6การ ”ตะอฺดิยะฮ์” นั้นมี 2 แบบดังนี้
1) “อัตตะอฺดิยะฮ์ อัลคอซเซาะฮ์” (التَعْدية الخَاصة) คือ การที่ คำกริยา เมื่อก่อนอยู่ในสภาพที่ไม่ต้องการกรรม(الفِعْلُ اللَازِم) (อกรรมกริยา) ได้กลับกลายมาอยู่ในสภาพต้องการกรรม (الفِعْلُ المُتَعَدِي) (สหกรรมกริยา) ซึ่ง ”อัตตะอฺดิยะฮ์” ตามความหมายนี้ จะมีเฉพาะใน บาอฺ เท่านั้น และ ความหมายนี้ ก็คือจุดประสงค์ของอัตตะอฺดิยะฮ์ ณ ที่นี้ .
2) “อัตตะอฺดิยะฮ์ อัลอามมะฮ์” (التَعْدية العَامة) คือ การตะอฺดิยะฮ์ ความหมายของตัวบังคับ (العَامِل) ไปยังตัวที่ถูกบังคับให้อ่านสภาพญัร (المَجْرُوْر) ซึ่ง “ตะอฺดิยะฮ์” ตามความหมายนี้จะมีอยู่ใน ทุก “บุพบท อัลญัร” ที่ไม่ใช่ “บุพบทเพิ่ม”(حُرُوفُ الْجَر الزَائِدَة). ดังตัวอย่างในความหมายที่เจ็ด ของ บาอฺ.
“บาอฺ อัตตะอฺดิยะฮฺ” หรือเรียกอีกอย่างว่า “บาอฺ อัน-นักล์” (بَاءُ النَقْلِ) คือ บาอฺ ที่ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายคำกริยา(ฟิอฺล์) จากสภาพ “อกรรมกริยา” ไปสู่ “สหกรรมกริยา” ซึ่งส่วนมากการเคลื่อนย้ายสภาพดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นใน “อกรรมกริยา” (الفِعْلُ القَاصِرُ - اللازِمُ) และ “บาอฺ อัตตะอฺดิยะฮฺ” หรือ “บาอฺ อัน-นักล์” นี้คือบาอฺ ที่แทนมาจาก อักษร ฮัมซะฮ์ (أ) (ฮัมซะตุ้ล ก๊อตอิ) ฉะนั้นเมื่อมีตัวหนึ่งตัวใดจากทั้งสองตัวก็จะห้ามมีอีกตัวหนึ่งทันที ดังเช่นปกติวิสัย ของสองอย่างที่ทำหน้าที่ แทนซึ่งกันและกัน (المُتَنَاوِبَانِ) ดังนั้น กฎเกณฑ์จึงมีอยู่ว่า (لِأن الْهَمْزَةَ والْبَاءَ مُتَعَاقَبَانِ) “เนื่องจากว่า อักษร ฮัมซะฮ์(ฮัมซะตุ้ล ก๊อตอิ) และ บาอฺ (อัตตะอฺดิยะฮ์)เป็นตัวที่แนซึ่งกันและกัน” ดัวยเหตุนี้เอง จึง ไม่อนุญาต ให้เรา กล่าวว่า (أَقَمْتُ بِزَيْدٍ) “ฉันทำให้นายเซดยืน” ทว่าที่ถูกต้องให้กล่าวว่า(أَقَمْتُ زَيْدًا) หรือ (قَمْتُ بِزَيْدٍ) .
และตัวอย่างจาก อัลกุรอ่าน อัลลอฮ์ ตาอาลา ตรัสว่า {ذَهَبَ اللَّهُ بِنُورِهِمْ} “อัลลอฮ์ก็ดับแสงสว่างของพวกเขาเสีย” (ซูเราะฮฺ อัล-บากอเราะฮ์ :17) ซึ่งหลักฐานที่ว่าบาอฺในโองการข้างต้น เป็น บาอฺตะอฺดียะฮ์ ซึ่งแทนมาจาก ฮัมซะฮ์ คือ หลักการอ่านของอัลกุรอ่าน ที่ถูกรายงานมาซึ่งเป็นหนึ่งในการอ่านที่เลื่องลือ ว่า {أَذْهَبَ اللَّهُ بِنُورِهِمْ} ฉะนั้น “การตะอฺดิยะฮ์ ด้วยกับ บาอฺ” และ “การตะอฺดียะฮ์ ด้วยกับ ฮัมซะฮ์” นั้นไม่มีข้อแบ่งแยกแต่อย่างใด และด้วยเหตุนี้ ด้วยกับอายะฮ์นี้เช่นกัน ถูกใช้เป็นหลักฐานในการตอบโต้ ท่าน อาบุ้ล อับบาส และ ท่าน อัส-สุฮัยลีย์ ซึ่งท่านทั้งสองมีทัศนะว่า”ระหว่าง การ ตะอฺดิยะฮ์ ด้วยบาอฺ และ การตะอฺดิยะฮ์ ด้วยฮัมซะฮ์นั้นมีข้อแบ่งแยกและแตกต่าง” ทว่าเจ้าของตำรา”หะเชียะฮ์ อัศศ๊อบบาน” ได้ระบุไว้ด้วยว่า “การตะอฺดิยะฮ์ด้วยกับ บาอฺ นั้นมีสื่อกลาง (الْوَاسِطَة) นั้นคือ อักษรบาอฺ ส่วนการตะอฺดิยะฮ์ด้วยกับ ฮัมซะฮ์นั้นไม่ต้องใช้สื่อกลาง”.
7คือ ยาอฺที่มีความหมายว่า “ใน” (فِي) .
ข้อสังเกต : คำว่า (فِي) สามารถเข้าอยู่แทนที่ บาอฺ ได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน.
อัซซอรฟ์ นั้นมีสองประเภท คือ :
1) “ซอรฟ์ อัล-มะกาน”(คำบอกสถานที่) (ظَرْفُ الْمَكَان) เช่น โองการ{وَلَقَدْ نَصَرَكُمُ اللَّهُ بِبَدْرٍ} ความว่า“ขอยืนยันแน่แท้อัลลอฮ์ได้ช่วยเหลือพวกเจ้า(ให้ได้รับชัยชนะ) ณ ทุ่งบะดัร”(ซูเราะฮ์ อ้าลา อิมรอน :123 )
ซึ่งอายะฮ์โองการนี้ มีควาหมายว่า(وَلَقَدْ نَصَرَكُمُ اللَّهُ فِي بَدْرٍ) .
2) “ซอรฟ์ อัซ-ซะมาน” (คำบอกกาลเวลา) (ظَرْفُ الْزَمَان) เช่นโองการ { نَجَّيْنَاهُمْ بِسَحَرٍ } “เราไดบันดาลความปลอดภัยแก่พวกเขาในยามดึก” (ซูเราะฮ์ อัล-กอมัร : 34) ความหมาย { نَجَّيْنَاهُمْ في سَحَرٍ }.
8ซึ่งนำมาเพิ่มเพื่อการเน้นย้ำ(التَأكِيْد).
“บุพบท อัลญัร” พร้อมกับ “มัจญฺรูรของมัน” (ตัวที่ตกหลังจากมัน) เมื่ออยู่ในสถานะ “บุพบทเพิ่ม”(الزائِدة) แล้วจะไม่ต้องการ สถานที่สำหรับการข้องเกี่ยว”อัลมุตะอัลลัก” (الْمُتَعَلَق) ซึ่งต่างกับในสภาพที่เป็น”บุทพทแท้” (الأَصْلِية)(ไม่ใช่เพิ่ม)(กล่าวคือจะต้องการ สถานที่ข้องเกี่ยว).
“บาอฺ อัลญัร” ซึ่งเป็นบุทพบท เพิ่มนั้นมีสองประเภท :
1) สามารถเอามาเทียบเคียงกันได้ (قِيَاسِية)(คือสามารถเอาไปใช้ในคำอื่นๆได้อีกนอกจากตัวอย่าง)
คือ บาอฺ ที่เข้าหน้า คอบัร(خَبَرُ) (คือ ส่วนหลังซึ่งเป็นภาคขยาย)ของ (لَيْسَ – مَا – لَا- هَلْ ).
2) ไม่สามารถเอามาเทียบเคียงกันได้(سِمَاعِية) (ต้องอาศัยการฟังที่ถ่ายทอดกันมาจากคำพูดอาหรับ)
คือ บาอฺที่เข้าหน้าตัวอื่นจากที่กล่าวมา.
ส่วนหนึ่งจากสถานที่ซึ่ง บาอฺ เป็น บุพบทเพิ่ม ได้แก่ :
(1) หน้าคำที่ทำหน้าที่เป็นประธาน (الْفَاعِل) ซึ่งการเพิ่มนี้ มี 3 ระดับ ด้วยกันคือ
1) เพิ่มโดยจำเป็น (الْوَاجِبَة) เช่น การเพิ่ม หน้าประธานของกริยาที่บ่งชี้ถึง(ความหมาย) ความแปลกใจ (فَاعِلُ فِعْلِ التَعَجُبِ) เช่น (أَكْرِمْ بِسَعِيْدٍ!) หมายความว่า (مَاأَكْرَمَ سَعِيْدًا!) .
2) เพิ่มโดยส่วนใหญ่(الْغَالِبَة) เช่น การเพิ่ม หน้าประธานของกริยา “كَفَى” ที่มีความหมายว่า”اكْتَفَى” เช่น โองการ {وَكَفَى بِاللَّهِ شَهِيدًا} ข้างต้น .
แต่ถ้าหากว่า“كَفَى” ไม่ได้มีความหมายว่า”اكْتَفَى” ดังกล่าวมา ก็จะไม่มีการเพิ่มแต่อย่างใด เช่น “كَفَى” ที่มีความหมายว่า ”أًجْزَأَ” หรือ ”وَفَى” หรือ ”أَغْنَى” ดั่งเช่นโองการที่ว่า {وَكَفَى اللَّهُ الْمُؤْمِنِينَ الْقِتَالَ} “และอัลลอฮ์ทรงยังความเพียงพอการรบแก่เหล่าศรัทธาชน(โดยได้รับความปลอดภัยอย่างทั่วถึงกัน)”
(ซูเราะฮฺ อัลอะหฺซาบ : 25).
3) เพิ่มโดยมีเหตุจำเป็น (الْضَرُورَة) (จะเกิดขึ้นเฉพาะในบทร้อยแก้ว) เช่น บทกวี ที่ว่า :
أَلَمْ يَأْتِيْكَ والأَنباءُ تَنمِي ... بَمَا لاقَتْ لَبُونُ بني زِيَادِ
“ยังไม่ถึงมายังเจ้าอีกหรือสิ่ง(ข่าวคราว)ที่อูฐนมของเผ่า”ซียาด”ได้พบเจอ ซึ่งข่าวคราวมันโจ่งแจ้งและโจษขานยิ่งนัก”. (เป็นบทกวีของ ท่าน ก็อยส์ บิน ซุฮัยร์ ซึ่งเป็นบทกลอน อัลวาฟิร(بَحْرُ الوَافِر) ที่มีมาตราเทียบ “مُفَاعِلَتُنْ” ซ้ำกัน 6 ครั้ง)
ในบทกลอนข้างต้น คำว่า “ما” เป็นประธาน (ฟาแอล) ส่วนคำว่า “بِـ” เป็น บุพบทเพิ่ม ด้วยเหตุจำเป็น (นั่น ก็คือ เพื่อให้มาตราเทียบของบทกลอน อัลวาฟิรดังกล่าว ลงตัว).
(2) หน้าคำที่ทำหน้าที่เป็นกรรม (الْمَفْعُول) (ซึ่งเป็นการเพิ่มแบบسماعية) เช่น การเพิ่มในคำว่า “بِأَيْدِيكُمْ” ในโองการที่ว่า {وَلَا تُلْقُوا بِأَيْدِيكُمْ إِلَى التَّهْلُكَةِ} “และพวกเจ้าอย่ายื่นมือของพวกเจ้าไปสู่ความหายนะ” และในทำนองเดียวกันมีอีกมากมายเช่นกันการเพิ่มหน้า กรรมของกริยา (كَفَى ، عَرَفَ ، عَلِمَ ، دَرَى ، جَهِلَ ، سَمِعَ ، أَحَس ، أَلْقَى ، مَد ، أَرَادَ ، ) ในเมื่อคำกริยาเหล่านี้ต้องการแค่เพียงกรรมเดียวเท่านั้น.
(3) หน้าคำว่า “حَسْب” ที่มีความหมายว่า ”كَافٍ” ดังเช่นคำกล่าวที่ว่า (بِحَسْبِكَ دِرْهَمٌ) “เป็นการเพียงพอสำหรับท่าน 1 เหรียญดิรฮัม”.
(4) หน้า มุบตะดะอฺ(الْمُبْتَدَأ) (เริ่มส่วนหน้าประโยค)ที่ตกภายหลังจาก บุพบท”إِذا الْفُجَائِيَّة” (ที่มีความหมายว่า บังเอิญ) เช่น คำว่า “بِالْمَطَرِ” ใน (خَرَجْتُ فَإِذَا بِالْمَطَرِ نَازِلٌ)” ฉันได้ออกมาบังเอิญว่าฝนมันตก”.
(5) หน้า มุบตะดะอฺ ที่ตกภายหลังจากคำว่า ”كَيْفَ” (อย่างไร) เช่น (كَيْفَ بِكَ إِذَا خَرَجْتُ؟) “เธอเป็นอย่างไรบ้างเมื่อฉันได้ออกมา” ถ้อยคำเดิม (الأَصْلُ)คือ (كَيْفَ أَنْتَ إِذَا خَرَجْتُ؟).
(6) หน้า คอบัร (คือ ส่วนหลังซึ่งเป็นภาคขยาย)ของ คำว่า “ลัยซา” (خَبَرُ لَيْسَ) เช่น คำว่า” بِكَافٍ” ในโองการที่ว่า { أَلَيْسَ اللَّهُ بِكَافٍ عَبْدَهُ } “ก็อัลลอฮ์มิใช่หรือ ที่ปกป้องบ่าวของพระองค์”(อัซซุมัร : 36)
(7) หน้า คอบัร ของ คำว่า “มา อัลหิยาซียะฮฺ” (خَبَرُ مَا الحِجَازِيّة) (ที่ทำงานเหมือนกับ“ลัยซา”) เช่น คำว่า ” بِظَلَّامٍ” ในโองการที่ว่า {وَمَا رَبُّكَ بِظَلَّامٍ لِلْعَبِيدِ } “และองค์อภิบาลของเจ้าไม่อธรรมต่อข้าทาส(ของพระองค์)อย่างแน่นอ”(อัล-ฟุศศิลัต : 46).
(8 ) หน้า คอบัร ของ คำว่า “ลาอัน-นาฟียะฮ์” (خَبَرُلَا النَّافِيَّة) เช่น คำว่า ” بِخَيْرٍ” ใน คำคุตบะฮ์ของท่าน อาบูบักร อัซิดดีก (รอดิยัลลอฮุ อันฮู) ที่ว่า (لَا خَيْرَ بِخَيْرٍبَعدَهُ النَّار) “ไม่เป็นเรื่องที่ดีสำหรับ(การทำ)ความดีที่หลังจากมัน(ผลตอบแทน)คือไฟ(นรก)”.
(9) หน้า คอบัร ของ “กานา อัลมันฟีย์(ปฏิเสธ)” (خَبَرُكَانَ المَنْفِي) เช่น (مَا كَانَ الرَّسُوْلُ بِكَاذِبٍ) “หาใช่(เป็นไปไม่ได้)ว่ารอซู้ลนั้นจะเป็นผู้โกหก”.
(10) หน้า “อัล-ห้าล(นามบอกสภาพ)” (الْحَالُ الْمَنْفِيْ عَامِلُهَا ) ซึ่งตัวบังคับของมันเป็นประโยคปฏิเสธ เช่น คำว่า “بِخَائِبَةٍ” ในบกวีที่ว่า
(فَمَا رَجَعَتْ بِخَائِبَةٍ رِكَابُ ... *)
“กองคาราวารไม่กลับมาในสภาพที่ปารชัยเป็นแน่”
(เป็นบทกวีของ ท่าน กุหัยฟ์ อัล-อุก็อยลีย์ ซึ่งเป็นบทกลอน อัล-วาฟิร เช่นเดียวกัน ).
(11) หน้าคำว่า “النًّفْسُ” หรือ “الْعَيْنُ” ที่ใช้ในการเน้นย้ำ(التًّوْكِيْدُ) เช่น คำว่า ” بِنَفْسِهِ” ในคำกล่าวของอาหรับที่ว่า (خَطَبَ الْقَائِدُ بِنَفْسِهِ) “แม่ทัพนายกองกล่าวปฐากฐาด้วยตัวเอง”.
(12) หลังจากคำว่า “نَاهِيْك” (เป็น อิสมุ้ล ฟิอฺลี(اسْمُ الْفِعْلِ) (คำนามกริยา)ของคำว่า ”نَهَى” ซึ่งมีความหมายว่า “حَسْبُكَ”) ซึ่งตัวอย่าง ฟาแอล(ประธาน) ของมันที่มี บาอฺ เพิ่มนั้นมีมากมาย เช่น (نَاهِيْكَ بِالزّمَنِ مُؤَدَّبًا) “เป็นการเพียงพอแล้วสำหรับท่านที่กาลเวลาเป็นเครื่องอบรมบ่มนิสัย”.
(13) หลังคำว่า “عَلَيْكَ” ซึ่งเป็น อิสมุ้ล ฟิอฺลี(اسْمُ الْفِعْلِ) “นามกริยา”(คือ คำนามที่มีความหมายเหมือนคำกริยา แต่ไม่รับเครื่องหมายของคำกริยา) เช่น บกวีที่ว่า
( فعليك بالحجاج لا تعدل به ...* )
(เป็นบทกวีของ ท่าน อัล-อัคฏ๊อล (الْأَخْطَل) ซึ่งเป็นบทกลอน อัล-กามิล (بَحْرُ الْكَامِل) ที่มีมาตราเทียบ “مُتًفَاعِلُنْ” ซ้ำกัน 6 ครั้ง).
9ส่วนความหมายอื่นของบาอฺนั้นมีอีกมากมาย ซึ่งจะพูดกันในโอกาสต่อไป อิงชาอัลลอฮ์.