เดือนในแบบจันทรคติมีการใช้ดวงจันรท์ในการกำหนดเดือน 2 รูปแบบ
1. synodic period (ไซโนดิค พีเรียด) การโคจรครบ 1 รอบเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์บนท้องฟ้า
2. sidereal period (ไซดิเรียล พีเรียด) การโคจรครบ 1 รอบเมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์
การโคจรของดวงจันทร์นั้น เมื่อนับจากการเทียบด้วยดาวฤกษ์แล้ว จะได้เฉลี่ยใน 1 ปี มีเดือนละ 27.5 วัน
แต่หากเรานับการโคจรของดวงจัทนร์กับดวงอาทิตย์ ( จากโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ )
จึงทำให้การเทียบดวงจัทนร์กับดวงอาทิตย์นั้นมีการเปลี่ยนแปลงเพราะโลกไม่ได้โคจรรอบดาวฤกษ์ใดๆ หากแต่เป็นดวงอาทิตย์
ดังนั้น การเทียบดวงจันทร์กับดวงอิาทตย์จึงกินเวลาเพิ่มไปอีก ทำให้ใน 1 ปี มี เดือนเฉลี่ยเป็นเดือนละ 29.5 วัน
New Moon หรือ เดือนมืด เป็นตำแหน่งที่ดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ หรือดวงจันทร์อยู่หน้าดวงอาทิตย์นั่นเอง
ในวันนี้ผู้สังเกตที่อยู่ด้านมืดหรือด้านกลางคืน และด้านกลางวันบนโลกจะมองไม่เห็นดวงจันทร์ เราจึงเรียกว่าคืนเดือนมืด หรือ จันทร์ดับ
Full Moon หรือ วันเพ็ญ (ไทย) ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เป็นตำแหน่งที่ดวงจันทร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ หรือเป็นตำแหน่ง
ตรงข้ามกับ New Moon ซึ่งแสงจากดวงอาทิตย์จะตั้งฉากกับดวงจันทร์พอดี ผู้สังเกตที่อยู่ด้านกลางวัน จะไม่เห็นดวง
จันทร์บนท้องฟ้าเลย ในขณะผู้ที่อยู่ด้านมืดจะเห็นดวงจันทร์นานที่สุดคือเริ่มจับขอบฟ้าตั้งแต่เวลาประมาณ มักริบ และตกเมื่อ
หมดเวลาซุปฮฺ โดยที่เวลาเที่ยงคืนดวงจันทร์จะอยู่กลางศีรษะพอดี
ข้างขึ้น (Waxing) เป็นช่วงที่เกิดขึ้นระหว่างคืนเดือนมืดจนถึงคืนวันเพ็ญ โดยใช้ด้านสว่างของดวงจันทร์เป็นตัวกำหนด
ข้างแรม (Waning) เป็นช่วงที่เกิดขึ้นระหว่างคืนวันเพ็ญจนถึงคืนเดือนมืดอีกครั้ง โดยใช้ด้านมืดของดวงจันทร์เป็นตัวกำหนด
การนับเดือนในแบบดาราศาส์ตรอิสลาม นั้น
อย่างที่เคยกล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า การนับเดือนขาด หรือ หรือเดือนเต็ม นั้น แตกต่างกับ จันทรคติ แบบไทยอยู่บ้าง
ระบบปฏิทินของหิจญเราะห์ศักราช เป็นระบบปฏิทินจันทรคติ นั่นคือ
จะใช้ดวงจันทร์เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ ดังนั้นในหนึ่งปีจันทรคติจึงมี 354 วันหากเป็นปีธิกสุรทินและ 355 วันหากเป็นปีอธิกสุรทิน
ในรอบ 30 ปีจะมีธิกสุรทิน 19 ครั้ง และอธิกสุรชิน 11 ครั้ง
* ปีอธิกสุรทิน หมายถึง ปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ซึ่ง 4 ปีจะมีปีอธิกสุรทิน 1 ครั้ง หรือคือปีที่มีเดือนขาด
ในระบบจันทรคติแบบไทยนั้น เราจะแบ่งออกได้ 3 ลักษณะ คือ
(มาส หมายถึงเดือน วาร หมายถึงวัน) นั้นคือ ปกติทั้งเดือนและวัน กับ ไม่ปกติเดือน กับ ไม่ปกติวัน
1. ปีปกติมาส ปกติวาร ปกติทั้งเดือนและวัน
2. ปีปกติมาส อธิกวาร มีวันเพิ่ม
3. ปีอธิกมาส ปกติวาร มีเดือนเพิ่ม
ในระบบจันทรคติแบบอิสลาม นั้นเราจะแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ
1. ปีธิกสุรทิน
2. ปีอธิกสุรทิน
* ดวงจันทร์โคจรรอบจุดศูนย์กลางของมูลร่วม (Bary center) โดยใช้ดวงอาทิตย์เป็นหลักนั้น ใช้เวลา 29 วัน 12 ชม. 44 นาที 2.82 วินาที หรือ 354 วัน 8 ชม. 48 นาที 33.6 วินาทีในหนึ่งปี
ในแต่ละเดือนจะมี 29 วัน และ 30 วันสลับกันไป
และบางทีมี 30 วันซ้อนกัน 2 ครั้ง เนื่องจากปี 1 เดือนมี 29.5 วัน
แต่จะไม่มี 29 วัน ซ้อนกัน 2 เดือนเป็นอันขาด เพราะเนื่องจาก 1 เดือนมี 29.5 วันเช่นเดิม
ส่วนซุลหิจญะห์ของปีอธิกสุรทินนั้นจะกำหนดให้มี 30 วันเสมอ เพราะเวลาที่เกินมาจากเดือนอื่นๆ จากระบบ sidereal period
ในหนึ่งปีฮิจญเราะห์มี 12 เดือน คือ มุฮัรรอ็ม ศอฟัร รอบีอุลเอาวัล รอบีอุษษานี ญุมาดัลอูลา ญุมาดัษษานียะห์ ร่อญับ ชะอฺบาน รอมะฎอน เชาวาล ซุลกออิดะห์ ซุลฮิจญะห์
1. เดือนที่หนึ่ง 29 วัน 12 ชม. 44 นาที + เดือนที่สอง 29 วัน 12 ชม. 44 นาที = 59 วัน 1 ชม. 28 นาที หากกำหนดให้เดือนที่
1 (มฺฮัรรอม) มี 30 วัน และเดือนที่ 2 มี (ศอฟัร) มี 29 วัน ก็ยังเหลือเศษอีก 1 ชม. 28 นาทีเศษนี้ ก็จะรวมเข้ากับเดือนที่ 3 และ
4 เรื่อยไป จนกระทั่งเมื่อครบปี ก็จะมีเศษเหลือจาก 354 วัน = 8 ชม. 48 นาที ซึ่งไม่ถึงครึ่งวัน ปีแรกจึงเป็นปีธิกสรุทิน
2. และเมื่อเอาเศษที่เหลือจากปีแรก บวกกับเศษปีที่สอง (8 ชม. 48 นาที + 8 ชม. 48 นาที) ได้เท่ากับ 17 ชม. 36 นาที ซึ่ง
มากกว่าครึ่งวัน ปีที่ 2 จึงกลายเป็นปีอธิกสุรทินโดยการปัดเศษนั้นขึ้นเป็น 1 วัน โดยการกำหนดให้ซุลฮิจญะหฺ มี 30 วันเศษ
ของปีจะรวมต่อไป เมื่อถึงปีที่ 5 เศษ ของปีจะเป็น 18 ชม.ปีที่ 5 จึงเป็นปีอธิกสุรทินอีกเป็นเช่นนี้เรื่อยไปจนครบรอบ 30 ปี จึงเรียกว่า 1 รอบน้อย
3. เดือนจะมีการสลับระหว่าง 30 และ 29 วัน โดยการยึดถือเศษของแต่ละเดือน ถ้าหากว่าเดือนใดมีเศษมากกว่าครึ่งวันก็จะปัด
ขึ้นเป็น 1 วัน ยกตัวอย่างเช่น พอสิ้น เดือนญุมาดัลอูลา ของปีที่ 2 มีเศษเหลือ 44 นาที เมื่อบวกกับเดือนต่อมา 29 วัน 12 ชม.
44 นาที จึงมีค่า = 29 วัน 13 ชม. 28 นาที จึงบัดนี้ขึ้นเป็น 30 วัน เดือนถัดจากนั้นก็เป็น 29 วันและ 30 วันสลับกันไปอีก จน
กว่าจะมีเศษที่ที่ปัดขึ้นเป็น 1 วันเต็มอีก
4. เดือนที่ 17 ถัดจากเดือนเริ่มต้นปฏิทินจะมี 30 วัน แล้วนับต่อไปอีก 17 เดือน ถึงเดือนใด เดือนนั้นจะมี 30 วัน แล้วนับต่อ
ไปอีก 15 เดือนถึงเดือนใด เดือนนั้นจะมี 30 วันอีกเช่นกัน ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนครบ 30 ปี (นับ 17 สองครั้งสลับด้วยนับ 5
หนึ่งครั้ง) เมื่อเดือนใดมี 30 วัน ซ้อนกัน 2 เดือน ๆ ถัดมาต้องเป็น 29 วัน
5. 1 ปี จันทรคติมี 354 วัน 8 ชม. 48 นาที ในรอบ 30 ปี จึงมี 10631 วัน ด้วยเหตุนี้จึงถึงว่าเป็น 1 รอบ (น้อย) เพราะเศษ
ของวันลงตัวพอดี (มีเศษเป็นวินาที ซึ่งไม่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากนัก)
6. เนื่องจากทุก ๆ 1 รอบน้อย เริ่มต้นด้วยชื่อวันต่าง ๆ การที่จะให้เริ่มต้นครบด้วยชื่อวัน 7 วัน ย่อมต้องใช้เวลา 7 รอบน้อย
(210 ปี) ซึ่งก็จะกลายเป็น 1 รอบใหญ่ ในการเขียนปฏิทินจะกำหนดวันดังนี้
- รอบน้อยที่ 1 เริ่มด้วยวันพฤหัส
- รอบน้อยที่ 2 เริ่มด้วยวันอังคาร
- รอบน้อยที่ 3 เริ่มด้วยวันอาทิตย์
- รอบน้อยที่ 4 เริ่มด้วยวันศุกร์
- รอบน้อยที่ 5 เริ่มด้วยวันพุธ
- รอบน้อยที่ 6 เริ่มด้วยวันจันทร์
- รอบน้อยที่ 7 เริ่มด้วยวันเสาร์
เพื่อสะดวกในการจำ ทุก ๆ รอบจะเริ่มต้นด้วยวันที่ห้าหลังจากวันแรกของรอบที่แล้ว เช่น รอบน้อยที่ 3 เริ่มด้วยวันอาทิตย์
ร้อยน้อยที่ 4 ก็ต้องเป็นวันศุกร์ด้วยการนับเพิ่ม 5 วัน
7. ทุก ๆ ปีจะเริ่มต้นด้วยวันที่สี่ของปีที่แล้ว ถ้าหากว่าปีที่แล้วเป็นปีปกติและจะเริ่มต้นด้วยวันทีห้าของปีที่แล้ว หากปีที่แล้วเป็นปี
อธิกสุรทินตัวอย่างเช่น ปีที่ 7 ก็ต้องเริ่มด้วยวันอังคารด้วยการนับเพิ่ม 4 วันและเมื่อทราบว่าปีที่ 7 เป็นอธิกสุรทิน ปีที่ 8 ก็ต้อง
เริ่มด้วยวันอาทิตย์ ด้วยการนับเพิ่ม 5 วันเป็นต้น
รูปจากผมเอง (อีกแล้ว) ประกอบความเข้าใจ ตามคำขอ
http://www.up69.net/0/?defca8a022b07a3057b88f302a45db22
http://www.up69.net/0/?cd0715ea7e8502d537f851e1d3bc3334
ต้อง download เอานะครับ ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไรเหมือนกัน รูปไม่ขึ้นให้...
ขอบคุณรูปจาก 2 รูปบนจาก
www.darasart.comจากที่ผมได้นำบทความจากสยามิคดอทคอม มานะครับ (ที่แปะไว้ด้านบน)
(เวปไซต์นี้ ผมคิดว่าเป็นชีอะนะครับ เราแค่นำบางส่วนมาเท่านั้น ไม่แนะนำให้เข้าไปหาความรู้เรื่องอะกีดะครับ)จึงได้ขอสงวน URL ไว้นะครับ แต่พร้อมข้อมูลเหล่านี้นั้นล้วนเป็นจริงนะครับ
ผมจึงมีความเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องพิมใหม่นะครับ (ซุบฮานัลลอฮฺ)
ขอให้ทราบไว้โดยทั่วกัน
ปล. 1 หากคิดว่าไม่จำเป็นโปรดแจ้ง ผมจะได้ทำการเขียนขึ้นมาใหม่นะครับ
ปล. 2 เดือนในแต่ละเดือน จากการคำนวณนั้น แม้เราจะกล่าวได้ว่าไม่มี 29 วัน 2 เดือนติดกัน แต่การมองเห็นนั้นสามารถกระทำได้อันเนื่องมากจากการมองด้วยตาเปล่าหาใช้การคำนวณไม่ ดังนั้นหากการคำนวณ ที่เกิดขึ้นนั้น เป็น 29 วันติดกันนั้นถือว่าเราต้องดูเดือนกันอีกครั้งเพื่อความถูกต้องวัลลอฮฺอะลัม
วัสลาม...