ขอตบท้ายอีกเรื่องก่อนไปนอน เย้ย ก่อนไปกินข้าวค่ะ...
นิทานเรื่อง จีนกับใบมะขาม [/color]
สมุดบันทึกนิทานมูลนิธิเด็ก 2547 เล่าใหม่โดย วินทร์ เลียววาริณ
โกย้งกับโกผงเป็นชาวจีนสองคนเพื่อนตายที่หาเช้ากินค่ำในเมืองจีน
ชีวิตในหมู่บ้านของพวกเขาแร้นแค้นมาก ทั้งสองมักอด ๆ อยาก ๆ
วันหนึ่งโกย้งบอกโกผงว่า "เราทั้งสองจงเดินทางไปเมืองไทยเถิด
ได้ยินคำร่ำลือว่า แผ่นดินนั้นอุดมสมบูรณ์ยิ่งนัก ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว
อุดมด้วยเรือกสวน พืชผักผลไม้บริบูรณ์"
โกผงถามว่า "เราสองคนจะทำอะไรกิน"
โกย้งตอบว่า "เรามีสองมือสองเท้า จะทำอะไรก็ได้ ตราบใดที่เราขยันขันแข็ง
มีหรือจะอดตายในแผ่นดินอุดมสมบูรณ์เช่นนั้น"
ทั้งสองใช้เงินก้อนสุดท้ายเป็นค่าเดินทาง เรือสำเภาดั้นด้นฝ่าคลื่นลมจากเมืองจีนมาถึงจุดหมาย
และขึ้นฝั่งทางภาคใต้ของไทย
โกย้งมองไปรอบตัว ยิ้มบอกว่า "เราไม่อดตายแล้ว ที่นี่เป็นสวรรค์โดยแท้"
โกย้งกับโกผงตัดสินใจแยกทางกันไปทำมาหากิน
เพราะเห็นว่าการแยกกันไปทำงานคนละอย่างจะเพิ่มโอกาสในการสร้างตัว
ทั้งสองสัญญากันว่า หากใครประสพความสำเร็จก่อน จะช่วยเหลืออีกคน
นัดหมายกันว่าอีกสองปีมาเจอกันที่ท่าเรือ
เมื่อแยกทางกันแล้ว โกผงก็ทำงานจิปาถะตามสบาย เนื่องจากเมื่อไม่มีกิน
ชาวบ้านก็มักเอื้อเฟื้อมอบอาหารให้ ผลหมากรากไม้ก็หาง่าย
อีกทั้งอากาศทางภาคใต้ก็เย็นสบาย ฝนตกปรอยชุ่มชื้นเสมอ
โกผงจึงใช้ชีวิตตามสบาย เมื่อได้เงินมาก็หยุดทำงานนอนเล่นไปวัน ๆ
ใช้เงินหมดเมื่อใดค่อยตะเกียกตะกายไปหางานทำ
เวลาผ่านไปสองปี โกผงก็ยังมีสภาพยากจนเช่นเมื่อสองปีก่อน
โกผงเดินทางไปที่จุดนัดพบ เขาเห็นโกย้งในสภาพที่ไม่เหมือนเดิม
โกย้งกลายเป็นเศรษฐี นั่งรถม้า มีคนขับรถ คนรับใช้หลายคนคอยปรนนิบัติ
โกย้งเล่าว่า เมื่อแยกทางมา เขาก็ทำงานทุกอย่างโดยไม่เกี่ยงงอน
เก็บหอมรอมริบอย่างอดทนจนได้เงินก้อนหนึ่ง
นำไปลงทุนซื้อสวนใหญ่ปลูกมะขามและผลไม้อื่น ๆ กิจการดีขึ้นตามลำดับ
เมื่อรู้ว่าเพื่อนของตนไม่มีงานทำ โกย้งก็บอกให้โกผงไปทำงานกับตน
โกผงทำงานที่ใหม่ นอกจากไม่ได้เปลี่ยนนิสัยทำงานวันหยุดสองวันแล้ว
ยังแย่กว่าเดิม หยุดงานนานครั้งละหลาย ๆ วัน
เมื่อโกย้งถามว่าทำไมเขาไม่ทำงาน โกผงตอบว่า
"แกรวยแล้ว ทำไมต้องทำงานหนักอีก ไม่จำเป็นต้องทำงานก็อยู่สบายไปตลอดชีวิตได้"
โกย้งสังเกตเห็นเพื่อนของตนเปลี่ยนไปเช่นนั้น ก็มิได้ว่ากล่าวแต่ประการใด
บอกเพื่อนว่า
"ถ้าเช่นนั้น ฉันจะให้แกไปทำงานง่าย ๆ "
โกผงถามว่า "งานอะไร"
"รูดใบมะขามออกจากต้น เริ่มจากต้นเล็กก่อน"
โกผงรับปากด้วยความยินดีที่ได้ทำงานเบาสบายกว่าเดิม
โกผงรูดใบมะขามออกหมดต้นในสองสามวัน ไม่นานต้นมะขามนั้นก็เฉาตาย
โกผง รูดใบไม้จากต้นใหม่ต่อไป ครั้งนี้ใช้เวลารูดนานขึ้นเป็นอาทิตย์
เพราะเป็นต้นขนาดกลาง มะขามต้นนั้นไม่ตาย แต่ก็ใช้เวลาฟื้นตัวนานหลายอาทิตย์
เมื่อรูดใบหมดต้น โกผงก็ไปรูดใบจากต้นมะขามใหญ่
ครั้งนี้กินเวลานานเป็นเดือนก็ไม่หมดสักที เพราะเมื่อรูดใบหมดไปส่วนหนึ่ง
ต้นมะขามก็ผลิใบใหม่ออกมา โกผงรู้สึกเหนื่อยจึงนั่งพักที่โคนต้นมะขาม
สายตามองดูใบไม้ที่ถูกรูดร่วงโรยรายบนพื้น
เขานั่งคิดว่า ทำไมจึงไม่สามารถรูดใบไม้ทั้งหมดลงมาได้
ทั้ง ๆ ที่สองต้นแรกใช้เวลาเพียงไม่นาน เขานึกถึงตัวเองที่ทำงานวันเว้นวัน
เงินหมดอย่างรวดเร็ว
คนที่ทำงานหนักได้เงินทองมาสะสมมากมาย ก็เหมือนมะขามใหญ่
รูดใบไม้ออกไปเท่าใดก็ไม่มีวันหมด ส่วนคนที่ขี้เกียจทำงานเช่นเขา
มีเงินทองเล็กน้อย รูดใบไม้ไม่กี่วันก็หมดเกลี้ยง ไม่นานก็เฉาตายไป
เขารู้แล้วว่าโกย้งมอบงานนี้ให้เขาทำเพื่อให้เขารู้จักคิด เขารู้สึกละอายใจ
โกผงกลับไปหาโกย้ง ขอทำงานที่ยากขึ้น คราวนี้เขาทำงานทุกวัน
และไม่นานก็มีฐานะที่ร่ำรวย ยืนหยัดได้เหมือนมะขามใหญ่ต้นนั้น
นิทานเรื่อง จีนกับใบมะขาม นิทานสอนใจดีๆมีข้อคิดถ้าเราอ่านแล้วใส่ใจ
ปล.หลับฝันดีนะจ๊ะโคลงเคลง ราตรีสวัสดิ์ เย้ย ทิวาสวัสดิ์ค่ะ

ป.ลิงอีกที ลุงอัดนานเอาตำนานคานทองมาระบายความในใจของลุงใช่มั้ยค่ะเจ้า
ลงมาเมื่อไหร่ หลังไมค์มาบอกกันบ้างน่า อยากเห็นๆ วันนั้น 55555555555555555
เอามั้งแหละ ลองอ่านดูนิ

กาลครั้งหนึ่ง... นานมาแล้ว
มีกระต่ายตัวหนึ่งเดินไปเจอควายกำลังเล่นโคลน
ก็รู้สึกสงสารขึ้นมา "เจ้าควายเอ๊ย แกโชคร้ายจริงๆต้องนอนอยู่ในโคลนทั้งวัน"
แล้วมันก็โดดลงรูไป พอดีนกบินอยู่มองเห็นกระต่ายโดดลงรูพอดี ก็รู้สึกสงสารขึ้นมา "เจ้ากระต่ายเอ๊ย แกโชคร้ายจริงๆต้องนอนอยู่ในรูแคบๆ"
แล้วนกก็บินไปที่รัง ใต้รังนกมีบ่อน้ำ ปลามองเห็นนกอยู่ที่รัง ก็รู้สึกสงสารขึ้นมา "เจ้านกเอ๊ย แกโชคร้ายจริงๆต้องนอนแขวนอยู่บนกิ่งไม้จะตกมิตกแหล่"
เจ้าควายที่เล่นโคลนจนหิวน้ำ จึงเดินมากินที่บ่อ พอเห็นปลาก็รู้สึกสงสารขึ้นมา "เจ้าปลาเอ๊ย แกโชคร้ายจริงๆต้องอยู่แต่ในบ่อไปตลอดชีวิตไม่เคยได้เห็นโลกกว้าง"
::)นิทานเรื่องนี้สะท้อนถึงพี่น้องมุสลิมที่ทะเลาะกันอยู่ตามเวปต่างๆในขณะนี้...ตามนั้นเรยยยยย 
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า "ไก่เห็นนมงู งูเห็นนมไก่"

วัสสลามค่ะ