ผู้เขียน หัวข้อ: อัล บานีย์ เป็นนักวิชาการ ฮาดีษ จริงหรือ? โดย Wbb (ไตรภาค)  (อ่าน 1308 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ เสี่ยวเอ้อ

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 59
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด

ตอนที่1

พี่น้องที่เคารพรัก...

หากพี่น้อง ได้พิจารณาดู ตำราวิชาการศาสนา ในยุคปัจจุบัน
หรือ เป็นหนังสือ วิชาการศาสนาของ นักปราชญ์ในอดีตที่ได้มีการ
ตรวจสอบผู้รายงานฮาดีษ โดยนักวิชาการในปัจจุบัน

ซึ่งเราจะเห็นว่า มักมีการใช้ หนังสือ ตรวจสอบฮาดีษ ของ ท่าน

“ เชค นาศีรุดดีน อัล-บานีย์ ” มาเป็นหลักอ้างอิง เสียเป็นส่วนมาก...

คำถามก็คือ

ขบวนการในลักษณะนี้ มีนัยยะอะไรแอบแฝงอยู่หรือเปล่า?

อยู่ๆ ชายคนหนึ่งที่วันดีคืนดีก็กลับกลายเป็น “นักวิชาการ ฮาดีษ” ผู้ไร้เทียมทาน ในสังคม ของชาววาฮาบีย์ ไปอย่างน่าอัศจรรย์กระนั้นหรือ?

โดยที่ไม่มีใครได้รับทราบว่า วิถีทางการแสวงหาวิชาความรู้ของ ท่านผู้มีชื่อ ว่า นาศีรุดดีน อัล-บานีย์ นี้เป็นอย่างไร?

แล้วใครคือ ครูบาอาจารย์ผู้คอยค้ำจุน อยู่เบื้องหลังของ นักวิชาการ
ฮาดีษ ผู้ลึกลับ คนนี้?

พี่น้องครับ...

ผู้ที่จะมีคุณสมบัติ ความเป็นนักวิชาการ ฮาดีษ ได้นั้น จะต้องมีขั้นตอนของทฤษฎีและข้อเท็จจริง อันซับซ้อนเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

ซึ่งสำหรับบทความนี้ ผมจะขอนำเสนอเนื้อหาบางประเด็นเพื่อเป็นแนวทางการตัดสินใจของพี่น้องกันเองนะครับว่า

ชายผู้มีชื่อว่า “ นาศีรุดดีน อัล-บานีย์” ท่านนี้ มีความชอบธรรมเพียงใดที่เราจะโอบกอดเอาไว้ในอ้อมแขน และพร้อมจะปกป้องเขา ในฐานะ ทายาทแห่งวิชาการ ของท่านศาสดา (ศอลลัลลอฮูอาลัยฮิวาซัลลัม)...

และ ชายคนนี้ มีความชอบธรรมเพียงไร ทีเราจะนำ ผลงานด้าน วิชาการของเขามา ยึดถือเป็นแนวทางการอ้างอิง....

ขอ อัลลอฮฺ โปรดรับ อามาล ของ ข้าพเจ้านี้ด้วยเถิด... อามีน



...วิชาการ ฮาดีษ...


เมื่อเอ่ยถึง วิชาการ ฮาดีษ แล้ว โดยหลักพื้นฐานนั้น จะประกอบไปด้วย 2 องค์ประกอบหลัก นั่นก็คือ

“วิชาการ ฮาดีษ แบบ รีวายะฮฺ” และ “วิชาการ ฮาดีษ แบบ ดีรอยะฮฺ”

ซึ่ง วิชาการฮาดีษแบบ ดีรอยะฮฺ นี่เอง ที่เราทราบกันดี ในชื่อเรียกว่า
“ มุศฏอลาฮฺ อัล ฮาดีษ ” หรือ หลักพิจารณา ฮาดีษ นั่นเอง


โดยวิชาการประเภทนี้ จะพิจารณา ในส่วนของ ตัวผู้รายงานฮาดีษ,
สภาพของสายรายงาน(ซานัด) และตัวบทฮาดีษ(มะตั่น) ว่าจะ ศอเฮี้ยะ, ฮาซัน หรือ ฎออีฟ (อีกนัยยะหนึ่งก็คือ จะยอมรับได้หรือไม่ได้นั่นเอง)

ส่วน วิชาการ ฮาดีษ แบบ รีวายะฮฺ นั้น จะศึกษาเกี่ยวกับ คำพูด ,
การกระทำ และ การยอมรับ ของท่านศาสดา
(ศอลลัลลอฮู อาลัย ฮิวาซัลลัม)ตลอดจน กริยามารยาทและชีวประวัติของท่าน ศาสดาโดยองค์รวม...

ดังนั้น...

ผู้ที่จะเป็นปราชญ์ฮาดีษได้นั้น จะต้องรอบรู้ ทั้ง 2 องค์ประกอบของ
วิชาฮาดีษนี้อย่างละเอียด โดยไม่สามารถ จะเลือกเอาแขนงใดแขนงหนึ่งโดยลำพังได้...

หากเราค้นคว้าศึกษาดู ตำรา หลักพิจารณาฮาดีษ หลายๆเล่มแล้ว
เราจะพบว่า ท่าน อีหม่าม บุคอรีย์(ร.ฮ) เองนั้น

สามารถจดจำ ฮาดีษได้ถึง 300,000 บทด้วยกัน

โดย 100,000 บทในนั้น คือ ฮาดีษ ที่ท่านพิจารณาแล้วว่า ศอเฮี้ยะ

และ อีก 200,000 ฮาดีษนั้น ท่านตัดสินว่ามัน ฎออีฟ ซึ่งทั้ง 300,000 ฮาดีษนั้น ท่านสามารถจดจำมัน พร้อมกับสายรายงานของมันได้ทั้งหมด

(โปรดดู “ ชัรฮุ ตักรีบ อัน-นาวาวีย์ เล่ม 1 หน้า 13 ประกอบนะครับ)

(ติดตาม ตอนที่ 2 นะครับ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มี.ค. 08, 2014, 03:25 PM โดย Wanahmad »

ออฟไลน์ เสี่ยวเอ้อ

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 59
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
ตอนที่ 2

พี่น้องที่รักครับ...

หากจะว่าไปแล้ว วิชาการ ฮาดีษ นั้นก็มีลักษณะคล้ายๆกับ วิชาการ
กีรออะฮฺ อัล-กุรอ่าน(วิชาการอ่าน อัล-กุรอ่าน) เลยนะครับ
ที่ผมกล่าวอย่างนี้ก็เพราะว่า วิชาการในลักษณะนี้ พวกเราไม่อาจเรียนรู้ ได้เพียงแค่ ทฤษฎีที่บันทึกอยู่ในตำรา เพียงเท่านั้น หากแต่ว่า เราจำเป็นต้องเรียนรู้ โดยผ่านการ ชี้นำและแจกแจง จากการอ่าน ของเหล่า คณาจารย์ ผู้สันทัด อย่างแท้จริง หรือไม่ก็ รับกันโดยตรงมาจากปาก
ครูบาอาจารย์ในขณะเรียนก็ได้

ลักษณะนี้ ภาษา บ้านๆเขาเรียกกันว่า “ต้องผ่านครู” นั่นเอง

....กฏเกณฑ์ ของการเป็น “ นักวิชาการ ฮาดีษ” และ “ อัล-ฮาฟีซ”....


พี่น้องครับ...

ท่าน อีหม่าม อัล-ฮาฟิซ อัซ-ซายูฏีย์ ได้รวบรวมหลักเกณฑ์จากบรรดา
อุลามะอฺ ระดับแนวหน้าหลายท่าน เกี่ยวกับเรื่องราว ของการที่ บุคคลหนึ่งจะได้รับ สถานะ เป็น “นักวิชาการ ฮาดีษ” หรือ รับ ขนานนาม ว่า “อัล-ฮาฟิซ” ไว้ดังนี้



قَالَ الشَّيْخُ فَتْحُ الدِّينِ بْنِ سَيِّدِ النَّاسِ وَأَمَّا الْمُحَدِّثُ فِي عَصْرِنَا فَهُوَ

مَنِ اشْتَغَلَ بِالْحَدِيْثِ رِوَايَةً وَدِرَايَةً وَاطَّلَعَ عَلَى كَثِيْرٍ مِنَ الرُّوَاةِ وَالرِّوَايَاتِ

فِي عَصْرِهِ, وَتَمَيَّزَ فِي ذَلِكَ حَتَّى عُرِفَ فِيْهِ حِفْظُهُ وَاشْتَهَرَ فِيْهِ ضَبْطُهُ.

فَإِنْ تَوَسَّعَ فِي ذَلِكَ حَتَّى عَرَفَ شُيُوْخَهُ وَشُيُوْخَ شُيُوْخِهِ طَبْقَةً بَعْدَ

طَبْقَةٍ، بِحَيْثُ يَكُوْنَ مَا يَعْرِفُهُ مِنْ كُلِّ طَبْقَةٍ أَكْثَرَ مِمَّا يَجْهَلُهُ مِنْهَا، فَهَذَا هُوَ الْحَافِظُ

ความว่า

“ ท่าน เชค ฟัตฺฮุดดีน บิน ซัยยีดิน นาส ได้กล่าวว่า ...

“ผู้ที่เป็นนักวิชาการฮาดีษ ในยุคของเรานี้ ก็คือ ผู้ที่ทุ่มเทกายใจ ไปกับเรื่องราวของฮาดีษ ทั้งด้าน รีวายะฮฺ และ ด้าน ดีรอยะฮฺ
(มุศฏอละฮฺ ฮาดีษ) และเขายัง ได้รู้จัก กับบรรดา ผู้รายงานฮาดีษส่วนมากในยุคของเขา ตลอดจนได้รู้จักสายรายงานต่างๆได้เป็นอย่างดี

อีกทั้ง ยังต้องมีความโดดเด่นในเรื่องดังกล่าว จนเป็นที่รับทราบถึง
การจดจำของเขา และเป็นที่ล่ำลือโจษจัน กันถึง การบันทึกฮาดีษของเขา...

และหากว่าเขามีความเจนจัดในเรื่องดังกล่าวเกินไปกว่านั้น จนถึงขนาดที่ว่า เขาได้รู้จัก ครูบาอาจารย์(ด้านฮาดีษ)ของเขา และ เหล่าคณานุจารย์ของบรรดา ครูบาอาจารย์ของเขา ใน ระดับต่างๆ...

ประมาณว่า บรรดาคณาจารย์จากระดับต่างๆที่เขาได้รู้จักนั้น มีจำนวนมากกว่า บรรดาครูบาอาจารย์ที่เขาไม่รู้จัก...

(หากเป็นเช่นนั้น)บุคคลนั้น ถือได้ว่า เป็น “ อัล-ฮาฟิซ”

(โปรดดูใน تدريب الرّاوي في شرح تقريب النّواوي เล่มที่ 1 หน้า 11 )



....การเรียนรู้เอง(โดยไม่ผ่านครูบาอาจารย์)ไม่ถือเป็น ปราชญ์ ฮาดีษ...

...พี่น้องที่รัก...

ผู้ที่เรียนรู้เองจากการอ่านในตำราเพียงอย่างเดียวโดยปราศจากครู
คอยชี้แนะแจกแจง หรือที่เรียก กันตามหลักวิชาการ ว่า

“ศอฮาฟียฺ” นั้น...

บรรดาอุลามะอฺ เขาได้ให้คำจำกัดความว่า

الصَّحَفِيّ) مَنْ يَأْخُذُ الْعِلْمَ مِنَ الصَّحِيْفَةِ لاَ عَنْ أُسْتَاذٍ

ความว่า

“ ศอฮาฟียฺ นั้น ก็คือ ผู้ที่ศึกษาค้นคว้า วิชาความรู้ มาจากตำรา โดยที่ไม่ได้ ถ่ายทอดมาจาก ครูบาอาจารย์”

( โปรดดู มุอฺญัม อัล-วาซีฎ เล่มที่ 1 หน้าที่ 508 )


يَقُوْلُ الدَّارِمِي مَا كَتَبْتُ حَدِيْثًا وَسَمِعْتُهُ يَقُوْلُ لاَ يُؤْخَذُ الْعِلْمُ مِنْ صَحَفِيٍّ

ความว่า

“ อัด ดารีมีย์(ปราชญ์ฮาดีษท่านหนึ่ง)ได้กล่าวว่า ...

“ฉันไม่ได้เขียน ฮาดีษ สักบทหนึ่งเลย(แต่ฉันท่องและจดจำมันแทน)

ท่านยังได้กล่าวอีกว่า...

“ขออย่าได้ร่ำเรียนวิชา จาก ศอฮาฟียฺ(ผู้ที่เรียนรู้เอง)เลย”

(โปรดดู “ ซียัร อะอฺลาม อัล-นุบาลาอฺ” ของท่าน อีหม่าม อัซ-ซาฮาบีย์
ที่ได้ตรวจทานโดย ท่าน ชูอัยบฺ อัล-อัรเนาฏฺ เล่มที่ 8 หน้าที่ 34 )



ท่าน ชูอัยบฺ อัล-อัรเนาฏฺ ได้โน้ต ความหมายของ คำว่า “الصَّحَفِيُّ”
ไว้ด้านล่างหนังสือของท่านว่า



الصَّحَفِيُّ مَنْ يَأْخُذُ الْعِلْمَ مِنَ الصَّحِيْفَةِ لاَ عَنْ أُسْتَاذٍ وَمِثْلُ هَذَا لاَ يُعْتَدُّ بِعِلْمِهِ لِمَا يَقَعُ لَهُ مِنَ الْخَطَأِ

ความว่า

“ อัศ-ศอฮาฟีย์ คือ ผู้ที่ศึกษาค้นคว้า วิชาความรู้ มาจากตำรา โดยที่ไม่ได้รับการ ถ่ายทอดมาจาก ครูบาอาจารย์...

และคนจำพวกนี้ ไม่ได้ถูกนับว่าเขามีความรู้

เนื่องจากความผิดพลาดที่ ได้เกิดขึ้นแก่ตัวของเขา(เพราะไม่อาจทราบได้ว่าสิ่งที่เขาเข้าใจนั้นถูกต้องหรือเปล่า)



พี่น้องครับ...

แล้ว ผู้ที่ค้นคว้าศึกษา ฮาดีษ เอาเองโดยปราศจากครูบาอาจารย์นั้น สมควรได้รับ การยกย่องให้เป็น ปราชญ์ฮาดีษ หรือเปล่าครับ?

สำหรับเรื่องนี้ ท่าน เชค นาศิร อัล-อาซัด ได้ตอบเอาไว้ว่า

أَمَّا مَنْ كَانَ يَكْتَفِي بِاْلأَخْذِ مِنَ الْكِتَابِ وَحْدَهُ دُوْنَ أَنْ يُعَرِّضَهُ عَلَى الْعُلَمَاءِ

وَدُوْنَ أَنْ يَتَلَقَّى عِلْمُهُ فِي مَجَالِسِهِمْ فَقَدْ كَانَ عَرَضَةً لِلتَّصْحِيْفِ

وَالتَّحْرِيْفِ، وَبِذَلِكَ لَمْ يَعُدُّوْا عِلْمَهُ عِلْمًا وَسَمُّوْهُ صَحَفِيًّا لاَ عَالِمًا .... فَقَدْ

كَانَ الْعُلَمَاءُ يُضَعِّفُوْنَ مَنْ يَقْتَصِرُ فِي عِلْمِهِ عَلَى اْلأَخْذِ مِنَ الصُّحُفِ مِنْ

غَيْرِ أَنْ يَلْقَى الْعُلَمَاءَ وَيَأْخُذَ عَنْهُمْ فِي مَجَالِسِ عِلْمِهِمْ، وَيَسُمُّوْنَهُ صَحَفِيًّا

ความว่า

“ อนึ่ง ผู้ใดที่ศึกษาวิชา โดยทำการค้นคว้า จากตำราเพียงอย่างเดียว...ปราศจากการ นำเสนอความรู้เหล่านั้น ต่อ หน้าบรรดา ปวงปราชญ์
และปราศจากการ พบปะกับเหล่า อุลามะอฺในวงวิชาการ...
แท้จริง เขาได้นำตนเองสู่ความ บิดเบือนเสียแล้ว...

และด้วยเหตุนี้ เหล่าปวงปราชญ์จึงไม่นับความรู้ของ คนผู้นั้น ว่าเป็นความรู้ และ พวกเขาจะเรียก คนผู้นั้นว่า “ ศอฮาฟียฺ” ไม่ใช่ “ อาลีม”
(คือเรียกว่า ผู้เรียนรู้เอง ไม่ใช่ ผู้มีความรู้ )...

แท้จริง บรรดา อุลามะอฺ ได้ถือว่า ผู้ที่จำกัดการเรียนรู้ไว้กับการค้นคว้าจากตำราเพียงอย่างเดียวโดยปราศจากการพบปะเหล่าอุลามะอฺและรับการถ่ายทอดวิชาการมาจากอุลามะอฺโดยตรง...มีสถานะที่ ฎออีฟ...
และพวกเขาก็ขนานนาม บุคคลประเภทนี้ ว่า “ศอฮาฟีย์"......”

(โปรดดู ใน “مصادر الشعر الجاهلي للشيخ ناصر الاسد “ หน้าที่ 10 )

พี่น้องครับ....

เรื่องราว เกี่ยวกับ การเสาะแสวงหาความรู้ด้านฮาดีษโดยปราศจาก
ครูบาอาจารย์นี้ ไม่ใช่ว่าเพิ่งเคยเกิดขึ้นนะครับ...

ความจริงมันเคยเกิดขึ้นมานานแล้ว เราลองดูคำกล่าวของท่าน
อัล-ฮาฟิซ อิบนุฮาญัร อัล-อัซกอลานีย์ ในการแสดงทรรศนะต่อ
ชายคนหนึ่งที่มีลักษณะดังกล่าวดูสิครับ

فَإِنَّهُ (اَيْ أَبَا سَعِيْدِ بْنِ يُوْنُسَ) كَانَ صَحَفِيًّا لاَ يَدْرِي مَا الْحَدِيْثُ

ความว่า

“ความจริงแล้ว เขา(หมายถึง อาบู ซาอีด บิน ยูนุซ) เป็นผู้ที่ ศอฮาฟีย์(เรียนรู้ด้วยตัวเองปราศจากครูบาอาจารย์) ซึ่งเขาเองไม่ทราบว่า ฮาดีษ นั้นมันคืออะไร”


(โปรดดูใน “ ตะฮฺซีบ อัต-ตะฮฺซีบ” ของท่านอิบนุฮาญัร เล่มที่ 6หน้าที่ 347 )


ท่าน อัล-ฮาฟิซ อิบนุ อัน-นัญญารฺ ได้กล่าวในทำนองเดียวกันว่า

عُثْمَانُ بْنُ مُقْبِلِ بْنِ قَاسِمِ بْنِ عَلِيٍّ أَبُوْ عَمْرٍو الْوَاعِظُ الْحَنْبَلِيُّ .... وَجَمَعَ لِنَفْسِهِ مُعْجَمًا فِي مُجَلَّدَةٍ وَحَدَّثَ وَلَمْ يَكُنْ لَهُ مَعْرِفَةٌ بِالْحَدِيْثِ وَاْلاِسْنَادِ وَقَدْ صَنَّفَ كُتُبًا فِي التَّفْسِيْرِ وَالْوَعْظِ وَالْفِقْهِ وَالتَّوَارِيْخِ وَفِيْهَا غَلَطٌ كَثِيْرٌ لِقِلَّةِ مَعْرِفَتِهِ بِالنَّقْلِ لاَنَّهُ كَانَ صَحَفِيًّا يَنْقُلُ مِنَ الْكُتُبِ وَلَمْ يَأْخُذْهُ مِنَ الشُّيُوْخِ

ความว่า

“ ท่าน อุสมาน บิน มุกฺบิล บิน กอซิม บิน อาลี อัล-ฮัมบาลีย์...
เขาได้รวบรวม ตำรา มุอฺญัม ของเขาเอาไว้หลายเล่ม
และเป็นผู้ที่ทำการกล่าวรายงานฮาดีษ ทั้งๆที่เขาก็ไม่ได้ เข้าใจถึงเรื่องราวของฮาดีษ และ สายรายงาน..

เขาได้เรียบเรียงตำราวิชาการหลายๆเล่มที่เกี่ยวกับ ตัฟซีรฺ, ประมวลคำสอน ,ฟิกฮฺ, ประวัติศาสตร์..และปรากฏว่าเนื้อหาของมันมีความคลาดเคลื่อนเป็นอย่างมาก
เนื่องจากการที่เขานั้นมีความเข้าใจเกี่ยวกับการรายงานฮาดีษน้อยมาก...

(ที่เป็นเช่นนั้น)ก็เพราะเขาเป็นผู้ที่เรียนรู้ด้วยตัวเอง(ไม่มีครูแนะนำ)...
อ้างอิงรายงานมาจาก ตำรับตำราต่างๆ และไม่ได้นำสายรายงานนั้นมาจากเหล่าคณานุจารย์แต่อย่างใด”

(โปรดดูใน ذيل تاريخ بغداد لابن نجار เล่มที่ 2 หน้าที่ 166 )



ท่าน อิบนุเญาซียฺ อัล-ฮัมบาลีย์(เสียชีวิต ฮ.ศ.597) และท่านอีหม่าม
อัซ-ซะฮฺบีย์(เสียชีวิต ฮ.ศ.748) ต่างก็ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ
ผู้ที่เรียนรู้เอง หรือ ว่า ศอฮาฟีย์ นี้ไว้ดังนี้



(114) خَلاَسُ بْنُ عَمْرٍو الْهِجْرِي : يُرْوَي عَنْ عَلِيٍّ وَعَمَّارٍ وَأَبِي رَافِعٍ كَانَ مُغِيْرَةُ لاَ يَعْبَأُ بِحَدِيْثِهِ وَقَالَ أَيُّوْبُ لاَ يُرْوَ عَنْهُ فَإِنَّهُ صَحَفِيٌّ

ความว่า

“(ลำดับที่ 114) ท่าน คอลาส บิน อัมรฺ อัล-ฮิจญรีย์ :

ได้มีรายงานมาจาก ท่าน อาลี , อัมมารฺ, และ อาบี รอฟิอฺ ว่า...

“ ท่าน มุฆีเราะฮฺ นั้นไม่ได้มีความใส่ใจ ในฮาดีษของเขา”

และท่าน อัยยูบ ก็ได้กล่าวว่า

“ อย่าได้รายงาน ฮาดีษมาจากเขาเลย เนื่องจากเขา คือ ศอฮาฟีย์
(ที่เรียนรู้เองโดยไม่มีครูชี้แนะ)”

(โปรดดู الضعفاء والمتروكين ของ อิบนุเญาซียฺ เล่มที่1 หน้าที่255
และดู والمغني في الضعفاءของท่าน อัซ-ซะฮฺบีย์ เล่มที่ 1หน้าที่ 210 )

ท่าน อีหม่าม อัร-รอซียฺ และท่าน อิบนุ อาดียฺ ก็ได้ห้ามปรามพวกเรา
ไม่ให้เล่าเรียน ฮาดีษ จาก คน ศอฮาฟีย์(ที่เรียนรู้เองโดยปราศจาก
ครูชี้แนะ) ว่า

بَابُ بَيَانِ صِفَةِ مَنْ لاَ يُحْتَمَلُ الرِّوَايَةُ فِي اْلاَحْكَامِ وَالسُّنَنِ عَنْهُ ... عَنْ

سُلَيْمَانَ بْنِ مُوْسَى اِنَّهُ قَالَ لاَ تَأْخُذُوْا الْحَدِيْثَ عَنِ الصَّحَفِيِّيْنَ وَلاَ تَقْرَأُوْا

الْقُرْآنَ عَلَى الْمُصْحَفِيِّيْنَ

ความว่า

“ (บทที่ว่าด้วย ลักษณะของบุคคลที่ไม่อาจทำการรายงาน บทบัญญัติ และ ซุนนะฮฺต่างๆ มาจากเขาได้)...

รายงานจาก ท่าน สุลัยมาน บิน มูซา ซึ่งท่านได้กล่าวว่า
“ พวกท่านอย่าได้เล่าเรียน(รายงาน)ฮาดีษจาก เหล่า ศอฮาฟียฺ
(ที่เรียนรู้ฮาดีษเองจากตำรา)...

และพวกท่านก็อย่าได้เรียน อัล-กุรอ่าน จาก เหล่า ศอฮาฟีย์
(ที่ฝึกอ่านอัลกุรอ่าน ด้วยตนเองโดยปราศจากครูคอยแนะนำ)”

(โปรดดู الجرح والتعديل ของท่าน อีหม่าม อัร-รอซียฺ เล่ม 2 หน้า 31
และดู الكامل في ضعفاء الرجال ของอิบนุ อาดียฺ เล่มที่ 1 หน้า 156 )



พี่น้องครับ...

สรุปโดยสั้นๆเลยก็คือว่า ผู้ที่เรียนรู้ฮาดีษเองโดยปราศจากครูบาอาจารย์คอยแนะนำชี้แจงนั้น ไม่ถือว่าเป็นปราชญ์ฮาดีษ แต่อย่างใด...

และตำรับตำราตลอดจนผลงานด้านวิชาการของเขานั้น ก็ได้มีการพบเจอ จุดที่คลาดเคลื่อนออกจากความเป็นจริงไปเสียมาก ดังนั้น บรรดาอุลามะอฺจึงได้ห้ามปรามพวกเราไม่ให้ เก็บเกี่ยวและรายงานฮาดีษมาจากบุคคลเหล่านี้...


แต่ว่า เอ...ท่าน เชค นาศีรุดดีน อัล-อัลบานียฺ นั้น เป็น ศอฮาฟียฺ กับเขาด้วยหรือ?

ออฟไลน์ เสี่ยวเอ้อ

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 59
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
ตอนที่ 3 จบ

พี่น้องที่รัก...

ท่านเชค นาศีรุดดีน อัล-อัลบานีย์ มีแนวทางการศึกษา มาอย่างไร?

ท่าน เชค นาศิรุดดีน อัล-อัลบานีย์ เดิมทีนั้น กล่าวกันว่า ท่านเป็น
ช่างรับซ่อมนาฬิกา แต่เนื่องจากขวัญกำลังใจของท่าน ในการเรียนรู้เรื่อง ฮาดีษ ท่านจึงทุ่มเทเวลาที่เหลือของท่าน ไปกับการ ศึกษาฮาดีษ ที่ห้องสมุด “ อัฎ-ฎอฮีรียะฮฺ” ของกรุง ดามัสกัส ประเทศ ซีเรีย...

ว่ากันว่า ในแต่ละวันนั้น ท่านใช้เวลาอยู่ในห้องสมุด ถึง 12 ชั่วโมง เลยทีเดียว อ่านหนังสือและค้นคว้าฮาดีษ โดยไม่ได้มีเวลาพักผ่อนเลย นอกจาก เวลาละหมาด... แม้กระทั่ง อาหารการกิน ท่านก็ทานเพียงเฉพาะที่ท่าน พาไปห้องสมุดเท่านั้น...

จนสุดท้าย เจ้าหน้าที่ห้องสมุดได้มอบ มุมว่างของห้องสมุด ให้ท่านอ่านหนังสือเป็นการส่วนตัว และยิ่งไปกว่านั้น ภายหลังท่านได้รับ สิทธิ์ให้เป็นผู้ถือกุญแจ ของห้องสมุดเลยทีเดียว
และด้วยเหตุนี้ ท่าน อัล-บานีย์ จึงมีโอกาสค้นคว้าตำราจากหลายๆแหล่ง ได้อย่างอิสระ

หากเราพิจารณาประวัติการเรียนรู้ของท่าน อัล-บานีย์ข้างต้นโดยรวมแล้ว.. . ก็บรรจวบเหมาะพอดีกับ เรื่องราวที่ผมจะนำเสนอต่อไปนี้เลยครับ

เรื่องก็คือ มีชายคนหนึ่ง มาจาก เมือง มาฮามี ได้ถามท่านเชค อัล-บานีย์ ว่า

“ท่านเป็น ปราชญ์ฮาดีษ ใช่ไหมครับ?”
ท่าน เชค อัล-บานีย์ ได้กล่าวตอบว่า “ ใช่แล้วครับ”
ชายคนนั้นกล่าวต่อไปว่า
“ช่วย บอก ฮาดีษ พร้อมสายรายงาน ให้ผม สัก 10 ฮาดีษได้ไหมครับ?”

ท่าน เชค อัล-บานีย์ ได้กล่าวตอบว่า

“ ฉันไม่ใช่ปราชญ์ฮาดีษแบบจดจำหรอก ฉันเป็นปราชญ์ฮาดีษแบบตำรา”

ชายคนนั้นกล่าวต่อไปว่า “ ถ้าอย่างนั้น ผมก็รายงานฮาดีษได้สิครับ หากว่าใช้ตำราฮาดีษ มารายงานกัน”

ปรากฏว่า ท่าน เชค อัล-บานีย์ ก็เงียบไปโดยปริยาย...”

เดี่ยวพี่น้องจะหาว่าผมแต่งขึ้นมาเองนะครับ.. พี่น้องไปหาอ่านได้
ในหนังสือ ของท่าน เชค อับดุลลอฮฺ อัลฮารอรีย์ ที่ชื่อว่า
“ ตับยีน ฎอลาลาต อัล-บานีย์” หน้าที่ 6 )


พี่น้องครับ

เรื่องดังกล่าวนั้น ชี้ให้เห็นว่า ท่าน เชค อัล-บานีย์ นั้น คือ ศอฮาฟีย์ หรือ เราเรียกกันว่า ผู้เรียนรู้ฮาดีษเองโดยปราศจากครูบาอาจารย์ นั่นเอง
ซึ่งท่านเอง ก็ยอมรับว่า ท่านนั้นไม่ได้จดจำฮาดีษ...
และหากว่ากันตามหลัก พิจารณาฮาดีษ แล้ว... บุคคลผู้รายงานฮาดีษ นั้นหากว่าเขา มีความจำไม่ดี สถานะฮาดีษก็จะ ฎออีฟ(อ่อน)ไปโดยปริยาย...

แล้วผลงาน ด้านวิชาการในศาสตร์ฮาดีษ ของบุคคลที่ไม่อาจจดจำ
ฮาดีษได้นั้น จะมีสถานะอย่างไร ...

แน่นอนครับว่า มันจะต้องมี ลักษณะ ฎออีฟ และ มีความคลาดเคลื่อนเป็นอย่างมากเลยทีเดียว...

แล้วเราทราบอย่างไรหล่ะครับ ว่า ท่าน เชค อัล-บานีย์ นั้นปราศจากครูบาอาจารย์ผู้สันทัดในวิชาการฮาดีษ คอยชี้นำ?

คำตอบนี้ เรารับทราบได้จาก หนังสือ ชีวประวัติของท่าน ที่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่าน ได้เรียบเรียงขึ้น เช่น

“ ฮายาตุล อัล-บานีย์” ของท่าน อัช-ชัยบานีย์
หรือ “ ษาบาต มุอัลลาฟาต อัล-บานีย์” ของท่าน อับดุลลอฮฺ บิน มูฮัมหมัด อัช-ชัมรอนีย์ เป็นต้น

พี่น้องที่รัก...

โดยปกติแล้ว เมื่อเราเปิดอ่านตำรา ชีวประวัติของ บรรดานักปราชญ์แห่งโลกอิสลามแล้ว ในส่วนแรกนั้น เรามักจะได้พบเรื่องราววิถีแห่งการเรียนรู้ตลอดจนบรรดาครูบาอาจารย์ของพวกเขาเหล่านั้น ในสาขาวิชาต่างๆ

แต่เป็นที่น่าแปลกว่า สิ่งเหล่านี้กลับไม่พบเจอใน หนังสือ ชีวประวัติของ ท่าน เชค อัล-บานีย์ เลย แต่สิ่งที่เรากลับพบ เป็นเพียงแค่การกล่าวเอาไว้โดยรวมเท่านั้นเอง ลองดูสิครับ

عُرِفَ الشَّيْخُ اْلأَلْبَانِي رَحِمَهُ اللهُ بِقِلَّةِ شُيُوْخِهِ وَبِقِلَّةِ إِجَازَاتِهِ . فَكَيْفَ اسْتَطَاعَ أَنْ يُلِّمَّ بِالْعُلُوْمِ وَلاَ سِيَّمَا عِلْمِ الْحَدِيْثِ وَعِلْمِ الْجَرْحِ وَالتَّعْدِيْلِ عَلَى صُعُوْبَتِهِ ؟

ความว่า

“เป็นที่รับทราบกันว่า ท่าน เชค อัล-บานีย์ นั้นมี ครูบาอาจารย์และการ
อิญาซะฮฺ(คำอนุญาตให้ทำการรายงานฮาดีษ)เพียงแค่น้อยนิด...

แล้วไฉนเล่าที่ท่าน จะมีความสามารถทำความเข้าใจแขวงวิชาการต่างๆได้อย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิชาเกี่ยวกับฮาดีษ และวิชาที่ว่าด้วย การตรวจสอบสถานะของผู้รายงานฮาดีษ ที่มีความลำบากซับซ้อน?”

(โปรดดูใน ثبت مؤلفات الألباني ของท่าน อับดุลลอฮฺ อัช-ชัมรอนีย์)


พี่น้องครับ

นี่ถือเป็นการยอมรับและเป็นคำถามหนึ่ง ที่ศิษย์ของ อัล-บานีย์ คนนี้ไม่เคยที่จะได้รับคำตอบ ของมันเลยเสมอมา



.....ความผิดพลาดของ ท่าน อัล-บานีย์ ถูกผู้ติดตามท่าน ให้การตำหนิ....

ท่าน อับดุลลอฮฺ อัด ดาวีชย์ ซึ่งถือว่า เป็นผู้หนึ่งที่เจริญรอยตามแนวทางของ วาฮาบีย์ ได้ให้การท้วงติง ผลงานของ อัล-บานีย์ ในหลายๆจุด

เพราะหลายๆเรื่อง ที่ อัล-บานีย์ ได้นำเสนอไปนั้น มีความขัดแย้งกันเองอย่างเห็นได้ชัด และในขณะเดียวกัน ท่าน อับดุลลอฮฺ ผู้นี้ ยังได้เตือนบรรดาผู้ที่อ่าน ตำรา ของ ท่านอัล-บานีย์ ว่า อย่าได้ตกหลุมพราง การ แสดงทรรศนะของ อัล-บานีย์ เกี่ยวกับความ ฎออีฟ ของ ฮาดีษ บทหนึ่งๆ เราลองมาดู ส่วนหนึ่งของการ ท้วงติง ดูนะครับ

أَمَّا بَعْدُ : فَهَذِهِ أَحَادِيْثُ وَآثَارٌ وَقَفْتُ عَلَيْهَا فِي مُؤَلَّفَاتِ الشَّيْخِ مُحَمَّدٍ نَاصِرِ الدِّيْنِ اْلأَلْبَانِي تَحْتَاجُ إِلَى تَنْبِيْهٍ مِنْهَا مَا ضَعَّفَهُ وَلَمْ يَتَعَقَّبْهُ وَمِنْهَا مَا ضَعَّفَهُ فِي مَوْضِعٍ وَقَوَّاهُ فِي مَوْضِعٍ آخَرَ وَمِنْهَا مَا قَالَ فِيْهِ لَمْ أَجِدْهُ أَوْ لَمْ أَقِفْ عَلَيْهِ أَوْ نَحْوَهُمَا ، وَلَمَّا رَأَيْتُ كَثِيْرًا مِنَ النَّاسِ يَأْخُذُوْنَ بِقَوْلِهِ بِدُوْنِ بَحْثٍ نَبَّهْتُ عَلَى مَا يَسَّرَنِيَ اللهُ تَعَالَى . فَمَا ضَعَّفَهُ وَهُوَ صَحِيْحٌ أَوْ حَسَنٌ وَلَمْ يَتَعَقَّبْهُ بَيَّنْتُهُ وَمَا ضَعَّفَهُ فِي مَوْضِعٍ ثُمَّ تَعَقَّبَهُ ذَكَرْتُ تَضْعِيْفَهُ ثُمَّ ذَكَرْتُ تَعْقِيْبَهُ لِئَلاَّ يَقْرَأَهُ مَنْ لاَ اطِّلاَعَ لَهُ فِي الْمَوْضِعِ الَّذِي ضَعَّفَهُ فِيْهِ فَيَظُنُّهُ ضَعِيْفًا مُطْلَقًا وَلَيْسَ اْلأَمْرُ عَلَى مَا ظَنَّهُ

ความว่า

“ หนังสือเล่มนี้ ประกอบไปด้วย ฮาดีษ และ อาษัร(คำกล่าวศอฮาบัตฯลฯ) หลายๆบท ที่ฉันได้พบเจอใน งานเขียนของ ท่าน เชค มูฮัมหมัด
นาศิรุดดีน อัล-อัลบานีย์ ซึ่งถือว่าจำเป็นจะต้องเตือนให้ระวังกัน...

ซึ่งส่วนหนึ่ง ก็คือ ฮาดีษ ที่ท่าน ตัดสิน มันไปว่า ฎออีฟ และท่านก็ไม่ได้ เปลี่ยนท่าที และมีฮาดีษส่วนหนึ่งที่ ท่านตัดสิน ไปในบางตำราของท่านว่า ฎออีฟ แต่อีกบางตำรา ฮาดีษ บทเดียวกัน ท่านกลับตัดสินมันว่า
“ศอเฮี้ยะ”

และยังมีฮาดีษ อีกบางส่วน ที่ท่านได้ บอกเอาไว้ว่า “ฉันไม่เคยพบฮาดีษนี้เลย” หรือ “ฉันไม่เคยเจอมัน”เป็นต้น(ทั้งๆที่ ฮาดีษบทนั้น มีปรากฏในตำราฮาดีษของปวงปราชญ์ก่อนหน้าท่าน อยู่เกลื่อนกลาด-wbb)

ซึ่งในขณะที่ฉันได้แลเห็นว่า มีหลายต่อหลายคน ได้หยิบยก คำกล่าวของท่าน อัล-บานีย์ไปอ้างอิง โดยที่ไม่ได้ ใคร่ครวญพิเคราะห์ ฉันก็เลยตักเตือน เท่าที่องค์อัลลอฮฺจะอำนวยแก่ฉัน ฉะนั้น ฮาดีษบทไหนที่ ท่าน อัล-บานีย์ได้ตัดสินไปว่า มัน ฎออีฟ ทั้งๆที่ความจริงแล้ว มันคือ ฮาดีษ ที่ ศอเฮี้ยะ หรือ ฮาซัน ฉันก็จะให้ความกระจ่าง

และฮาดีษบทไหนที่ ท่านอัล-บานีย์ ตัดสินไปว่า มันฎออีฟ จากนั้น ท่านก็เปลี่ยนท่าที ฉันก็จะบอกถึง การตัดสินว่า ฎออีฟ อันนั้น และก็จะบอกถึง การเปลี่ยนท่าทีในการตัดสินดังกล่าว ทั้งนี้ก็เพื่อที่ผู้อ่าน ที่ไม่ได้ค้นพบ จะได้ไม่อ่านในส่วนที่ท่าน อัล-บานีย์ได้ตัดสินว่า ฎออีฟ จากนั้นก็คาดเดาไปเองว่า ฮาดีษ บทนั้น มีสถานะ ฎออีฟ โดยปราศจากข้อแม้ใดๆ ทั้งๆที่ความเป็นจริงมันไม่ได้เป็นอย่างที่เขาคาดคิดแต่อย่างใด”

(โปรดดูใน تنبيه القارئ على تقوية ما ضعفه الألباني ของท่าน อับดุลลอฮฺ อัด-ดาวีช หน้า 5)


ลูกศิษย์ ของ ท่าน อัล-บานีย์คนหนึ่ง นามว่า อับดุลลอฮฺ อัช-ชัมรอนีย์
ผู้บันทึกชีวประวัติของผู้เป็น อาจารย์ ได้กล่าวยกย่อง คำท้วงติง ของ ท่าน อับดุลลอฮฺ อัด-ดาวีช นี้ว่า เป็นการติติง ที่มีมารยาท ต่อ เชค อัล-บานีย์

(โปรดอ่าน ثبت مؤلفات الألباني หน้า 98 )


ต่อไปนี้ เราลองมาดูตัวอย่าง การติติงของท่าน อับดุลลอฮฺ อัด-ดาวีช
ที่มีต่อ ฮาดีษ ที่ อัล-บานีย์ได้ตัดสินไปว่า มัน ฎออีฟ กันนะครับ

ฮาดีษ บทนี้ปรากฏอยู่ใน หนังสือ “ตัครีช อัล-ฮาดีษ อัล-มิชกาต”
เล่มที่ 1 หน้าที่ 660 รายงานโดย ท่าน อีหม่าม อะฮฺหมัด และ
อาบูดาวุด ว่า


عن معاذ الجهني قال قال رَسُولَ اللهِ صلى الله عليه وسلم مَنْ قَرَأَ الْقُرْآنَ وَعَمِلَ بِمَا فِيهِ أُلْبِسَ وَالِدَاهُ تَاجًا يَوْمَ الْقِيَامَةِ ضَوْءُهُ أَحْسَنُ مِنْ ضَوْءِ الشَّمْسِ فِي بُيُوتِ الدُّنْيَا ، لَوْ كَانَتْ فِيكُمْ فَمَا ظَنُّكُمْ بِالَّذِي عَمِلَ بِهَذَا » . رواه أحمد وأبو داود

ท่าน อัลบานีย์ได้กล่าว ตรวจสอบฮาดีษ บทนี้ว่า

إسناده ضعيف

ความว่า “สายรายงานของมันนั้น ฎออีฟ”....

ท่าน อับดุลลอฮฺ อัดดาวีช ได้กล่าวท้วงติง การตัดสินดังกล่าว ไว้ในหนังสือของท่านว่า

أقول : ليس الأمر كما قال : بل حسن أو صحيح . ولعله لم يطلع على ما يشهد له وقد ورد ما يشهد له ويقويه من حديث بريدة ... وهذا الإسناد على شرط مسلم فقد خرج لبشير بن مهاجر في صحيحه ، ورواه الحاكم وصححه . ووافقه الذهبي ، وقال الهيثمي في مجمع الزوائد (جـ 7 ص 159) : رواه أحمد ورجاله رجال الصحيح وذكر له شواهد من حديث أبي أمامة وأبي هريرة ومعاذ بن جبل . وبالجملة فالحديث أقل أحواله أن يكون حسنًا والقول بصحته ليس ببعيد والله أعلم

ความว่า

“ ความจริงแล้วมันไม่ได้เป็นดังที่ ท่าน อัล-บานีย์ ว่าไว้ หากแต่ว่า ฮาดีษ นี้ มันอยู่ในสถานะ ที่ ฮาซัน หรือ ศอเฮี้ยะ..
และเป็นไปได้ว่า ท่าน อัล-บานีย์ นั้น ไม่ได้รับทราบ ฮาดีษบทอื่น
ที่มาสนับสนุน ฮาดีษดังกล่าว ซึ่งมีสายรายงานมาจาก (อับดุลลอฮฺ บิน) บูรัยดะฮฺ และสายรายงานที่ว่านี้ ก็วางอยู่บนเงื่อนไขของ อีหม่าม มุสลิม ซึ่งท่านก็ได้ ตรวจสอบ บาชีร บิน มูฮาญิร (หนึ่งในผู้รายงาน ฮาดีษนี้-wbb)ไปแล้วใน ศอเฮี้ยะ ของท่าน

และท่าน ฮากีม ก็ได้รายงานไว้ โดยตัดสินว่า มัน ศอเฮี้ยะ ขณะเดียวกัน อีหม่าม อัซ-ซาฮาบีย์ ก็เห็นพ้องด้วย”

ท่าน ฮัยษามี ได้กล่าวไว้ใน มัจญมะอฺ อัซ-ซาวาอิด เล่ม 7 หน้า 159 ว่า “ ฮาดีษนี้ บันทึกโดย อีหม่าม อะฮฺหมัด และผู้รายงานฮาดีษบทนี้ ต่างก็เป็นผู้รายงาน ฮาดีษ ศอเฮี้ยะ และท่านยังได้กล่าว ถึง ฮาดีษ ที่มาสนับสนุน ฮาดีษบทนี้ ไว้หลายๆบท ทั้งฮาดีษที่รายงานโดย อุมามะฮฺ , อาบูฮูรัยเราะฮฺ ,และมุอาซ บิน ญาบัล...โดยสรุปแล้ว ฮาดีษ บทนี้ อยู่ในสถานะ ฮาซัน และ ทรรศนะที่บอกว่า มัน ศอเฮี้ยะ ก็ก็ถือว่า ยอมรับได้...”

(โปรดดู تنبيه القارئ على تقوية ما ضعفه الألباني หน้า 7 )



พี่น้องที่รัก...

หากว่าท่าน อับดุลลอฮฺ อัด-ดาวีช มีความสามารถ ที่จะโต้แย้ง ความรู้เกี่ยวกับฮาดีษของ ท่าน อัล-บานีย์ ได้ แล้วทำไม ชาววาฮาบีย์ ยังคงยึดติด กับ อัล-บานีย์ กันอย่าง หูหนวก ตาบอด อีกเล่า?


ท่านอับดุลลอฮฺ อัด-ดาวีช ผู้ซึ่งก็เป็น วาฮาบีย์เช่นกัน ยังได้ทำการ สรุป ฮาดีษ ที่ อัล-บานีย์ ได้ตัดสินว่า ฎออีฟ ในหนังสือเล่ม หนึ่ง ขณะเดียวกัน ก็กลับไปตัดสินว่า ศอเฮี้ยะ ในอีกเล่มหนึ่ง ว่ามีจำนวนถึง 294 ฮาดีษ (ไม่น้อยเลยนะครับ) และในทางกลับกัน ยังมี ฮาดีษ ที่ อัล-บานีย์ ได้ตัดสินว่า ศอเฮี้ยะ ในหนังสือเล่ม หนึ่ง ขณะเดียวกัน ก็กลับไปตัดสินว่า ฎออีฟ ใน อีกเล่มหนึ่ง มีจำนวน 13 ฮาดีษ (ลองอ่านในหนังสือ ของท่าน อัดดาวีช ให้ทั่วนะครับ ก็จะพบจำนวนดังกล่าว)

พี่น้องที่เคารพ...

ความจริง การเปลี่ยนแปลงท่าที การตัดสิน นี้ มันก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น กับ ปราชญ์ฮาดีษ ในอดีต บางท่าน แต่ทั้งหลายทั้งปวงนั้น ก็ไม่มีใคร ที่เปลี่ยนแปลงท่าที ทำนองนี้ เกินกว่า 10 ฮาดีษ นะครับ...แต่สำหรับท่าน อัล-บานีย์ ปราชญ์ฮาดีษ ในดวงใจของใครหลายคน กลับ ทำลายสถิติ กินเน็ตบุ๊ค ได้อย่างน่าอัศจรรย์

บทความที่นำเสนอพี่น้อง ไปนี้ ไม่ได้มีเจตนา ที่จะลบหลู่ท่าน เชค อัล-บานีย์ แต่เพียงอย่างใด นะครับ แค่เพียงอยากให้พี่น้อง ได้ใคร่ครวญถึงความเหมาะสมในการ ใช้ผลงาน ของ บุคคลดังกล่าวในการอ้างอิง เท่านั้นเอง...

และถึงแม้ บทความ บทนี้ อาจไม่ส่งผล ให้ผู้ที่เป็น วาฮาบีย์ ได้กลับคืน
สู่แนวทาง ของชนส่วนใหญ่ สักทีก็ตาม แต่อย่างน้อย มันคงทำให้หลายๆคนที่อ่าน บทความนี้ ได้ฉุกคิดขึ้นมาบ้าง ว่า

อัล บานีย์ เป็นนักวิชาการ ฮาดีษ จริงหรือ?

….wahabi buta…

 

GoogleTagged