ผู้เขียน หัวข้อ: ระหว่างคนกำลังละหมาด กับคนที่จะเดินผ่านหน้าไป ต้องมีระยะห่างระหว่างกันเท่าไร ??  (อ่าน 1510 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Muftee

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด

ระยะห่างระหว่างตำแหน่งสุยูดของผู้ที่กำลังละหมาด กับคนที่จะเดินผ่านหน้าคนละหมาดไป จะต้องมีระยะห่างระหว่างกันเท่าไร ?? และหากว่าเราจะเดินผ่านไปทันที ในขณะที่ผู้ละหมาดกำลังสุยูดอยู่ จะถือว่าอนุญาตให้ได้หรือไม่ ?? โดย โดย ด็อกเตอร์ มุหัมมัด อาดิล อะซีซะฮฺ อัล-กัยยาลีย์



ด็อกเตอร์ มุหัมมัด อาดิล อะซีซะฮฺ อัล-กัยยาลีย์
ขออัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงปกปักษ์รักษาท่าน


ตอบ ..

   ระยะห่างระหว่างผู้ที่กำลังละหมาด กับที่ผู้ที่จะเดินผ่านหน้าไป อย่างน้อยต้องมีระยะห่างระหว่างกันไม่ต่ำกว่าสามศอก เสมือนดังเช่นที่ท่านอิมาม อัล-เคาะฏีบ อัช-ชัรบินีย์ ได้กล่าวไว้ในตำรา อัล-มุฆนีย์ เล่มที่ 1 หน้าที่ 200  และเช่นเดียวกันท่านอิมาม อัน-นะวะวีย์ ก็ได้กล่าวไว้เช่นนี้ในตำรา อัล-มัจมูอฺ เล่มที่ 3 หน้าที่ 247

   ซึ่งถ้าหากว่าผู้ละหมาดได้นำอุปกรณ์ใดมากั้นขวางทางเอาไว้แล้ว ดังนั้น ก็ถือว่าห้ามคนอื่นเดินผ่านเข้าไปในบริเวณที่เขาได้ตั้งของกั้นไว้ แต่ถ้าหากว่าคนที่ต้องการเดินผ่านทางนั้น เขาได้เดินผ่านหน้าคนละหมาดไป โดยเขาได้เดินผ่านหน้าแบบห่างไกลออกไปจากที่กั้นนั้น ในกรณีนี้ ถือว่า มักรูฮฺ(น่ารังเกียจ,ไม่สมควร) แต่ไม่ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้ามแต่อย่างใด เพราะถือว่าผู้ที่เดินผ่านนั้น ไม่ได้ก้าวล้ำเข้าไปในสิทธิของผู้ละหมาด ที่เขาได้ตั้งของกั้นเอาไว้

   แต่ถ้าหากว่าผู้ละหมาด ไม่ได้วางอุปกรณ์ใดกั้นขวางเอาไว้  ในกรณีนี้นักปราชญ์มีความเห็นที่แตกต่างกัน ในหุก่มของผู้ที่เดินผ่านหน้าคนที่กำลังละหมาดอยู่  โดยปราชญ์ในมัซฮับมาลิกีย์ ,มัซฮับหะนะฟียะฮฺ และมัซฮับหัมบะลีย์  มีความเห็นว่า ห้ามใครเดินผ่านหน้าคนละหมาดไป  โดยระยะที่ห้ามเดินผ่านตรงนี้ คือ ห้ามตั้งแต่ช่วงเท้าของผู้ที่ละหมาด ไปจนถึงตำแหน่งที่เขาจะทำการสุยูด ซึ่งตรงนี้คือในกรณีที่เขาได้ละหมาดอยู่ในสถานที่หรือในมัสยิดที่กว้างขวาง

   แต่ถ้าหากเขาได้ละหมาดอยู่ในสถานที่แคบๆ เช่น ในบ้าน หรือในมัสยิดเล็กๆ เป็นต้น  ในกรณีเช่นนี้ปราชญ์ในมัซฮับมาลิกีย์ ,มัซฮับหะนะฟียะฮฺ และมัซฮับหัมบะลีย์  มีความเห็นว่า ห้ามใครเดินผ่านหน้าคนละหมาดไป โดยระยะห่างที่ห้ามผ่านตรงนี้คือ ห้ามตั้งแต่ตำแหน่งเท้าของผู้ที่กำลังละหมาด ไปจนถึงฝาบ้าน หรือฝามัสยิดในทิศกิบละฮฺ 

   ส่วนปราชญ์ในมัซฮับชาฟิอีย์ มีความเห็นว่า การเดินผ่านหน้าคนละหมาดในสถานที่แคบๆ นั้น ถือว่า เป็นแค่มักรูฮฺ(น่ารังเกียจ,ไม่สมควร)เท่านั้น เพราะผู้ละหมาดไม่ได้ตั้งอุปกรณ์กั้นไว้  เนื่องจากเขารู้ว่ามันเป็นสถานที่ที่คับแคบ

วัลลอฮุ ตะอาลา อะลัม


ดู ตำรา  الفتاوى الشرعية المعاصرة مجموعة سبيل النجاة  โดย ด็อกเตอร์ มุหัมมัด อาดิล อะซีซะฮฺ อัล-กัยยาลีย์  หน้าที่ 36
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ส.ค. 04, 2013, 01:30 AM โดย Muftee »
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ Muftee

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
สรุป : ถ้าหากคนที่กำลังละหมาดอยู่ เขาได้เอาอุปกรณ์ใดมาตั้งขวางไว้แล้ว ก็อนุญาตให้เราเดินผ่านรอบนอก หน้าอุปกรณ์กีดขวางนั้นไปได้เลย เพราะผู้ละหมาด เขาได้จำกัดสิทธิในการละหมาดของเขาเอาไว้แล้ว ตามระยะทางที่เขาได้ตั้งเครื่องกีดขวางเอาไว้ 

แต่ถ้าเขาไม่ได้ตั้งอุปกรณ์กีดขวางไว้ ก็ให้เราเว้นระยะห่างไว้ให้แก่เขาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3 ศอก เพื่อเขาจะได้ใช้เป็นพื้นที่ในการสุยูด ตามที่ท่านอิมาม อัน-นะวะวีย์ และท่านเชคอัช-ชัรบินีย์ ได้ระบุเอาไว้ในตำราต่างๆ ของเขา 

แต่ถ้าหากอยู่ในสถานที่คับแคบ ก็ควรจะรอให้ผู้ละหมาดคนนั้น ละหมาดให้เสร็จก่อนจะเป็นการดีกว่า เพื่อให้เกียรติกับผู้ที่กำลังทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา  แต่ถ้าหากเขามีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจจริงๆ ที่จะต้องขอผ่านทางไปก่อน ก็ถือว่าอนุญาติให้เขาผ่านไปได้ โดยไม่มีข้อห้ามแต่ประการใด


วัลลอฮุ ตะอาลา อะลา วะ อะลัม
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ Muftee

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด

ชีวประวัติคร่าวๆ ของท่านเชค มุหัมมัด อาดิล อะซีซะฮฺ อัล-กัยยาลีย์ : https://www.facebook.com/drmaziza/info
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ส.ค. 04, 2013, 01:32 AM โดย Muftee »
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //


ออฟไลน์ Bangmud

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2821
  • Respect: +127
    • ดูรายละเอียด
 :salam:
ถ้าเราจำกัดขอบเขตการละหมาดของเราด้วยด้วยผ้าปูละหมาด - สะญะดะฮฺ จะถือว่า ด้านหน้าของผ้าปูละหมาดอนุญาตให้คนเดินผ่านได้หรือไม่

จากประสบการณ์ตอนไปทำหัจญ์ ผมละหมาดบนผ้าปูละหมาด กำลังจะเริ่มละหมาด หัวหน้ากลุ่ม(ชัยค์) ให้เอากระเป๋าเดินทางสููงระดับเอว วางไว้ข้างหน้าเป็นสุตเราะฮฺอีกชั้นหนึ่ง

เล่าสู่กันฟังครับ

วัสสลาม

ออฟไลน์ Muftee

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
:salam:
ถ้าเราจำกัดขอบเขตการละหมาดของเราด้วยด้วยผ้าปูละหมาด - สะญะดะฮฺ จะถือว่า ด้านหน้าของผ้าปูละหมาดอนุญาตให้คนเดินผ่านได้หรือไม่

จากประสบการณ์ตอนไปทำหัจญ์ ผมละหมาดบนผ้าปูละหมาด กำลังจะเริ่มละหมาด หัวหน้ากลุ่ม(ชัยค์) ให้เอากระเป๋าเดินทางสููงระดับเอว วางไว้ข้างหน้าเป็นสุตเราะฮฺอีกชั้นหนึ่ง

เล่าสู่กันฟังครับ

วัสสลาม


ส่วนหนึ่งจากหิกมะฮฺของการมีสิ่งปิดด้านหน้าเราในขณะที่ละหมาด คือ ช่วยป้องกันสายตาของเราไม่ให้ว็อกแว็ก ,ช่วยป้องกันคนอื่นไม่ให้เข้ามาในขอบเขตที่เราละหมาด ,ช่วยป้องกันสัตว์ที่อาจจะเดินผ่านเข้ามา ,ช่วยป้องกันมิให้ชัยตอนเดินผ่านหน้าคนละหมาด เป็นต้น


ดังมีรายงานจากท่านสะฮฺล์ บิน อะบี หัซมะฮฺ(ร.ด.) เล่าว่า ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กล่าวว่า ..

إِذَا صَلَّى أَحَدُكُمْ إِلَى سُتْرَةٍ فَلْيَدْنُ مِنْهَا مَا لَا يَقْطَعُ الشَّيْطَانُ عَلَيْهِ صَلَاتَهُ

"เมื่อคนใดคนหนึ่งในหมู่ท่านได้ละหมาดโดยหันไปยังสิ่งกั้นขวาง เขาก็จงขยับเข้าไปให้ใกล้กับสิ่งนั้น(สิ่งกั้นขวาง) เพื่อที่ชัยฏอนจะได้ไม่สามารถทำลายสมาธิของเขาในการละหมาด" บันทึกโดย ท่านอิมาม อะหฺมัด


และเช่นเดียวกัน มีรายงานจากท่านอิบนุ อุมัรฺ(ร.ด.) เล่าว่า ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กล่าวว่า ..

إِذَا كَانَ أَحَدُكُمْ يُصَلِّى، فَلاَ يَدَعْ أَحَدًا يَمُرُّ بَيْنَ يَدَيْهِ، وَلْيَدْرَأْهُ مَا اسْتَطَاعَ؛ فَإِنْ أَبَى فَلْيُقَاتِلْهُ، فَإِنَّمَا هُوَ شَيْطَانٌ

"เมื่อคนใดคนหนึ่งในหมู่ท่านได้ทำการละหมาด ดังนั้น ก็จงอย่าให้ผู้ใดเดินตัดหน้าเขา และจงให้มีสิ่งกั้นขวางเขาตามที่เขามีความสามารถ ถ้าหากเขาผู้นั้น(คนเดินผ่าน)ยังคงดื้อดึง(ที่จะเดินผ่านหน้าคนละหมาดไป) ก็จงขัดขวางเขา(ใช้มือกั้นหรือผลักเขา) เพราะแท้จริงแล้ว เขาผู้นั้น คือ ชัยฏอน" บันทึกโดย มุสลิม หะดีษที่ 505


ส่วน "ผ้าสะญะดะฮฺหรือผ้าปูละหมาด" นั้น จะไม่ถูกพิจ่ารณาว่าเป็น "สุตเราะฮฺ(สิ่งขวางกั้น)" เพราะ "สุตเราะฮฺ(สิ่งขวางกั้น)" นั้น จะต้องมีความสูงในระดับหนึ่ง อย่างน้อยก็ไม่ควรตำกว่า 1 ศอก เพื่อให้คนที่เดินผ่านสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน

ดังมีรายงานจากท่านอบู ซัรฺ(ร.ด.) เล่าว่า ท่านรสูล(ซ.ล.) ได้กล่าวว่า ..

إِذَا قَامَ أَحَدُكُمْ يُصَلِّى، فَإِنَّهُ يَسْتُرُهُ إِذَا كَانَ بَيْنَ يَدَيْهِ مِثْلُ آخِرَةِ الرَّحْلِ، فَإِذَا لَمْ يَكُنْ بَيْنَ يَدَيْهِ مِثْلُ آخِرَةِ الرَّحْلِ، فَإِنَّهُ يَقْطَعُ صَلاَتَهُ: الْحِمَارُ، وَالْمَرْأَةُ، وَالْكَلْبُ الأَسْوَدُ

"เมื่อคนใดคนหนึ่งในหมู่ท่านได้ทำการละหมาด ก็ให้ด้านหน้าของเขามีสิ่งกั้นเท่ากับประมาณส่วนปลายของอานสัตว์พาหนะ แต่ถ้าหากว่าด้านหน้าของเขาไม่มีสิ่งเท่ากับส่วนปลายของอานสัตว์พาหนะมาปิดกั้นไว้แล้วละก็ แท้จริงการละหมาดของเขาก็จะถูกตัดช่วง(ถูกทำลายทำลายสมาธิ) ด้วยกับการเดินผ่านไปของลา ,ของสตรี และของสุนัขดำ" บันทึกโดย มุสลิม หะดีษที่ 510

ซึ่งความยาวของปลายอานของสัตว์พาหนะนั้น ก็มีขนาดความสูงยาวแตกต่างกันออกไป แต่ก็ไม่สั้นกว่า 1 ศอก อย่างแน่นอน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า "สุตเราะฮฺ(สิ่งขวางกั้น)" นั้น ต้องมีความสูงในระดับนึง .. ดังนั้น "ผ้าสะญะดะฮฺ" จึงไม่อาจถูกนำมาพิจารณาเป็น "สุตเราะฮฺ(สิ่งขวางกั้น)" ได้ โดย "ผ้าสะญะดะฮฺหรือผ้าปูละหมาด" นั้น เป็นเครื่องกั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวของเราเปื้อนนะยิสบนพื้นดินเท่านั้น แต่ไม่ใช่ของกั้นด้านหน้าให้แก่ผู้ละหมาดแต่อย่างใด


ดังนั้น ถ้าหากเราได้ทำการละหมาดในสถานที่ที่คาดว่า อาจจะมีคนมาเดินเพ่นพ่านอยู่ด้านหน้าของเรา ก็ให้เรานำสิ่งมาปิดกั้นไว้ด้านหน้า น่าจะดีกว่า แต่ถ้าหากเราพิจารณาแล้วว่า คงไม่มีใครมาเดินเพ่นพ่าน ดังนั้น ผ้าสะญะดะฮฺผืนเดียว ก็คงจะเพียงพอในการที่ทำให้คนอืนรู้ว่าเรากำลังใช้พื้นที่ตรงนี้ในการละหมาด และไม่ควรที่ใครจะมาเดินผ่านตรงบริเวณนี้


วัลลอฮุ ตะอาลา อะลา วะอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ค. 06, 2013, 09:25 PM โดย Muftee »
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

 

GoogleTagged