เสริมอีกนิด....
สำหรับพี่ ถ้าให้เทียบระหว่าภาษาไทยกับภาษาญี่ปุ่น อย่างไหนยากกว่ากัน
ถ้าให้มองในแง่ว่า คนๆนึงเกิดมาแล้วต้องเลือกเริ่มต้นใหม่
พี่มองว่า หลักภาษาไทยยากกว่าค่ะ นั่นเพราะ
ทุกๆภาษาเราต้องท่องจำคำศัพท์ แต่ภาษาไทยนั้นมีพยัญชนะมากแล้ว
ยังไม่พอ ยังมีสระไม่รู้ตั้งกี่รูปเข้ามาข้องเกี่ยว แล้วไหนจะมีเรื่องวรรณยุกต์
ที่มากำกับเรื่องเสียง แล้วยังมีมาตราต่างๆ อย่าง แม่กด กม กน เกย เกอว อะไรนี่อีก
ซ้ำยังมีคำเป็นคำตาย คำไทยแท้ คำไทยผสม คำสมาธสนธิ คำบาลีสันสกฤต
ทุกวันนี้พี่ยังเขียนผิดเขียนถูกอยู่เลย...อิอิ
แต่ภาษาญี่ปุ่นนั้น แค่เราท่องจำอักษรฮิรากานะได้แล้ว มันอ่านง่ายเลย
ท่องไม่ยากด้วยนะไอ้อักษรฮิรากานะ ต่อมาก็ท่องตัวคาตะคานะว่ามันเขียนยังไง
เพราะเราได้รูปแบบเสียงมาจากการท่องฮิรากานะแล้ว ลดทอนเวลาไปได้อีกหนึ่ง
ต่อมาก็เริ่มจับตัวคันจิ เรื่องหยิบดินสอพร้อมกับหาสมุดหนาๆไร้เส้นแล้วเริ่ม
ขีดเส้นเป็นตัวอักษรคันจิ ในขณะที่ขีดเส้น เรานับเส้นไปด้วย พอเสร็จเราดูมัน
แล้วเราพยายามจำหน้าตามัน จำเสียงของมัน จำความหมายของมัน
คือได้ในขณะนั้นพร้อมๆกันเลย ลดทอนเวลาลงไปได้อีก
คือพอได้ตามเสต็ปนั้นแล้ว เราก็เริ่มจับอะไรพวกนั้นมาเข้าพวก
คือเรียนรู้เรื่องหลักไวยากรณ์ ซึ่งแรกๆอาจยากหน่อย แต่ญี่ปุ่นวางรูปแบบเอาไว้
อย่างที่ไม่อาจดิ้นได้ง่ายๆ เราก็แค่อาศัยท่องจำว่าลักษณะการใช้
แล้วหัดแต่งประโยคไปเรื่อย ถ้าได้ยินใครพูดอะไรก็พยายามจดจำมา
แล้วลองมาศึกษาดูว่า มันตรงกับหลักไวยากรณ์ตัวไหน
หลักการใช้ภาษาของเขา มีระดับสุภาพ อันนี้ใช้ได้กับทุกผู้ทุกนาม
เรียกว่ารูป (ます)masu form ถ้าใช้ภาษายังไม่คล่อง ยังไม่ชัวร์
ให้ใช้ระดับภาษานี้ในรูป masu form ไปก่อน ใช้ไปเรื่อยๆ
พอใช้ masu form ชำนาญแล้ว ก็เริ่มหัดใช้คำแบบสนิทสนม
เรียกว่ารูปพจนานุกรม หรือ shishyo form (เรื่องราวปัจจุบัน) / ta form
(สำหรับเรื่องราวที่เป็นอดีต)
หัดผันรูปกริยาต่างๆให้เป็นในรูปแบบทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต และรูปปฏิเสธดูบ่อยๆ
ท่องจำให้ขึ้นใจ มันจะมีหลักการอยู่เช่นกัน พอได้ตรงนี้แล้วสบายบื๋อเลย
และเมื่อทุกอย่างคล่องแล้ว ค่อยไต่ระดับภาษาสุภาพขั้นสูงต่อไป
(อันนี้เอาไว้ใช้ในวงธุรกิจ ตอนเป็นนักเรียนพี่ไม่ได้ใช้เลย)
คือ...ถ้าจะให้ได้ทั้ง ฟัง พูด อ่าน เขียน ไปในคราวเดียวกัน แม้ใช้เวลานาน
แต่ว่าคุ้มนั้น ลองยึดเสต็ปดังกล่าวดูค่ะ...ถ้ามีความพยายามสูง ไม่นานเราก็จะได้
ภาษาเขามาใช้ในชีวิตประจำวัน....
แต่เราต้องไม่อายที่จะพูด ต่อให้มันอาจจะเป็นการพูดผิดหลักภาษา
หรือว่าสื่อสารผิดพลาด แต่ให้เราจำไว้แค่ว่า ความผิดพลาดคือ ครูชั้นยอด
และคำพูดและคติประจำใจที่ต้องหัดท่องเอาไว้เสมอ เวลาสื่อสารกับคนญี่ปุ่นคือ
1.คำทักทาย
2.คำขอบคุณ
3.คำขอโทษ
4.ถ้าไม่เข้าใจ เราต้องบอกเขาตรงๆว่าเราฟังเขาไม่เข้าใจ
ให้เขาพูดอธิบายให้เราฟังอีกครั้ง จนเราแน่ใจว่าเราเข้าใจแล้วจริงๆ
แล้วขอคำยืนยันจากเขาว่าเรากับเขาเข้าใจตรงกันแล้ว...
อย่าปล่อยความไม่เข้าใจเอาไว้ให้เขาคิดว่าเราเข้าใจแล้ว
เพราะมันอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายที่บางครั้งประเมิณค่าไม่ได้
5.อย่ากลัวที่จะถูกตำหนิว่าเราสมองช้า...เข้าใจอะไรยากเย็น ใจเราต้องด้านพอ
ที่จะรับทุกๆคำตำหนิ...คิดเสียว่า คำตำหนิเป็น ครูชั้นยอด
6.อย่าท้อเมื่อไม่อาจสื่อสารกับเขาได้ตรงเป้าหมาย หรืออย่าหมดใจ
เมื่อเห็นว่าเขาเข้าใจเราผิด เนื่องจากเราพูดไม่ถูก สื่อสารผิดพลาด
หรือสื่อสารไม่ได้ในบางครั้ง...แต่ให้ยิ้มให้คู่สนทนามากๆ
7.ให้จบบทสนทนาด้วยการขออภัยในความผิดพลาดที่เราอาจเผลอทำไป
ทุกครั้งที่สนทนากัน บอกเขาไปตรงๆว่าภาษาเรานั้นยังอ่อนแอนัก
เช่นประโยคนี้พี่ท่องเอาไว้และยังคงใช้มาจนทุกวันนี้ว่า
私の日本語がまだ下手です。申し訳ございません。
อ่านว่า วะตะชิ-โนะ-นิฮงโกะ-ก๊ะ-มะดะ-เฮะตะ-เดะสุ.
โมอิชิวะเกะ-โกะไซอิมะเซน
แปลว่า ภาษาญี่ปุ่นของฉันยังไม่ได้เรื่องอยู่เลยค่ะ
ต้องขอประทานโทษด้วยจริงๆ
นี่เป็นแบบในรูปสุภาพมากๆค่ะ...
แต่ถ้าพูดกับเพื่อนหรือคนอายุรุ่นราวคราวเดียวกันที่เป็นเจ้าของภาษา
เราจะพูดในรูปแบบนี้
私の日本語がまだ下手なんです。申し訳ない。
อ่านว่า วะตะชิ-โนะ-นิฮงโกะ-ก๊ะ-มะดะ-เฮะตะ-นันเดะสุ.
โมอิชิวะเกะไน่
แปลว่า ภาษาญี่ปุ่นของฉันไม่ได้เรื่องเลย...ขอโทษ (ไม่มีข้อแก้ตัวใดๆ)
คำว่า 申し訳ございません อ่านว่า โมอิชิวะเกะ-โกะไซอิมะเซน
คำๆนี้ แปลว่า ขอประทานโทษ
คือนัยยะของคำๆนี้คือ ไม่มีข้อแก้ตัวใดๆ ยามที่โดนตำหนิติเตียนแล้วเรายอมรับ
โดยดุษฏี เราก็จะพูดคำๆนี้เช่นกัน...หรือเรื่องบางเรื่องที่ถูกขอร้องมา
แล้วเราไม่สามารถทำได้ เราก็ใช้ประโยคนี้พูดออกไป คือมันเป็นทั้งการกล่าวขอโทษ
เป็นทั้งการน้อมรับผิดไปด้วยในตัวที่เราไม่อาจทำอะไรได้ดีไปกว่านี้ในขณะนั้น
พี่อยากให้น้องท่องจำเอาไว้ให้ขึ้นใจ
และอีกคำนึง เมื่อเราจะเริ่มขอร้องใครให้ทำสิ่งใด เป็นประโยคสุภาพมากๆ
คนฟังจะรู้สึกดีเวลาเราเริ่มต้นด้วยประโยคนี้คือ
お世話になっております。อ่านว่า โอเซวะนิ-นัตเตะ-โอริมะสุ
แปลว่า ขอความอนุเคราะห์ด้วยนะคะ
คือปกติคนญี่ปุ่นมักจะเริ่มต้นด้วยคำนี้เวลาติดต่อธุระปะปังกับใคร
เหมือนกับว่า เราอาจต้องพึ่งพาเขา เลยพูดคำนี้เอาไว้เป็นการเปิดฉาก
ประโยคนี้พี่ก็อยากให้ท่องจำให้ขึ้นใจด้วยค่ะ
หรือถ้าเจอพรรคพวก เพื่อนร่วมงานคนญี่ปุ่นที่เราจะต้องมาร่วมงานกัน
เราจะเริ่มเปิดบทสนทนาด้วยคำว่า
お楽しみさまです。อ่านว่า โอทะโนชิมิ-สะมะเดะสุ
แปลว่า ขอความสุขจงมีแด่ท่าน (ประมาณนี้)
ส่วนอีกประโยค เวลาจบการสนทนาในกรณีที่เราพูดเสียยาวเหยียด
ในที่ประชุมหรือพูดอธิบายรายงานหรือเรื่องราวบางอย่าง
เราจะจบด้วยคำสั้นๆว่า
以上です。อ่านว่า อิ๊โจ่เดะสุ แปลว่า ขอจบเพียงเท่านี้
ก่อนจะจบปิดฉากว่า
よろしくお願い致します。อ่านว่า โยโรชิกุ-โอเนะกะอิตะชิมะสุ
แปลว่า ฝากเนื้อฝากตัวด้วยค่ะ
(มันเป็นฟอร์มของเขาน่ะค่ะที่ต้องเอ่ยประโยคแบบนี้
พี่เองคาดว่า น่าจะแปลเป็นไทยได้ประมาณนี้) ^^
ปล.ทุกๆประโยคเหล่านี้ที่พี่พิมพ์ไว้ อยากให้ท่องจำเอาไว้ให้ขึ้นใจ
แล้วมันจะเกิดผลที่ดียิ่งในการสื่อสารกับคนญี่ปุ่นจ่ะ... ^^
เมื่อเกิดทำอะไรผิดพลาด ขอให้พูดอย่างสุภาพและอ่อนน้อมถ่อมตนว่า
申し訳ございません(โมอิชิวะเกะโกะไซอิมะเซน) ^^
เป็นอันว่าใช้ได้
