ผู้เขียน หัวข้อ: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม  (อ่าน 46388 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ บุคคลธรรมดา

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 433
  • live&learn in Islam
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: ม.ค. 04, 2007, 07:56 PM »
0
ญะซากัลลอฮ์  บัง กดดัน และ บัง มูหิบ  ค่ะ  สำหรับวิชา ดาราศาสตร์  8)
ถ้าหากว่าเราจะข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่งที่เต็มไปด้วยแอ่งปลักโคลน
แน่นอนที่สุด เราจะถึงฝั่งนั้นในสภาพที่เปรอะเปื้อนด้วยโคลน...
โคลนที่อยู่ในแอ่งนั้น มันจะทิ้งร่องรอยที่เท้าของเรา
และในที่ที่ เราได้เหยียบย่างไป

                        "อัลชะฮีด ซัยยิด กุฏุบ"

ออฟไลน์ Goddut

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 854
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: ม.ค. 05, 2007, 12:00 AM »
0
ฮิจเราะ คือการ อพยพ

การเริ่มนับศักราชถูกกำหนดใช้ในสมัยการปกครองของอุมัร อิบนุลคอฏฏอบ (คอลีฟะหฺคนที่ 2) ซึ่งประกาศใช้ในปีที่ 17 หลักการอพยพ
โดยยึดปีที่ นบี (ซ.ล.) อพยพออกจากเมืองมักกะ สู่มะดีนะ ในเดือน เราะบีอุลเอาวาล ปีที่ 14 ของการเผยแพร่ และนับเริ่มตั้งแต่เดือนมุฮัรรอมตามธรรมเนียมของชาวอาหรับ

ดังนั้น หากจะกล่าวว่า มุสลิมสมัยนั้น ไม่รู้ดาราศาสตร์ ก็คงเป็นที่ผิดพลาดอย่างที่สุดแน่
ในเมื่อการนับวัน และเดือน รวมถึงปีนั้น ทั้งหมดยังต้องสอดคล้องกันอีกด้วย
เราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในสมัยท่านอุมัร อิสลามไม่มีวิชาดาราศาสตร์
เพราะหากไม่รู้ด้านดาราศาสตร์ ก็คงไม่มีสิทธิจะตั้ง ปีฮิจเราะศักราช ได้


สรุป วิชาดาราศาสตร์ จึงจำเป็นต่อพี่น้องมุสลิมเรา ในหนึ่งหัวเมือง ที่จักต้องมีผู้รู้เหล่านี้ ....


วัลลอฮฺอะลัม
วัสลาม...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 11, 2007, 06:32 AM โดย Goddut »

ออฟไลน์ Goddut

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 854
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: ม.ค. 05, 2007, 01:10 AM »
0
วิชาต่างๆ ในแขนง ดาราศาสตร์

วิชาวัดตำแหน่งดาว (Astrometry)
ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ (Astrophysics)
จักรวาลวิทยา (Cosmology)
การก่อกำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักร (Galaxy formation and evolution)
ดาราศาสตร์ดาราจักร (Galactic astronomy)
ดาราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบ (Extragalactic astronomy)
ดาราศาสตร์ดาวฤกษ์ (Stellar astronomy)
วิวัฒนาการดาวฤกษ์ (Stellar evolution)
การก่อกำเนิดดาวฤกษ์ (Star formation)
วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ (Planetary Sciences)
ชีววิทยาดาราศาสตร์ (Astrobiology)
โบราณดาราศาสตร์ (Archaeoastronomy)
เคมีดาราศาสตร์ (Astrochemistry)

ซึ่ง จะแบ่งได้ 2 สาขาใหญ่ๆ คือ  ดาราศาสตร์สังเกตการณ์ (observational astronomy) และ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ทฤษฎี (theoretical astrophysics)
ในดาราศาสตร์ แบบสังเกตการณ์ ก็คือ กลุ่มนักดาราศาสตร์ ผู้ที่ดูเดือน ดูดาวในท้องฟ้านั่นเอง
แม้จะเลือกศึกษาสาขาใดก็ตาม หลักใหญ่ๆ ทั้ง 2 นี้ ก็จำเป็นต้องนำมาใช้ควบคู่กันไป อันเป็นพื้นฐานของนักดาราศาสตร์ เลยทีเดียว
ดังนั้นบุคคลผู้ใด ที่กล่าวหาว่า ดาราศาสตร์ใช้การคำนวณเท่านั้น และเชื่อถือไม่ได้นั้น (โดยอ้างว่าไม่ยอมดูเดือน) ย่อมหมายถึง บุคคลผู้นั้นเป็นผู้ที่ขาดทุนเป็นอย่างมาก
เนื่องมาจาก บุคคลผู้นั้นไม่มีความรู้ด้านดาราศาสตร์โดยสิ้นเชิง และหากนั่นหมายถึงการกล่าวเช่นนี้จึงเป็นการกล่าวเท็จไปโดยปริยาย (อัฟตักฟิรุลลอฮฺ)

ที่ยกมานี้ เพราะ วิชาดาราศาสตร์ นั้นมีมากมาย
เรามุสลิม จะปฏิเสธวิชา เหล่านี้ เพียงเพราะ อ้างเรื่องศาสนา งั้นหรอกหรือ ?

ในขณะที่โลกหมุนไป บุคคลบางกลุ่มกลับไม่พยายามหมุนตามโลก
กลับอ้างต่างๆ นาๆ ให้สมเหตุสมผล กับความด้อยความรู้ของตนเอง โดยกล่าวแต่เพียงว่า อิสลาม ไม่ได้สอนให้ใช้ดาราศาสตร์

แล้วเขาเหล่านั้น จะรู้ได้อย่างไร ถึงความยิ่งใหญ่ของ อัลลอฮฺ (ซ.บ.)
ยิ่งเราศึกษา มากขึ้นเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งรู้ว่า พระองค์ทรงยิ่งใหญ่เพียงใด...



ปล.  ใส่รูป ให้แล้วนะครับ  รวมทั้ง ชี้แจงเรื่องบทความด้วยครับ เพิ่มเติมหน้า 2 ครับ อินชาอัลลอฮฺหากมีเวลาจะเพิ่มให้อีกครับ

วัลลอฮฺอะลัม
วัสลาม...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 11, 2007, 06:35 AM โดย Goddut »

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: ม.ค. 05, 2007, 08:53 PM »
0
ปล.  ใส่รูป ให้แล้วนะครับ  รวมทั้ง ชี้แจงเรื่องบทความด้วยครับ

ผมหาตั้งนานว่า รูป เมื่อไหร่จะมา  ที่แท้  น้อง Goddut  ใส่รูปและปรับปรุงข้อมูลในกระดานที่ 2 ที่ผ่านมาโน้น  คือเพิ่งเจอน่ะครับ   อืมม..  ผมเองได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มมขึ้นมาเลยครับ  อัลฮัมดุลิลลาห์  และผมอยากให้กระทู้นี้  เป็นกระทู้เกี่ยวกับ  วิชการฟะลัก (ดาราศาสตร์) โดยตรง  และหากมีการเสวนาเกี่ยวกับหลักการดาราศาสตร์อิสลามแล้ว   ต่อ ๆ ไป  ก็น่าจะนำเสนอวิธีการหรือสูตรการ คำนวน ด้วย  ก็จะดีมากเลยครับ  และเป็นการนำเสนอหลักดาราศาสตร์อิสลาม  ที่สมบูรณ์แบบ ตามเจตนาที่ผู้นำเสนอต้องการให้พี่น้องได้รับรู้กันครับ   ขออัลเลาะฮ์ทรงตอบแทนด้วยใจจริงครับ   

ออฟไลน์ Goddut

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 854
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: ม.ค. 07, 2007, 01:15 AM »
0
วันนี้ ผมได้ไปที่งาน ศาสนูปถัมป์ มาครับ
ได้ฟัง อาจารย์ ท่านนึง พูดเกี่ยวกับเรื่องชีอะ ได้ดีมาก
แต่
อาจารย์ ท่านกลับมาพูดเรื่อง วันอะรอฟะ ด้วย
แล้วท่านก็แสดงความรู้ ในเรื่องการนับวันแบบดาราศาสตร์อิสลาม (แน่นอนข้อมูลไม่ผิด แต่ท่านเข้าใจไม่หมด)
อันผมจะขอชี้แจงดังนี้ (จากคำกล่าวโดยสังเขป คิดว่าคงมีเทปไปหาฟังได้ครับ)

อาจารย์ กล่าวว่า "วันอะรอฟะมีที่เดียวในโลก"  จากนั้นกล่าวอีกว่า "เมื่อซาอุเข้าวันอะรอฟะตอน 5 ทุ่ม แล้วประเภทจึงเข้าตอนตี 3"
อาจารย์ บอกว่า "มันเป็นวันเดียว เพราะ อิสลามนับวันเมื่อมักริบ กล่าวคือ ซาอุเข้ามักริบแล้ว และไทยเราก็เข้าผ่านมักริบไปแล้ว ดังนั้นตอนตี 3 จึงเป็นวันเดียวกัน"

เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดพลาดอย่างมากที่สุด
ผมจะยกตัวอย่าง 3 ข้อง่าย
1. นบี(ซ.ล.) มิได้กำหนด วันอะรอฟะ ว่าเป็นวันที่เท่าใด ในเดือน
2. วันอะรอฟะ คือวันที่มีการวุกุฟกัน
3. วุกุฟ คือการรวมตัวของผู้แสวงบุญ ณ ทุ่งอะรอฟะ  เมื่อเวลาซุปฮฺของวันนั้น จนถึงซุปฮฺของวันอีดอัดฮา

ดังนั้น
1.  หาก นบีไม่กำหนดวัน ว่าวันที่ 9 คือ วันอะรอฟะ เราก็จำเป็นต้องรอวันอะรอฟะที่ ซาอุ (ในกรณีที่กล่าวอ้างจะตามท่านนบี มิได้จะตามความเห็นของมัซฮับซาฟีอี)
2. วันใดก็ตาม ที่ไม่มีการวุกุฟ วันนั้นก็ไม่ใช่วันอะรอฟะ
3. วันอะรอฟะ จึงไม่สามารถนับเป็นวันอะรอฟะได้ หากไม่เกิด หรือเริ่มการวุกุฟ

ตามที่ อาจารย์ กล่าวอ้างว่า "ตอนตี 3 บ้านเราเป็นวันอะรอฟะ ที่บ้านเขาเป็นเวลา 5 ทุ่ม" นั้น จึงถือว่าไม่ถูกต้องทั้งหมด
อันเนื่องมาจาก หากวันอะรอฟะ นับโดยมีการวุกุฟ และวุกุฟ เริ่มเมื่อ เวลาซุปฮฺ แล้วนั้น
ซ้ำร้ายกว่านั้นคือ หากกล่าวเช่นนั้น เมื่อเวลา 4 โมงเย็น ณที่ๆ หนึ่ง ก็ยังถือเป็นวันเดียวกันอีกด้วย นั่นก็เพราะว่า เลยเวลามักริบมาแล้ว.. เช่นกัน

นั่นก็หมายถึง วันอะรอฟะ ที่ซาอุ จะเป็นตอนประมาณตี 5 และ เป็นวันอะรอฟะของไทยเรา เวลา 9 โมงเช้า
กระนั้นก็ดี บางมัสยิดนำละหมาดอีด ตอน 8 โมงเช้า ซึ่ง ณ เวลานั้น ซาอุ เพิ่งจะตี 4 คือยังไม่เข้าซุปฮฺ หรือหมายถึง ยังไม่มีวุกุฟ และแน่นอนก็ยังไม่เป็นวันอะรอฟะ อีกด้วย

มัสยิดเหล่านั้นจึงละหมาดอีด ก่อนวันอะรอฟะ อย่างรู้เท่าไม่ถึงการ

สุดท้าย อาจารย์ ได้กล่าวว่า "นบีบอกไว้ ทำไมต้องทำให้ยุ่งยาก"
คำตอบนี้แสดงให้เห็นว่า อาจารย์ ไม่มีความรู้ด้านดาราศาสตร์อิสลาม และไม่คิดที่จะศึกษา เนื่องจากอาจารย์เห็นว่ายุ่งยากนั่นเอง



ปล. มีบางคำที่อาจารย์ กล่าวไว้อีกมาก ซึ่งผมทนฟังไม่ไหวจนต้องลุกขึ้นไปละหมาด (อัฟตักฟิรุลลอฮฺ) อันเนื่องมาจากการแสดงทรรศนะ จากความไม่เข้าใจของอาจารย์ท่านนี้ ครับ

ตัวผมก็อยากเข้าไปถามอาจารย์ตรงๆ แต่เข้าไปถามไม่ทัน ก็อยากจะหลังไมค์ แต่ก็ไม่มีโอกาส แต่ก็ถือว่าดี เพราะผมก็ยังนับถือเขาในฐานะผู้รู้ท่านหนึ่งเช่นกัน



วัลลอฮฺอะลัม
วัสลาม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 31, 2007, 05:49 PM โดย Goddut »

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #35 เมื่อ: ม.ค. 07, 2007, 01:59 AM »
0
สุดท้าย อาจารย์ ได้กล่าวว่า "นบีบอกไว้ ทำไมต้องทำให้ยุ่งยาก"
คำตอบนี้แสดงให้เห็นว่า อาจารย์ ไม่มีความรู้ด้านดาราศาสตร์อิสลาม และไม่คิดที่จะศึกษา เนื่องจากอาจารย์เห็นว่ายุ่งยากนั่นเอง

ปล. มีบางคำที่อาจารย์ กล่าวไว้อีกมาก ซึ่งผมทนฟังไม่ไหวจนต้องลุกขึ้นไปละหมาด (อัฟตักฟิรุลลอฮฺ) อันเนื่องมาจากการแสดงทรรศนะ จากความไม่เข้าใจของอาจารย์ท่านนี้ ครับ

ผมอ่านตรงนี้แล้ว  คิดเหมือนคุณเลยครับ  ซึ่งคำพูดแบบนี้   คาดการณ์ได้สองประการ

1. อาจารย์ที่พูดเองไม่เข้าใจ

2. คนฟังเลยไม่ค่อยเข้าใจไปด้วย

ก็เลยบอกว่า "นบีบอกไว้ ทำไมต้องทำให้ยุ่งยาก"  วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ muhib

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: ม.ค. 07, 2007, 01:21 PM »
0
อัสลามุอะลัยกุม

มาตรฐานการกำหนดวันของทางการสอูดี อารเบีย

1. มาตรฐานเก่า (ใช้จนถึง ฮ.ศ. 1419)

ผู้คนส่วนใหญ่คิดว่าสอูดี อารเบียใช้การดูจันทร์เสี้ยวเป็นรากฐานในการเริ่มต้นเดือนอิสลามอย่างแท้จริง แต่ระหว่างช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน ตลอดจนนักดาราศาสตร์ทั้งหลายว่า ถ้าถือการดูเดือนจริงๆ เป็นรากฐานของการเริ่มต้นเดือนอิสลามแล้ว เดือนของสอูดีส่วนใหญ่คลาดเคลื่อน โชคดีที่สมาคมดาราศาสตร์จอร์แดน(Jordanian Astronomical Society) หรือ JAS ได้รับโทรเลขจากสภาสูงสุดทางศาสนา(Majlis al-Ifta' al-A'ala)ในสอูดี อารเบีย ยืนยันว่าสอูดี อารเบียใช้การคำนวณทางดาราศาสตร์ และปฏิเสธการดูดวงจันทร์จริงๆ โดยสิ้นเชิง ต่อไปนี้คือคำแปลโทรเลขดังกล่าว

"ถึงจอร์แดน / อัล-ยาดูดะฮฺ / มีม.ฮา. / อัซซูก/ คุณฮายิล มัมดูฮฺ อบูซัยดฺ, วันที่ 21 มกราคม 1998/23 รอมฏอน ฮ.ศ. 1418

เราขอขอบคุณที่กรุณาส่งคำอวยพรเนื่องในเดือนรอมฎอนมาให้เรา และย้ำเตือนเราเกี่ยวกับวันที่จะเกิดนิวมูน(จันทร์ดับ)ของเดือนเซาวาล ฮ.ศ. 1418 เราเองก็ใคร่ขอย้ำเตือนมายังท่านว่า การกำหนดวันที่ 1 ของเดือนอิสลามก็เหมือนกับการกำหนดเวลาละหมาด และพระผู้ทรงเกรียงไกรเองยังมีพระประสงค์จากเวลาเหล่านี้ คือทรงกำชับเราไม่ให้ยึดมันเป็นที่เคารพ ตามปฏิทินอุมมฺ กุรฺเราะฮฺถือว่า ถ้าภายหลังเกิดนิวมูน(จันทร์ดับ)แล้ว ในช่วงที่ดวงอาทิตย์ตก ดวงจันทร์มีอายุ 12 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น ดังนั้นให้ถือว่าวันก่อนเป็นวันแรกของเดือนอิสลาม เพราะวันในอิสลามให้เริ่มเมื่อดวงอาทิตย์ตก และค่ำคืนจะมาก่อนช่วงกลางวัน นอกจากนี้ เวลาของการถือศีลอดเองก็อยู่ในช่วงเวลากลางวันด้วยเช่นกัน ขออัลลอฮฺได้ทรงรับการทำอิบาดะฮฺของคุณ ขออัลลอฮฺประทานพรให้รอมฎอนนี้ ขอขอบคุณในความร่วมมือของท่านที่เป็นไปด้วยดี

จาก : ราชอาณาจักรสอูดี อารเบีย/ อัรฺ-ริยาร์ด/สภาสูงสุดทางศาสนา ?มัจญ์ลิส อัล-อิฟตะอฺ อัล-อะอฺลา?/มุฮัมมัด บิน อิหฺมีด)

ในเรื่องเดียวกันนี้ คุณฮายิลแห่งสมาคมดาราศาสตร์จอร์แดน หรือ JAS ยังได้รับจดหมายฉบับอื่นๆ อีก จดหมายเหล่านั้นมีความชัดเจนยิ่งกว่าโทรเลขดังกล่าวเสียอีก ตัวอย่างต่อไปนี้อาจทำให้ระบบของพวกเขาชัดเจนยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่นถ้าวันที่ 29 ธันวาคม ตรงกับวันที่ 29 ชะอฺบาน และนิวมูน(จันทร์ดับ)เกิดขึ้นภายหลังดวงอาทิตย์ตกในกรุงริยาร์ด คือเวลา 23 น. ของวันที่ 29 ธันวาคม ดังนั้นวันรุ่งขึ้น(30 ธันวาคม) เวลาที่ดวงอาทิตย์ตก(อย่างเช่นเวลา 17 น.) ดวงจันทร์จะมีอายุ 18 ชั่วโมง ซึ่งมากกว่า 12 ชั่วโมงตามเกณฑ์ ดังนั้นวันดังกล่าว(30 ธันวาคม)จึงเป็นวันที่ 1 เดือนรอมฎอน ถึงแม้ว่านิวมูนไม่ได้เกิดขึ้นขณะดวงอาทิตย์ตกในวันที่ 29 ชะอฺบาน(29 ธันวาคม)ก็ตาม และโดยทั่วไปแล้ว กรณีดังกล่าว ดวงจันทร์ตกก่อนดวงอาทิตย์!! กรุณาดูสำเนาของโทรเลขได้ข้างล่าง


2. มาตรฐานที่สอง (ฮ.ศ. 1420 ? ฮ.ศ. 1422)

ตั้งแต่ ฮ.ศ. 1420 ทางการสอูดีเริ่มเดือนทางจันทรคติ โดยถือว่าถ้าดวงจันทร์ตกหลังดวงอาทิตย์ในวันที่ 29 ของเดือนก่อน ตามการดูเดือนที่เมืองมักกะฮฺ ถึงแม้มาตรฐานนี้จะดีกว่ามาตรฐานเก่าก็ตาม แต่ก็ยังละเลยการมองจันทร์เสี้ยวจริงๆ (มองด้วยตา) นอกจากนั้น ในบางเดือน พวกเขาเริ่มต้นเดือนในขณะที่ดวงจันทร์ยังไม่ได้อยู่ในตำแหน่งร่วม(conjunction)แต่อย่างใด (เช่น ตำแหน่งเกิดนิวมูน) !! การที่ดวงจันทร์ตกหลังดวงอาทิตย์ก็ไม่ได้หมายความว่าดวงจันทร์จะอยู่ในตำแหน่งร่วมเสมอไป

กรุณาดูข้อความจากแถลงการณ์ของสภาอัล-ชูรอ(Al-Shorah Council)ที่กล่าวถึงมาตรฐานใหม่ของพวกเขาตามที่แสดงอยู่ข้างล้างนี้

ต่อไปนี้คือคำแปลของแถลงการณ์ดังกล่าว :

"เพื่อที่จะกำหนดวันเริ่มต้นของเดือนจัทรคติ คณะกรรมการเตรียมจัดทำปฏิทินของอุมมฺ อัล-กุรฺเราะฮฺจะถือดวงอาทิตย์ตกก่อนดวงจันทร์ตกในนครมักกะฮฺเป็นเกณฑ์ และให้นำเอาระยะพิกัดของมัสยิดอัล-หะรอมมาใช้ด้วยเช่นกัน"


ตัวอย่างเช่น วันที่ 7 ธันวาคม 1999 (29 ชะอฺบาน) ในนครมักกะฮฺ ดวงอาทิตย์ตกเวลา 17:38 น. และดวงจันทร์ตกเวลา 17:29 น. เนื่องจากดวงจันทร์ตกก่อนดวงอาทิตย์ วันที่ 8 ธันวาคมจึงไม่ใช่วันที่ 1 เดือนรอมฎอน ดังนั้น วันที่ 1 รอมฎอนจึงตรงกับวันที่ 9 ธันวาคม

ด้านล่างแสดงภาพสองภาพเป็นหลักฐาน ภาพที่อยู่ด้านขวาเป็นภาพสำเนาของปฏิทินสอูดีแบบเก่า(ที่พิมพ์ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐาน) แสดงให้เห็นว่า วันที่ 1 รอมฎอน ตรงกับวันที่ 8 ธันวาคม ขณะที่ภาพทางด้านซ้ายจากปฏิทินของอุมมฺ อัล-กุรฺเราะฮฺ ปี ฮ.ศ.1420 ระบุอย่างชัดเจนว่า วันที่ 1 รอมฎอนคือวันที่ 9 ธันวาคม 1999

3. มาตรฐานใหม่(ตั้งแต่ ฮ.ศ. 1423 เป็นต้นมา)

ดร. ซากี อัล-มุสฏอฟา (จากสถาบันวิจัยทางด้านดาราศาสตร์และธรณีฟิสิกส์ ของนครกษัตริย์อับดุลอะซีซเพื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการสอูดีที่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำปฏิทินอุมมฺ อัล-กุรฺเราะฮฺ) ได้กล่าวเอาไว้ในบทความทางวิชาการของท่านที่นำเสนอต่อที่ประชุมดาราศาสตร์อิสลามครั้งที่ 2 ว่า นับจากปี ฮ.ศ. 1423 เป็นต้นไป สอูดีจะใช้มาตรฐานใหม่ในการเริ่มต้นเดือนจันทรคติ มาตรฐานใหม่กำหนดว่า : ถ้าในวันที่ 29 ของเดือนจันทรคติ มีเงื่อนไข 2 ประการต่อไปนี้บังเกิดขึ้นพร้อมกัน ดังนั้น วันรุ่งขึ้นจะถือเป็นวันที่ 1 ของเดือนใหม่ :-

1. ตำแหน่งร่วมที่ใช้โลกเป็นศูนย์กลาง(geocentric conjunction)เกิดขึ้นก่อนดวงอาทิตย์ตก
2. ดวงจันทร์ตกหลังดวงอาทิตย์

ขอให้สังเกตุเอาไว้ด้วยว่า มาตรฐานใหม่นี้เพิกเฉยการดูจันทร์เสี้ยวโดยสิ้นเชิง! ข้างล่างนี้คือบางส่วนของบทความของ ดร.ซากี ซึ่งระบุถึงมาตรฐานใหม่ดังกล่าว
 
( แต่เมื่อเอาจริงๆเข้าหลายปีมานี้ สะอูดี กลับไปรับเอาการเห็นฮิลาลในเวลาจันทร์ดับ และวันนั้นดวงจันทร์ก็ตกก่อนมัฆริบเสียด้วย
มาตรฐานลักลั่นอย่างนี้มันเป็นของนักการศาสนาในเมืองไทยของเราต้องไปยึดถือตามด้วยหรือ
เวลาบรรยายท่านครูจะบอกว่าจงเรียนเราต้องเรียนตั่งแต่เกิด จนตาย  หรือบอกว่าให้ค้นคว้าให้รู้ )

ต้นฉบับภาษาอรับโทรเลขดูได้จาก
http://www.hilalthailand.com

หัวข้อมาตรฐานการกำหนดวันของทางการสอูดี อารเบีย



ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #37 เมื่อ: ม.ค. 08, 2007, 08:00 AM »
0
มีเพื่อนมิตรสหายซึ่งเป็นสมาชิกของเวปไซท์นี้  ที่ได้ทำการศึกษาเวปฮิลาลไทยแลนด์ ได้ฝากข้อความส่วนตัวมายังผมโดยลิงค์ให้ผมดังนี้
http://www.hilalthailand.com/news/articles/article.php?id=7
ได้ขอให้ผมทำการแปล ข้อความภาพที่เป็นภาษาอาหรับ  โดยนำเสนอไว้ในกระทู้นี้  ซึ่งบางข้อความ คุณ มุฮิบ ได้นำเสนอไว้แล้ว ดังนั้นหากสำนวนแตกต่างอย่างไร ผมขอมะอัฟอย่างมากๆ ไว้ที่นี้นะครับ



"เราขอขอบคุณที่กรุณาส่งคำอวยพรเนื่องในเดือนรอมฎอนมาให้เรา และย้ำเตือนเราเกี่ยวกับเวลาเกิดเดือนเสี้ยว(ปรากฏเดือนเสี้ยวค้างอยู่ที่ขอบฟ้า)ของเดือนเซาวาล ฮ.ศ. 1418 เราเองก็ใคร่ขอย้ำเตือนมายังท่านว่า การกำหนดวันที่ 1 ของเดือนเชาวาลก็เหมือนกับการกำหนดเวลาละหมาด และพระผู้ทรงเกรียงไกรได้ทรงกำหนดให้มีความรู้เกี่ยวกับเวลาต่าง ๆ เหล่านี้ โดยที่ไม่นับว่าเป็นเรื่องอิบาดะฮ์ด้วยการเห็น(รู้)เวลาต่าง ๆ นั้น และการยึดปฏิทินของอุมมุลกุรอนั้น คือเมื่ออายุของจันทร์เสี้ยว ในช่วงขณะที่ดวงอาทิตย์ลับ มีอายุ 12 ชั่วโมงพอดี(ในช่วงที่ค้างอยู่ในตอนกลางวัน)หรือมากกว่านั้น โดยหลังจากที่มีตำแหน่งร่วม(ระหว่างดวงอาทิตย์และจันทร์เสี้ยว) ก็ให้ถือว่าวันก่อนเป็นวันแรกของเดือนเชาวาล(เพราะจะมีโอกาสที่เดือนจะค้างให้เห็นได้ในวันนั้น) เพื่อเริ่มวันแรกของเดือนฮิจญฺเราะฮ์ศักราชโดยหลังจากดวงอาทิตย์ลับแล้ว และแท้จริงกลางคืนย่อมอยู่ก่อนกลางวัน โดยที่การเข้าช่วงระยะเวลาการงดอาหารเพื่ออิบาดะฮ์ศีลอดนั้น ก็อยู่ในช่วงเวลากลางวันของพื้นที่นั้น ขออัลเลาะฮ์ทรงตอบรับการทำอิบาดะอ์ของท่าน และขอพระองค์ทรงทำให้วันนั้นหวนกับมาแก่เราและประชาชาติอิสลาม ด้วยความดีงาม ความมีเกียรติ และสูงส่ง และขออวยพรให้ท่านประสบแต่ความดีงาม เราขอขอบคุณท่านสำหรับการร่วมมือระหว่างเรา"

จาก : ราชอาณาจักรสอูดี อารเบีย/ อัรฺ-ริยาร์ด/สภาสูงไขปัญหาศาสนาสูงสุด ?มัจญ์ลิส อัล-อิฟตะอฺ อัล-อะอฺลา?/มุฮัมมัด บิน อิหฺมีด"
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #38 เมื่อ: ม.ค. 08, 2007, 08:04 AM »
0


มาตราที่ 11

"คณะผู้จัดทำปฏิทินอุมมุลกุรอจะยึดการคำนวนกำหนดวันแรกของเดือนจันทรคติ โดยยึดถือเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกก่อนดวงจันทร์ตามเวลาของมักกะฮ์อันทรงเกียรติ และได้นำเอาระยะพิกัดของมัสยิดอัล-หะรอม มาเป็นพื้นฐานให้กับสิ่งดังกล่าว"

มาตราที่ 12

"กระทรวงมหาดไทยจะดำเนินตามคำประกาศนี้"

มาตราที่ 13

"คำประกาศนี้จะถูกเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ของทางการและยึดมาปฏิบัติในวันที่แจ้งให้ทราบ"
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #39 เมื่อ: ม.ค. 08, 2007, 08:10 AM »
0


ช่วงระยะที่สาม ปีฮิจเราะฮ์ ที่ 1419 - 1422 ได้ยึดถือการจัดทำปฏิทิน ในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์ลับขอบฟ้าก่อนดวงอาทิตย์ ณ ที่นครมักกะฮ์อันทรงเกียรติ โดยไม่พิจารณาการเกิดเดือนเสี้ยวตามหลักดาราศาสตร์ และได้ใช้การกำหนดระยะพิกัดของกะบะฮ์อันทรงเกียรติ ในการจัดทำปฏิทินที่เป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์การทำปฏิทินอิสลาม แต่ปัญหาในที่นี้ คือ ในบางเดือนดวงจันทร์ขยายใหญ่กว่าที่เคยเป็น เพราะตามหลักคำนวนนั้นดวงจันทร์จะตกหลังดวงอาทิตย์หลายนาที  ซึ่งหมายถึงการเข้าเดือนจันทรคติ(ซึ่งตามหลักการแล้วต้องนับบางเดือนแค่ 29 วัน) ก่อนตำแหน่งร่วมของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่พร้อมกัน (คืออยู่ในตำแหน่งเดียวกันก็สามารถเกิดจัทนร์เสี้ยวได้เพียงครู่หนึ่งซึ่งไม่สามารถเห็นเดือนได้เพราะรัศมีดวงอาทิตย์กลบเดือนเสี้ยว จึงสามารถปัดเดือนให้เป็นสามสิบวันได้) ตัวอย่างเช่น ในวันที่ 7 / 8 / 2003 ค.ศ. ดวงอาทิตย์จะลับขอบฟ้าที่มักกะฮ์ในเวลา 18 : 41 นาที ในขณะที่ ดวงจันทร์ลับขอบฟ้าในเวลา 18 : 39 ทั้งที่ทราบว่า ตำแหน่งร่วมของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น จะเกิดขึ้นในเวลา 20 : 27 คือหลังจากที่ดวงอาทิตย์ลับแล้ว.

ช่วงระยะที่สี่ ปีฮิจเราะฮ์ ที่ 1423 พิจารณาถึงการเข้าเดือนจันทรคตินั้น คือยึดเพียงแค่ดวงจันทร์ตกหลังจากดวงทิตย์เท่านั้น ดังนั้น จึงมีความต้องการองค์ประกอบอื่นเข้ามาร่วมในทำปฏิทิน คือการเกิดตำแหน่งร่วมของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์(คือเกิดเดือนใหม่ขึ้นมาตามหลักดาราศาสตร์)ก่อนดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ซึ่งในช่วงระยะนี้ คาดว่า การเริ่มเข้าเดือนต่างๆ ทางจันทรคติ จะสอดคล้องกันโดยการคำนวน พร้อมทั้งสามารถเห็นเดือนได้ในยามที่สภาพอากาศปกติ และสามารถเห็นเดือนได้ด้วยตาหรือกล้องส่องทางไกล และในสถาพที่ไม่สามารถเห็นเดือนเสี้ยวได้ ก็ให้นับเดือน 30 วัน.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 08, 2007, 10:17 AM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #40 เมื่อ: ม.ค. 08, 2007, 08:22 AM »
0
พอดีเมื่อวานผมได้  ทานอาหารเย็นโดยปูด้วยหนังสือพิมพ์เก่า ๆ  ตักแกงกันไปและเมื่อผมบีบมะนาวลงในถ้อยซุบ แล้ววางมะนาวบนหนังสือพิมพ์ที่ปูอยู่  ก็เลยเห็นบทความเกี่ยวกับการดูเดือนพอดี  ผมเลยตัดแล้วแสกนนำเสนอแก่ผู้อ่านครับ เพื่อเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย  แต่ที่น่าอายคือ  หนังสือพิมพ์เปื้อนรอยแกงครับ ;D  ยังไงก็มะอัฟไว้ ณ ที่ด้วย



การเมืองได้ครอบงำการเห็นเดือนเสี้ยว และ 5 - 10 ประเทศอาหรับทำการถือศีลอดร่อมะฏอนวันเสาร์

ดร.ชัลโตต "การถือศีลอดเมื่อวาน เป็นการยึดเดือนเสี้ยวที่ "โกหก" และเราถือว่าผิดพลาด เมื่อเราทำการถือศีลอดตามซาอุดี้
เขียนโดย ค่อลิฟะฮ์ ญาบัลลอฮ์

การเมืองได้เล่นบทบาทอย่างมาก ในการกำหนดเดือนเสี้ยววันแรกของร่อมะฏอนที่มีเกียรติในปีนี้ ในขณะที่ประเทศอาหรับส่วนใหญ่ จาก 9 ประเทศได้เห็นพร้องกันถือศีลอดเมื่อวาน (คือวันเสาร์) โดยพิจารณาว่าเป็นวันแรกของเดือนรอมะฏอน โดยตามการเห็นเดือนจากราชอาณาจักรซาอุดี้อาราเบีย คือ ประเทสอิมิเรต , กาตาร์ , บะห์เรน , คุเวต , เลบานอน , ลิเบีย , ปาเลสไตย์ , ซูดาน , และเยเมน ในขณะที่อีก 4 ประเด็น มีความเห็นทางด้านดาราศาสตร์ ที่ขัดกับกลุ่มประเทศซาอุดี้ คือ วันอาทิตย์ คือวันแรกของรอมะฏอน ฮ.ศ. 1427 คือ ประเทศอียิปต์ , จอร์แดน , ซีเรีย , และญะซาอิร

การเล่นบทบาทสังกัดทางการเมือง ได้ปรากฏชัดอย่างมากในประเทศอีรัก ซึ่งเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงเมื่อวานซืน โดยที่สำนักงานสาธารณะสมบัติของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ในอีรักประกาศว่า วันเสาร์คือวันแรกของรอมะฏอน ในขณะที่ชีอะฮ์อิรักรอการเห็นเดือนจากอิหร่านซึ่งมีการประกาศที่ขัดแย้งกับที่อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ประกาศไปแล้ว ซึ่งหมายถึงครึ่งหนึ่งของอิรักถือศีลอดเมื่อวาน ขณะที่อีกครึ่งหนึ่งถือศีลอดวันนี้

ดร. มุสลิม ชัลโตต อาจารย์สาขาวิชาดาราศาสตร์และวิจัยเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ เผยว่า ประเทศทั้งหมดที่ทำการถือศีลอดเมื่อวานนี้ ได้ยึดการเห็นเดือนที่ "โกหกและหลอกลวง" โดยเขาย้ำว่า ประเทศเหล่านี้ ดวงจันทร์จะตกก่อนดวงอาทิตย์ ซึ่งหมายความว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นเดือนเสี้ยวของเดือนที่มีเกียรติ ตามที่ได้ประกาศไป

ดร.ชัลโตต กล่าวว่า ในอียิปต์และประเทศที่ยึดการเห็นเดือนนั้น ดวงจันทร์ต้องลับขอบฟ้าหลังจากดวงอาทิตย์ หากแม้จะนาทีเดียวก็ตาม เพื่อสามารถเห็นเดือนเสี้ยวได้ ในขณะที่ประเทศที่ถือศีลอดเมือวานนี้ เช่น ลิเบีย ได้ยึดหลักการเกิดตำแหน่งร่วมของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์(คือเกิดเดือนใหม่ขึ้นมา) ซึ่งเป็นหลักการที่ผิดพลาด เนื่องจากการคำนวนทางดาราศาสตร์ของอียิปต์นั้นถูกต้อง และหมายกำหนดการเกี่ยวกับการดูเดือนเสี้ยของรอมะฏอนนั้น ปลอดภัย

ดร.ชัลโตต กล่าวเสริมว่า เราไม่เคยผิดพลาดในการคำนวนของเรา แต่เมื่อซาอุดี้ทำให้เราต้องหนักใจโดยยึดจุดยืนของ "กลุ่มบุคคลที่ไม่มีความรู้" ที่ไม่ยอมรับการคำนวนของดาราศาสตร์และยึดบุคคลที่ไม่ชำนาญในการกำหนดดูเดือน.

อ้าอิงจากหนังสือ อัลมิสรียะฮ์ อัลเยาม์ วันอาทิตย์ / รอมะฏอน / 1427 - 24 / 11 / 2006

วัลลอฮุอะลาวะอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ muhib

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #41 เมื่อ: ม.ค. 08, 2007, 05:46 PM »
0
อัสลามุอะลัยกุม
การเข้าวันใหม่ของอิสลาม

เวลานับวันใหม่เป็นที่รู้กันแล้วว่าถ้าเห็นจันทร์เสี้ยวหลังอะซานมัฆริบแล้ว

ถือเป็นเข้าข้างขึ้นเดือนใหม่ ไม่ใช่เห็นก่อนเวลามัฆริบ ซึ้งไม่ใช่ลักษณะคว่ำดั่งคิ้วคน

เพราะนั่นเป็นเดือนเก่าอยู่คือดวงอาทิตย์อยู่สูงกว่า ดวงจันทร์อย่างที่เกิดขึ้น

ที่อำเภอหนองทะเล จ.ว.กระบี่เมื่อ วันที่ 5 พ.ค. 2532 เพราะหลังจากนั้นเมื่อสอบสวน

แล้วรู้ว่าเด็กสองคนที่เห็น อายุ 7 ขวบ และ 9 ขวบ และใด้เห็นก่อนอะซานมัฆริบ

ส่วนผู้ใหญ่บ้านที่รับแจ้งข่าวก็ใส่นาฬิกาตาย(เสียอีก) ส่วนแม่เด็กบอกว่าเมื่อเห็นสักพักหนึ่ง

ก็ได้ยินเสียงอะซฺานมัฆริบจากมัสญิด (ซึ่ง การเห็นในลักษณะเวลาก่อนมัฆริบนั้นจะเป็นเดือนเก่า)

การที่นักรุอ.ยะบอกว่าการคำนวณใช้ไม่ได้หรือเป็นวิธีของพวกนอกอิสลาม

ถ้าการคำนวณไม่มีในอิสลาม แล้วเป็นเรื่องเบาปัญญา เพราะการกล่าวถึงดาราศาสตร์หรือองศา

จักรราศี ดวงดาวใช้ในการนำทาง การโคจร หมุนเวียนของโลก ดวงจันทร์ การสับเปลี่ยนของวัน

เวลาเป็นเรื่องที่พระองค์อัลลอฮ. กล่าวไว้หลายอายะฮ ในอัลกุรอาน สูเราะฮ. อัล อันอาม 6:97

ผู้ทรงเบิกอรุณ และทรงทำกลางคืนเป็นยามพักผ่อน และทรงทำ ดวงตะวันและดวงเดือน(ให้

โคจร)ตามการคำนวณ นั้นคือพระกำหนด ของพระผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงรอบรู้.

สูเราะฮ.ยูนุส 10:5 พระองค์คือผู้ทรงทำให้ดวงตะวันมีแสงกล้า(มีแสงส่องออกจากตัวเอง)

และดวงเดือนมีแสง นวล(ได้รับแสงจากตะวัน)และทรงกำหนดมัน(ให้โคจร)

ตามจักรราศี เพื่อสูเจ้าจะได้รู้จักจำนวนของปีทั้งหลาย

และ(จะได้รู้จัก)การคำนวณ อัลลอฮ.มิได้ทรงสร้างสิ่งเหล่านี้เพื่ออื่นใด(โดยไร้ประโยชน์)

เว้นแต่ด้วยความจริง.

สูเราะฮ.อัลบะเกาะเราะฮ.2:189 เขาเหล่านั้นจะถามเจ้า เกี่ยวกับเดือนข้างขึ้นทั้งหลาย

จงกล่าวเถิด นี่เป็นเวลาอันกำหนดไว้ สำหรับมนุษย์และการหัจญ์.

สำหรับผู้ที่เรียนคำนวณทางดาราศาสตร์เขาจะออกไปสังเกตุดูดาวดูเดือน

มากกว่าผู้ที่อ้างว่าเป็นนักรุอฺยะ นักพูดที่บอกว่าเราต้องออกไปดูจันทร์เสี้ยว

แต่ท่านเหล่านั้นกลับนั่งฟังเสียงโทรศัพท์ทางไกลต่างประเทศ นั่งฟัง

ข่าวอย่างเดียว ส่วนนักคำนวณทางดาราศาสตร์เขาต้องออกไปดูดาวดูเดือน

เพื่อจะให้มั่นใจว่าที่คำนวณไว้นั้น ถูกต้องอย่างไร แถมต้องมีเครื่องมือมีกล้อง

ราคาเป็นพันเป็นหมื่นๆเพื่อศึกษาเปรียบเทียบวิชาดาราศาสตร์

และการคำนวณในการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ในวันต่างๆ

ศึกษาเพื่อจะใช้ในการสังเกตวัน เวลา องศาที่ตกของดวงจันทร์ได้ใกล้เคียงถูกต้อง

และเขาไม่ไช้เอาการคำนวณมากำหนดการเข้าออกเราะมะฎอน

แต่ทำให้ง่ายแก่นักดูเดือนด้วยตาทั้งหลายต่างหากและสามารถเป็นพื้นฐาน

จับโกหกนักดูเดือนปลอมได้ดังที่มีเรื่องให้ผิดพลาดกันเกือบทุกปี

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #42 เมื่อ: ม.ค. 08, 2007, 09:59 PM »
0
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته

ใช่แล้วครับ  คุณ muhib  การที่คำนวนตามหลักดาราศาสตร์(ฟะลัก)นั้น  เราไม่ใช่นำการคำนวนมาเป็นเกนฑ์ให้การเข้าบวชหรือออกบวช  แต่การคำนวนทางดาราศาสตร์นั้น  เพื่อให้เราสามารถดูเดือนได้สะดวก  และสามารถจับข้อผิดพลาด หรือการดูเดือนคลาดเคลื่อน ของคนทั่ว ๆ ไปได้นะครับ 

เช่นหากเราคำนวนแล้ว  รู้ว่าสามารถเห็นเดือนได้ 3 นาที , 4  นาที , 5 นาที  เป็นต้น  เราก็สามารถดูเดือนได้ตามเวลาดังกล่าวอย่างตั้งใจและตรงเวลา  เพื่อสามารถทำการดูเดือนอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง  ถึงหากแม้นว่า  การคำนวน  จะกำหนดว่า สามารถเห็นเดือนได้ใน 1 นาที  เราก็ต้องดูเดือนอย่างระมัดระวังที่สุดและใจจดใจจ่ออย่างตั้งใจ  เพื่อที่จะสามารถเห็นเดือนได้  นั่นคือหลักการของเราที่มีต่อดาราศาสตร์กับการดูเดือน 

แต่ถ้าหากว่าการคำนวน กำหนดว่า  ไม่สามารถเห็นเดือนได้  เพราะดวงจันทร์ตกก่อนดวงอาทิตย์  เป็นต้น  ดังนั้น  เราก็ทำการดูเดือนเช่นเดียวกัน  ดูเพื่อท่านนบี(ซ.ล.)ได้สั่งไว้  ผลออกมาก็ไม่เห็น เนื่องจากการคำนวนบอกว่าไม่มีโอกาสเห็น  แต่ถ้าหากว่ามีบุคคลหนึ่งอ้างว่าเห็นเดือน ทั้งที่ตามหลักดาราศาสตร์บอกว่าไม่มีโอกาสเห็น  ดังนั้น  เราจึงจำเป็นต้องสอบสวนและสอบถามแล้วว่า  เห็นอย่างไร?  ใครที่เป็นคนเห็น? เห็นก่อนมัฆริบหรือหลังมัฆริบแล้ว เป็นต้น   

ดังนั้น  หากผู้ใดที่แอบอ้างว่า  พวกเรายึดดาราศาสตร์โดยไม่ยึดการดูเดือนนั้น  ถือว่าเบาปัญญา และขาดไม่เข้าใจ บางคนกล่าวอ้างว่าการคำนวนเป็นวิธีการของพวกนอกศาสนา  ซุบฮานัลลอฮ์!  ซึ่งคนเอาวามทั่วไปมักจะตกเป็นเหยื่อของผู้ที่กล่าวอ้างเช่นนี้ เนื่องจากคนกล่าวอ้างเองก็ไม่เข้าใจ  คนเอาวามยิ่งแล้วใหญ่ วัลอิยาซุบิลลาห์!
   
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ muhib

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #43 เมื่อ: ม.ค. 09, 2007, 01:14 AM »
0
วิธีการกำหนดวันต้นเดือน

การเข้าเราะมะฎอน ออกอีด ของพี่น้องไทยมุสลิมเรามักเข้าออกแตกต่างกันสองวัน

นานครั่งจะมีตรงกันเพราะเรามี วิธีการกำหนดวันต้นเดือนต่างกัน 3-4 วิธี

กลุ่มที่ 1 ดูดวงจันทร์ตอนแรม 14-15 ค่ำ หรือขึ้น 1 ค่ำเดือนไทย วิธีนี้เป็นการปฏิบัติ

ตามคำสั่งของ ท่านนบีฯ (ศ็อลฯ) โดยท่านให้ดูตอนค่ำของวันที่ 29 ถ้าเห็นจันทร์เสี้ยว

ก็ให้เริ่มนับเดือนใหม่ได้ทันทีแต่ถ้าไม่เห็น ในคืนนั้นก็คำนวณนับให้ครบ 30 วัน

เดือนตามแบบอิสลามจึงมี 29 หรือ 30 วัน จะมีมากกว่า 30 วันไม่ได้

การกำหนดวันต้นเดือนวิธีนี้ใช้กันมาตั้งแต่สมัยท่านนบีฯจนถึงปัจจุบัน ความสะดวกง่ายดาย

ของวิธีนี้ก็คือใช้คน สายตาดีไปเฝ้าดูดวงจันทร์ตอนค่ำมัฆริบ แล้มาบอกว่าเห็นหรือไม่เห็น

จึงกำหนดวันต้นเดือนได้ ความไม่สะดวกคือประเทศที่อยู่เหนือหรือใต้เส้นศูนย์สูตร

ไปมากหน่อยเช่น นอรเวย์ สวีเดน ออสเตรเลีย

จะไม่เห็นดวงจันทร์ในค่ำวันแรกๆ ของเดือน หรือบางประเทศที่มีเมฆหมอกในท้องฟ้า

มากหรือฤดูฝน แม้จะมีดวงจันทร์ก็ไม่สามารถมองเห็นได้ทำให้ต้องนับครบ 30 วัน

ตามคำสั่งของท่านนบีฯ ของอับดุลลอฮฺ บินอับบาส ที่ให้ยึดถือการเห็นจันทร์เสี้ยวในพื้นที่

ของตนเอง ตามทัศนะของอิมามชาฟิอีก็ให้ดูและตามเมืองของตนเท่านั้น และฟัตวาขององค์

การอัรรอบิเฏาะที่ให้ใช้สายตาของคนเราเท่านั้นห้ามใช้กล้องสองตาหรือ

เห็นด้วยกล้องโทรทรรศ์มาเป็นหลักฐาน และไม่ให้ตามการเห็นเดือนของสะอูดี

กลุ่มที่ 2 ใช้วิธีคำนวณจากการโคจรของโลก และดวงจันทร์ทำให้สามารถทราบ

ได้ว่าค่ำวันใดมีจันทร์เสี้ยว มีตรงทิศทางใดองศาที่เท่าไหร่ มีจันทร์ค้างฟ้ากี่นาที

นักคำนวณทางดาราศาสตร์ กลุ่มนี้จะช่วยความสะดวก

ให้กลุ่มแรก คือบอกตำแหน่งและเวลาที่จะดูดวงจันทร์ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลา

กวาดสายตามองหากันทั่วขอบฟ้า ไม่รู้ทางขวาหรือทางซ้ายของทิศตะวันตก

บางครั้งดวงจันทร์จะปรากฏให้เห็นในช่วงเวลาไม่กี่นาที นอกจากนี้นักคำนวณ

นักดาราศาสตร์ ยังบอกเวลาละหมาดให้ได้ตลอดปี

เวลา ฟะญัร ซุฮ.ริ อัศริ มัฆริบ และอิชาอ. เหล่านี้นับเป็นความสะดวกสำหรับมุสลิมทั้งหลาย

ที่เชื่อถือการคำนวณเวลาต่างๆได้ถูกต้องตรงกับจุดตำแหน่ง

ที่แท้จริงของดวงอาทิตย์ในท้องฟ้า และได้ทำปฏิทินลว่งหน้าได้เป็นปี

กลุ่มที่ 3 ใช้หลักฐานจากคำสั่งของท่านนบีฯ ที่ว่า ท่านทั้งหลายจงถือศีลอด

เมื่อเห็นจันทร์เสี้ยว แต่ท่านนบีฯไม่ได้อธิบายไว้ว่าเห็นดวงจันทร์ใกล้ไกลแค่ไหน

(ไกลสุด1คืนเดินทางโดยขี่อูฐประมาณ100- 200 ก.ม.)

กลุ่มนี้จึงรับฟังข่าวการเห็นดวงจันทร์จากทุกมุมโลกทำให้เกิดปัญหาถือศีลอดได้ 28 วัน

(เพราะไปฟังว่ามีเดือนที่เมืองจีนหรือจากอิรัค แถมเห็นเดือนที่ตกก่อนเวลามัฆริบเสียอีกด้วย)

รวมทั้งเอาวันกำหนดดูดวงจันทร์ของประเทศอื่นมาเป็นวันดูดวงจันทร์ของตนเองด้วย.

ฉะนั้นถ้ากลุ่มที่ 1 และ 2 ได้ร่วมมือกันจริงจังจะทำให้มุสลิมในประเทศไทยได้เข้า

ออกเราะมะฎอนได้ถูกต้องตามจันทร์เสี้ยวที่มีปรากฏในเมืองไทยได้เสียที

ออฟไลน์ muhib

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #44 เมื่อ: ม.ค. 09, 2007, 03:00 PM »
0
อัสลามุอะลัยกุม
การกำหนดการเริ่มต้นเดือนอิสลามทางดาราศาสตร์

ดวงจันทร์หมุนรอบโลกทุก 29.53 วัน ต่อหนึ่งรอบ โดยเฉลี่ย 29 วัน 12 ช.ม. 44 นาที

( ที่ต้องเฉลี่ยเพราะการโคจรของดวงจันทร์แต่ละรอบใช้เวลาไม่เท่ากัน

รอบที่เร็วใช้เวลา 29 วัน 6 ชั่วโมง รอบช้าใช้เวลา 29 วัน 20 ชั่วโมง เมื่อเคลื่อนที่

ช้าสุดก็ค่อยๆเร็วขึ้น และเมื่อเร็วขึ้นจนถึงที่สุดก็ค่อยๆช้าลง สลับกันอยู่เช่นนี้เรื่อยไป )

เนื่องจากการโคจรรอบโลกนี้ ดวงจันทร์จะเปลี่ยนตำแหน่งของมันไปตาม

ความสัมพันธ์กับโลกและดวงอาทิตย์ด้วย ในระหว่างการโคจรนั้นหากวงโคจร

ของดวงจันทร์ โลก ดวงอาทิตย์มาอยู่ในแนวเดียวกันจริงๆ โดยดวงจันทร์อยู่

ตรงกลาง ดวงอาทิตย์ก็จะส่องแสงไปที่ดวงจันทร์ด้านที่หันหน้าสู่ดวงอาทิตย์

เพียงครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งที่หันมาทางโลก ก็จะมืดเพราะไม่ได้รับแสงของดวงอาทิตย์

แต่เนื่องจากแกนของดวงจันทร์เอียงซึ่งอาจถึง 6 องศา อาจสะท้อนของดวงอาทิตย์ได้ใน

เปอร์เซ็นต์ที่น้อยมากดวงจันทร์จะถูกเรียก(เท่าที่ทราบยังไม่มีผู้สังเกตุการณ์คนใด

เคยรายงานว่า ได้เห็นดวงจันทร์ในสภาพเช่นนี้ที่จุดนี้แหละ)ว่าจันทร์ดับอิจญติมาอ.

หรือนิวมูนจันทร์ดับ คือจันทร์เสี้ยวกำลังจะเกิดใหม่ . หลังจากนั้นดวงจันทร์จะหมุน

รอบโลกต่อไป และจะเริ่มสะท้อนแสงอาทิตย์จำนวนเล็กน้อย

เราจึงเริ่มมองเห็นดวงจันทร์ที่เป็นเสี้ยวเล็กมากได้ จากนั้นจะกลายเป็น

จันทร์เสี้ยวหนาขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นจันทร์เสี้ยวครึ่งดวง ครึ่งแรกเรียกทางดาราศาสตร์ว่า

กึ่งปักษ์แรก รุบบุอูลา แล้วไปเป็นจันทร์เพ็ญเต็มดวง เรียกว่า

เดือนเพ็ญ แล้วไปเป็นจันทร์เสี้ยวครึ่งดวงหลัง เรียกกึ่งปักษ์หลัง รุบบุอาคิร

จากนี้ไปสู่ช่วงดวงจันทร์กำลังจะดับ แล้วก็เป็นจันทร์ดับอิจญติมาอ.อีกครั้ง

ในสูเราะฮ.ยาสีน 36:39 วัลเกาะมะเราะก็อดดัรนาฮุ มะนาซิ.ละ หัตตาอฺาดะกัลอุรญูนิลเกาะดีม.

และดวงจันทร์นั้นเราได้กำหนดให้มันโคจรตามตำแหน่ง(28 จุด หรือ 28 คืน ที่มองเห็นได้

ซึ่งจะหมุนวนย้ายจุดขึ้นและตกเลื่อนตำแหน่งไปเรื่อยในแต่ละวันตามการเคลื่อนที่

ของแกนโลก ถ้าจันทร์ซ่อนตัวมองไม่เห็น 2 คืน เดือนนั้นจะมี 30 วัน

และถ้าซ่อนตัวมองไม่เห็น 1 คืน เดือนนั้นจะมี 29 วัน.ตามตัฟสีรของท่านครูต่วน สุวรรณศาสน์)

จนกระทั่งมันได้กลายมาเป็นเช่นกิ่งอินทผลัมแห้ง (ในคืนข้างแรม).

 

GoogleTagged