2. อัลบัยฮะกีย์ -หลังจากที่ท่านได้ยกทัศนะของบรรดาสะลัฟศอลิหฺจากกลุ่มอะฮฺลิสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ เกี่ยวกับความหมายของคำว่า “อิสตะวา” ที่แปลว่า “อะลา วัรตะฟะอา” (อยู่สูงเหนือ) หรือ อิสตะวาโดยไม่ทราบวิธีการ (استوى بلا كيف) (อัลอัสมาอ์ วัสศิฟาต เล่ม 2 หน้า 303-308)- ท่านก็กล่าวยืนยันว่า “บนแนวทางนี้แหละที่บ่งบอกโดยมัซฮับอิมามอัชชาฟิอีย์ (วะศิยะฮฺอัลอิมามมุหัมมัด บิน อิดรีส อัชชาฟิอีย์ หน้า 39) และนี่แหละคือทัศนะของอะหมัด บิน หันบัล, อัลหุเสน บิน อัลฟัฎล์ อัลบะยะลีย์ และอบูสุลัยมาน อัลค็อตฏอบีย์...” (อัลอัสมาอ์ วัสศิฟาต เล่ม 2 หน้า 308)
วะฮาบีย์อ้างอิงตัดต่อบิดเบือนครับ เพราะว่าคำว่า “บนแนวทางนี้....เป็นมัซฮับอัชชาฟิอีย์” ตามที่อิมามอัลบัยฮะกีย์กล่าวไว้นั้น ไม่ใช่ให้ความหมายว่า “อิสติวาอ์ คือ อะลา , อิรตะฟะอ้า” แต่แนวทางของอิมามชาฟิอีย์ที่อิมามอัลบัยฮะกีย์ได้กล่าวไว้นั้นคือ การมอบหมายโดยอ่านผ่านมันไปและไม่ต้องตัฟซีร(เหมือนกับวะฮาบีย์) ซึ่งก่อนจากหน้านั้น ท่านอัลบัยฮะกีย์ได้กล่วาไว้ว่า
“สำหรับ อัลอิสติวาอ์ นั้น บรรดานักปราชญ์ของรุ่นยุคก่อน – ขออัลเลาะฮ์ทรงพึงพอพระทัยต่อพวกเขาด้วยเถิด - ไม่ทำการตัฟซีรมันและไม่พูดเกี่ยวกับมัน”
“ท่านอิมามมาลิกกล่าวว่า....อัรเราะห์มาน(คืออัลเลาะฮ์) ทรง “อิสตะวา” เหนืออะรัช ตามที่พระองค์ทรงพรรณนาให้กับพระองค์เอง และจะไม่พูดว่ามีรูปแบบอย่างไร และรูปแบบอย่างไรนั้น ถูกปฏิเสธออกจากพระองค์”
“ท่านร่อเบี๊ยะอฺ อัรเราะอฺ (อาจารย์ของท่านอิมามมาลิก) ได้ถูกถามว่า อิสติวาอ์ นั้นอย่างไรหรือ? ท่านกล่าวว่า รูปแบอย่างไรนั้นไม่เป็นที่รู้ได้ และการอิสติวาอ์นั้นไม่ใช่สิ่งที่ถูกคิดขึ้นมาได้เลย และจำเป็นบนฉันและบนท่านต้องศรัทธาด้วยกับอิสติวาอ์ดังกล่าวทั้งหมด”
“ท่านซุฟยาน บิน อุยัยนะฮ์ กล่าวว่า ทุกสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงพรรณนาไว้กับพระองค์เองในคัมภีร์อัลกุรอานนั้น การตัฟซีรมันคือการอ่านมัน(ให้ผ่านไป) และทำการหยุดนิ่งบนมัน(โดยไม่พูดเกี่ยวกับมัน)”
“ท่านมุฮัมมัด บิน อิสฮาก กล่าวว่า อัลเลาะฮ์ทรงอิสติวาเหนืออะรัช โดยไม่มีวิธีการ”
และท่านอิมามอัลบัยฮะกีย์กล่าวต่อจากนั้นว่า :
"บรรดาสิ่งที่รายงานมาจากสะลัฟที่เหมือน ๆ กับสิ่งดังกล่าวนี้ มีมากมาย และบนแนวทางนี้แหละที่บ่งบอกโดยมัซฮับอิมามอัชชาฟิอีย์ และนี่แหละคือทัศนะของอะหมัด บิน หันบัล, อัลหุเสน บิน อัลฟัฎล์ อัลบะยะลีย์ และอบูสุลัยมาน อัลค็อตฏอบีย์...” (อัลอัสมาอ์ วัสศิฟาต เล่ม 2 หน้า 308 และหน้า 379 – 380 ตีพิมพ์มักตะบะฮ์อัลอัซฮะรียะฮ์)
และคำว่า “และบนแนวทางนี้” ( وعلى هذه الطريقة ) นี้ ไม่ใช่หมายถึง “บนอะกีดะฮ์นี้” เพราะคำว่า “และบนแนวทางนี้” นั้น หมายถึง แนวทางหรือวิธีการมอบหมาย(ตัฟวีฏ)ที่อิมามชาฟิอีย์นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินต่ออายะฮ์อัลกุรอานที่พูดถึงเรื่องซีฟัตของอัลเลาะฮ์ และแนวทางนี้ก็จะนำไปสู่การยึดมั่นศรัทธาว่า อัลเลาะอ์ทรงบริสุทธิ์จากการไปคล้ายและเหมือนกับมัคโลคในทุกรูปแบบ ซึ่งแนวทางนั้นไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
แต่ขอให้มีจุดหมายอะกีดะฮ์เดียวกัน คือ เพื่อให้ยึดมั่นและศรัทธาว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีคุณลักษณะที่บริสุทธิ์จากการไปคล้ายและเหมือนกับมัคโลค
ตัวอย่างเช่น1. สะลัฟ >---------------------------> ใช้
แนวทางการมอบหมายกับความหมายและรูปแบบวิธีการไปยังอัลเลาะฮ์ พร้อมเชื่อในความหมาย
ที่บริสุทธิ์ในคุณลักษณะของพระองค์จากการไปคล้ายเหมือนกับมัคโลค2. ค่อลัฟ >---------------------------> ใช
้แนวทางการตีความให้อยู่ในความหมาย
ที่บริสุทธิ์ในคุณลักษณะของพระองค์จากการไปคล้ายเหมือนกับมัคโลคแต่วะฮาบีย์ทำการตัฟซีรอธิบาย ซึ่งไม่ได้อยู่ในแนวทางของสลัฟตามนัยยะที่ท่านอัลบัยฮะกีย์ได้กล่าวถ่ายทอดแนวทางของสะลัฟไว้
ดังนั้น สะลัฟและค่อลัฟนั้น แม้แนวทางอ้างหลักการจะต่างกัน แต่จุดมุ่งหมายอะกีดะฮ์เดียวกัน นั่นคือยืนยันและเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของอัลเลาะฮ์จากคุณลักษณะที่ไปคล้ายเหมือนกับมัคโลค