ผู้เขียน หัวข้อ: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม  (อ่าน 46272 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #45 เมื่อ: ม.ค. 09, 2007, 07:39 PM »
0
ของอัลเลาะฮ์ทรงตอบแทน คุณ มุฮิบ และน้อง ๆ ทุกคนครับ

ออฟไลน์ IRF

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 5
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #46 เมื่อ: ม.ค. 11, 2007, 12:15 AM »
0
ขอบคุณนะครับที่เชิญผมเข้ามาคุณ goddut

ผมขอยืนยันสิ่งที่คุณ al-azhary ได้ตอบไปว่าถูกต้องชัดเจนแล้ว

ประเด็นคือ
อิสลามไม่ได้ปฏิเสธวิชาการสมัยใหม่ เรื่องวิชาดาราศาสตร์ก็เช่นกัน
เพราะในอัลกุรอานอัลลอฮฺก็ยืนยันว่า การโคจรของดวงดาวนั้นมีวิถีโคจรที่แน่นอน
ดังนั้นการคำนวณเวลาการโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ มันก็แน่นอนครับตรงนี้ไม่มีใครค้าน
แต่ประเด็นการกำหนดเดือนใหม่ กรณีนี้ให้ดูด้วยตาครับ และห้ามใช้การคำนวณ (คนละประเด็นนะครับ แยกให้ดี)
เพราะมีคำสั่งใช้(ให้ดูด้วยตา) และคำสั่งห้าม(การคำนวณเพื่อกำหนดเดือน)จากนบี

เอ้าแล้วถามว่า ที่กุรอานบอกว่ามีวิถีโคจรล่ะ ตรงนี้จะว่าไง? เอ้าก็อย่าจับตรงนี้ไปโยงว่าเป็นหุก่มสิครับ
หรือจะบอกว่า นบีออกคำสั่งขัดกับกุรอาน? ก็ไม่ใช่แน่
เพราะอายะฮฺนี้ให้ความรู้ในเชิงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺครับ และใช้นำความรู้ไปพัฒนาวิชาการสมัยใหม่ได้
แต่อายะฮฺนี้ไม่ใช่อายะฮฺที่เป็นการออกหุกุ่มครับ

เพราะฉะนั้นตรรกะต้องดีด้วย ถ้ามีโอกาสผมอยากให้คุณ goddut จัดเสวนาอบรมเรื่องตรรกะครับ
(รู้มาว่าเราก็คนใกล้ชิดกัน คุณเองก็เพื่อนคุณดาวูดมะตะบะ)
ผมยินดีนั่งอธิบาย และเชิญนักวิชาการที่นิยมดาราศาสตร์มานั่งฟังด้วย
จะสอนให้เคลียร์จนได้ครับว่า อย่าหลงประเด็นไปเข้าใจว่าเราปฏิเสธดาราศาสตร์ เราไม่ได้ปฏิเสธดาราศาสตร์
แต่กรณีกำหนดเดือน มันคนละกรณีกันครับ มีคำสั่งตกกรณีนี้โดยเฉพาะต่างหาก

ออฟไลน์ IRF

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 5
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #47 เมื่อ: ม.ค. 11, 2007, 12:19 AM »
0


และอย่าลืมนะครับ ในกระทู้มุสลิมไทย คุณ goddut ได้ถามผม 5 ข้อ

ผมก็ตอบไปดังนี้

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

ตอบคุณ goddut ครับ

1. ในโลก แบ่งการนับเริ่มวันกี่รูปแบบ อะไรบ้าง ?

ตอบ :

ไม่เข้าใจคำถามครับ แต่ขอเดาว่า พูดถึงเรื่องนี้ คือตอบว่า 1. สุริยะคติ (แบบสากล) 2. จันทรคติ (แบบไทยเดิม หรือแบบอิสลาม)

2. ในโลก ที่ใด คือที่เกิด วันแรก ของเดือน ในแต่ละเดือน?

ตอบ :

ก็ไม่เข้าใจคำถามอีกเช่นกันครับ ขอตอบกว้างๆไว้ก่อนว่า
ถ้าชั่วโมงแรกของวัน โดยทางสากลจะกำหนดให้ญี่ปุ่นเป็นชั่วโมงแรกของแต่ละวัน ซึ่งเป็นเส้นสมมุติ
(จริงๆแล้วโลกมันก็หมุนไปเรื่อย แต่คนมากำหนดเอาเองว่าให้ญี่ปุ่นเป็นที่แรกแล้วกันในการนับชั่วโมง)
ส่วนที่คุณถามน่าจะหมายถึง วันแรกของเดือน ในทางสากลก็จะนับตามระบบวัน(ดวงอาทิตย์)หรือสุริยะคตินั่นแหละครับ
แต่ในทางอิสลาม ไม่มีกำหนดตายตัวครับว่า ที่ใด ถิ่นใดจะเป็นที่แรกของเดือน (ไม่ทราบตรงตามสิ่งที่คุณถามหรือไม่)
เพราะการปรากฏของดวงจันทร์จะไม่เหมือนกับดวงอาทิตย์ครับ ดวงอาทิตย์จะปรากฏตายตัวแน่นอน แล้วเค้าก็สมมุติให้ญี่ปุ่นเป็นที่แรก(ตามที่บอกไป)
แต่สำหรับดวงจันทร์มันโคจรรอบโลก ผมใช้คำไม่ถูก ขอเรียกว่าไขว้ไปไขว้มาแล้วกันครับ
ดังนั้นก็ไม่แน่ว่าเดือนนี้ อาจเห็นจันทร์เสี้ยวที่จีน ที่ไทย ที่อาหรับ ไม่แน่ครับในแต่ละเดือน 
แต่สามารถใช้การคำนวณได้ครับ หากต้องการรู้ตำแหน่งการปรากฏของมัน

3. ในโลก เดือนในอิสลาม มีวันเวลาคิดเป็นเฉลี่ยเท่าไหร่ ต่อ 1 ปี

ตอบ:

เฉลี่ยคงไม่ได้ครับ เพราะเดือนอิสลามไม่แน่นอน ต่างจากเดือนของสุริยะคติ
เดือนของสากล มี 31 มี 30 มี 29 มี 28   ส่วนเดือนจันทรคติแบบอิสลาม จะมี 29 และ 30  ไม่มี 31
เพราะฉะนั้นจะน้อยกว่า ปีละ 10 กว่าวันโดยประมาณ

4.  การเห็นเดือน ต้องเห็นในรูปแบบใด ? และหากมองเห็น การคำนวณจะไม่เห็นได้หรือไม่ ?

ตอบ:

จันทร์แรกของแต่ละเดือน จะปรากฏเป็นจันทร์เสี้ยวอย่างแน่นอนครับ คือสองปลายแหลมชี้ขึ้น
หากมองเห็น การคำนวณจะใช้ได้หรือไม่?  นี่แหละครับ เป็นตรรกะที่นักดาราศาสตร์ไม่เข้าใจ แล้วมาเถียงอุละมาอฺ
(อาจต้องส่งนักดาราศาสตร์ไปเรียนสาขาปรัชญาและ logic เพิ่มเติม   )
เราไม่บอกครับว่าจะคำนวณไม่ได้ว่าจะเห็นจันทร์เมื่อไหร่ เรารู้ว่าคำนวณได้แน่ ว่าจะมีการเห็นจันทร์ปรากฏตรงนี้นะ ตรงนู้นนะ
แต่ตามตัวบท นบีสั่งได้ดูครับ โดยหลักฐานที่ว่า "หากมีเมฆหมอกบดบัง ก็ให้นับเดือนนั้นให้ครบ 30 วัน"
เห็นมั๊ยล่ะครับ ฮิกมะฮฺมันอยู่ตรงนี้ คือดวงจันทร์น่ะเห็นแน่ๆ ถ้าไม่มีเมฆล่ะเห็นแน่ๆ แต่เผอิญมีเมฆบังก็เลยไม่เห็น ก็เลยไม่นับครับ

ยกตัวอย่าง(อีกครั้ง) คำนวณไว้แล้วแน่ๆ จะเห็นจันทร์ที่แบคแดด อิรัค คณะตรวจดูเดือนก็ไปนั่งเช็คเลย รอดูรอเตรียมรายงาน
แต่ปรากฏว่า ตู้ม!!! ระเบิดลง แบคแดดกลุ่มควันกลุ่มเมฆปกคลุมทั้งเมืองเลย ก็เลยไม่เห็นจันทร์เสี้ยว!
ก็นี่แหละครับ ให้นับว่าไม่เห็น แล้วเมื่อไม่มีใครแจ้งที่ไหนว่าเห็น ก็ให้นับเดือนนั้นครบ 30 วัน
นั่นคือคำสั่งที่หะดีษกล่าวถึงครับ ผมฟันธงเลยว่านักวิชาการฝ่ายดาราศาสตร์ไม่ได้ไตร่ตรองความหมายของหะดีษอย่างละเอียด
และแต่ละคนยกคัวบทหลักฐานไม่เป็นครับ ไปยกกุรอานมาว่า "พระองค์ให้ท้องฟ้ามีวิถีโคจรที่แน่นอน" ซูเราะฮฺยาซีน
อายะฮฺนี้ ไม่ใช่คำสั่งให้ใช้ดาราศาสตร์ในการกำหนดเดือนครับ (เนี่ยยกมาแบบไม่มีพื้นฐานฟิกฮฺ)  อายะฮฺบอกถึงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ
บอกถึงการสร้างของอัลลอฮฺว่า อัลลอฮฺทำให้ดวงดาวมีเส้นโคจรนะ มหัศจรรย์นะ สามารถนำอายะฮฺนี้ไปใช้ในการพัฒนาความรู้ทางโลกได้
เช่นการคำนวณทางดาราศาสตร์นี่แหละครับ แต่ไม่มีคำสั่งให้ใช้ดาราศาสตร์ในการกำหนดเดือนใหม่   ..แล้วอย่าบอกไม่มีหลักฐานห้ามครับ
มีครับ ท่านนบีกล่าวว่า "เราเป็นประชาชาติที่ไม่เขียน ไม่คำนวณ เดือนนั้นที่เท่านั้นเท่านี้.." ไม่ได้แปลว่าเขียนไม่เป็น คำนวณไม่เป็นนะครับ
เพราะนบีไม่ได้พูดถึงตัวท่านคนเดียว นบีพูดถึงประชาชาติคือซอฮาบะฮฺด้วย คือมุสลิมทั้งหมดด้วย ว่าพวกเราห้ามเขียน ห้ามคำนวณเรื่องการกำหนดเดือน
(ก็คือดาราศาสตร์นั่นแหละ นบีห้ามนำมาใช้ในการนับเดือน สมัยก่อนนั้นมีดาราศาสตร์แล้วครับ ของเปอร์เซียก็มี แต่สำหรับมุสลิมห้าม)

อีกประเด็นคือ ฮิกมะฮฺที่มหัศจรรย์อย่างหนึ่งคือ การคำนวณนั้นไม่ถูกต้องเสมอไป 100 % ครับ
ในทางฟิสิกส์ นักฟิสิกส์ได้บอกว่าเองว่า ไม่มีความแน่นอนในการคำนวณ
ถามว่าการคำนวณทางดาราศาสตร์ จะได้ผลถูกมั๊ย? ถูกครับ แต่ไม่ 100 % โอกาสพลาดก็มี
(แต่อย่าหลงประเด็นนะ เพราะถึงจะคำนวณผิดคำนวณถูก นบีก็ห้ามนำมาใช้ในการกำหนดเดือน แต่ใช้เรื่องอื่นได้ ไม่มีห้าม)
เพราะฉะนั้น มุสลิมทั่วโลก มีหน้าที่ดูดวงจันทร์ครับ ไม่ต้องสนว่าดาราศาสตร์จะคำนวณบอกว่า ไม่ต้องไปดูตรงนั้นหรอก ให้ดูแต่ตรงนี้ก็พอ
และมันยังเป็นการตะกับโบรฺอีกด้วย เพราะธรรมชาตินั้นอัลลอฮฺไม่ได้ปล่อยทิ้งไปตามระบบอย่างเดียวครับ แต่พระองค์ยังควบคุมอยู่
กล่าวคือ มีการคอนโทรลนอกระบบ นอกกฎเกณฑ์ปกติอีกด้วย

5.  ฮะดีสของการคำนวญ และการดูเดือน ใช้เมื่อใด ?

ตอบ :

ใช้ทุกเดือนครับ ดังที่ว่าไปแล้วว่าท่านนบีบอกว่า ประชาชาติมุสลิมนี้ห้ามคำนวณนับ แต่ให้ใช้การเห็นจันทร์เสี้ยว(ด้วยตา) ในการกำหนดเดือนใหม่
แต่มุสลิมเราไม่ดูกันเองครับ อย่างที่บอกไปต้นกระทู้ว่า มีเฉพาะไม่กี่ประเทศที่ดูเดือนกันทุกเดือน และซาอุดีเค้าดูครับ

เอาล่ะ คำถามที่ถามมายังไม่เกี่ยวกับศาสตร์ของดาราศาสตร์เท่าไหร่นัก
แต่ก็ตอบไปตามที่คุณ goddut ถาม  หากตอบอันไหนที่ไม่ตรงคำถาม เข้าใจผิดไป ก็ให้ถามมาใหม่ด้วยครับ

ออฟไลน์ IRF

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 5
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #48 เมื่อ: ม.ค. 11, 2007, 12:26 AM »
0
ประการแรกเลยนะครับ จากที่ตอบไปในกระทู้นั้น
http://www.muslimthai.com/forum/index.php?topic=2540.50

ขอถามคุณ goddut มั่งครับว่า
1. ที่ตอบไป 5 ข้อ นั้น คุณ goddut ได้อ่านหมดทุกตัวอักษรหรือไม่?
2. อ่านเข้าใจในสิ่งที่ผมพูดหรือไม่ ถ้าตอบว่าไม่เข้าใจ ถามมาอีก ผมยินดีอธิบายใหม่
3. ส่วนกรณีเรื่องการกำหนดเดือนของฝ่ายที่บอกห้ามใช้ดาราศาสตร์ คุณเข้าใจว่าอย่างไรครับ
   คุณเข้าใจว่าเพราะเหตุใด ฝ่ายนี้ถึงได้ห้ามกำหนดเดือนด้วยดาราศาสตร์ ช่วยอธิบายด้วย

** ข้อ 3 นี้สำคัญมาก (เอาแบบปรัชญาๆมั่งนะ) เพราะอริสโตเติ้ลได้กล่าวว่า
สิ่งที่บ่งบอกว่า คนหนึ่งๆเข้าใจข้อความนั้นได้ ก็ดูที่ว่าเขาสามารถอธิบายข้อความนั้นได้หรือไม่
ดังนั้นจึงอยากทราบว่า คุณ goddut เข้าใจว่าฝ่ายที่ห้ามใช้ดาราศาสตร์กำหนดเดือน ว่าเขาคิดอย่างไร** 


ออฟไลน์ Goddut

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 854
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #49 เมื่อ: ม.ค. 11, 2007, 01:53 AM »
0
ผมเห็นว่าคุณ IRF ไม่ได้ อ่าน ในกระทู้มากกว่าครับ

เพราะถ้าคุณอ่าน

คุณจะทราบว่า นักดาราศาสตร์ เขาใช้การดูเดือนครับ ไม่ใช่คำนวณเฉยๆ แบบที่คุณกล่าวหา...

ออฟไลน์ Goddut

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 854
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #50 เมื่อ: ม.ค. 11, 2007, 02:24 AM »
0
ประเด็นที่ผมจะสื่อคือ...

1. นักดาราศาสตร์ เขาก็ดูเดือน ไม่ใช่คำนวณเฉยๆ

2. ซาอุ เองนั้นไม่ได้ดูเดือน

3. พวกเราทั้งหมด ไม่เคยได้ใช้การคำนวณ โดยละทิ้งการดูเดือน

4. ผมอยากให้คุณอ่านทั้งหมด ที่ผมนำเสนอเพื่อคุณจะได้ทราบข้อเท็จจริง

5. อีดหน้า ผมบอกได้ว่า หากการเมืองซาอุยังเป็นเช่นนี้แล้ว ยังไงวันอีดก็จะเป็นวันศุกร์



วัลลอฮฺอะลัม
วัสลาม...

ออฟไลน์ musalmarn

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 796
  • เพศ: ชาย
  • สักวัน... ฉันจะขี่ม้า
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
    • ชมรมศาสนศึกษา แผนกอิสลาม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #51 เมื่อ: ม.ค. 11, 2007, 01:45 PM »
0
อัสลามมุอาลัยกม

บังก็อดดัรและบังไออาเอฟ

 :)

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #52 เมื่อ: ม.ค. 12, 2007, 06:41 PM »
0
ไออาเอฟเข้ามาช้าไป เพราะว่าเขาเสวนาไปหลายหน้าแล้ว  เขาจึงไม่ได้อ่านรายละเอียดในสิ่งที่เรานำเสนอไป  การวิจารณ์ของเขาจึงมีรูปแบบเป็นอย่างนี้

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #53 เมื่อ: ม.ค. 12, 2007, 08:03 PM »
0
ขอคำชี้แจงของ ผู้ที่ศึกษาดาราศาสตร์หน่อยครับ  คำว่า "นิวมูน"  บางท่านวงเล็บว่า "เดือนดับ"  บางท่านวงเล็บว่า "เดือนค้าง" หรือ "เดือนใหม่" ซึ่งมีความหมายที่แตกต่างกันอย่างไรหรือครับ

ออฟไลน์ Goddut

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 854
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #54 เมื่อ: ม.ค. 13, 2007, 11:41 PM »
0
ขอคำชี้แจงของ ผู้ที่ศึกษาดาราศาสตร์หน่อยครับ  คำว่า "นิวมูน"  บางท่านวงเล็บว่า "เดือนดับ"  บางท่านวงเล็บว่า "เดือนค้าง" หรือ "เดือนใหม่" ซึ่งมีความหมายที่แตกต่างกันอย่างไรหรือครับ

ในหน้า 2  ผมได้ทำการ อธิบายมา โดยนำเอาใจความสำคัญ ของ new moon มาแล้วนะครับ จะขออธิบายใหม่ดังนี้

newmoon คือ แปลตรงตัวว่า ดวงใหม่ ครับ แต่ในภาษาที่เราเรียกกันว่า "เดือนดับ" หรือ "เดือนมืด" อันเนื่องมากจาก ช่วงณ ตอนนี้จะไม่สามารถเห็นดวงจันทร์ได้ครับ

ส่วน "เดือนใหม่" ก็คือว่า มันจะนับจากเดือนก่อนมาครับ โดยนับจาก new moon ถึง new moon เพราะเราจะนับโดยอาศัย ดวงอาทิตย์เป็นปัจจัยสำคัญ

จึงทำให้คืนนั้นเริ่มวันที่ 1 เดือนใหม่แล้วครับ โดยในวันที่เป็น new moon ครับ แต่ซึ่งจริงๆ แล้วมันไม่สามารถเริ่มได้หรอก เพราะมันไม่เห็นไงครับ

ดังนั้นจึงเป็นที่มาของคำว่า "เดือนค้าง" นั้น ก็เพราะว่า จริงๆ ในวันนี้นั้นไม่สามารถนับเป็นวันแรก หรือวันที่ 1 ของเดือนได้ครับ อันเนื่องมาจากมองไม่เห็น

และให้เราเข้าใจโดยทั่วกันว่า มันยังไม่ตกลงทั้งหมด หรือพูดง่ายๆ คือเมื่อเราไม่เห็นก็เลยไม่ทราบว่ามันจะเป็นเสี่ยวของเวลา กี่ชั่วโมงที่มันจะเป็นได้

เลยให้เป็นที่รู้กันทั้งหมดว่า new moon ไม่สามารถนำมากำหนดเป็นเดือนใหม่ได้ครับ...

ประเด็นนี้ ตามหลักฐานอ้างอิง จากของ ซาอุ ที่ได้เคยชี้แจงมาแล้วนั้น ซาอุ เองก็ใช้การนับขึ้นเดือนใหม่โดย  วิธีนี้ครับ

ซึ่ง ประเด็นนี้ แน่นอนว่า เที่ยงตรงกว่า แต่ 99.99% มนุษย์ธรรมดา ไม่มีความสามารถพอที่จะเห็นดวงจันทร์ได้ด้วยตาเปล่าครับ

จึงเป็นที่มาว่า ซาอุ มักจะเข้าเดือน ก่อนชาวบ้านชาวช่อง เขาทุกเดือนไป



ปล. อย่าลืมนะครับ ไว้รอดูอีดหน้า กับ ปฏิทิน ของท่าน ว่า
1. มี 29 วัน 2 เดือนติดหรือไม่           
2. อีดเป็นคืนวันศุกร์หรือไม่               (ดูจากเหตุการณ์ กระทู้ด้านบนผมจะไม่มีการแก้ไข)



วัลลอฮฺอะลัม
วัสลาม...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 13, 2007, 11:56 PM โดย Goddut »

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #55 เมื่อ: ม.ค. 14, 2007, 05:30 PM »
0
جزاك الله
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ Goddut

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 854
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #56 เมื่อ: ม.ค. 15, 2007, 10:50 AM »
0
ขอนำคำของคุณ Kfai จาก www.muslimthai.com มาเสนอครับ

อ้างถึง
ตัวหะดีษภาษาอาหรับจะเป็นแบบนี้ครับ

إنَّا أمةٌ أُمِّيَّةٌ، لا نكتب ولا نحسب
แปลให้ฟังทีละตัวนะครับ เอาแบบตรงๆตัวก่อน
إنَّا  แท้ที่จริงเรา
أمةٌ  คือประชาชาติ
أُمِّيَّةٌ      อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้(ไม่มีความรู้)
لا نكتب   เราไม่เขียน
 ولا نحسب  เราไม่คำนวณ

    สมัยก่อนๆ เขาจะแปลกันเช่นนี้ว่า แท้จริงเราเป็นประชาชาติไม่มีความรู้  เราจึงเขียนไม่ได้ คำนวณไม่เป็น
เนื่องจากคำว่า أُمِّيَّةٌ    นั้นมันเป็นความหมายที่ชัดแจ้งอยู่ในตัวเองแล้วว่าเป็นผู้อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้  ดังนั้น ส่วนที่มาต่อท้าย คือส่วนขยายประโยค ว่า ไม่เขียน  ไม่คำนวณ  จึงควรแปลออกมาว่า  อ่านเขียนไม่ได้  คำณวนไม่เป็น ดังนี้ละครับ

     แต่ผู้รู้สมัยใหม่  กลับไปแปลว่า  ไม่เขียนไม่คำนวณ  แล้วนำมาพูดต่อขยายความว่าห้ามการคำนวณไปเลย   อันนี้ ก็แล้วแต่ความเห็นครับ  ผมไม่ว่าอะไร  ก็คงต้องให้พิจารณากันเอง ว่ามันควรจะเป็นอย่างไหนมากกว่ากันครับท่าน

     ดังนั้น หะดีษนี้ จึงแสดงให้เห็นว่า ในสมัยท่านศาสดานั้น บรรดาสาวกของท่าน ไม่ได้เป็นผู้มีความรู้มากมายกันเป็นส่วนมาก  ส่วนมากแล้วไม่รู้หนังสือ  ดังนั้น ท่านศาสดาจึงเลือกวิธีที่ง่ายที่สุด(ที่จริงก็อัลลอฮ์ทรงเลือกนั่นแหละครับ)  นั่นก็คือการดูเดือนเอาดื้อๆ    เห็นก็ใช่  ไม่เห็นก็ไม่ใช่

     แล้วสมัยนี้  เรายังอยู่ในหลักเกณท์เดิมอยู่หรือไม่   เรายังเป็น  أُمِّيَّةٌ   กันอยู่หรือไม่ก็แล้วแต่การพิจารณากันครับ

     ถ้าเห็นว่าเรายังเป็นพวก أُمِّيَّةٌ    กันอยู่  เราก็ดูเดือนกันไป  ไม่ต้องไปยุ่งกับการอ่านเขียน หรือคำนวณ
   
       นั่นก็คือ ไม่คำนวณ และไม่เขียนด้วย   ทีนี้การรับเดือนจากทั่วโลก  เราใช้การคำนวณ หรือเปล่า  ? เรา อ่าน จากสิ่งที่คนอื่น เขียน ทางอินเตอร์เนตหรือเปล่า ?  นี่คือสิ่งที่ต้องมาใคร่ครวญดูกันครับ   ผมเห็นด้วยว่า ถ้าจะไม่คำนวณก็ต้องไม่เขียนไม่อ่านด้วย  แต่ถ้าใช้การอ่านเขียนได้ ก็ย่อมใช้การคำนวณได้   แต่ไม่ควรใช้อย่าหนึ่ง ทิ้งอย่างหนึ่งครับ

    แต่ถ้าเห็นว่า เรารู้แล้ว เก่งแล้ว ไม่ใช่ أُمِّيَّةٌ    แล้ว  ก็ใช้การเขียนการคำนวณ มาพิจารณาได้ ครับ

     สำหรับความเห็นผมส่วนตัวนะครับ  ผมเชื่อว่า จริงๆแล้วทุกวันนี้ พวกเราดูเหมือนมีความรู้  เพราะเราอ่านออกเขียนได้กันมากมาย รู้คณิตศาสตร์ยากๆกันมากมาย คำนวณกันอย่างลึกซึ้ง
     แต่พอมาเทียบดูจริงๆกับความรู้ที่มีอยู่ในโลกแล้ว ปรากฏว่า ความรู้ที่เรามีนั้น  น้อยแสนจะน้อย  เพราะโลกก้าวไปเร็วมาก  ไม่มีใครในโลกที่สามารถรู้อะไรได้หมดในทุกๆอย่าง ในทุกๆเรื่อง เหมือนแต่ก่อนแล้ว  ความรู้ใหม่ๆเพิ่มขึ้นทุกวัน  ถ้าเราตามไม่ทัน เราก็ล้าหลัง  กลายเป็นคนไม่รู้ไป   และนั่นคือคนส่วนมากที่มีอยู่ในปัจจุบัน  คือตกอยู่ในสถานะผู้ไม่รู้นั่นเองครับ

     ซึ่งสอดคล้องกับหะดีษอีกบทหนึ่งที่ว่า  ประชาชาติ ใกล้ๆกิยามะห์จะเป็นผู้ไม่รู้  เต็มไปหมด คงเป็นแบบนี้เอง

             ซึ่งที่น่าแปลกมากก็คือ ตรงกับความคิดเห็นของ นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของโลกในปัจจุบันคือ สตีเฟน ฮอว์กิ้ง  ที่บอกไว้ว่า

           มนุษย์ทุกวันนี้  จะก้าวเข้าสู่สภาพที่ไม่รู้อะไรเลยมากขึ้นเรื่อยๆ   เพราะวิชาความรู้ใหม่ๆนั้น มาไวเกินกว่ากำลังของคนที่จะเรียนรู้ได้หมด
     ดังนั้นสิ่งที่มนุษย์จะทำได้ก็คือ พยายามรู้ในเรื่องที่ตนเองต้องกระทำ  เรื่องการงานของตัวเองให้มากที่สุด  ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆดูไป

ดังนั้น ถ้าใครคิดว่า ตัวเองรู้เรื่องกุรอ่าน หะดีษดี  หลักการศาสนาดี  รวมทั้งรู้เรื่องการโคจรของดวงอาทิตย์ดวงจันทร์และโลกดี  รู้ความเป็นมาเกี่ยวกับ การแบ่งวันเวลาของโลกดี  ถ้ารู้ทั้งหมดนี้แล้ว ก็น่าจะถือว่าเป็นผู้รู้ได้  ก็น่าจะใช้การคำนวณ ใช้การอ่านเขียนเข้ามาช่วยในการกำหนดเดือนใหม่ได้
 
แต่ถ้าผู้ใดคิดว่า ตนเองยังรู้ไม่พอ ยังรู้ไม่ครบ  ก็ใช้วิธีดั้งเดิมที่ท่านศาสดาสอนเอาไว้ คือดูเดือน หรือถามคนที่อยู่ใกล้ๆกัน ที่เราเชื่อถือได้   ให้เขาช่วยดูให้  แล้วทำตามนั้นไป ก็น่าจะดีกว่า

พี่น้องท่านใด มีความเห็นเกี่ยวกับ ฮะดีส บทนี้อีกบ้างครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 16, 2007, 02:20 PM โดย Goddut »

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #57 เมื่อ: ม.ค. 16, 2007, 03:33 AM »
0
น่าเสวนาเรื่องหะดิษนี้น่ะครับ  เขาว่าสมัยนี้มีการสื่อสารกว้างไกลทันสมัยสามารถรับข่าวสารได้  ซึ่งแตกต่างกับสมัยท่านนบี  แต่สมัยนี้มีวิทยาการล้ำสมัยสามารถคำนวนและวิเคราะห์ได้อย่างละหมาด  กับปฏิเสธ  ก็แสดงว่าสิ่งสมัยใหม่ที่ถูกต้องสำหรับพวกเขาคือสิ่งที่พวกเขาจะเอาเท่านั้น   ส่วนที่พวกเขาไม่เอาถือว่าผิดและทำลายซุนนะฮ์ ;D

ออฟไลน์ muhib

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #58 เมื่อ: ม.ค. 29, 2007, 05:15 PM »
0
อัสลามุอะลัยกุมทุกท่าน

http://stardate.org/nightsky/moon/

ลองเข้าเว็ปไซท์ นี้ดูนะครับ เผื่อทำให้เราเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น กับนิวมูนจันทร์ดับ ซึ่งวันไหนจันทร์ดับ

เกิดขึ้น เราไม่สามารถเห็นผิวของดวงจันทร์ได้ ต้องรอให้ดวงจันทร์โคจรพ้นจากจุดดับนั้นไปมากกว่า12 ชม.

อาจมากกว่า15-18 ชม.ก็เป็นได้ กว่าที่เราจะเห็นจันทร์เสี้ยว

เราลองมาตั้งเวลานับกันดูจะทำให้เราเห็นความมหัสจรรย์ของดวงจันทร์ที่พระองค์อัลลอฮฺตะอาลา

ให้เรามา  และในรอบ ทุก19 ปีเราจะเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมาตรงวันซ้ำกันอีก

และรอบ32-33ปี เราจะเข้าเดือนอิสลามซ้ำกันในมกราคมและธันวาคม เช่นเราะมะฏอน หรือซุลหิจญะฮฺ

ความมหัศจรรย์นั้นนักดาราศาสตร์ จับปูมทางเดินของดวงจันทร์ได้มานับพันปีแล้ว

นักวิทยาศาสตร์ดาราศาสตร์มุสลิมยิ่งศึกษายิ่งรู้ถึงความยิ่งใหญ่ของพระผู้สร้าง ยิ่งทำให้อีมานเพิ่มพูน

ไม่ถอยหลังลงคลอง ไม่ต้องตกเป็นทาสเที่ยววิ่งหาเจ้านาย

เที่ยวคิดกลัวไปเรื่อยเปิ่อย ว่าถ้าฉันไม่ตามอรับแล้วฉันจะไม่ได้หน้าได้ตา

ถ้าฉันไม่ตามสะอูดีแล้วฉันจะเป็นสลาฟีไม่ได้  ดูอัฟกันซิเขาไม่ตามเดือนสะอูดีเขายังเข้มแข็งในอิสลามนัก

หรือกลัวว่าถ้าไม่ออกอีดตามใบสั่ง ก็จะอดรายได้

เรายึดถือศาสนาอย่างเข้มแข็งถึงแม้มือจะกำถ่านร้อนๆไว้ก็ตาม

อย่าเป็นอุละมาโลกแบน ในขณะที่อิสลามบอกว่าโลกกลม

ออฟไลน์ muhib

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #59 เมื่อ: ม.ค. 31, 2007, 10:40 AM »
0
อัสลามุอะลัยกุมทุกท่านครับ
คำตอบของท่านอิบนุอุษัยมีน

إذا اختلفت البلاد في تحديد دخول شهر رمضان ويوم عرفة ، فمع من أصوم ؟!

سؤال:
انتقلنا بسبب ظروف معينة إلى السكن في دولة الباكستان ، وقد تغيرت علي عدد من الأمور من أوقات الصلاة إلى غير ذلك ..... أردت أن أسألكم بأنني راغبة في صيام يوم عرفة ، ولكن يختلف التاريخ الهجري في باكستان عن المملكة بحيث قد يكون التاريخ في باكستان 8 والذي يوافق 9 في المملكة ... فهل أصوم يوم 8 أي تاريخ 9 في المملكة أم أصوم على حسب تاريخ باكستان ؟؟ .

الجواب:
الحمد لله
سئل الشيخ ابن عثيمين رحمه الله عما إذا اختلف يوم عرفة نتيجة لاختلاف المناطق المختلفة في مطالع الهلال فهل نصوم تبع رؤية البلد التي نحن فيها أم نصوم تبع رؤية الحرمين ؟
فأجاب فضيلته بقوله : هذا يبنى على اختلاف أهل العلم : هل الهلال واحد في الدنيا كلها أم هو يختلف باختلاف المطالع ؟
والصواب أنه يختلف باختلاف المطالع ، فمثلا إذا كان الهلال قد رؤي بمكة ، وكان هذا اليوم هو اليوم التاسع ، ورؤي في بلد آخر قبل مكة بيوم وكان يوم عرفة عندهم اليوم العاشر فإنه لا يجوز لهم أن يصوموا هذا اليوم لأنه يوم عيد ، وكذلك لو قدر أنه تأخرت الرؤية عن مكة وكان اليوم التاسع في مكة هو الثامن عندهم ، فإنهم يصومون يوم التاسع عندهم الموافق ليوم العاشر في مكة ، هذا هو القول الراجح ، لأن النبي صلى الله عليه وسلم يقول ( إذا رأيتموه فصوموا وإذا رأيتموه فأفطروا ) وهؤلاء الذين لم ير في جهتهم لم يكونوا يرونه ، وكما أن الناس بالإجماع يعتبرون طلوع الفجر وغروب الشمس في كل منطقة بحسبها ، فكذلك التوقيت الشهري يكون كالتوقيت اليومي . [ مجموع الفتاوى 20 ]
وسئل رحمه الله من بعض موظفي سفارة بلاد الحرمين في إحدى الدول : ونحن هنا نعاني بخصوص صيام شهر رمضان المبارك وصيام يوم عرفة ، وقد انقسم الأخوة هناك إلى ثلاثة أقسام :
قسم يقول : نصوم مع المملكة ونفطر مع المملكة .
قسم يقول نصوم مع الدولة التي نحن فيها ونفطر معهم .
قسم يقول : نصوم مع الدولة التي نحن فيها رمضان ، أما يوم عرفة فمع المملكة .
وعليه آمل من فضيلتكم الإجابة الشافية والمفصلة لصيام شهر رمضان المبارك ، ويوم عرفة مع الإشارة إلى أن دولة . . . وطوال الخمس سنوات الماضية لم يحدث وأن وافقت المملكة في الصيام لا في شهر رمضان ولا في يوم عرفة ، حيث إنه يبدأ صيام شهر رمضان . بعد إعلانه في المملكة بيوم أو يومين ، وأحيانا ثلاثة أيام .
فأجاب :
اختلف العلماء رحمهم الله فيما إذا رؤي الهلال في مكان من بلاد المسلمين دون غيره ، هل يلزم جميع المسلمين العمل به ، أم لا يلزم إلا من رأوه ومن وافقهم في المطالع ، أو من رأوه ، ومن كان معهم تحت ولاية واحدة ، على أقوال متعددة ، وفيه خلاف آخر .
والراجح أنه يرجع إلى أهل المعرفة ، فإن اتفقت مطالع الهلال في البلدين صارا كالبلد الواحد ، فإذا رؤي في أحدهما ثبت حكمه في الآخر ، أما إذا اختلفت المطالع فلكل بلد حكم نفسه ، وهذا اختيار شيخ الإسلام ابن تيمية رحمه الله تعالى وهو ظاهر الكتاب والسنة ومقتضى القياس :
أما الكتاب فقد قال الله تعالى : ( فمن شهد منكم الشهر فليصمه ومن كان مريضا أو على سفر فعدة من أيام أخر يريد الله بكم اليسر ولا يريد بكم العسر ولتكملوا العدة ولتكبروا الله على ما هداكم ولعلكم تشكرون ) فمفهوم الآية : أن من لم يشهده لم يلزمه الصوم .
وأما السنة فقد قال النبي صلى الله عليه وسلم ( إذا رأيتموه فصوموا ، وإذا رأيتموه فأفطروا ) مفهوم الحديث إذا لم نره لم يلزم الصوم ولا الفطر .
وأما القياس فلأن الإمساك والإفطار يعتبران في كل بلد وحده وما وافقه في المطالع والمغارب ، وهذا محل إجماع ، فترى أهل شرق آسيا يمسكون قبل أهل غربها ويفطرون قبلهم ، لأن الفجر يطلع على أولئك قبل هؤلاء ، وكذلك الشمس تغرب على أولئك قبل هؤلاء ، وإذا كان قد ثبت هذا في الإمساك والإفطار اليومي فليكن كذلك في الصوم والإفطار الشهري ولا فرق .
ولكن إذا كان البلدان تحت حكم واحد وأَمَرَ حاكمُ البلاد بالصوم ، أو الفطر وجب امتثال أمره ؛ لأن المسألة خلافية ، وحكم الحاكم يرفع الخلاف .
وبناء على هذا صوموا وأفطروا كما يصوم ويفطر أهل البلد الذي أنتم فيه سواء وافق بلدكم الأصلي أو خالفه ، وكذلك يوم عرفة اتبعوا البلد الذي أنتم فيه . " [ مجموع الفتاوى 19 ].


الإسلام سؤال وجواب
http://www.islam-qa.com/index.php?ref=40720&ln=ara

 

GoogleTagged