ผู้เขียน หัวข้อ: การเตาบัตในความผิดใดความผิดหนึ่ง...มีแนวทาง วิธีการอย่างไรบ้างค่ะ  (อ่าน 1519 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Nurhuda_Kaikaew

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 1
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

การเตาบัตในความผิดใดความผิดหนึ่ง...มีแนวทาง วิธีการอย่างไรบ้างค่ะ

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم

اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ ،،، وَبعْدُ ؛


เงื่อนไขการเตาบะฮ์

การเตาบะฮ์จากบาปนั้นมีสองประเภท  คือ: 

1. การเตาบะฮ์จากบาปที่เป็นสิทธิของอัลเลาะฮ์ [حَقُّ اللهِ] เช่น ละทิ้งการละหมาด  การออกซะกาต การถือศีลอด  การคลุมฮิญาบ  การดื่มเหล้า  การทำซินา การกินดอกเบี้ย เป็นต้น

2. การเตาบะฮ์จากบาปที่เป็นสิทธิของเพื่อนมนุษย์ [حَقُّ الآدَمِيِّ] เช่น การทรพีต่อบิดามารดา  การยักยอกทรัพย์สินผู้อื่น  การนินทา  เป็นต้น

เงื่อนไขการเตาบะฮ์จากบาปที่เป็นสิทธิของอัลเลาะฮ์

เงื่อนไขของการเตาบะฮ์จากบาปที่เป็นสิทธิของอัลเลาะฮ์มี 3 ข้อ

1. ต้องละเลิกจากบาปที่เขาได้กระทำ

ท่านอิมามอิบนุฮะญัร อัลฮัยตะมีย์กล่าวว่า “การละเลิกจากบาปนั้น  คือละเลิกจากบาปเพื่ออัลเลาะฮ์  ดังนั้นถ้าหากเขาละทิ้งบาปเพราะกลัว(คนอื่นจะตำหนิ) หรือเพื่อโอ้อวด(ให้คนอื่นรู้ว่าเขาไม่ได้ทำบาปแล้ว) และกรณีอื่นๆ ที่มิได้มีเป้าหมายเพื่ออัลเลาะฮ์   ก็นับว่าเขายังไม่ใช่เป็นผู้ละเลิกบาปอย่างแท้จริง” ดู มุฮัมมัด บิน อัลลาน อัศศิดดีกีย์, ดะลีลฟาลิฮีน, เล่ม 1, หน้า 70.

ท่านอิมามอัลฆ่อซาลีย์กล่าวว่า “ให้ผู้เตาบะฮ์ละเลิกกระทำบาปเพราะยอมสยบต่อความยิ่งใหญ่ของอัลเลาะฮ์และกลัวการลงโทษของพระองค์เท่านั้น  มิใช่ละเลิกจากบาปเพราะปรารถนาในเรื่องของดุนยา กลัวผู้คนจะประณาม  ต้องการที่จะได้รับการสรรเสริญและมีชื่อเสียง  หรือเพราะว่าร่างกายอ่อนแอ(ไม่สามารถไปทำชั่วได้)  หรือเพราะยากจน(จึงไม่มีเงินไปเล่นการพนันได้) เป็นต้น” ดู อัลฆ่อซาลีย์, มินฮาญุลอาบิดีน, เล่ม 1, หน้า 151.

2. โศกเศร้าเสียใจต่อการกระทำบาปนั้น

ท่านอิมามอัลฆ่อซาลีย์กล่าวอธิบายว่า “ความโศกเศร้าเสียใจเพราะรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ของอัลเลาะฮ์และกลัวการลงโทษของพระองค์นั้น (ไม่ใช่โศกเศร้าเสียใจเพราะกลัวว่าผู้คนจะประณามหรือโศกเศร้าเสียใจเพราะถูกลดเกลียรติจากสายตาของผู้คนทั้งหลาย  เนื่องจากเป็นการโศกเศร้าเสียใจเพื่อมนุษย์ไม่ใช่เพื่ออัลเลาะฮ์)   เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ทำการเตาบะฮ์อย่างจริงใจ” ดู อัลฆ่อซาลีย์, มินฮาญุลอาบิดีน, เล่ม 1, หน้า 154.

3. ตั้งใจอย่างเด็ดขาดว่าจะไม่กลับไปทำบาปนั้นอีก

ท่านอิมามอัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวอธิบายว่า “เขาต้องมั่นใจและตัดสินใจอย่างเด็ดขาดว่าจะไม่กลับไปทำบาปอีก  ดังนั้นถ้าหากเขาละทิ้งบาป  โดยที่จิตใจนั้นยังลังเลว่า  บางทีอาจจะกลับไปกระทำบาปหรือไม่มีความมั่นใจว่าจะละทิ้งบาปนั้นได้  แน่นอนว่าเขาเพียงแค่ละทิ้งบาปเฉยๆโดยมิได้เป็นผู้เตาบะฮ์จากบาปเลย” เรื่องเดียวกัน.

ดังนั้นถ้าหากผู้ทำการเตาบะฮ์ได้ขาดเงื่อนไขหนึ่งจากสามเงื่อนไขนี้  การเตาบะฮ์ของเขาถือว่าใช้ไม่ได้และไม่สมบูรณ์

เงื่อนไขการเตาบะฮ์จากบาปที่เป็นสิทธิของมนุษย์

เงื่อนไขของการเตาบะฮ์จากบาปที่เป็นสิทธิของเพื่อนมนุษย์มี 4 ข้อ ซึ่งข้อ 1-3 นั้น  เป็นเงื่อนไขเดียวกับการเตาบะฮ์จากบาปที่เป็นสิทธิของอัลเลาะฮ์

ส่วนข้อที่ 4.  คือ  ผู้เตาบะฮ์ต้องคืนสิทธิ์ของผู้อื่นที่เขาละเมิดมาหรือต้องขอมะอัฟเขา   

وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged