ผู้เขียน หัวข้อ: การซีฮารฺภรรยา  (อ่าน 1361 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ imron_lung

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 3
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
การซีฮารฺภรรยา
« เมื่อ: ก.ย. 19, 2013, 01:54 AM »
0

:salam:

                               الحمد لله ربّ العالمين والصلاة السلام على سيدنا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين   

                                                              كِتَابُ الظِّهَارِ

          การซีฮารฺ ตามพื้นฐานเดิมๆ คือการที่สามีได้กล่าวเปรียบภรรยาเหมือนกับมารดาของเขา เช่นสามีกล่าวว่า “เธอสำหรับฉันแล้วเหมือนหลังมารดาของฉัน”

            การซีฮารฺนี้เป็นการกระทำของคนในสมัยญาฮีลียะฮฺ(ยุคก่อนอิสลาม) เมื่อต้องการที่จะหย่าภรรยาของเขา หลังจากนั้นอิสลามก็ได้กำหนดเปลี่ยนอูกมมาห้าม (อารอม) หลังจากที่มีการหวนกลับมายังภรรยาโดยที่เขาไม่ได้กล่าวคำติดตามมาหย่าหลังจากกล่าวคำซีฮารฺ และจำเป็นที่จะต้องเสียค่าปรับในถานะที่กระทำการละเมิดยังสิ่งที่ต้องห้าม ซึ่งจะขอกล่าวต่อไปข้างหน้า

          สำหรับแก่นแท้ของการซีฮารนั้นก็คือการที่สามีกล่าวเปรียบภรรยาในด้านสิ่งเป็น (حُرْمَة) สี่งที่ต้องรักษาเช่นหลังมารดาหรือของมะห์รอม เพราะเป็นสถานที่สำคัญและเป็นสถานที่เขาขี่กัน เลยห้ามนำไปเปรียบกับผู้เป็นมะห์รอม(อารอมแต่งงาน)กับเขาซึ่งจะขอกล่าวต่อไปว่ามีใครบ้าง

          หลักฐานของซีฮารฺ ก็คืออัลกุรอ่าน ซุเราะห์อัลมุญาดาละหฺ อายัตที่ 3 - 4 อัลเลาะหฺ(ซ.บ) ทรงตรัสไว้ว่า

وَالَّذِينَ يُظَاهِرُونَ مِنْ نِسَائِهِمْ ثُمَّ يَعُودُونَ لِمَا قَالُوا فَتَحْرِيرُ رَقَبَةٍ مِنْ قَبْلِ أَنْ يَتَمَاسَّا ذَلِكُمْ تُوعَظُونَ بِهِ وَاللَّهُ بِمَا تَعْمَلُونَ خَبِيرٌ (3) فَمَنْ لَمْ يَجِدْ فَصِيَامُ شَهْرَيْنِ مُتَتَابِعَيْنِ مِنْ قَبْلِ أَنْ يَتَمَاسَّا    فَمَنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَإِطْعَامُ سِتِّينَ مِسْكِينًا ذَلِكَ لِتُؤْمِنُوا بِاللَّهِ وَرَسُولِهِ وَتِلْكَ حُدُودُ اللَّهِ وَلِلْكَافِرِينَ عَذَابٌ أَلِيمٌ
4

        ความว่า “และบรรดาผู้ที่พวกเขาทำการซีฮารฺ (เปรียบหลังมารดา) จากบรรดาผู้หญิงของพวกเขา หลังจากนั้นพวกเขาก็หวนกลับยังสิ่งทีพวกเขาได้พูดไว้ ดังนั้นก็ให้ปลดร่อยทาสก่อนที่ทั้งสองจะเข้าร่วมหลับนอน นั้นแหละเป็นสิ่งที่พวกเจ้าถือนำมาเป็นบทเรียนด้วยกับมัน และอัลลอฮฺ (ซ.บ)เป็นผู้บอกเหล่าในสิ่งที่พวกเจ้าได้ปฏิบัติ ดังนั้นผู้ใดที่ไม่สามารถ (ปรดร่อยทาส) ได้ ดังนั้นเขาก็ทรงถือศีลอดสองเดือนติดต่อกันก่อนที่ทั้งสองจะเข้าร่วมหลับนอน ดังนั้นผู้ใดที่ไม่สามารถ (ถือศีลอดสองเดือนติดต่อกัน) ได้ ดังนั้นก็ให้เขาให้อาหารแก่คนยากจน 60 คน สิ่งดังกล่าวนั้นเพื่อที่จะให้สูเจ้าศรัทรายังอัลลอฮฺและร้อซุลของพระองค์ และนั้นแหละเป็นการลงโทษจากอัลลอฮฺ และสำหรับบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาพวกเขาจะได้รับโทษอันมหันต์ ”   
   
         นี่ก็เป็นหลักฐานที่มายืนยันในเรื่องของการซีฮารฺซึ่งก็ได้กล่าวถึงค่าปรับในการล่วงละเมิด เพื่อเป็นการไถ่ถอนจากความผิด

           อุกมซีอารฺ ถือว่า อารอมเป็นบาป และเป็นส่วนหนึ่งจากบาปใหญ่ด้วย  โดยยึดหลักฐานอัลกรุอานที่ว่า

                                                          {وَإِنَّهُمْ لَيَقُولُونَ مُنْكَرًا مِنَ الْقَوْلِ وَزُورًا} [المجادلة: 2]

         ความว่า  “ และแท้จริงพวกเขาจะกล่าวในสิ่งที่ต้องห้ามจากคำพูด และกล่าวสิ่งเท็จ”
    
           รูกุลของซีฮารฺ มี 3 ประการ คือ

1. الزَّوْجَانِ  สามีภรรยา ดังนั้นการซีฮารฺจะมีผลก็ต้องเกิดจากสามีที่มีสติปัญญาครบท้วนสมบูรณ์และบรรลุศาสนภาวะ และไม่ถูกบังคับ  ดังนั้นหากคนอื่นจากสามีหมายถึงคนอัญนาบีที่อื่นจากสามีหรือเด็ก  คนบ้า  คนที่โดนบังคับ และภรรยาที่ได้กล่าวแก่สามีของนางว่า” ท่านสำหรับฉันแล้วเหมือนกับหลังมารดาของฉัน” และ ”ฉันบนเหนือท่านก็เหมือนหลังมารดาของท่าน”  ดังนั้น การกล่าวที่มาจากบุคคลทั้งหมดนี้ถือว่าไม่เซาะ (ใช่ไม่ได้ในการซีฮารฺ)  หมายถึงไม่เป็นซีฮารฺ   
 
2. الصِّيغَةُ   คำกล่าว  เช่นสามีกล่าวแก่ภรรยาของเขาว่า “ เธอสำหรับฉันแล้วเหมือนกับหลังมารดาของฉัน”

   และการเปรียบมือ เท้า ผม ร่างกาย หรือสัดส่วนต่างๆของเรือนร่าง จะเป็นหน้าอก ท้อง หรืออวัยวะเพศ นั้นก็เหมือนกับการเปรียบหลังเช่นกัน  เช่นเขากล่าวว่า “เธอเหมือนกับมือมารดาของฉัน เป็นต้น เพระการเปรียบภรรยาด้วยกับส่วนใดจากอวัยวะของมารดาหรือด้วยสิ่งที่คลุมยังหลังก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกเปรียบด้วยกับหลังเช่นกัน และเพราะทุกส่วนจากวัยวะของมารดานั้นเป็นสิ่งที่อารอมเอาความสุข

   นอกจากการเปรียบดังกล่าวนั้นเป็นการเปรียบบนทนทางให้เกียรติดังนั้นจะถือว่าไม่เป็นซีอารฺแต่อย่างใดถึงแม้จะเปรียบทั้งร่างการก็ตาม เช่น เช่นสามีพูดแก่ภรรยาของเขาบนทนทางให้เกียรติว่า “เธอเหมือนกับมารดาของฉัน เหมือนกับดวงตามารดาของฉัน” และเขาก็ไม่ได้มีเจตนาซีฮารฺหรือตอลาก เพราะคำดังกล่าวนี้เป็นคำ كِنَايَة ในซีฮารฺ และตอลาก ซึ่งทั้งสองจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเขาได้เนียตว่าเป็นซีฮารฺหรือตอลาก

3.   الْمُشَبَّهُ بِهِ บุคคลที่สามีได้นำไปเปรียบ คือมารดา  มะแก่ทั้งฝ่ายมารดาและบิดา และทุกๆคนผู้หญิงที่อารอมแต่งงานด้วย จะทางด้านสายเลือด เช่นพี่น้องหญิง ลูกสาว ฯลฯ หรือด้านการดื่มนมร่วมกัน เช่นแม่นมของเขา แม่นมพ่อ แม่นมแม่ของเขา ฯลฯ หรือห้ามเอารวมกัน เช่นแม่ยาย ลูกสะใภ้ ลูกเลี้ยง แม่เลี้ยง ต่างๆ ดังนั้นเมื่อมีการเปรียบกับบุคคลเหล่านี้ด้วยกับอวัยวะใดจากพวกนาง ก็จะถือว่าเป็นการซีฮารฺ และไม่ได้เปรียบบนทนทางให้เกียติแต่อย่างใด

   แต่แตกต่างกับการเปรียบทางด้านฝ่ายผู้ชาย เช่น พ่อ ลูกชาย พี่น้องชาย เป็นต้น ดังนั้นจะไม่เป็นการซีฮารฺหากเขาได้เปรียบภรรยาด้วยกับฝ่ายผู้ชาย เพราะไม่ไช่เป็นสถานที่เอาความสุข

         เมื่อการซีฮารฺใช่ได้ก็จะเกิด 2 อุกมที่ตามมา คือ

1. ห้ามการร่วมประเวณีจนกว่าได้เสียค่าปรับ  ดังคำดำรัจของอัลลอฮฺ (ซ.บ)  ที่ว่า

                                                      مِنْ قَبْلِ أَنْ يَتَمَاسَّا

           ความว่า “ก่อนที่ทั้งสองจะอยู่ร่วมหลับนอนกัน”

2. จำเป็นจะต้องเสียค่าปรับด้วยสาเหตุหวนกลับ
หวนกลับ คือการที่สามีได้ยึดภรรยาให้อยู่ในการแต่งานในช่วงเวลาที่พอจะหย่า(ตอลาก)ได้หลังจากกล่าวคำซีฮารฺไปแล้ว เพราะการที่เปรียบเทียบภรรยาเหมือนกับมารดานั้นเป็นการที่เขาไม่ได้ยึดภรรยาเขาว่าเป็น “ภรรยา”  ดังนั้นเมื่อเขาได้ยึดภรรยากลับมาก็เท่ากับว่าเขาได้หวนเอาเธอกลับมาในสิ่งที่เขาได้พูดเป็นซีฮารฺ(เปรียบ)ไว้

         ค่าปรับซีฮารฺكَفّارَة الظهار    

1.  ปลดปล่อยทาสหญิงที่เป็นมุสลีมะห์คนหนึ่งซึ่งปลอดภัยจากตำหนิต่างๆ ดังที่ได้กล่าวผ่านมาแล้วในอายัตข้างต้น
2.  หากไม่มีความสามารถจะปล่อยทาสหญิงที่เป็นมุสลีมะห์ได้ ก็ให้ถือศีลอดสองเดือนติดต่อกัน
3.  หากไม่มีความสามารถถือศีลอดสองเดือนติดต่อกันได้ ก็ให้จ่ายอาหารหลักยังคนยากจนจำนวน 60 คน คนละหนึ่งลิตร (คือ 7 ขีดต่อ 1 กิโลกรัม)

และไม่อนุญาตร่วมประเวณีจนกว่าได้เสียค่าปรับเสียก่อน
และจำเป็นในขณะเสียค่าปรับนั้นจะต้องเนียต  เช่นเขาเนียตนึกในใจว่า “นี่เป็นกัฟฟารัตซีฮารฺของข้าพเจ้า” เพราะดังอัลอาดิษที่รู้กันดี “บรรดาอาหม่านนั้นขึ้นอยู่กับการเนียต (เจตนา) และกัฟฟารัตมันก็เป็นสิทธิประเภททรัพย์สินด้วยเลยต้องการยังการเนียต

      สรุปส่งท้าย การซีฮารฺเป็นการกระทำที่ได้เกิดขึ้นในสมัยยุคก่อนอิสลามเมื่อต้องการที่จะหย่าภรรยาของเขา หลังจากนั้นอิสลามก็ได้เปลี่ยนมาเป็นการกำหนดห้ามเหนือประชาชาติในยุคสมัยนี้ เพื่อที่จะกระหนักว่าไม่สมควรที่จะไปละเมิดสิ่งที่ต้องห้ามและจะต้องถูกเสียค่าปรับเพื่อเป็นการชดใช้และลบล้างกับความผิดที่ได้ละเมิด  และหากต้องการที่จะหย่าภรรยาก็ควรที่จะหย่ากันด้วยดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ อาลาล แต่เป็นของอาลาลที่อัลลอฮฺไม่ทรงพอพระทัยยิ่ง ดังได้มีอาดิษ

                                      رَوَى مُحَارِبُ بْنُ دِثَارٍ عَنِ ابْنِ عُمَرَ أَنَّ النَّبِيَّ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم َ - قَالَ: أَبْغَضُ الْحَلَالِ إِلَى اللَّهِ الطَّلَاقُ

      ความว่า รายงานจากท่านมุอาริบบิลดีซาร จากท่านอับดุลลอฮฺบิลอุมารฺ  แท้จริงท่านนบี (ซ.ล) ได้ทรงกล่าวว่า “สิ่งอนุมัติที่เป็นที่โกรธยิ่ง ณอัลลอฮฺ (ซ.บ)นั้นก็คือการหย่า

       อ้างอิงจากหนังสือ
أسنى المطالب في شرح روض الطالب
كفاية الأخيار في حل غاية الإختصار
…………………………………………..

และหนังสือฟิกฮ์ทั่วไปของมัสอับชาฟีอี ในเรื่อง كِتَابُ الظِّهَار ِ

       แปลโดยบ่าวผู้ต่ำต้อย............

                                                                         
                                                                         والله أعلم بالصواب


 natural:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ต.ค. 06, 2013, 10:33 AM โดย imron_lung »

ออฟไลน์ ActionMask

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 250
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
Re: การซีฮารฺภรรยา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ก.ย. 19, 2013, 09:21 AM »
0
ก่อนอื่นต้องขอโทษ ที่ต้องบอกตรงๆ นะครับ ว่าผมอ่านแล้วไม่เข้าใจ คำบางคำประโยคบางประโยคอ่านแล้วงง

เป็นแบบนี้บ่อยในการอ่านหนังสือศาสนา อย่างเช่น

"ดังนั้นหากคนอื่นจากสามีหมายถึงคนอัญนาบีที่อื่นจากสามีหรือเด็ก  คนบ้า  คนที่โดนบังคับ" - อื่นจาก อื่นจาก สรุปแล้วหมายถึงใครกันแน่ ใช่แปลว่า นอกจากหรือไม่

"ท่านสำหรับฉันแล้วเหมือนกับหลังมารดาของฉัน” และ ”ฉันบนเหนือท่านก็เหมือนหลังมารดาของท่าน” " - ฉันบนเหนือท่าน ....

"ดังนั้น การกล่าวที่มาจากบุคคลทั้งหมดนี้ถือว่าไม่เซาะ" - บุคคลไหนบ้าง

"พระการเปรียบภรรยาด้วยกับส่วนใดจากอวัยวะของมารดาหรือด้วยสิ่งที่คลุมยังหลังก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกเปรียบด้วยกับหลังเช่นกัน และเพราะทุกส่วนจากวัยวะของมารดานั้นเป็นสิ่งที่อารอมเอาความสุข" - ลองแปลไทยเป็นไทยได้ไหมครับ




คือผมคิดว่า ถ้าจะแปลแล้วให้มันเป็นความหมายภาษาไทยได้ไหม ผมอ่านแล้ว มันสับสนมากๆ อะไรคืออะไร ทำกับใคร ใครถูกกระทำ ทำอย่างไร ไม่สามารถเข้าใจได้เลย

ถ้าทำให้ขุ่นเคืองใจ ต้องขอโทษด้วยนะครับ แต่อ่านแล้ว งงมาก อยากเข้าใจ แต่ไม่เข้าใจ




ออฟไลน์ imron_lung

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 3
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การซีฮารฺภรรยา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ก.ย. 19, 2013, 12:44 PM »
0
 ในสำนวนที่บอกว่า "ดังนั้นหากคนอื่นจากสามีหมายถึงคนอัญนาบีที่อื่นจากสามี"  คือคนที่ไม่ไช่สามี เช่นเพื่่อนของสามี เป็นต้น

 ส่วนสำนวนที่บอกว่า "หรือเด็ก  คนบ้า  คนที่โดนบังคับ" ก็คือสามีที่เป็นเด็กเป็นคนบ้า  หรือถูกบังคับให้ทำการซีฮารฺภรรยา
   
 และในสำนวนที่ว่า"ท่านสำหรับฉันแล้วเหมือนกับหลังมารดาของฉัน” และ ”ฉันบนเหนือท่านก็เหมือนหลังมารดาของท่าน”
 นั้น เป็นคำกล่าวของภรรยาที่กล่าวแก่สามี ซึ่งถูกแปลมาจากภาษาอาหรับที่่ว่า 
                 
                                                      أَنْتَ عَلَيَّ كَظَهْرِ أُمِّي وَأَنَا عَلَيْك كَظَهْرِ أُمِّكَ

 ดังนั้นเมื่อภรรยาเป็นผู้กล่าวคำนี้ขึ้นมา ก็ถือว่าไม่เป็นซีฮารฺแต่อย่างใด เพราะซีฮารฺนั้นต้องเกิดจากผู้เป็นสามีที่่มีสติปัญญาครบท้วนสมบูรณ์และบรรลุศาสนภาวะ และไม่โดนบังคับให้กระทำการชีฮารฺภรรยา
     
 เเละคำกล่าวที่ว่า"บนเหนือฉัน"นั้นถูกเเปลมาจากคำว่า عَلَيَّ เเละยังมีคำที่คล้ายกับคํานี้อย่างเช่นคำว่า مِنِّي مَعِي عِنْدِي

 ซึ่งเเปลว่าจากฉัน พร้อมฉัน ณฉัน ดังที่สามีพูดว่า أَنْت مِنِّي كَظَهْرِ أُمِّي  เเปลว่า เธอจากฉันเหมือนกับหลังมารดาฉันเป็นต้น ซึ่งคำกล่าวเหล่านี้จะเกิดเป็น ซีฮารฺด้วยเช่นกัน
 
 ส่วนสำนวนที่บอกว่า "ดังนั้น การกล่าวที่มาจากบุคคลทั้งหมดนี้ถือว่าไม่เซาะ" คือการกล่าวคำซีฮารฺ ที่มาจากบุคคลที่ไม่ไช่สามี หรือสามีเป็นเด็กหรือเป็นบ้า  หรือถูกบังคับให้ทำการซีฮารฺ หรือมาจากภรรยาดังข้างต้น ก็ถือว่าไม่เป็นซีฮารฺ  เพราะไม่ได้ตามเงื่อนไขที่ได้กล่าวบอกไว้ในรูกุลข้อแรก

 สำนวนที่บอกว่า "เพราะการเปรียบภรรยาด้วยกับส่วนใดจากอวัยวะของมารดาหรือด้วยสิ่งที่คลุมยังหลังก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกเปรียบด้วยกับหลังเช่นกัน และเพราะทุกส่วนจากวัยวะของมารดานั้นเป็นสิ่งที่อารอมเอาความสุข" 

 อวัยวะต่างๆของมารดาหรือส่วนที่คลุมยัง "หลัง" เช่นไหล คอ สะโพก อะไรอย่างนี้  ถ้าในด้านการเปรียบภรรยากับสิ่งที่เป็นอวัยวะมารดาเหล่านี้บนหนทางเปรียบแบบเหมือนจริงๆ  ไม่ไช่หนทางให้เกิยรติภรรยาและมารดาของเขา ก็ถือว่าเป็นการซ๊ฮารฺ  เพราะจะเข้าในความหมาย "หลัง" ที่เป็นฐานเดิมของการซีฮารฺนั่นเอง และเพราะทุกส่วนจากอวัยวะของมารดานั้นเป็นสิ่งที่อารอมเอาความสุขเพราะท่านคือผู้ให้บังเกิดเรามาเเละเป็นที่ต้องห้ามอยู่เเล้ว


 ต้องขอโทษผู้อ่านทุกท่านด้วยที่อ่านเเล้วไม่ค่อยเข้าใจในบทความ เพราะนี้เป็นเรื่่่่องที่ถูกเเปลมาจากภาษาอาหรับเเละอาจจะบกพร่องบ้างในการใช้สำนวนภาษาเเละความบกพร่องนี้ที่ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้
 ถ้าหากมีข้อสงสัยหรือไม่เข้าใจก็ขอให้ผู้อ่านได้หวนกลับไปดูในตำราฟิกฮ์ต่างๆของมัซฮับชาฟีอีเพื่่่่อจะได้มีความรู้เพิ่มเติมมากกว่านี้
หรืออาจจะส่งข้อความถามไว้ ถ้ามีโอกาสก็จะตอบให้หรือขอรบกวนบรรดาผู้รู้ที่มีความสันทัดในเรื่องนี้มากกว่ากระผมได้ให้ความรู้เพื่อจะให้คี่คลายปัญหานี้ต่อไป วัสสาลาม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 23, 2013, 11:01 AM โดย imron_lung »

ออฟไลน์ ActionMask

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 250
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
Re: การซีฮารฺภรรยา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ก.ย. 19, 2013, 01:42 PM »
0
ขอบคุณครับสำหรับคำตอบ

แต่ยังไม่เข้าใจน่ะครับ

คือสรุปเป็นภาษาไทยได้ไหมเช่น บนเหนือ หรือ จาก เนี่ย ช่วยอธิบายหน่อยว่า หมายถึงอะไร

เช่น

อ้างถึง
เเละคำกล่าวที่ว่า"บนเหนือฉัน"นั้นถูกเเปลมาจากคำว่า عَلَيَّ เเละยังมีคำที่คล้ายกับคํานี้อย่างเช่นคำว่า مِنِّي مَعِي عِنْدِي

 ซึ่งเเปลว่าจากฉัน พร้อมฉัน ณฉัน ดังที่สามีพูดว่า أَنْت مِنِّي كَظَهْرِ أُمِّي  เเปลว่า เธอจากฉันเหมือนกับหลังมารดาฉันเป็นต้น ซึ่งคำกล่าวเหล่านี้จะเกิดเป็น ซีฮารฺด้วยเช่นกัน

คำเนี้ย

อ้างถึง
เธอจากฉันเหมือนกับหลังมารดาฉันเป็นต้น

คือถ้าพูดแบบทั่วไปปกติ จะพูดว่าอะไรครับ คือคนทั่วจะไม่พูดแน่ๆ ว่า "เธอจากฉันเหมือนกับหลังมารดาฉัน" เพราะหมายถึงอะไรผมยังไม่เข้าใจเลย

อันนี้เป็นอุปสรรคเวลาผมอ่านหนังสือ ทางศาสนา แล้วผู้แปล ใช้สำนวนอาหรับ มาไว้ในภาษาไทย แล้วความหมายมัน คาดเดาอันที่ถูกต้องไม่ได้

เธอจากฉัน หมายถึง เธอพรากจากฉัน หรือ เธอจากฉัน แปลว่า เธอมาจากฉัน หรือแปลว่า เธอสำหรับฉัน

อะไรแบบนี้น่ะครับ

ออฟไลน์ imron_lung

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 3
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การซีฮารฺภรรยา
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ก.ย. 20, 2013, 07:34 AM »
0
 :salam:

สำหรับคำกล่าวของสามีที่ว่า "เธอสำหรับฉันแล้วเหมือนดังหลังมารดาฉัน"หรือ"เธอจากฉันแล้ว,เธอ ณฉันแล้วก็เหมีอนดังหลังมารดาฉัน" นั้นเป็นคำที่ซอเรื๊ยะ(ชัดเจน)หนึ่งของซีอารฺน่ะครับ

ส่วนคำว่า "เธอจากฉันแล้ว" นั้นไม่ได้หมายถึง เธอพรากจากฉันหรือเธอมาจากฉันน่ะครับ เพราะคำว่า "จาก,สำหรับ,เหนือ" อะไรอย่างนี้เป็นคำเชื่อมโยงของประโยคที่ได้มาเรียงกันแล้วซึงเพื่อต้องการให้เข้าใจในอีกนัยหนึ่ง

ดังนั้นคำที่น่าจะเข้าใจมากที่สุดคือสามีต้องกล่าวว่า "เธอสำหรับฉันแล้วก็เหมือนกับหลังมารดาฉัน"หรือ"สำหรับฉันเธอก็เหมือนหลังมารดาฉัน"

แต่ทั้งหมดนั้นไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญแต่อย่างใด เพราะเมื่อสามีกล่าวแล้วตัดคำว่า"จาก,สำหรับ,เหนือ"ออกแล้วมากล่าวด้วยต้อยคำว่า "เธอเหมือนหลังมารดาของฉัน" หรือ "เธอเหมือนร่างกายมารดาของฉัน"แบบนี้ก็เป็นซีฮารฺเช่นกัน

เพราะซีฮารฺตามแก่นแท้ของมันก็คือ การที่สามีเปรียบภรรยาเหมือนดั่งญาติที่เป็นผู้หญิงของเขาด้วยกับร่างกายหรือซักส่วนหนึ่งของร่างกาย
ดังนั้น "หลัง" นั้นเป็นแค่รากฐานเดิมของการซีฮารฺ เพราะถูกเอามาจากคำว่า" الظَهْر " ซึ่งแปลว่า หลัง
เลยก็สามารถที่จะนำไปเปรียบกับร่างกายหร๊อด้วยกับอวัยวะอื่นๆที่ไม่ไช่หลังก็ได้น่ะครับ 
 
smile:

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 20, 2013, 07:38 AM โดย imron_lung »

ออฟไลน์ ActionMask

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 250
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
Re: การซีฮารฺภรรยา
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ก.ย. 20, 2013, 08:49 AM »
0
ครับ ขอบคุณครับ ชัดเจน นี่แหละครับ ที่ทำให้เข้าใจ ญาซากัลลอฮฺครับ ขออัลลอฮฺตอบแทนความดี

ถ้าการแปล แปลได้อย่างนี้จะช่วยได้เยอะเลย เพราะชัดเจนดี

 

GoogleTagged