อัสลามุอาลัยกุม วาเราะฮฺ มาตุลลลอฮฺ วา บารอกาตุฮฺ
พี่น้องที่รัก...
เราอาจเคยได้ยิน ชาววาฮาบีย์ บางคนได้ห้ามพี่น้องไม่ให้ ทำการตะฮฺลีล หรือ เลี้ยงอาหารแก่ผู้มาแสดงความเสียใจแก่ญาติผู้ตาย...
โดยพวกเขาได้ยกสำนวนในหนังสือ “อีอานะฮฺฯ” ซึ่งถือเป็นตำราฟิกฮฺอ้างอิงเล่มหนึ่งใน มัสฮับชาฟีอีย์ ของเรา มาห้ามปรามพวกเรา ทำให้พวกเราบางคนอาจตกเป็นเหยื่อพวกวาฮาบีย์เหล่านี้ ได้ง่ายๆ และหนึ่งในสำนวน ของกีตาบ “อีอานะฮฯ”ที่พวกเขายกมานั้นก็คือ
نعم، ما يفعله الناس من الاجتماع عند أهل الميت وصنع الطعام، من البدع المنكرة التي يثاب على منعها والي الامر ثبت الله به قواعد الدين وأيد به الاسلام والمسلمين
ความว่า
“ใช่ครับ, สิ่งที่มนุษย์ได้ปฏิบัติกัน... หมายถึง..การรวมตัวกัน ณ (บ้านของ)
เครือญาติผู้ตาย, และการจัดแจงสำรับอาหาร ,(ถือว่า)เป็นส่วนหนึ่งของ อุตริกรรมที่น่ารังเกียจ, ซึ่งผู้ปกครอง(ผู้มีอำนาจ)จะได้รับผลบุญอันเนื่องมาจาก การยับยั้งอุตริกรรมดังกล่าว ,และด้วยเหตุแห่ง(การยับยั้งของ)เขา อัลลอฮฺ จะประทานความมั่นคง ในกฎเกณท์ ต่างๆของศาสนา และด้วยเหตุแห่ง(การยับยั้งของ)เขาอัลลอฮ์จะทรงช่วยเหลือ อิสลามและมวลมุสลิม"
(ดูหนังสือ อิอานะฮ์ อัฏ-ฏอลีบีน เล่มที่ 2 หน้าที่ 165)
หากใครได้อ่านเพียงแค่นี้ ผู้อ่านก็จะเกิดความเข้าใจว่า การรวมตัวกัน ณ บ้านของเครือญาติผู้ตายและร่วมรับประทานอาหารกันที่นั่น ได้ถูกจัดอยู่ในอุตริกรรมที่พึงรังเกียจ...ตามทรรศนะ ในมัสฮับ ชาฟีอีย์
ซึ่งความเป็นจริงแล้วสิ่งนั้นมันไม่ใช่เป้าหมายของผู้แต่ง แต่อย่างใด การตัดมาอ้างอิงแค่บางส่วนจนกระทั่งเป้าประสงค์ที่แท้จริงนั้นเกิดความคลุมเครือ...ย่อมแสดงถึงอคติ ของผู้นำมาอ้างอิงได้เป็นอย่างดี
หากเราพิจารณาในสำนวน ของตำราเล่มดังกล่าว ก็จะพบว่า คำว่า "نعم"
(แปลว่า ใช่แล้วครับ) นั้น..มันคือคำตอบ ของคำถามก่อนหน้านี้
และสำนวนทั้งหมดจะมีอยู่ว่า
وقد اطلعت على سؤال رفع لمفاتي مكة المشرفة فيما يفعله أهل الميت من الطعام . وجواب منهم لذلك. (وصورتهما). ما قول المفاتي الكرام بالبلد الحرام دام نفعهم للانام مدى الايام، في العرف الخاص في بلدة لمن بها من الاشخاص أن الشخص إذا انتقل إلى دار الجزاء، وحضر معارفه وجيرانه العزاء، جرى العرف بأنهم ينتظرون الطعام، ومن غلبة الحياء على أهل الميت يتكلفون التكلف التام، ويهيئون لهم أطعمة عديدة، ويحضرونها لهم بالمشقة الشديدة. فهل لو أراد رئيس الحكام – بما له من الرفق بالرعية، والشفقة على الاهالي – بمنع هذه القضية بالكلية ليعودوا إلى التمسك بالسنة السنية، المأثورة عن خير البرية وإلى عليه ربه صلاة وسلاما، حيث قال: اصنعوا لآل جعفر طعاما يثاب على هذا المنع المذكور؟
ความว่า
“แท้จริงนั้น ข้าพเจ้า(ผู้แต่ง)ได้ใคร่ครวญถึง คำถามๆหนึ่ง ที่ได้(มีผู้)ส่งไปถาม บรรดา มุฟตีย์ แห่งนครมักกะฮ์อันทรงเกียรติ(หมายถึง มุฟตีย์ในสมัยของผู้แต่ง) (คำถามนั้น)เกี่ยวกับการกระทำของเครือญาติผู้ตายในการจัดเตรียมอาหาร(เลี้ยงแขกเหรื่อ) และ(ข้าพเจ้าก็ได้ใคร่ครวญถึง)คำตอบที่ได้รับจากท่านมุฟตีย์ทั้งหลายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
และรูปประเด็นของคำถามและคำตอบนั้น มีอยู่ว่า ......
(คำถาม)
อะไรคือ ทรรศนะของ บรรดามุฟตีย์ อันทรงเกียรติ แห่ง แผ่นดินฮาร่อม(มักกะฮ์)...
(ขออัลลอฮ์ได้ประทานคุณประโยชน์ของพวกเขาแด่มวลมนุษยชาติจวบจนสถาพรเถิด)
เกี่ยวกับปกติวิสัยที่เกิดขึ้นเฉพาะในเมืองๆหนึ่ง.. นั่นก็คือว่า
เมื่อบุคคลหนึ่งได้เคลื่อนวิญญาณสู่โลกแห่งการตอบแทน (เสียชีวิตลง) ...
ขณะเดียวกันบรรดาผู้ที่รู้จักมักคุ้นและบ้านใกล้เรือนเคียงต่างก็ได้หลั่งไหลกันมา(เพื่อแสดงความเสียใจ) และได้เกิดเรื่องอันเป็นปกติวิสัยขึ้น นั้นก็คือ พวกที่หลั่งไหลกันมานั้นได้รอคอย (การจัดเตรียม) สำรับอาหาร.... และเนื่องจากเครือญาติของผู้ตายได้บังเกิดความอายเป็นอย่างยิ่ง พวกเขาจึงจำยอมใจกระทำอย่างมิอาจหลีกเลี่ยง....
.
จากนั้นญาติผู้ตายก็ได้จัดเตรียมอาหารคาวหวานต่างๆมากมาย และได้นำอาหารต่างๆนั้น ออกมาเลี้ยงผู้คนที่มาเยี่ยมเหล่านั้นด้วยความยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง......
ดังนั้นท่านจะว่าอย่างไร หากผู้นำซึ่งดำเนินบทบัญญัติศาสนา
(– ที่มีความอ่อนโยนต่อมวลชนใต้การปกครอง และ ก็มีความสงสารต่อเครือญาติของผู้ตาย(ด้วยกันทั้งสองฝ่าย) -)
มีความประสงค์จะหักห้าม(ปราบปราม)ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้โดยถ้วนทั่วกัน เพื่อที่มวลมนุษย์จะกลับคืนสู่การยึดมั่นในแนวทางอันจำเริญที่(ก่อเกิด)มาจากมนุษย์ผู้ประเสริฐสุด (หมายถึงคืนสู่แนวทางแห่งองค์พระศาสดา)
(ขออัลลอฮ์ทรงประทานความเมตตาและสันติแด่ท่านเถิด)
เนื่องจากพระศาสดาได้กล่าวไว้ว่า
“ท่านทั้งหลายจงจัดเตรียมอาหาร ให้แก่ ครอบครัวของ ญะฟัรเถิด”
(ขอถามบรรดามุฟตีย์ว่า) ผู้นำท่านนั้นจะได้รับบุญกุศลหรือไม่?
أفيدوا بالجواب بما هو منقول ومسطور
“และบรรดามุฟตีย์ทั้งหลายก็ได้ชี้แจงคำตอบด้วยสิ่งที่ได้ถูกอ้างอิงและบันทึกเอาไว้ ดังนี้...
الحمد لله وحده وصلى الله وسلم على سيدنا محمد وعلى آله وصحبه والسالكين نهجهم بعده.
اللهم أسألك الهداية للصواب. نعم، ما يفعله الناس من الاجتماع عند أهل الميت وصنع الطعام، من البدع
المنكرة التي يثاب على منعها والي الامر، ثبت الله به قواعد الدين وأيد به الاسلام والمسلمين.
"มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์แด่อัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น และขอความเมตตาความสันติจากอัลลอฮฺได้โปรดประสบแด่ นายของเรา มูฮัมหมัด และประสบแด่ เครือญาติของท่าน , เหล่าซอฮาบัต ของท่าน และบรรดาผู้เจริญรอยตามแนวทางของพวกเขา ภายหลังจากท่าน....โอ้อัลลอฮ์...ข้าพระองค์ขอวิงวอนต่อท่าน ได้โปรดประทานทางนำสู่ความถูกต้องด้วยเถิด....
“ใช่แล้วครับ...สิ่งที่มนุษย์ได้ปฏิบัติกัน... หมายถึง..การรวมตัวกัน ณ (บ้านของ)เครือญาติผู้ตาย,และการ จัดแจงสำรับอาหาร, (ถือว่า)เป็นส่วนหนึ่งของ อุตริกรรมที่น่ารังเกียจ, ซึ่งผู้ปกครอง(ผู้มีอำนาจ)จะได้รับผลบุญ อันเนื่องมาจาก การยับยั้งอุตริกรรมดังกล่าว , และด้วยเหตุแห่ง(การยับยั้งของ)เขา อัลลอฮฺ จะประทานความมั่นคง ในกฎเกณฑ์ ต่างๆของศาสนา และด้วยเหตุแห่ง(การยับยั้งของ)เขา อัลลอฮ์ จะทรงช่วยเหลือ อิสลามและมวลมุสลิม”....
(จบการอ้างอิง)
หากพี่น้องพิจารณาสำนวนของคำถามในตำราข้างต้น อย่างละเอียด ก็จะพบว่าการอ้างอิงโดยนำแค่ส่วนของคำตอบมาเพียงอย่างเดียวนั้น มีเจตนาที่แอบแฝงและตบตาซ้อนเร้นอยู่... แค่เพื่อจะห้ามคน ไม่ให้ กล่าวซิกรุลลอฮ์ ณ บ้านผู้ตายเท่านั้นเอง ยังต้องหลอกพี่น้องมุสลิม โดยแอบอ้างคำกล่าวของอุลามะอ์ ชาฟีอีย์ ได้อย่างลงคอ
ในคำถามและคำตอบ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น....ความจริงแล้ว
สิ่งที่นับว่าเป็นอุตริกรรมที่พึงรังเกียจนั้นก็คือ การที่ผู้มาแสดงความเสียใจ ณ บ้านญาติผู้ตายนั้น ได้พากันเฝ้ารอคอยที่จะรับประทานอาหารกันอย่างเป็นปกติวิสัย โดยไม่คำนึงถึงหัวอกของเครือญาติที่กำลังได้รับ ความเศร้าโศกเสียใจอยู่
และหากเราพิจารณาโดยปัญญาอันเปี่ยมสัมปชัญญะแล้ว ก็คงไม่มีใครปฏิเสธหรอกว่าพฤติกรรมดังกล่าวนั้น ไม่สมควรที่จะให้เกิดขึ้น...
และก็เป็นสิ่งที่สมควรแล้วที่บรรดามุฟตีย์ ทั้งหลายได้กำหนดพฤติกรรมดังกล่าวว่า เป็นอุตริกรรมอันพึงรังเกียจ และผู้นำคนใดที่สามารถหักห้ามพฤติกรรมดังกล่าวได้ ก็คู่ควรแล้วมิใช่หรือที่จะได้รับบุญกุศล
แต่ถึงกระนั้น บรรดามุฟตีย์ผู้ทรงความรู้ทั้งหลายก็ยังไม่กล้าฟันธง ลงไปอย่างเด็ดขาดว่า พฤติกรรมดังกล่าวนั้น ฮาร่อม เว้นเสียแต่ว่าจะมี หลักฐานที่ชัดเจนเสียก่อน (ขอให้เราดูความรอบคอบของปวงปราชญ์ในอดีตสิครับ)
และเป็นไปได้ว่า บรรดามุฟตีย์เหล่านั้น อาจจะตอบเป็นอย่างอื่น หากพิจารณาถึงเนื้อหาที่ครอบคลุมกว่านี้
(เพราะคำตอบนี้ได้ตอบโดยพิจารณาจากคำถามที่เจาะจงเป็นการเฉพาะเรื่อง)
เช่น
ถ้าหาก ผู้มาแสดงความเสียใจนั้นต้องการปลอบใจญาติผู้เสียชีวิตด้วยการมอบความช่วยเหลือในรูปแบบของเงินเพื่อใช้จ่ายในด้านต่างๆเกี่ยวกับผู้ตายหละ?
หรือว่า
หากญาติผู้ตายเองต้องการใช้จ่ายทรัพย์สินส่วนตัว เพื่อแสดงความให้เกียรติแก่ผู้มาเยือนจากต่างถิ่นหละ?
แน่นอนเลยที่เดียวว่า คำตอบที่ได้รับจาก บรรดา มุฟตีย์เหล่านั้น คงจะต่างจากคำตอบข้างต้นอย่างแน่นอน...
ฉะนั้น เมื่อพบว่า ชาววาฮาบีย์ได้หยิบยกสำนวนในตำรา เล่มใดๆ ใน มัสฮับชาฟีอีย์ มาอ้างอิง ก็อยากให้พี่น้อง ไปสอบถามผู้รู้ ใกล้ตัวท่านก่อน จะปลอดภัยที่สุดครับ
และสำนวนใน หนังสือ “อัล-อีอานะฮฺฯ” อีกจุดหนึ่ง ที่เราอาจจะได้เห็น ชาววาฮาบีย์ นำมาอ้างอิง เพื่อกำหนดให้ การจัดเลี้ยง ที่พี่น้องของเราได้กระทำกัน
ณ บ้านผู้ตายนั้น เป็นความหลงผิดเสียให้ได้ นั่นก็คือ
وما اعتيد من جعل أهل الميت طعاما ليدعوا الناس إليه ، بدعة مكروهة – كإجابتهم لذلك، لما صح عن جرير رضي الله عنه. كنا نعد الاجتماع إلى أهل الميت وصنعهم الطعام بعد دفنه من النياحة
ความว่า
“และสิ่งที่เป็นประเพณีปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องการจัดทำสำรับอาหารของเครือญาติผู้ตาย เพื่อที่จะเชิญชวนผู้คนมาสู่ (การรับประทาน)อาหารดังกล่าวนั้น ถือได้ว่าเป็นอุตริกรรมอันพึงรังเกียจ ..
เช่นเดียวกัน.. การที่ผู้ถูกเชิญ ได้ตอบรับการเชิญชวน(สู่การรับประทานอาหาร) ดังกล่าว(ก็ถือเป็นอุตริกรรมอันพึงรังเกียจเช่นกัน)
ทั้งนี้ อันสืบเนื่องมาจากได้มีรายงานฮาดีษที่ ซอเฮียะ จากท่าน ญารีรฺ (ร.ด) เล่าว่า
“พวกเรา(เหล่าซอฮาบัต)ถือกันว่า การรวมตัวกัน ณ บ้านญาติของผู้ตายและการที่ญาติผู้ตายได้จัดเตรียมอาหารภายหลังจากการฝังศพแล้วนั้น นับว่าเป็นส่วนหนึ่งจากการพึงรำพันถึงผู้ตาย”
(โปรดดู อิอานะฮ์เล่มที่ 2 หน้า 145 นะครับ)
พี่น้องที่รัก...
หากเราไม่เข้าใจ ถึงคำศัพท์ทางวิชาการฟิกฮ์ในสังกัดชาฟีอีย์ของเรา ก็อาจจะทำให้พี่น้อง เราหลายๆคนหลงติดกับดัก ของชาววาฮาบีย์กันได้ง่ายๆนะครับ
และอยากให้พี่น้องได้รับทราบว่า หากเราได้เจอ สำนวนของ อุลามะอฺ ใน ตำรา ฟิกฮฺ ของมัสฮับ ชาฟีอีย์ที่ว่า
“أكره” (แปลว่า ฉันไม่ชอบ )
หรือ คำว่า “ مكروه” (แปลว่า เป็นสิ่งที่พึงรังเกียจ)
คำว่า “ يكره” (แปลว่า ได้ถูกกำหนดให้เป็นสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ)
หรือ คำว่า “ بدعة منكرة” (แปลว่า อุตริกรรมที่ถูกปฏิเสธ)
หรือ คำว่า “ بدعة غير مستباحة ” (แปลว่า อุตริกรรมที่ไม่ส่งเสริมให้กระทำ)
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ชาว วาฮาบีย์ ทั้งหลายมักเข้าใจไปว่า มันคือ สิ่งต้องห้าม ที่ถือว่า ฮารอม สถานเดียว ....
ขณะเดียวกัน ในตำรา “อิอานะฮ์ ฯ” ดังกล่าวได้กล่าวย้ำ อยู่หลายหนว่า..
การรวมตัวกัน ณ บ้านของญาติผู้ตาย และร่วมรับประทานอาหารกันที่นั่น ถือเป็น สิ่ง อุตริกรรมที่มักรูฮ์ ซึ่งหมายถึง เป็น บิดอะฮฺที่ไม่ส่งเสริมให้กระทำนั่นเอง...
นี่เรากำลัง พิจารณากันในส่วน “การรวมตัวกันเพื่อ รับประทานอาหาร ณ บ้านข้องญาติผู้ตาย” เท่านั้น
ยังไม่นับรวมกับ “การเดินทางมาแสดงความเสียใจต่อญาติผู้ตาย”
และยังไม่รวมกับ “การที่ผู้มาเยี่ยมเยียนได้วิงวอนต่ออัลลอฮฺให้ประทานความเมตตาแด่ผู้ตาย”
หรือ ยังไม่รวมกับแม้กระทั่ง “การบริจาคทรัพย์เพี่อกิจการเกี่ยวกับผู้ตาย”
ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็น สิ่งที่ศาสนาส่งเสริมให้กระทำต่อครอบครัวผู้ตายไม่ใช่หรือ?
การที่พวกเขาแปลคำว่า “بدعة مكروهة” ว่า “อุตริกรรมที่น่ารังเกียจ” นั้น
ย่อมแสดงถึงความไม่เข้าใจศัพท์ทางวิชาการในการอ้างอิง และหากจะแปลให้สอดคล้องกับเป้าหมายของเจ้าของตำราต้องแปลว่า
“อุตริกรรม...ที่ไม่ควรกระทำ ..”
แต่ด้วยความที่ไม่เข้าใจในศัพท์ทางวิชาการฟิกฮ์ ผนวกกับอคติที่มีต่อคำว่า
“บิดอะฮ์”
(ซึงพวกเขาได้ถือว่าเป็นการหลงผิดทั้งหมด) จนลืมมองไปว่า อุลามะอ์ได้แบ่ง ประเภทของ บิดอะฮ์(อุตริกรรม)ไว้อย่างไร......
อีหม่าม นาวาวีย์ ได้ระบุไว้ใน หนังสือของท่านชื่อ “ชัรฮฺ ซอเฮียะ มุสลิม” ว่า
قَوْلُهُ: وَكُلُّ بِدْعَةٍ ضَلَالَةٌ، هَذَا عَامٌّ مَخْصُوصٌ وَالمُرَادُ غاَلِبُ البِدَعِ، قَالَ أَهْلُ اللُّغَةِ: هِيَ كُلُّ شَيْءٍ عُمِلَ عَلَى غَيْرِ مِثَالٍ سَابِقٍ، قَالَ العُلَمَاءُ: البِدْعَةُ خَمْسَةُ أَقْسَامٌ: وَاجِبَةٌ وَمَنْدُوبَةٌ وَمُحَرَّمَةٌ وَمَكْرُوهَةٌ وَمُبَاحَةٌ
ความว่า
“คำกล่าวท่านนบีที่ว่า “และทุกๆบิดอะฮฺนั้นคือความหลงผิดๆ” คำกล่าวนี้กินกว้าง(เพราะมีคำว่าทุกๆปรากฏอยู่)อีกทั้งยังได้ถูกเจาะจง(เป็นรายกรณี อันสืบเนื่องมาจากมีหลักฐานอื่นมาจำกัด)
และเป้าหมายของ ฮาดีษนี้ก็คือ บิดอะฮฺโดยส่วนใหญ่(ไม่ใช่ทั้งหมด)
นักภาษาศาสตร์ได้กล่าวว่า ...บิดอะฮฺ(ตามหลักภาษานั้น)คือ ทุกๆสิ่งที่ได้ถูกปฏิบัติขึ้นโดยปราศจาก ต้นแบบ ...
บรรดาปวงปราชญ์อิสลามได้กล่าวว่า ...บิดอะฮฺนั้น มีอยู่ 5 ประเภท
ได้แก่...บิดอะฮฺ ที่ วาญิบะฮฺ(จำต้องกระทำ)
บิดอะฮฺที่มันดูบะฮ์ (ส่งเสริมให้กระทำ)
บิดอะฮฺ ที่ มูฮัรรอมะฮ์ (ที่ต้องห้าม)
บิดอะฮฺที่ มักรูฮะฮฺ (ไม่ควรกระทำ)
บิดอะฮฺ ที่ มูบาฮะฮฺ (จะทำหรือมิทำก็ได้)...
(โปรดดู “ชัรฮฺ ซอเฮียะ มุสลิม” เล่มที่ 6 หน้าที่ 154)
พี่น้องครับ
.ความจริงแล้วนั้น คำว่า มักรูฮ์ นั้นหมายถึง สิ่งที่ไม่ส่งเสริมให้กระทำ ผู้ที่ละทิ้งนั้นจะไดรับภาคผล ส่วนผู้ที่กระทำนั้น ก็มิได้เสื่อมเสียแต่อย่างใด
ท่านอิหม่าม มูฮัมหมัด บิน คอฏี้บ อัล-ชัรบีนีย์ ได้กล่าวไว้ใน
“มุฆนีย์ อัลมุฮตาจญ์” ว่า
فأما صنع أهل الميت طعاما للناس فمكروه لأن فيه زيادة على مصيبتهم وشغلا لهم إلى شغلهم وتشبها بصنع أهل الجاهلية
ความว่า
“ อนึ่งการ ที่เครือญาติผู้ตายได้จัดเตรียมสำรับอาหาร เพี่อผู้คนทั้งหลายนั้น ก็ถือว่า เป็นการมักรูฮ์(ไม่ควรปฎิบัติ)
เพราะมันจะเป็นการเพิ่มความยากลำบากแก่ญาติของผู้ตาย และมันจะสร้างความหมกมุ่นแก่เครือญาติผู้ตายที่จะต้องมาคอย พะวงอยู่กับ(การต้อนรับ)ผู้คน และเนื่องจาก(การปฏิบัติดังกล่าว)ยังคล้ายคลึงกับการปฏิบัติ ของชาวญาฮีลียะฮ์”
((อย่าลืมนะครับพี่น้องว่า มักรูฮ์ ไม่ใช่ฮารอม))
และต้องอ่านไปให้สุดนะครับ .....
وإن دعت الحاجة إلى ذلك جاز فإنه ربما جاءهم من يحضر ميتهم من القرى والأماكن البعيدة ويبيت عندهم ولا يمكنهم إلا أن يضيفوه
“และหากว่า มีเหตุจำเป็นต้องปฏิบัติการดังกล่าว
(หมายถึงการจัดแจงสำรับเลี้ยงผู้คน) ฉะนั้นก็ถือว่า อนุญาตให้กระทำได้
เพราะบางที ในหมู่ผู้มาเยี่ยมเยียนบ้านผู้ตายนั้น อาจมาจาก ต่างถิ่นแดนไกล และได้ค้างคืนร่วมกับเหล่าญาติของผู้ตาย และพวกเขา(เหล่าญาติผู้ตายทั้งหลาย) ก็มิอาจหลีกเลี่ยงได้ นอกเสียจากต้องต้อนรับขับสู่ผู้มาเยือนเหล่านั้น”
(โปรดดู “มุฆนีย์ อัลมุฮตาจญ์” เล่มที่ 2 หน้าที่ 215)
พี่น้องครับ...
ลองดู กฎเกณฑ์ เกี่ยวกับเรื่องนี้สิครับว่า มันผูกขาดตายตัว หรือ ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่ได้เกิดขึ้น...
ซึ่งผมไม่ขอ อธิบายให้ยาวยืดใน ที่นี้ และอย่างน้อย เราก็คงเข้าใจขึ้นมาเยอะแล้วใช่ไหมครับ ว่า
“บิดอะฮฺ มักรูฮะฮฺ” นั้นอยู่ในสถานะใด....
ด้วยความปรารถนาดีจาก
....wbb….