่ยวกับเรื่องบทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง อิบาดะฮ นั้น เราได้กล่าวไว้แล้วว่า

الأصل في العبادات أنها محظورة إلا ما دل الدليل على كونها مشروعة ، قال تعالى : { أم لهم شركاء شرعوا لهم من الدين ما لم يأذن به الله

หลักเดิมในเรื่องอิบาดาตนั้น แท้จริงมันเป็น ข้อห้าม เว้นแต่สิ่งที่มีหลักฐานบ่งบอกว่ามัน มีบัญญัติใช้ให้กระทำ อัลลอฮ(ซ.บ)ตรัสว่า? หรือ พวกเขามีบรรดาภาคี บัญญัติศาสนาให้แก่พวกเขา สิ่งซึ่งอัลลอฮมิทรงอนุญาต ? อัชชูรอ/21
เกี่ยวประเด็นนี้รายละเอียด ก็ได้เคยนำเสนอไปแล้ว บังขอให้ผู้อ่านพิจารณาก็แล้วกันว่า มันเป็นหลักการศาสนาหรือไม่ และไม่ได้บังคับให้น้อง อัล-ฟารุกมาเชื่อตาม
..............

น้อง al-farook กล่าวว่า
บังอะสันยึดคำพูดของอุลามาอ์ปัจจุบัน โดยกล่าวกับเราว่า การคิดว่าอุลามาอ์ยุคก่อนเก่งกว่า อุลามาอ์ยุคปัจจุบันนั้น เป็นความคิดที่โบราณ !!! แต่ในบางประเด็น บังอะสันพยายามคาดคั้นให้เรายึดแนวทางของอุลามาอ์ยุคก่อน!!
.................
ตอบ
ประเด็นนี้ ก็เคยบอกแล้วว่า บังไม่ได้ยึดเอาอุลามาอ เก่า- ใหม่ เป็นบรรทัดฐาน แต่ดูว่า เขาใช้อะไรเป็นหลักฐานมาสนับสนุนทัศนะของเขา และเคยบอกแล้วว่า การตามอุลามาอ ไม่เหมือนการตามท่านรอซูล การตามอุลามาอ ต้องมีหลักฐาน ดังที่อิหม่ามชาฟิอีย์กล่าวว่า
[ليس لأحد دون الرسول صلى الله عليه وسلم أن يقول إلا بالاستدلال. ولا يقول بما استحسن، فإن القول بما استحسن شيء يحدثه لا على مثال سبق] ص (25) الرسالة

ไม่อนุญาตให้บุคคลใดอื่นจากท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ต่อการที่เขาจะกล่าวอ้าง เว้นแต่ต้อง อ้างอิงหลักฐาน และเขาจะไม่กล่าวด้วยสิ่งที่เขาเห็นว่าดี แท้จริง การกล่าวอ้าง ด้วยสิ่งที่เขาเห็นว่าดีนั้น คือ สิ่งที่ถูกประดิษฐขึ้นใหม่โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน - อัรริสาละฮ หน้า 25
และท่านอิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวไว้อีกว่า
ولو جاز لأحد الاستحسان في الدين لجاز ذلك لأهل العقول من غير أهل العلم ولجاز أن يشرع في الدين في كل باب وأن يخرج كل أحد لنفسه شرعاً

และถ้าหากว่า อนุญาตให้คนใดก็ได้ เห็นดี(คือคิดการบิดอะฮตามที่ตนเห็นว่าดี) ในศาสนา แน่นอน เรื่องดังกล่าว ย่อมอนุญาตให้ ผู้ที่มีความฉลาด ที่ไม่ใช่ผู้มีความรู้ บัญญัติศาสนาขึ้นมาในทุกเรื่อง โดยทุกๆคนจะออกบัญญัตขึ้นมาให้แก่ตัวเอง-
ดูอิรชาดุ้ลฟุหูล หน้า 240

ท่านอิบนุหัซมิน(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า
[الحق حق وإن استقبحه الناس، والباطل باطل وإن استحسنه الناس، فصح أن الاستحسان شهوة، واتباعُ للهوى وضلال، وبالله تعالى نعوذ من الخذلان] (196/2) من الإحكام في أصول الأحكام

ความจริง คือ ความจริง แม้ว่า ผู้คนจะเห็นว่า ไม่ดีก็ตาม และ ความเท็จ คือ ความเท็จ แม้ว่าผู้ คนจะเห็น ว่าดีก็ตาม ดังนั้น ที่ถูกต้องคือ การ คิดเห็นว่าดี นั้น คือ ตัณหา คือ การตามอารมณ์ และเป็นการหลงผิด เราขอความคุ้มต่ออัลลอฮ ให้พ้นจากความผิดหวังทั้งหลายด้วยเถิด - อัลอะหกาม ฟีอุศูลุ้ลอะหกาม เล่ม 2 หน้า 196
.............................................
บังอะสัน มีจุดยืนของบังอย่างนี้ น้องว่า ไม่ใช่หลักการอิสลามก็ไม่เป็นไร อินชาอัลลอฮ วันนี้ต้องเดินทางไปบรรยา สองแห่ง กลับดึก แล้วจะมาตอบ การที่น้องอ้างหลักฐานเรื่อง การกล่าวคำเนียต ซึ่งบังนึกไม่ถึงว่า ทำไมน้องจึงอ้างหลักฐานอย่างนั้น
อย่างไรก็ตาม ขอให้เราผูกมิตรกันไว้เถิดนะครับ ถึงแม้จะทัศนะแตกต่างก็ตาม

ปล. สำหรับน้อง konyakroo หากยังทำใจไม่ได้ และคิดว่า บังอะสัน ไม่น่านับถือ ก็ขอร้อง อย่าได้มาตอบข้อความของบังอะสันเลยนะครับ ปล่อยให้บังสนทนากับน้องอัลฟารุกและน้องอัลอัชอารีย์ก็แล้วกัน ส่วนบังนั้นอโหสิ ครับ ขอร้องครับ

al-farook

อ้างข้อความจากบังอะสัน

ที่น้องพูดเช่นนี้ หมายความว่า แนวทางของผู้ที่น้องตั้งฉายาว่า ?พวกวะฮบีย์?นั้น ไม่ได้อยู่ในหลักการศาสนา เอาเถอะ..ไม่เป็นไร

วิจารณ์

คำว่า "แนวทางของวะฮาบีย์" นั้น ไม่ใช่หมายความว่า เป็นแนวทางอิสลาม หรือ ไม่ใช่แนวทางอิสลาม แต่เป็นการเรียกแนวทางในหลักการหรือการยึดวิธีการอ้างหลักฐาน มันก็เหมือนกับที่เราพูดว่า นี่ แนวทาง(มัซฮับ) หะนะฟีย์ นี่คือ แนวทาง(มัซฮับ)ของมาลิกีย์ ซึ่งในขณะเดียวกันนั้น เราก็ไม่ได้หมายความว่า แนวทางของหะนะฟีย์และมาลิกีย์ ไม่ใช่แนวทางของอิสลาม

al-farook

อ้างข้อความจากบังอะสัน

กล่าวคือ ต้องดูคำสั่งของอัลลอฮและอัสสุนนะฮ เป็นบรรทัดฐาน ดังหลักการที่ว่า

والعبادة مبناها على التوقيف والاتباع لا على الهوى والابتداع

และการอิบาดะฮนั้น ต้องวางอยู่บนหลักการที่ว่า รอคำสั่ง และปฏิบัติตาม ไม่ใช่ การใช้ความเห็นตามอารมณ์และ การอุตริขึ้นมาใหม่
كتاب الفتاوى الكبرى، الجزء 1،
صفحة 351

และบังอะสันพูดอีกว่า
แนวทางของเราเกี่ยวกับเรื่องบทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง อิบาดะฮ นั้น เราได้กล่าวไว้แล้วว่า

الأصل في العبادات أنها محظورة إلا ما دل الدليل على كونها مشروعة ، قال تعالى : { أم لهم شركاء شرعوا لهم من الدين ما لم يأذن به الله

หลักเดิมในเรื่องอิบาดาตนั้น แท้จริงมันเป็น ข้อห้าม เว้นแต่สิ่งที่มีหลักฐานบ่งบอกว่ามัน มีบัญญัติใช้ให้กระทำ อัลลอฮ(ซ.บ)ตรัสว่า? หรือ พวกเขามีบรรดาภาคี บัญญัติศาสนาให้แก่พวกเขา สิ่งซึ่งอัลลอฮมิทรงอนุญาต ? อัชชูรอ/21
เกี่ยวประเด็นนี้รายละเอียด ก็ได้เคยนำเสนอไปแล้ว บังขอให้ผู้อ่านพิจารณาก็แล้วกันว่า มันเป็นหลักการศาสนาหรือไม่ และไม่ได้บังคับให้น้อง อัล-ฟารุกมาเชื่อตาม


วิจารณ์

แน่นอนครับบังอะสัน เรื่องหลักการและหลักวินิจฉัยนี้ เราไม่บังคับกันให้ดำเนินตาม แต่บังอะสันก็ยังคงยกมาเพื่อจะให้ผู้อ่านพิจารณา ดังนั้น มันจึงหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่ ผมจะต้องยกมาชี้แจงให้ผู้อ่านพิจารณาด้วยอีกครั้ง โดยที่ผมไม่ได้บังคับให้บังอะสันมาเชื่อตาม (การนำเสนอต่อไปนี้ เป็นการทบทวนสิ่งที่พวกเราได้นำเสนอมา หากมีการพาดพิงและผมได้ตัดข้อความที่พาดพิงไม่หมด ก็ขอมะอัฟไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ)

ผมขอยกอ้างความเข้าใจหลักการก่อนจากนั้นของ ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ที่บังอะสันชื่นชอบมากกว่าความเข้าใจของซอฮาบะฮ์ สักนิด เพื่อขจัดความบิดบังซ่อนเร้นต่อผู้อ่าน คือดังนี้

لا ريب أن الأذكار والدعوات من أفضل العبادات والعبادات مبناها علي التوقيف والاتباع لا علي الهوى والابتداع

"ไม่ต้องสงสัยว่า แท้จริง บรรดาซิกิร และบรรดาดุอาอ์นั้น เป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาอิบาดะฮ์ที่เลอเลิศ และบรรดาอิบาดะฮ์นั้น โครงสร้างของมัน ต้องอยู๋บนคำสั่ง และทำการปฏิบัติตาม ไม่ใช่ปฏิบัติตามอารมณ์ และ การอุตริขึ้นมาใหม่" ฟัตวา กุบรอ เล่ม 1 หน้า 351 ของอิบนุตัยมียะฮ์

คำว่า التوقيف นี้หมายถึง "ต้องเป็นการสอนสั่งจากท่านนบี(ซ.ล.)โดยจะเพิ่มมันขึ้นมาไม่ได้ นอกจากต้องมีหลักฐานจากท่านนบี(ซ.ล.)"

บังอะสันครับ พอเวลาพูดล่ะพูด บอกว่า ต้องเอาอัลกุรอานและซุนนะฮ์มาเป็นมาตรฐาน แต่เวลาพูดกันจริงๆ บังอะสันกลับเอาความเห็นจาก"หลักการ" ของ ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ มาเต็มๆ และยังไม่พอ บังอะสันยังยึดมั่นมันด้วยฟันกราม โดยบังอะสันพูดว่า "เรื่องอิบาดะฮ์ ต้อง อยู่ภายใต้หลักการ(ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์)ที่ว่า ..." หลักการของซอฮาบะฮ์ในเรื่องการปฏิบัติอิบาดะฮ์นั้น บังอะสันไม่สน แต่พอคำกล่าวของอิบนุตัยมียะฮ์ละก็ บังอะสันบอกว่า "ต้องกระทำ" ผมไม่ทราบว่า ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ไปมีความสำคัญมากกว่าบรรดาซอฮาบะฮ์ตั้งแต่เมื่อไหร่ จนกระทั้งบังอะสันยึดหลักการของเขาซ่ะสุดโต่ง โดยไม่ยอมฟังใคร แม้กระทั้งหลักการของท่านอิบนุตัยมียะฮ์นั้น มันไม่ได้อยู่ตามหลักความเข้าใจของซอฮาบะฮ์ ท่านอิบนุอุมัร(ร.ฏ.) ได้เพิ่มตะชะฮุด โดยไม่ได้รอและไม่มีคำสั่งจากท่านนบี(ซ.ล.) ท่านอิบนุอุมัรได้ ทำการเพิ่ม การกล่าวตัลบียะฮ์ ว่า لبيك وسعديك ، والخير بيديك لبيك (รายงานโดยมุสลิม) โดยไม่ได้มีหลักฐานจากท่านนบี(ซ.ล.) ท่านอิบนุมัสอูดทำการเพิ่มตะชะฮุด โดยไม่ได้รอและไม่มีคำสั่งจากท่านนบี(ซ.ล.) ท่านบิลาล(ร.ฏ.) ได้ทำการคิดวินิจฉัยอิบาดะฮ์โดยการละหมาด 2 ร่อกะอัต หลังอาบน้ำละหมาด โดยที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้สั่งสอนให้กระทำ และ โดยที่ท่านนบี(ซ.ล.)ยังไม่ได้ให้การยอมรับ อัลเลาะฮ์ก็รับรองให้เข้าสวรรค์เสียแล้ว ซอฮาบะฮ์ท่านหนึ่งได้ กล่าวซิกิรหนึ่งขึ้นมาในละหมาดโดยที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้สั่งไม่ได้สอนไว้ ท่านนบี(ซ.ล.)ยังไม่ทันยอมรับเลย บรรดามะลาอิกะฮ์ ก็แย่งกันบันทึกเสียแล้ว ท่านค่อบีบ ได้คิดอิจญฺฮาดขึ้นมาเอง กับการละหมาดสองรอกะอัต ก่อนถูกสั่งสังหาร โดยที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้สอนสั่งให้กระทำ ใหนละครับ บังอะสัน หลักการที่ท่านอิบนุตัยมียะฮ์บอกว่า "อิบาดะฮ์ ต้องวางอยู่บนหลักการที่ว่า รอคำสั่ง และปฏิบัติตาม" ทั้งที่ซอฮาบะฮ์คือบุคคลที่เข้าใจหลักการศาสนาของอัลเลาะอ์ และคำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.)มากกว่าผู้อื่นจากพวกเขา และบรรดาซอฮาบะฮ็ก็ไม่ได้เข้าใจเหมือนกับหลักการของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ แต่บังอะสันกลับยึดติดมันซ่ะเหนียวแน่น แต่ความเข้าใจของซอฮาบะฮ์นั้น บังอะสันกลับละเลย ไม่ยอมใส่ใจ เพราะท่านอิบนุตัยมียะฮ์ คือคนในดวงใจของบังอะสัน.........แต่ซอฮาบะฮ์ฉันไม่ขอสนใจ ว่างั้นเถอะ

ดังนั้น หลักการของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ที่บังอะสันยึดมันด้วยฟันกรามนี้ กลับไปหุกุ่มบรรดาซอฮาบะฮ์โดยทางอ้อมอย่างไม่ได้สงสัย และวะฮาบีย์ทั้งหลาย หนึ่งในนั้นคือ บังอะสัน ก็นำหลักการของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ที่ไม่ใช่สะลัฟ ได้บัญญัติ มันขึ้นมา แล้วก็นำมาหุกุ่มที่น้องมุสลิม ว่าทำบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง ตกนรก อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า

أم لهم شركاء شرعوا لهم من الدين ما لم يأذن به الله

"หรือว่าให้กับพวกเขา มีบรรดาผู้ร่วมกัน บัญญัติ ให้กับพวกเขา จากเรื่องศาสนา กับสิ่งที่อัลเลาะฮ์มิได้ทรงอนุญาติกับมันกระนั้นหรือ?"

แล้วการบัญญัติหลัการ ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ที่ขัดกับความเป็นจริง และขัดกับเข้าใจของบรรดาซอฮาบะฮ์นั้น มันเข้าอยู่ในอายะฮ์นี้หรือเปล่าครับบังอะสัน ?

อย่างผมได้กล่าวกับบังอะสันไปแล้ว ถึงการอนุญาติให้ทำการอ่านดุอาอ์หลังการอ่านตะชะฮุด ตามที่เราเลือกจะอ่านตามที่เราต้องการจะขอ ท่านอิบนุมัสอูด ได้รายงานจากท่านนบี(ซ.ล.)ว่า

ثم يتخير بعد من الدعاء

"หลังจากนั้น ให้เขาเลือก ขอดุอาอ์ หลังจากตะชะฮุด" (รายงานโดยบุคคอรีย์ และ มุสลิม)

หากผมจะถามบังอะสันว่า หากมีคนหนึ่งได้ทำการ อ่านดุอาอ์หนึ่งที่เขาได้แต่งขึ้นตามที่เขาต้องการ หรือประทับใจ หลังตะชะฮุด เป็นประจำ โดยคำสั่งของท่านนบี(ซ.ล.)แบบกว้างๆนี้ เขาย่อมเป็นผู้ที่ทำบิดอะฮ์หรือไม่ ? บังอะสันก็ต้องตอบว่า ไม่ เพราะท่านนบี(ซ.ล.)ได้สั่งไว้อย่างนั้นแบบกว้างๆ ผมก็ขอกล่าวว่า บังอะสัน การดุอาอ์นั้น เป็นเรื่อง อิบาดะฮ์ ต้อง علي التوقيف ได้รับคำสั่งจากท่านนบี(ซ.ล.) โดยท่านนบี(ซ.ล.) ได้บัญญัติกล่าวดุอาอ์นั้นไว้ให้เจริญตามแก่เรา ตาม القاعدة หลักการของ ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ของบังอะสัน แต่บังอะสันก็บอกย้ำว่า เพราะท่านนบี(ซ.ล.)ได้บอกไว้แบบกว้างๆ ซึ่งเราสามารถกำหนดดุอาอ์ขึ้นมาได้ ผมก็ขอกล่าวว่า เมื่อคำสั่งอยู่ในรูปแบบที่กว้างๆนี้ แล้วทำไมวะฮาบีย์และบังอะสันถึง ได้หุกุ่มกับพวกเรา ที่ทำการกระทำอิบาดะฮ์ในรูปกว้างๆ ที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้บอกเอาไว้ ซึ่งมันจะอยู่ในประเด็นข้อปลีกย่อยที่เราจะนำมากล่าวต่อไป อินชาอัลเลาะฮ์

ดังนั้น สิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ใช้เราแบบ التوقيف บอกคำสั่งเจาะจงเอาไว้ เราก็จะทำตามที่ท่านร่อซูลได้ทำมันเอาไว้ แต่หากท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทำการออกคำสั่งแบบ الإطلاق กว้างๆเอาไว้ เราก็จะทำมันในรูปแบบกว้างๆ ตามที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้เปิดโอกาสแก่เรา

ดังนั้น หลักฐานของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ที่มาสนับสนุน หลักการ ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ทที่ได้ บัญญัติขึ้นมาเองในศาสนา นั้น มันไม่ได้ตรงความเป็นจริง ที่ท่านนบี(ซ.ล.) เข้าใจ เช่น มีบรรดาซอฮาบะฮ์ ได้กระทำอิบาดะฮ์ ที่ท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้ใช้ แต่ท่านนบี(ซ.ล.) ก็ไม่ได้ปฏิเสธ และตำหนิว่า " ทำไม ท่านไม่ปฏิบัติ แต่สิ่งที่ฉันได้สั่งไว้เท่านั้น ทำไมถึงทำขึ้นมาเอง " แต่ท่านนบี(ซ.ล.)กลับให้การยอมรับ และก่อนจากท่านนบี(ซ.ล.) จะให้การยอมรับนั้น บรรดามะลาอิกะฮ์แย่งกันบันทึกคุณงามความดีนั้นแล้ว และอัลเลาะฮ์ก็รับรองซอฮาบะฮ์ว่าได้เข้าสวรรค์ก่อนที่ท่านนบี(ซ.ล.) ยอมรับเสียอีก สาเหตุที่ซอฮาบะฮ์ทำอย่างเป็นอย่างนั้น ผมก็อธิบายไปแล้ว และก็ไม่ได้ถูกหักล้าง

หลังจากท่านนบี(ซ.ล.)เสียชีวิตแล้วนั้น บรรดาซอฮาบะฮ์บางท่านได้ทำการเพิ่ม ตะชะฮุด บางท่านทำการเพิ่มการอ่านตัลบียะฮ์ฮัจญี โดยไม่ได้เข้าใจว่า "ทุกสิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง" คือบรรดาซอฮาบะฮ์ไม่ได้เข้าใจตามที่พี่น้องวะฮาบีย์เข้าใจ

และ อัล-กออิดะฮ์ " หลักเดิมของอิบาะฮ์นั้นห้าม " นั้น บรรดาซอฮาบะฮ์ ก็ไม่ได้มีความเข้าใจเหมือนกับบังอะสันและพี่น้องวะฮาบีย์ ซึ่งหากเรายึดหลักการของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ที่ได้ บัญญัติขึ้นมาเองในศาสนา หรือหลักการเกี่ยวกับเรื่องอิบาดะฮ์ที่พี่น้องวะฮาบีย์เข้าใจนั้น บรรดาซอฮาบะฮ์ถูกหุกุ่มโดยทางอ้อมจากแนวทางวะฮาบีย์อย่างไม่ต้องสงสัย ซุบหานัลลอฮ์ !!


أم لهم شركاء شرعوا لهم من الدين ما لم يأذن به الله

"หรือว่าให้กับพวกเขา มีบรรดาผู้ร่วมกัน บัญญัติ ให้กับพวกเขา จากเรื่องศาสนา กับสิ่งที่อัลเลาะฮ์มิได้ทรงอนุญาติกับมันกระนั้นหรือ?"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มี.ค. 21, 2007, 03:14 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเสวนาเรื่องการกล่าวคำเหนียต(อุซ๊อลลี)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มี.ค. 17, 2007, 06:34 AM »
0
al-farook

อ้างจากบังอะสัน

เรื่อง เรื่องศาสนา หมายถึง กิจการทางศาสนาที่เกี่ยวการประกอบศาสนกิจ (อิบาดะฮ) มีหลักอยู่ว่า

الأصل في العبادات أنها محظورة إلا ما دل الدليل على كونها مشروعة ، قال تعالى : { أم لهم شركاء شرعوا لهم من الدين ما لم يأذن به الله

หลักเดิมในเรื่องอิบาดะฮนั้น มันถูกห้ามมิให้กระทำ นอกจากสิ่งที่มีลักฐาน แสดงบอกว่า มีบัญญัติใช้ให้กระทำ ดังที่อัลลอฮ(ซ.บ)ตรัสว่า ? หรือพวกเขามีบรรดาภาคี บัญญัติศาสนาให้แก่พวกเขา สิ่งซึ่งอัลลอฮมีทรงอนุญาต ด้วยมัน

วิจารณ์

หลักการนี้ คือเรื่องอิบาดะฮ์หลักๆ เช่นการละหมาด เพิ่มเป็น 6 เวลาไม่ได้ ทำฮัจญฺในเดือนอื่นจาก เดือนฮัจยีไม่ได้ ถือศีลอดวายิบอื่นจากเดือนร่อมาดอนไม่ได้ แน่เรื่องบิดอะฮ์หะสะนะฮ์(หรือซุนนะฮ์หะสะนะฮ์)นั้น ก็อยู่ภายใต้กรอบและหลักฐานของศาสนาเช่นเดียวกัน ดังนั้น หลักการที่บังอะสันอ้างอิงมานั้น มันอยู่ในประเด็นของบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง ที่ไม่มีรากฐานและหลักฐานมาจากศาสนา ไม่ใช่บิดอะฮฺหะสะนะฮ์ที่อยู่ในกรอบของหลักการและหลักฐานของศาสนา บังอะสันลองมาเข้าใจการกระทำของซอฮาบะฮ์ ว่ามันขัดกับหลักการของบังอะสันที่อ้างอิงมาหรือเปล่า?
ท่านอบูดาวูด ได้นำเสนอรายงาน จากท่าน อิบนุอุมัร ซึ่งท่านอิบนุอุมัรได้รายงาน การอ่านตะชะฮุด ของท่านนบี(ซ.ล.) ว่า

التحيات لله الصلوات الطيبات السلام عليك أيها النبى ورحمة الله وبركاته - قال إبن عمر : زدت فيها : ( وبركاته وأشهد أن محمدا عبده ورسوله

ดู หนังสืออธิบายสุนันของท่านอบีดาวูด ที่ชื่อว่า บัซฺลุลมัจญฺฮูด เล่ม 5 หน้า 293 - 294

ท่านผู้อ่านโปรดทำความเข้าใจกับเราดังนี้ครับ "ท่านอิบนุอุมัร(ขอโปรดพระองค์อัลเลาะฮ์ทรงพึงพอพระทัยต่อเขาและบิดดาของเขาและประทานความพึงพอพระทัยต่อเขาและบิดาของเขาด้วยเถิด) ได้ทำการรายงาน การอ่านตะฮียาตของท่านนบี(ซ.ล.)ซึ่งมันเป็นเรื่องอิบาดะฮ์ แต่ท่านอิบนุอุมัร ผู้ที่เป็นซอฮาบะฮ์ที่เคร่งครัดในการเจริญรอยตามท่านนบี(ซ.ล.)อย่างมากท่านหนึ่งจากบรรดาซอฮาบะฮ์ แต่ท่านอิบนุอุมัร ก็ทำการเพิ่มเรื่องอิบาดะฮ์มาจากตัวท่านเอง เช่นท่านอุมัรกล่าวว่า "ฉันเพิ่มในตะฮียาดกับคำว่า "วะบะรอกาตุฮู" และฉันเพิ่มคำว่า "วะหฺดะฮู ลา ชะรีกะละฮ์" ซึ่งเพิ่มเข้ามา โดยที่ไม่มีหลักฐานที่นบีสั่งใช้ การกระทำของท่านอิบนุอุมัรนี้

1. เป็นการเพิ่มเติมศาสนาและวางบทบัญญัติขึ้นมาใหม่ไหมครับ?

2. มันเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงเพราะท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยทำไหมครับ?

3. แล้วมันเป็นการเพิ่มเติมที่เป็นการกระทำขึ้นมาใหม่ไหมครับ?

4. แล้วสิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่นั้น ภาษาอาหรับเขาเรียกว่า "บิดอะฮ์" ไหมครับ?

5. แล้วทำไมท่านอิบนุอุมันจึงเพิ่มมันขึ้นมาเอง หรือว่ามันเป็นกระทำขึ้นมา"ที่ดี" เพราะอยู่ในกรอบศาสนา?

และนั่นคือความเข้าใจของท่านอิบนุอุมัรนั้น ก็คือ สิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้กระทำ ก็ย่อมไม่ถือว่าหะรอม นั่นคือความเข้าใจของซอฮาบะฮ์ ไม่ใช่ความเข้าใจของอุลามาอ์พี่น้องวะฮาบีย์!!!

ดังนั้น หลักการ القاعدة ที่บังอะสันยกมานั้น กรุณาอย่าลามปามถึงเรื่อง "บิดอะฮ์หะสะนะฮ์" (หากบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงนั้นไม่เป็นไร) ซึ่งหากบังอะสันเอาหลักการนั้น รวมถึงบิดอะฮ์หะสะนะฮ์แล้ว ท่านอิบนุอุมัร โดนเต็มๆเลยครับ วัลอิยาซุบิลลาห์ (ขออัลเลาะฮ์ทรงเมตตาและพึงพอพระทัยแด่ท่านอิบนุอุมัร และบิดาของท่าน คือท่านซัยยิดินาอุมัรด้วยเถิด และโปรดให้ทั้งสองพ้นจากหลักการโดยทางอ้อมของพี่น้องวะฮาบีย์ด้วยเถิด ยาร๊อบ)

อ้างจากบังอะสัน

มาดูหลักการในเรื่องอิบาดะฮ

أن العبادات مبناها على الشرع والاتباع، لا على الرأي والاستحسان والابتداع

แท้จริง การอิบาดะฮนั้น ต้องวางอยู่บน บทบัญญัติ และการปฏิบัติตาม ไม่ใช่ความเห็น ไม่ใช่คิดว่าดี และไม่ใช่การอุตริขึ้นมาใหม่

วิจารณ์

บังอะสันครับ บรรดาซอฮาบะฮ์มีเป็นแสนก็จริง แต่ซอฮาบะฮ์ที่อยู่ในระดับ ผู้วินิจฉัยได้นั้น มีประมาณ 130 คน (เกล็ดความรู้ครับ ผู้อ่านสมควรจำ) แล้วการวินิจฉัยของซอฮาบะฮ์ กับอิบาดะฮ์ที่อัลกุรอานและซุนนะฮ์ไม่ได้บอกไว้นั้น ก็คือสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ยอมรับด้วย ซอฮาบะฮ์บางท่าน กระทำอิบาดะฮ์ขึ้นมาเองโดยอ่านซิกิรในละหมาด และท่านนบี(ซ.ล.)ยังไม่ทันให้การยอมรับเลย บรรดามะลาอิกะฮ์ก็แย่งกันบันทึกความดีเสียแล้ว ท่านบิลาล ได้ทำการกำหนดเวลาละหมาด สองร่อกะอัต เป็นประจำหลังอาบน้ำละหมาด และนบี(ซ.ล.)ยังไม่ให้การยอมรับเลย แต่อัลเลาะฮ์รับรองได้เข้าสวรรค์เสียแล้ว ท่านค่อบีบ ได้ทำการทำละหมาดสองร่อกะอัต ก่อนถูกประหาร ขึ้นมาเอง ท่านอิบนุอุมัร ได้ทำการเพิ่มเติมการอ่านตะชะฮุด ท่านอิบนุ มัสอูด ได้ทำการเพิ่มเติมตะชะฮุดขึ้นมาเอง แล้วแบบนี้ พวกเขาได้ชื่อว่าเป็นพวกที่ตั้งภาคี และกำหนดศาสนาขึ้นมาเองหรือไม่? และเป็นอิบาดะฮ์ที่มมุษย์คิดขึ้นมาเองหรือไม่? มาชาอัลเลาะฮ์.... ดูเหมือนว่าหลักการของบังอะสันจะดี ที่ยกอายะฮ์ที่ถูกประทานแก่พวกกาเฟร มาอ้างพาดพิงกับเรา แต่เหมือนว่า จะโดนกับซอฮาบะฮ์เต็มๆ วัลอิยาซุบิลลาห์ !! หรือว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ไม่เข้าใจ อายะฮ์ดังกล่าวนั้น ถึงต้องเพิ่มในสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้ใช้ หรือว่า ซอฮาบะฮ์ อย่างท่าน ค่อบีบ ท่านอิบนุอุมัร ท่านอิบนุมัสอูดได้ทำอิบาดะฮ์ โดย ไม่ได้อยู่ บนหลักศาสนา على الشرع ไม่ได้อยู่บนการเจริญรอยตาม الاتباع แต่พวกเขาทำอิบาดะฮ์ขึ้นมา โดยใช้ความเห็น الرأي และคิดเองว่ามันเป็นสิงที่ดี الاستحسان หรือว่า ทำการอุตริกรรม الابتداع ในสิ่งที่ อัลกุรอานและซุนนะฮ์ไม่ใด้ใช้ ???

" รายงานจาก ท่านอัชชะอฺบีย์ เขากล่าวว่า ท่านอิบนุมัสอูด ได้กล่าวหลังจากอ่าน السلام عليك أيها النبي ورحمة الله وبركاته‏ (โดยเพิ่ม) ว่า السلام علينا من ربنا‏ " รายงานโดยท่าน อัฏฏ๊อบรอนีย์ ไว้ใน มั๊วะญัมอัลกะบีร และบรรดานักรายงานของท่านอัฏฏ๊อบรอนีย์นั้น เป็นนักรายรายที่ซอเฮี๊ยะหฺ (ดู มัจญฺมะอฺ อัลซะวาอิด ของท่าน อัลฮัยษะมีย์ หะดิษที่ 2863)

บังอะสันครับ ท่านอิบนุมัสอูดเพิ่มด้วยครับ และอย่าลืมผ่านด่าน ในกรณีของท่านอิบนุมัสอูดด้วยนะครับ แค่ซอฮาบะฮ์คนเดียวก็เพียงพอสำหรับความเข้าใจชองเราแล้วล่ะครับ ฮ่า ฮ้า


และที่สำคัญ พวกเขาไม่เข้าใจคำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.) ที่ว่า "ทุกๆบิดอะฮ์(ในศาสนา) นั้นลุ่มหลง" ดอกหรือ? ถึงได้อุตริทำอิบาดะฮ์ขึ้นมา หรือว่า การกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมาใหม่ที่อยู่ในหลักการศาสนาทั่วไป คือสิ่งที่ดีและกระทำตามความเข้าใจของซอฮาบะฮ์

แล้วหลักการของบังอะสันที่ยกมานั้น เอาความเห็นมาจากใคร ? และเป็นหลักการของซอฮาบะฮ์หรือไม่? และความเข้าใจของซอฮาบะฮ์จริงๆนั้น มันเป็นอย่างไร? ซึ่งผมก็ได้อธิบายไปแล้ว เกี่ยวกับเรื่อง ซุนนะฮ์ ตักรีรียะฮ์ อัลหัมดุลิลลาห์

al-farook

ท่านผู้อ่านครับ บังอะสันคิดว่า บิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น คือ การทำกระเพิ่มเติมศาสนา คิดว่ามันเป็นการกระทำอิบาดะฮ์ที่ไม่มี أصل ที่มา จึงทำการฮุกุ่ม กับบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ เกี่ยวกับอิบาดะฮ์ ที่สะลัฟได้แบ่งไว้ อย่างวอดวาย ว่ามัน เป็น "บิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง" โดยยึด القاعدة จากบรรดาอุลามาอ์ที่ว่า

الأصل في العبادات أنها محظورة إلا ما دل الدليل على كونها مشروعة

"แรกฐานเดิมในเรื่องอิบาดะฮนั้น มันถูกห้ามมิให้กระทำ นอกจากสิ่งที่มีลักฐาน แสดงบอกว่า มีบัญญัติใช้"

หรือพูดอีกสำนวนหนึ่งจากอุลามาอ์ที่ว่า

الأصل في العبادة التوقف أو التحريم

"แรกฐานเดิมในเรื่องอิบาดะฮ์นั้น คือการหยุด หรือห้าม (ปฏิบัติจนกระทั้งมีหลักฐานที่มาบัญญัติ)"

แล้วบังอะสัน ก็เข้าใจ ไปว่า บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็รวมอยู่ใน อิบาดะฮ์ที่ไม่มีที่มา หรือหลักฐานมาบัญญัติ จึงหุกุ่มมันเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงทั้งหมด ทั้งที่บรรดาซอฮาบะฮ์ที่ยึดมั่นและเคร่งครัดในการเจริญรอยตามท่านนบี(ซ.ล.) ก็ไม่ได้เข้าใจอย่างบังวะฮาบียและบังอะสัน แล้วความเข้าใจอย่างถูกต้องการ القاعدة นี้นั้น มันคืออะไรกัน ซึ่งความจริงแล้ว ความหมายของมันก็คือ

أنه لا يجوز التقرب إلى الله تعالى بعمل ليس له مستند شرعي.

"ไม่อนุญาติให้ทำการสร้างความใกล้ชิด ต่ออัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ด้วยการปฏิบัติ ที่ไม่มีหลักฐานที่มาของหลักศาสนา"

แต่บิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น มีหลักฐานที่มาของหลักศาสนา หากเราทำการตรวจสอบที่มาในหลักวิชาการฟิกห์นั้น คือ

หลักฐานที่มา ตามหลักของศาสนา มี อยู่ 2 ประเภท

1. مستند إجمالى หลักฐานที่มาแบบสรุป คือ

هو: الأحكام الشرعية الأصليَّة المكتَسَبة من أدِلتها الإجمالية

คือ บรรดาหุกุ่มต่างๆของศาสนา ที่เป็นรากฐานที่ถูกนำมาจาก บรรดาหลักฐาน(ของหุกุ่มต่างๆ)แบบสรุป

เช่นอนุญาติให้ทำการส่งเสริม ให้มีวโรกาศต่างๆในการกระทำคุณงามความดี ที่ได้รับมาจาก การส่งเสริมการกระทำคุณงามความดี ของท่านร่อซูล(ซ.ล.) ในคือ ลัยละตุลเกาะดัร เนื่องจากเป็นคืนที่อัลกุรอานได้ประทานลงมา การเฉลิมฉลองส่งเสริมให้กระทำคุณงามความดี เนื่องในวโรกาศวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.) ด้วยการถือศีลอดในวันจันทร์ การเฉลิมฉลองส่งเสริมให้มีการกระทำคุณงามความดี เนื่องในวโรกาศวันที่ท่านบีมูซา อะลัยฮิสลาม ได้รอดพ้นจากเงื้อมมือของฟิรอูน ด้วยการถือศีลอดในวัน อาชูรออ์ พร้อมกับการที่ท่านนบี(ซ.ล.) ก็ไม่ได้ห้ามให้เราในการเฉลิมฉลองส่งเสริมในการกระทำความดี ด้วยวโรกาศอื่นๆ นอกเสียจากมันเป็นการส่งเสริมในสิ่งที่เป็นภัยพิบัติที่ขัดกับหลักศาสนา และนบี(ซ.ล.)ก็ไม่ได้กล่าวว่า วายิบ ต้องทำการส่งเสริมในการกระทำความดี ด้วยการเฉลิมฉลองวโรกาศดังกล่าว ด้วย

2. مستند تفصيلي หลักฐานที่มาแบบรายละเอียด

هو: الأحكام الشرعية الفرعيَّة المكتسبة من أدلتها التفصيلية

คือ บรรดาหุกุ่มของศาสนาในข้อปลีกย่อยที่ได้รับมาจาก บรรดาหลักฐานที่อยู่ในเชิงรายละเอียด
เช่น หุกุ่มของบรรดาอิบาดะฮ์ต่างๆ ที่ศาสนาได้ระบุไว้เป็นการเฉพาะมันแล้ว เช่นการละหมาดต่างๆ การถือศีลอด ทำฮัจญี ซะกาต การเชือดสัตว์ และอื่นๆ

ดังนั้น เรื่องบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ จึงไม่คัดค้านขัด القاعدة ที่บังอะสันว่ามาเลย แต่ยิ่งไปกว่านั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์กลับเข้าไปอยู่ภายใต้ القاعدة ดังกล่าว ด้วยสาเหตุ 2 ประการ

1. ท่านนบี(ซ.ล.)ส่งเสริมให้ ริเริ่มการกระทำขึ้นมา ก็แนวทางที่ดี ที่สอดคล้องและไม่ขัดกับอัลกุรอานและซุนนะฮ์

من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء

" ผู้ใด ที่ได้ริ่เริ่มทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี แน่นอน ผลตอบแทนของมัน ก็มีให้แก่เขา และผลตอบแทนของผู้ที่ได้ปฏิบัติด้วยกับมัน จากหลังเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ได้กับเขา) โดยไม่มีสิ่งใดลดลงไปเลย จากผลการตอบของพวกเขา และผู้ใด ทีได้ริเริ่ม(อุตริ)ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่เลว แน่นอน บาปของมันก็ตกบนเขา และบาปของผู้ที่ปฏิบัติมัน จากหลักเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา) โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา" (รายงานโดย ท่านอิมาม มุสลิม ไว้ในซอเฮี๊ยะหฺของท่าน หะดิษที่ 1017)

และท่านนบี(ซ.ล.) ก็สั่งห้ามให้ริเริ่มกระทำขึ้นมาใหม่กับสิ่งที่เลว ดังที่ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า

كل بدعة ضلالة

"ทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง"

หมายถึง ทุกบิดอะฮ์ ที่ขัดกับหลักศาสนานั้น ย่อม ลุ่มหลง และประเด็นของหะดิษเหล่านี้ เราก็ได้อธิบายรายละเอียดไปแล้ว อัลฮัมดุลิลลาห์

2. บิดอะฮ์ที่วางอยู่บนหลักการของหุกุ่มศาสนา หากบิดอะฮ์นั้น อยู่ในหุกุ่มวายิบ ก็ถือว่าเป็นบิดอะฮ์ที่วายิบ และบิดอะฮ์ที่อยู่ในมาตรฐานของหะรอม ก็เป็นบิดอะฮ์ที่หะรอม.....(ซึ่งเราได้นำเสนอไปแล้ว)

ท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวว่า

ท่าน อัล-บัซฺซฺาร ได้รายงานจาก อบี อัดดัรดาอ์ ว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)กล่าวว่า

وما أحل الله فى كتابه فهو حلال وما حرم فهو حرام ، وما سكت عته فهو عفو ، فأقبلوا من الله عافيته ، فإن الله لم يكن لينسى شيئا ، ثم تلا ( وما كان ربك نسيا)
قال البزار : إسناده صالح، وصصه الحاكم

"สิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงอนุมัต (คือ สิ่งวายิบ สุนัติ และมุบะฮ์) ในคำภีร์ของพระองค์นั้น คือสิ่งที่หะลาล (จนถึงวันกิยามะฮ์) และสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม (คือ หะรอม และมุกโระฮ์ ด้วยหนทางแบบสรุป หรือรายละเอียด) นั้น คือสิ่งที่ห้าม (จนถึงวันกิยามะฮ์) และสิ่งที่พระองค์ทรงนิ่งจากมัน (คือสิ่งที่ ยาอิซฺ อนุญาติให้กระทำได้) ย่อมเป็นการอนุโลมให้ ดังนั้น พวกท่านตอบรับการผ่อนปรนของพระองค์เถิด เพราะแท้จริงแล้ว อัลเลาะฮ์ไม่ทรงเคยลืมเลย จากนั้นท่านร่อซูลได้อ่านอายะฮ์ที่ว่า "และพระผู้อภิบาลของเจ้านั้น ไม่ทรงลืม" ท่านอัล-บัซฺซฺารกล่าวว่า หะดิษนี้ ดี และท่านหะกิมถือว่า หะดิษนี้ซอฮิหฺ

ข้อควรระวัง

บังอะสัน โปรดอย่าสับสนระหว่าง การจำกัด คุณลักษณะของอิบาดะฮ์ تحديد الوصف และการจำกัดของขนาดของอิบาดะฮ์ تحديد المقدار ในเรื่องของอิบาดะฮ์ เพราะหลักการศาสนาได้จำกัด คุณลักษณะของอิบาดะฮ์ เช่น การละหมาด คือ เริ่มด้วยการตักบีร และ จบด้วยการให้สลาม ด้วยมีบรรดา ลักษณะและรุกุ่นต่างๆของการละหมาด แต่หลักการของศาสนาก็ไม่ได้ จำกัด บรรดาอะมัลที่อยู่ในความหมายแบบกว้างๆ ที่อนุญาติให้กระทำได้ เช่น การอ่านอัลกุรอาน การกล่าวสรรญเสริญอัลเลาะฮ์ และการกล่าวซิกรุลเลาะฮ์ เป็นต้น และเฉกเช่นเดียวกัน คือ หลักศาสนา ได้จำกัดบรรดาละหมาดฟัรดู ด้วยบรรดาร่อกะอัตต่างๆไว้เรียบร้อยแล้ว และได้จัดกำเวลาของละหมาดห้าเวลาไว้พร้อมสรรพ และได้กำหนดการละหมาดสุนัตร่อวาติบหลังละหมาดห้าเวลาแล้ว แต่ว่า หลักศาสนา ไม่ได้จำกัด จำนวนหรือขนาดของอิบาดะฮ์ที่เป็นสุนัต ที่สมัครใจกระทำ และไม่ได้กำหนดเวลาเอาไว้
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเสวนาเรื่องการกล่าวคำเหนียต(อุซ๊อลลี)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มี.ค. 17, 2007, 06:38 AM »
0
al-farook

อ้างถึงบังอะสัน

ท่านอิบนุหัซมิน(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า

[الحق حق وإن استقبحه الناس، والباطل باطل وإن استحسنه الناس، فصح أن الاستحسان شهوة، واتباعُ للهوى وضلال، وبالله تعالى نعوذ من الخذلان] (196/2) من الإحكام في أصول الأحكام

ความจริง คือ ความจริง แม้ว่า ผู้คนจะเห็นว่า ไม่ดีก็ตาม และ ความเท็จ คือ ความเท็จ แม้ว่าผู้ คนจะเห็น ว่าดีก็ตาม ดังนั้น ที่ถูกต้องคือ การ คิดเห็นว่าดี นั้น คือ ตัณหา คือ การตามอารมณ์ และเป็นการหลงผิด เราขอความคุ้มต่ออัลลอฮ ให้พ้นจากความผิดหวังทั้งหลายด้วยเถิด - อัลอะหกาม ฟีอุศูลุ้ลอะหกาม เล่ม 2 หน้า 196

วิจารณ์

คำว่าเห็นดีตรงนี้ คือหลัก "อิสติหฺซาน" ไม่ใช่ว่า อะไรที่นักปราชญ์มุจญฮิดเห็นด้วยโดยอยู่บนพื้นฐานของศาสนาล้ว จะเป็นการตามอารมณ์นัฟซู ก็หาไม่ครับ ท่านอิบนุหัซฺมินนี้ เป็นที่ทราบดีว่า ท่านไม่ปฏิเสธการอิสติหฺซาน ปฏิเสธในเรื่องการกิยาส ซึ่งมันเป็นมัซฮับอัซซอฮิรีย์ แต่ท่านได้อ้างเหตุผลโดยสนับสนุนทัศนะของท่านเท่านั้น โดยไม่ลามปามไปกล่าวหามัซฮับอื่นๆ ที่ไม่ใช่อยู่ในแนวทางของตนว่า ทำบิดอะฮ์และกระทำตามอารมณ์ การมีทัศนะใดทัศนะหนึ่ง ที่ปฏิบัติตามและยึดมั่นหลักการโดยจำกัดอยู่ในบุคคลที่อยู่ในทัศนะนั้นๆ ย่อมไม่ใช่มีปัญหาแต่ประการใด และย่อมไม่สร้างความแตกแยกในประชาชาติอิสลาม แต่การยึดทัศนะของตน แล้วไปลามหุกุ่มทัศนะอื่นๆนั้น ย่อมไม่เป็นหลักการและแบบอย่างของสะละฟุสศอลิหฺ และเป็นการสร้างความแตกแยกในประชาชาติอิสลาม และในสังคมบ้านเราด้วย


อ้างถึงบังอะสัน

และเคยบอกแล้วว่า การตามอุลามาอ ไม่เหมือนการตามท่านรอซูล การตามอุลามาอ ต้องมีหลักฐาน ดังที่อิหม่ามชาฟิอีย์กล่าวว่า
[ليس لأحد دون الرسول صلى الله عليه وسلم أن يقول إلا بالاستدلال. ولا يقول بما استحسن، فإن القول بما استحسن شيء يحدثه لا على مثال سبق] ص (25) الرسالة

ไม่อนุญาตให้บุคคลใดอื่นจากท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ต่อการที่เขาจะกล่าวอ้าง เว้นแต่ต้อง อ้างอิงหลักฐาน และเขาจะไม่กล่าวด้วยสิ่งที่เขาเห็นว่าดี แท้จริง การกล่าวอ้าง ด้วยสิ่งที่เขาเห็นว่าดีนั้น คือ สิ่งที่ถูกประดิษฐขึ้นใหม่โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน - อัรริสาละฮ หน้า 25

วิจารณ์

การตามอุลามาอ์มุจญฺฮิดนั้น ย่อมไม่หลายสถานะภาพการณ์ เช่นคนมุก๊อลลิด ที่ตามบรรดาอุลามาอ์โดยไม่รู้หลักฐาน ซึ่งดังกล่าว ก็เป็นการตามอนุญาติ ตามทัศนะที่อิมามมาลิกและอิมามอัช-ชาฟิอีย์ ได้กล่าวเอาไว้ (ซึ่งเราได้ทำการชี้แจงแล้วในเรื่องมัซฮับ ในภาคที่ 1 ผู้ใดต้องการจะทราบโปรดกับไปทบทวน)

อิมามอัช-ชาฟิอีย์ กล่าวว่า"ไม่อนุญาตให้บุคคลใดอื่นจากท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ต่อการที่เขาจะกล่าวอ้าง เว้นแต่ต้อง อ้างอิงหลักฐาน "

คำกล่าวของอิมาม อัช-ชาฟิอีย์นี้ มีความถูกต้อง แต่ไม่ตรงเป้าหมายของแนวทางพี่น้องวะฮาบีย์ อันดับแรกเราต้องเข้าใจเป้าหมายและเจตนารมณ์ของอิมามอัชชาฟิอีย์เสียก่อนว่าหมายถึงอะไร? ซึ่ง "การอ้างหลักฐาน" ที่อิมามอัช-ชาฟิอีย์กล่าวไว้นี้ ไม่ใช่ เพียงแค่ อัลกุรอานและซุนนะฮ์เพียงอย่างเดีย แต่หมายถึง รวม การอิจญฺมาอ์ และการกิยาสด้วย แม้กระทั้งเรื่องการกิยาสในเรื่องอิบาดะฮ์ก็ตาม เนื่องจากการกิยาสในเรื่องอิบาดะฮ์นี้ ก็คือทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ และท่านอิมามทั้งสี่ท่านอื่นๆ นอกเหนือจากนั้น คำกล่าวของซอฮาบะฮ์ ก็เป็นหลักฐานได้ตามทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ โดยมีเงื่อนไงและรายละเอียดต่างๆที่ผมไม่สามารถยกมานำเสนอได้ ดังนั้น เราจะนำคำกล่าวของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ มาหักล้างเรื่องการแบ่งบิดอะฮ์ การกิยาสในเรื่องอิบาดะฮ์ที่เป็นทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ ย่อมไม่ได้ และไม่เป็นธรรม และถือเป็นการอ้างคำพูดของอิมามอัช-ชาฟิอีย์โดยผิดเป้าหมายและเจตนารมณ์ของอิมามอัช-ชาฟิอีย์

อิมามอัช-ชาฟิอีย์กล่าวอีกว่า"และเขาจะไม่กล่าวด้วยสิ่งที่เขาเห็นว่าดี แท้จริง การกล่าวอ้าง ด้วยสิ่งที่เขาเห็นว่าดีนั้น คือ สิ่งที่ถูกประดิษฐขึ้นใหม่โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน"

บังอะสันครับ คำว่าเห็นดีใน ณ ที่นี้ คือ หลัก "การอิสติหฺซาน" ตามเป้าหมายของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ ไม่ใช่อะไรที่เห็นว่าดีแล้ว ถือว่าเป็นอุตริกรรมทั้งหมด เนื่องจากอิมามอัช-ชาฟิอีย์เอง ก็ยอมรับในเรื่อง สิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นมา โดยสอดคล้องกับศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี และสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับศาสนาย่อมเป็นสิ่งที่ถูกตำหนิ ดังนั้น หลักอิสติหฺซาน ตามทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์นี้ คือการอิสติหฺซานที่ตามอารมณ์นัฟซูเท่านั้น

แล้วทำไมบังอะสันถึงไม่เข้าใจคำกล่าวของอิมามอัชชาฟิอีย์ให้ทั้งหมดละครับ สิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น ท่านอิมามกล่าวอธิบายไว้ว่า

1. อิมามอัช-ชาฟิอีย์ (ร.ฏ.)

สิ่งที่ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น มี 2 ประเภท

(1) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ ที่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คำพูดที่ถูกรายงานมา และอิจญฺมาอ์ สิ่งที่นี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง

(2) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่จากคุณงามความดี ที่ไม่ขัดกับอันหนึ่งอันใด(ที่กล่าวมาแล้ว)นี้ และนี้ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่โดยไม่ถูกตำหนิ

ท่านอุมัรได้กล่าว เกี่ยวกับ(การรวม)ละหมาดตะรอวิหฺ ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

หมายความว่า"การละหมาดตะรอวิหฺในคืนร่อมาฏอนนี้ คือสิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเมื่อมีการกระทำมาแล้ว ก็ไม่เป็นการค้านให้กับสิ่งที่กล่าวมา " และสายรายงานนี้ ซอเฮี๊ยะห์ ดู หนังสือ มะนากิบ อัช-ชาฟิอีย์ เล่ม1 หน้า 468 - 469

ท่านอบู นุอัยม์ ได้นำเสนอรายงานอื่นอีก ไว้ในหนังสือ หิลยะตุลเอาลิยาอ์ เล่ม 9 หน้า 113 ว่า "ท่านอิมามอัช-อัชชาฟิอีย์ กล่าวว่า บิดอะฮ์นั้น มี 2 ประเภท คือบิดอะฮ์ที่ถูกสรรเสริญ และบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ ดังนั้น สิ่งที่สอดคล้องกับซุนนะฮ์ ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกสรรญเสริญ และสิ่งที่ขัดกับซุนนะฮ์ ย่อมเป็นสิ่งที่น่าตำหนิ และอิมามชาฟิอีย์ ได้อ้างหลักฐานด้วยคำกล่าวของท่านอุมัร(ร.ฏ.) เกี่ยวกับ ละหมาดตะรอวิหฺในเดือนรอมฏอนที่ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"


--------------
อ้างอิงจากบังอะสัน

ตอนนี้ อยากจะให้น้องและสหายยกตัวอย่าง บิดอะฮหะสะนะฮ มา ว่าที่อิหม่ามชาฟิอี อุตริบิดอะฮ หะสะนะฮนั้นมีอะไรบ้าง แต่ อย่าป้ายเรื่องเท็จให้แก่ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ของบังอะสันให้มัวหมอง น่ะครับ ท่านอิหม่ามชาฟิอีได้กล่าวว่า
من استحسن فقد شرّعผู้ใดเห็นดี( คือ คิดบิดอะฮขึ้นมาแล้วเห็นว่าดี) แน่นอนผู้นั้นได้ตั้งบัญญัติขึ้นใหม่ - ดู อัสสุนัน วัลมุบตะดะอาต หน้า 5 และซิลซิละฮหะดิษเฏาะอีฟะฮ ของอัล-บานีย์ - เล่ม 2หน้า 19

ตอบ

ตอนนี้เรากำลังคุยคำนิยามบิดอะฮ์กันอยู่ ซึ่งอิมามชาฟิอีย์นั้น ก็ได้ยกตัวอย่าง คำกล่าวของท่านอุมัร (ร.ฏ.) นี่เพียงพอแล้วสำหรับเข้าใจคำว่า "บิดอะฮ์" และคำกล่าวของท่านอุมัรนั้น ผมเชื่อว่ามันไม่ใช่เป็นเรื่องดุนยา แต่มันเป็นเรื่องศาสนา และอีกประเด็นหนึ่งก็คือ คำว่า"บิดอะฮ์ที่ดี" ของท่านอุมัรนี้ มันมีความหมาย แบบเชิงภาษา หรือ ในเชิงศาสนา นั้น เราก็จะคุยกันต่อ แต่ที่แน่ๆนั้น ไม่ว่าจะในเชิง ภาษา หรือ เชิงศาสนา มันก็ไม่ได้ปฏิเสธ การแบ่งบิดอะฮ์เป็น หะสะนะฮ์ (บิดอะฮ์ที่ดี) และ ก่ะบีหะฮ์(บิดอะฮ์ที่น่ารักเกียจ) เพราะผมคุยประเด็นสำคัญคือ เรื่องการแบ่งบิดอะฮ์ และรายละเอียดต่างๆของมัน

จากคำอ้างอิงของบังอะสัน จากคำพูดของอิมาม อัช-ชาฟิอีย์ (ร.ฏ.) นั้น มันไม่เกี่ยวกับเรื่องบิดอะฮ์ตามที่บังอะสันได้ทำการวงเล็บมันเอาไว้เลย แต่มันเกี่ยวกับเรื่อง อัล-อิสติหฺซาน ในหลักอุซูลุลฟิกห์ ซึ่งบังอะสัน ต้องเข้าใจ อัลอิสติหฺซานก่อน แล้วบังอะสันก็จะเข้าใจคำพูดของอิมามชาฟิอีย์

ท่าน อัล-อามิดีย์ กล่าวว่า

النوع الثالث : الإستحسان

وقد أختلف فيه فقال به أصحاب أبو حنيفة وأحمد بن حنبل ؛ وأنكر الباقون ، حتى نقل عن الشافعى أنه قال : من استحسن ، فقد شرع

ความว่า" ได้ขัดแย้งกัน ในเรื่อง อัลอิสติหฺซาน ดังนั้น ได้กล่าวยอมรับการ อัลอิสติหฺซาน โดยบรรดาศานุศิษย์ของอบูหะนีฟะฮ์ และท่านอะหฺมัด บิน หัมบัล และบรรดากลุ่มที่เหลือ ให้การปฏิเสธ จนกระทั้ง ถูกถ่ายทอดคำกล่าวของ ท่านอัชชาฟิอีย์ ว่า "ผู้ใดที่ทำการอิสติหฺซาน เขาย่อมวางบทบัญญัติขึ้น(เอง)" (ดู อัล-อิหฺกาม ฟี อุซูลุลอะหฺกาม เล่ม 4 หน้า 390)

แล้วอะไรคือ อัล-อัสติหฺซาน ตามหลักวิชาอุซูลลุลฟิกห์ ? หรือว่า วะฮาบีย์ เขาไปแปลคำกล่าวของอิมามชาฟิอีย์ ในเชิงภาษา แล้วก็เอามาสนับสนุนแนวทางของตนเองนั้น ก็เอาไปหลอกชาวบ้านเอาวามนั้นได้ แต่อย่าเอาหลอกผู้ที่อัลเลาะฮ์ทรงให้เขามีความรู้เล็กๆน้อยๆ

คำนิยามของ" อัลอิสติหฺซาน"
ตามหลักภาษา หมายถึง ถือว่าดี คิดว่าดี เชื่อว่าดี หรือนับว่าดี
ตามหลักวิชาการหมายถึง " การเปลี่ยนการเอาหุกุ่มหนึ่งที่ได้จากการกิยาสที่ชัดเจน ไปยังการใช้กิยาสล้ำลึกกว่า เนื่องจากมีหลักฐาน(หมายถึงเหตุผล)อื่นมาให้น้ำหนักมากกว่า"

อัลอิสติหฺซานนี้ มีหลายประเภทด้วยกัน

ดูตัวอย่าง
- การอิสติหฺซานด้วยการ กิยาสที่(มีน้ำหนัก)ล้ำลึก

เช่นการ วะกัฟที่ดินเพาะปลูก ซึ่งสามารถมาใช้ได้ 2 การกิยาส

1. กิยาสที่ชัดเจน คือการวะกัฟนั้น เสมือนกับการ ขาย ซึ่งผู้วะกัฟไม่มีกรรมสิทธิ์ใดๆกับสิ่งที่วะกัฟไปแล้ว ซึ่งเหมือนกับการขายให้ผู้อื่นไปแล้ว ดังนั้น ผู้วะกัฟ จะไปใช้ประโยชน์ในการเดินผ่าน หรือไปเอาน้ำมาใช้เรื่องส่วนตนไม่ได้แล้ว เพราะเหมือนกับขายผู้อื่นไปแล้ว นี่เขาเรียกว่า เอาการวะกัฟ ไปกิยาสกับการ ขาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ชัดเจนครับ

2. กิยาสที่(มีน้ำหนัก)ล้ำลึก คือการวะกัฟ เสมือนกับการ ให้เช่า เนื่องจากผู้ใช้เช่าก็ยังได้รับประโยชน์จากสิ่งที่ตนให้ผู้อื่นทำการเช่า และผู้ที่ทำการเช่าก็ได้รับผลประโยชน์อยู่แล้ว การวะกัฟก็เช่นกัน คือทั้งผู้วะกัฟ และผู้ที่ถูกวะกัฟให้กับเขา ก็สามารถได้รับผลประโยชน์ทั้งสองฝ่ายด้วยกับสิ่งที่วะกัฟไป

ฉะนั้น การกิยาสแบบที่สอง จึงมีน้ำหนักมากกว่าอีกแบบที่หนึ่ง เพราะจุดมุ่งหมายของการวะกัฟนั้นคือ การเอาผลประโยชน์จากมัน

- การอิสติหฺซานด้วยการ อุรุฟ (ตามธรรมเนียมชนส่วนมาก)

เช่นผู้คนต่างรู้ดีว่า ทำสิ่งหนึ่งที่ขัดกับหลักกิยาสและหลักการทั่วไป ด้วยเหตุที่มีความจำเป็น
เช่นการให้เช้าห้องน้ำ ด้วยราคาที่ตายตัว โดยไม่ได้กำหนดปริมานน้ำที่ลูกค้าจะใช้ หรือระยะเวลาที่อยู่ในห้องน้ำ ซึ่งตามหลัก กิยาส ถึงว่าไม่อนุญาติ เนื่องจากการเช่าคลุ่มถึงข้อตกลงให้เช่าที่ไม่แน่ชัด ว่าเช่าเวลาเท่าไหร่ ใช้น้ำปริมานเท่าไหร่ เป็นต้น แต่ดังกล่าวก็อนุญาติ เพราะมีความจำเป็น และไม่อยากให้เกิดความลำบาก ฉะนั้น ดังกล่าวนี้ จึงถึงว่าการ อัลอิสติหฺซาน

ความจริงการ อิสติหฺซานนี้ อยู่ในหลักการกิยาส และหลักอัลอิสติหฺซานนี้ บรรดาอุลามาอ์มัซฮับชาฟิอีย์ก็นำมาใช้ และอัลอิสติหฺซานที่อยู่ในลักษณะเช่นนี้ ก็ไม่มีผู้ใดให้การคัดค้าน เพราะมันไม่ได้ใช้พื้นฐานอารมณ์มาเป็นที่ตั้ง ดังนั้น คำกล่าวของอิมามชาฟิอีย์ที่ว่า "ผู้ใดทำการอัลอิสติหฺซาน เขาย่อมวางบทบัญญัติขึ้นมาเอง" ย่อมหมายถึง การอิสติหฺซานที่เอาอารมณ์มาเป็นที่ตั้ง หรือตามอารมณ์ แต่ทำการอิสติหฺซาน โดยตามหลักการ ก็ย่อมไม่มีปัญหาแต่ประการใด

ดังนั้น วะฮาบีย์จะเอาคำกล่าวของอิมามชาฟิอีย์ (ร.ฏ.) มาแอบอ้างให้เข้าทางตนย่อมไม่ได้ เนื่องจากมันเป็นธรรม

เนื่องจากอิมามชาฟิอีย์ ก็ให้หลักอิสติหฺซาน เช่นท่านอัล-อามิดีย์ ได้กล่าวถ่ายทอดคำกล่าวของอิมามชาฟิอีย์ไว้ว่า

وقد نقل عن الشافعى أنه قال : أستحسن فى المتعة أن يكون ثلاثين درهما ؛ وأستحسن ثبوت الشفعة للشفيع الى ثلاثة أيام ؛ وأستحسن ترك شىء من نجوم الكتابة. وقال فى السارق إذا أخرج يده اليسرى بدل اليمنى ، فقطعت : القياس أن تقطع يمناه ، والإستحسان أن لا تقطع

"ได้ถูกถ่ายทอด จากอิมามอัช-ชาฟิอีย์ ซึ่งแท้จริง ท่านกล่าวว่า ฉันได้ถือว่าดี(อิสติหฺซาน) ในเรื่องให้ค่าเลี้ยงดูนั้น คือ 30 ดิรฮัม และฉันถือว่าดี กับการให้คงการร่วมหุ้นส่วนกัน กับผู้ที่ร่วมหุ้นส่วนนั้น (อย่างน้อย)ระยะเวลา 3 วัน และฉันถือว่าดี กับการทิ้งทรัพย์สินบางส่วน (ให้แก่ทาส) จากทรัพย์งวดต่างๆของการที่ทาสได้หาเงินมาไถ่ตัวตนเอง และอิมามชาฟิอีย์ กล่าวเกี่ยวกับ ผู้ขโมยว่า เมื่อเขายื่นมือซ้ายแทนมือขวาออกมา ก็ให้ตัดมือซ้าย โดยที่ อัลกิยาสแล้ว คือให้ตัดมือขวา แต่ที่นับว่าดีนั้น ไม่ควรตัด" (เนื่องจากเขาจะได้เอามือขวาที่ถนัดไปดำรงชีวิตประจำวันได้สะดวก) (ดู อัลอิหฺกาม ฟี อุซูล อัลอะหฺกาม เล่ม 4 หน้า 391)

ดังนั้น การอิสติหฺซานตามทัศนะของอิมามชาฟิอีย์ที่ต้องห้ามนั้น คือการอิสติหฺซานตามอารมณ์และไม่มีรากฐานจากหลักการ



เรามาดูประเด็นเรื่องการกิยาส ซึ่งมีอุลามาอ์มีความเห็นแตกต่างกัน มัซฮับที่

1. การกิยาส จะนำมาใช้ในเรื่องอิบาดะอ์ไม่ได้ตามหลักสติปัญญา ทัศนะนี้ เป็นของกลุ่ม ชีอะฮ์ และกลุ่มหนึ่งจากพวกมั๊วะตะซิละฮ์บุคดาด

2. การกิยาส จำเป็นต้องในเรื่องอิบาดะฮ์ตามหลักปัญญา ทัศนะนี้ เป็นของท่าน อัลก๊อฟฟาล และอบี อัลหุซัยน์ อัลบะซอรีย์

3. อนุญาติให้กิยาสในเรื่องอิบาดะฮ์ ตามหลักปัญญา แต่ว่าไม่อนุญาติให้นำกิยาสมาใช้เรื่องอิบาดะฮ์ตามหลักศาสนา แต่หลักศาสนาได้ห้ามกับมัน ทัศนะนี้ เป็นของ พวกอัซซอฮิรียะฮ์ หนึ่งในนั้น คือท่านอิบนุหัซมิน (และเท่าที่ผมศึกษามา ผมเข้าใจว่ามันเป็นแนวทางของวะฮาบีย์ด้วยครับ)

4. อนุญาติให้ใช้กิยาสในเรื่องอิบาดะฮ์ได้ตามหลักสติปัญญา และอนุญาติให้เกิดขึ้นโดยการอิบาดะฮ์ด้วยการกิยาสได้ตามหลักศาสนา ทัศนะนี้ เป็นคำกล่าวของ สะลัฟ จากบรรดาซอฮาบะฮ์ บรรดาตาบิอีน อิมามชาฟิอีย์ อิมามอบูหะนีฟะฮ์ อิมามมาลิก อิมามอะหฺมัด และส่วนมากของอุลามาอ์ฟิกห์ และอุลามาอ์มุตะกัลลิมีน และนี้คือมัซฮับที่ถูกต้อง (ดู อัลอิหฺกาม ฟี อุซูล อัลอะหฺกาม เล่ม 3 หน้า 64 และกัชฟุลอัสร๊อร ของท่านอัลบัซฺดะวีย์ เล่ม 3 หน้า 270 )

แล้ววะฮาบีย์เขาอยู่ในแนวทางของสะลัฟหรือเปล่าครับ???


อ้างถึงบังอะสัน

และท่านอิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวไว้อีกว่า
ولو جاز لأحد الاستحسان في الدين لجاز ذلك لأهل العقول من غير أهل العلم ولجاز أن يشرع في الدين في كل باب وأن يخرج كل أحد لنفسه شرعاً

และถ้าหากว่า อนุญาตให้คนใดก็ได้ เห็นดี(คือคิดการบิดอะฮตามที่ตนเห็นว่าดี) ในศาสนา แน่นอน เรื่องดังกล่าว ย่อมอนุญาตให้ ผู้ที่มีปัญญา ที่ไม่ใช่ผู้ทรงความรู้(มุจญฺฮิด) และอนุญาติให้ บัญญัติศาสนาขึ้นมาในทุกเรื่อง และทุกๆคนจะออกบัญญัตขึ้นมาให้แก่ตัวเอง - (ผมได้เปลี่ยนสำนวนการแปลบางจุดเพื่อความถูกต้องครับ - อัลฟารูก)
ดูอิรชาดุ้ลฟุหูล หน้า 240

วิจารณ์

คำกล่าวของอิมามอัช-ชาฟิอีย์นี้ ไม่เกี่ยวกับเรื่องบิดอะฮ์ หะสะนะฮ์ครับ บังอะสันไม่สมควรวงเล็บว่า "คือคิกการบิดอะฮ์ตามที่ตนเห็นว่าดี" เพราะมันไม่ใช่จุดมุ่งหมายของอิมามอัช-ชาฟีอีย์เลยแม้แต่น้อย ยิ่งไปกว่านั้น มันกลับตรงกันข้ามกับทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ และคำพูดของอิมามอัช-ชาฟิอีย์นี้ มันเกี่ยวกับหลัก "อัลอิสติหฺซาน" ไม่ใช่ เรื่องบิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดีที่อิมามอัช-ชาฟิอีย์ได้ยอมรับเอาไว้)

อิมามอัช-ชาฟิอีย์กล่าวอีกว่า "แน่นอนว่า สิ่งดังกล่าว(คือเรื่องอัลอิสติหฺซาน) อนุญาติกระทำได้ กับ ผู้ที่มีสติปัญญาที่ไม่ได้มาจากผู้ที่มีความรู้(หมายถึงอุลามาอ์มุจญฺฮิด เนื่องจากคำว่า "อะฮ์ลุลอิลมิ"ในวิชาอุซูลุลฟิกห์นั้น หมายถึง มุจญฺฮิด) "

คำพูดของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ นี้ชัดเจนครับ คือท่านอิมามไม่เปิดโอกาสให้ ผู้ที่มีสติปัญญาที่ไม่มีคุณลักษณะของนักมุจญฺฮิด(ผู้ทรงความรู้) ในการใช้หลักอิสติหฺซาน เนื่องจากเขาอาจจะกระทำการบัญญัติสิ่งหนึ่งขึ้นมาในศาสนาตามอารมณ์นัฟซู และบัญญัติสิ่งต่างๆให้กับตนเองในเรื่องศาสนา แต่สำหรับผู้มีสติปัญญาจากอุลามาอ์มุจญฺฮิดผู้ทรงความรู้นั้น ย่อมไม่ถูกห้ามในการวินิจฉัยและให้หลักอิสติหฺซานครับ

และสิ่งที่ผมนำเสนอไปนั้น ผมไม่บังคับให้บังอะสันต้องมาตามแนวทางของเรา แต่ผมอยากให้ท่านผู้อ่านพิจารณาเองครับ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเสวนาเรื่องการกล่าวคำเหนียต(อุซ๊อลลี)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มี.ค. 17, 2007, 06:44 AM »
0
al-farook

อ้างจากบังอะสัน

แล้วจะมาตอบ การที่น้องอ้างหลักฐานเรื่อง การกล่าวคำเนียต ซึ่งบังนึกไม่ถึงว่า ทำไมน้องจึงอ้างหลักฐานอย่างนั้น
อย่างไรก็ตาม ขอให้เราผูกมิตรกันไว้เถิดนะครับ ถึงแม้จะทัศนะแตกต่างก็ตาม

วิจารณ์

การผูกมิตรและให้เกียตริกันในด้านทัศนะหรือแนวทางนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ดี และเป็นแบบฉบับของสะละฟุศศอลิหฺอยู่แล้วครับบังอะสัน และเรื่องหลักฐานที่ผมอ้างอิงไปเกี่ยวกับเรื่อง"การกล่าวคำเหนียต" นั้น เป็นการอ้างอิงหลักฐานจากปวงปราชน์นักมุจฮิดทั้งสิ้น ซึ่งผมจะนำมาอ้างอิงอย่างรายละเอียดในภายหลังเป็นคนๆไป อินชาอัลเลาะฮ์ และเรื่องการคัดค้านและหักล้างในหลักฐานเรื่องการกล่าวคำเหนียตนั้น เรารู้ดีว่าเป็นอย่างไรบ้าง เพียงแต่ผมแค่รอบังอะสันหรือพี่น้องวะฮาบีย์นำเสนอเท่านั้น แล้วเราพร้อมเสมอที่จะทำการชี้แจงต่อไป อินชาอัลเลาะฮ์

asan

น้อง Al-farook กล่าวว่า
การกล่าวคำเหนียต ก่อนจากละหมาด หรือก่อนจากตักบีร่อตุลเอี๊ยะหฺรอม ถือว่าเป็นสุนัต ตามทัศนะของอุลามาอ์ส่วนมาก ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กล่าวไว้ว่า
إنما الأعمال بالنيات
"แท้จริง บรรดาการปฏิบัตินั้น ด้วยการเหนียต

ตอบ

น้องบ่าว al-farook ครับ หะดิษที่น้องนำมาอ้างอิงนั้น มันไม่เกี่ยวและไม่ได้สนับสนุน การกล่าวคำเนียต นะครับ หะดิษนี้ สอนเรื่อง การเจตนา(เนียต)ในอิบาดะฮและสิ่งดีงามต่างๆ ว่า ทำอะไร ทำสิ่งใด และจุดประสงค์ในการเนียต ว่า การทำเพื่ออัลลอฮ หรือ เพื่อใคร ซึ่งสาเหตุของหะดิษนี้ โปรดดูข้างล่างนี้

وقال الحافظ ابن حجر في الفتح (1/16) :
ورواه الطبراني من طريق أخرى عن الأعمش بلفظ : كان فينا رجل خطب امرأة يقال لها أم قيس فأبت أن تتزوجه حتى يهاجر فهاجر فتزوجها ، فكنا نسميه مهاجر أم قيس

และท่านอัล-ฮาฟิซอิบนุหะญัร กล่าวเอาไว้ในฟัตหุ้ลบารีย์ เล่ม 1 หน้า 16 ว่า

?และรายงานโดย อัฏฏอ็บรอนีย์ จากสายายงานอื่น จากอัลอะอมัช ด้วยสำนวนที่ว่า ? ปรากฏว่าในหมู่พวกเรานั้น มีชายคนหนึ่ง ได้สู่ขอ หญิงนางหนึ่ง เรียกกันว่า ?อุมมุกอ็ยส? แล้วนางก็ไม่ยอม ที่จะสมรสกับเขา จนกว่า เขาจะ ฮิจญเราะฮ (อพยพจากมักกะฮไปยังนครมะดีนะฮ) แล้วเขาก็ได้ทำการอิจญเราะฮ แล้วก็ได้สมรสกับนาง พวกเราเลยขนานนามเขาผู้นี้ว่า ?ผู้อพยพของอุมมุกอ็ยส?

ท่านอิหม่ามสะยูฏีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

حديث " إنما الأعمال بالنيات " سببه أن رجلا هاجر من مكة إلى المدينة لا يريد بذلك الهجرة بل ليتزوج امرأة يقال لها : أم قيس ، فسمي مهاجر أم قيس

หะดิษ ที่ว่า ?แท้จริงบรรดาการงานต่างนั้น ขึ้นอยู่กับการเจตนา? สาเหตุของมันคือ การทีมีชายคนหนึ่ง ได้อพยพจากนครมักกะ ไปยังนครมะดีนะฮ การอพยพดังกล่าวนั้น เขาไม่ได้มีจุดประสงค์ใด แต่ทว่า เพื่อต้อง การที่จะสมรสกับผู้หญิงนางหนึ่ง ที่เรียกกันว่า ?อุมมุกอ็ยส? แล้วเขาผู้นี้ถูกขนานนามว่า ?ผู้อพยพของอุมมุกอ็ยส?
- ดู ตัดรีบุรรอวีย ฟี ชัรหิ -ตักรีบีนนะวาวีย์ เล่ม 2 หน้า 929
............................
การที่คนเราจะทำอะไร เจตนาหรือ เนียต ย่อมเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ อยู่แล้ว และเนียตนั้น เป็นงานของ หัวใจ ไม่ใช่งานของปาก และเป้าหมายของการเนียตนั้นสำสำคัญที่สุด คือ ทำเพื่อใคร หะดิษนี้ ไม่ได้สนับสนุนการกล่าวคำเนียตแต่ประการใด

น้อง Al-farook กล่าวว่า

ดังนั้น การกล่าวคำเหนียตจะเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงไปได้อย่างไร? ในเมื่อมีหลักฐานยืนยันว่า ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทำการกล่าวคำเหนียตในบางส่วนของอิบาดะฮ์ต่างๆ เช่น ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กล่าวคำเหนียตโดยให้บรรดาซอฮาบะฮ์ได้ยิน ในขณะทำเอี๊ยะหฺรอมฮัจญฺว่า

لبيك بعمرة وحج

"ข้าพเจ้าได้สนองต่อพระองค์ ด้วยการทำอุมเราะฮ์และฮัจญฺ" (ดู ซ่อฮิหฺ มุสลิม เล่ม 2 หน้า 915 หะดิษที่ 215)
..............................................

ตอบ

น้องบ่าว al-farook ครับ คำว่า لبيك بعمرة وحج ที่มีความหมายว่า ?ข้าพเจ้าได้ตอบสนองคำเรียกร้องของพระองค์ท่าน โดย การทำอุมเราะฮและฮัจญแล้ว? นี้ไม่ใช่คำเนียตทำอุมเราะฮและฮัจญหรอกครับ เพราะขั้นตอนมีดังนี้คือ
1. เมื่อคนทำอุมเราะฮและฮัจญ สวมชุดเอียะรอมแล้ว
2. พร้อมเขาตั้งเจตนา(เนียต) เข้าสูพิธีฮัจญและอุมเราะฮ(กรณีทำหัจญ์กิรอน)
3. แล้วให้เขากล่าวตัลบียะฮว่า ? لبيك بعمرة وحج ?(คำนี้ใช้กับกรณีที่ทำฮัจญกิรอน)
กล่าวคือ เนียตก่อนแล้วให้กล่าวตัลบียะฮดังกล่าว ไม่ใช่เริ่มเข้าสู่พิธีด้วยคำข้างต้น โดยอ้างว่า เป็นคำเนียต ข้ออ้างที่น้องอ้างมา ฟังไม่ขึ้นหรอกครับ ว่า นั้นคือ หลักฐานสำหรับกล่าวคำเนียต สมมุติว่าถ้าเป็นคำเนียตต้องเริ่มต้นคำเนียตก่อนที่จะเนียตว่า ?ข้าพเจ้าเจตนาทำอุมเราะฮและฮัจญ เพื่ออัลลอฮ? หากจะอาบน้ำละหมาด ละหมาด หรือ ทำฮัจญ์นั้น มีบัญญัติให้กล่าวคำเนียต ท่านนบี ก็จะต้องอธิบายให้เหล่าเศาะหาบะฮรับรู้อย่างแน่นอน แต่เพราะไม่มีบัญญัติให้กล่าวคำเนียต ท่านนบีจึงไม่อธิบายเอาไว้ และไม่ได้สอนให้เริ่มต้นการทำพิธีฮัจญ ด้วยคำว่า?

اللهم إني أريد العمرة- أو الحج
????????.

น้อง Al-farook กล่าวว่า
และวันหนึ่ง ท่านนบี(ซ.ล.) ได้เข้าไปหาท่านหญิงอาอิชะฮ์(ร.ฏ.) แล้วท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวโดยต้องการรับประทานอาหารว่า " ณ ที่พวกเธอนั้น มีสิ่งใด(ที่จะรับประทาน)บ้างใหม? ท่านหญิงอาอิชะฮ์ กล่าว" ไม่มี" ดังนั้น ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) จึงกล่าวว่า
فإنى إذن صائم
"แท้จริง งั้น ฉันก็ทำการถือศีลอด" (ดู ซอฮิหฺมุสลิม เล่ม 2 หน้า 809 หะดิษที่ 170)
??????..
ตอบ
มาชาอัลลอฮ นี้หรือน้อง หลักฐานสุนัตให้กล่าวคำเนียต นี้คือ คำสนทนาของท่านนบี ศ็อลฯ กับท่านหญิงอาอิฉะฮ (ร.ฏ) คือ
1. เมื่อ ท่านหญิงอาอิฉะฮกล่าวว่า ? ไม่มี?
2. ท่านนบี ศอ็ลฯ ก็กล่าว ว่า ?ดังนั้น ฉันก็ถือศีลอด?
แล้วเศาะหาบะฮท่านใดล่ะครับ เอาคำนี้มาเป็น หลักฐานในการกล่าวคำเนียต ถื่อศีลอด ตามที่คนบ้านเรากล่าวว่า نويت صوم رمضان لغد لله تعالى ?ข้าพเจ้าถือศีลอดเดือนเราะมะฏอน ในวันพรุ่งนี้เพื่ออัลลอฮ(ซ.บ)


ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
((ما تركت شيئاً يقربكم إلى الله إلا وأمرتكم به، وما تركت شيئاً يبعدكم عن الله إلا وقد نهيتكم عنه)

ฉันไม่ได้ทิ้งสิงใดที่ทำให้พวกท่านได้ใกล้ชิดต่ออัลลอฮ นอกจากฉันได้ใช้พวกท่าน ด้วยมันแล้ว และฉันไม่ได้ทิ้งสิ่งใด ที่ทำให้พวกท่าน ห่างใกลจากอัลลอฮ นอกจากฉันได้ห้ามพวกท่าน จากมันแล้ว ?
صحيح، أخرجه عبد الرزاق في مصنفه: كتاب الجامع ? باب القدر، حديث (20100)، وابن أبي شيبة: كتاب الزهد ? باب ما ذكر عن نبينا في الزهد (8/129)، والطبراني في المعجم الكبير، حديث (1647)، قال الهيثمي في المجمع: ورجال الطبراني رجال الصحيح، غير محمد بن عبد الله بن يزيد المقرئ، وهو ثقة (8/264).

?????..
น้องครับ ถ้าไม่มีหลักฐาน ก็ไม่มีหลักฐาน น้องจะทำ ก็เป็นสิทธิ์ของน้อง แต่..บังไม่แน่นอนครับ

asan

เอ้าคุยกันเรื่องกล่าวคำเนียต จู่ๆ น้องบ่าวเรา เอาของเก่ามาโพสต์อีกแล้ว บังก็งงเหมือนกันนะฮ การกล่าวคำเนียต อิหม่ามชาฟิอี ก็ไม่ได้สอนไว้ ก็ดันไปถือ มัซฮับนะวาวีย์อีกแล้ว นี่ถ้าจบอยู่แค่ อัสสุนนะฮ แบบอย่างนบี และเศาะหาบะฮ มันก็ happy ending ไปแล้วล่ะน้องบ่าว ไมต้องมาถูๆไถๆ กันอย่างนี้ ถามจริงๆเถอะ ถ้าไม่เอาบิดอะฮมาทำผักแกล้ม ไม่ได้หรือ เพราะที่เสียเวลากันอยู่นี่ ก็เรื่องนอก สุนนะฮที่มาทีหลังทั้งนั้น นี่ก็จะเอาเรื่อง ตัลกีนคนในหลุม ก็บิดอะฮอีกแหละ หวังว่าน้องบ่าวคงไม่โกรธนะ น้องบ่าวจะเพิ่มคำว่า"หะสะนะฮ" ก็เอาไปเถอะ ..เฮ้อกลุ้มจริง เมื่อไหร่ บิดอะฮ รวมมิตรแบบบ้านเราจะหมดเสียที (นี่ไม่ได้ว่าน้องบ่าวนะ)
น้องบ่าวเอ๋ย.. คนบ้านเรานะ เวลาจะไปทำหัจญ ต้องทำพิธีลงเรือน โดยมีผู้อวุโสนำ ลงไปแล้ว ห้ามหันหลังมามอง
..โอ้ย..สารพัด ทั้งนี้ ก็เข้าใจว่า เมื่อเห็นว่าดี ก็ทำ อันนี้ ยกตัวอย่าง เล่าสู่กันฟังแบบชาวบ้าน
บังคิดนะ...ถ้าผู้รู้ไม่ส่งเสริมชาวบ้านคงไม่กล้าทำแน่นอน
...........
นี่ก็ดึกแล้ว ขอนอนก่อน ชักเบื่อเหมือนกันกับ คำว่า"พวกวะฮบีย์"

al-farook

อ้างจากบังอะสัน

น้องบ่าว al-farook ครับ หะดิษที่น้องนำมาอ้างอิงนั้น มันไม่เกี่ยวและไม่ได้สนับสนุน การกล่าวคำเนียต นะครับ หะดิษนี้ สอนเรื่อง การเจตนา(เนียต)ในอิบาดะฮและสิ่งดีงามต่างๆ ว่า ทำอะไร ทำสิ่งใด และจุดประสงค์ในการเนียต ว่า การทำเพื่ออัลลอฮ หรือ เพื่อใคร ซึ่งสาเหตุของหะดิษนี้ โปรดดูข้างล่างนี้

วิจารณ์

บังอะสันจะนำสาเหตุของหะดิษ มาหักล้างเรื่องการ กล่าวคำเหนียต นั้น มันหักล้างผิดประเด็น คนละเรื่องเลยครับ หากบังยึดติดแค่สาเหตุของหะดิษนี้แล้ว การเหนียดในในการละหมาด การถือศีลอด การจ่ายซะกาต การทำฮัจญฺ ก็ไม่ต้องเหนียต โดยอ้างหะดิษดังกล่าวแล้วล่ะครับ เพราะบังอะสันเจาะจงเพียงแค่สาเหตุ และหะดิษนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่อง ละหมาด ถือศีลอด จ่ายซะกาต และการทำฮัจญฺ และ เรื่องอื่นก็ไม่เกี่ยว ว่างั้นเถอะ ที่หลังก่อนที่บังอะสัน จะทำการอ้างสาเหตุของหะดิษหรืออายะฮ์อัลกุรอานนั้น ก็สมควรดูด้วยว่า หลักการในการเข้าใจหะดิษนั้นเป็นอย่างไร จุดยืนเกี่ยวกับสาเหตุของการกล่าวหะดิษ หรือการประทานอัลกุรอานนั้น บรรดานักปราชน์เขาเข้าใจกว้างหรือแคบอย่างไร ? พออายะฮ์ที่ลงให้กับพวกนะซอรอและยะฮูดีย์ บังอะสันก็ไม่คำนึงถึงสาเหตุเลยเหมารวมบรรดามุสลิมีนด้วย แต่เวลาขัดแย้งกับสิ่งที่ตนต้องการ บังอะสันจำกัดมันแค่สาเหตุ เพื่อจะเอาสิ่งที่ตนไม่ต้องการออก โดยหารู้ไม่ว่า ต้องทำให้สิ่งอื่นๆอีกมากมายออกไปจากตัวบทหะดิษด้วย และนี้ก็คือหลักการของบังอะสัน ที่เราได้สังเกตุมาตลอดในการสนทนาครับ

อ้างจากบังอะสัน

การที่คนเราจะทำอะไร เจตนาหรือ เนียต ย่อมเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ อยู่แล้ว และเนียตนั้น เป็นงานของ หัวใจ ไม่ใช่งานของปาก และเป้าหมายของการเนียตนั้นสำสำคัญที่สุด คือ ทำเพื่อใคร หะดิษนี้ ไม่ได้สนับสนุนการกล่าวคำเนียตแต่ประการใด

วิจารณ์

หะดิษนี้ ไม่ได้ชี้ให้เห็นว่า การกล่าวคำเหนียตเป็นบิดอะฮ์ หะดิษนี้ไม่ใช่สนับสนุนการกล่าวคำเหนียต และหะดิษนี้ก็ไม่ได้ห้ามการกล่าวคำเหนียต การเหนียตเป็นหน้าที่ของหัวใจ อันนี้เป็นหลักการทั่วไปที่ไม่มีใครปฏิเสธ บังอะสันครับ เป้าหมายของการเหนียตในวิชาฟิกห์นั้น คือการเจนตาตั้งใจในการทำอิบาดะฮ์ เท่านั้นก็พอแล้ว ส่วนจะเหนียตว่าเพื่อใครนั้น ก็ไม่ต้องเหนียตในละหมาดก็ได้ คือเหนียตว่า "ข้าพเจ้าละหมาดฟัรดูซุฮฺริ " ก็เพียงพอแล้ว และนั่นคือเป้าหมายสำคัญในการทำให้ละหมาดใช้ได้ ซึ่งตอนนี้เรากำลังพูดถึงวิชาฟิกห์นะครับ สำหรับการกระทำอิบาดะฮ์เพื่อใครนั้น มันเป็นเรื่องหลัก อิหฺซาน ซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่ง และจึงอยู่ว่าการเหนียตนั้นเป็นเรื่องของหัวใจ ไม่ใช่งานของปาก แต่เราก็ไม่ใช่บอกว่าวายิบต้องเหนียตด้วยปากนี่ครับบังอะสัน แต่เราแค่บอกว่า การกล่าวคำเหนียตด้วยปากนั้นได้ ขอย้ำว่า "การกล่าวคำเหนียต" ไม่ใช่ "การเหนียตด้วยปาก" บรรดาอุลามาอ์นักมุจญฺฮิด ถือว่า อนุญาติให้กล่าวคำเหนียตได้ เพื่อที่จะให้ตอกย้ำหัวใจให้มีความหนักแน่น ในการตั้งใจที่เหนียตในการทำอิบาดะฮ์ และทำให้ห่างใกลจากการ "วิสวัส" ดังนั้น การที่บรรดาอุลามาอ์มุจญฺฮิดได้สนับสนุนในเรื่องนี้ ไม่ใช่ประเด็นเรื่องการกล่าวคำเหนียตโดยตรง แต่ผลที่ตามมาต่างหากล่ะครับที่เป็นเป้าหมายสำหรับ นั่นก็คือ การทำให้เหนียตมีสมาธิ ในขณะตักบีร การทำให้เหนียตมีสมาธินั้นดีใหมครับบังอะสัน ? บังอะสันก็ต้องตอบว่า ดีซิ ! แล้วผมถามต่อว่า แล้วสิ่งที่ทำให้เหนียตมีสมาธิล่ะเป็นสิ่งที่ดีใหม? บังอะสันตอบว่า ไม่ดี เพราะมันเป็นบิดอะฮ์ !!! (เช่นการกล่าวคำเหนียต)

ส่วนประเด็นต่อมาในเรื่องฮัจญฺ และถือศีลอดที่บังอะสันสาธยายมา นั้น เดี๋ยวผมจะมาตอบ ชี้แจง เพราะผมต้องไปเรียนก่อนครับ

adeel

เนียตคือเจตนาที่ต้องมีอยู่ในอิบาดะฮ์ทุกเรื่อง ซึ่งมีตัวบทหลักฐานชัดเจนจากอัลกุรอ่านและฮะดีสครับท่าน ไม่มีการคิลาฟในหมู่นักวิชาการด้วย แต่ที่กำลังถกกันอยู่นี้ไม่ใช่เรื่องเนียตนะครับ แต่เป็นเรื่องการกล่าวเนียต คือเอาสิ่งที่อยู่ในใจเรียงร้อยออกมาเป็นคำพูด เขาเรียกว่า ตะลัฟฟุซ ขอรับท่าน

การตะลัฟฟุซ หรือการกล่าวถ้อยความเนียตก่อนละหมาดนี้ไม่มีตัวบทหลักฐานใดๆยืนยันเลย

หลักฐานจากอัลกุรอ่านไม่มี (ถ้ามีนำเสนอด้วย)
หลักฐานจากฮะดีสก็ไม่มี (ถ้ามีนำเสนอด้วย)
การกระทำของศอฮาบะฮ์ก็ไม่มีเช่นกัน (ถ้ามีนำเสนอด้วย)
บรรดาอิหม่ามทั้งสี่ก็ไม่ได้ทำและไม่ได้สอนไว้ (ถ้ามีนำเสนอด้วย)

ด้วยเหตุนี้ฝ่ายที่สนับสนุนให้ทำจึงต้องเอาหลักฐานเรื่องอื่นมากิยาสแทน เช่นเรื่องฮัจญ์ หรือเรื่องบวชเป็นต้น ซึ่งบังอะสันได้วิจารณ์ไปแล้ว

เป็นที่น่าสังเกตว่า การนำเอาเรื่อง การละหมาด,บวช,ฮัจญ์มากิยาสเพื่อเป็นหลักฐานเรื่องการ ตะลัฟซุฟฟุซก่อนละหมาดนนี้อิหม่ามทั้งสี่ โดยเฉพาะท่านอิหม่ามซาฟีอีก็ไม่ได้กระทำไว้ขอรับท่าน เพราะเรื่องเหล่านี้แม้จะเป็นอิบาดะห์หลักๆเหมือนกัน แต่รายละเอียด เงื่อนไข วิธีการต่างกัน ที่สำคัญก็คือวิธีการละหมาดนั้นท่านนะบีได้สอนไว้ครบแล้ว และท่านก็สั่งว่า
ศ็อลลูกะมาร่ออัยตุมูนีอุศอ็ลลี แปลว่า พวกเจ้าทั้งหลายจงละหมาดเหมือนที่เห็นฉันละหมาด

สงสัยว่า ทำไมนักศึกษาอัซฮัร จึงไม่พยายามรักษารูปแบบละหมาดตามที่นะบีสั่ง

asan

ข้อความของน้อง al-farook

أنه لا يجوز التقرب إلى الله تعالى بعمل ليس له مستند شرعي.

"ไม่อนุญาติให้ทำการสร้างความใกล้ชิด ต่ออัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ด้วยการปฏิบัติ ที่ไม่มีหลักฐานที่มาของหลักศาสนา"

ตอบ

บังขอยืมคำถามของน้องอาดีล ที่ว่า

สงสัยว่า ทำไมนักศึกษาอัซฮัร จึงไม่พยายามรักษารูปแบบละหมาดตามที่นะบีสั่ง

ครับ... ทำไมไม่จำกัดอยู่กับรูปแบบที่นบี ทำแบบอย่างและสอนไว้ ทำไมจึงพยายามดิ้น ด้วยการอ้างนั้น อ้างนี่ การเพิ่มเติมการกล่าวคำเนียต ใน เรื่อง ละหมาด การทำฮัจญและอื่นๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มเติม บน รูปแบบที่ท่านนบีได้ทำแบบอย่างไว้แล้ว แล้วกล่าวว่า "เป็นสุนัต" ซึ่ง หมายถึง สิ่งที่ได้บุญกับผู้ที่ปฏิบัติ และ ไม่เป็นบาปแก่ผู้ที่ละทิ้ง แล้วที่ว่าได้บุญ นั้น ได้บุญจากใคร และใครรับรองการกล่าวคำเนียตที่เพิ่มขึ้นมา และจำเป็นอะไรหรือ ที่ต้องทำอย่างนี้

คนที่เดินผ่าน

... คุณ Al-Farook ก็ควรนำเสนอหะดีษที่ซอเฮี๊ยะห์ แบบอย่างจากท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในการกล่าวเหนียต อุซอลลี ในประเด็นการละหมาด ถ้ามีก็นำเสนอมา แต่ถ้าไม่มีคุณก็ควรบอกกับพี่น้อง ลูกศิษของตนเองว่าไม่มีแบบอย่างจากท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หลังจากนั้นคุณจะนำเสนอทัศนะของอุลามาท่านใด ก็เชิญตามสบาย เพื่อให้พี่น้องที่เข้ามาอ่านมาศึกษาหาความรู้ ได้คิลาฟเอาว่าจะยึดปฏิบัติแบบไหน แค่นั้นพอแล้วก็จบกันไป...


adeel

การตะลัฟฟุซ หรือการกล่าวถ้อยความเนียตก่อนละหมาดนี้ไม่มีตัวบทหลักฐานใดๆยืนยันเลย

หลักฐานจากอัลกุรอ่านไม่มี
หลักฐานจากฮะดีสก็ไม่มี
การกระทำของศอฮาบะฮ์ก็ไม่มีเช่นกัน
บรรดาอิหม่ามทั้งสี่ก็ไม่ได้ทำและไม่ได้สอนไว้

เมื่อไม่มีหลักฐานตรงๆ ก็หันไปใช้หลักกิยาสอย่างนี้ใช่ใหม

กรุณายืนยันด้วยหลักฐานนะขอรับครับ ถ้ามีก็นำเสนอด้วย
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเสวนาเรื่องการกล่าวคำเหนียต(อุซ๊อลลี)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มี.ค. 17, 2007, 06:48 AM »
0
al-farook

อ้างจากคนเดินผ่าน

... คุณ Al-Farook ก็ควรนำเสนอหะดีษที่ซอเฮี๊ยะห์ แบบอย่างจากท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในการกล่าวเหนียต อุซอลลี ในประเด็นการละหมาด ถ้ามีก็นำเสนอมา แต่ถ้าไม่มีคุณก็ควรบอกกับพี่น้อง ลูกศิษของตนเองว่าไม่มีแบบอย่างจากท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หลังจากนั้นคุณจะนำเสนอทัศนะของอุลามาท่านใด ก็เชิญตามสบาย เพื่อให้พี่น้องที่เข้ามาอ่านมาศึกษาหาความรู้ ได้คิลาฟเอาว่าจะยึดปฏิบัติแบบไหน แค่นั้นพอแล้วก็จบกันไป...

วิจารณ์

เป็นที่ทราบกันว่า การกล่าวคำเหนียตไม่ได้เป็นเรื่องจำเป็น ตามที่ผมได้เรียนไปแล้วข้างต้น การที่พวกวะฮาบีย์หุกุ่มว่า การกล่าวคำเหนียตนั้น มีอัลกุรอานและหะดิษบทใด มีบรรดซอฮาบะฮ์ท่านใด มีบรรดาอิมามทั้งสี่ท่านใดบ้าง ที่หุกุ่มว่าการกล่าวคำเหนียตเป็นบิดอะฮ์และตกนรก ถ้ามีโปรดบอกและยกอ้างอิงมาด้วย แล้วพวกเราจะไม่ทำการกล่าวคำเหนียตอีกต่อไปครับ แต่ถ้าไม่มีก็แสดงว่าพวกคุณนั้น ก็ตัดสินปัญหาโดยไม่มีหลักการจากสะละฟุศศอลิหฺ และการที่ท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้ทำนั้น ย่อมเป็นชี้ว่าเป็นสิ่งที่หะรอมหรือไม่? และเป็นที่ทราบว่า ตัวบทต่างๆนั้นมีจำกัด แต่เหตุการณ์และปัญหาต่างๆมันมีขึ้นมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะนั้น ประเด็นที่เข้าอยู่ในขอบข่ายของสิ่งที่หะรอม มันก็เป็นของหะรอม และสิ่งที่ใดที่อยู่ขอบข่ายของวายิบ มันก็เป็นวายิบ และสิ่งที่ใดอยู่ในขอบข่ายสุนัตมันก็เป็นสุนัต ปัญหามากมายที่ไม่เคยเกิดขึ้นในสมัยนบี(ซ.ล.) ก็จึงจำเป็นต้องใช้หลักวิชาการมาตัดสิน ดังนั้นการที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้ทำนั้น ไม่ได้ชี้ว่าเป็นสิ่งที่หะรอม หากมีก็โปรดยกหลักฐานมาซิครับ และเป็นที่ทราบดีว่า การที่ท่านนบี(ซ.ล.) ไม่กล่าวคำเหนียตนั้น เพราะท่านนบี(ซ.ล.)ไม่มีจิตใจ"วิสวัส" และการละหมาดตามที่เราเห็นหรือเรียนรู้ว่าท่านนบี(ซ.ล.)ละหมาดนั้น เราย่อมตามมากกว่าพวกท่าน แต่เรื่องของการคำกล่าวเหนียต ไม่ใช่เป็นเรื่องในละหมาด แต่เป็นเรื่องก่อนละหมาด ดังนั้นก่อนละหมาด แนวทางของวะฮาบีย์ห้ามทำอะไรบ้าง โปรดบอกมาเป็นข้อๆพร้อมด้วยหลักฐานครับ ? หากวาฮาบีย์ไม่มีหลักฐานมากล่าวถึงหะรอม ก็โปรดอย่าหุกุ่มขึ้นมาในศาสนา
และผมก็บอกแล้วว่า ผมจะพูดตามหลักการอ้างหลักฐานของสะลัฟ ไม่ใช่หลักการของวะฮาบีย์
 
al-farook

อ้างจากคุณอะดีล

การตะลัฟฟุซ หรือการกล่าวถ้อยความเนียตก่อนละหมาดนี้ไม่มีตัวบทหลักฐานใดๆยืนยันเลย

หลักฐานจากอัลกุรอ่านไม่มี (ถ้ามีนำเสนอด้วย)
หลักฐานจากฮะดีสก็ไม่มี (ถ้ามีนำเสนอด้วย)
การกระทำของศอฮาบะฮ์ก็ไม่มีเช่นกัน (ถ้ามีนำเสนอด้วย)
บรรดาอิหม่ามทั้งสี่ก็ไม่ได้ทำและไม่ได้สอนไว้ (ถ้ามีนำเสนอด้วย)

วิจารณ์

คุณอะดีลครับ คำว่า"ตัวบทหลักฐาน" หรือการ "อ้างอิงหลักฐาน" นั้น เราต้องตามแบบฉบับการอ้างหลักฐานแบบสะลัฟนะครับ สี่ประการที่คุณว่ามานั้น เป็นแบบฉบับการอ้างหลักฐานของใคร ? ถ้าหากแบบสะลัฟนั้น คือ อัลกุรอาน ซุนนะฮ์ อิจญฺมาอ์ กิยาส และคำกล่าวซอฮาบะฮ์ หากคุณต้องการสนทนาในทางวิชาการล่ะครับ คุณก็ต้องทำการสนทนาที่อยู่ในกรอบของวิชาการ อยู่ในรูปแบบของการอ้างหลักฐานแบบสะละฟุศศอลิหฺ
งั้นผมมีปัญหาเกิดขึ้นอยากถามคุณสักนิดหนึ่ง คือมีหม้อซุปเนื้อที่กำลังต้มเดือดอยู่ เกิดมีนกตัวหนึ่งบินตกลงมาในหม้อ แล้วตาย ผมอยากทราบว่า ในซุปต้มเนื้อนี้ หุกุ่มว่าอย่างไร ? มีอัลกุรอาน หะดิษ ซอฮาบะฮ์ ตามหลักการของคุณที่อ้างอิงมาสักครู่ ขอให้ช่วยตอบด้วย อย่าหนีคำถามนะครับ ? และให้ตอบตามหลักการของคุณมาด้วยนะ นี่ปัญหาข้อแรกเท่านั้น ผมยังมีปัญหาอีกมากมายเหลือที่จะให้คุณตอบตามหลักการของคุณ แต่ขอให้ตอบข้อนี้ก่อนนะครับ
และอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งผมอยากให้มิตรสหายวะฮาบีย์ทั้งหลายของบังอะสันเข้าใจไว้ด้วยว่า บรรดาอุลามาอ์นั้น เราใช้พวกเขามาเป็น وسيلة ไปสู่หุกุ่ม ไม่ใช่เป็น غاية ไปยังหุกุ่ม หากคำนี้ไม่เข้าใจคำนี้ ให้ถามผมน่ะ

อ้างจากคุณอะดีล

สงสัยว่า ทำไมนักศึกษาอัซฮัร จึงไม่พยายามรักษารูปแบบละหมาดตามที่นะบีสั่ง

วิจารณ์

ผมไม่ทราบว่า รูปแบบในละหมาด หรือนอกละหมาดครับ ? และเรื่องการกล่าวคำเหนียตเป็นเรื่องนอกละหมาด แล้วมันไปเกี่ยวและทำให้เกิดผลกระทบอะไรกับรูปแบบของละหมาด ?? ผมว่าคุณอย่าตั้งคำถามตบตาคนอ่านดีกว่า งั้นผมก็อยากจะถามอีกนะครับว่า หากมีคนหนึ่ง ได้อาบน้ำละหมาดมา แล้วเขาได้ทำการซิกรุลลอฮ์ เรื่อยๆจนกระทั้งมายืนที่ละหมาด และก็ทำการตักบีรละหมาด คุณจะว่าอย่างไรกับการกระทำของคนดังกล่าว ?

และผมอยากถามว่า หากเราทำการอิสติฆฟาร ก่อนการตักบีรเข้าละหมาดนั้นได้หรือเปล่าครับ ?? โปรดตอบให้เราด้วยนะครับ และตอบให้ตรงประเด็นด้วยนะครับ อย่าหนีอีก และผมก็มีปัญหาอีกมากเลยทีเดียวครับ

แล้วอีกอย่างหนึ่ง ท่านอุมัรและท่านอิบนุมัสอูด ได้ทำการเพิ่มตะชะฮุดในละหมาดด้วย ส่งสัยไม่ใช่นักศึกษาอัซฮัรอย่างเดียวที่ไม่รักษารูปแบบการละหมาดตามท่านนบี(ซ.ล.) ผมว่าซอฮาบะฮ์ก็ไม่รักษารูปแบบการละหมาดของท่านนบี(ซ.ล.) ตามทัศนะของคุณอะดีลวะฮาบีย์ผู้อ้างว่าตามสะลัฟแน่เลยครับ คิก คิก


al-farook

อ้างจากบังอะสัน

มาชาอัลลอฮ นี้หรือน้อง หลักฐานสุนัตให้กล่าวคำเนียต นี้คือ คำสนทนาของท่านนบี ศ็อลฯ กับท่านหญิงอาอิฉะฮ (ร.ฏ) คือ
1. เมื่อ ท่านหญิงอาอิฉะฮกล่าวว่า ? ไม่มี?
2. ท่านนบี ศอ็ลฯ ก็กล่าว ว่า ?ดังนั้น ฉันก็ถือศีลอด?
แล้วเศาะหาบะฮท่านใดล่ะครับ เอาคำนี้มาเป็น หลักฐานในการกล่าวคำเนียต ถื่อศีลอด ตามที่คนบ้านเรากล่าวว่า نويت صوم رمضان لغد لله تعالى ?ข้าพเจ้าถือศีลอดเดือนเราะมะฏอน ในวันพรุ่งนี้เพื่ออัลลอฮ(ซ.บ)

วิจารณ์

บังอะสันครับ คำกล่าวการเหนียตนั้นมันกว้าง ไม่ใช่จำกัดคำเหนียตเฉพาะว่า "ข้าพเจ้าถือศีลอดเดือนเราะมะฏอน" เพียงแค่กล่าวว่า "ข้าพเจ้าถือศีลอดฟัรฏู" หรือเหนียตศีลอดสุนัตว่า "ข้าพเจ้าถือศีลอด" ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว และท่านนบี(ซ.ล.) ก็ได้กล่าวมันออกมาจากเจตนาเหนียตของท่าน ในขณะที่ท่านต้องใจจะถือศีลอด ดังที่หะดิษนบีบอกว่า "ดังนั้น ฉันก็ถือศีลอด" เมื่อท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวคำเหนียตอยางนี้ หลักฐานที่เราบังอะสันสมควรจะถามหรือจะตัดสินทางด้านวิชาการก็คือ มาตรฐานของหลักฐานใดบ้าง ที่สามารถนำวางเงื่อนไขหุกุ่มได้ตามแนวทางของสะละฟุศศอลิหฺ

แต่บังอะสันถามว่า "ซอฮาบะฮ์ท่านใดนำมากล่าวเป็นคำเหนียตว่า" บังอะสันถามถึงหลักฐานการระทำของซอฮาบะฮ์ ซึ่งนั่นก็เป็นหลักฐานหนึ่งของ สะละฟุศศอลิหฺ แต่ทำไมบังอะสันไม่ถามว่า เอาไปกิยาสไว้ใหม? บ้างล่ะครับ ซึ่งมันก็เป็นหลักฐานหนึ่งของสะละฟุศศอลิหฺ (ซึ่งพวกเราได้อธิบายไปแล้วในเรื่องของการกิยาส) ทำไมบังอะสันถึงถามมาตรฐานการอ้างหลักฐานเพียงบางส่วน(เช่นการกระทำของซออาบะฮ์) แล้วทำไมไม่ถามเราอีกมาตรฐานการอ้างหลักฐนหนึ่งของสะลัฟการเกี่ยวกับการกิยาสบ้างล่ะครับ ? หรือว่าเอามาตรฐานการอ้างหลักฐานของสะลัฟมาใช้ แต่ผลออกมากลับเป็นบิดอะฮ์อย่างนั้นหรือครับ ? ซึ่งแบบนี้นักปราชน์ท่านใดพูดไว้บ้าง ? หรือว่ามีแต่อุลามาอ์ของวะอาบีย์ที่พูดอย่างนี้ ? คือมาตรฐานของสะลัฟนั้น เมื่อนำเอามาใช้ ผลลัพธ์จะออกเป็นบิดอะฮ์ ?? บังอะสันและมิตรสหายครับ การพูดอ้างว่าตามท่านซุนนะฮ์ท่านนบี(ซ.ล.)นั้นง่ายเหมือนกล้วยปลอกเข้าใจ ซึ่งเด็กๆเขาพูดกันได้ แต่การดำเนินตามหลักการของสะลัฟจริงๆ นั่นซิครับ มันอยากเหมือนเข็นครกขึ้นภูเขา เหมือนกับที่บังอะสันกำลังเป็นอยู่นี่แหละ ดังนั้นการตามสะลัฟนั้น ไม่ใช่จำกัดอยู่ในการตามกระทำที่ออกมาจากพวกเขาอย่างเดียว แต่มันรวมถึงการตามหลักการต่างๆในมาตรฐานการอ้างหลักฐานของพวกเขาด้วย และการอ้างหลักฐานที่ว่า"นบี(ซ.ล.)ไม่ได้ทำ"นั้น ชี้ถึงหะรอม ซึ่งมาตรฐานการอ้างหลักฐานนี้ ไม่ใช่เป็นมาตรฐานในการอ้างหลักฐานของสะละฟุศศอลิหฺ ในบังอะสันและมิตรสหายวะฮาบีย์ลองยกตัวอย่างของสะละฟุศศอลิหฺมาซิว่า "การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้ทำ" เป็น "ดะลีล" (หลักฐาน) หนึ่ง ที่ชี้ถึงหะรอม ?

al-farook

อ้างจากบังอะสัน

สมมุติว่าถ้าเป็นคำเนียตต้องเริ่มต้นคำเนียตก่อนที่จะเนียตว่า ?ข้าพเจ้าเจตนาทำอุมเราะฮและฮัจญ เพื่ออัลลอฮ? หากจะอาบน้ำละหมาด ละหมาด หรือ ทำฮัจญ์นั้น มีบัญญัติให้กล่าวคำเนียต ท่านนบี ก็จะต้องอธิบายให้เหล่าเศาะหาบะฮรับรู้อย่างแน่นอน แต่เพราะไม่มีบัญญัติให้กล่าวคำเนียต ท่านนบีจึงไม่อธิบายเอาไว้ และไม่ได้สอนให้เริ่มต้นการทำพิธีฮัจญ ด้วยคำว่า?

วิจารณ์

บังอะสันครับ สิ่งที่ดีนั้น ต้องเป็นสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้บอกเป็นการเฉพาะหรือครับ ? และสิ่งที่บรรดาซอฮาบะฮ์ได้กระทำขึ้นมาเอง เช่นการเพิ่มในการอ่านตะชะฮุด การเพิ่มการตัลบียะฮ์ในฮัจญฺ และการละหมาดของท่านค่อบีบก่อนถูกสังหาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดีใหมครับ และเมื่อเป็นสิ่งที่ดีแล้ว ทำไมท่านร่อซูล(ซ.ล.)ถึงไม่บัญญัติบอกบรรดาซอฮาบะฮ์? ดังนั้น สิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้บอกบัญญัติไว้ ไม่ใช่ว่ามันจะเป็นสิ่งที่บิดอะฮ์ไปเสียทั้งหมด

แล้วการดุอาอ์ค่อตัมอัลกรุอาน ในละหมาดตะรอวิหฺ และการอ่านกุนูตในละหมาดวิติรในมักกะฮ์โดยอ่านดุอาอ์เสียยืดยาวที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้บอกกำหนดเฉพาะไว้นั้น แถมยังอ่านเสียงดังอีก และทำเป็นนิจสินอีก มันเป็นบิดอะฮ์ที่ล่มหลงใหมครับ ช่วยตอบคำถามแทนอิมามมักกะฮ์ปัจจุบันหน่อยซิครับ เนื่องจากถ้ามันเป็นสิ่งดีแล้ว แน่นอนว่า ท่านนบี(ซ.ล.)ก็ต้องบัญญัติใช้ตามหลักการของบังอะสันไม่ใช่หรือครับ? หรือว่าการกระทำของกลุ่มวะฮาบีย์ไม่เป็นบิดอะฮ์ ถึงแม้ว่านบี(ซ.ล.)และซอฮาบะฮ์ไม่ได้ทำก็ตาม? ฮ้าๆ ยังไงบังอะสันก็อย่าทำตนให้อยู่บนหลักการที่คลุมเครือ

al-farook

อ้างจากบังอะสัน

น้องบ่าว al-farook ครับ คำว่า لبيك بعمرة وحج ที่มีความหมายว่า ?ข้าพเจ้าได้ตอบสนองคำเรียกร้องของพระองค์ท่าน โดย การทำอุมเราะฮและฮัจญแล้ว? นี้ไม่ใช่คำเนียตทำอุมเราะฮและฮัจญหรอกครับ เพราะขั้นตอนมีดังนี้คือ
1. เมื่อคนทำอุมเราะฮและฮัจญ สวมชุดเอียะรอมแล้ว
2. พร้อมเขาตั้งเจตนา(เนียต) เข้าสูพิธีฮัจญและอุมเราะฮ(กรณีทำหัจญ์กิรอน)
3. แล้วให้เขากล่าวตัลบียะฮว่า ? لبيك بعمرة وحج ?(คำนี้ใช้กับกรณีที่ทำฮัจญกิรอน)
กล่าวคือ เนียตก่อนแล้วให้กล่าวตัลบียะฮดังกล่าว ไม่ใช่เริ่มเข้าสู่พิธีด้วยคำข้างต้น โดยอ้างว่า เป็นคำเนียต ข้ออ้างที่น้องอ้างมา ฟังไม่ขึ้นหรอกครับ

วิจารณ์

บังอะสันครับ เราไม่คุยถึงเรื่องกรณี ฮัจญฺกิรอนครับ แต่เราเน้นเรื่องการกล่าวคำเหนียต เช่นในเรื่องฮัจญฺ ที่ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าว คำว่า لبيك بعمرة وحج ที่มีความหมายว่า ?ข้าพเจ้าได้ตอบสนองคำเรียกร้องของพระองค์ท่าน โดย การทำอุมเราะฮและฮัจญแล้ว? ซึ่งคำๆนี้ บังอะสันตีความโดยไร้ความเข้าใจ โดยเหมารวมว่ามันคือการกล่าวตัลบียะฮ์ ไม่ใช่คำเหนียตที่กล่าวออกมาตามความตั้งใจที่ตนได้กระทำฮัจญฺ หรือฮัจญฺและอุมเราะฮ์ เมื่อเป็นเช่นนี้บังอะสันต้องเข้าใจคำว่า الإهلال กับคำว่า التلبية เสียก่อนว่ามันมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

1. การ الإهلال คือ ในขณะที่เข้าเขตอิหฺรอม ก็ให้มีการกล่าวออกมาโดยเสียงดังกับจุดมุ่งหมายหรือเจตนาในขณะที่เริ่มครองเอี๊ยะหฺรอม คือ สุนัตให้กล่าวออกมาเป็นคำพูดในขณะที่เหนียตตั้งใจทำการครองอิหฺรอม และให้กล่าวตามที่ผู้ทำอิหฺรอมเจตนาเอาไว้

2. التلبية คือการกล่าว ลับบัยกัลลอฮัมมะลับบัยก์......(จนจบ) หลังจากเข้าครอบอิหฺรอมแล้ว และสุนัติให้กล่าวเรื่อยๆตามสมัคใจ และมีสถานที่ต่างๆที่ส่งเสริมให้กล่าว ก็ต้องกลับไปดูหนังสือฟิกห์และหะดิษ เช่นท่าน อะนัสกล่าวว่ารายงานว่า

سمعت رسول الله صلى الله عليه وسلم أهل بهما جميعا : لبيك عمرة وحجا . لبيك عمرة وحجا

"ฉันได้ยิน ท่านร่อซูล(ซ.ล.) ทำการเริ่มกล่าวโดยเสียงดัง(ในขณะเริ่มครองอิหฺรอม) ด้วยการทำฮัจญฺและอุมเราะฮ์พร้อมๆกันว่า "ข้าพเข้าได้สนองคำเรียกร้องต่อพระองค์ด้วยด้วยการทำอุมเราะฮ์และฮัจญฺ" ซอฮิหฺมุสลิม หะดิษที่ 214

หรืออีกรายงานหนึ่งรายงานว่า ท่านอะนัสได้ยินท่านร่อซูลกล่าว(ตอนเริ่มเข้าอิหฺรอม) ว่า

لبيك بعمرة وحج

"ข้าพเข้าได้สนองคำเรียกร้องต่อพระองค์ด้วยด้วยการทำอุมเราะฮ์และฮัจญฺ" ซอฮิหฺมุสลิม หะดิษที่ 215

นั่นคือคำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.) ในขณะที่เริ่มเข้าทำฮัจญฺ โดยกล่าวตามที่ท่านได้เจตนาเหนียตไว้ว่า ท่านจะทำอะไร ? เช่นมีซอฮาบะฮ์ท่านหนึ่ง ได้ทำการกล่าวคำเหนียตการทำฮัจญีแทนพี่น้องหรือญาติของเขาในขณะที่เริ่มเข้าครองอิหฺรอมว่า

عن ابن عباس أن النبى صلى الله عليه وسلم سمع رجلا يقول : لبيك عن شبرمة ، قال : من شبرمة ؟ قال : أخ لى أو قريب لى ، فقال : حججت عن نفسك ؟ قال : لا ، قال : حج عن نفسك ثم حج عن شبرمة . رواه أبوداود وابن ماجه وصححه الحاكم والراجح عند احمد وقفه

" จากท่านอิบนุอับบาส แท้จริงท่านนบี(ซ.ล.) ได้ยินชาคนหนึ่ง กล่าวว่า" ข้าพเจ้าได้สนองคำเรียกร้องต่อพระองค์(ในการทำฮัจญฺ)แทน ชุบรุมะฮ์" ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า "ชุบรุมะฮ์เป็นใครหรือ? เขาตอบว่า "เขาคือพี่น้องฉัน หรือ ญาติใกล้ชิดของฉัน" ดังนั้น ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า "ท่านทำฮัจญฺให้ตัวท่านหรือยัง" ? เขาตอบว่า "ยัง" ท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวว่า " ท่านจงทำฮัจญฺให้กับตัวท่านก่อน จากนั้น ท่านก็จงทำฮัจญฺแทนชุบรุมะฮ์ " รายงานโดย อบูดาวูด และ อิบนุมะฮ์ และท่านหากิมถือว่าหะดิษนี้ซอฮิหฺ แต่ที่มีน้ำหนักตามทัศนะของท่านอะหฺมัดนั้น คือหะดิษนี้เมากูฟ (แต่ที่แน่ๆคือสายรายงานนี้ซอฮิหฺครับผม) (ดู บุลูฆุลมารอม หน้า 131)

จากเหตุการณ์ตรงนี้ เราจะพบว่า ซอฮาบะฮ์ท่านหนึ่ง ได้กำลังเริ่มทำการเข้าครองอะหฺรอมโดยกล่าวเป็นคำพูดออกมาตามที่ตนเองเจตนาในการทำฮัจญฺแทนพี่น้องของเขาที่ชื่อ ชุบรุมะฮ์ ซึ่งตรงนี้ บรรดาปวงปราชน์มีความเข้าใจว่า มันคือ "กล่าวคำเหนียตฮัจญฺ"

ท่านอิบนุหะญัร อัลฮัยษะมีย์ กล่าวว่า

المحرم اي مريد الإحرام ينوى بقلبه وجوبا بالخبر إنما الأعمال بالنيات ولسانه ندبا للإتباع

" ผู้ที่ครอบอิหฺรอม หมายถึง ผู้ที่ต้องการทำอิหฺรอมนั้น ให้เขทำการเหนียตด้วยหัวใจของเขา โดยเป็นการวายิบ ด้วยสาเหตุของหะดิษที่ว่า "แท้จริงบรรดาการอะมัล ต้องด้วยการเหนียต" และเหนียตด้วยการกล่าวด้วยลิ้น โดยเป็นสุนัต เพราะว่าตามท่านนบี(ซ.ล.) " ดู ตัวะหฺฟะตุลมั๊วะหฺตาจ เล่ม 3 หน้า 27

ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้กล่าว โดยท่านอิบนุหะญัร อัลฮัยษะมีย์ได้อธิบายว่า

ويندب النطق بالمنوى قبيل التكبير ليساعد اللسان القلب وخروجا من خلاف من أوجبه وإن شد وقياسا على ما يأتى فى الحج المندفع به التشنيع بأنه لم ينقل

"สุนัต ให้ทำการกล่าวคำเหนียต ก่อนจากตักบีรเล็กน้อย เพื่อลิ้นจะได้ช่วยกับหัวใจ และเพื่อออกจากการขัดแย้งกับผู้ที่มีทัศนะว่าวายิบ ซึ่งหากแม้นว่าเขาจะมีทัศนะที่แวกแนว และเพราะไปกิยาส กับสิ่งที่จะนำมากล่าวในเรื่องฮัจญฺ ที่จะมาโต้ตอบการตำหนิ ว่ามันไม่ได้ถูกถ่ายทอด(หลังฐานไว้) " ดู ตัวะหฺฟะตุลมั๊วะหฺตาจ อธิบาย หนังสือมินฮาจของอิมามอันนะวาวีย์ เล่ม 2 หน้า 12

ดังนั้น การกล่าวคำเหนียตในเรื่องของฮัจญฺหรือเรื่องของการถือศีลอด จะก่อนหรือหลังการเหนียต ไม่ใช่เป็นประเด็นสำคัญ แต่เราเน้นประเด็นที่ว่า อนุญาติให้กล่าวคำเหนียตได้หรือไม่? หรือการกล่าวคำเหนียต หรือกล่าวออกมาจากสิ่งที่ตนเองตั้งใจจะทำอิบาดะฮ์นั้นได้หรือไม่? ซึ่งตรงนี้คือประเด็น ซึ่งก่อนที่เราจะกล่าวคำเหนียต เราก็นึกคำเหนียตก่อนอยู่แล้ว และก็กล่าวคำเหนียตออก ซึ่งตรงนี้แหละที่เป็นตัวตอกย้ำและทำให้เราทำการเหนียตในตักบีรได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพมากยิ่งขึ้น

ท่าน อิบนุ กุดดามะฮ์ (อุลามาอ์มัซฮับหัมบะลีย์ ที่อุลามาอ์วะฮาบีย์ให้การยกย่อง) ได้กล่าวไว้ ว่า

وقول النبى صلى الله عليه وسلم : إنما الأعمال بالنيات . ومعنى النية القصد ومحلها القلب ، وإن لفظ بما نواه كان تأكيدا

" คำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.) ที่ว่า "แท้จริงบรรดาอะมัล ต้องด้วยการเหนียต" โดยที่ความหมายของการเหนียตก็คือ การมุ่งเจตนา และสถานที่ของมันอยู่ที่หัวใจ และหากว่าเขากล่าว ด้วยกับสิ่งที่เขาได้เหนียต แน่นอนว่า มันย่อมเป็นการตอกย้ำ(กับหัวใจ) " ดู หนังสือ อัลมุฆนีย์ ของท่านอิบนุกุดดามะฮ์ เล่ม 2 หน้า 15

ผมไม่ทราบว่า ท่านอิบนุกุดดามะฮ์ มีทัศนะที่บิดอะฮ์ตามทัศนะของวะฮาบีย์หรือเปล่า? สงสัยว่า ท่านอิบนุกุดดามะฮ์นี้ ไม่เข้าใจหะดิษที่บังอะสันอ้างว่า

ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

((ما تركت شيئاً يقربكم إلى الله إلا وأمرتكم به، وما تركت شيئاً يبعدكم عن الله إلا وقد نهيتكم عنه)

ฉันไม่ได้ทิ้งสิงใดที่ทำให้พวกท่านได้ใกล้ชิดต่ออัลลอฮ นอกจากฉันได้ใช้พวกท่าน ด้วยมันแล้ว และฉันไม่ได้ทิ้งสิ่งใด ที่ทำให้พวกท่าน ห่างใกลจากอัลลอฮ นอกจากฉันได้ห้ามพวกท่าน จากมันแล้ว ?

เป็นแน่เลยครับ และผมสงสัยว่า การกล่าวคำเหนียตที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้กระทำก่อนการละหมาดนี้ มันเป็นสิ่งที่ทำให้ห่างไกลจากอัลเลาะฮ์ !!! แต่ที่แน่ๆคือ ท่านร่อซุลไม่ได้ห้ามกับมัน (หากมีวะฮาบีย์โปรดนำมาอ้างอิงด้วยครับ) แต่ที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้กล่าวห้ามมันนั้น เพราะว่าการเหนียต ไม่ได้ทำให้ห่างไกลจากอัลเลาะฮ์เลย แต่ในทางตรงกันข้าม มันกลับทำให้หัวใจมีสมาธิในการเหนียตเข้าสู่การละหมาด !!!
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเสวนาเรื่องการกล่าวคำเหนียต(อุซ๊อลลี)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มี.ค. 17, 2007, 06:51 AM »
0
al-farook

อ้างจากบังอะสัน

ข้อความของน้อง al-farook
أنه لا يجوز التقرب إلى الله تعالى بعمل ليس له مستند شرعي.

"ไม่อนุญาติให้ทำการสร้างความใกล้ชิด ต่ออัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ด้วยการปฏิบัติ ที่ไม่มีหลักฐานที่มาของหลักศาสนา"

วิจารณ์

หลักฐานของหลักศาสนานั้น คือการกิยาสด้วยนะครับบังอะสัน ซึ่งมันเป็นทัศนะของ ซอฮาบะฮ์และสะละฟุสศอลิหฺ หากจะยกคำกล่าวของผมแล้ว กรุณยกมาให้ครบถ้วนจะดีมากครับ กรุณาอย่ายกบางส่วนเหมือนกับที่บังอะสันชอบกระทำมากับคำพูดของอิมามอัชชาฟิอีย์ เพราะมันอาจจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิด

อ้างจากบังอะสัน

แล้วที่ว่าได้บุญ นั้น ได้บุญจากใคร และใครรับรองการกล่าวคำเนียตที่เพิ่มขึ้นมา และจำเป็นอะไรหรือ ที่ต้องทำอย่างนี้

วิจารณ์

เราทำอิบาดะฮ์ไม่เน้นผลบุญครับ เราทำตามเพียงหน้าที่ของผู้เป็นบ่าวเท่านั้น และบังอะสันพูด หากมันเป็นสุนัตที่ทำแล้วได้บุญละทิ้งไม่ได้รับโทษ แต่หลังจากคำพูดนี้ บังอะสันกลับพูดแบบไม่เข้าใจถ้อยความว่า ?และจำเป็นอะไรหรือที่ต้องทำอย่างนี้? อะไรกันครับบังอะสัน ผมอีกตั้งหลายครั้งแล้วว่า มันไม่ใช่วายิบ และไม่ใช่จำเป็น ผมสงสัยบังอะสันจะยกคำกล่าวของผมแบบท่อนๆยังไม่พอ ดันยังมาวกวนกับคำพูดของตนเองอยู่อีก

asan

น้อง al-farook กล่าวว่า
เราทำอิบาดะฮ์ไม่เน้นผลบุญครับ เราทำตามเพียงหน้าที่ของผู้เป็นบ่าวเท่านั้น และบังอะสันพูด หากมันเป็นสุนัตที่ทำแล้วได้บุญละทิ้งไม่ได้รับโทษ แต่หลังจากคำพูดนี้ บังอะสันกลับพูดแบบไม่เข้าใจถ้อยความว่า ?และจำเป็นอะไรหรือที่ต้องทำอย่างนี้? อะไรกันครับบังอะสัน ผมอีกตั้งหลายครั้งแล้วว่า มันไม่ใช่วายิบ และไม่ใช่จำเป็น ผมสงสัยบังอะสันจะยกคำกล่าวของผมแบบท่อนๆยังไม่พอ ดันยังมาวกวนกับคำพูดของตนเองอยู่อีก
???????.
ตอบ
ครับ จึงสรุปคำตอบของน้อง al-farookได้ว่า ที่กล่าวคำว่า ?อุศอ็ลลี?ก่อนละหมาดนั้น ไม่วาญิบ ไม่จำเป็น และ การทำอิบาดะฮนั้น ไม่เน้นเรื่อง ผลบุญ คือ ได้ก็เอา ไม่ได้ก็ไม่เอา แบบคนมักน้อย อยากประกาศให้ใครก็ตาม ที่บอกว่า ฉันจะไม่ละหมาดตามพวกไม่กล่าวอุศอ็ลลี ทราบโดยทั่วกันว่า พวกท่านจงคิดใหม่ ทำไหม่ได้แล้ว

น้อง al-farook กล่าวว่า
บังอะสันและมิตรสหายครับ การพูดอ้างว่าตามท่านซุนนะฮ์ท่านนบี(ซ.ล.)นั้นง่ายเหมือนกล้วยปลอกเข้าใจ ซึ่งเด็กๆเขาพูดกันได้ แต่การดำเนินตามหลักการของสะลัฟจริงๆ นั่นซิครับ มันอยากเหมือนเข็นครกขึ้นภูเขา เหมือนกับที่บังอะสันกำลังเป็นอยู่นี่แหละ

ตอบ
อ้าว..เป็นงั้นไป แต่บังว่า การตามสุนนะฮของท่านบี (ศอลฯ)มันง่าย แต่ที่ยาก เพราะมีคนมาทำเรื่องง่าย ให้เป็นภูเขา เลย กลายเป็นเรื่องหนักใจและยุ่งยากกับชาวบ้าน เรื่อง ละหมาด หากอยู่ในกรอบหรือ ภายใต้ขอบเขตของคำว่า

‏{‏لقد كان لكم في رسول الله أسوة حسنة‏}‏ ‏[‏سورة الأحزاب آية 21‏.‏‏]

แท้จริงในศาสนทูตของอัลลอฮนั้น เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พวกเจ้า ? อัลอะหซาบ/21

‏(‏صلوا كما رأيتموني أصلي‏)‏

พวกท่านจงละหมาดดั่งเช่นที่พวกท่านเห็นฉันละหมาด
‏[‏الإمام أحمد 5/53 والإمام البخاري 1/154 مطابع الشعب 1387 هـ‏.‏‏]‏ رواه البخاري في صحيحه‏


ยกตัวอย่าง การทำนุ่นให้เป็นภูเขา เช่น
ในขณะทีกล่าว คำว่า ?อัลลอฮุอักบัร?นั้น ต้องการเนียตจะต้องพร้อมกับตักบีร โดยให้มี 1. เกาะศอ็ด 2. ตะอฺรอฎ 3. ตะอยีน แล้วคำว่า พรอ้ม(มุกอเราะนะฮ)กับการตักบีรนั้น แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. มุกอเราะนะฮอุรฟียะฮ
2. มุกอเราะนะฮเตาซีอียะฮ
3. มุกอเราะนะฮกะมาลียะฮ
คนเรียนปอเนาะตัวจริง ต้องได้เรียนมาแล้วแบบนี้
................................
เห็นไหมละครับ มันยากแค่ใหน เวลา ตักบีร เลยต้องลากเสียงยาว จนเกือบจะสิ้นลมปราณ น่าสงสารชาวบ้านจริงๆ บางคนตักบีรถึง สามสี่ครั้ง เพราะเนียตไม่ติด ซุบฮานั้ลลอฮ
..........................
ข้อความอ้างอิงของ น้องบ่าวal-farook
และหะดิษ เช่นท่าน อะนัสกล่าวว่ารายงานว่า

سمعت رسول الله صلى الله عليه وسلم أهل بهما جميعا : لبيك عمرة وحجا . لبيك عمرة وحجا

"ฉันได้ยิน ท่านร่อซูล(ซ.ล.) ทำการเริ่มกล่าวโดยเสียงดัง(ในขณะเริ่มครองอิหฺรอม) ด้วยการทำฮัจญฺและอุมเราะฮ์พร้อมๆกันว่า "ข้าพเข้าได้สนองคำเรียกร้องต่อพระองค์ด้วยด้วยการทำอุมเราะฮ์และฮัจญฺ" ซอฮิหฺมุสลิม หะดิษที่ 214

หรืออีกรายงานหนึ่งรายงานว่า ท่านอะนัสได้ยินท่านร่อซูลกล่าว(ตอนเริ่มเข้าอิหฺรอม) ว่า

لبيك بعمرة وحج

"ข้าพเข้าได้สนองคำเรียกร้องต่อพระองค์ด้วยด้วยการทำอุมเราะฮ์และฮัจญฺ" ซอฮิหฺมุสลิม หะดิษที่ 215

นั่นคือคำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.) ในขณะที่เริ่มเข้าทำฮัจญฺ โดยกล่าวตามที่ท่านได้เจตนาเหนียตไว้ว่า ท่านจะทำอะไร ? เช่นมีซอฮาบะฮ์ท่านหนึ่ง ได้ทำการกล่าวคำเหนียตการทำฮัจญีแทนพี่น้องหรือญาติของเขาในขณะที่เริ่มเข้าครองอิหฺรอมว่า
عن ابن عباس أن النبى صلى الله عليه وسلم سمع رجلا يقول : لبيك عن شبرمة ، قال : من شبرمة ؟ قال : أخ لى أو قريب لى ، فقال : حججت عن نفسك ؟ قال : لا ، قال : حج عن نفسك ثم حج عن شبرمة . رواه أبوداود وابن ماجه وصححه الحاكم والراجح عند احمد وقفه

" จากท่านอิบนุอับบาส แท้จริงท่านนบี(ซ.ล.) ได้ยินชาคนหนึ่ง กล่าวว่า" ข้าพเจ้าได้สนองคำเรียกร้องต่อพระองค์(ในการทำฮัจญฺ)แทน ชุบรุมะฮ์" ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า "ชุบรุมะฮ์เป็นใครหรือ? เขาตอบว่า "เขาคือพี่น้องฉัน หรือ ญาติใกล้ชิดของฉัน" ดังนั้น ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า "ท่านทำฮัจญฺให้ตัวท่านหรือยัง" ? เขาตอบว่า "ยัง" ท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวว่า " ท่านจงทำฮัจญฺให้กับตัวท่านก่อน จากนั้น ท่านก็จงทำฮัจญฺแทนชุบรุมะฮ์ " รายงานโดย อบูดาวูด และ อิบนุมะฮ์ และท่านหากิมถือว่าหะดิษนี้ซอฮิหฺ แต่ที่มีน้ำหนักตามทัศนะของท่านอะหฺมัดนั้น คือหะดิษนี้เมากูฟ (แต่ที่แน่ๆคือสายรายงานนี้ซอฮิหฺครับผม) (ดู บุลูฆุลมารอม หน้า 131)
ตอบ
อ่านแล้ว ไม่มีตรงใหนเลยที่บ่งบอกว่า สุนัตให้กล่าวคำเนียต ในการอาบน้ำละหมาด การอาบน้ำวาญิบ การละหมาด การถือศีลอด และการทำฮัจญ คิดได้ยังไงเนี่ย
ท่านอิบนุตัยมียะฮ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
قد جاء الحديث : > أيها الناس كلكم يناجي ربه فلا يجهرن بعضكم على بعض بالقراءة < فكيف حال من يشوش على الناس بكلامه بغير قراءة بل يقول : نويت أصلي أصلي فريضة كذا وكذا في وقت كذا وكذا من الأفعال التي لم يشرعها رسول الله صلى الله عليه وسلم
แท้จริงได้ปรากฏหะดิษว่า ? โอ้บรรดามนุษย์ทั้งหลาย พวกท่านทุกคน กำลังกระซิบกับพระผู้อภิบาลของเขาตามลำพัง ดังนั้น พวกท่านอย่าทำเสียงดังรบกวนซึ่งกันและกัน ด้วยการอ่าน?- แล้วจะเป็นอย่างไรเล่า กับสภาพของคนที่รบกวนผู้คน ด้วยคำพูดของเขา อื่นจากการอ่าน แต่ทว่า เขากล่าวว่า ? ข้าพเจ้าเจตนาละหมาด ข้าพเจ้าละหมาดฟัรดูนั้น ฟัรดูนี่ ในเวลานั้น เวลานี้ ที่มาจากส่วนหนึ่งของการกระทำ ที่ท่านรซูลุลอฮ ศอ็ลลอลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมไม่ได้มีบัญญัตเอาไว้ ดู كتاب الفتاوى الكبرى، الجزء 2، صفحة 218
?????..
อยากจะถามว่าสมมุติว่า คนหนึ่งจะละหมาดแล้วเผลอกล่าวคำเนียต ว่า ?ข้าพเจ้าเจตนาเอาน้ำละหมาด?แต่ในใจเนียตว่า ข้าพเจ้าละหมาด..? การละหมาดนั้นใช้ได้หรือไม่?
..................
บังอะสัน

Konyakroo

ต่อไปนี้ขอทำความเข้าใจกับพี่น้องวะฮาบีย์ทุกคนก่อนว่า บทความแต่ละบทที่นำมาถ่ายทอดให้พี่น้องต่างมัสหับที่ได้เห็นอยู่นี้ ล้วนถูกนำมาจากบรรดาชนสลัฟ และอุลามะของผู้เดินทางในแนวชนสลัฟทั้งสิ้น เพื่อให้สมเจตนารมฌ์ ของพี่น้องวะฮาบีย์ที่เขาชอบอ้างว่ายึดตามแนวชนสลัฟ
เป็นบัรนทัดฐานในการดำเนินชีวิตมาตลอด

--ท่านอีหม่ามชาฟีอี(รฮ) เป็นชนสลัฟที่ดำเนินชีวิตตามแบบอย่างซุนนะท่านนบีมาตลอดซึ่งเป็นที่ยอมรับของบรรดาปวงปราชญ์ทั้งหลายในอดีต ท่านเป็นคนที่มีความรู้รอบในทุกๆด้าน และตระกูลของท่านสืบเชื้อสายมาจากท่านนบีทั้ง 2 ฝ่าย..
ท่านอีหม่ามอัชชาฟีอีเสียชีวิตในฮศ.204....โดยที่ชื่อเสียงของท่านเป็นที่ยอมรับณ.ทุกวันนี้.
ท่านกล่าวว่า
บิดอะฮืนั้นแบ่งบิดอะฮ์ออกเป็น2 ประเภท คือบิดอะที่ดี(ฮาซานะ)และบิดอะที่เลว(ฎอลาละ)และคำว่าบิดอะครอบคลุมไปถึงทุกอย่างที่มีขึ้นในสมัยท่านบีและหลังสมัยของท่านนบีและคุลีฟะทั้ง4 และยุคซอฮาบะที่อยุ่ในแบบฉบับของท่าน
ท่านกล่าวว่า
อุตริกรรมต่างๆมีสองประเภท
1.สิ่งที่เสกสรรขึ้นมาแล้วไปขัดแย้งกับคัมภีร์และซุนนะและการอิตมาฮ์ของปรวงปารชญ์หรือการปฏิบัติของบรรดาสสาวกทั้งหลาย
อันนี้คือ บิดอะฮืที่ล่มหลง และไม่มีในแบบอย่างของศาสนามาก่อน

2.และสิ่งใดที่ก็ตามที่เป็นการกระทำที่ดีโดยได้สอดคล้องกับคัมภีร์และซุนนะหรืทิอมติปวงปราชญ์หรือมีแบบอย่างจากบรรดาสาวกและมีทั่มาจากรากฐานเดิมของศาสนา นั้นคือ บิดอะที่ดี

และเป็นเป็นอุตริกรรมที่ไม่น่าตำหนิหรือไม่ใช่สิ่งเลว

ทีกล่าวมานี้คือการกระทำของอุลามะในยคุสลัฟตัวจริง โดยที่ท่านมีจุดยืนมาจากอัลกรุอานและวุนนะท่านนบีและการอิมาอะของปวงปราชญทที่มีความรู้ทั้
ฮาดีสที่ท่านเอาฮาดีสมาเป็นบันทัดฐานในการแบ่งแยกบิดอะมีดังนี้.
จากซัรห์มุสลิม เล่มที่12หน้า16 และเล่มที่17หน้า 266และศอเหียะมุสลิมเล่ม1หน้า242

ซึ่งท่านอีหม่ามมาลีกี(รฮ)ท่านก็ได้ยอมรับและได้บันทึกเก็บไว้ในมุวัฏเฏาะเล่มที่1หน้า136-137

ทั้ง3ฮาดิสนี้ เป็นสิ่งอ้างอิงที่ท่านอีหม่ามชาฟีอี(รฮ)ได้นัชำมาแบ่งแยกบิดอะฮ์ออกเป็น2.
ท่านอีหม่ามสุญุตี1ในมัสหับชาฟีอีท่านได้เรียบเรียงหนังสือ ตีชันวีรุลมาลิกซัรห์ มุวัฏเฏาะมาลิกในสุนัน (ท่านนะซาอี เสียชีวิตฮศ.32)รวบรวมและเรียบเรียงหนังสือตัฟซีรญะลาลัยน์ท่านกล่าวว่า
---แต่เดิมบิดอะหมายถึงสืงที่ถูกริเริ่มขึ้นโดยไม่มีตัวอย่างหรือแบบอย่างแต่คำนี้ถูกมาใช้ในแง่ของศาสนาหรือสิ่งที่อยู่ตรงข้ามจากศาสนาคือไม่เคยปรากฎมีในสมัยท่านรอซุลและต่อมาได้แบ่งไปสู่กฏเกณท์ทั้งห้าของศาสนานั้น...

สิ่งที่ไม่เคยมีในสมัยท่านรอซุล เช่นการรวบรวบอัลกรุอ่านเป็นเล่ม การเพิ่มบาริสหรือสระพยัญชนะของอัลกรุอาน การอะซานเพิ่มในละหมาดวันศุกร์การประดับประดามัสยิดให้สวยงาม
ฯลฯ และทุกอย่างที่กล่าวมานี้ล้วนมีมาจากรากฐานของศานสนาที่ศาสนาส่งเสริมให้กระทำทั้งสิ้น...
สำหรับในแนวทางของอีหมามชาฟีอีนั้นเป็นที่ชัดเจนที่ในการแบ่งบิดอะออกเป็น 5 ประเภท เพราะกิจกรรมทุอย่างนั้นต่องเกี่ยวพันกับเรื่องศาสนาเกือบทุกอย่าง

สำหรับฮาดีสที่รายงานโดยมุสลิมที่ว่า ท่านนบีกล่าว่า

ผู้ใดอุตริกรรมในกิจการ(ศาสนา)แห่งเราซึ่งไม่ใช่เรื่องราวของศาสนานั้น สิ่งนั้นย่อมถูกปฏิเสธ

คำว่ากิจการนั้น ท่านอิบนุหะญัร อัลอัสกอลี กล่าวว่า มันหมายถึงเรื่องของศาสนาที่มีอยู่แล้ว..ทั้งนี้เพราะท่านนบีถูกส่งมาเพื่อประกาศศาสนาดดยตรงแล้ว ฉนั้นใครที่มาแอบอ้างหรือเสกสรรเพิ่มเติมดดยที่ไม่มีรากฐานที่มานั้นย่อมถูกปฎิเสธและถือว่า เป็นเรื่องที่เลว

สรุปแล้วในทัศนะหรือความคิดของอีหม่ามชาฟีอีซึ่งเป็นชนยุคสลัฟตัวจริงนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านเสนอหรือแนะนำให้ประชารกรอิสลามนั้นล้วนมีที่มาจากแบบอย่างท่านนบีและซุนนะคอลีฟะ และซอฮาบะ เพราะช่วระยะเวลา ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต ในปี ฮศ.204นั้น นักปราญช์ทั้งหลายล้วนมีความรู้กันอย่างมากมายและทุกคนล้วนทำงานศานสนาอย่างขะมักขะเม้น เป็นที่แน่นอนว่า การวินิจฉัย เรื่องราวของศนาสนาต่างที่ตกมายังเราในยุคปัจจุบันนี่ ย่อมไม่มีอะไรแอลแฝงหรือผลประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น แป็นที่ทราบกันว่าในยุคอดีตนั้น แนวทางทั้ง4 เป็นที่ยอมรับและเลื่องลือทั่วโลกมาตลอด

ถ้าจะเปรียบเทียบผลงานและการให้ความยอมรับของปรวงปารชณ์ในอดีตกับท่านนอิหม่ามชาฟีอีอและบรรดาลูกศิษย์กับท่านอีหม่ามอิบนุตัยมียะและบรรดาสานุศิยษ์ที่เจริญรอยตามแล้ว ก็พอจะสรุปข้อย่อยๆได้ดังนี้


-ท่านอีหม่ามชาฟีอี(รฮ)คือ1 ใน4 แนวทางที่ถูกต้องของมัสหับทั้ง4 และเป็นที่รู้จัก ของปรวงปราชญ์ทั้งหลาย
-บรรดาสานุศิษย์ของท่านยอมเป็นที่รุ้จักเป็นที่ยอมรับของบรรดาอุลามะในมัสหับทั้ง3เป็นอย่างดี

ท่านอีหม่ามชาฟีอี (รฮ) เสียชีวิตในปีฮศ204

ท่านอิบนุตัยมียะฮส.724 และไม่ที่รู้จักของปรวงปราญน์ในยุคของอีหม่ามทั้ง4 และผลงานบางเล่มของท่านได้รับการคัดค้านเป็นส่วนมากเพราะท่านไม่ใช่เป็นคนที่มีความรู้เรื่องทุกวิชา
โดยเฉพาะอกีดะของท่านถือว่า ถูกตำหนิและไม่เเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างจากอุลามะในสมัยนั้น

-บรรดาลูกศิษย์ของท่านไม่ว่า อิบนุกอยยิม ฯลฯ ล้วนที่ไม่เป็นที่รู้จักของบรรดานักวิชาการของมัสหับทั้ง4 และไม่ได้เป็นจากยุคสลัฟ

ถ้าบวกลบอายุความน่าเชื่อถือระหว่างท่านอิหม่ามชาฟีอิกับท่านอิหม่ามอิบนุตัยมียะแล้วห่างประมาณ 500 ปีกันแล้ว

และจะเห็นว่าระหว่างความน่าเชื่อถือในการรับรายงานการกระทำนั้น ผู้ที่ใช้ชีวิตในยุคสลัฟนั้นย่อมจะได้รับการน่าเชื่อถือมากกว่า
ทุกอย่างที่ท่านอีหม่ามวินิจฉัยเป็นตัวบทย่อมนำบันทัดฐานมาจากอัลกรุอ่านและซนนะท่านนบีและรวมทั้งบรรดาซอฮาบะของท่าน และมติของปรวงปราญช์ทั้งหลายที่มีความรู้ ในสมัยนั้นมาเป็นมาตรฐาน

ส่วนอิหมามิบนุตัยมียะนั้นบางอย่าง ท่านก็รับมาจาก อีหม่ามทั้4 และสิ้งใดที่สอดคลฃ้องกับแนวทางของตนก็นำมันมา เช่นการฟัตวาว่า การหย่าร้างด้วยการสาบานนั้น หากไม่ปฏิบัติตามถือว่าไม่ตกหย่า เพียงแต่ผู้สาบานนั้นจ่ายกัฟฟาเราะก็พอ (ทั้งที่การสาบานได้ถูกเอ่ยนามก็ตามถือว่าเป็นโมฆะ) การหย่าร้างสามครั้งโดยกล่าวครั้งเดียวถือว่าตกแค่ครั้งเดียว การไปเยี่ยมกุโบร์ ของท่านอิบรอฮีม คอลีลและท่านนบีมูฮำมัด(ศ)ถือว่าเป็นมักโระฯลฯ

นี่คือตัวอย่างการผิดพลาดที่อุลามะทั่วไปไม่ยอมรับท่าน

ที่ยกมานี้เพิ่อให้พี้น้องได้เห้นว่า
ระหว่างการตะฮัศสุบที่ยึดความเห็นใดๆจากท่านอินุตัยมียะเป็นมาตรฐานในการดำเนินชีวิตแล้วมันย่อมอันตรายกว่าการยึดตามอีหม่ามที่รู้และเป็นคนในยุคสลัฟและปลอดภัยกว่าด้วยเหตุผลต่างๆที่กล่าวมาแล้ว

วัสลาม
--

Konyakroo

คุณอาดีล
หลักฐานจากอัลกุรอ่านไม่มี
หลักฐานจากฮะดีสก็ไม่มี
การกระทำของศอฮาบะฮ์ก็ไม่มีเช่นกัน
บรรดาอิหม่ามทั้งสี่ก็ไม่ได้ทำและไม่ได้สอนไว้

เมื่อไม่มีหลักฐานตรงๆ ก็หันไปใช้หลักกิยาสอย่างนี้ใช่ใหม

1.ผมขอถามคุณบ้างว่า การกิยาสได้ห้ามใช้ ในอัลกรุอ่านหรือไม่
2.ผมขอถามคุณบ้างว่า การกิยาสได้ห้ามใช้ ในอัลฮาดีส หรือไม่
3.ผมขอถามคุณบ้างว่า การกิยาสได้ห้ามใช้ จากซฮาบะหรือไม่
ผมขอถามคุณบ้างว่า การกิยาสได้ห้ามใช้ จากอิห่ามทั้4หรือไม่
4.
ตอบด้วยครับและกรุณานำหลักฐานที่คุณมีมาเสนอด้วยขอบคุณล่วงหน้า
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเสวนาเรื่องการกล่าวคำเหนียต(อุซ๊อลลี)
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: มี.ค. 17, 2007, 06:55 AM »
0
Konyakroo

คนเดินผ่าน...คุณคือคนเดียวกับไออาเอฟนะครับ

คุณพูดว่า...
...1.การสนทนาเราควรเคร่งครัดในกฏกติกา เราควรนำเสนอจากอัลกรุอานและแบบอย่างจากท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นหลัก.

ถูกต้องครับ..นี้คือสิ่งที่เราต้องการมาก ปัญหามันอยู่ที่วะฮาบีย์นั้นชอบเอาคำพูดหรือความเห็นมาเผยแพร่หรือหักล้าง.คำวินิจฉัยของอุลามะในยุคสลัฟนี้ซิสิครับ จะทำอย่างไร..
เช่นจากท่านอิบนุตัยมียะ จาสก่ทานอินุกอยยิมจากท่านอัลศูมีย์ ท่านอัลยานี. ฯลฯ
และจะใหเราทำอย่างไรละครับท่านคนเดินผ่าน..ฮ้าๆๆๆ

.2...มาตราฐานของเราคือแบบอย่างของท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เพราะเป็นแนวทางที่ปลอดภัยที่สุดและถูกต้องที่สุด..

แน่นอนครับ ทุกอย่างต้องดึงมาจากซุนนะนบีทั้งนั้น และคอลีฟะทั้ง4 ด้วยรวมถึงบรรดาซอฮาบะของท่านด้วยครับผมขอเสริมให้

...อัลลอฮ ตะอาลา ตรัสว่า " ถ้าหากพวกเจ้าขัดแย้งกันในเรื่องหนึ่งเรื่องใด ก็จงนำเรื่องนั้นกลับไปยังอัลลอฮและร่อซูล หากว่าพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮและวันอาคิเราะฮฺ นั่นแหละเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไปที่สวยงามยิ่ง" อัลนิซาอฺ 4 : 59 ...

ฮะฮ้า เราไม่เคยทิ้งอายะนี้ เลยและเราก็ยอมรับไปในวันอาคีเราะฮ์อยู่แล้วครับ..ฮิๆๆๆ

จริงแล้วเรื่องที่เราพูดกันนี้มันไม่ได้เพิ่งขัดแย้งเลยมันเป็นปัญหาที่สั่งสมกันมาตั้งแต่อดีตแล้ว
และได้ถูกนำกลับไปโดยผู้รู้ในยุคอดีตแล้วด้วย แต่มันถูกคุ้ยขึ้นมาใหม่โดยวะฮาบีย์ ที่ไม่ยอมรับผลการสรุปของปรวงปารญชน์ในครั้งนั้น
ไม่ว่าประเด็นก็ตามใดๆ ไม่ว่าเขาผู้นั้นหรืออุลามะจะมีมีความรู้มากกว่าก็ตาม ถ้าไม่ใช่ท่านนบี(ศ) และอุลามะในสายของตัวเองนั้นทั้งที่เขาเหล่านั้นไม่เป็นที่ยอมรับจากอุลามะยุคก่อนก็ตาม

ถามคุณเดินผ่าน อายะที่ขีดเส้นใต้นั้น ถ้าไม่ตีความแล้ว คนทีไม่มีความรู้หรือคนเอาวามนั้นเขาจะนำกลับสิ่งนั้นไปหาอัลลอฮ์(ซบ)และท่านรอซุลอย่างไรครับ ช่วยแนะนำด้วย
..โปรดตอบบ้าง อย่าถามเเต่ฝ่ายเราข้างเดียว.....


...ไม่ว่าในประเด็นใดๆที่ Al-Azharyและคุณ Al-Farook นำมาพูดคุยชี้แจง ก็ควรนำเสนอจากหะดีษที่ซอเฮี๊ยะห์ แบบอย่างจากท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เท่านั้น ถ้าไม่มีก็ควรยุติบทบาทของตัวเองในประเด็นนั้นๆ ..

นี้คือความไม่เข้าใจในการใช้ฮาดิสของ. วะฮาบีย์ และถ้านำเรื่องนี้ไปคุยกับพวกชีอะจะต้องโดนตะเพิดแน่ ว่ากุฮ่าดิสขึ้นมาบ้างฮ้าๆๆและถ้าคุยกับพวกยับบารียะแน่อนฮาดิสนั้นเขาไม่เอามาเป็นข้ออ้างเลย

คนเดินผ่านครับ ฮาดิสฮะซัน ฮาดิสดออีฟไม่มีค่าหรือครับ แล้วฮาดีสดออีฟในแนวทางของท่านอีหม่ามอะหมัดถ้าเอามาใช้ในการตัดสินและการปฏิบัตินะครับ
ตกลงท่านคนเดินผ่านนจะยึดถืออะไรกันแน่ครับ หวังว่าคงจะไม่เอาทั้ง 4 แนวทางนะครับ
...
...ส่วนประเด็นในการละหมาด การกล่าวเหนียต อุซอลลีนั้น ง่ายๆสั้นๆครับ ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า " ท่านทั้งหลาย จะละหมาดเช่นเดียวกับที่ท่านเห็นฉันละหมาด " บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ ...

คนละเรื่องเลย การกลบ่าวอุศอลีคทือ การตั้งใจเจตนาย้ำว่าตัวเองนั้นกำลังจะทำอะไรอยู่หรือเป็นการเตือนสติตัวเองทั่กำลังเบรอๆหรือยังไม่ได้สติว่ากำลังจะเข้าเฝ้าอัลลออ์(ซบ) เท่านั้นครับ มันอยู่นอกละหมาด เเละได้จัดในรู่กนละหมาดสักหน่อย...ไปกันใหญ่แล้ว..

... คุณ Al-Farook ก็ควรนำเสนอหะดีษที่ซอเฮี๊ยะห์ แบบอย่างจากท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในการกล่าวเหนียต อุซอลลี ในประเด็นการละหมาด ถ้ามีก็นำเสนอมา แต่ถ้าไม่มีคุณก็

...ก่อนจบขอทิ้งท้ายด้วยคำพูดของ ท่านอิมาม มาลิก ร่อฮิมุลลอฮฺ " แต่ละคนนั้น คำพูดของเขาจะได้รับการยอมรับหรือถูกขว้างทิ้งไปได้ทั้งนั้น นอกจากคำพูดของเจ้าของหลุมศพนี้เท่านั้น พลางท่านชี้ไปที่หลุมศพของ ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม " ...


-----คนเดินผ่านครับ อย่าพูดเเบบเด็กอมมือหน่อยเลย..ครับ..

ถ้าสมมุติคุณนั้นมีความผิดต่ออัลลออ์(วบ)อย่างมาก แล้วคุณต้องการกล่าว อิสติฟาต์ อยู่ตลอดเวลา และพอเริ่มจะละหมาดคุณยังคงกล่าวอิสติฟาตให้กับตัวเองอยู่ จุ๋ๆคุณก็ยกมือตักบีรละหมาดเลยหรือครับ ไม่ตั้งสมาธก่อนหรือครับ ว่าฉันกำลังทำอะไรอยู่นี้ หรือว่า คุณเข้าใจแล้วว่าอัลลออ์รู้ดีว่า ท่านละหมาดแล้ว ถ้าอย่างนี่ถือว่า คุณเอาเรื่องการเอิยะติกอดไปโยงกับภาคชารีอัต(การปฏิบัติ)ซิครับคุณอย่ามักง่ายกับการถวายละหมาดต่อพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงให้ชีวิตเราเลยครับ ใจเย็นช้าๆมีสามาธิ นั้นดีมากนะครับ.. การรู้ว่าอัลลออ์ทรงรู้ถึงจิตใจของบ่าวนั้นมันเป็นวายิบที่เรามุสลิมต้องศรัทธาอยู่แล้ว แต่การปฏฺบัติด้วยความนอบน้อมถ้อมตนนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ตักวา และท่านนบี..ก็กำชับเราเสมอครับ...ยิ่งในยุคปัจจุบันนี้ สามาธิที่ดีนั้นแทบจะหาไม่ได้เลย..

ส่วนคุณจะกล่าวค่อยหรือดังหรือจะไม่กล่าวก็ไม่ได้เป็นวายิบ บอกแล้วไงว่า เป็นสิ่งที่ดี ในรากฐานของศาสนา และไม่เป็นฮารามแต่อย่างใด

ข้อสำคัญ

อย่าเผอเรอและหลงลืมนะครับ ต้องเตือนตัวเองไว้ให้ระมัดระวังอยู่ตลอดเว

และเรื่องการกล่าวอุศอลีนั้นอุลามะในยุคสลัฟและบรรดาลูกศิษย์ของท่านอีหม่ามทั้ง 4 ไม่มีใครว่าเป็นบิดอะเลย จะมีก็เฉพาะวะฮาบีย์สลัฟพันธ์เทียมนี้แหละครับ..ฮ้าๆๆๆ


adeel

และแล้วอัลฟารูกนักศึกษาอัซฮัรก็ลื่นไหลไปอีกเช่นเคย

ผมถามหาตัวบทหลักฐาน แต่อัลฟารูกกลับเลี่ยงไปพูดถึงการอ้างอิงหลักฐาน แล้วก็เลยไปเฉยๆ
สี่ข้อที่ผมชี้ให้เห็นว่า การตะลัฟซุฟ หรือการกล่าวคำเนียตก่อนละหมาดนั้น

หลักฐานจากอัลกุรอ่านไม่มี
หลักฐานจากฮะดีสก็ไม่มี
การกระทำของศอฮาบะฮ์ก็ไม่มีเช่นกัน
บรรดาอิหม่ามทั้งสี่ก็ไม่ได้ทำและไม่ได้สอนไว้

อัลฟารูกไม่ตอบ,ไม่ชี้แจงทั้ง 4 ข้อที่ผมกล่าวไว้
ผมย้ำอีกครั้งก็ได้ว่าไม่มีหลักฐานการตะลัฟฟุซ หรือการกล่าวคำเนียตก่อนละหมาด (ไม่มีจริงๆ)
แต่อัลฟารูกพยายามบ่ายเบี่ยงไปพูดเรื่องการอ้างอิงหลักฐานว่า
?แบบสะลัฟนั้น คือ อัลกุรอาน ซุนนะฮ์ อิจญฺมาอ์ กิยาส และคำกล่าวซอฮาบะฮ์?
ผมอยากให้อัลฟารูกจริงใจต่อการกล่าวเช่นนี้ด้วย เพราะคุณย้ำว่า
?การสนทนาที่อยู่ในกรอบของวิชาการ อยู่ในรูปแบบของการอ้างหลักฐานแบบสะละฟุศศอลิหฺ?

ถ้าเช่นนั้นลองเอาการอ้างหลักฐานตามแบบสะลัฟที่อัลฟารูกกล่าวมาเรียงลำดับกันทีละข้อโดยเริ่มต้นจาก

ข้อที่ 1 หลักฐานจากอัลกุรอาน

สำหรับผมแล้วยืนยันตามเดิมว่า ไม่มีหลักฐานการตะลัฟซุฟหรือการกล่าวคำเนียตก่อนละหมาดจากอัลกุรอาน

ถ้าอัลฟารูกมีหลักฐานอ้างอิงจากอัลกุรอานก็นำเสนอด้วย

ชาวสะลัฟเขาขึ้นต้นจากอัลกุรอานเป็นประการแรกไม่ใช่หรือ อย่าลื่นไหลไปไหนอีกละ

adeel

คุณคนอยากรู้ก็เช่นกัน เข้ามาก็ถามอย่างนี้

1.ผมขอถามคุณบ้างว่า การกิยาสได้ห้ามใช้ ในอัลกรุอ่านหรือไม่
2.ผมขอถามคุณบ้างว่า การกิยาสได้ห้ามใช้ ในอัลฮาดีส หรือไม่
3.ผมขอถามคุณบ้างว่า การกิยาสได้ห้ามใช้ จากซฮาบะหรือไม่
ผมขอถามคุณบ้างว่า การกิยาสได้ห้ามใช้ จากอิห่ามทั้4หรือไม่
4.ตอบด้วยครับและกรุณานำหลักฐานที่คุณมีมาเสนอด้วยขอบคุณล่วงหน้า

คุณได้รู้เรื่องกิยาสแน่ๆ แต่ผมบอกก่อนว่า
ไม่มีอุลามาอ์คนใดในยุคใดๆเลยที่กระโดดข้ามจากอัลกุรอานและฮะดีส แล้วไปขว้ากิยาสมาเป็นอันดับหนึ่ง คุณคนอยากรู้หันกลับไปอ้างอิงหลักฐานของชาวสะลัฟตามที่อัลฟารูกเสนอซิ ขึ้นต้นจากอัลกุรอาน แล้วเรียงลำดับไปทีละข้อ เราจะได้คุยด้วยกันในประเด็นเดียวกันทีละข้อ

ข้อที่ 1 หลักฐานจากอัลกุรอาน

สำหรับผมแล้วยืนยันตามเดิมว่า ไม่มีหลักฐานการตะลัฟซุฟหรือการกล่าวคำเนียตก่อนละหมาดจากอัลกุรอาน

ถ้าคนอยากรู้กับคณะมีหลักฐานอ้างอิงจากอัลกุรอานก็นำเสนอด้วย

ชาวสะลัฟเขาขึ้นต้นจากอัลกุรอานเป็นประการแรกไม่ใช่หรือ อย่าลื่นไหลไปไหนอีกละ

al-azhary

อ้างอิงจาก อะดีล (แต่จริงแล้ว เขา ซฺอลิม)

การตะลัฟซุฟ หรือการกล่าวคำเนียตก่อนละหมาดนั้น

หลักฐานจากอัลกุรอ่านไม่มี
หลักฐานจากฮะดีสก็ไม่มี
การกระทำของศอฮาบะฮ์ก็ไม่มีเช่นกัน
บรรดาอิหม่ามทั้งสี่ก็ไม่ได้ทำและไม่ได้สอนไว้

อัลฟารูกไม่ตอบ,ไม่ชี้แจงทั้ง 4 ข้อที่ผมกล่าวไว้
ผมย้ำอีกครั้งก็ได้ว่าไม่มีหลักฐานการตะลัฟฟุซ หรือการกล่าวคำเนียตก่อนละหมาด (ไม่มีจริงๆ)
แต่อัลฟารูกพยายามบ่ายเบี่ยงไปพูดเรื่องการอ้างอิงหลักฐานว่า
?แบบสะลัฟนั้น คือ อัลกุรอาน ซุนนะฮ์ อิจญฺมาอ์ กิยาส และคำกล่าวซอฮาบะฮ์?
ผมอยากให้อัลฟารูกจริงใจต่อการกล่าวเช่นนี้ด้วย เพราะคุณย้ำว่า
?การสนทนาที่อยู่ในกรอบของวิชาการ อยู่ในรูปแบบของการอ้างหลักฐานแบบสะละฟุศศอลิหฺ?

ตอบ


คุณอะดีลไปอยู่หลุมใหนมาครับ พอออกจากหลุม ก็มีความสามารถแค่มาตั้งคำถามที่ "หาคำตอบไม่ได้" คือง่ายๆว่า ฉันจะต้องคำถามที่ไม่มีคำตอบ ถ้าฉันจะได้เข้ามาถามไปเรื่อยๆ แล้วพวกเราก็ตอบไม่ได้ไปเรื่อยๆ และคุณอะดีลก็เข้ามาทำตัวเหมือนกับว่า ฉันนี่แหละแจ๋ง ถามคำถามที่ นักศึกษาอย่างบังอัลฟารูกตอบไม่ได้ คุณอะดีลครับ อย่าว่าแต่บังอัลฟารูกเลยที่ตอบไม่ได้ อุลามาอ์ทั้งประชาชาติอิสลามเขาก็ตอบไม่ได้หรอกครับ เพราะคำถามที่คุณตั้งขึ้นมานั้น มันเป็นคำถามที่ "ผิด" เป็นคำถามที่ตั้งขึ้นมาโดยไม่ถูกต้องการประเด็นตรงนี้ หากมีอัลกุรอาน หะดิษ การกระทำของซอฮาบะฮ์ ได้ชี้ถึงการมี "การกล่าวคำเหนียต" จริงแล้ว บังอัลฟารูก ก็จะนำมันมาเสนอ แต่นี่บังอัลฟารูก ไม่ได้นำเสนอ เพราะว่ามันไม่มี เนื่องจากประเด็นนี้ ใช้ในเรื่องหลักฐานของการ "กิยาส" เท่านั้น พูดง่ายๆว่า บังอัล-ฟารูก บอกว่า มันมีหลักฐานเรื่องการกิยาส ดังนั้น เมื่อพอผู้อ่านได้ทราบจากการนำเสนอของบังอัล-ฟารูกอย่างนี้แล้ว (และส่วนหนึ่งในนั้นคือ คุณอะดีล (แต่เขาซฺอลิม) พวกเขาก็เข้าใจเลยว่า มันมีหลักฐานแค่การกิยาส เมื่อเป็นเช่นนี้ คุณอะดีล ก็ถึงเวลาออกจากหลุม มาตั้งคำถามที่ไม่มีคำตอบให้กับเขา เพื่อจะให้ผู้อ่านรู้ว่า "กูแจ๋ง" ถามคำถามที่ บังอัลฟารูกตอบไม่ได้ ทั้งที่ความจริงแล้ว ท่านผู้อ่านก็เข้าใจดีว่า คุณอะดีลออกจากหลุมเข้ามาตั้งคำถามแบบ "ไร้หลักการ" ในการสนทนา (เรื่อการกล่าวคำเหนียต) ฮ้าๆๆ แล้วคุณอะดีลก็ถามแบบขาดความเข้าใจว่า

อ้างอิงจากอะดีล (แต่เขาซฺอลิม)

คุณได้รู้เรื่องกิยาสแน่ๆ แต่ผมบอกก่อนว่า
ไม่มีอุลามาอ์คนใดในยุคใดๆเลยที่กระโดดข้ามจากอัลกุรอานและฮะดีส แล้วไปขว้ากิยาสมาเป็นอันดับหนึ่ง คุณคนอยากรู้หันกลับไปอ้างอิงหลักฐานของชาวสะลัฟตามที่อัลฟารูกเสนอซิ ขึ้นต้นจากอัลกุรอาน แล้วเรียงลำดับไปทีละข้อ เราจะได้คุยด้วยกันในประเด็นเดียวกันทีละข้อ

ตอบ

ฮ้าๆๆ พูดมาได้ว่า คว้ากิยาสมาอันดับหนึ่ง คุณอะดีล (สะลัฟพันธ์หลอกๆ)ครับ การที่เราบรรดาอุลามาอ์อ้างการกิยาสนั้น เนื่องจากเขากลับไปพิจารณา อัลกุรอาน แล้วไม่พบ ก็กลับไปพิจารณาซุนนะฮ์ หากไม่พบก็ไปพิจารณาอิจญฺมาอ์ ซึ่งหากไม่พบ ก็กลับไปพิจารณาเรื่องกิยาส ซึ่งหากมีการกิยาสได้ ก็เอาหลักฐานกิยาส และการเอาหลักฐานกิยาสนี้ จึงไม่ใช่เป็นการข้ามอัลกุรอานหะดิษ น่ะคุณอะดีล (แต่ซฺอลิมตัวเอง) ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) เคยท่านถาม มุอาซฺ ในขณะที่ส่งไปเยเมนว่า "ท่านจะทำการตัดสินอย่างไร ? มุอาซกล่าวว่า "ฉันจะตัดสินด้วยกิตาบุลลอฮ์" ท่านร่อซุลกล่าวว่า แล้วท่านไม่พบล่ะ ท่านมุอาซฺตอบว่า "ฉันจะตัดสินด้วย ซุนนะฮ์ของร่อซูลิลลาห์" ท่านร่อซูลถามว่า "หากไม่พบล่ะ" มุอาซฺตอบว่า "ฉันก็จะตัดสินด้วย ความเห็นของฉัน โดยไม่ทำให้บกพร่องเลย " และการกิยาสก็อยู่ในประเภทของ ความเห็นที่อิงไปยังอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ และอิจญมาอ์ ตามหลักการของสะลัฟนะครับ คุณอะดีลคงจะเข้าใจนะครับ งั้นถามหน่อย

การร่วมประเวณี ในการทำอุมเราะฮ์นั้น ทำให้เสียอุมเราะฮ์หรือไม่ ? คุณอะดีลตอบได้หรือเปล่าครับ ? อย่าบอกน่ะว่าเอากิยาส ไม่งั้นทัศนะของคุณก็พัง ฮ้าๆๆ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเสวนาเรื่องการกล่าวคำเหนียต(อุซ๊อลลี)
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: มี.ค. 17, 2007, 07:04 AM »
0
asan

น้อง al-azhary อ้างว่า
ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) เคยท่านถาม มุอาซฺ ในขณะที่ส่งไปเยเมนว่า "ท่านจะทำการตัดสินอย่างไร ? มุอาซกล่าวว่า "ฉันจะตัดสินด้วยกิตาบุลลอฮ์" ท่านร่อซุลกล่าวว่า แล้วท่านไม่พบล่ะ ท่านมุอาซฺตอบว่า "ฉันจะตัดสินด้วย ซุนนะฮ์ของร่อซูลิลลาห์" ท่านร่อซูลถามว่า "หากไม่พบล่ะ" มุอาซฺตอบว่า "ฉันก็จะตัดสินด้วย ความเห็นของฉัน โดยไม่ทำให้บกพร่องเลย
................
ตอบ

น้องเอาหะดิษนี้มาใช้อ้างอิงในการกิยาสเรื่องอิบาดะฮ นั้น ฟังไม่ขึ้นหรอก ส่วนรายละเอียดค่อยว่าอีกที ตอนนี้ไม่ว่าง เรื่อง กล่าวคำเนียต ย่อมรับเถอะครับว่า ไม่มีหลักฐาน ส่วนน้องจะทำนั้น เป็นสิทธิของน้อง ไม่มีใครห้ามได้ และอยากขอร้องว่า อย่าใช้อารมณืโต้เถียงกันอีกเลย

เรื่อง กิยาส น้องก็บอกเองว่า ไม่ใช่ทำกันง่ายๆ แล้วมันเหตุผมอะไรที่ต้องเอาหลักการกิยาสมาเพื่อรับรอง การกล่าวคำเนียต และดูเหมือนว่า อ้างกันทุกเรื่อง เพราะเรื่องต่อๆไปที่จะคุยกัน ก็หนี้ไม่พ้น การอ้างเรื่อง กิยาส อีกนั้นแหละ โดยเฉพาะเรื่อง อ่านตัลกีน ที่น้องอัล-ฟารุกบอกว่า จะคุย เพราะการสอนคนตายให้ตอบคำถามมลาอิกะฮในหลุมศพ มันแค่เป็นนิยายชวนหัว มีบางท่านกระซิบ ให้บังอะสันหยุด โต้เถียงกันเรื่องเหล่านี้ เพราะมันไร้สาระ เพราะ พูดไปคนละมาตรฐาน ยิ่งเอาอุลามาอมาอยู่ในระดับ ว่า ความเห็นของพวกเขา เป็นศาสนาด้วยแล้ว ยิ่งไปกันใหญ่

al-azhary

อ้างอิงจากบังอะสัน

ครับ จึงสรุปคำตอบของน้อง al-farookได้ว่า ที่กล่าวคำว่า ?อุศอ็ลลี?ก่อนละหมาดนั้น ไม่วาญิบ ไม่จำเป็น และ การทำอิบาดะฮนั้น ไม่เน้นเรื่อง ผลบุญ คือ ได้ก็เอา ไม่ได้ก็ไม่เอา แบบคนมักน้อย

ตอบ

ผมลืมตอบคำพูดแทนบังอัล-ฟารูก จากบังอะสันไปสักนิด เนื่องจากเมื่อกี้มีธุระนิดหนึ่ง บังอะสันผู้ทำอิบาดะฮ์โดยมุ่งเน้นผลบุญและผลตอบแทนครับ หากบังอะสันทำอิบาดะฮ์โดยเป็นส่อแสดงถึงความเป็นทาสความ "อยากของจิตใจ" ในการอิบาดะฮ์เพื่อผลบุญล่ะก็ บังก็มุ่งหวังและกระทำไปเถิดครับ บังจะมาให้พวกเราคิดตั้งใจเหมือนกับความอยากที่บังอะสันมี ก็คงไม่ได้หรอกครับ พวกเราทำอิบาดะฮ์ ไม่ได้มุ่งหวังอะไร ไปมากกว่าความเป็นบ่าวเท่านั้นเอง หน้าที่ของความเป็นบ่าว ไม่ว่าอัลเลาะฮ์จะสั่งอะไรก็ทำไปให้ดีที่สุด แต่ส่วนผลบุญที่จะได้นั้น พระองค์ทรงให้เอง เราไม่ต้องไปทวงถาม หรือยากได้ผลการตอบ เหมือนกับทาสทำงานโดยหวังค่าจ้างจากนายหรอกครับ เนื่องจากเราจะทำขออะไร หรืออยากได้อะไรนั้น พระองค์จะทรงให้ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ ไม่ใช่ให้ตามที่เราประสงค์ และพระองค์จะทรงตอบแทนตามที่พระองค์ทรงประสงค์ ไม่ใช่ตอบแทนตามที่เราประสงค์ เนื่องจากสิ่งที่เราจะได้รับนั้น หรืออยากได้นั้น มันเป็นของอัลเลาะฮ์ ไม่ใช่เป็นของเรา ดังนั้น เราจะทำอะไรก็อย่าไปถืออภิสิทธ์ว่า เราต้องได้ผลบุญแค่นั้น แค่นี้ ฉะนั้น เราทำอิบาดะฮ์ก็ทำเพราะความเป็นบ่าวก็พอ อย่าถามเรื่องผลบุญ เนื่องจากอัลเลาะฮ์ทรงให้เองล่ะครับ

อ้างอิงจากบังอะสัน

อ้าว..เป็นงั้นไป แต่บังว่า การตามสุนนะฮของท่านบี (ศอลฯ)มันง่าย แต่ที่ยาก เพราะมีคนมาทำเรื่องง่าย ให้เป็นภูเขา เลย กลายเป็นเรื่องหนักใจและยุ่งยากกับชาวบ้าน

ตอบ

การกล่าวคำเหนียตเป็นแค่สุนัตครับ ไม่ใช่เป็นข้อบังคับที่ต้องทำให้ลำบาก การกล่าวคำเหนียตมันเป็นมัสอะฮ์ข้อปลีกย่อยเล็กๆน้อยๆที่บรรดานักปราชน์ทั้งหลายไม่นำมันมาเป็นประเด็นในการสร้างความแตกแยกและทำมันเป็นเรื่องใหญ่ จนกระทั้งมีกลุ่มหนึ่ง ที่มีนามว่า "วะฮาบีย์" ได้ทำการหุกุ่มว่า การกล่าวคำเหนียต เป็นบาป บิดอะฮ์ ตกนรก จนกระทั้ง ใครกล่าวคำเหนียต ทำบิดอะฮ์จนไม่อยากจะตามละหมาดกับเขา ดังนั้น การกล่าวคำเหนียตจึงเป็นเรื่องที่ทำให้สะดวกแก่ผู้มีจิตใจไม่มีสมาธิ แต่ผู้ที่มีนามว่า "วะฮาบีย์" ทำมันเป็นเรื่องใหญ่ให้เป็นภูเขา ใครทำแล้วตกนรก !!! ซึ่งปัญหาข้อปลีกย่อยนี้ มันทำให้ตกนรกกันเลยหรือครับ??? อุลามาอ์ท่านใดในโลก ท่านใดที่หรือครับ ที่บอกว่า การกล่าวคำเหนียตตกนรก เพราะโทษฐานทำบิดอะฮ์ (ที่ลุ่มหลงตามทัศนะของวะฮาบีย์)

อ้างอิงจากบังอะสัน

ยกตัวอย่าง การทำนุ่นให้เป็นภูเขา เช่น
ในขณะทีกล่าว คำว่า ?อัลลอฮุอักบัร?นั้น ต้องการเนียตจะต้องพร้อมกับตักบีร โดยให้มี 1. เกาะศอ็ด 2. ตะอฺรอฎ 3. ตะอยีน แล้วคำว่า พรอ้ม(มุกอเราะนะฮ)กับการตักบีรนั้น แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. มุกอเราะนะฮอุรฟียะฮ
2. มุกอเราะนะฮเตาซีอียะฮ
3. มุกอเราะนะฮกะมาลียะฮ
คนเรียนปอเนาะตัวจริง ต้องได้เรียนมาแล้วแบบนี้

ตอบ

นั่นเป็นการรายละเอียด สำหรับนักศึกษาวิชาความรุ้ ที่ไม่บังคับให้ทำการศึกษาแบบฟัรดูอีน บังอะสันก็อย่าไปเอาเหมารวมว่าชาวบ้านธรรมดาต้องเรียนเรื่องแบบนี้ด้วยซิครับ และการแบ่งเตาฮีดเป็น 3 ประการ โดยนำหลักการแบ่งที่ไม่มีสะลัฟท่านใดรู้มาก่อนเลย แล้วก็วะฮาบีย์นำมาหุกุ่ม กับผู้ที่ไม่อยู่กับแนวทางของตนว่า คนนี้ไม่มีเตาฮีดอุลูอียะฮ์ เขาเป็นมุชริกกีน เรื่องตะวัสซุลที่วะฮาบีย์ไม่เอา ก็ไปหุกุ่มผู้ตะวัศซุลว่า เป็นมุชริกีน แบบนี้มันมีกันตั้งแต่สมัยใหน??


อ้างอิงจากบังอะสัน

เห็นไหมละครับ มันยากแค่ใหน เวลา ตักบีร เลยต้องลากเสียงยาว จนเกือบจะสิ้นลมปราณ น่าสงสารชาวบ้านจริงๆ บางคนตักบีรถึง สามสี่ครั้ง เพราะเนียตไม่ติด ซุบฮานั้ลลอฮ

ตอบ

เราต้องสร้างความเข้าใจกับชาวบ้านว่า หากลำบากนั้น ก็เพราะพวกเขาเหนียตยาวไป เหนียนสั้นว่า "ข้าพเจ้าละหมาดฟัรดูซุฮร์" ก็พอแล้ว ซึ่งประเด็นนี้มันไม่ใช่เพราะเหตุของการกล่าวคำเหนียตเลยแม้แต่น้อย แต่บังอะสันพยายามพูดนอกประเด็นในสิ่งที่เรากำลังคุยกัน แสดงว่าบังอะสันคงไม่มีอะไรมาอ้างหลักฐานหักล้างในทัศนะของเราแล้วซิครับ เนี่ย


อ้างอิงจากบังอะสัน

อยากจะถามว่าสมมุติว่า คนหนึ่งจะละหมาดแล้วเผลอกล่าวคำเนียต ว่า ?ข้าพเจ้าเจตนาเอาน้ำละหมาด?แต่ในใจเนียตว่า ข้าพเจ้าละหมาด..? การละหมาดนั้นใช้ได้หรือไม่?

ตอบ

ผมขอตอบสนทนาแทนบังอัลฟารูกสักนิดหนึ่งว่า คำถามของบังอะสันนี้ ผมขอตอบว่า "การกล่าวคำเหนียตไม่เกี่ยวกับเรื่องในละหมาดครับ" ดังนั้น มันจะทำให้เสียละหมาดไม่ได้ และการพิจารณานั้น คืออยู่ที่การเหนียต ไม่ใช่การกล่าวคำเหนียต การเผลอผิดพลั้งไปนั้น อิสลามไม่เอาโทษหรอกครับ แต่หากทำเล่นๆโดยเจตนานั้น ถือว่าเป็นบาป เพราะเขาทำเล่นๆกับเรื่องศาสนา

อ้างอิงจากบังอะสัน

น้องเอาหะดิษนี้มาใช้อ้างอิงในการกิยาสเรื่องอิบาดะฮ นั้น ฟังไม่ขึ้นหรอก ส่วนรายละเอียดค่อยว่าอีกที

ตอบ

เชิญว่ามาได้เลยครับ เพราะผมเองก็พอรู้มาบ้างว่า วะฮาบีย์ เขาจะมาไม้ใหน ?

อ้างอิงจากบังอะสัน

เรื่อง กิยาส น้องก็บอกเองว่า ไม่ใช่ทำกันง่ายๆ แล้วมันเหตุผมอะไรที่ต้องเอาหลักการกิยาสมาเพื่อรับรอง การกล่าวคำเนียต และดูเหมือนว่า อ้างกันทุกเรื่อง เพราะเรื่องต่อๆไปที่จะคุยกัน ก็หนี้ไม่พ้น

ตอบ

ก็ไม่ได้ทำการง่ายๆนะซิครับ ก็เลยต้องการมีหลักการและกฏเกนฑ์ในเรื่องการกิยาส ปัญหาตอนนี้ บังอะสันสนทนาหักล้างมาเท่านั้นเอง และเรื่องต่อๆไปนั้น บังอะสันยังไม่รู้เรื่องว่าหลักฐานมีอะไรบ้าง อย่างเพิ่งตีโพยตีพายไปนะครับ

อ้างอิงจากบังอะสัน

มันแค่เป็นนิยายชวนหัว มีบางท่านกระซิบ ให้บังอะสันหยุด โต้เถียงกันเรื่องเหล่านี้ เพราะมันไร้สาระ เพราะ พูดไปคนละมาตรฐาน

ตอบ

ต้องพูดอย่างนี้ซิครับบังอะสัน ผมจะได้ขอให้บังมุหัมมัดเข้ามาร่วมสนทนา เรื่องทัศนะของอุลามาอ์ กลับทำมาเป็นเรื่องนิยาย และประเด็นที่คุยกันนั้น ไม่ใช่เพราะบังอะสันและวะฮาบีย์ ไม่ได้ทำการอ่านคำเหนียต แต่เพราะว่าบังอะสันและคณะวะฮาบีย์ได้ทำการหุกุ่มผู้ที่คำเหนียตว่าบิดอะฮ์นรกต่างหากล่ะครับ ความจริงไม่อยากคุยเรื่องเล็กๆน้อยอย่างนี้หรอกครับ ส่วนมาตรฐานนั้น พวกเราตามมาตรฐานการอ้างหลักฐานแบบสะลัฟครับ ส่วนบังอะสันมาตรฐานแบบวะฮาบีย์ ซึ่งมันต่างกันอยู่ แล้วผมค่อยเข้ามาใหม่นะครับ

al-azhary

อ้างอิงจากบังอะสัน

เพราะมันไร้สาระ เพราะ พูดไปคนละมาตรฐาน ยิ่งเอาอุลามาอมาอยู่ในระดับ ว่า ความเห็นของพวกเขา เป็นศาสนาด้วยแล้ว ยิ่งไปกันใหญ่

ตอบ

จริงๆแล้ว บังอัล-ฟารูก ก็ละเหี่ยใจ กับการต้องการค้นคว้าประเด็นเรื่อง "กล่าวคำเหนียต" เพราะมันเป็นเรื่องเล็กน้อยๆ ที่บังอะสันและคณะวะฮาบีย์ เอามันมาเป็นเรือ่งนรกสวรรค์ เขาเรียกว่าเป็น การไม่รู้จักแยกแยะว่า อะไรคือสิ่งที่สำคัญมากที่สุดในศาสนา อะไรเป็นสิ่งที่อยู่ในระดับรอง อะไรที่เป็นสิ่งที่เป็นข้อปลีกย่อยในเรื่องอิจญฺฮาด การอิจญฺฮาดของอุลามาอ์ปวงปราชน์ มันไม่ใช่ว่า เป็นสวรรค์หรือนรก การปฏิบัติสิ่งที่สมัครใจนั้น มันไม่ได้หมายถึงสวรรค์นรก การวินิจฉัยของการนักปราชน์ในสิ่งหนึ่งนั้น ไม่ใช่หมายความว่า หากขัดกับทัศนะอื่น ทัศนะตรงกันข้ามหุกุ่มว่า มันคือ นรก ซึ่งพฤติกรรมอย่างนี้ ไม่มีหรอกครับ

และหากมีคนมากระซิบบังอะสันจริงๆอย่างนั้น ย่อมไม่ใช่หมายความว่า มันไร้สาระหรืออย่างไรหรอกครับ แต่มันจะชี้ให้เห็นถึง หลักการของวะฮาบีย์ ที่ยิ่งวัน ความเป็นสะลัฟ หรือ ยกตัวเองว่าเป็น "สะละฟีย์" มันเริ่มจะหายไปทุกวันๆ และการสนทนาที่ผ่านมาตลอดนั้น พวกเราพอใจในการสนทนาในทุกประเด็น อัลหัมดุลิลลาห์ และประเด็นอื่นๆที่บังอัลฟารูก จะเปิดประเด็นอีกต่อๆไปนั้น มันก็จะยิ่งทำให้ความเป็นสะลัฟของวะฮาบีย์ ถูกริดรอนไปเรื่อยๆ บังอะสันคอยติดตามไปเรื่อยๆซิครับ แล้วจะรู้เอ

asan

ส่วนมาตรฐานนั้น พวกเราตามมาตรฐานการอ้างหลักฐานแบบสะลัฟครับ ส่วนบังอะสันมาตรฐานแบบวะฮาบีย์ ซึ่งมันต่างกันอยู่ แล้วผมค่อยเข้ามาใหม่นะครับ
al-azhary ตอบ: Mon Mar 27, 2006 10:10 pm

.......................
การกล่าวคำเนียต เป็นมาตรฐานแบบสลัฟหรือครับ พูดผิด พูดใหม่ได้นะครับ

al-azhary

อ้างอิงจากบังอะสัน

น้องเอาหะดิษนี้มาใช้อ้างอิงในการกิยาสเรื่องอิบาดะฮ นั้น ฟังไม่ขึ้นหรอก ส่วนรายละเอียดค่อยว่าอีกที ตอนนี้ไม่ว่าง เรื่อง กล่าวคำเนียต ย่อมรับเถอะครับว่า ไม่มีหลักฐาน ส่วนน้องจะทำนั้น เป็นสิทธิของน้อง ไม่มีใครห้ามได้

ตอบ

ไม่มีหลักฐานตามมาตรฐานการอ้างหลักฐานแบบแนววะฮาบีย์ หรือว่า แบบสะละฟุศศอลิหฺครับบังอะสัน การกิยาสในเรื่องอิบาดะฮ์นั้น เป็นทัศนะของสะละฟุศศอลิหฺ แล้วบังอะสันพูดมาได้อย่างไรว่า การกล่าวคำเหนียตไม่มีหลักฐาน บังอะสันกล้าบอกไว้ใหมว่า "การกิยาสในเรื่องอิบาดะฮ์นั้นไม่ใช่เป็นทัศนะของสะละฟุศศอลิหฺ" และบังอะสันพูดได้ใหมว่า "การกิยาสในเรื่องอิบาดะฮ์นั้นไม่ใช่หลักฐานหนึ่งของศาสนา" ? หรือว่าบรรดาสะละฟุศศอลิหฺ ได้ทำการกุประดิษฐ์หลักฐานหนึ่งขึ้นมาในอิสลาม แล้วก็ทำการวินิจฉัยบางประเด็นขึ้นมา โดยที่ประเด็นต่างๆเหล่านั้น เป็นบิดอะฮ์ตามทัศนะของวะฮาบีย์ (ที่พยายามอ้างตนเองว่าเป็นสะละฟีย์)

และหากการอ้างหลักฐานต่างๆของเรานั้น ฟังไม่ขึ้น บังอะสันก็กรุณาอ้างเหตุผลมาด่วนเลยนะครับ (แต่หลักฐานห้ามนั้นไม่มีอย่างแน่นอน) และบังอะสันก็สามารถอีเมล์ไปถามอาจารย์มัซฮับวะฮาบีย์ได้หลายคนนี่ครับ แล้วก็เอามาตอบพวกเรา เมื่อเป็นเช่นนี้บังอะสันก็ต้องรอและใช้เวลาตอบสักหน่อย พวกเราก็จะรอครับ แต่การพูดอย่างเดียวว่า "มันเป็นการอ้างอิงที่ฟังไม่ขึ้น"นั้น มันยังไม่เพียงพอในการหักล้างหลักฐานของเรา เพราะคำพูดแบบนี้ เด็กๆ ก็พูดออกมาได้ครับ ยังไงเราก็จะรอเหตุผล (หลักฐานไม่มีอยู่แล้ว) ในการหักล้างหลักฐานของเรา

และหากการกระทำเป็นของพวกเรา มันเป็นสิทธิ์ของพวกเราแล้ว แล้วทำไมบังอะสันถึงต้องไปล่วงละเมิดสิทธิ์ในการกระทำของแนวทางอื่น โดยไปหุกุ่มพวกเขาว่าทำบิดอะอ์ ตกนรก ด้วยล่ะครับ หรือว่าสิทธิ์ทำเป็นของพวกเรา แต่สิทธิ์การหุกุ่มบังของบังอะสันและคณะวะฮาบีย์ ซึ่งพฤติกรรมอย่างนี้ ไม่มีในสะลัฟ มัซฮับชีฟิอีย์ได้ทำการอ่านกุนุต แต่ก็ไม่ได้ล่วงละเมิดสิทธิ์ ในการกล่าวหามัซฮับหะนะฟีย์ว่า ไม่ทำสิ่งสุนัต และหะนะฟีย์ก็ไม่ได้ไปกล่าวว่า มัซฮับชาฟิอีย์ทำบิดอะฮ์แต่ประการใด มัซฮับชาฟิอีย์ละหมาดวายิบอ่านบิสมิลลาห์ แต่ก็ไม่ได้ละเมิดลามปามทำบิดอะฮ์โดยไปกล่าวฝ่าย หะนะฟีย์ว่า พวกเขาละหมาดใช้ไม่ได้เพราะไม่อ่านบิสมิลลาห์ ซึ่งนั่นคือการอยู่ร่วมกันระหว่างอะฮ์อิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ด้วยกัน นอกจากวะฮาบีย์เท่านั้น ที่อ้างตนเองว่าถูก ส่วนคนอื่นบิดอะฮ์ ?? มันเป็นอย่างนั้นหรือเปล่าครับ บังคนอยากรู้ ??

al-azhary

อ้างอิงจากบังอะสัน

การกล่าวคำเนียต เป็นมาตรฐานแบบสลัฟหรือครับ พูดผิด พูดใหม่ได้นะครับ

ตอบ

บังอะสันต้องเข้าใจคำว่า "มาตรฐานการอ้างหลักฐาน" ของสะลัฟก่อนซิครับ ซึ่งมาตรฐานการอ้างหลักฐานของสะลัฟนั้น พวกเขาไว้วางแนวทางใว้ให้กับบรรดานักปราชน์มุจญฺฮิดรุ่นหลังจากพวกเขาไว้แล้ว และบรรดามัสอะละฮ์ข้อปลีกย่อยนั้น ทุกๆอย่างไม่ได้จำกัดและเกิดขึ้นในยุคสลัฟเท่านั้น แต่ยุคหลังจากพวกเขา ก็มีบรรดาอุลามาอ์นักปราชญ์มัจญฺฮิด ที่ใช้แนวทางของพวกเขาในการวินิจฉัยหุกุ่มได้ ในประเด็นต่างๆที่เกิดขึ้นมาหลักจากยุคของพวกเขา และหนึ่งในประเด็นเล็กๆน้อยๆ นั้น ก็คือ เรื่องการกล่าวคำเหนียต ซึ่งบรรดานักปราชญ์มุจญฺฮิดก็ใช้มาตรฐานในการอ้างหลักฐานของสะละฟุสศอลิหฺ และบังอะสันกล้าบอกใหมล่ะครับว่า "สิ่งที่บรรดาสะลัฟไม่ได้ทำนั้น คือไม่ใช่อยู่ในมาตรฐานของสะลัฟ" ? และการกิยาสในเรื่องอิบาดะฮ์นั้น ไม่ใช่มาตรฐานของสะลัฟ ? และการใช้มาตรฐานการอ้างหลักฐานของสะลัฟมาวินิจฉัยหุกุ่มแล้วสิ่งที่ออกมาจากมาตรฐานนั้นกลับเป็น "บิดอะฮ์" ไปได้หรือครับ?

al-azhary

อ้างอิงจาก คนเดินผ่าน

การสนทนาเราควรเคร่งครัดในกฏกติกา เราควรนำเสนอจากอัลกรุอานและแบบอย่างจากท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นหลัก.

ตอบ

คุณคนเดินผ่าน (หรือไออาเอฟ) ครับ การสนทนาเรื่องประเด็นฟิกห์นั้น ใครบอกหรือครับว่า หลักฐานที่จะนำไปพิจารณาประเด็นฟิกห์ มีเพียงแค่ อัลกุรอาน และซุนนะฮ์เท่านั้น โดยไม่ใช้อิจญฺมาอ์ กิยาส และคำกล่าวของซอฮาบะฮ์ และอื่นๆอีก แล้วกฏกติกาที่คุณว่านั้น ใครเป็นคนวางไว้ในการสนทนาระหว่างเราหรือครับ? จำกัดอัลกุรอานและซุนนะฮ์ ในการนำมาใช้วินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องฟิกห์นั้น บรรดาซอฮาบะฮ์ และสะละฟุสศอลิหฺ เขามีกฏกติกาอย่างไร? คุณทราบหรือเปล่า? ซึ่งพวกเราก็บอกไปแล้วว่า เราจะทำการสนทนา "บนมาตรฐานการอ้างหลักฐานของสะละฟุศศอลิหฺ" และนั่นแหละคือหลักเดิม แต่เราจะทำการสนทนาตามมาตรฐานของวะฮาบีย์นั้นคงไม่ได้หรอกครับ เพราะว่าไม่ได้อยู่บนมาตรฐานการอ้างหลักฐานของสะละฟุสศอลิหฺ และด้วยเหตุนี้แหละ ที่เราเรียกวะฮาบีย์ว่าสะละฟีย์ไม่ลง โพทนาว่าฉันคือสะละฟีย์ แต่มาตรฐานไม่ได้อยู่บนหลักการของสะละฟุสศอลิหฺ ทำไมมันถึงได้ค้านกันเองอย่างนี้ ??? บังคนอยากรู้ช่วยออกความเห็นหน่อยซิครับ ? เพื่อท่านผู้อ่านจะได้รับประโยชน์บ้างนะครับ

al-azhary

อ้างอิงจากบังอะสัน

ท่านอิบนุตัยมียะฮ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
قد جاء الحديث : > أيها الناس كلكم يناجي ربه فلا يجهرن بعضكم على بعض بالقراءة < فكيف حال من يشوش على الناس بكلامه بغير قراءة بل يقول : نويت أصلي أصلي فريضة كذا وكذا في وقت كذا وكذا من الأفعال التي لم يشرعها رسول الله صلى الله عليه وسلم
แท้จริงได้ปรากฏหะดิษว่า ? โอ้บรรดามนุษย์ทั้งหลาย พวกท่านทุกคน กำลังกระซิบกับพระผู้อภิบาลของเขาตามลำพัง ดังนั้น พวกท่านอย่าทำเสียงดังรบกวนซึ่งกันและกัน ด้วยการอ่าน?- แล้วจะเป็นอย่างไรเล่า กับสภาพของคนที่รบกวนผู้คน ด้วยคำพูดของเขา อื่นจากการอ่าน แต่ทว่า เขากล่าวว่า ? ข้าพเจ้าเจตนาละหมาด ข้าพเจ้าละหมาดฟัรดูนั้น ฟัรดูนี่ ในเวลานั้น เวลานี้ ที่มาจากส่วนหนึ่งของการกระทำ ที่ท่านรซูลุลอฮ ศอ็ลลอลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมไม่ได้มีบัญญัตเอาไว้ ดู كتاب الفتاوى الكبرى، الجزء 2، صفحة 2

ตอบ

ดูซิครับ หลักฐานไม่หลักฐานใดห้ามการกล่าวคำเหนียตเลยแม้แต่น้อย แต่จนแล้วจนเล่าอะสันก็ไปใหนไม่รอด ก็เลยต้องกลับไปอ้างคำกล่าวของอิบนุตัยมียะฮ์ตามเคยครับ แล้วอ้างหะดิษของท่านนบี(ซ.ล.)ที่ว่า " โอ้บรรดามนุษย์ทั้งหลาย พวกท่านทุกคน กำลังกระซิบกับพระผู้อภิบาลของเขาตามลำพัง ดังนั้น พวกท่านอย่าทำเสียงดังรบกวนซึ่งกันและกัน ด้วยการอ่าน" ซึ่งหะดิษนี้ไม่ได้ระบุเลยแม้สักนิดเดียวที่ขี้ถึงการห้าม "กล่าวคำเหนียต" แต่อิบนุตัยมียะฮ์ ให้หลักกิยาส (ที่ฟาริก)ในการห้ามอ่านเสียงดังรบกวนคนอื่น กับการกล่าวคำเหนียต(ที่ไม่ได้รบกวนใครเลยแม้แต่น้อย ทำไมไปทำมา อุลามาอ์ของชาววะฮาบีย์ ก็ไปไม่พ้นเรื่องการกิยาส (แต่เสียดาย ที่กิยาสฟาริก) และอิบนุตัยมียะฮ์ก็ใช้มุกเด็ดเหมือนเดิมว่า เพราะ"ท่านร่อซูล(ซ.ล.)ไม่ได้ทำ" วะฮาบีย์จึงหุกุ่มว่า บิดอะฮ์ หะรอมตกนรก ทั้งที่หลักการของอิบนุตัยมียะฮ์นี้ ไม่ใช่หลักการของซอฮาบะฮ์ (ร.ฏ.) ซึ่งผมได้อธิบายไปแล้วอย่างครบถ้วน

ท่าน อิบนุ กุดดามะฮ์ (อุลามาอ์มัซฮับหัมบะลีย์ ที่อุลามาอ์วะฮาบีย์ให้การยกย่อง) ได้กล่าวไว้ ว่า

وقول النبى صلى الله عليه وسلم : إنما الأعمال بالنيات . ومعنى النية القصد ومحلها القلب ، وإن لفظ بما نواه كان تأكيدا

" คำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.) ที่ว่า "แท้จริงบรรดาอะมัล ต้องด้วยการเหนียต" โดยที่ความหมายของการเหนียตก็คือ การมุ่งเจตนา และสถานที่ของมันอยู่ที่หัวใจ และหากว่าเขากล่าว ด้วยกับสิ่งที่เขาได้เหนียต แน่นอนว่า มันย่อมเป็นการตอกย้ำ(กับหัวใจ) " ดู หนังสือ อัลมุฆนีย์ ของท่านอิบนุกุดดามะฮ์ เล่ม 2 หน้า 15

ผมไม่ทราบว่า ท่านอิบนุกุดดามะฮ์ มีทัศนะที่บิดอะฮ์ตามทัศนะของวะฮาบีย์หรือเปล่า? สงสัยว่า ท่านอิบนุกุดดามะฮ์นี้ ไม่เข้าใจหะดิษที่บังอะสันอ้างว่า

ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

((ما تركت شيئاً يقربكم إلى الله إلا وأمرتكم به، وما تركت شيئاً يبعدكم عن الله إلا وقد نهيتكم عنه)

ฉันไม่ได้ทิ้งสิงใดที่ทำให้พวกท่านได้ใกล้ชิดต่ออัลลอฮ นอกจากฉันได้ใช้พวกท่าน ด้วยมันแล้ว และฉันไม่ได้ทิ้งสิ่งใด ที่ทำให้พวกท่าน ห่างใกลจากอัลลอฮ นอกจากฉันได้ห้ามพวกท่าน จากมันแล้ว ?

เป็นแน่เลยครับ และผมสงสัยว่า การกล่าวคำเหนียตที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้กระทำก่อนการละหมาดนี้ มันเป็นสิ่งที่ทำให้ห่างไกลจากอัลเลาะฮ์ !!! แต่ที่แน่ๆคือ ท่านร่อซุลไม่ได้ห้ามกับมัน (หากมีวะฮาบีย์โปรดนำมาอ้างอิงด้วยครับ) แต่ที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้กล่าวห้ามมันนั้น เพราะว่าการกล่าวคำเหนียต ไม่ได้ทำให้ห่างไกลจากอัลเลาะฮ์เลย แต่ในทางตรงกันข้าม มันกลับทำให้หัวใจมีสมาธิในการเหนียตเข้าสู่การละหมาด !!!
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ BasemDeen

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 260
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
Re: การเสวนาเรื่องการกล่าวคำเหนียต(อุซ๊อลลี)
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: เม.ย. 30, 2013, 10:29 PM »
0
ดัน :ameen: :ameen: :ameen:

 

GoogleTagged