จากภาพที่หนูโพสต์ หากกะอยากจะเสริมในส่วนของ grammar นึดนึงหรือมากๆก็ยินดีนะคะ
ปล.ปูเสื่อรอพลางๆคะ
# วัยกำลังมีไฟที่จะเรียนรู้อยู่คะ (ไฟลุกโชนเลยก็ว่าได้)
งั้นจะขอยกเอาประโยคดังกล่าวในภาษาญี่ปุ่นมาเลยนะคะ
(จะเขียนตามแนวนอนนะคะเพราะในรูปเป็นการเขียนในแนวตั้ง)
ขอเกริ่นก่อนว่า...หลักการเขียนและการอ่านในภาษาญี่ปุ่น
ถ้าเขียนเป็นแนวตั้ง เราจะอ่านจากขวาไปซ้าย และจากบนลงล่าง...
แต่หากอยู่ในแนวนอน จะอ่านจากซ้ายไปขวาค่ะ ^^
毎日の中に
いいことがなくても、
きっと何か見つければ、
いいことはあるはず。
อ่านว่า
ไมนิจิ-โนะ-นะกะนิ
อี๊โกโตะก๊ะ-นะกุเต๊ะโหมะ,
คิตโตะ-นะหนิก่ะ-มิสึเคเรบ่ะ,
อี้โกโตะวะ-อะรุฮาซุ.
ในกรณีนี้พี่จะแปลว่า
"ในทุกๆวันนั้น...แม้ดูไม่ได้มีเรื่องราวดีๆนัก...
แต่...ถ้าเราได้ค้นหา...ย่อมต้องค้นเจอว่า
มีเรื่องราวดีๆอยู่ในนั้นอย่างแน่นอน..."
ซึ่งในประโยคทั้งหมดนั้น จะมีหลักการใช้ไวยากรณ์อยู่ ไม่แน่ใจว่า
น้องฟุยุจังได้เรียนมาบ้างแล้วรึยัง
(พี่นั้นเรียนภาษาญี่ปุ่นกับครูญี่ปุ่นในโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นที่โตเกียว
ตั้งแต่ตอนนับศูนย์คือไม่มีอะไรติดตัวไปเลย เวลาบอกหลักการใช้ไวยากรณ์
อาจไม่ตรงกับครูที่สอนในไทยก็อาจเป็นได้ในเชิงลึก
เพราะครูญี่ปุ่นเขาสอนโดยใช้หลักการหาประโยคมาให้เราสังเกต
หาโน่นนี่มาให้อ่าน แต่งประโยคต่างมาเปรียบเทียบ
และให้ทำแบบฝึกหัดถึงความแตกต่างของการใช้ไวยากรณ์ต่างๆว่าใช้กับอะไรยังไง
ดังนั้น ความรู้ที่ได้จึงเกิดมาจากการสังเกต สั่งสม ไม่ได้เกิดมาจากความจำเพียงอย่างเดียว
แต่มันหลอมเป็นความนึกคิดเข้าไปด้วย และพี่มองว่ามันคือธรรมชาติของภาษาเขาน่ะค่ะ)
ซึ่งหลักๆในประโยคนี้มี
。。。。なくても、
きっと。。。。
。。。。見つければ、
。。。。はず。
いいことがなくても、อ่านว่า อี้โกะโตะก๊ะ นะกุเต๊ะโหมะ
ตัวประโยคนี้ แปลตรงๆว่า ถึงแม้ไม่มีเรื่องดีๆแต่... (แต่ซ่อนความรู้สึกว่าอาจจะมีเรื่องดีๆอยู่ก็ได้)
เลยมีคำว่าแต่...ซึ่งเป็นการส่งทอดประโยคนี้ไปสู่ประโยคต่อไปเพื่อบอกถึงความแตกต่าง
หรือประโยคบอกล้างกัน...เพราะเขาใช้คำว่า ....nakutemo (。。。なくても、)
ซึึ่งจะมีแบบ 。。。なければ、ด้วย แต่เขาไม่เลือกมาใช้ในวลีนี้...
เพราะหมายจะส่งต่อไปยังประโยคถัดไปเพื่อสื่อนัยยะแห่งการค้นหา....
นั่นคือ
きっと何か見つければ、อ่านว่า คิตโตะ-นะนิก่ะ-มิสึเคเรบ่ะ
ประโยคนี้แปลตรงๆเลยไม่ได้ เพราะมันจำเป็นต้องมีประโยคมารองรับ
แต่อยากให้รู้ว่า เมื่อมีคำว่า kitto....mitsukereba(きっと....見つければ、)
ย่อมต้องสื่อถึงการค้นหาอะไรบางอย่างเพื่อการค้นเจอในประโยคที่จะมารองรับหลังจากนี้
เพราะ kitto (きっと)แปลว่า ....แน่นอน (คือต้อง...แน่ๆ)
ส่วนคำว่า ....mitsukereba(。。。見つければ、)นั้นแปลว่า ถ้าได้ค้นหา,ถ้าได้มองหา
ซึ่งต้องมีประโยคที่มารองรับต่อ นั่นก็คือ
いいことはあるはず。อ่านว่า อี้โกะโตะวะ-อะรุฮาซุ
แปลโดยตรงเลยคงไม่ได้...เพราะต้องดูที่ประโยคก่อนหน้า
เนื่องจากประโยคนี้ย่อมมีประโยคนำหน้าแน่นอน...แต่ถ้าจะแปลจริงๆ
พอจะแปลได้ว่า ย่อมต้องมีเรื่องดีๆ (โดยธรรมดาสามัญทั่วไป)
เพราะใช้วลีว่า aruhazu (。。。あるはず)
เนื่องจากวลีดังกล่าวนั้น หมายถึง...ย่อมต้องมีโดยปกติสามัญทั่วไปอยู่แล้ว
คือ มีโดยที่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรือเป็นการมีเพราะความไม่ตั้งใจ
หรือ ประมาณว่า...มันย่อมจะต้องมี ไม่มีไม่ได้ แต่มันขึ้นอยู่กับเราว่า
เราจะเห็นหรือไม่เห็นมันเท่านั้น ซึ่งไม่เกี่ยวว่าเราจะเห็นหรือไม่
(อันนี้พอนึกภาพออกมั้ยคะ) เหมือนพระเจ้าที่ย่อมต้องมีอยู่แล้ว
แต่มนุษย์มากมายคิดว่าไม่มี เพราะเขาไม่รู้จัก ไม่เห็น ไม่ใคร่ครวญ
นี่แหล่ะค่ะ การใช้วลี ....aruhazu คือ มันย่อมต้องมีสิ (ประมาณนี้)
เราเลยต้องเอาสองวลีมารวมกันดังนี้
きっと何か見つければ、いいことはあるはず。
ถ้าเราได้ค้นหา...ย่อมต้องค้นเจอว่ามีเรื่องราวดีๆอยู่ในนั้นอย่างแน่นอน
เลยรวมๆกันได้ใจความว่า
"ในทุกๆวันนั้น...แม้ดูไม่ได้มีเรื่องราวดีๆนัก...
แต่...ถ้าเราได้ค้นหา...ย่อมต้องค้นเจอว่า
มีเรื่องราวดีๆอยู่ในนั้นอย่างแน่นอน..."
พี่จึงบอกว่า...ประโยคทั้งหมดนั้น มีการสร้างประโยคเริ่มแล้วส่งต่อประโยคหนึ่ง
ไปสู่อีกประโยคหนึ่ง และส่งต่อๆกันไปอีกจนจบประโยคและมันมีข้อผูกพันต่อกัน
สัมพันธ์กันโดยดี มีประโยคเริ่มที่สร้างมาแล้วมีการบอกล้างในประโยคถัดไป
โดยใช้ nakutemo (なくても、)เป็นวลีแบ่งก้ันระหว่างประโยคเริ่มและประโยคจบ
จึงให้สังเกตว่า หากมี nakutemo(なくても、)ในประโยคใด
ให้รู้ว่า...หน้าวลีดังกล่าวกับหลังวลีดังกล่าวเป็นถ้อยคำที่ขัดแย้ง
และเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
เพราะมันแปลว่า ถึงแม้ไม่มี....แต่ว่า....
เช่น
何かなくても、あなたがいます。อ่านว่า นะนิก๊ะ-นะกุเต๊ะโหมะ,อะนะตะก๊ะ-อิมาสุ
แปลว่า ถึงแม้ไม่มีอะไรแต่ก็ยังมีเธออยู่
ซึ่งความลึกซึ้งของการใช้วลีดังกล่าว มันมีการสอดแทรกเหตุผลลึกๆเข้าไปข้างในด้วย
จึงมีคำคมหรือประโยคดีๆมากมายในภาษาญี่ปุ่นมักเอาวลีดังกล่าวมาใช้แต่งประโยค
หรือถ้อยคำดีๆกันน่ะจ๊ะ ^^