ผู้เขียน หัวข้อ: บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่โลก(ทำเป็น)ลืม  (อ่าน 3533 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Wan Ahmad

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 58
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +31
    • ดูรายละเอียด

 :salam:   มีเวลาว่าง เลยนำมาฝาก  ;D




أبو علي الحسين بن عبد الله بن الحسن بن علي بن سينا

อาบู อาลี อัลหุเซน อิบนุ อับดุลลอฮฺ อิบนุ อัลหะซัน อิบนุ ซีนา

Abu  Ali al- Husayn ibn Abd Allah ibn al-Husayn ibn Sina

 (ฮ.ศ.370-428 : ค.ศ.980-1037)
ชาวตะวันตกรู้จักในชื่อ อเวศซินา(Avicenna)

 

อาบู อาลี อัลหุเซน อิบนุ อับดุลลอฮฺ อิบนุ อัลหะซัน อิบนุ ซีนา รู้จักกันในนาม อิบนุซีนา เป็นมุสลิมรอบรู้คนหนึ่ง เป็นชาวเปอร์เซียเกิดเมื่อปี

ฮ.ศ.370 (ค.ศ.980)ที่เมืองอัฟชานะฮฺ เตอร์กมินิสถาน ใกล้กับบุคอรอ (ปัจจุบันในประเทศอุสเบกีสถาน) บิดาเป็นคนบัลค์ในอัฟกานีสถาน มารดาเป็นชาวบ้านธรรมดา และเสียชีวิตที่ หุมาดาน(ในอิหร่านปัจจุบัน) เมื่อปี ฮ.ศ. 428 (ค.ศ. 1037)

อิบนุซีนา มีความชำนาญในหลายด้าน ได้ท่องอัลกุรอานมาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เป็นแพทย์และเป็นนักปราชญ์มุสลิมในเวลานั้น เช่นกันเขาได้ถูกนับเป็นนักดาราศาสตร์ นักเคมี นักฟิสิกส์ นักกลอน นักคณิตศาสตร์ นักธรณีวิทยา นักตรรกศาสตร์  นักจิตวิทยา เป็นผู้รู้ เป็นทหาร เป็นประชาชนที่ดีของรัฐอิสลาม รวมทั้งเป็นผู้รอบรู้ในเรื่องศาสนา

อิบนุซีนา บางครั้งถูกเรียกว่าเป็นชีคุรฺเราะอีส الشيخ الرئيس (ประธานผู้รอบรู้) ชาวตะวันตกจะนับว่าเป็นผู้นำทางการแพทย์และบิดาแห่งการแพทย์ศาสตร์สมัยใหม่

อิบนุซีนาได้มาเกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข เมื่อเกิดวิกฤตการณ์แพร่ระบาดโรคในอาณาจักรที่เขาอาศัยอยู่เขาจึงต้องรับหน้าที่เป็นแพทย์ โดยเป็นแพทย์ประจำพระองค์เจ้าชายต่างๆ และช่วงสุดท้ายของชีวิตเขาได้เป็นรัฐมนตรีของรัฐ หนังสือและตำราของอิบนุซีนาทั้งหมดมีมากกว่า 450 เรื่อง ที่สำคัญที่สุดคือ เป็นหนังสือทางการแพทย์และเภสัช

หนังสือ القانون في الطب  al-Qanun fi al-Tibb (The Canon of Medicine “The Law of Medicine”) เป็นตำราทางแพทย์ที่ชาวยุโรบใช้มานาน

หนังสือ كتاب الشفاء Kitab al-Shifa (The Book of Healing) เป็นเป็นหนังสือทางวิทยศาสตร์ ปรัชญาและจิตวิทยา

นอกจากนี้ อเวศซินาหรืออิบนุซีนาคิดว่า แสงมีความเร็วจำกัด จึงพัฒนาเครื่องมือวัดอย่างละเอียด โดยใช้ air thermometer

อิบนุซีนานับว่าเป็นคนแรกที่ใช้วิธีการรักษาโรคโดยใช้วิธีการฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง

ในการรักษาโรคหายใจไม่ออกอันเนื่องมาจากหลอดลมตีบตัน อิบนุซีนาได้คิดค้นท่อหายใจทำมาจากทองคำและเงิน รักษาด้วยการซอดเข้าไปทางปากเข้าสู่หลอดลม และวิธีการนี้ยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบันเพียงเปลี่ยนจากการใช้ทองคำเป็นปลาสติกหรือยางแทน

การรักษาผู้ป่วยทางศีรษะ อิบนุซีนาพบว่ากระดูกกะโหลกศีรษะไม่เหมือนกับกระดูกทั่วไป การสานต่อของกระดูกกะโหลกศีรษะจะอ่อนมากเมื่อเทียบกับกระดูกทั่วไป

ทางด้านปรสิตวิทยาทางการแพทย์ อิบนุซีนาเป็นคนแรกที่ค้นพบพยาธิปากขอ(Ancylostoma) เขาได้พบก่อน Dubini (1843) ชาวอิตาลีนานถึง 9 ศตวรรษ

และความสามารถอื่นๆ อีกมากมายที่ท่านเป็นคนริเริ่ม



ภาพหน้าหนึ่งของหนังสือ  القانون في الطب (Canon of Medicine) เล่มที่ 5
ที่ตีพิมพ์ในศตวรรษ์ที่ 14 อธิบายอวัยวะภายในหลายรวมทั้งกะโหลกศีรษะและกระดูก



รูปวาดติดอยู่ที่ห้องโถงใหญ่
ในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยปารีส ประเทศฝรั่งเศส



ร้านขายยา ตามหนังสือที่เขียนขึ้นโดยอิบนุซินา

ในศตวรรษ์ที่ 15 (ภาพโดย SCALA)



อนุสาวรีย์อิบนุซีนาในเมืองดูชานเบ ประเทศทาจิกิสถาน



แสตมป์ประเทศรัสเซีย



UNESCO ทำเหรียญที่ระลึกในโอกาสครบ 1,000 ปี ของ ibn Sina (ซ้าย) ด้านหน้าและ (ขวา) ด้านหลัง



ภายในช่วงเวลาที่น้อยนิดนี้ Avicenna สามารถผลิตผลงานออกมาได้มากมาย เพราะชอบทำงานตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน ในคุก หรือนั่งม้า

 โลกมุสลิมยกย่อง Abu Ali Al-Husayn Ibn Abd-Allah ibn Hasgan ibn Ali ibn Sina ว่า เป็นสุดยอดแห่งปราชญ์ในหมู่ปราชญ์ ในขณะที่โลกตะวันตกรู้จักบุรุษคนเดียวกันนี้ในนาม Avicenna ว่า เป็นมนุษย์ที่ฉลาดที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก เพราะเป็นนักปรัชญาที่มีความรู้มหาศาล เป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์ และแพทย์ผู้มีชื่อเสียงในการรักษาคนไข้ เป็นกวี และนักดนตรี นอกจากนี้ ก็ยังเคยเป็นรัฐมนตรี นักโทษติดคุก นักเดินทางที่เคยไปถึงเอเชียกลาง และเปอร์เซีย รวมถึงเป็นนักเขียนผู้ได้เรียบเรียงตำราความรู้แทบทุกแขนงที่มีในโลกในขณะนั้นด้วย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธ.ค. 08, 2013, 07:34 PM โดย Al-WahdaH »
أولى لك أن تتألم لأجل الصدق .. من أن تكافأ لأجل الكذب

การที่ท่านยอมเจ็บปวดเพื่อความสัจจริง มันดีเสียกว่า ที่ท่านอยู่อย่างสุขสบายเพราะการโกหกปลิ้นปล้อน

ออฟไลน์ Wan Ahmad

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 58
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +31
    • ดูรายละเอียด
Re: บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่โลก(ทำเป็น)ลืม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธ.ค. 08, 2013, 07:30 PM »
+2


أبو علي محمد بن الحسن بن الحسن بن الهيثم البصري
อาบู อาลี มุฮำมัด อิบนุ อัลหะสัน อิบนุ อัลหะสัน อัล ฮัยษัม อัลบัศรี
Abu All al-Hasan ibn al-Hasan ibn al-Haytham
ชาวตะวันตกรู้จักในชื่อ อัลฮาเซน(Alhazen)

อาบู อาลี อิบนุ อัล ฮัยษัม เกิดที่ บัศเราะฮฺ ประเทศอิรัก ในปี ฮ.ศ.354 (ค.ศ.965) เขาได้เห็นความรุ่งเรืองในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ การแพทย์และอื่นๆ เขาจึงหันไปศึกษาในสาขาวิชาเรขาคณิตและการมองเห็น(แสงและสายตา) เขาได้อ่านหนังสือมากมายจากบรรดานักวิชาการที่โด่งดังก่อนหน้าเขา ทั้งที่มาจากกรีกและมาจากอันดะลุส(สเปน) อย่างเช่น อัซซะห์รอวี และคนอื่นๆ เขาได้เขียนหนังสือในเรื่องทางการแพทย์หลายเล่ม และได้ร่วมวางกฎเกณฑ์ที่เริ่มที่อัซซะห์รอวีได้ริเริ่ม


อิบนุ อัลฮัยษัม ใช้ชีวิตในแบกแดดอย่างสันโดษ มีความชำนาญเฉพาะในเรื่องทางการแพทย์ด้านสายตา แต่ชาวแบกแดดชอบถามเขาในทุกเรื่อง เพราะเป็นที่รู้ว่าอัลฮัยษัมเป็นคนเก่ง จึงนับว่าเขาเป็นผู้กว้างขวางในวิชาความรู้ โดยเฉพาะเรื่องสายตาและการมองเห็น นอกจากนี้เขายังเป็นผู้รู้ด้านดาราศาสตร์ เรขาคณิต คณิตศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ จักษุแพทย์ ปรัชญา ฟิสิกส์ และจิตวิทยา

อิบนุ อัลฮัยษัม บางครั้งถูกเรียกว่า อัลบัศรี เพราะเกิดที่เมืองบัศเราะฮฺ(Basra البصرة) ชาวลาตินยุโรปจะเรียกชื่อท่านว่า alhacen หรือ alhazenและได้รับการขนานนามเป็น Ptolemaeus Secundus

อิบนุ อัลฮัยษัม หรือ อัลฮาเซน ได้หักล้างทฤษฎีของยูคลิด (Euclid) และปโตเลมี(Ptolemy)ปราชญ์ชาวกรีกที่สอนกันมาเป็นเวลาพันกว่าปีว่าแสงจากดวงตามนุษย์ส่งออกไปยังวัตถุทำให้มองเห็นวัตถุ แต่อิบนุอัลฮัยษัมเป็นคนแรกที่อธิบายว่าการที่มองเห็นวัตถุเพราะแสงจากวัตถุสะท้อนเข้ามาสู่สายตา มิใช่ตาของมนุษย์ส่งแสงออกไปดังเช่นที่ยูคลิดและปโตเลมีเคยสอนไว้ เขาใด้การทดลองโดยใช้ห้องมืดในการพิสูจน์ทฤษฎีดังกล่าว ต่อมางานวิจัยของอิบนุฮัยษัมได้ถูกอ้างอิงซ้ำและศึกษาเพิ่มเติมโดยนักวิทยาศาสตร์เปอร์เซียชื่อ กามาลุดดีน อัล-ฟาริซี (كمال‌الدين ابوالحسن محمد فارسی ค.ศ.1267-1319) ซึ่งได้สังเกตลำแสงภายในลูกแก้ว เพื่อศึกษาการสะท้อนของแสงแดดในละอองฝน ผลการศึกษานี้ทำให้เขาสามารถอธิบายการเกิดรุ้งกินน้ำเป็นคนแรกของโลก



ภาพวาดแสดงการอธิยายของอิบนุอับฮัยษัมถึงการสะท้อนของแสงเข้าสู่สายตา
ทำให้มองเห็นวัตถุไม่ใช่แสงจากตาไปยังวัตถุ

ในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 11 อิบนุอัลฮัยษัมได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการมองเห็นของมนุษย์ โดยหักล้างความเห็นของ Galen, Euclid และ Ptolemy และรูปต่อไปนี้เป็นการแสดงลักษณะการมองเห็นของดวงตาทั้งสองข้าง เกี่ยวเนื่องประสาทสายตาและสมอง



ตำราของอิบนุอัลฮัยษัม
• Kitab-at-Manazir(كتاب المناظر) ถูกแปลเป็นภาษา Latin Opticae Thesaurus Alhazin(1270) เป็นหนังสือที่พูดถึงการมองเห็นและแสงในลักษณะต่างๆในทางพิสิกส์
• Mizan al-Hikmah (ميزان الحكمة) พูดถึงชั้นของบรรยากาศที่อยู่รอบโลก ความสูงของแต่ละชั้น
• และตำราอื่นๆอีกกว่า 200 เล่ม
อิบนุอัลฮัยษัมเป็นผู้เริ่มใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) และมีอิทธิผลต่อ Francis Bacon, Kepler สร้างและศึกษากล้องรูเข็ม การแยกแสงเป็นสีต่างๆ การหักเห เงา รุ้ง การมองเห็น บรรยากาศ มวลกับความแร่งโน้มถ่วง แรง Analytical Geometry



รูปอิบนุอัลฮันษัม บนธนบัตร 10000 ดินาร์ของประเทศอิรัก



ดวงตราไปรษณีย์ของปากีสถาน แสดงความสำคัญของอิบนุอัลฮัยษัม
การมองเห็น ดวงตาและเรขาคณิต
أولى لك أن تتألم لأجل الصدق .. من أن تكافأ لأجل الكذب

การที่ท่านยอมเจ็บปวดเพื่อความสัจจริง มันดีเสียกว่า ที่ท่านอยู่อย่างสุขสบายเพราะการโกหกปลิ้นปล้อน

ออฟไลน์ Wan Ahmad

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 58
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +31
    • ดูรายละเอียด
Re: บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่โลก(ทำเป็น)ลืม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธ.ค. 08, 2013, 08:09 PM »
+2


Abu al-Qasim Khalaf ibn al-Abbas Al-Zahrawi

(ฮ.ศ.324 – 403 : ค.ศ.936 – 1013)

ทางตะวันตกรู้จักในชื่อ Abulcasis , Abucasis

 

อะบู กอซิม อัซ-ซะห์รอวี เป็นแพทย์มุสลิมอันดะลุเซีย(สเปน) เกิดที่ อัลซะฮฺเราะฮฺ (ห่างจาก กุรตุบะฮฺ(กอโดบา)ในสเปน ประมาณ 6 ไมล์) เป็นศัลยแพทย์ นักเคมี นักศัลยกรรมตกแต่ง และเป็นนักวิทยาศาสตร์ ถือได้ว่าเป็นบิดาศัลยแพทย์สมัยใหม่

ในสมัยกลางมุสลิมมีการแพทย์ที่ครอบคลุมและสมบูรณ์ ตำราทางการแพทย์นอกจากจะมีเป็นภาษาอาหรับของโลกอิสลามแล้วยังได้แปลเป็นภาษายุโรปและใช้จนถึงยุคสมัยที่ก้าวหน้า อัซ-ซะห์รอวีเป็นคนหนึ่งที่เป็นผู้ร่วมพัฒนาทางวิชาการแพทย์ เขาเป็นเจ้าของหนังสือนับเป็นประวัติศาสตร์ทางการแพทย์ คือ หนังสือ كتاب التصريف لمن عجز عن التأليف (Kitab al-Tasrif) มีทั้งหมด 30 เล่มเป็นสารานุกรมทางการแพทย์ เป็นหนังสือที่ใช้ควบคู่กับหนังสือของ อิบนุซีนา เป็นเวลานานถึง 5 ศตวรรษ


ผลงานบางอย่างของอัซ-ซะห์รอวี

อัลหุมัยดี นักเขียนและนักประวัติศาสตร์ ได้เขียนในหนังสือของเขาที่ชื่อ جذوة المقتبس في أخبار علماء الأندلس (ไฟยังไม่มอดในประวัติ
ของนักวิทยาศาสตร์อันดาลูเซีย) ว่า อัซ-ซะห์รอวีเป็นนักการศาสนาและนักวิทยาศาสตร์ เขาได้รักษาคนไข้เพื่ออัลลอฮฺโดยไม่คิดค่าตอบแทนใดๆใน
ตลอดเวลาครึ่งวันของการทำงาน
เขาเป็นคนแรกที่ใช้เอ็นเย็บแผลภายในด้วย catgut เป็นเอ็นที่อยู่ในกลุ่ม “ไหมละลาย” (Absorbtable) ชนิดหนึ่ง
ในหนังสือ Kitab al-Tasrif อัซ-ซะห์รอวี ได้เขียนอธิบายถึงวิธีการและขั้นตอนของการผ่าตัดหลอดคอ (tracheostomy) เป็นการผ่าตัดเปิดหลอดลมคอออกเป็นรู เพื่อช่วยในการหายใจ การผ่าตัดหลอดลมนี้ได้มีมานานแล้วในยุคอียิปต์โบราณ เพื่อรักษาอาการของคนที่หายใจไม่ออก จากนั้นกรีกโรมันได้นำความรู้นี้บันทึกในบันทึกศาสตร์ทางการแพทย์ของพวกเขา ต่อมาการผ่าตัดแบบนี้ได้หยุดไปอันเนื่องมาจากมีคนเสียชีวิตเกิดขึ้นระหว่าการผ่าตัด อัซ-ซะห์รอวีได้มาพัฒนาวิธีการผ่าตัดหลอดลมนี้จนประสบผลสำเร็จ
เขาเป็นคนแรกที่ใช้ท่านอนศรีษะต่ำปลายเท้าสูง (Trendelenburg Position)ถ้าต้องการผ่าตัดคนนั้นในบริเวณที่ต่ำกว่าท้อง และท่านอนตรงกันข้าม(Reverse Trendelenburg position) ถ้าต้องการผ่าตัดบริเวณเหนือกว่าท้อง
เขาเป็นคนแรกที่รักษาคนไข้ที่มีปัญหาหลอดเลือดดำเมื่อ 1000 กว่าปีมาแล้ว โดยใช้วิธีการ Stripping of the veins และวิธีการนี้ในฟื้นขึ้นมาใช้อีกในปัจจุบัน
เขาเป็นคนแรกที่ค้นพบความสัมพันธ์ระว่างความพร้อมทางร่างกายกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นจุดเริ่มต้นของการค้นพบความผิดปกติทมงกรรมพันธุ์และความสามารถถ่ายทอดของโรคบางชนิดทางกรรมได้ เช่น โรค ฮีโมฟิเลีย (Hemophilia)



ภาพในหนังสือภาษาลาตินหน้า 1531 แปลโดย Peter Argellata
แสดงถึงอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่นำเสนอโดย อัล-ซะห์รอวี

أولى لك أن تتألم لأجل الصدق .. من أن تكافأ لأجل الكذب

การที่ท่านยอมเจ็บปวดเพื่อความสัจจริง มันดีเสียกว่า ที่ท่านอยู่อย่างสุขสบายเพราะการโกหกปลิ้นปล้อน

ออฟไลน์ Wan Ahmad

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 58
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +31
    • ดูรายละเอียด
Re: บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่โลก(ทำเป็น)ลืม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธ.ค. 08, 2013, 08:14 PM »
+2


أبو بكر محمد بن يحيى بن زكريا الرازي

 อะบูบักรฺ มุฮำมัด อิบนุยะห์ยา อิบนุซาการียา อัล-รอซี

Abu Bakr Muhammad ibn Zakariya ar-Razi
(ฮ.ศ.250-311 : ค.ศ.864-923)
ชาวตะวันตกรู้จักในชื่อ ราเซศ(Rhazes) หรือ รอซีซ(Rosis)

อะบูบักรฺ อัรรอซี เกิดเมื่อปี ฮ.ศ.250(ค.ศ. 864) และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 ซะอฺบาน ฮ.ศ. 311 (19 พฤศจิกายน ค.ศ. 923) ที่เมืองอัลไรย์ ประเทศ
เปอเซีย (ใกล้กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่านในปัจจุบัน)

อัรรอซี เป็นผู้มีความชำนาญในหลายสาขาวิชา ได้ศึกษาทางคณิตศาสตร์ การแพทย์ ปรัชญา ดาราศาสตร์ เคมี ตรรกวิทยา และวรรณกรรม Sigrid Hunke (1913 -1999) นักบูรพาคดีชาวเยอรมันได้เขียนถึงอัรรอซีในหนังสือ “Allah’s sun over the Occident” ว่า เป็นแพทย์ด้านมนุษย์ธรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุด


หลังจากอัรรอซีได้ศึกษาทางการแพทย์ที่แบกแดดเขาก็ได้ย้ายกลับไปยังเมืองอัลไรย์ และเสนอให้ผู้ปกครองเมืองอัลไรย์ มันศูร อิบนุอิสฮาก ก่อตั้งสำนักงานบีมาร์สถาน(สถานที่รักษาคนไข้) และได้เขียนหนังสือแก่ผู้ครองเมืองสองเรื่อง คือ อัลมันซูรีฟีฏฏิบ(อัลมันซูรทางการแพทย์المنصوري في الطب : ) และอัฏฏิบอัรรูฮานี(แพทย์ทางจิตวิญญาณ : الطب الروحي) หนังสือสองเล่มนี้เกี่ยวเนื่องกัน เล่มแรกเป็นหนังสือเกี่ยวกับการรักษาโรคทางร่างกาย ส่วนเล่มที่สองเป็นการรักษาทางจิต อัรรอซีมีชื่อเสียงมากที่เมืองอัลไรย์ และได้ถูกเชิญไปยังแบกแดดอีกครั้งและได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าที่ศูนย์บีมาร์สถานอัลมุอฺตัดดีย์ เป็นศูนย์ที่ตั้งขึ้นใหม่โดยเคาะลีฟะฮฺ มุอฺตัดดิดบิลลาฮฺ

อัรรอซี มีความสามารถหลายภาษา นอกจากภาษาอาหรับ เขามีความสามารถทางภาษาเปอเซีย ภาษายูนาน(กรีก) และภาษาฮินดิ(อินเดีย) เขาได้เขียนหนังสือและบทความมากกว่า 184 เรื่องในทุกสาขาวิชา

ในทางการแพทย์เขามีความชำนาญในหลายสาขา มีความชำนาญทางด้านโรคเกี่ยวกับเด็ก จนได้รับสมยานามว่าเป็นบิดาแห่งหมอเด็ก และเขาก็ได้รับชื่อว่าเป็นผู้นำทางด้านโรคผิวหนังและสายตา

อัรรอซี สนใจโรคไข้ทรพิษ(Smallpox) ตำราเขาถูกแปลเป็นภาษายุโรปหลายภาษา



(ภาพจินตนาการ อัรรอซีกำลังรักษาเด็ก)

หนังสือและตำราที่อัรรอซีแต่งบางเล่ม

 كتاب الحادي في الطب، تكلم في عن علاج الأمراض وحفظ الصحة

 كتاب المنصور وهوعشر مجلدات كتبه للمنصور بين الحق في العلوم الطبية

الطب الروماني كتبه في بغداد مدينة السلام

سمع الكيان وهو مدخل إلى العلم الطبيعي

كتاب هيئة العالم بين فيه أن الأرض كردية

كتاب الخريف والربيع بين فيه أسباب العلة

مقالة في العلة التي من أجلها يعرف الزكام في فصل الربيع عن شم الورود والأزهار

كتاب الأسرار في الصنعة

كتاب  الحمية بين فيه أن الحمية المفرطة، والمبادرة إلى الأدوية والتقليل من الأغذية لا يحفظ الصحة بل يجل الأمراض

كتاب سرة الحكماء

كتاب في الحصى المتولد في الكلى والمثانة

كتاب طب الفقراء

كتاب الطب السلوكي

الطين له منافع

كتاب في الجدري

كتاب محبة الطبيب

บรรณานุกรม

محمو عريب جودة, عباقرة علماء الحضارة العربية والاسلامية في العلوم الطبية والطب ، مكتبة القرآن : القاهرة  .

عامر النجار ، تاريخ الطب في الدولة الاسلامية ، دار المعارف . ١٩٨٧

http://www.alshindagah.com/mayjune2004/shindagah_arabic_58/abu_bakar_alrazi.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธ.ค. 09, 2013, 08:27 PM โดย Al-WahdaH »
أولى لك أن تتألم لأجل الصدق .. من أن تكافأ لأجل الكذب

การที่ท่านยอมเจ็บปวดเพื่อความสัจจริง มันดีเสียกว่า ที่ท่านอยู่อย่างสุขสบายเพราะการโกหกปลิ้นปล้อน

ออฟไลน์ Wan Ahmad

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 58
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +31
    • ดูรายละเอียด
Re: บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่โลก(ทำเป็น)ลืม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ธ.ค. 08, 2013, 08:16 PM »
+2


ثابت بن قرة بن مروان

Thabit Ibn Qurra
(ทราบิท อิบนุ กุรฺเราะฮฺ)
(ฮ.ศ.221-321 : ค.ศ.836-901)

 

ชื่อเต็มของทราบิท คือ อะบู อัลหะซัน อิบนุมัรวาน ทราบิท อิบนุกุรฺเราะฮฺ อัลหัรรอนีย์ ( ابو الحسن ثابت بن قره بن مروان الحراني )

ทราบิท อิบนุ กุรฺเราะฮฺ อิบนุ มัรวาน เกิดเมื่อปี ฮ.ศ.221 (ค.ศ.836) ที่เมืองฮัรรอน เมโสทาเมีย (ปัจจุบันอยู่ในประเทศตุรกี) และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 เศาะฟัรฺ ฮ.ศ.288 (18 กุมภาพันธ์ ค.ศ.901) เป็นนักวิชาการชาวอาหรับซีเรีย มีชื่อเสียงทางด้าน ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ เรขาคณิตและดนตรี และมีหลานเป็นนักวิทยาศาสตร์เช่นกัน ชื่อ Ibn Sinan (908- 946)


ทราบืท เป็นคนแรกที่ได้วัดและกำหนดเวลาของปี เป็น 360 วัน 6 ชั่วโมง 9 นาที 10 วินาที เขาได้ทำงานที่มัสยิดที่ฮัรรอน เมื่อปี ค.ศ.848 และได้ย้ายไปยัง อัรร็อกเกาะฮฺ ทางตอนเหนือของซีเรีย เปิดโรงเรียนสอนดาราศาสตร์ ปรัชญา และการแพทย์ที่นั้น มีลูกศิษย์มากมาย ที่มีชื่อเสียง เช่น สะนาน อิบรอฮีม และหลานของเขา อัลบัยตานี

ทราบิท อิบนุกุรเราะฮฺ เป็นคนแรกที่ค้นพบและอธิบาย จตุรัสกล (Magic Square المربعات السحرية :) หมายถึงตารางที่มีช่องจำนวนในแนวตั้งและจำนวนช่องในแนวนอนเท่ากัน ภายในแต่ละช่องตารางจะมีตัวเลขจำนวนเต็มหนึ่งจำนวนที่ไม่ซ้ำกับตัวเลขในช่อง อื่น ๆ โดยตัวเลขทุกช่องจะเป็นจำนวนนับที่เรียงกัน และเท่ากับผลบวกตัวเลขทั้งหมดในที่ละแนวนอนเท่ากันและเท่ากับผลบวกของตัวเลข จากทุกช่องในแต่ละแนวตั้ง และยังเท่ากับผลบวกของตัวเลขจากทุกช่องในแต่ละแนวทแยงมุมด้วยเช่น

หนังสือที่เป็นที่ยอมรับของทราบิท เช่น

كتاب في المخروط المكافئ

كتاب في الشكل الملقب بالقطاع

كتاب في قطع الاسطوانة

كتاب في العمل بالكرة

كتاب في قطوع الاسطوانة وبسيطها

كتاب في مساحة الأشكال وسائر البسط والأشكال المجسمة

كتاب في المسائل الهندسية

كتاب في أن الخطين المستقيمين إذا خرجا على أقلّ من زاويتين قائمتين التقيا

كتاب في تصحيح مسائل الجبر بالبراهين الهندسية

كتاب في الهيئة

كتاب في تركيب الأفلاك

كتاب المختصر في علم الهندسة

كتاب في تسهيل المجسطي

كتاب في الموسيقى

كتاب في المثلث القائم الزاوية

كتاب في حركة الفلك

كتاب في ما يظهر من القمر من آثار الكسوف وعلاماته

كتاب المدخل إلى إقليدس

كتاب المدخل إلى المنطق

كتاب في الأنواء

مقالة في حساب خسوف الشمس والقمر

كتاب في مختصر علم النجوم

كتاب للمولودين في سبعة أشهر

كتاب في أوجاع الكلى والمثاني

كتاب المدخل إلى علم العدد الذي ألفه نيقوماخوس الجاراسيني ونقله ثابت إلى العربية.

และอื่นๆ ในสาขาวิชาต่างๆ มากกว่า 150 เล่ม
أولى لك أن تتألم لأجل الصدق .. من أن تكافأ لأجل الكذب

การที่ท่านยอมเจ็บปวดเพื่อความสัจจริง มันดีเสียกว่า ที่ท่านอยู่อย่างสุขสบายเพราะการโกหกปลิ้นปล้อน

ออฟไลน์ Wan Ahmad

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 58
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +31
    • ดูรายละเอียด
Re: บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่โลก(ทำเป็น)ลืม
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ธ.ค. 08, 2013, 08:20 PM »
+2


คอลิด อิบนุ ยะซีด เป็นหลานเคาะลีฟะฮฺมุอาวียะฮฺ อิบนุอะบีซุฟยาน เคาะลีฟะฮฺอาณาจักรอะมะวียะฮฺคนที่ 1และเป็นบุตรยะซีด อิบนุมุอาวิยะฮฺ เคาะลีฟะฮฺคนที่ 2 คอลิดเป็นบุคคลที่ให้ความสำคัญแก่ความรู้มาก เขานับว่าเป็นผู้ศึกษาหาความรู้และปฏิบัติตามที่เขาได้ศึกษาเป็นอย่างดี เป็นคนอาหรับคนแรกที่เน้นศึกษาวิชาเคมีและได้แปลตำราวิชาเคมีให้เป็นภาษาอาหรับ
คอลิดได้ละทิ้งตำแหน่งทางการปกครองมุ่งสู่การศึกษาหาความรู้ โดยเฉพาะด้านวิชาเคมี เป็นนักประดิษฐ์จากสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวิชาเคมี และได้เชิญนักวิชาการเคมีจากกรีกมายังอิยิปต์เพื่อมาให้ความรู้และแปลหนังสือเคมีจากภาษากรีกเป็นภาษาอาหรับ นอกจากวิชาเคมีแล้วเขายังได้ศึกษาและสนับสนุนในวิชาทางการแพทย์ วิชาดาราศาสตร์ ใช้ความรู้ทางเคมีคิดค้นและผลิตยาทางการแพทย์ เขาเป็นคนที่สนับสนุนให้เปลี่ยนจากวิชาเล่นแร่แปรธาตฺ(Alchemy:الخيمياء) เป็นวิชาเคมี(chemistry:الكيمياء)
อัลญาหิศ กล่าวว่า คอลิด อิบนุยะซีด เป็นนักพูด นักปาฐกถา นักกลอน(ชาอิรฺ) เป็นคนชอบถือศีลอดและเป็นคนแรกที่แปลหนังสือดาราศาสตร์ หนังสือการแพทย์และหนังสือทางเคมีจากภาษากรีกและภาษาคอปติก(Coptic language:القبطية)ให้เป็นภาษาอาหรับ


ตำราและงานเขียนของคอลิด
คอลิดได้เขียนหนังสือไว้มากมาย ต้นฉบับบางเล่มยังมืเก็บไว้ที่ห้องสมุดของประเทสตุรกี ตำราและงานเขียนของท่านพอจะกล่าวถึงมี

• كتاب السر البديع في فك رمز المنيع في علم الكاف
• كتاب فردوس الحكمة في علم الكيمياء منظومة
• كتاب الحرارات
• كتاب الرحمة في الكيمياء
• كتاب الصحيفة الصغير
• كتاب الصحيفة الكبير
• مقالتا ميريانس الراهب في الكيمياء
• وصيته إلى ابنه في الصنعة

คอลิด อิบนุยะซีด กับวิชาดาราศาสตร์
อัลไบรูนีย์ ได้พูดถึงงานเขียนของคอลิดในการคำนวณทางดาราศาสตร์ว่า คอลิดได้เขียนการคำนวณห้วงเวลาระหว่างอาดัมมนุษย์คนแรกกับอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great: 356-323 ปีก่อนคริสตกาล) 5180 ปี ปีที่ท่านนบีมุหัมมัด(ศ็อลฯ)อพยพ จะตรงกับปีที่ 923 ของอเล็กซานเดอร์ และปีที่ 6113 ของอาดัม


أولى لك أن تتألم لأجل الصدق .. من أن تكافأ لأجل الكذب

การที่ท่านยอมเจ็บปวดเพื่อความสัจจริง มันดีเสียกว่า ที่ท่านอยู่อย่างสุขสบายเพราะการโกหกปลิ้นปล้อน

ออฟไลน์ Wan Ahmad

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 58
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +31
    • ดูรายละเอียด
Re: บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่โลก(ทำเป็น)ลืม
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ธ.ค. 08, 2013, 08:26 PM »
+2


جابر ابن حيان

Abu Musa Jabir ibn Hayyan

อะบูมูซา ญาบิร อิบนุ หัยยาน (บิดาแห่งวิชาเคมี)

ชาวยุโรปจะรู้จักในนาม “Geber“

อิบนุหัยยาน มีชื่อจริงว่า อะบูมูซา ญาบิรฺ อิบนุหัยยาน อับนุอับดุลลอฮฺ อัล-อัซดี (أبو موسى جابر بن حيان بن عبد الله الأزدي)เป็นที่รู้จักกันในนาม อัล-อัซดี (الأزدي)เป็นชื่อของเผ่าดังเดิมของเขา “อัล-อัซดฺ” ครอบครัวของเขาได้อพยพหลังจากเขือนมะอฺริบ(1)ในเยเมนได้ล้มสลายไป

ญาบิรฺ อิบนุหัยยาน เกิดที่เมืองตูซ(Tus:طوس) ประเทศอิหร่าน เมื่อปี ฮศ.101 (คศ.720) บิดาของเขาเป็นเภสัชกร เป็นผู้สนับสนุนกลุ่มอับบาซีและได้อพยพจากคูฟะฮฺไปยังเมืองตูสเพื่องานเผยแพร่ ศาสนาและงานของกลุ่มชาวอับบาซียะฮฺ สุดท้ายได้ถูกทหารของอะมะวียะฮฺจับไปประหารชีวิต ญาบิรจึงเดินทางกลับไปยังอิรัก


ผลงานทางเคมีของ ญาบิรฺ

ก่อนญาบิรอิบนุหัยยาน วิชาการทางเคมีนับเป็นสาขาวิชาหนึ่งที่เกิดขึ้นจากประสบการ เช่นประสบการการทำให้เป็นมัมมี การฟอก การย้อม และอื่นๆ การเล่นแร่แปรธาตุ การทำกระจก การเคลือบสื การสกัดน้ำมันและ้น้ำหอม โดยเฉพาะความพยายามสร้างวัตถุจากวัตถุที่มีค่าน้อยแปรให้เป็นวัตถุที่มีค่ามาก เช่น แปรธาตุเหล็กและตะกั่วเป็นเงิน แปรทองเหลือให้เป็นทองคำ ต่างๆเหล่านี้สร้างแรงจูงใจให้ญาบีรฺศึกษาและค้นคว้าทางด้านเคมีจนประสบผลสำเร็จในหลายเรื่อง เช่น

คิดค้นและสร้างอุปกรณ์ทางเคมี เช่น สร้างแก้วโลหะ เป็นต้น
สามารถผสมระหว่าง ไฮโดรคลอไรด์ (HCl) กับกรดดินประสิว(HNO3) กลายเป็นสารเคมีที่เรียกว่า น้ำทอง หรือ น้ำพระราชา ที่สามารถละลายทองได้ สามารถกลั่นสารประกอบ เกลือแกง(NaCl)กับสารละลายเฟอร์รัสซัลเฟต FeSO4H2O ออกจากกันได้ และญาบิรเป็นผู้ได้บ่งบอกคุณสมบัติของกรดว่าเป็นน้ำที่คมและสามารถละลายโลหะได้
เป็นผู้ค้นพบกรดอินทรีย์ เช่น กรดซีตริก(Citric acid) กรดน้ำส้ม(กรดแอซิติก : Acetic acid ) และกรดตาร์ตาริก (tartaric acid)
สามารถเตรียมสารโซเดียมไฮดรอกไซ์ด(NaOH) และโซเดียมคาร์บอเนท(Na2Ca3)
ค้นพบ ตะกั่วขาว (Lead carbonate) ซิลเวอร์ไนเทรท (Agno 3)
แยกสารหนูจาก Arsenic trisulfide (As2S3) แยกพลวงจาก สติบไนต์ (Sb2S3)
แยกสารที่เป็นกรดและสารที่เป็นด่าง และกล่าวว่าทั้งสองจะทำปฎิกริยาต่อกันจะทำให้เกิดเกลือ
ผลงานในทางอุตสาหกรรม

ญาบิรฺ อิบนุรรัยยาน ไม่เพียงแค่ศึกษาและค้นคว้าทางเคมีบริสุทธิเท่านั้น เขายังได้นำความรู้ทางเคมีไปปรับใช้ในชีวิตเชิงอุตสาหกรรมด้วย เช่น

สร้างวิธีการสกัดแร่ธาตุ

เตรียมโลหะแข็งให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการสร้าง

ป้องกันเหล็กไม่ให้เกิดสนิม

คิดค้นและสร้างวิธีการทำหมึกจากเหล็กซัลไฟด์ที่มีลักษณะเป็นสีทองแทนที่น้ำหมึกทองคำ เพราะหมึกทองคำมีราคาที่แพงมาก

ฟอกหนังด้วยกรรมวิธีที่โดดเด่น โดยใช้กระบวนการทางเคมีที่คิดค้นได้

เคลือบเงาและเคลือบผิวด้วยสารเคมีให้ได้ผลดีและโดดเด่น

หาวิธีการย้อมผมและสิ่งจำเป็นทางเคมีอื่นๆอีกมากที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน

ญาบิรฺ อิบนุหัยยาน กับการศึกษา

ญาบิรฺ ให้ความสำคัญกับการศึกษาค้นคว้าด้วยการทดลอง เขากล่าวแก่นักเรียนของเขาว่า “สิ่งแรกที่ต้องทำคือปฎิบัติและดำเนินการทดลอง เพราะผู้ใดที่ไม่ปฎิบัติและไม่ทำการทดลองเขาไม่บรรลุถึงระดับต่ำสุดของความจริง(ความรู้) ลูกรักเจ้าจงทำการทดลองแล้วเจ้าจะได้ความรู้” และเขาบันทึกในหนังสือของเขาตอนหนึ่งว่า “..ความรู้จะไม่ได้มานอกจากด้วยการทดลอง”

นับได้ว่าญาบิรฺเป็นคนแรกเริ่มเขียนรายงานการทดลองอย่างมีระเบียบและเป็นระบบ เขาได้ตักเตือนแก่ลูกศิษย์ของเขาว่า “นักวิชาการ (อุลามาอฺ)รู้สึกภาคภูมิใจในผลงานที่เขาได้ประสบผลสำเร็จ เพราะเขาเหล่านั้นได้จัดการด้วยการจัดการที่ดีเยี่ยม .. ดังนั้นเจ้าจงตรึกตรองอย่างรอบคอบและอย่ารีบเร่ง และยึดตามผลที่ได้มาในทุกๆสิ่ง”

ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าญาบิรฺ อิบนุหัยยาน ได้ทำการศึกษาวิจัยมาในรูปแบบที่สมบูรณ์แล้วอย่าง อิบนุฮัยษัมและอัลไบรูนี ซึ่งทั้งสองนี้มาหลังจากอิบนุหัยยานกว่าสามศตวรรษ แต่นั้นก็หมายถึงระบบและระเบียนการศึกษาวิจัยอย่างถูกต้องได้เริ่มมาแล้วในกลุ่มคนมุสลิมในยุคต้นๆ เมื่อ 1300 ปีมาแล้ว

ญาบิรฺ ได้ให้แนวคิดทางการศึกษา เขาเก็นว่า ความรู้จะบังเกิดขึ้นจากสัญชาตญาน และผู้รู้หรือนักวิชาการจะยึดติดกับธรรมชาติที่เป็นความรู้ ดังนั้นผู้เรียนหรือนักศึกษาหาความรู้จะต้องเตรียมพร้อมธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวเองเพื่อพร้อมที่จะรับความรู้ก่อนที่จะแสวงหามันด้วยการศึกษา ด้วยเหตุนี้ญาบิรฺจึงได้ตักเตือนแก่ครูและลูกศิษย์ว่า

“หน้าที่ของครูต่อลูกศิษย์.. ครูจะต้องทดสอบความพร้อมของลูกศิษย์ในเรื่องที่ครูจะสอน ความสามารถในการรับฟัง ความสามารถในการจดจำ เมื่อได้แล้วครูจะต้องสอนให้เหมาะสมกับความสามารถของเขา…”
“หน้าที่ของนักเรียนที่มีต่อครู นักเรียนจะต้องยืดหยุ่น พร้อมที่จะน้อมรับทุกคำพูดทุกแง่มุม อย่าได้ขัดคำสั่งครู กระสุนของครูคือความรู้ และความรู้นี้จะไม่แสดงออกมานอกจากเมื่อลูกศิษย์เงียบสงบและน้อมรับ ฉันไม่ได้หมายความว่าให้ลูกศิษย์เชื่อฟังครูในทุกการงานของชีวิต แต่ให้เชื่อฟังในที่นี้หมายถึงเชื่อฟังในความรู้ที่ครูสอน..”

หนังสือและตำราของญาบิรฺ อิบนุหัยยาน

ญาบิรฺ ได้เขียนหนังสือมากมาย ว่ากันว่าเขาได้เขียนหนังสือทางเคมีมากกว่า 500 เรื่อง นอกจากนั้นเขาได้เขียนในหนังสือที่เกี่ยวกับการแพทย์ คณิตศาสตร์ ปรัชญา ตรรกและบทกวี มุหัมมัด อิบนุซะอีด อัซซัรกุซฏี (รู้จักในชื่อ อิบนุมะชาฏ อัล-อัซฏุรลาบี) กล่าวเขาได้เห็นงานเขียนของญาบิรฺที่อิยิปต์เกี่ยวกับแอสโตรเลบซี่งไม่เคยเห็นคนอื่นเขียนเหมือนเขา และเป็นที่รู้จักเช่นกันว่าญาบิรฺได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับกระจกและการมองเห็น หนังสือที่สำคัญๆของเขามีมากมาย เช่น

หนังสือ”้الخواص الكبير“(คุณสมบัติที่ยิ่งใหญ่) เป็นหนังสือที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา ฉบับเขียนด้วยลายมือมีเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ในปรเทศอังกฤษ

หนังสือ “كتاب سبعين“(คัมภีร์เจ็ดสิบ The Seventy Books) “كتاب الرحمة“(คัมภีร์เมตตา) ทั้งสองเล่นได้ถูกแปลเป็นภาษาลาตินในยุคสมัยตอนกลาง

หนังสือ “الجمل العشرون“(ยี่สิบประโยค) เป็นหนังสือรวบรวมยี่สิบบทความทางเคมี

หนังสือ “الأحجار“(อัคนี Book of Stones ) มีฉบับเขียนด้วยมือเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติในกรุงปารีส

หน้งสือ”اسرار الكيمياء“(ความลับของเคมี)

หนังสือ”أصول الكيمياء“(หลักเคมี)

หนังของญาบิรฺมีในภาษาลาตินมากมาย แต่หาต้นฉบับที่เป็นภาษาอาหรับไม่พบ เช่น หนังสือ “Summa perfectionis البحث في الكمال“
ญาบิรฺ อิบนุหัยยาน กับข้อกล่าวหา

บางคนกล่าวหาว่า ญาบิรฺ เป็นชาวกรีก(ยูนาน)โดยกำเนิดและเข้ารับอิสลาม ซี่งตามที่ได้ตรวจสอบแล้ว ญาบิรฺเป็นคนอาหรับโดยกำหนด โดยมีต้นตระกูลจากเผ่า อัล-อัซดฺ เยเมน ตามที่กล่าวมาข้างต้น

นักเคมีชาวฝรังเศษชื่อ Marcelin Pierre Eugène Berthelot (25 October 1827 – 18 March 1907) ได้กล่าวอ้างงานเขียนของญาบิรฺเป็นของเขา ด้วยเหตุไม่พบต้นฉบับที่เป็นภาษาอาหรับ ในเวลาเดียวกันมีคนอื่นได้เขียนหนังสือเดียวกันและได้อ้างว่าได้แปลจากหนังสือของญาบิรฺ

ญาบิรฺในสายตาของคนตะวันตก

ญาบิรฺ นับว่าเป็นคนวางรากฐานทางวิชาเคมีสมัยใหม่และทันสมัย และเป็นที่ยืนยันจากนักปราชญ์และนักวิชาการในยุโรปหลายคน เช่น

Francis Bacon (22 January 1561 – 9 April 1626) นักปรัชญา นักกฎหมาย นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ กล่าวว่า “ญาบิรฺ เป็นคนแรกที่สอนวิชาเคมีแก่ชาวโลก เขาเป็นบิดาวิชาเคมี”

Marcelin Berthelot (25 October 1827 – 18 March 1907) นักเคมีและนักการเมืองชาวฝรังเศษ ได้กล่าวว่า “วิชาเคมีเป็นของญาบิรฺ วิชาตรรกเป็นของอริสโตเติล”

Max Meyerhof (21 March 1874 – 1945) จักษุแพทย์ เชื้อสายยิว ชาวเยอรมันกล่าวว่า “การพัฒนาวิชาเคมีในยุโรปสามารถอ้างถึงญาบิรฺ เพราะคำศัพท์ทางเคมีหลายคำของญาบิรฺยังใช้จนถึงทุกวันนี้”

Gustave Le Bon (7 May 1841 – 13 December 1931) นักจิตวิทยาสังคม นักสังคมวิทยา ชาวฝรั่งเศษได้กล่าวว่า “จากการที่ได้อ่านสารานุกรมทางวิทยาศาสตร์ของญาบิรฺ พบว่า ได้รวบรวมวิชาการทางเคมีในหมู่คนอาหรับในสมัยของเขา หนังสือของเขาได้บรรยายถึงสารประกอบทางเคมีที่ก่อนหน้านั้นไม่เคยมีใครรู้จัก และเป็นการอธิบายครั้งแรกถึงการกลั่น การกรอง ผลึก การดูซึม และการเปลี่ยนแปลงของสาร”

——————————————–

(1)เขือนมะริบหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งเขือน อัล-อัลอะริมิ อยู่ระหว่างหุบเขาสามลูกในประเทสเยเมน สร้างขึ้นปี 1750-1700 ก่อนคริสต์ศตวรรษ และเขื่อนนี้ได้ถูกกล่าวถึงอัลกุรอาน ซูเราะฮฺ ซะบะอฺ อายะห์ที่ 15-16 ว่า

:« لَقَدْ كَانَ لِسَبَأٍ فِي مَسْكَنِهِم آيةٌ جَنَّتاَنِ عَن يَمِينٍ وَشِمَالٍ كُلُوا مِن رِّزْقِ رَبِّكُم واشْكُرُوا لَهُ بَلْدَةٌ طَيِّبَةٌ وَرَبٌّ غَفُورٌ فَأَعْرَضُوا فَأَرْسَلْنَا عَلَيْهِمْ سَيْلَ العَرِمِ وَبَدَّلْناَهُم بِجَنَّتَيْهِمْ جَنَّتَيْنِ ذَوَاتَيْ أُكُلٍ خَمْطٍ وَأَثْلٍ وَشَيءٍ مِّن سِدْرٍ قَلِيلٍ» (سبأ: 15-16).

ความว่า : 15. โดยแน่นอน สำหรับพวกสะบะอฺนั้นมีสัญญาณหนึ่งในที่อาศัยของพวกเขา (*1*) มีสวนสองแห่งทางขวาและทางซ้าย พวกเจ้าจงบริโภคจากปัจจัยยังชีพของพระเจ้าของพวกเจ้า และจงขอบคุณต่อพระองค์ อันเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ (*2*) และมีพระเจ้าผู้ทรงอภัย 16. แต่พวกเขาได้ผินหลัง ดังนั้น เราจึงปล่อยน้ำจากเขื่อนให้ท่วมพวกเขา (*3*) และเราได้เปลี่ยนให้พวกเขาสวนสองแห่งของพวกเขา แทนสวนอีกสองแห่ง (*4*) มีผลไม้ขมและต้นไม้พุ่ม และต้นพุทราบ้างเล็กน้อย

(1) ในประเทศเยเมน คือมีสัญญาณอันยิ่งใหญ่ที่ชี้บ่งถึงเดชานุภาพของพระองค์ ในการตอบแทนผู้กระทำความดีและความชั่วตามผลงานของเขา เมื่อชาวเมืองสะบะอฺได้เนรคุณต่อความโปรดปรานของอัลลอฮฺ พวกเขาจึงถูกทำลายอำนาจให้หมดสิ้นไป และกระจัดกระจายไป

(2) ก้อตาดะฮฺกล่าวว่า สวนสองแห่งของพวกเขาเป็นต้นไม้ที่ร่มรื่น และมีดอกผลอย่างมากมายงดงามเมื่อสตรีเดินผ่านไปโดยมีกระจาดทูนอยู่บนศีรษะ ผลไม้จะหล่นลงมาเต็มกระจาดโดยไม่ต้องเก็บเกี่ยว เพราะความสุกงอมของมันและความที่มันมีอย่างมากมาย


(3) คือ เมื่อพวกเขาไม่เชื่อฟัง ไม่จงรักภักดี ไม่ขอบคุณต่ออัลลอฮฺ และไม่ปฏิบัติตามข้อใช้ข้อห้ามของบรรดาร่อซูลของพระองค์ เราจึงปล่อยน้ำจากเขื่อนไปทำลายเรือกสวนและบ้านช่องของพวกเขา

(4) คือเราได้เปลี่ยนสวนสองแห่งที่อุดมสมบูรณ์เป็นสวนสองแห่งที่แห้งแล้ง เป็นต้นไม้พุ่มเล็ก ๆ และผลของมันขม


ผิดอะไร ตรงไหนก็ขอมาอัฟ และช่วยตักเตือนด้วยนะครับ
أولى لك أن تتألم لأجل الصدق .. من أن تكافأ لأجل الكذب

การที่ท่านยอมเจ็บปวดเพื่อความสัจจริง มันดีเสียกว่า ที่ท่านอยู่อย่างสุขสบายเพราะการโกหกปลิ้นปล้อน

ออฟไลน์ na-eim

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 126
  • เพศ: หญิง
  • com'sci B 52 ...^^
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • Good Brain
Re: บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่โลก(ทำเป็น)ลืม
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ธ.ค. 09, 2013, 12:41 PM »
0
 :salam:

ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ   mycool:

นักวิทยาศาสตร์มุสลิมส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงยุคกลางหรือยุคมืด ช่วงที่อิสลามได้แผ่วัฒนธรรมไปทางยุโรป ซึ่งถือเป็นยุคทองของอิสลาม (golden age of islam) ช่วง ค.ศ.500-1500

เพราะชาวยุโรปไม่กล้าพอที่จะยอมรับว่าครั้งหนึ่งอิสลามยิ่งใหญ่ขนาดใหญ่ จึงไม่ให้ความสนใจ และทำเป็นลืม ถึงขนาดเรียกว่ายุคมืด  no:

อัลฮัมดูลิลลาฮ์ ประวัติศาสตร์อิสลามช่างยิ่งใหญ่จริงๆ    loveit: loveit:
"ท่านทั้งหลาย..จงเป็นประหนึ่งไม้ผล ผู้คนขว้างก้อนหินใส่มัน แต่มัน..ปล่อยผลให้แก่พวกเขา"

ออฟไลน์ BasemDeen

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 260
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
Re: บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่โลก(ทำเป็น)ลืม
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ธ.ค. 09, 2013, 07:52 PM »
0
ตาสว่างเลยเรา

ออฟไลน์ Wan Ahmad

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 58
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +31
    • ดูรายละเอียด
Re: บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่โลก(ทำเป็น)ลืม
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ธ.ค. 09, 2013, 08:20 PM »
0
ขอบคุณค้าบบ  ;D

ส่วนมากของนักวิทยาศาสตร์ชาวยุโรปนั้น จะชอบยึด เครดิต ของ นักวิทยาศาสตร์ชาวมุสลิม

อืม อยากจะทำหลายๆหน้า ต้องทำไงอะ?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธ.ค. 09, 2013, 08:41 PM โดย Al-WahdaH »
أولى لك أن تتألم لأجل الصدق .. من أن تكافأ لأجل الكذب

การที่ท่านยอมเจ็บปวดเพื่อความสัจจริง มันดีเสียกว่า ที่ท่านอยู่อย่างสุขสบายเพราะการโกหกปลิ้นปล้อน

ออฟไลน์ Wan Ahmad

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 58
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +31
    • ดูรายละเอียด
Re: บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่โลก(ทำเป็น)ลืม
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ธ.ค. 09, 2013, 08:33 PM »
+2


อบู อับดิลลาฮฺ มุฮำมัด อิบนุ อิบรอฮีม อัลฟิซารี่ย์ ไม่ทราบปีที่เขาเกิด แต่เขาเสียชีวิตในมหานครแบกแดด เมื่อปี ฮ.ศ.189 โดยประมาณ เขาสืบสกุลจากตระกูลเก่าแก่ที่มีนิวาสถานอยู่ในนครอัลกูฟะฮฺ อิรัก นักบูรพาคดี เดวิด เบนเคอรี่ กล่าวว่า : อบู อับดิลลาฮฺ อัลฟิซารี่ย์ เริ่มเกี่ยวข้องเป็นครั้งแรกกับมหานครแบกแดด เมื่อปี ฮ.ศ.144 และค่อลีฟะฮฺ อบู ญะอฺฟัร อัลมันซูร แห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺได้ยกย่องและอุปถัมภ์เขาเป็นอย่างดี

 

อบู อับดิ้ลลาฮฺ อัลฟิซารี่ย์ ได้เติบโตในครอบครัวแห่งวิชาการ เขาศึกษากับบิดาของเขาคือ อบูอิสหาก อิบรอฮีม อิบนุ ฮะบีบ  อัลฟิซารี่ย์ ซึ่งเสียชีวิตในปี  ฮ.ศ.160 บิดาของเขาเป็นนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ในภาควิชาดาราศาสตร์ (astronomy) โดยมีความโด่งดังเป็นอันมากในวิชาโหราศาสตร์ (astrology) และการทำปฏิทินประจำเดือน

 

ในปี ฮ.ศ. 155 มีคณะทูตจากอินเดียมาถึงนครแบกแดดพร้อมกับตำรา สิทธันตะ (siddhanta) ซึ่งเป็นตำราสำคัญที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิชาดาราศาสตร์ ค่อลีฟะห์ อบู ญะอฺฟัร อัลมันซูร จึงทรงมีบัญชาให้ มุฮัมมัด อิบนุ อิบรอฮีม อัลฟิซารี่ย์ แปลตำราเล่มนี้ออกเป็นภาษาอาหรับ และแต่งตำราในทำนองเดียวกันโดยให้ชื่อว่าตำรา “อัซซินดิฮินดฺ อัลกะบีร” ตำราเล่มนี้เป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลที่สำคัญสำหรับผู้ค้นคว้าในวิชาดาราศาสตร์จนถึงรัชสมัย ค่อลีฟะห์ อัลมะอฺมูน แห่งราชวงศ์อับบาซียะห์                     

 

มุฮำมัด อิบนุ มูซา อัลคุวาริซมี่ย์ (ฮ.ศ.164-235) ได้ศึกษาเจาะลึกตำรา “อัซซินดินฮินดฺฯ” ของอัลฟิซารี่ย์ และอัลคุวาริซมี่ย์ก็เห็นว่าน่าที่จะสรุปคัดย่อและตรวจทานตำราเล่มนี้พร้อมคัดตารางดวงดาวออกมาอย่างสรุปและแล้วตำราคัดย่อของอัลคุวาริซมี่ย์ก็เข้ามาแทนที่ตำรา“อัซซินดิฮินดฺฯ” ในเวลาต่อมา

 

นักประวัติศาสตร์ในแวดวงวิทยาศาสตร์ทดลองทราบกันดีว่า เครื่องมือดาราศาสตร์ (Astrolabe) ชิ้นแรกในอิสลามเป็นผลงานของ มุฮำมัด อิบนุ อิบรอฮีม อัลฟิซารี่ย์ และเขายังได้แต่งตำราคู่มือเพื่อบอกถึงวิธีการใช้งานเครื่องมือดาราศาสตร์ โดยให้ชื่อว่า “กิตาบุล อะมัล บิลอุสตุรลาบ อัลมุ่ซัตเตาะฮฺ” อีกด้วย แต่มีบางคนสับสนระหว่างมุฮำมัด กับ อิบรอฮีมผู้เป็นบิดาในเรื่องการประดิษฐ์ เครื่องมือดาราศาตร์ astrolabe ชิ้นแรกในอิสลาม แต่ที่มีข้อมูลยืนยันแน่นอนคือ มุฮำมัด อัลฟิซารี่ย์ เป็นผู้ประดิษฐ์

 

มุฮำมัด อิบนุ อิบรอฮีม อัลฟิซารีย์ เป็นผู้ที่หลงใหลในวิชาดาราศาสตร์และแต่งโคลง (ก้อซีดะฮฺ) ในเรื่องดวงดาวซึ่งเป็นที่กล่าวขานในหมู่นักวิชาการเสมอในวิชาดาราศาสตร์ ส่วนหนึ่งจากตำราที่มุฮำมัดได้แต่งขึ้นในวิชาดาราศาสตร์ ได้แก่ โคลงกลอนในวิชาเกี่ยวกับดวงดาว, ตำราการคำนวณสำหรับการคล้อยของดวงอาทิตย์, ตำราปฏิทินดวงดาว, ตำราคู่มือการใช้เครื่องมือดาราศาสตร์แบบกลมและตำราคู่มือการใช้เครื่องมือดาราศาสตร์แบบเรียบแบน

 

กล่าวโดยสรุป มุฮำมัด อิบนุ อิบรอฮีม อัลฟิซารี่ย์ คือผู้ริเริ่มเคลื่อนไหวการถ่ายทอดข้อมูลในวิชาดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์จากแหล่งอ้างอิงต่างๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับอินเดียเป็นภาษาอาหรับ เป็นที่ทราบกันว่า มุฮำมัด อัลฟิซารี่ย์ มีความชำนาญในภาษาต่างด้าว โดยเฉพาะภาษาสันสกฤต และเขายังทุ่มเทความพยายามอย่างยิ่งยวดในแวดวงดาราศาสตร์ประยุกต์ โดยอาศัยการบันทึกสถิติ การสังเกตด้วยประสาทสัมผัสสำหรับการดูดาว ซึ่งให้เหตุผลถึงการโคจรของดวงดาวและเทหวัตถุแห่งฟากฟ้า การอธิบายอย่างเป็นระบบถึงปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์มีผลอย่างใหญ่หลวงในแวดวงของนักวิชาการอาหรับ-มุสลิม ในเรื่องนี้

 

จริงอยู่ที่ว่า ค่อลีฟะฮฺอัลมันซูร แห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺได้สนับสนุนอัลฟิซารี่ย์ และเหล่าสหายของเขาด้วยการประทานรางวัลอันมากมาย พวกเขาจึงได้แปลตำราต่างๆ ซึ่งประชาชาติทั้งหลายได้ทิ้งไว้เป็นมรดกทางวิชาการ นั่นมิใช่เพียงอินเดียเท่านั้น แต่รวมถึงภาษากรีกและเปอร์เซียอีกด้วย พวกเขายังได้ปรับปรุง แก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในตำราเหล่านั้นและเพิ่มเติมสาระสำคัญอันเป็นแก่นในวิชาดาราศาสตร์อีกเช่นกัน

ภาพวาดท่านนี้หายากอะ  myGreat:
أولى لك أن تتألم لأجل الصدق .. من أن تكافأ لأجل الكذب

การที่ท่านยอมเจ็บปวดเพื่อความสัจจริง มันดีเสียกว่า ที่ท่านอยู่อย่างสุขสบายเพราะการโกหกปลิ้นปล้อน

ออฟไลน์ Wan Ahmad

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 58
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +31
    • ดูรายละเอียด
Re: บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่โลก(ทำเป็น)ลืม
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ธ.ค. 09, 2013, 08:37 PM »
+2


นูรุดดีน อัลบัฏรูญี่ย์ อบูอิสหาก อัลอิชบีลี่ย์ ไม่ทราบแน่ชัดว่าปราชญ์ผู้นี้ถือกำเนิดและสิ้นชีวิตเมื่อใด แต่ยืนยันได้ว่าเขาเป็นนักปราชญ์ผู้หนึ่งของตอนปลายศตวรรษที่ 6 แห่งฮิจเราะฮฺศักราช เดิมเขามาจากเมือง บัฏรูจฺญ์ ใกล้กับนครกุรฏุบะฮฺ (โคโดบาฮฺ-สเปน) แต่เขาใช้ชีวิตและเติบโตตลอดจนศึกษาเล่าเรียนในนครอิชบีลียะฮฺ (ซีวิลล่า)

อัลโดมีลีย์ ได้กล่าวว่า “แท้จริง อบูอิสหาก นูรุดดีน อัลบัฏรูญีย์ อัลอิชบีลีย์ มีความโด่งดังยิ่งกว่า ญาบิร อิบนุ อัลอัฟละฮฺ ในวิชาดาราศาสตร์ ทว่าบรรดานักเขียนตำราในดินแดนตะวันตกเกี่ยวกับวิชาดาราศาสตร์ได้ทำลายสิทธิอันชอบธรรมของเขาจนเสียสิ้น ชื่อเสียงของอัลบัฏรูญีย์เป็นที่รู้จักกันในนาม (Alpetragius) สำหรับชาวตะวันตก

อบูอิสหาก อัลบัฏรูญีย์ เป็นศิษย์ของนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่นามว่า มุฮำมัด อิบนุ ฏุฟัยล์ อัลอันดะลูซีย์ (ฮ.ศ.550-581) ซึ่งเลื่องลือในวิชาแพทย์ศาสตร์, ปรัชญาและการเมืองการปกครอง

ทฤษฎีของอัลบัฏรูญีย์เกี่ยวกับการโคจรของหมู่ดวงดาวซึ่งรู้จักกันในหมู่ชาวตะวันตกว่า (Alpetragius , theory of planetary motion) ได้ส่งอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงในแวดวงดาราศาสตร์ ทฤษฎีอันยิ่งใหญ่นี้ได้สั่นคลอนระบบดาราศาสตร์ของปโตเลมี ซึ่งครอบงำความคิดของนักดาราศาสตร์ในยุคนั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ตำรา “อัลฮัยอะฮฺ” ของอัลบัฏรูญีย์ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดในการจุดประกายข้อสงสัยเกี่ยวกับคำสอนของปโตเลมีในด้านดาราศาสตร์ ทำให้นักวิชาการชาวตะวันตกได้ทำการแปลตำราที่สำคัญเล่มนี้ในด้านดาราศาสตร์ออกเป็นภาษาต่างๆ ของพวกเขา

มิเชล สก็อต ได้แปลตำรา “อัลฮัยอะฮฺ” เป็นภาษาละติน ในปี ฮ.ศ.614 ส่วนมูซา (โมเช่) เบน ติบฺบูน ได้แปลเป็นภาษาฮิบรู ในปี ฮ.ศ.935 ในส่วนของมิเชล สก็อตนั้นถือได้ว่าเขาคือ บุคคลแรกที่นำเอาตำรา “อัลฮัยอะฮฺ” ของอัลบัฏรูญีย์ เข้าสู่โลกของคริสเตียนในยุโรป ทั้งนี้เพราะมิเชลได้ศึกษาภาษาอาหรับอย่างชำนาญในนคร ฏุลัยฏุละฮฺ (โทเลโด) เมื่อปี ฮ.ศ.614

อัลโดมิลีย์ ยังได้ระบุเพิ่มเติมอีกว่า อาร์คบิชอพ เบอร์นาดีน บัลดี เดอ เออร์บโน่ (Bernardin Baldi d-urbno) ชาวอิตาลี่ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในระหว่างปี ฮ.ศ.960-1026 ถือว่า อัลบัฏรูญีย์ เป็นนักคณิตศาสตร์ผู้โดดเด่นคนหนึ่งของโลก จากจุดนี้ท่านอาร์คบิชอพ ชาวอิตาลี่ผู้นี้จึงได้วางนามชื่อของอัลบัฏรูญีย์ เอาไว้ในทำเนียบต้นๆ ของบรรดานักดาราศาสตร์ในตำราของท่านที่รวบรวมอัตชีวประวัติของเหล่าผู้เลืองนามทั่วโลกเอาไว้

ทฤษฎีของอัลบัฏรูญีย์ทางด้านดาราศาสตร์ได้มีส่วนขับเคลื่อนให้เกิดทฤษฎี (Eudoxus) ซึ่งกำหนดเกี่ยวกับกลุ่มจักราศีที่มีศูนย์กลางร่วมกัน ซึ่งกล่าวว่า “ระหว่างการโคจรของกลุ่มจักราศีต่างๆ ไปพร้อมๆ กับได้นำไปสู่การปรากฏเส้นโคจรเดียวเท่านั้นของกลุ่มจักราศีแต่ละกลุ่ม”

 
สังเกตได้ว่า อัลบัฏรูญีย์ ได้ปฏิเสธทฤษฎีของปโตเลมีโดยสิ้นเชิงและเขาได้ชี้แนะว่าควรกลับไปพิจารณาระบบของอริสโตเติ้ลที่กล่าวถึงศูนย์กลางของจักราศีทั้งหมด และอัลบัฏรูญีย์ยังเป็นเจ้าของทฤษฎีรูปทรงหอยโข่งของจักราศีอีกด้วย

อัลบัฏรูญีย์ มีชื่อเสียงเลื่องลือทั้งในหมู่ของชาวคริสเตียนและชาวยิว เนื่องจากเขาเป็นผู้เดียวที่สามารถสร้างความสั่นคลอนต่อสำนักความคิดทางดาราศาตร์ของปโตเลมี ซึ่งนั่นเป็นเพราะความเจนจัดและความชำนาญการอย่างเอกอุของเขาในวิชาดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ควบคู่กันนั่นเอง
أولى لك أن تتألم لأجل الصدق .. من أن تكافأ لأجل الكذب

การที่ท่านยอมเจ็บปวดเพื่อความสัจจริง มันดีเสียกว่า ที่ท่านอยู่อย่างสุขสบายเพราะการโกหกปลิ้นปล้อน

ออฟไลน์ Wan Ahmad

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 58
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +31
    • ดูรายละเอียด
Re: บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่โลก(ทำเป็น)ลืม
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ธ.ค. 09, 2013, 08:40 PM »
+2


มูซา อิบนุ ชากิรฺ มีชีวิตอยู่ในรัชสมัยค่อลีฟะฮฺ อัลมะอฺมูน แห่งราชวงศ์ อับบาซียะฮฺ (คริสต์ศตวรรษที่ 9) ในมหานครแบกแดด เขาให้ความสนใจต่อเรื่องราวทางดาราศาสตร์ในราชสำนักของ อัลมะอฺมูน ซึ่งเป็นช่วงเวลาระหว่างปี ค.ศ.814-833 และกลายเป็นโหราจารย์คนสำคัญที่มีความใกล้ชิดกับอัลมะอฺมูน

 มูซา อิบนุ ชากิรฺ ได้พยายามทุ่มเทในการศึกษาดาราศาสตร์จนมีความชำนาญ และแต่งปฏิทินดวงดาวเป็นจำนวนมาก ชื่อเสียงของเขาเป็นที่เลื่องลือในหมู่ผู้คนร่วมสมัยในศาสตร์แขนงนี้

 

 ค่อลีฟะฮฺ อัลมะอฺมูน ได้ส่ง มูซา อิบนุ ชากิรฺ พร้อมด้วยคณะไปยังทะเลทราย ซินญารฺ ของอิรัก เพื่อวัดระยะทาง ซึ่งตรงกับเส้นแวง (Longitude) ซึ่งเพียงพอสำหรับการวัดรูปร่างและเนื้อที่ของโลกตามวิชา geodesy เมื่อถูกคำนวณด้วยจำนวน 360  หลังจากทำการการคำนวณอย่างยาวนานและละเอียดลออ คณะของ มูซา อิบนุ ชากิร ก็ได้ผลการคำนวณระยะทางเท่ากับ 2/663 ไมล์อาหรับ (1ไมล์อาหรับ=1973.2 เมตร) ผลการคำนวณนี้ เท่ากับ 47,356 กิโลเมตร สำหรับเส้นทรอปิค (tropic) คือ เส้นขวางห่างจากเส้นศูนย์สูตรของโลก 23 องศา 27 ลิปดา - ซึ่งผลการคำนวณนี้ใกล้เคียงกับข้อเท็จจริงที่ว่า เส้นทรอปิคของโลกจริงเท่ากับ 40,000 กิโลเมตรโดยประมาณ

 

มูซา อิบนุ ชากิรฺ ได้เสียชีวิตเมื่ออายุยังไม่มาก และลูกชายทั้ง 3 คน คือ มุฮำมัด, อะฮฺมัด และฮะซัน ยังคงเป็นเด็กที่เยาว์วัย ค่อลีฟะฮฺ อัลมะอฺมูน จึงได้ทรงอุปถัมภ์เลี้ยงดูพวกเขาเป็นอย่างดี และให้การศึกษาแก่ทั้ง 3 คน จนกระทั่งลูกชายคนโต คือ มุฮำมัด กลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในด้านการเมืองการปกครอง และแทนที่บิดาของตนในการถวายงานแก่ค่อลีฟะฮฺ อัลมะอฺมูน จริงๆ แล้ว มุฮำมัด อิบนุ มูซา อิบนิ ชากิร มิใช่นักการปกครองเพียงเท่านั้น หากแต่ว่าเขายังเป็นนักคณิตศาสตร์ระดับแนวหน้าและให้ความสนใจในด้านอุตุนิยมวิทยาและการประดิษฐ์ทางกลศาสตร์อีกด้วย

 

ในตอนเริ่มแรก ลูกๆ ของ มูซา อิบนุ ชากิร ได้ให้ความสนใจในการแปลตำราทางด้านดาราศาสตร์, กลศาสตร์ และคณิตศาสตร์ จากภาษาต่างๆ เป็นภาษาอาหรับ จนกระทั่ง ค่อลีฟะฮฺ อัลมะอฺมูน ได้แต่งตั้งให้พวกเขาดูแลรับผิดชอบกองแปลตำราของราชบัณฑิตยสถาน (บัยตุ้ลฮิกมะฮฺ) ลูกๆ ของมูซา อิบนุ ชากิร ได้คัดเลือกนักแปลและสาขาวิชาที่จำเป็นต้องแปล ส่วนหนึ่งจากนักแปลผู้ยิ่งใหญ่ที่ถูกคัดเลือก ฮะบีบ อิบนุ อิสฮาก และ ซาบิต อิบนุ กุรเราะฮฺ เป็นต้น

 

พวกเขายังได้ทุ่มเทในการเสาะหาเอกสารข้อเขียนทางวิชาการเพื่อทำการแปล ด้วยเหตุนี้ มุฮำมัด อิบนุ มูซา จึงได้เดินทางไปยังดินแดนต่างๆ เพื่อเสาะหาและรวบรวมเอกสารข้อเขียนในทุกสาขาวิชา โดยเฉพาะตำราในภาควิชากลศาสตร์, ดาราศาสตร์, ปรัชญา, การแพทย์, และเภสัชศาสตร์

 

ลูกๆ ของมูซา อิบนุ ชากิร ได้สร้างหอดูดาวขึ้นในบ้านของพวกเขา ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงกับเขต อัรร่อซอฟะฮฺ ในมหานครแบกแดด หอดูดาวแห่งนี้มีอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ขนาดใหญ่มหึมาที่หมุนได้ด้วยพลังแรงดันน้ำ พวกเขาได้บรรลุผลลัพธ์อย่างน่าทึ่งจนกลายเป็นข้อมูลอ้างอิงที่สำคัญในภาควิชาดาราศาสตร์ พวกเขายังให้ความสนใจต่อวิชากลศาสตร์ (Mechanics) และค้นคว้าในเรื่องกลไกและการประกอบเครื่องจักร พร้อมกับแต่งตำรากลศาสตร์ ซึ่งรวบรวมแบบของเครื่องจักรมากกว่าร้อยชนิด ถือกันว่าตำราเล่มนี้เป็นตำราเล่มแรกที่ค้นคว้าวิจัยในเรื่องการประกอบเครื่องจักรกล

 

ลูกๆ ของมูซา อิบนุ ชากิร ถือว่า ธาราศาสตร์ (Hydraulics) เป็นส่วนหนึ่งของภาควิชากลศาสตร์ (Mechanics) ด้วยเหตุนี้พวกเราจึงพบว่าพวกเขาได้ประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยในการส่งน้ำขึ้นสู่ที่สูง เช่น หออะซาน, หอประภาคาร, ป้อมปราการ และดาดฟ้าของบ้านพักอาศัย เป็นต้น ในส่วนของอะฮฺมัด อิบนุ ชากิร ได้ประดิษฐ์เครื่องมือทางการเกษตรที่จะส่งเสียงดังออกมาแบบออโตเมติกเมื่อน้ำที่ถูกส่งเข้าสระกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตรถึงระดับที่กำหนดเอาไว้ การเกษตรกรรมในยุคนั้น จึงเจริญรุดหน้าเป็นอันมาก พวกเขายังได้ศึกษาเรื่องจุดรวมน้ำหนักหรือศูนย์ถ่วง (center of gravity) วิชานี้จะเกี่ยวกับวิธีการหาผลลัพธ์ของน้ำหนักของวัตถุที่ถูกแบกและพวกเขายังได้เขียนงานวิจัยเป็นอันมากในเรื่องนี้ ซึ่งบ่งชี้ว่าพวกเขามีความชำนาญการอย่างยาวนานในภาควิชานี้

 

ลูกๆ ของมูซา อิบนุ ชากิร ได้ค้นพบวิธีการใหม่สำหรับการวาดรูปทรงวงรี (รูปไข่) Elliptical โดยฝังเข็ม 2 อัน ในจุด 2 จุด และเอาเส้นด้ายที่ยาวกว่าระยะจุด 2 จุด เป็น 2 เท่า แล้วผูกปลายเส้นด้ายทั้งสองเป็นปม แล้ววางเส้นด้ายรอบเข็ม 2 อันนั้น และสอดดินสอเข้าไปในเส้นด้าย ขณะที่หมุนดินสอเป็นวงก็จะเกิดเป็นรูปทรงวงรี (รูปไข่) ออกมา เรียกจุด 2 จุดนี้ว่า “จุดรวมทั้งสองหรือโฟกัส (focus, focal point) 2 จุดของรูปวงรี”

 

จริงๆ แล้ว มูซา อิบนุ ชากิร ได้ทำให้บ้านของตนเป็นมหาวิทยาลัย และลูกๆ ของเขาก็คือ นักศึกษาผู้ปราชญ์เปรื่อง เราจึงพบว่า มุฮำมัด ลูกชายคนโต ได้รับชื่อเสียงเป็นอันมากในสาขาการเมืองการปกครอง, วิชาดาราศาสตร์, คณิตศาสตร์, ปรัชญาและการแพทย์ รวมถึงการมีส่วนร่วมของเขาในภาควิชากลศาสตร์ เขาเป็นที่รู้จักกันในนาม “ฮะกีม (ปราชญ์) แห่งตระกูลมูซา” ในขณะที่ อะฮฺมัด ซึ่งเป็นลูกชายคนกลางให้ความสนใจในการสร้างผลงานเชิงวิทยาศาสตร์ประยุกต์และเครื่องไม้เครื่องมือจักรกลส่วนอัลฮะซัน เขากลายเป็นผู้นำแห่งยุค ในภาควิชาเรขาคณิต และสามารถไขปัญหาที่ซับซ้อนให้กับผู้คนร่วมสมัย จนกระทั่งเป็นที่โปรดปรานของค่อลีฟะฮฺ อัลมะอฺมูน

 

กล่าวโดยสรุป ลูกๆ ของมูซา อิบนุ ชากิร ได้ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์มากมาย อาทิเช่น ทฤษฎีการสร้างน้ำพุ,นาฬิกาทองเหลือง และเครื่องมือจักรกล ซึ่งถูกใช้ในวิชาดาราศาสตร์, เครื่องเล่นของเด็กและอุปกรณ์ภายในบ้าน การประดิษฐ์คิดค้นของลูกๆ ของมูซา อิบนุ ชากิร ได้มอบความคิดใหม่ๆ ทางเทคโนโลยี เป็นเรื่องน่าเศร้าจริงๆ ที่ว่า นักวิทยาศาสตร์ตะวันตกได้เผยแพร่ความคิดที่หลอกลวงและเป็นเท็จ นั่นคือ การอ้างว่าชาวอาหรับ-มุสลิม ให้ความสนใจเป็นการเฉพาะกับภาควิชามนุษยศาสตร์ (humanities) โดยละเลยภาควิชาเกี่ยวกับทฤษฎี (theoretically) และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (applied science) ผลงานของตระกูลมูซา อิบนุ ชากิร ที่ได้นำเสนอเอาไว้นั้น ได้หักล้างคำกล่าวอ้างนั้นโดยสิ้นเชิง
أولى لك أن تتألم لأجل الصدق .. من أن تكافأ لأجل الكذب

การที่ท่านยอมเจ็บปวดเพื่อความสัจจริง มันดีเสียกว่า ที่ท่านอยู่อย่างสุขสบายเพราะการโกหกปลิ้นปล้อน

ออฟไลน์ Wan Ahmad

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 58
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +31
    • ดูรายละเอียด
Re: บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่โลก(ทำเป็น)ลืม
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ธ.ค. 09, 2013, 08:45 PM »
+2


อิบนุ ฮัมซะฮฺ อัลมัฆริบี่ย์ เป็นนักวิชาการในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่มีความเจนจัดในวิชาคำนวณ ไม่ทราบปีที่เกิดและปีที่เขาเสียชีวิต เขามีเชื้อสายแอลจีเรีย และใช้ชีวิตช่วงหนึ่งในนครอิสตันบูลโดยศึกษาและเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ เขาพูดภาษาตุรกี (เตอร์กิช) ได้ดี จนแต่งตำราภาษาตุรกีที่โด่งดังของเขาที่ชื่อ “ตุฮฺฟะฮฺ อัลอะอฺดาด ลิซะวี อัรรุชฺดิ วัซซะด๊าด”

 

นักบูรพาคดีบางคนแสร้งทำเป็นไม่รู้ถึงผลงานทางวิชาการของอิบนุ ฮัมซะฮฺ อัลมัฆริบี่ย์ เพราะนั่นจะทำให้พวกเขาจำต้องนำเสนอการมีส่วนร่วมอย่างสำคัญยิ่งของ อิบนุ ฮัมซะฮฺ อัลมัฆริบี่ย์ในวิชา Logarithm ซึ่งพวกเขาไม่ปรารถนาเช่นนั้น พวกเขายืนกรานว่า นาบิแอร์ ชาวสก็อตแลนด์ คือผู้คิดค้นที่แท้จริงของวิชา Logarithm และปฏิเสธบทบาทของอิบนุ ฮัมซะฮฺ อัลมัฆริบี่ย์โดยสิ้นเชิง ทั้งๆ ที่เขาคือผู้วางศิลาก้อนแรกๆ ของวิชานี้ พวกนักบูรพาคดีรู้ดีแก่ใจว่าวิชา Logarithm เป็นเนื้อหาสำคัญมากๆ ในวิชาคณิตศาสตร์ ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงไม่เห็นว่า เป็นผลดีแต่อย่างใดในการยอมรับถึงสิ่งที่นักวิชาการชาวอาหรับมุสลิมได้นำเสนอเอาไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้

 

อิบนุ ฮัมซะฮฺ อัลมัฆริบี่ย์เป็นที่รู้จักกันว่ามีความโปร่งใสทางวิชาการ เขาจะอ้างและระบุถึงนักวิชาการที่เขาถ่ายทอดตลอดจนยอมรับถึงคุณูปการของนักวิชาการเหล่านั้น ซึ่งเขาอาศัยข้อมูลและทฤษฎีในการค้นพบวิชา Logarithm

 

ตำรา “ตุฮฺฟะตุ้ล อะอฺด๊าดฯ” ของอิบนุ ฮัมซะฮฺ นับเป็นตำราอ้างอิงสำคัญในวิชาคำนวณ ทั้งนี้เพราะเขาใช้วิธีการแบบใหม่ในการแบ่งบทต่างๆ ของตำราเล่มนี้ และค้นคว้าปัญหาในวิชาคำนวณซึ่งผู้คนในทุกวันนี้ยังคงใช้กันอยู่ อีกทั้งยังได้นำเสนอปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับพื้นที่และขนาดหรือปริมาตร

 

ในปัจจุบัน ความคิดที่ว่า อิบนุ ฮัมซะฮฺ อัลมัฆริบี่ย์ ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขและเรขาคณิต ซึ่งนำไปสู่การค้นพบวิชา Logarithm เป็นความคิดที่ชัดเจนต่อหน้านักประวัติศาสตร์ในภาควิชาคณิตศาสตร์และนาบิแอร์นั้นมีส่วนสำคัญในการพัฒนาวิชาแขนงนี้ และนาบิแอร์กับเฮนรี่ บรอกซ์ ชาวอังกฤษ ทั้งสองคนคือผู้แรกที่วางตารางในวิชา Logarithm

 

มีความคลาดเคลื่อนในหมู่ผู้คนว่า รากศัพท์อันเป็นที่มาของคำ A Logarithm นั้นมาจากคำว่า Alguarisms คือ อัลคุวาริซมี่ยาตฺ ซึ่งอ้างถึง มุฮำมัด อิบนุ มูซา อัลคุวาริซฺมี่ย์ นักปราชญ์มุสลิมผู้ยิ่งใหญ่ โดยเข้าใจกันว่า อัลคุวาริซฺมี่ย์ เป็นนักวิชาการคนแรกที่มีผลงานในเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่ข้อเท็จจริงนั้นปรากฏว่า อัลคุวาริซฺมี่ย์ไม่เคยมีส่วนร่วมในเรื่องนี้แต่อย่างใด และถ้าหากคำว่า Logarithm ถูกนำเอามาจากชื่อของอัลคุวาริซฺมี่ย์จริง ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในวิชา Logarithm นั้นคือ ซินาน อัลฮาซิบ, อิบนุยูนุส อัซซ่อดะฟี่ย์, อิบนุ ฮัมซะฮฺ อัลมัฆริบี่ย์, นาบิแอร์ และบรอกซ์ วัลลอฮุอะอฺลัม
أولى لك أن تتألم لأجل الصدق .. من أن تكافأ لأجل الكذب

การที่ท่านยอมเจ็บปวดเพื่อความสัจจริง มันดีเสียกว่า ที่ท่านอยู่อย่างสุขสบายเพราะการโกหกปลิ้นปล้อน

ออฟไลน์ Wan Ahmad

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 58
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +31
    • ดูรายละเอียด
Re: บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่โลก(ทำเป็น)ลืม
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: ธ.ค. 09, 2013, 08:48 PM »
+1


กุสฏอ บิน ลูกอ (ลูกา) อัลบะอฺละบะกีย์ เราไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดเมื่อใด แต่เขาเสียชีวิตในแคว้นอาร์เมเนีย เมื่อปี ฮ.ศ.300 เขาเป็นพลเมืองชาม (ซีเรีย) ถือในศาสนาคริสต์ มีเชื้อสายกรีก ชื่อเสียงของเขาเป็นที่เลื่องลือในรัชสมัย ค่อลีฟะฮฺ อัลมุกตะดิร บิลลาฮฺ แห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ ซึ่งสิ้นพระชนม์ในปี ฮ.ศ.320 และครองอำนาจระหว่างปี ฮ.ศ.295-296

 

กุสฏอ มีความชำนาญในภาษากรีก, ซุรยานียะฮฺและภาษาอาหรับ ส่วนหนึ่งจากตำราภาษากรีก ซึ่งกุสฏอได้แปลเป็นภาษาอาหรับ ได้แก่ ตำรา Autolycus, ตำรา Aristarchus, ตำรา Theodoius, ตำรา Heron, ตำรา Hypsicles และตำรา Diophantus เป็นต้น ตำราที่กุสฏอได้แปลนั้นยังรวมถึงตำราในสาขาวิชาธรรมชาติวิทยา โดยเฉพาะตำราการแพทย์ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก

 

กุสฏอ บิน ลูกอ อัลบะอฺละบะกีย์ได้ให้ความสนใจในเรื่องมาตราน้ำหนักและการชั่งตวง จนกระทั่งมาตรฐานการชั่งตวงของชาวอาหรับมีความแม่นยำเป็นอย่างมาก โดยมีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่า 4/1,000 ส่วนจากวัตถุหนึ่งชิ้น เรื่องนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือของเขาที่ชื่อ “อัลเอาซาน-วัลมะกายีล”

 

ในส่วนตำราที่กุสฏอ บิน ลูกอ อัลบะอฺละบะกีย์ได้แต่งนั้นมีเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น

1. ตำราว่าด้วยส่วนที่ไม่สามารถแบ่งได้

2. ตำราว่าด้วยการแบ่งระหว่างสัตว์ที่พูดได้กับสัตว์ที่พูดไม่ได้

3. ตำรารูปทรงกลม

4. ตำราดาราศาสตร์

5. ตำราว่าด้วยแว่นขยาย

6. ตำราบทนำในวิชาตรรกวิทยา

7. ตำรา “มารยาทหรือจรรยาบรรณนักปรัชญา”

8. ตำราหลักมูลฐานเรขาคณิต เป็นต้น
أولى لك أن تتألم لأجل الصدق .. من أن تكافأ لأجل الكذب

การที่ท่านยอมเจ็บปวดเพื่อความสัจจริง มันดีเสียกว่า ที่ท่านอยู่อย่างสุขสบายเพราะการโกหกปลิ้นปล้อน

 

GoogleTagged