ผู้เขียน หัวข้อ: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม  (อ่าน 46152 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Chu Bu!

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 13
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #195 เมื่อ: ก.ย. 01, 2008, 10:20 AM »
0
เรียน คุณ ILHAM

ครับ ตอนนี้ทางสถาบันฯ ก็ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการคำนวณครับ ได้ความละเอียดระดับทศนิยม ฟิลิปดา และ วินาที สะดวก และ แม่นยำกว่า แต่การคำนวณโดยใช้กระดาษทดเลขก็ยังมีสอนอยู่ โดยมีความแตกต่างกับโปรแกรมในระดับ 1-3 นาที บวก ลบ

โดยนโยบายของสถาบันฯ การคำนวณถือเป็นส่วนประกอบของการดูดวงจันทร์เท่านั้น และทั้งนี้ให้ถือประกาศของสำนักจุฬาราชมาตรีเป็นสำคัญ

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #196 เมื่อ: ก.ย. 01, 2008, 11:00 AM »
0
เรียน คุณ ILHAM

ครับ ตอนนี้ทางสถาบันฯ ก็ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการคำนวณครับ ได้ความละเอียดระดับทศนิยม ฟิลิปดา และ วินาที สะดวก และ แม่นยำกว่า แต่การคำนวณโดยใช้กระดาษทดเลขก็ยังมีสอนอยู่ โดยมีความแตกต่างกับโปรแกรมในระดับ 1-3 นาที บวก ลบ

โดยนโยบายของสถาบันฯ การคำนวณถือเป็นส่วนประกอบของการดูดวงจันทร์เท่านั้น และทั้งนี้ให้ถือประกาศของสำนักจุฬาราชมาตรีเป็นสำคัญ

นั่นคือจุดยืนของสถาบันมานมนานแล้ว  ซึ่งเป็นจุดยืนที่ถูกต้อง  เราลองสังเกตุคำพูดของ ท่าน Chu Bu! ในอักษรสีน้ำเงิน ซึ่งได้บอกถึงความเกลื้อหนุนระหว่างการคำนวนและการดูเดือนได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว  กล่าวคือ มิได้ปฏิเสธความก้าวของวิทยาการและไม่ได้ปฏิเสธการดูเดือนซึ่งเป็นซุนนะฮ์อีกด้วย  หมายถึงเราได้ปฏิบัติทั้งการคำนวนและซุนนะฮ์ไปพร้อม ๆ กันนั่นเอง

ท่านชัยคุลอิสลาม อัซซุบกีย์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ ได้กล่าวพอสรุปได้ว่า "การคำนวนนั้นแม่นยำแน่นอน  ในขณะที่การยืนยันการเห็นเดือนนั้นไม่เด็ดขาดแน่นอน  เพราะบางทีผู้เห็นเดือนอาจจะคาดการณ์ไปเองหรืออาจจะโกหกก็ได้"  กล่าวคือท่านอิมามอัซซุบกีย์นั้น  ได้รวมการปฏิบัติไว้ระหว่างตัวบทซุนนะฮ์ที่ว่า "พวกท่านจงถือศีลอดเพราะเห็นเดือน" กับ"การคำนวนข้อเท็จจริงทางดาราศาสตร์(อิลมุลฟะลัก)"  กล่าวคือ  อันดับแรกให้เราถามผู้รู้ซึ่งมีความชำนาญดาราศาสตร์ว่า  "คืนนี้สามารถเห็นเดือนเสี้ยวได้หรือไม่?"  หากพวกเขาตอบว่า  "สามารถเห็นได้"  เราก็พยายามจัดตั้งเจ้าหน้าที่เพื่อดูเดือนเสี้ยวในเขตพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้เห็นมัน  แต่ถ้าหากพวกเขาตอบว่า  "ไม่สามารถเห็นเดือนได้"  เราต้องสอบสวนให้แน่ชัดว่าผู้ที่เห็นเดือนนั้น  เห็นอย่างไร  เห็นตามหลักการของการดูเดือนหรือไม่? 

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ abubak

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 79
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #197 เมื่อ: ก.ย. 02, 2008, 01:06 PM »
0
โฮ...สุดยอดครับ เวปนี้มีหลักฐานมัดแน่น ฝ่ายวาฮาบีย์เมืองไทยที่ชอบเอาเวลาในการถือศีลอดของประเทศซาอุฯมาใช้ในทุกๆปี

แสดงว่า ตามที่บังGoddutพูดก็เป็นความจริงทุกประการใช่ไหมครับที่ว่าซาอุฯมีการดูเดือนพลาดเกือบทุกปี และบางครั้งก็โมเมคำนวณเอา


โฮ...ผมคิดถูกแล้วอะคับที่ตามคำประกาศของสำนักว่าวจุฬาฯ

แต่ก็นั้นและคับ  ปีนี้มันเงียบๆยังไงก็ไม่รู้ 

คงจะมาจากสาเหตุที่ว่า  มีการกำหนดวันถือบวชตรงกันเลยไม่มีใครพิพาทใคร   นี้ถ้าสมมุติว่า  ถือบวชไม่ตรงกันละคับ

    คงเถียงกันหน้าดู นะคับ    เอ..แต่คนที่ไม่ตามท่านจุฬานี้เขามีเหตุผลอะไรหรือคับ  มีใครรู้บ้าง บอกทีๆๆ

แต่ที่แน่ๆ ผู้ที่อยู่ประเทศไทยที่ตามคำประกาศของจุฬาต่างประเทศนี้ ซิ ผมคิดว่า   เขาผิดพลาดมาตลอดนะคับ

ไม่ว่า  เวลาในการเช้าบวชออกชวชหรือเวลาถือบวชหรือแก้บวช 

อ้างถึงคนอยากรู้

เราอยู่ในประเทศไทย  เวลาปฏิบัติศานกิจใดๆไม่ว่า เวลาละหมาด หรือเวลาถือศีลอดเวลาละศีลอด  ก็ต้องเอา ตารางเวลาจากประเทศไทยเป็นหลักการอ้างอิง ทำอีบาดะหรือทำการใดๆ

ฉนั้นการที่มีพี่น้องบางกลุ่ม เลือกเอาเฉพาะตรางเวลาปฏิบัติศาสนากิจหรือเวลาสำคัญอื่นมาใช้  แต่พอถึงเวลาเข้าบวช หรือออกบวชกลับเอาตารางเวลาของอีกประเทศหนึ่งมายึดถือ

ทั้งที่เวลาห่างกันประมาณเกือบ 5ชั่วโมง


ตรงนี้ก็พอจะสรุปแล้วว่า เขาไม่ตามกีตาบุลลออ์และซุนนะท่านนบีทุกอย่างแต่ เพียงเลือกถือบางอย่างที่ตนพอใจ

ซึ่งถ้าจะให้ผมฮุกมคนกลุ่มนี้นั้นผมถือว่า     การถือศีลอดที่ผ่านมาของเขาทุกปีที่ผ่านมานั้น  เป็นโมฆะ  และถือว่าการกระทำของเขานั้นเป็นบาปมาซียะ
[/u]


 ผมเห็นด้วยอย่างแรงเลยนิ    myGreat:

และขอบคุณบังGoddut  มากด้วยที่ให้ความรู้เพิ่มเติม


ออฟไลน์ Goddut

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 854
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #198 เมื่อ: ก.ย. 02, 2008, 09:14 PM »
0
ผมเคยนำเสนอไปแล้วว่า 1 วัน มี 24 ชม.

ไม่ว่าจะเวลาใด ของโลก ถ้าเวลาไม่ต่างกันเกิน 24 ชม. ก็คงเป็นวันเดียวกันอยู่ เรื่องเช่นดาราศาสตร์นี้ ฝั่งที่ไม่ศึกษาไม่เคยเข้าใจ และไม่ยอมทำความเข้าใจ

คิดดูประเทศที่อยู่คนละฝั่ง ไทย เช่น สหรัฐ
หากไทยเวลา 10 โมงเช้า สหรัฐก็ 4 ทุ่ม  ถ้าเรานับการเข้าวันที่ไทยก่อน ก็เป็นวันเดียวกันแน่นอน ตามแบบสากล
แต่ถ้า แบบ อิสลาม ไทยเวลา 10 โมงเช้า สหรัฐ 4 ทุ่ม จะเป็นคนละวัน ก่อนเวลา 1 ทุ่ม และ เป็นวันเดียวกันในเวลามักริบ สหรัฐก็จะเปลี่ยนเป็นวันใหม่เป็นวันเดียวกับไทย ซึ่งหมายถึง สหรัฐจะเข้าวันใหม่เพียง 3 ชม. ส่วนไทยที่เข้าไปก่อน ก็จะเข้าไปแล้วกว่า 15 ชม

ในกรณีเดียวกัน คือไทยเข้าวันก่อน แล้ว เป็นเวลา 6 โมงเช้า สหรัฐเป็น 6 โมงเย็น ลักษณะตามแบบสากล ก็จะเป็นวันเดียวกัน
แต่คราวนี้ ในแบบอิสลาม จะเป็นคนละวัน โดยสหรัฐต้องรออีก 1 ชม ให้เข้าเวลามักริบ ถึงจะตามเป็นวันเดียวกับไทยได้

ในกรณีกลับกัน หากสหรัฐเข้าวันก่อน ไทยเวลา 10 โมงเช้า สหรัฐ 4 ทุ่ม นั้นหมายถึง เป็นคนละวันแน่นอน ในแบบอิสลาม เพราะว่า สหรัฐเพิ่งจะมักริบเมื่อ 1 ทุ่ม ชี้ให้เห็นว่าสหรัฐจะเข้าวันใหม่ก่อน เป็นเวลา 3 ชม
ดังนั้น ประเทศไทย จะเข้าตามสหรัฐเป็นวันเดียวกัน ในอีก 9 ชมข้างหน้า ทำให้เวลาของวันเดียวกัน จะเป็นก็ต่อเมื่อ ไทยได้เข้ามักริบ ประมาณ 1 ทุ่ม ในขณะที่สหรัฐจะตรงกับ 7 โมงเช้า นั่นเอง ซึ่งตรงนี้ สหรัฐก็จะเข้าวันก่อนหน้าไทยไปแล้ว 15 ชม เช่นกัน

การที่ซาอุ เห็นเดือนก่อน เข้าวันที่ 1 ก่อน เป็นวันจันทร์ตามสากล ( สมมุติ ) การที่ไทยไม่เห็นเดือนและเข้าเดือนหลังเป็นวันอังคารตามสากล
ชี้ให้เห็นว่า ไทยนั้นเข้าเดือนหลังซาอุ ซึ่งเป็นระยะเวลา 21 ชม. โดยไทยจะตามซาอุทันเป็นวันเดียวกัน ในเวลาที่ประเทศไทย 1 ทุ่ม ในวันอังคาร โดยที่ ซาอุ เวลา 3 โมงเย็น วันอังคาร ซึ่งจะมีเวลาคาบเกี่ยวกัน 4 ชม นั่นเอง

หากย้อนกลับไปดูจะพบว่า การที่สายวะฮะบีกล่าวว่าต้องตามซาอุโดยการเห็นเดือนของซาอุนั้นไม่ถูกต้องเนื่องมาจาก หากซาอุเห็นเดือนก่อนในเวลา 1 ทุ่ม ( มักริบ ) แล้วเข้าวันที่ 1 วันจันทร์
ประเทศไทย ก็จะเข้าวันที่ 1 วันจันทร์ ในเวลา 5 ทุ่ม ซึ่งกลายเป็นว่า ฮะดิสเรื่องการนับวันให้ครบ 30 วันนั้นตกไป  เพราะหากเอากันจริงๆ ทั่วโลกเวลาห่างกัน 24 ชม อย่างไรก็จะมีผู้เห็นในโลกแน่นอนอยู่แล้วก่อนที่เราจะเปลี่ยนเป็นอีกวันอยู่ดี
และหากถ้าเราเอาจากประเทศที่เห็นก่อนโดยประเทศนั้นมีเวลาล้าหลังประเทศเรา ก็กลายเป็นว่า ประเทศไทยได้เข้าเดือนก่อนประเทศซาอุที่เขาเป็นผู้เห็นเดือนเข้าให้แล้ว มันเลยไม่ได้แปลว่าเข้าตามซาอุ แต่เป็นเข้าก่อนซาอุ

พวกเขามักจะกล่าวอ้างว่า สมัยนบีก็มีคนบอก แต่เราต้องเข้าใจว่ายุคสมัยเปลี่ยนไป สมัยนบีไม่มีโทรศัพท์ ไม่มีอินเตอร์เนท ไม่ได้รู้ทันทีในเวลา 1 - 2 นาที พวกเขาใช้เทคโนโลยี โดยไม่เรียนรู้เทคโนโลยี ซึ่งไม่ถูกต้อง เสมือนใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์งาน แต่ไม่รู้พิมพ์อะไร
กว่าจะส่งข่าวถึงกันต้องใช้เวลานาน เมื่อเรามาพิจารณาก็จะพบว่า ระยะทางเท่าไหร่ในฮะดิส ที่ท่านนบีรับรองและเอาตามกันได้ด้วยต่างหากจึงตรงซุนนะที่สุด มิใช่ตามได้ทั่วโลก
เพราะหากย้อนกันไปจริงๆ การเดินทางของม้า และอูฐสมัยนั้น ไม่ได้เร็วกว่า โทรศัพท์ หรือ อินเตอร์เนทแน่นอน ดังนั้นเวลาจะถูกเลื่อนไปจนพอดีกัน หมายถึงเป็นระยะทางที่รับได้  ซึ่งในรูปแบบเหล่านี้ในมัซฮับซาฟีอีเองก็ให้การยอมรับว่าตามได้เช่นกัน

แต่หากประเทศทั้งสองอยู่ตรงข้ามกันเช่น ไทยกับ สหรัฐ ก็จะกลายเป็นวัน วันนั้นเมื่อสหรัฐเห็นเดือนตอน 2 ทุ่ม ไทยจะเข้าเดือนรอมฎอนตอน 8 โมงเช้า
พวกเขาจึงกล่าวอ้างว่า ให้ใช้เวลากลางคืนทาบเกี่ยวกัน ก็จะหมายความว่า หากเป็นอังกฤษกับไทย อังกฤษเห็นเดือนตอน 2 ทุ่ม ไทยจะเข้าเดือนรอมฎอนตอนตี 5( คาบเกี่ยวกัน 30 นาที )

พวกเขากล่าวอ้างว่าการเรียนรู้ดาราศาสตร์ ดังปัญหานี้นั้นยุ่งยาก แล้วเหตุใด เขาไม่ตามผู้นำที่มีหน้าที่ซึ่งน่าจะสะดวกสบายกว่าที่จะต้อง นั่งอดหลับอดนอน ดูว่า ซาอุ หรือประเทศใดในโลกเห็นเดือนแล้ว ในตอน ตี 3 หรือ ตี 4



เพราะการเข้าวันก่อนนั้น ดูด้วยเดือน ใครเห็นเดือนก่อน เข้าวันแรกของเดือนก่อน ไม่มีที่ไหนในโลกจะเข้าก่อนได้ทุกๆ ปี เพราะแกนโลกเอียง ทำให้วันแรกของเดือนนั้น ในทุกๆ เดือนผลัดเปลี่ยนกันไป ตามประเทศต่างๆ มันก็คือความเมตตาของอัลลอฮฺ ต่อบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายให้เกิดความเท่าเทียมกัน

ส่วนตามต่างประเทศผมไม่ว่า แต่ไม่ใช่ที่ห่างกันด้านแนวขวางเป็น พัน สองพัน กิโลเมตร มันไกลไป
เพราะระยะทางขนาดนี้ ในฮะดิส ไม่ว่าจะเป็นสัตว์อะไร ที่ไหนก็วิ่งไปบอกไม่ทัน

วัลลอฮฺอะลัม
วัสลาม...

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #199 เมื่อ: ก.ย. 02, 2008, 10:19 PM »
0
คาบเกี่ยวแปลว่าอะไรหรือ
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ ad-dalawy

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 193
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #200 เมื่อ: ก.ย. 02, 2008, 10:22 PM »
0
ตอนนี้ พวก ไม่รู้เรื่อง ทั้งศาสนา กับดาราศาสตร์ พยายาม ส่ง เมล์ โจมตี จุฬา และคนที่ตามจุฬา กันอย่างมากมาย
ทั้งๆ ที่พวกเขานั้นไม่มีความรู้เรื่อง ศาสนามากนัก อีกทั้งไม่มีความรู้เรื่องดาราศาสตร์เลยก็ว่าได้

พวกเขาเอาเรื่อง คิลาฟิยะ มาอวดอ้าง แสดงความเห็นซุนนะ ว่าด้วยการตาม ในท้องถิ่น กับตามทั่วโลก
ซุบฮานัลลอฮฺ เขาไม่เคยรู้เลยว่า ซาอุ ที่เขาตามนั้น ก็ใช้การคำนวณ
ซุบฮานัลลอฮฺ เขาไม่เคยรู้เลยว่า ถ้าเราไม่เห็นแล้วเขาเห็น เราต้องเข้าตามเขา มิใช่นำเขา
ซุบฮานัลลอฮฺ ขนาดอุลามะซาอุ ยังบอกให้ตามที่ประเทศตัวเอง เขายังบอกอุลามะซาอุ เป็นแค่ผู้ตอบคำถาม ไม่จำเป็นต้องทำตาม
วัสลาม

พวกนี้เขาเรียกว่า ไม่รู้แต่อยากชี้

ออฟไลน์ Goddut

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 854
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #201 เมื่อ: ก.ย. 03, 2008, 01:19 PM »
0
คาบเกี่ยวแปลว่าอะไรหรือ

วันเดียวกัน คืนเดียวกัน อะไรเทือกนั้น

เช่น วันหนึ่ง 24 ชม ถ้าเวลา ตี 1 กับเวลา ตี 3 ( ห่างกัน 2 ชม ) แสดงว่า เกี่ยวกัน 22 ชม เป็นต้น

ออฟไลน์ As-Zaleek

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 804
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +33
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #202 เมื่อ: มิ.ย. 20, 2009, 06:00 AM »
0
بِسْمِ اللهِ الّرحْمنِ الّرحِيْمِ

الحَمْدُلِّلهِ رَبِّ العَالَمِيْنِ  وَالصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلَى مَنْ لاَ نَبِىَّ بَعْدَهُ  سَيِّدِنَا وَرَسُوْلِنَا مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِهِ وَأَصْحَابِهِ أَجْمَعِيْنَ  وَبَعْدُ
                                             
 
ตอบปัญหา

เรื่อง     จุดขึ้นของดวงจันทร์แตกต่างกัน

ผู้ตอบ   ดร.ฮานี บินอับดุลลอฮ์ อัล-ญุเบร
            ผู้พิพากษาประจำมักกะฮ์ อัล-มุกัรรอมะฮ์
           วันที่ 22/6 ฮ.ศ. 1426


  คำถาม


            ขอความสันติจงประสบแด่ท่านทั้งหลาย  คำถามเรื่องจุดขึ้นดวงจันทร์แตกต่างกัน ในเดือนซุลฮิจญะฮ์ จะถือเอาวันอีดของประเทศส่วนใหญ่ และในบางประเทศถือบวชในวันอารอฟะฮ์ ดังปรากฏประเทศปากีสถาน และประเทศมูริตาเนีย และวันอารอฟะฮ์นั้นไม่ได้ผูกพันกับสถานที่อารอฟะฮ์อันเป็นสถานที่ๆ ผู้บำเพ็ญฮัจญ์วูกุฟหรือ? มุสลิมที่เหมือนกับประเทศข้างต้น จะได้รับผลบุญเมื่อถือบวชในวันอารอฟะฮ์หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตรงกับวันอีดในซาอุดิอาระเบีย ได้โปรดให้ความกระจ่าง ขอได้รับผลานิสงค์จากอัลลอฮ์
 

  คำตอบ

            ขอได้รับความสันติ เราะฮ์มัต และบารอกัตจากอัลลอฮ์มุสลิมในประเทศใดๆ ก็ตามเมื่อได้ปฏิบัติภารกิจตามผลแห่งการดูดวงจันทร์ว่าเห็นหรือไม่เห็น และได้ยึดถือเอาเป็นบรรทัดฐานในการกำหนดวันที่ ก็ให้มุสลิมส่วนนั้น ปฏิบัติตามที่ปรากฏ ณ ประเทศของตน ให้บวชในวันที่ 9 แม้จะตรงกับวันที่ 8 หรือวันที่ 10 ของมักกะฮ์
          สำหรับในส่วนของขั้นตอนการประกอบพิธีฮัจย์ (อัล-มะนาซิก) ให้ปฏิบัติตามการดูเดือนของมักกะฮ์ ดังมีฮาดีษกล่าวว่า จากฮาบีฮุรอยเราะฮ์ รอดิยั้ลฯ ว่า ท่านนะบี ศ้อลฯ กล่าวว่า
 
 
              ความว่า การถือบวชนั้นคือวันที่พวกท่านถือบวช การออกบวชก็คือวันที่พวกท่านออกบวช และวันเชือดกุรบ่านก็คือวันที่พวกท่านทำกุรบ่าน  (รายงานโดยติรมีซีย์)
         
และในทำนองเดียวกัน มีฮาดีษอาอีชะฮ์ รอดิยั้ลฯ จากติรมีซีย์  ซึ่ง  อัลบานีจัดอยู่ในประเภทฮาดีสที่ซอเฮียะห์

อัลลอฮ์ผู้ทรงเตาฟีก และทรงประทานฮิดายะฮ์
 
ได้รับต้นฉบับภาษาอาหรับจากท่านอาจารย์อรุณ บุญชม  สรุปความโดย อาจารย์อับดุลการีม วันแอเลาะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิ.ย. 20, 2009, 06:05 AM โดย Rabit »
الأيام تمضى       والعمر يزيد         ولكن الحب بالقلب أكيد

ออฟไลน์ philosophy

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #203 เมื่อ: ส.ค. 21, 2009, 09:22 AM »
0
 salam

เป็นบอร์ดที่ดีมากคับ

อินชาอัลลอฮ์ถ้ามีเวลาจะเข้ามาร่วมเสวนาด้วยคน

ขออัลลอฮ์ทรงตอบแทนผลบุญให้แก่ทุกท่านที่ทุ่มเทและเสียสละ

เพื่อให้พี่น้องของเราได้รับรู้ในสิ่งที่ถูกต้อง

อามีน ยาร้อบบั้ลอฺละมีน

 myGreat:

ออฟไลน์ Goddut

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 854
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #204 เมื่อ: ส.ค. 21, 2009, 11:17 AM »
0
มีหลักฐาน การฟัตวา มากมาย จากอุลามะ ซาอุ ก็ดี
ว่าให้ตาม ประเทศตัวเอง ในเรื่อง คิลาฟิยะ ดูเดือนนี้

" และพวกเขาไม่มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการเข้าเดือนของประเทศอื่น ! "

แต่นักวิชาการประเทศเราก็ไม่เอาฟัตวา ของซาอุ มาใช้
และดันไปตามการเข้าเดือนของประเทศซาอุ อยู่ร่ำไป

แม้คำพูดสวยหรูจะบอกว่า ตามทุกที่ทั่วโลก แต่เอาเข้าจริง ก็เห็นตามแต่ซาอุประเทศเดียว
สำคัญที่สุด เพราะเมื่อในอดีต พวกเขาเคยตามทุกประเทศมาแล้ว เช่น ตามซาอุ แล้วพลิกมาตามจีน ทำให้เดือนรอมฎอน เมื่อหลายปีก่อน ของมัสยิดอัลอะติ๊ก มีรอมฎอน แค่ 28 วัน
นั่นแหละ คือการตามทั่วโลก ในแบบของเขา

พี่น้องคิดดูดีๆ สิว่า โลกนั้นหมุนรอบตัวเอง พร้อมๆ กับดวงจันทร์นั้น โคจรรอบโลก
หากเราวิ่งไปพร้อมๆ กันทั่วโลกแล้วล่ะก็ จะทำให้ วันหนึ่งของเรานั้นหายไป อันเนื่องมาจาก โลกนั้นช่วยเราวิ่งด้วยอีกแรง
เป็นเหตุผลให้ เดือนในแต่ละเดือนจะหายลงไป 1 วัน ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

ไม่รู้แล้วไม่ศึกษา แต่อยากจะอวดแสดง แล้วมันจะมีอะไรอวดดีเท่านี้อีก
นอูซุบิลลามินซาลิก
วัสลาม...

ออฟไลน์ read

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 130
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #205 เมื่อ: ส.ค. 21, 2009, 11:33 AM »
0
 salam

ตอนนี้ ผมเห็นว่า เราไม่ได้ขัดแย้งแค่ การดูเดือนการเห็นเดือน กันอย่างเดียว แต่จะเพิ่มการขัดแย้ง วันที่จะดูเข้าไปอีก

ทำไมเราอยู่เมืองไทย วันก็วันประเทศไทย แต่ใช้วันซาอุดี้  ทำไปไม่เอาของตุรกี ของ อัลบาเนีย ของบอสเนีย ของ อิมิเรต

ของอียิป ของ โอมาน ปากี 

   หรือชาวอาหรับ ซาอุดี้ ดีกว่า  คนอื่นๆ หรือ    อาหรับ ดีกว่า อารยัน 

ออฟไลน์ Goddut

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 854
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #206 เมื่อ: ส.ค. 21, 2009, 11:44 AM »
0
ก็นั่นน่ะสิครับ
เที่ยวไป ดูเดือนกันเมื่อคืน เพราะ ซาอุ หมดวันที่ 29 แล้ว
แต่ไม่รู้เรื่อง ว่า วันที่ประเทศไทย เพิ่งจะเข้า 29 ( เสมือนดูเดือน คืนที่ 28 )

ทำไปได้นะเรา T_T

ออฟไลน์ read

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 130
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #207 เมื่อ: ส.ค. 21, 2009, 11:55 AM »
0
การดูเดือน เพื่อ กำหนดวันเข้าบวช ออกบวช เกี่ยวกับการทำฮัจ การออกอีด มันคล้ายหรือต่างกันอย่างไร
กับเหตุการ สุริยุปราคา จันทรุปราคา  คือต้องเห็น แล้วค่อยละหมาด หรือในเขตแดน หรือ บางส่วนของประเทศเห็น
แล้วค่อยละหมาด หรือ ที่ใดที่หนึ่งในโลกเห็น ก็ละหมาดได้ หรือคำนวนเห็น ก็ได้

เพราะหลังสุด วาฮาบีสายกลาง ละหมาด (ที่ กทม มองไม่เห็น ) เจอวาฮาบี สายคุณก็รู้ว่าคือใคร ออกมาต่อว่า

ไม่เห็นเหตุการ สุริยุปราคา แล้วละหมาดได้อย่างไร มีแบบ อย่างจากนบีหรือ ไม่เห็น สุริยุปราคา แล้วละหมาดได้

ออฟไลน์ Goddut

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 854
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #208 เมื่อ: ส.ค. 21, 2009, 12:12 PM »
0
คุณ read ถามว่า แตกต่างกันอย่างไร หรือเปล่าครับ
ผมขอตอบว่า ไม่แตกต่าง ตามทรรศนะ ที่ผมเลือกใช้อยู่
กล่าวคือ คนในท้องถิ่น คนในละแวก นั้นเห็น เราก็ละหมาดได้ครับ
สมมุติวันนี้ มี จัทรปราคา เราอยู่ในมัสยิดนี้ คนในมัสยิด เห็นกันหลายคน มีการทำละหมาดที่มัสยิด เพียงแต่เราไม่เห็น แบบนี้เราก็ละหมาดได้ครับ

หากเขากล่าวอ้างว่า ต้องเห็นเองด้วยตา แล้วเกิดคนเป็นอีหม่ามตาบอด ( เหมือนผู้นำศาสนา ในสำนักฟัตวาซาอุ ที่ตาบอด ) แบบนี้ ท่านก็ละหมาดไม่ได้สิครับ !!!

วัลลอฮฺอะลัม
วัสลาม...

ออฟไลน์ Deeneeyah

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 800
  • Respect: +8
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.alisuasaming.com/
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #209 เมื่อ: ก.ย. 09, 2009, 09:27 PM »
0
 salam

เพิ่มเติม

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ผมมีเรื่องอยากจะถามอาจารย์ดังนี้ครับ
1.เมื่อวันที่เกิดสุริยุปราคาที่ ผ่านมานั้น มีซุนนะห์ให้ละหมาดใช่หรือไม่ครับ แต่อยากทราบว่าผู้ที่ละหมาดนั้นต้องเป็นผู้เห็นด้วยตัวเองหรือไม่ครับ หรือว่าใครคนใดคนหนึ่งเห็นก็สามารถละหมาดได้ทุกคน แล้วมันเป็นกรณีเดียวกันกับการเห็นจันทร์เสี้ยวในการเข้าบวชออกบวชหรือไม่ เพราะถ้าใครคนหนึ่งเห็นก็ให้เข้าบวชออกบวช รบกวนอาจารย์ช่วยอธิบายหน่อยครับ

ขอบคุณครับ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛

ละหมาดสุริยุปราคา  (الكسوف)  และจันทรุปราคา  (الخسوف) เป็นซุนนะฮฺมุอักกะดะฮฺ  โดยการเห็นพ้องของบรรดานักวิชาการ  (อัลฟิกฮุลอิสลามีย์  เล่มที่  2  หน้า  396)  โดยการละหมาดซุนนะฮฺชนิดนี้ได้ถูกบัญญัติให้กระทำทั้งในยามที่ไม่ได้เดิน ทาง  และเดินทาง  ทั้งชายและหญิง  กล่าวคือ  ในสิทธิของบุคคลทุกคนที่ถูกคิฏ็อบฺ  (สื่อ-โต้ตอบ)  ให้ละหมาดฟัรฎู  5  เวลาก็มีซุนนะฮฺให้ละหมาดซุนนะฮฺดังกล่าว  (อ้างแล้ว  เล่มที่  2  หน้าเดียวกัน)

ในหะดีษมีสำนวนระบุว่า   (فَإذَارَأَيْتُمُوْهُمَا...الحديث)  “ดังนั้นเมื่อพวกท่านได้เห็นทั้งสอง  (หมายถึง  เห็นสุริยุปราคาหรือจันทรุปราคาอย่างใดอย่างหนึ่ง)  พวกท่านก็จงมุ่งสู่การละหมาด”  (รายงานโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม)

อัช เชากานีย์  (ร.ฮ.)  ระบุว่า  :  ในข้อความนี้บ่งชี้ถึงการให้รีบและบ่งถึงว่าไม่มีเวลาที่แน่นอนสำหรับการละ หมาดอัลกุ้ซู๊ฟ  เพราะการละหมาดนั้นผูกพันเกี่ยวข้องกับการเห็นดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์  ซึ่งเป็นไปได้  (ว่าจะเกิดคราส)  ในทุกเวลา...”  (นัยลุ้ลเอาฏ๊อร  ชัรฮุ  มุนตะกอ  อัลอัคบ๊าร ; อัชเชากานีย์  เล่มที่  3  หน้า  371)  อิบนุดะกีก  อัลอีด  (ร.ฮ.)  กล่าวว่า  :  แท้จริงได้ถูกใช้ให้ละหมาดเมื่อเห็นสิ่งดังกล่าว  (อิฮฺกามุ้ลอะฮฺกาม  ชัรฮุ  อุมดะติลอะฮฺกาม  ;  อิบนุ  ดะกีก  อัลอีด  เล่มที่  1  หน้า  353)  ท่านอิบนุตัยมียะฮฺ  (ร.ฮ.)  กล่าวว่า  :  “แท้จริงการละหมาดสุริยคราสและจันทรคราสนั้นจะไม่ถูกละหมาดนอกเสียจากเมื่อ เราเห็นสิ่งดังกล่าว”  (มัจญฺมูอะฮฺ  อัลฟะตาวา  ;  อิบนุตัยมียะฮฺ  เล่มที่  24  หน้า  141)


จึงเข้าใจในเบื้องต้นได้ว่า  เมื่อมีผู้เห็นเหตุการณ์อุปราคาหรือคราสดังกล่าว  ก็ให้ละหมาดซุนนะฮฺที่ว่ามา  ซึ่งตามรายงานของมุสลิมมีระบุว่า  ท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)  ได้ส่งคนออกไปป่าวประกาศว่า “อัซซอลาตุ้  ญามิอะฮฺ”  คือ ให้ไปละหมาดรวมกันที่มัสญิด  การเห็นที่ว่านี้จะเป็นคนเพียงไม่กี่คนหรือเป็นคนทั้งหมดในสถานที่นั้นก็ ได้  กล่าวคือ  ผู้ที่จะละหมาดซุนนะฮฺนี้จะเป็นผู้เห็นด้วยตัวเองก็ได้  หรือไม่เห็นแต่รู้ก็สามารถละหมาดได้  แต่ที่สำคัญคือ  ที่บ้านนั้นเมืองนั้นหรือตำบลนั้นมีคนเห็น

อย่างในประเทศไทยนั้น มีสุริยุปราคาบางส่วนและมีผู้พบเห็นก็ย่อมมีซุนนะฮฺให้ละหมาดได้  โดยไม่จำเป็นว่าต้องเห็นทุกคน  ส่วนประเทศอื่นหรือแม้แต่ภาคหนึ่งภาคใดของประเทศไม่ปรากฏเหตุการณ์ทางดารา ศาสตร์นี้ให้เห็นก็ไม่มีซุนนะฮฺให้ละหมาด  ทั้งนี้เหตุการณ์สุริยุปราคาและจันทรุปราคาจะไม่เกิดขึ้นโดยเห็นกันทั้งโลก  เพราะมีเวลาต่างกันนั่นเอง


ส่วนที่ถามว่าเป็นกรณีเดียวกับการ เห็นจันทร์เสี้ยวในการเข้าบวชหรือออกบวชหรือไม่?  ประเด็นนี้น่าคิด  แต่ผู้ตอบก็ยังไม่พบว่ามีนักวิชาการท่านใดพูดไว้อย่างชัดเจนในเรื่องนี้  แต่สิ่งที่คล้าย ๆ กันก็คือ  การละหมาดซุนนะฮฺชนิดนี้เกี่ยวข้องกับการเห็นปรากฏการณ์  ถ้ามีผู้เห็นก็ละหมาด  (ซึ่งจะเห็นได้ก็ต้องอยู่ในโซนและเวลาที่เกิดปรากฏการณ์เท่านั้น)  ถ้าไม่เห็นก็ไม่ต้องละหมาด  (ซึ่งเหตุที่ไม่เห็นก็เพราะไม่ได้อยู่ในโซนและเวลาที่เกิดปรากฏการณ์นั่น เอง)  เรื่องจันทร์เสี้ยวก็เช่นกัน  จะมีคนทั้งโลกเห็นพร้อมกันคงไม่ใช่หรือทั้งโลกไม่มีผู้เห็นเลยก็คงไม่ใช่  เพราะโลกมีโซนและเวลาต่างกัน  ที่หนึ่งอาจจะเห็นจันทร์เสี้ยวก็ให้เข้าบวชหรือออกบวช  แต่อีกที่หนึ่งไม่เห็นจันทร์เสี้ยวก็ยังไม่เข้าบวชหรือยังไม่ออกอีด

ปัญหา จึงเกิดกับฝ่ายที่ถือว่าที่ใดเห็นจันทร์เสี้ยวที่อื่นก็ต้องถือตามเมื่อรับ รู้ข่าวสาร  ทั้ง ๆ  ที่  ๆ อื่นนั้นไม่เห็นจันทร์เสี้ยวก็ตามที่ว่าเป็นปัญหาก็คือ  เมื่อนักวิชาการฝ่ายนี้ระบุว่าที่ใดเห็นจันทร์เสี้ยว  ที่อื่นก็ถือตามได้โดยผ่านข้อมูลข่าวสารยืนยันว่ามีผู้เห็น  แต่พอมาเรื่องละหมาดคราสกลับบอกว่า  ซุนนะฮฺให้ละหมาดเฉพาะผู้เห็นเท่านั้น  ทั้ง ๆ ที่มีข่าวสารยืนยันการเห็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ดังกล่าวในส่วนอื่นของโลก ก็ตาม  ถ้าบอกว่า  2  เรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวกันคือว่าด้วยการเห็น  (รุอฺยะฮฺ)  เป็นหลัก  นักวิชาการฝ่ายนี้ก็จะมี  2  มาตรฐานทันที  แต่ถ้าพิจารณาการเห็นที่เกี่ยวพันกับโซนและเวลาอย่างนักวิชาการอีกฝ่ายหนึ่ง ที่พิจารณาความใกล้ไกลของเมืองและความแตกต่างของมัฏละอฺและเวลาที่ต่างกันก็ จะอธิบายได้อย่างลงตัว  ทั้งในกรณีของจันทร์เสี้ยวและการละหมาดคราสทั้ง  2  กล่าวคือ  ที่ไหนเห็นก็ละหมาด  ที่ไหนไม่เห็นก็ไม่ต้องละหมาดถึงแม้ว่าจะมีผู้คนในเมืองอื่นที่ห่างไกลออกไป เห็นก็ตาม  ที่ใดเห็นจันทร์เสี้ยว  ที่นั่นก็เข้าบวชหรือออกบวช  ที่ใดไม่เห็นจันทร์เสี้ยวก็ยังไม่เข้าบวชหรือยังบวชต่อให้ครบ  30  วัน  เป็นต้น  ถึงแม้ว่าจะมีผู้เห็นจันทร์เสี้ยวในเมืองอื่นที่ห่างไกลออกไปและอยู่คนละมัฏ ละอฺก็ตาม  ความเห็นของฝ่ายนี้ก็ลงตัวและมีมาตรฐานเดียวคือขึ้นอยู่กับการเห็น  ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับการรับข้อมูลข่าวสารอย่างที่ว่ากัน!


والله أعلم بالصواب


http://www.alisuasaming.com/qa/index.php?topic=1009.0

วัสสลาม

كُلَّمَاأَدَّبَنِى الدّه    رُأََرَانِى نَقْصَ عَقْلِى    وإذاماازْدَدْتُ عِلْمًا   زَادَنِى عِلْمًابِجَهْلِى
 
ทุกครั้งคราที่กาลเวลาได้สอนสั่งฉัน  ฉันก็เห็นว่าตัวฉันปัญญาพร่อง  และเมื่อใดที่ฉันได้เพิ่มพูนความรู้  มันก็เพิ่มความรู้ว่าฉันโง่เขลา



 

GoogleTagged