กระดานเสวนานักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว:
สารบัญถามตอบปัญหาศาสนา
ฟอรั่ม
หน้าแรก
ค้นหา
ปฏิทิน
Contact
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
GoogleTagged
กระดานเสวนานักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
»
เสวนาเชิงวิชาการ
»
อัลกุรอาน
(ผู้ดูแล:
นูรุ้ลอิสลาม
,
Bangmud
) »
คำพูดที่ชัดเจน และนักพูดที่มีโวหาร
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: คำพูดที่ชัดเจน และนักพูดที่มีโวหาร (อ่าน 1180 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ปากกาไร้หมึก
เพื่อนแรกพบ (^^)/
กระทู้: 3
Respect:
0
คำพูดที่ชัดเจน และนักพูดที่มีโวหาร
«
เมื่อ:
เม.ย. 18, 2014, 07:04 PM »
0
Tweet
الكَلِمَةُ الفَصِيْحَةُ وَ الْمُتَكَلِّمُ الْفَصِيْحُ
คำที่ชัดเจน และนักพูดที่มีโวหาร
الفَصَاحَةُ(อัลฟาซอฮะฮฺ) ความชัดเจน ถูกนำมาใช้ทางด้านภาษานั้นหลากหลายความหมายด้วยกัน ส่วนหนึ่งก็คือ ความชัดเจน (البَيَانُ) และ ความแจ่มแจ้ง (الظُهُوْرُ) อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวาตาอาลา ตรัสไว้ในซูเราะฮฺอัลกิศอส อายะฮฺที่ 34 ว่า
وَأَخِي هَارُونُ هُوَ أَفْصَحُ مِنِّي لِسَانًا...﴾ ﴿
ความว่า “และพี่ชายของข้าพระองค์ คือฮารูน เขาพูดจาคล่องแคล่วกว่าข้าพระองค์”
คำว่า أَفْصَحُ مِنِّي لِسَانًا จากอายัตข้างต้น จึงหมายความว่า أَبْيَنُ مِنِّي مَنْطِقلٍاชัดเจนกว่าฉันทางด้านคำพูด และคำว่า أَظْهَرُ مِنِّي قَوْلًا แจ่มแจ้งกว่าฉันทางด้านคำกล่าว
มีคำกล่าว (ويقال) ว่า : เด็กหนุ่มจะพูดออกเสียงชัดเจน เมื่อคำพูดของเขาชัดเจนและแจ่มแจ้ง
ชาวอาหรับกล่าวว่า : เวลาซุบฮฺได้สว่างขึ้น เมื่อแสงสว่าง และ เมื่อรุ่งสางเช่นกัน
ชาวต่างชาติที่ไม่ใช่อาหรับพูดชัดเจนหลังจากที่เขาเคยพูดไม่ชัดเจนและไม่แจ่มแจ้ง
ลิ้นจะชัดเจน เมื่อเขาได้อธิบายสิ่งที่อยู่ในตัวของเขา และให้ความชัดเจนแจ่มแจ้งบนแนวทางที่ถูกต้องโดยปราศจากแนวทางที่ผิดเพี้ยน
และความชัดเจนในด้านศัพท์เทคนิคตามทัศนะของนักโวหารศาสตร์(ที่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของความหมาย) คือ สำนวนที่มาจากหลายๆคำที่มีความชัดเจนแจ่มแจ้ง เข้าใจได้ง่ายดาย และนิยมใช้กัน(มีความคุ้นเคยในการใช้งาน) ซึ่งการใช้งานในหมู่บรรดานักเขียนและบรรดานักกวี เนื่องจากมันมีความสวยงามอยู่ในตัวของมันแล้ว
(ดูหนังสือ ยาวาฮิรุลบาลาเฆาะฮฺ ฟีล มาอานียฺ วัลบายาน วัลบาเดี๊ยะอฺ หน้าที่ 31 เขียนโดย อะหมัด อัลฮาชีมียฺ ตะฮฺกีกโดย วะฮีด กอต็อบ สำนักพิมพ์ ดารเตาฟีกียะฮฺลิตตุรอษ กรุงไคโร)
إِذَا سَلِمَتِ اللَّفْظَةُ المُفردةُ مِنَ التَّنَافُرِ في الحروفِ وَ مِنَ الغَرابةِ الشَّديدةِ في المعنى ، وسَلِمَتْ مِنْ المخالفةِ لِقوانين الصَّرف ، فهي لفظةٌ فصيحةٌ ، والمُتكلِّمُ القادرُ على أَدَاء ذلك متكلِّمٌ فصيحٌ .
เมื่อคำโดดปราศจากการออกเสียงยากในอักษรต่างๆ และปราศจากความหมายที่แปลกอย่างรุนแรง(ไม่นิยมใช้ในความหมายนั้นๆ) และเมื่อใดที่คำโดดปราศจากการขัดแย้งกับกฎเกณฑ์ต่างๆของวิชานิรุกติศาสตร์ ดังนั้นมันก็จะเป็นคำที่ชัดเจน(มีโวหาร) ส่วนนักพูดที่สามารถจะถ่ายทอดคำได้ดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะนับว่าเขาเป็นนักพูดที่พูดได้อย่างชัดเจน(พูดได้อย่างมีโวหาร)เช่นกัน
อธิบายได้ว่า :
الفَصَاحَةُ “อัลฟาซอฮะฮฺ” ความชัดเจน คือ الظُهُوْرُ “อัซซูฮูร” ความแจ่มแจ้ง และ البَيَانُ “อัลบายาน” ความชัดเจน
มีคำกล่าวหนึ่ง (يقال) ว่า
أفصح الصبح : إذا أضاء
ความว่า “รุ่งอรุณสาง : เมื่อแสงสว่างปรากฏ”
คำว่า الفَصَاحَةُ “อัลฟะซอฮะฮฺ” ทางด้านศัพท์เทคนิคตามทัศนะของนักโวหารศาสตร์ คือ وُضُوْحُ اللَّفْظِ ความชัดเจนของคำ พร้อมทั้งปราศจากข้อตำหนิต่าง (العيوب) ส่วนหนึ่งจากข้อตำหนิก็ คือ การออกเสียงยากของอักษรต่างๆ (التَّنَافُرِ في الحروفِ) ดังเช่นในคำว่า “هُعْخُع” จากคำพูดของชาวอาหรับชนบทบางส่วนที่ว่า
تَرَكْتُ نَاقَتِي تَرْعَى الْهُعْخُع
ความว่า ฉันได้ทิ้งอูฐของฉันให้กินหญ้า “ฮุอฺคุอฺ” (هُعْخُع คือพืชชนิดหนึ่ง ที่อูฐกินเป็นอาหาร)
และส่วนหนึ่งจากความชัดเจนอีกนั้นก็คือ จะต้องปราศจากความแปลก (الغرابة) ในการใช้งาน(คำที่ไม่นิยมใช้) ดังเช่นคำกล่าวของ รุบะฮฺ บิน อัลอุจยาจ
وَفَاحماً وَمَرْسنًا مَسَرَّجَا
ความว่า “(ผมของหล่อนดำดั่ง)ถ่าน (จมูกของหล่อนโด่ง)เป็นสันโค้ง (จมูกคมดั่ง)ดาบ”
ดังนั้น คำว่า مَسَرَّجَا ความหมายที่ต้องการ(ของนักกวี)ไม่เป็นที่รู้ชัดตามทัศนะของผู้ที่มีความสันทัดทางภาษา ไม่มีใครรู้ว่านักกวีต้องการเปรียบเปรยจมูกที่มีความละเอียดเนียน และโด่งโค้ง กับดาบของพลทหารสุรอยญียฺ (السيف السريجي) หรือว่าเขาต้องการที่จะเปรียบเปรยว่าจมูกเหมือนดังตะเกียงที่มันส่องแสงระยิบระยับเป็นประกายหรือไม่
และดังเช่นในคำกล่าวของ อะบี อัลฮุมัยซะฮฺ
مِنْ طَمْحَةٍ صَبيرُهَا جَحْلنجع
เจ้าของหนังสือ “อัลกอมูซ” (อิบนุฟาริซ)ได้กล่าวว่า “พวกเขาได้กล่าวคำว่า جَحْلنجع และไม่ได้ทำการอรรถาธิบายเอาไว้ และพวกเขากล่าวว่า อะบู อัลฮุมัยซะฮฺ เป็นส่วนหนึ่งจากชาวอาหรับเมืองมัดยัน และพวกเราไม่เข้าใจคำพูดของเขาเลย” และประเด็นของความหมายในเรื่องนี้ก็เป็นเพียงการคาดคะเน ดังนั้น คำดังกล่าวก็อาจจะก่อให้เกิดความแปลก(ไม่คุ้นหู) สำหรับบางเผ่า ในขณะเดียวกันไม่เกิดความแปลกแต่อย่างใดสำหรับบางเผ่า
และส่วนหนึ่งจากคำพูดที่ชัดเจนอีกนั้นก็คือ จะต้องปราศจากคำที่ขัดแย้งกับการเทียบเคียง(หลักการอนุมาน)ทางหลักนิรุกติศาสตร์ (مخالفة القياس الصرفي)
ดังเช่นในคำกล่าวของ อะบินนัจมฺ
الحمد لله العليِّ الأجْلَلِ
ความว่า “การสรรเสริญทั้งมวลนั้นเป็นกรรมสิทธิ์แด่อัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงส่งผู้ทรงประเสริฐยิ่ง”
ซึ่งตามการเทียบเคียงตามกฎเกณฑ์ทางนิรุกติศาสตร์จะต้องกล่าวว่า الأجَلّ
และส่วนหนึ่งจากตัวอย่างของคำพูดที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกวันนี้ซึ่งไม่ดำเนินไปตามกฎเกณฑ์ทางนิรุกติศาสตร์ พวกเขาใช้คำว่า مدير (ซึ่งเป็นเอกพจน์ ที่แปลว่า ผู้อำนวยการ) ในรูปของพหุพจน์ว่า مُدَرَاء ซึ่งตามการเทียบเคียงแล้ว รูปพหุพจน์ของมันจะต้องอยู่ในรูป مديرين ดังนั้นคำคำนี้และคำอื่นๆที่อยู่ในทำนองเดียวกัน เมื่อหนึ่งเมื่อใดที่มันปรากฏอยู่ในสภาพของประโยคที่เราได้กล่าวมาแล้ว(คือ มีข้อบกพร่องข้อหนึ่งข้อใดจากข้อบกพร่องที่ได้กล่าวมาทั้งหมด) ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า คำๆนั้นก็จะไม่เป็นคำที่มีความชัดเจนแจ่มแจ้ง (كلمة عير فصيحة)
ดูหนังสือ : อัลบลาฆอตุลมุยัซซาเราะฮฺ หน้าที่ 11-12
เขียนโดย : ดร.อับดุลอะซีซ บิน อะลี อัลฮัรบีย์
พิมพ์ครั้งที่ : 2/2011
สำนักพิมพ์ : ดาร อิบนิ ฮัซมฺ เบรูต-เลบานอน
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ค. 17, 2014, 06:04 AM โดย ปากกาไร้หมึก
»
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระดานเสวนานักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
»
เสวนาเชิงวิชาการ
»
อัลกุรอาน
(ผู้ดูแล:
นูรุ้ลอิสลาม
,
Bangmud
) »
คำพูดที่ชัดเจน และนักพูดที่มีโวหาร
GoogleTagged
yahoo
วิชา
search
66699033
sunnahstudents
c2e
google