อิหม่าม อิบนุ หะญัร อัล อัสกอลานียฺ
อมีรุล มุอ์มินีน แห่งวิชาหะดีษ
Sample Image
Fittree Al-Ashary เรียบเรียง
วงศ์ตระกูลของ อบุล ฟัดล อะฮฺหมัด อิบนุ ฮะญัร มีฐานเดิมในเมือง “กอบิส” ประเทศตูนิเซีย สมาชิกบางคนของตระกูลได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์ ซึ่งพวกเขาได้อพยพอีกครั้งเมื่อต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากพวกครูเสด แต่ตัวเขาเองเกิดในอียิปต์เมื่อปี ฮ.ศ. 773 เป็นบุตรชายของนักปราชญ์คนสำคัญในสำนักนิติศาสตร์ของอิหม่าม ชาฟิอียฺผู้ซึ่งนักประพันธ์ที่ได้รับการการศึกษาสูงที่มีนามว่า “นูรุดดีน อาลี” ทั้งพ่อและแม่ของเขาเสียชีวิตในช่วงที่เขาอยู่ในวัยเด็ก เขาได้กล่าวชมเชยพี่สาวของเขา ซีตี อัล รัคบ สำหรับการทำหน้าที่เป็น ‘แม่คนที่สองของเขา’ ต่อมาเด็กทั้งสองกลายเป็นผู้ที่อยู่ในความดูแลของพี่ชายของภรรยาคนแรกของบิดาของเขา ซากี อัล-ดิน อัล คารรุบี ผู้ซึ่งส่งเด็กน้อยอิบนุ ฮะญัร เข้าเรียนโรงเรียนกุรอาน (กุตตาบ) เมื่อเขามีอายุได้ห้าขวบ
ณ โรงเรียนแห่งนี้เขายอดเยี่ยมมาก เขาเรียนรู้ซูเราะห์มัรยัมได้ในวันเดียว และรุดหน้าในการท่องจำตำรา มุคตะศ็อร ของ อิบนุ อัล-ฮาญิบ ว่าด้วยเรื่องรากฐานศาสนา ในช่วงเวลานั้นเขาได้ติดตาม “อัล-คารรุบี” ไปนครมักกะห์ เมื่อมีอายุ 12 ปี เขามีความสามารถพอที่จะนำละหมาดตะรอวีฮฺในนครอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ซึ่งเขาใช้เวลาจำนวนมากในการศึกษาและรำลึกถึงอัลลอฮฺ ท่ามกลางความพอใจในความเรียบง่ายของบ้าน “อัล-คารรุบี” สองปีต่อมาผู้ปกครองของเขาได้เสียชีวิต การศึกษาในอียิปต์ของเขาได้มอบหมายให้นักวิชาการหะดีษ ที่มีนามว่า “ชัมสุดิน อัล-อิบนุ กุตตาน” ผู้ที่ส่งให้เขาเรียนในหลักสูตรที่กำหนดโดยนักวิชาการที่มีชื่อเสียงชาวไคโร “อัล บัลกินียฺ” (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 806) และ อิบนุ อัล-มุลักกีน (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 804) ในสำนักคิดชาฟิอี และ ซัยนุลดีน อัล-อิรัคกี ยฺ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 806) ในวิชาหะดีษ หลังจากที่เขาได้เดินทางไปดามัสกัสและเยรูซาเล็ม ที่ซึ่งเขาได้ศึกษาภายใต้ ชัมสุดิน อัล-กอลกอชันดี (เสียปี ฮ.ศ. 809) บัดรฺ อัล-ดีน บาลิซี (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 803) และ ฟาติมะฮฺ บินติ อัล-มันญาล ตานุกียยะฮฺ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 803) หลังจากได้เยี่ยมเยียนนครมักกะห์ นครมาดีนะฮฺ และไปเยเมน เขาก็ได้กลับไปยังอียิปต์
นอกจากนี้ เมื่อเขาอายุ 25 ปี เขาได้แต่งงานกับหญิงสาวที่สดใสและเฉลียวฉลาด อนัส คาตุน ซึ่งขณะนั้นมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ เธอเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหะดีษ ซึ่งได้รับอิญาซะฮฺ(การรับรอง)จาก “ซัย นุล อัด ดีน อัล อิรอกียฺ” และเธอกล่าวบรรยายในงานเลื้ยงเปิดตัวสามีของเธอต่อบรรดานักวิชาการอิสลาม ซึ่งในนั้นมีอิหม่าม “อัช ชักฮาวียฺ” อยู่ด้วย หลังจากแต่งงาน “อิบนุ หะญัร” ได้ย้ายไปที่บ้านของเธอที่ซึ่งเขาอาศัยจนกระทั่งเสียชีวิต หลายคนตั้งข้อสังเกตว่าทำไมเธอถึงอยู่ในหมู่คนชรา คนยากจน และคนพิการ ซึ่งเป็นประโยชน์และยินดีที่จะสนับสนุนเธอ ชื่อเสียงของเธอในด้านความมีศีลธรรมได้แผ่ขยายอย่างกว้างขวางในช่วงสิบห้าปี ของความเป็นม่าย ซึ่งเธออุทิศให้กับการทำงานที่ดีที่ เธอได้รับข้อเสนอจากอิหม่าม “อะลามะฮ อัด ดีน อัล บัลกินียฺ” ที่พิจารณาแล้วเห็นว่าการแต่งงานกับผู้หญิงดังกล่าวที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และบารอกะฮฺ(ศิริมงคล) จะเป็นแหล่งที่มาของความภาคภูมิใจอันยิ่งใหญ่
เมื่ออาศัยอยู่ในอียิปต์ อิบนุ ฮะญัร ได้สอนในกระท่อมซูฟียฺ “คอนิเกาะฮฺ” ของ “บิบิรซฺ” เป็นเวลาเกือบยี่สิบปี จากนั้นจึงสอนในวิทยาลัยฮะดีษที่รู้จักในนาม “หะดีษ ดารุล หะดีษ อัล กะมีลียะฮฺ” ในระหว่างปีนี้ เขาได้รับโอกาสทำหน้าที่เป็นหัวหน้าผู้พิพากษาสำนักคิดชาฟิอียฺของอียิปต์ ณ กรุงไคโร อิหม่ามได้เขียนหนังสืออย่างเต็มที่และเขียนหนังสือที่เป็นประโยชน์มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในห้องสมุดของอารยธรรมอิสลาม
ในบรรดาหนังสือเหล่านั้น คือ อัด ดุรอร อัล กามีนะฮฺ (พจนานุกรมชีวประวัติที่ชี้นำแนวคิดในศตวรรษที่แปด) อรรถาธิบายสี่สิบหะดีษของอิหม่ามอัล-นาวาวียฺ (นักวิชาการที่เขาเคารพเป็นพิเศษ) ตะอฺซีบ อัต ตะฮฺซีบ (ฉบับย่อของ ตะฮฺซีบกามาล อัล ริญาล ( สารานุกรม หะดีษ รายงานโดย อัล มิซซียฺ) อัล อิศอบะฮฺ ฟี ตัมยีซ อัศ ศอฮาบะฮฺ (พจนานุกรมใช้กันอย่างแพร่หลายของซอฮาบะฮฺ) และบุลูฆุล มะรอม มิน อะดิละฮฺ อัล อะฮฺกาม (ในทัศนะทางสำนักคิดชาฟิอียฺ)Sample Image
ในปี ฮ.ศ. 817 อัล อัสกอลานีย์ ได้ริเริ่มงานอันยิ่งใหญ่โดยการรวบรวมหนังสือที่ทรงคุณค่าของเขา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม ฟัตฮุล บารียฺ ด้วยการเริ่มเขียนตามคำบอกอย่างเป็นทางการให้กับนักเรียนหะดีษของเขา หลังจากที่เขาเขียนมันออกมาด้วยมือของเขาเองและหมุนเวียนไปยังกลุ่มต่างๆ ในหมู่นักเรียนของเขา ซึ่งจะพูดคุยกับเขาสัปดาห์ละครั้ง ในฐานะที่เป็นงานที่รุดหน้าและชื่อเสียงของผู้เขียนที่เพิ่มขึ้น โลกอิสลามจึงได้ให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดในงานใหม่ชิ้นนี้ ในปี ฮ.ศ. 833
อามีร ติมูร์ บุตรชายของ ชารุค ส่งจดหมายไปยังสุลต่านมัมลู๊ค อัล อัชรอฟ บารสเบย์ กำชัดให้ส่งบรรณาการจำนวนหนึ่ง รวมทั้งสำเนาของหนังสือที่จำหน่ายได้อย่างรวดเร็ว “ฟัตฮุล บารียฺ” และ อิบนุ ฮะญัร จึงส่งสามเล่มแรกให้เขา
ในปีฮ.ศ. 839 ได้มีการขอซ้ำอีกครั้ง และเล่มต่อมาได้ถูกส่งไป จนกระทั่งในสมัยของ อัล-ซาฮีร์ ญัคมัค เนื้อหาทั้งหมดได้เสร็จสิ้น สำเนาฉบับสมบูรณ์จึงได้ถูกส่งไป เช่นเดียวกัน สุลต่านโมร็อกโค อาบู ฟาริส อับดุลอาซิส อัล-ฮัฟซี ขอสำเนาก่อนที่จะเสร็จสมบูรณ์ เมื่อมันเสร็จสิ้น ในเดือนรอญับปี ฮ.ศ.842 การเฉลิมฉลองอันยิ่งใหญ่ได้จัดขึ้นในสถานที่กลางแจ้งใกล้กรุงไคโร ในการปรากฏตัวของบรรดานักวิชาการ ผู้พิพากษา และบุคคลสำคัญระดับแนวหน้าของอียิปต์ อิบนุ ฮะญัร นั่งบนเวทีและอ่านหน้าสุดท้ายในงานของเขา เพื่อแสดงถึงคุณค่าในความสามารถที่ไม่ธรรมดาของเขา นักกวีได้ร่ายคำสรรเสริญเยินยอ และทองคำได้ถูกแจกจ่าย ดังที่นักประวัติศาสตร์ อิบนุ อิยาส ได้กล่าวว่า 'เป็นการเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอียิปต์ในยุคนั้น
ชัยคุลอิสลาม อิบนุ ฮะญัร ได้เสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 852 งานศพ(ญะนาซะฮฺ)ของเขามีผู้เข้าร่วม “ห้าหมื่นคน” รวมไปถึงสุลต่าน และคอลีฟะฮฺ แม้แต่ชาวคริสเตียนเองยังเสียใจ อันเนื่องจาก อิบนุ ฮะญัรได้เป็นที่จดจำว่าเป็นผู้ที่อ่อนโยน และรักการประดิษฐ์ตัวอักษร เป็น ผู้ที่มีจิตใจเมตตาทำดีแก่ผู้ที่อธรรมต่อเขา และให้อภัยแก่ผู้ที่เขาสามารถที่จะลงโทษได้ ตลอดชีวิตที่ได้อยู่กับหะดีษ ซึ่งได้ย้อมเขาด้วยความรักอย่างลึกซึ้งต่อท่านเราะซูลของอัลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม)
http://www.fityah.com/index.php?option=com_content&task=view&id=870&Itemid=33