ผู้เขียน หัวข้อ: การอธิบายอัลกุรอานของปราชญ์ซูฟีย์  (อ่าน 1345 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

อัสลามุอะลัยกุ้มวะเราะห์มะตุลลอฮ์วะบะร่อกาตุฮ์

เมื่อมีมุสลิมคนรุ่นใหม่ที่หัวใจมีความมุ่งมั่นในการเผยแผ่ความรู้  ได้นำเนื้อหาในหนังสือฮิกัมอิบนิอะฏออิลลาฮ์ ที่กระผมได้เขียนและเรียบเรียงไปอ่านและอัดลงคลิปเพื่อให้พี่น้องได้รับฟังกัน  จึงมีผู้มีกลิ่นอายของวะลีชัยฏอนที่ต่อต้านตะเซาวุฟและบรรดาวะลียุลลอฮ์  รีบทำการวิพากษ์วิจารณ์ท่านอิหม่ามอิบนิอะฏออิลลาฮ์ (ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ)และอะบุลอับบาส อัลมุรซีย์(ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ)ผู้เป็นครูของท่านและพยายามให้ร้ายท่านอิบนุอะฏออิลลาฮ์พร้อมกล่าวหาว่าท่านอะบุลอับบาส อัลมัรซีย์ได้อธิบายอัลกุรอานแบบเพี้ยนเนื่องจากผู้กล่าวหานี้ไม่เข้าใจความเป็นจริงในหลักการของศาสนาอิสลาม

เขาได้ยกคำกล่าวของท่านอิบนุอะฏออิลลาฮ์ที่ได้ยินการอธิบายอัลกุรอานของอะบุลอับบาส อัลมุรซีย์ ดังนี้ 

ท่านอิหม่ามอิบนุอะฏออิลลาฮ์ กล่าวว่า

سَمِعْتُ شَيْخَنَا أَبَا الْعَبَّاسِ رَضِىَ اللهُ عَنْهُ يَقُوْلُ فِيْ قَوْلِهِ عَزَّ وَجَلَّ: {مَا نَنْسَخْ مِنْ آيَةٍ أَوْ نُنْسِهَا نَأْتِ بِخَيْرٍ مِنْهَا أَوْ مِثْلِهَا} أَيْ: مَا نَذْهَبُ مِنْ وَلِيٍّ للهِ إِلاَّ وَنَأْتِ بِخَيْرٍ مِنْهُ أَوْ مِثْلِهِ

“ฉันได้ยินอาจารย์ของเรา คือท่านอิหม่ามอะบุลอับบาสอัลมุรซีย์ ได้กล่าวในคำตรัสของอัลลอฮฺตะอาลาที่ว่า “โองการใดที่เรายกเลิกหรือเราได้ทำให้มันลืมเลือนไปนั้น เราจะนำสิ่งที่ดีกว่าโองการนั้นมาหรือสิ่งที่เท่าเทียมกับโองการนั้น” [อัลบะก่อเราะฮ์: 106] หมายถึง เรามิได้ให้วะลียุลลอฮ์ผู้หนึ่งจากไปนอกจากเราจะนำวะลียุลลอฮ์ที่ดียิ่งกว่ามา(แทน)หรือเท่าเทียมกัน” อิบนุอะฏออิลลาฮ์, ละฏออิฟ อัลมินัน, หน้า 63.

จากถ้อยคำของท่านอิบนุอะฏออิลลาฮ์ที่รายงานคำพูดของท่านอะบุลอับบาสอัลมุรซีย์นี้   ผู้กล่าวหาบอกว่า ท่านอะบุลอับบาส อัลลมุรซีย์ ได้อธิบายอายะฮ์อัลกุรอานแบบเพี้ยน โดยบอกว่า อายะฮ์นี้บ่งบอกเกี่ยวกับการยกเลิกและเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่ฮุกุ่มหะล้าลให้เป็นหะรอม  หรือยกเลิกฮุกุ่มหะรอมให้เป็นสิ่งหะล้าล หรือยกเลิกฮุกุ่มที่อนุญาตให้เป็นฮุกุ่มหะรอมตามหลักการของฟิกห์นิติศาสตร์อิสลาม

ข้อชี้แจง

ความจริงท่านอิหม่ามอะบุลอับบาส อัลมุรซีย์นั้น  ท่านเข้าใจ ยอมรับ และทราบดียิ่งเกี่ยวกับอายะฮ์ดังกล่าวตามนัยยะของหลักชะรีอะฮ์หรือหลักฟิกห์อันเป็นรากฐานสำคัญของปราชญ์ทุกคน  แต่ท่านอะบุลอับบาส อัลมุรซีย์ ได้อธิบายอายะฮ์เฉกเช่นดังกล่าวนั้น  เรียกว่า เป็นการอธิบายแบบอิชาเราะฮ์หรืออิชารีย์ [الإِشَارِيُّ] ตามหลักของอิห์ซานหรือตะเซาวุฟ และท่านอะบุลอับบาส อัลมุรซีย์ได้พูดกับปราชญ์ตะเซาวุฟที่มีความรู้ตามหลักชะรีอะฮ์อยู่แล้ว มิใช่พูดกับคนทั่วไป

ดังนั้นการอธิบายแบบอิชาเราะฮ์  [الإِشَارِةُ]  หรืออิชารีย์  [الإِشَارِيُّ]  เป็นการอธิบายที่ได้รับการยอมรับจากปวงปราชญ์  แม้กระทั่งอิบนุตัยมียะฮ์และอิบนุก็อยยิมก็ให้การยอมรับในการอธิบายเช่นนี้โดยมีเงื่อนไขที่ถูกต้อง 

ท่านอิหม่ามอัสสะยูฏีย์ กล่าวว่า

وَقَالَ الشَّيْخُ تَاجُ الدِّيْنِ بْنُ عَطَاءِ اللهِ فِيْ كِتَابِهِ لَطَائِفِ الْمِنَنِ اِعْلَمْ أَنَّ تَفْسِيْرَ هَذِهِ الطَّائِفَةِ لِكَلاَمِ اللهِ وَكَلاَمِ رَسُوْلِهِ بِالْمَعَانِي الْغَرِيْبَةِ لَيْسَ إِحَالَةً لِلظَّاهِرِ عَنْ ظَاهِرِهِ وَلَكِنّ ظَاهِرَ الآيَةِ مَفْهُوْمٌ مِنْهُ مَا جَلَبَتِ الآيَةُ لَهَ وَدَلَّتْ عَلَيْهِ فِيْ عُرْفِ اللِّسَانِ وَثَمَّ أَفْهَامٌ بَاطِنَةٌ تُفْهَمُ عِنْدَ الآيَةِ وَالْحَدِيْثِ لِمَنْ فَتَحَ اللهُ قَلْبَهُ وَقَدْ جَاءَ فِي الْحَدِيْثِ لِكُلِّ آيَةٍ ظَهْرٌ وَبَطْنٌ

“ท่านชัยค์ตาญุดดีน อิบนุ อะฏออิลลาฮ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือละฏออิฟ อัลมินัน ของท่านว่า ท่านจงรู้ไว้ว่า แท้จริงตัฟซีรของกลุ่มชนนี้(คือกลุ่มชนปราชญ์ซูฟีย์ร็อบบานีย์)ที่มีต่อกะลามุลลอฮ์และคำพูดของท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ด้วยความหมายที่ไม่คุ้นเคยนั้น มิใช่เป็นการเปลี่ยนความหมายที่ผิวเผินชัดเจนให้ออกจากความหมายที่ชัดเจน(ตามหลักภาษาอาหรับ) แต่ความหมายผิวเผินของอายะฮ์นั้น จะถูกเข้าใจตามที่อายะฮ์ได้บ่งชี้ตามหลักภาษาอาหรับ แต่ ณ ที่นั่น ยังมีบรรดาความเข้าใจแบบล้ำลึกที่ถูกเข้าใจจากตัวบทอายะฮ์อัลกุรอานและหะดีษที่มีให้กับผู้ที่อัลลอฮฺทรงเปิดหัวใจของเขา โดยมีหะดีษได้ระบุมาว่า ทุกๆอายะฮ์นั้นมีทั้งความหมายผิวเผิน(ความหมายนอก)และความหมายล้ำลึก(ภายใน)” อัสสะยูฏีย์, อัลอิตกอน ฟี อุลูมิลกุรอาน, เล่ม 2, หน้า 488, และดู อิบนุอะฏออิลลาฮ์, ละฏออิฟ อัลมินัน, หน้า 136-137.

ท่านอิหม่ามอิบนุอะฏออิลลาฮ์ ได้กล่าวโดยสรุปว่า

1. ปราชญ์ซูฟีย์นั้น เชื่อและยึดมั่นอายะฮ์อัลกุรอานและหะดีษในความหมายที่ชัดเจนตามหลักชะรีอะฮ์

2. พร้อมกันนั้นปราชญ์ซูฟีย์นั้น ได้อธิบายความหมายอัลกุรอานแบบลึกซึ้งและไม่คุ้นเคยกับคนสามัญชนทั่วไป

ต่อมาท่านอิบนุอะฏออิลลาฮ์ กล่าวย้ำเตือนว่า

فَلاَ يَصُدَّنَّكَ عَنْ تَلَقِّي هَذِهِ الْمَعَانِي مِنْهُمْ أَنْ يَقُوْلَ لَكَ ذُوْ جَدَلٍ وَمُعَارَضَةٍ وَهَذَا إِحَالَةٌ لِكَلاَمِ اللهِ وَكَلاَمِ رَسُوْلِهِ فَلَيْسَ ذَلِكَ بِإِحَالَةٍ وَإِنَّمَا يَكُوْنَ إِحَالَةً لَوْ قَالُوْا لاَ مَعْنًى لِلآيَةِ إِلاَّ هَذَا وَهُمْ لَمْ يَقُوْلُوْا ذَلِكَ بَلْ يُقِرُّوْنَ الظَّوَاهِرَ عَلَى ظَوَاهِرِهَا مُرَاداً بِهَا مَوْضُوْعَاتُهَا وَيَفْهَمُوْنَ عَنِ اللهِ تَعَالَى مَا أَفْهَمَهُمْ

“ดังนั้นท่านอย่าถูกหักห้ามจากการตอบรับบรรดาความหมาย(ที่ล้ำลึกและไม่คุ้นเคย)เหล่านี้จากที่ผู้ชอบเถียงและคัดค้านที่ได้กล่าวแก่ท่านว่า นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงคำพูดของอัลลอฮฺและคำพูดของท่านร่อซูลุลลอฮ์ ทั้งที่สิ่งดังกล่าวมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงความหมาย แต่การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อพวกเขากล่าวว่า ‘มิได้มีความหมายใดให้กับอายะฮ์นอกจากความหมาย(ล้ำลึก)นี้เท่านั้น’  ซึ่งปราชญ์ซูฟีย์ไม่เคยกล่าวอย่างนี้แต่พวกเขายอมรับบรรดาอายะฮ์ที่มีความหมายผิวเผินให้อยู่บนความหมายผิวผินของมันโดย(ตามหลักชะรีอะฮ์)ที่มีเป้าหมายตามที่หลักภาษาอาหรับได้วางเอาไว้และพวกเขาเข้าใจจากอัลลอฮฺซึ่งสิ่งที่พระองค์ให้พวกเขาเข้าใจ” อัสสะยูฏีย์, อัลอิตกอน ฟี อุลูมิลกุรอาน, เล่ม 2, หน้า 488, และดู อิบนุอะฏออิลลาฮ์, ละฏออิฟ อัลมินัน, หน้า 136-137.

ท่านอิหม่ามอิบนุอะฏออิลลาฮ์ ได้ยืนยันหลักการของปราชญ์ซูฟีย์ไว้ว่า

1. การอธิบายความหมายที่ลึกซึ้งและไม่คุ้นเคยนั้น มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลคำพูดของอัลลอฮฺและท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เนื่องจากพวกเขายอมรับในความหมายผิวเผินตามหลักของชะรีอะฮ์เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว

2. การเบี่ยงเบนและบิดเบือนคำพูดของอัลลอฮฺและร่อซูลุลลอฮ์จะเกิดขึ้นทันทีเมื่อพวกเขากล่าวว่า  ไม่มีความหมายใดให้กับอายะฮ์นั้นอายะฮ์นี้นอกจากความหมายล้ำลึกนี้เท่านั้น โดยพวกเขาปฏิเสธความหมายตามหลักของชะรีอะฮ์  ซึ่งสิ่งดังกล่าวนี้  เป็นแนวทางของพวกบาฏินียะฮ์ ที่ปราชญ์ซูฟีย์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ให้การคัดค้าน

ท่านอิหม่ามอิบนุอะญีบะฮ์ ได้กล่าวว่า

كَثِيْراً مَا يَسْتَدِلُّ الصُّوْفِيَّةُ بِهَذِهِ الآيَةِ (قُلِ اللَّهُ ثُمَّ ذَرْهُمْ فِي خَوْضِهِمْ يَلْعَبُونَ) عَلَى الاِنْقِطَاعِ إِلَى اللهِ وَالغَيْبَةِ عَمَّا سِوَاهُ وَهُوَ تَفْسِيْرُ إِشَارَةٍ لاَ تَفْسِيْرُ مَعْنَى اللَّفْظِ لأَنَّهَا نَزَلَتْ فِي الرَّدِّ عَلَى الْيَهُوْدِ

“ส่วนมากที่ปราชญ์ซูฟีย์ได้นำอายะฮ์นี้(เจ้าจงกล่าวเถิดว่า อัลลอฮฺ-เท่านั้นที่ทรงประทานคัมภีร์แก่มูซา- หลังจากนั้นเจ้าจงปล่อยพวกเขาสนุกสนานกันในการเข้าไปวิพากษ์วิจารณ์ของพวกเขาต่อไป,[อัลอันอาม: 91]) มาอ้างอิงเป็นหลักฐานให้ตัดขาดมัคโลคไปยังอัลลอฮฺและไม่สนใจสิ่งอื่นจากพระองค์ ซึ่งมันคือการอธิบายเชิงบ่งชี้อันล้ำลึกไม่ใช่เป็นการอธิบายตามความหมายของถ้อยคำเพราะอายะฮ์นี้ประทานลงมาเพื่อตอบโต้พวกยะฮูดีย์” อิบนุอะญีบะฮ์, อีกอซุลฮิมัม ชัรหุมัตนิลหิกัม, 366.

ท่านอิบนุอะญีบะฮ์ กล่าวอีกว่า

وَالصُّوْفِيَّةُ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمْ يُقِرُّوْنَ الظَّاهِرَ عَلَى ظَاهِرِهِ وَيَقْتَبِسُوْنَ إِشَارَاتٍ خَفِيَّةً لاَ يَعْرِِفُ مَقْصُوْدَهُمْ غَيْرُهُمْ وَلِذَلِكَ رَدَّ عَلَيْهِمْ بَعْضُ الْمُفَسِّرِيْنَ حَيْثُ لَمْ يَعْرِفْ قِصْدَهُمْ (قَدْ عَلِمَ كُلُّ أُنَاسٍ مَشْرَبَهُمْ)

“และบรรดาปราชญ์ซูฟีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ้ม ยอมรับในความหมายผิวเผินและพวกเขาได้ถอดข้อบ่งชี้อันล้ำลึกที่ผู้อื่นจากปราชญ์ซูฟีย์ไม่เข้าใจเป้าหมายของพวกเขา ด้วยเหตุดังกล่าว จึงมีปราชญ์ตัฟซีรบางส่วนได้ทำการโต้ตอบปราชญ์ซูฟีย์เนื่องไม่รู้ถึงเป้าหมายของพวกเขา (แท้จริงทุกคนรู้สถานที่ดื่ม-ที่เฉพาะ-ของพวกเขา) อัลบะก่อเราะฮ์: 60”อิบนุอะญีบะฮ์, อีกอซุลฮิมัม ชัรหุมัตนิลหิกัม, 366.

ท่านอิบนุอะญีบะฮ์ ได้ยืนยันว่า ปราชญ์ซูฟีย์นั้น ยอมรับในการอธิบายความหมายตัฟซีรทั่วไปเป็นเบื้องต้นอยู่แล้ว หลังจากนั้นพวกเขายังให้ความหมายที่ล้ำลึกตามที่อัลลอฮฺตะอาลาได้ทรงเปิดให้ ซึ่งมีปราชญ์ตัฟซีรบางท่านไม่เข้าใจเป้าหมาย จึงทำการคัดค้าน เนื่องจากระดับการลิ้มรสในความเข้าใจอัลกุรอานมีความแตกต่างกัน

บรรดาตัวอย่างตัฟซีรอิชารีย์

ตัวอย่างที่ 1. ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ได้กล่าวว่า

فَمَنْ سَمِعَ قَوْلَ اللَّهِ تَعَالَى : { لَا يَمَسُّهُ إلَّا الْمُطَهَّرُونَ } وَقَالَ : إنَّهُ اللَّوْحُ الْمَحْفُوظُ أَوْ الْمُصْحَفُ فَقَالَ : كَمَا أَنَّ اللَّوْحَ الْمَحْفُوظَ الَّذِي كُتِبَ فِيهِ حُرُوفُ الْقُرْآنِ لَا يَمَسُّهُ إلَّا بَدَنٌ طَاهِرٌ فَمَعَانِي الْقُرْآنِ لَا يَذُوقُهَا إلَّا الْقُلُوبُ الطَّاهِرَةُ وَهِيَ قُلُوبُ الْمُتَّقِينَ كَانَ هَذَا مَعْنًى صَحِيحًا وَاعْتِبَارًا صَحِيحًا

“ผู้ใดได้ยินคำตรัสของอัลลอฮฺตะอาลาที่ว่า “จะไม่สัมผัสมันนอกจากผู้ที่สะอาดเท่านั้น” และเขาก็กล่าวว่า แท้จริงมันคือเลาหิลมะห์ฟูซหรือเล่มอัลกุรอาน แล้วเขาก็กล่าวว่า เสมือนกับเลาหิลมะห์ฟูซฺที่บันทึกบรรดาอักษรของอัลกุรอานนั้นจะไม่สัมผัสมันได้นอกจากร่างกายที่สะอาดเท่านั้น ดังนั้น(เฉกเช่นเดียวกัน)บรรดาความหมายของอัลกุรอานนั้นจะไม่ได้ลิ้มรสได้นอกจากบรรดาหัวใจที่สะอาดเท่านั้น ก็คือบรรดาหัวใจผู้ที่มีความยำเกรง แน่นอนว่าคำกล่าวนี้เป็นความหมายที่ถูกต้องและข้อคิดคำสอนที่ถูกต้อง” อิบนุตัยมียะฮ์, มัจญฺมูอฺ อัลฟะตาวา, เล่ม 13, หน้า 242.

จากคำพูดของอิบนุตัยมียะฮ์  สังเกตได้ว่าท่านได้อธิบาย 2 แบบ

1. การตัฟซีรทั่วไปตรงกับความหมายของถ้อยคำ ระบุว่า อัลกุรอานนั้นจะไม่สัมผัสมันนอกจากผู้ที่มีความสะอาดเท่านั้น

2. ตัฟซีรอิชารีย์(อธิบายเชิงตะเซาวุฟ) ระบุว่า บรรดาความหมายของอัลกุรอานนั้นจะไม่ได้ลิ้มรสมันได้หรอกนอกจากบรรดาหัวใจที่สะอาดเท่านั้น

เราจะพบว่า การอธิบายแบบที่สองนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของอายะฮ์แต่ก็เป็นการอธิบายแบบอิชารีย์ที่ถูกต้องและไม่ขัดกับหลักการและไม่เพี้ยนแต่ประการใด

ตัวอย่างที่ 2. ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ได้กล่าวเช่นกันว่า

وَكَذَلِكَ مَنْ قَالَ : " لَا تَدْخُلُ الْمَلَائِكَةُ بَيْتًا فِيهِ كَلْبٌ وَلَا جُنُبٌ " فَاعْتَبَرَ بِذَلِكَ أَنَّ الْقَلْبَ لَا يَدْخُلُهُ حَقَائِقُ الْإِيمَانِ إذَا كَانَ فِيهِ مَا يُنَجِّسُهُ مِنْ الْكِبْرِ وَالْحَسَدِ فَقَدْ أَصَابَ

“เฉกเช่นเดียวกันนี้  ผู้ใดที่กล่าว -เช่น อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์และปราชญ์ซูฟีย์- ว่าหะดีษนะบีย์ที่บอกว่า “มะลาอิกะฮ์จะไม่เข้าในบ้านหลังหนึ่งที่มีสุนัขและผู้มีญุนุบ”(รายงานโดยอะบูดาวูด) แล้วเขาก็คิดพิจารณาสิ่งดังกล่าวว่า ‘แท้จริงแล้วแก่นแท้ของอีหม่านเข้าไปในหัวใจเมื่อมีสิ่งที่ทำให้หัวใจสกปรกจากความตะกับบุรและความอิจฉาริษยา’ แน่นอนว่าเขาย่อมถูกต้องแล้ว”อิบนุตัยมียะฮ์, มัจญฺมูอฺ อัลฟะตาวา, เล่ม 13, หน้า 242.

จากคำกล่าวของอิบนุตัยมียะฮ์  จะพบว่ามีการอธิบายตัวบทหะดีษ 2 แบบ

1. อธิบายแบบทั่วไปตรงกับความหมายของถ้อยคำ  คือ มะลาอิกะฮ์จะไม่เข้าบ้านที่มีสุนัขและคนมีญุนุบ

2. อธิบายแบบอิชารีย์(เชิงตะเซาวุฟ) คือแก่นแท้ของอีหม่านนั้นจะไม่เข้าไปในหัวใจที่สกปรกจากความตะกั๊บบุรและความอิจฉาริษยา เป็นต้น  ซึ่งถ้อยคำของหะดีษดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับการอธิบายแบบที่สองเลย แต่ก็ถือว่าไม่ผิดกับหลักการและไม่เพี้ยนแต่ประการใด

ท่านอิบนุลก็อยยิม ได้กล่าวว่า

وَسَمِعْتُهُ يَقُوْلُ فِيْ قَوْلِ النَّبِيِّ : لاَ تَدْخُلُ الْمَلاَئِكَةُ بَيْتاً فِيْهِ كَلْبٌ وَلاَ صُوْرَةٌ إِذَا كَانَتِ الْمَلاَئِكَةُ الْمَخْلُوْقُوْنَ يَمْنَعُهَا الْكَلْبُ وَالصُّوْرَةُ عَنْ دُخُوْلِ الْبَيْتِ فَكَيْفَ تَلِجُ مَعْرِفَةُ اللهِ عَزَّ وَ جَلَّ وَمَحَبَّتُهُ وَحَلاَوَةُ ذِكْرِهِ وَالأُنْسُ بِقُرْبِهِ فِيْ قَلْبٍ مُمْتُلِىءٍ بِكِلاَبِ الشَّهَوَاتِ وَصُوَرِهَا فَهَذَا مِنْ إِشَارَةِ اللَّفْظِ الصَّحِيْحَةِ

“ฉันได้ยินครูของฉัน(คืออิบนุตัยมียะฮ์) ได้กล่าวในคำพูดของท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า “มะลาอิกะฮ์จะไม่เข้าบ้านหลังหนึ่งที่มีสุนัขและรูปภาพ(ของสิ่งที่มีวิญญาณ)” ว่า เมื่อมะลาอิกะฮ์เป็นมัคโลคที่ถูกสร้างนั้น สุนัขและรูปภาพมาห้ามพวกเขาไม่ให้เข้าบ้าน แล้วการรู้จัก(มะริฟะฮ์)ต่ออัลลอฮฺ ความรักที่มีต่อพระองค์ ความหวานชื่นในการซิกรุลลอฮ์ และความสุขที่ได้ใกล้ชิดพระองค์จะเข้าไปอยู่เต็มหัวใจที่มีสุนัขและภาพแห่งอารมณ์ใฝ่ต่ำได้อย่างไร ดังนี้ก็คือข้อบ่งชี้อันล้ำลึกจากถ้อยคำที่ถูกต้อง” อิบนุลก็อยยิม, มะดาริจญฺอัซซาลิกีน, เล่ม 2, หน้า 418.

ตัวอย่างที่ 3. ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

لاَ صَلاَةَ بِغَيْرِ طُهُورٍ

“จะไม่มีการละหมาด(ที่ถูกต้อง)โดยไม่มีความสะอาด” รายงานโดยอัลบัยฮะกีย์, สะนันอัลบัยฮะกีย์, 2, 255.

ท่านอิบนุลก็อยยิมกล่าวว่า

وَمِنْ هَذَا : أَنَّ طَهَارَةَ الثَّوْبِ الطَّاهِرِ وَالْبَدَنِ إِذَا كاَنَتْ شَرْطاً فِيْ صِحَّةِ الصَّلاَةِ وَالِاعْتَداَدِ بِهَا فَإِذَا أَخَلَّ بِهَا كَانَتْ فَاسِدَةً فَكَيْفَ إِذَا كَانَ الْقَلْبُ نَجِساً وَلَمْ يُطَهِّرْهُ صَاحِبُهُ فَكَيْفَ يُعْتَدُّ لَهُ بِصَلاَتِهِ وَإِنْ أَسْقَطَتِ الْقَضاَءَ وَهَلْ طَهَارَةُ الظَّاهِرِ إِلاَّ تَكْمِيْلٌ لِطَهَارَةِ الْبَاطِنِ

“และส่วนหนึ่งจากสิ่งดังกล่าวนี้ คือความสะอาดของเสื้อผ้าและร่างกายที่สะอาดนั้นเป็นเงื่อนไขของการละหมาดที่มีผลใช้ได้และนับว่าเป็นการละหมาดที่ถูกต้อง และเมื่อเขาได้กระทำบกพร่องเรื่องความสะอาด แน่นนอนว่าการละหมาดย่อมใช้ไม่ได้ ดังนั้นเมื่อหัวใจสกปรกและเจ้าของหัวใจนั้นไม่เคยชำระความสะอาด แล้วการละหมาดจะถูกนับว่าเป็นการละหมาด(ที่สมบูรณ์)สำหรับเขาได้อย่างไร ถึงหากแม้ว่าการละหมาด(พร้อมหัวใจสกปรก)นั้นจะทำให้หลุดพ้นจากการชดใช้ก็ตาม ฉะนั้นความสะอาดภายนอกจะไม่เกิดขึ้นนอกจากการทำให้สมบูรณ์ความสะอาดภายใน” อิบนุลก็อยยิม, มะดาริจญฺอัซซาลิกีน, เล่ม 2, หน้า 418.

จากคำกล่าวของอิบนุลก็อยยิม  จะพบว่ามีการอธิบายตัวบทหะดีษ 2 แบบ

1. อธิบายแบบทั่วไปตรงความหมายของถ้อยคำ ก็คือ การละหมาดจะใช้ไม่ได้และไม่ถูกตอบรับ นอกจากต้องมีความสะอาด  ด้วยการมีน้ำละหมาดและร่างกายสะอาดจากนะยิส

2. อธิบายแบบอิชารีย์(เชิงตะเซาวุฟ) คือ หัวใจที่สกปรกแม้จะใช้ได้ตามหลักฟิกห์แต่ไม่ถูกตอบรับจากอัลลอฮฺตะอาลา  ซึ่งความหมายที่สองนี้  ไม่เกี่ยวข้องกับถ้อยคำของหะดีษ แต่เป็นการอธิบายที่ไม่ขัดกับหลักการของศาสนาและไม่เพี้ยนแต่ประการใด

ตัวอย่างที่ 4. ท่านอิบนุกะษีร ร่อหิมะฮุลลอฮ์ ได้กล่าวว่า

قَالَ تَعَالَى: { إِنَّا نَحْنُ نُحْيِي الْمَوْتَى } أَيْ: يَوْمَ الْقِيَامَةِ، وَفِيْهِ إشَارَةٌ إِلَى أَنَّ اللهَ تَعَالَى يُحْيِي قَلْبَ مَنْ يَشَاءُ مِنَ الْكُفَّارَ الَّذِيْنَ قَدْ مَاتَتْ قُلُوْبُهُمْ بِالضَّلاَلَةِ، فَيِهْديْهِمْ بَعْدَ ذَلِكَ إِلَى الْحَقِّ

“อัลลอฮฺตะอาลาทรงตรัสว่า “แท้จริงเราได้ทำให้คนตายฟื้นคืนชีพขึ้นมา” หมายถึง ในวันกิยามะฮ์ และในคำตรัสนี้ยังบ่งชี้อีกว่า อัลลอฮฺตะอาลาจะทรงทำให้มีชีวิตกับหัวใจของผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์จากพวกกุฟฟารที่หัวใจของพวกเขาได้ตายไปเนื่องจากความลุ่มหลง แล้วหลังจากนั้นพระองค์จะชี้นำพวกเขาไปสู่สัจธรรม” อิบนุกะษีร, ตัฟซีรอิบนิกะษีร, เล่ม 6, หน้า 565.

จากการอธิบายของท่านอิบนุกะษีร  จะพบว่ามีการอธิบายอัลกุรอาน 2 แบบ

1. อธิบายแบบทั่วไปตรงความหมายของถ้อยคำ คืออัลลอฮ์ทำให้พวกกุฟฟารฟื้นคืนชีพในวันกิยามะฮ์

2. อธิบายแบบอิชารีย์(เชิงตะเซาวุฟ) คืออัลลอฮ์จะทำให้หัวใจของพวกกุฟฟารที่ตายแล้วมีชีวิตชีวาด้วยการชี้นำไปสู่สัจธรรม

การอธิบายตัฟซีรแบบที่สองนี้  ไม่เกี่ยวข้องกับความหมายถ้อยคำของอัลกุรอาน แต่ก็ไม่ขัดกับหลักการและไม่ถือว่าท่านอิบนุกะษีรอธิบายอัลกุรอานเพี้ยนแต่ประการใด

ดังนั้นท่านอิหม่ามอะบุลอับบาส อัลมุรซีย์ ไม่ได้อธิบายอัลกุรอานเพี้ยนตามที่คนหัวใจมืดมนบางคนกล่าวอ้างแต่อย่างใด ของอัลลอฮฺทรงชี้นำเขาและพวกเราด้วยเถิด ยาร็อบ!

วัลลอฮุอะลัม

أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: การอธิบายอัลกุรอานของปราชญ์ซูฟีย์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ส.ค. 30, 2014, 10:53 PM »
0
กระทู้นี้ผมได้ชี้แจงแบบเปิดเผยและชัดเจนโดยไม่ได้เอ่ยชื่อผู้ใด แต่มีคนร้อนตัวและพาไปโต้กับเฟสตัวเองแบบพัลวันโดยไม่อ่านในสิ่งที่ผมได้ชี้แจงไปทั้งหมดและไม่เข้าใจหลักการศาสนาที่ชี้แจงเกี่ยวกับการตัฟซีรของท่านอิหม่ามอะบุลอับบาส อัลมุรซีย์

อัลลอฮฺตะอาลาทรงตรัสว่า

يَحْسَبُونَ كُلَّ صَيْحَةٍ عَلَيْهِمْ هُمُ الْعَدُوُّ فَاحْذَرْهُمْ قَاتَلَهُمُ اللَّهُ أَنَّى يُؤْفَكُونَ

“พวกเขาคิดว่าทุกๆ เสียงร้องนั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อพวกเขา พวกเขาคือศัตรู ดังนั้นจงระวังพวกเขา ขออัลลอฮฺทรงให้ความอัปยศแก่พวกเขา ทำไมเล่าพวกเขาจึงหันเหออกไป(จากสัจธรรม)” [63:4]

อนึ่ง ท่านอิหม่ามอะบุลอับบาส อัลมัรซีย์ เป็นวะลียุลลอฮ์ ศิษย์เอกของท่านอิหม่ามอะบุลหะซันอัชชาซุลลีย์และเป็นอาจารย์ของท่านอิหม่ามอิบนุอะฏออิลลาฮ์

แต่คนที่เป็นปรปักษ์ต่อวะลียุลลอฮ์อย่างท่านอิหม่ามอะบุลอับบาส อัลมุรซีย์ในเชิงพฤติกรรมที่ปรากฏให้เราได้เห็น และกล่าวหาว่าท่านเพี้ยนในการอธิบายอัลกุรอาน โดยไปก็อบอ้างอิงจากเว็บอาหรับแนวทางสุดโต่งและหลงไปว่าแนวทางของตนเองเท่านั้นที่ถูก ขนาดอ้างอิงชื่อหนังสือก็ยังอ่านผิด บอกว่า “ดู ละฏออิฟ อัลมะนัน” ทั้งที่ชื่อหนังสือที่ถูกต้องคือ “ละฏออิฟ อัลมินัน”

ผู้เป็นปรปักษ์เขาบอกว่า “คำว่า “อายะฮ์” ในซูเราะฮ์อัลบะก่อเราะฮ์ อายะฮ์ที่ 106 นั้น ชัดเจนอยู่แล้วคือโองการของอัลกุรอาน จะเปลี่ยนไปเป็นคำว่า “วะลียุลลอฮ์” ได้อย่างไร สะลัฟคนไหนอธิบายแบบนี้” แล้วเขาก็หยิบการอธิบายของสะลัฟตามหลักชะรีอัตว่า สิ่งที่ถูกยกเลิกคือฮุกุ่มของอายะฮ์ หรืออายะฮ์อัลกุรอานถูกยกเลิกไป เป็นต้น แล้วผู้เป็นปรปักษ์ก็พยายามที่บอกให้ทราบว่า ท่านอิหม่ามอะบุลอับบาส อัลมุรซีย์นั้น อธิบายขัดแย้งกับสะลัฟ”

ขอชี้แจงดังนี้

คำพูดของคนปรปักษ์คนนี้ออกมาจากความเขลาและไม่เข้าใจในสิ่งที่ผมได้นำเสนอและไม่เข้าใจหลักการของตัฟซีรอัลอิชารีย์

กล่าวคือตัฟซีรอัลอิชารีย์นั้น ไม่ใช่เป็นการอธิบายถ้อยคำของอัลกุรอาน แต่เป็นความเข้าใจตัวบทของอัลกุรอานอย่างลึกซึ้ง

เพราะผมได้อ้างอิงคำพูดของท่านอิหม่ามอิบนุอะญีบะฮ์ไปแล้วเกี่ยวกับการอธิบายอัลกุรอานของปราชญ์ซูฟีย์ ก็คือ

وَهُوَ تَفْسِيْرُ إِشَارَةٍ لاَ تَفْسِيْرُ مَعْنَى اللَّفْظِ

“มันคือการอธิบายเชิงบ่งชี้อันล้ำลึกไม่ใช่เป็นการอธิบายตามความหมายของถ้อยคำ” อิบนุอะญีบะฮ์, อีกอซุลฮิมัม ชัรหุมัตนิลหิกัม, 366.

ดังนั้นคำพูดของผู้เป็นปรปักษ์จึงผิดอย่างชัดเจนที่บอกว่า ““คำว่า “อายะฮ์” ในซูเราะฮ์อัลบะก่อเราะฮ์ อายะฮ์ที่ 106 นั้น ชัดเจนอยู่แล้วคือโองการของอัลกุรอาน จะเปลี่ยนไปเป็นคำว่า “วะลียุลลอฮ์” ได้อย่างไร?”

คือผู้เป็นปรปักษ์เขาคิดว่า ท่านอิหม่ามอะบุลอับบาสอัลมุรซีย์นั้น อธิบายและเปลี่ยนถ้อยคำ “อายะฮ์” ว่าเป็น “วะลียุลลอฮ์” ซึ่งเป็นความเข้าใจที่โง่เขลาและไม่รู้หลักศาสนาเกี่ยวกับเรื่องตัฟซีรอัลอิชารีย์ เพราะการตัฟซีรอัลอะชารีย์นั้น ไม่ใช่เป็นการอธิบายถ้อยคำหรือเปลี่ยนถ้อยคำของอัลกุรอาน เนื่องจากการอธิบายถ้อยคำของอัลกุรอานนั้น เป็นการอธิบายตามหลักชะรีอะฮ์ที่ปราชญ์ซูฟีย์ให้การยอมรับเป็นเบื้องต้นหรือเป็นอันดับแรกอยู่แล้ว

ท่านอิหม่ามอัสสะยูฏีย์ ปราชญ์มัซฮับชาฟิอีย์และตะเซาวุฟแนวทางอัชชาซุลลีย์ กล่าวถ่ายทอดคำพูดของท่านอิหม่ามอิบนุอะฏออิลลาฮ์ว่า

وَلَكِنّ ظَاهِرَ الآيَةِ مَفْهُوْمٌ مِنْهُ مَا جَلَبَتِ الآيَةُ لَهَ وَدَلَّتْ عَلَيْهِ فِيْ عُرْفِ اللِّسَانِ وَثَمَّ أَفْهَامٌ بَاطِنَةٌ تُفْهَمُ عِنْدَ الآيَةِ وَالْحَدِيْثِ لِمَنْ فَتَحَ اللهُ قَلْبَهُ وَقَدْ جَاءَ فِي الْحَدِيْثِ لِكُلِّ آيَةٍ ظَهْرٌ وَبَطْنٌ

“แต่ความหมายผิวเผินของอายะฮ์นั้น จะถูกเข้าใจตามที่อายะฮ์ได้บ่งชี้ตามหลักภาษาอาหรับ แต่ ณ ที่นั่น ยังมีบรรดาความเข้าใจแบบล้ำลึกที่ถูกเข้าใจจากตัวบทอายะฮ์อัลกุรอานและหะดีษที่มีให้กับผู้ที่อัลลอฮฺทรงเปิดหัวใจของเขา โดยมีหะดีษได้ระบุมาว่า ทุกๆอายะฮ์นั้นมีทั้งความหมายผิวเผิน(ความหมายนอก)และความหมายล้ำลึก(ภายใน)” อัสสะยูฏีย์, อัลอิตกอน ฟี อุลูมิลกุรอาน, เล่ม 2, หน้า 488, และดู อิบนุอะฏออิลลาฮ์, ละฏออิฟ อัลมินัน, หน้า 136-137.

ท่านอิหม่ามอิบนุอะฏออิลลาฮ์ ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่า

1. อัลกุรอานนั้นต้องเข้าใจถ้อยคำตามหลักภาษาอาหรับเป็นเบื้องต้นอยู่แล้ว ซึ่งเป็นการอธิบายถ้อยคำอัลกุรอานตามหลักของชะรีอะฮ์ ตามที่ผู้ปรปักษ์ได้ยกคำอธิบายของสะลัฟมานั่นแหละ

2. แต่ยังมีบรรดาความเข้าใจ ณ อายะฮ์อัลกุรอานที่อัลลอฮฺตะอาลาได้เปิดให้เข้าใจแก่พวกเขา ซึ่งความเข้าใจนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการตัฟซีรถ้อยคำอัลกุรอาน

และท่านอิบนุอะญีบะฮ์ กล่าวไว้ชัดเจนในการตัฟซีรอัลกุรอานของปราชญ์ซูฟีย์ว่า

وَالصُّوْفِيَّةُ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمْ يُقِرُّوْنَ الظَّاهِرَ عَلَى ظَاهِرِهِ وَيَقْتَبِسُوْنَ إِشَارَاتٍ خَفِيَّةً لاَ يَعْرِِفُ مَقْصُوْدَهُمْ غَيْرُهُمْ

“และบรรดาปราชญ์ซูฟีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ้ม ยอมรับในความหมายผิวเผินและพวกเขาได้ถอดข้อบ่งชี้อันล้ำลึกที่ผู้อื่นจากปราชญ์ซูฟีย์ไม่เข้าใจเป้าหมายของพวกเขา”อิบนุอะญีบะฮ์, อีกอซุลฮิมัม ชัรหุมัตนิลหิกัม, 366.

คำพูดของท่านอิหม่ามอิบนุอะญีบะฮ์มีความชัดเจนแล้วว่า

1. ปราชญ์ซูฟีย์นั้น ยอมรับในการตัฟซีรโดยอธิบายถ้อยคำตามตัวอักษร คืออายะฮ์ที่ 106 ซูเราะฮ์อัลบะก่อเราะฮ์ เกี่ยวกับการยกเลิกอายะฮ์อัลกุรอานหรือหุกุ่มของอายะฮ์อัลกุรอาน

2. แต่ปราชญ์ซูฟีย์ถอดข้อบ่งชี้อันล้ำลึกของอายะฮ์อัลกุรอานที่อัลลอฮฺได้เปิดให้พกวเขาเข้าใจด้วย

ผมขอยกตัวอย่างการอธิบายของท่านอิหม่ามอิบนุอะญีบะฮ์ ผู้เป็นปราชญ์ซูฟีย์แนวทางอัชชาซุลลีย์ ซึ่งท่านได้กล่าวไว้ในตัฟซีรของท่านที่ว่า อัลบะห์รุลมะดี๊ด ที่มีการอธิบายอัลกุรอานซูเราะฮ์อัลบะก่อเราะฮ์อายะฮ์ที่ 106 แบบปกติทั่วไปและอธิบายเชิงตะเซาวุฟ(อัลอิชารีย์)เสริมเข้ามาด้วย ดังนี้

فَأَجَابَ اللهُ عَنْهُمْ بِقَوْلِهِ : { مَا نَنْسَخْ مِنْ آيَةٍ } أَيْ : نُزِيْلُ لَفْظَهَا أَوْ حُكْمَهَا أَوْ هُمَا مَعاً ، { نَأْتِ بِخَيْرٍ مِّنْهَا } فِي الْخِفَّةِ أَوْ فِي الثَّوَابِ

“ดังนั้นอัลลอฮฺทรงตอบพวกเขา(คือพวกยะฮูดี) ด้วยคำตรัสของพระองค์ที่ว่า ‘โองการใดที่เรายกเลิก’ หมายถึง เราได้ทำให้ถ้อยคำของโองการนั้นหายไปหรือทำให้ฮุกุ่มของโองการนั้นหายไปหรือทำให้ถ้อยคำและฮุกุ่มของโองการนั้นหายไปพร้อมๆ กัน ‘เราจะนำสิ่งที่ดีกว่าโองการนั้นมา’ ในแง่ของความผ่อนเบา(ไม่ตกหนักจนเกินไป)หรือในด้านของผลบุญที่ดีกว่า....” อิบนุอะญีบะฮ์, ตัฟซีรอัลบะห์รุลมะดี๊ด, เล่ม 1, หน้า 148.

หลังจากนั้นท่านอิหม่ามอิบนุอะญีบะฮ์ ได้หยิบยกตัฟซีรอิชารีย์ของปราชญ์ซูฟีย์ที่มีความเข้าใจต่ออายะฮ์นี้ว่า

اَلإِشَارَةُ : قاَلَ الشَّيْخُ أَبُو الْعَبَّاسِ الْمُرْسِيُّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ فِي تَفْسِيْرِهَا : مَا نَذْهَبْ مِنْ بَدَلٍ إِلاَّ وَنَأتِ بِخَيْرٍ مِنْهُ أَوْ مِثْلِهِ . ه . وَمَعْنَاهُ : مَا نَذْهَبْ بِوَلِيٍّ إِلاَّ وَنَأْتِ بِخَيْرٍ مِنْهُ أَوْ مِثْلِهِ إِلَى يَوْمِ الْقِيَامَةِ ، وَبِهَذَا يُرَدُّ عَلَى مَنْ زَعَمَ أَنَّ شَيْخَ التَّرْبِيَّةِ اِنْقَطَعَ؛ فَإِنَّ قُدْرَةَ اللهِ عَامَّةٌ

“อัลอิชาเราะฮ์(อธิบายเชิงข้อบ่งชี้อันลึกซึ้ง)คือ ท่านชัยค์อะบุลอับบาส อัลมุรซีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวอธิบายอายะฮ์นี้ว่า ‘เราจะมิให้จากไปจากวะลียุลลอฮ์คนหนึ่งนอกจากเราจะนำมาซึ่งวะลียุลลอฮ์ที่ดีกว่า(มาแทนที่)หรือวะลียุลลอฮ์ที่เหมือนๆ กับเขา’ ซึ่งความหมายก็คือ เราจะไม่ให้วะลียุลลอฮ์คนหนึ่งจากไปนอกจากเราจะนำมาซึ่งวะลียุลลอฮ์ที่ดีกว่า(มาแทนที่)หรือวะลียุลอฮ์ที่เหมือนๆ กับเขาจนกระทั่งถึงวันกิยามะฮ์ และด้วยการอธิบายของท่านอะบุลอับบาสอัลมุรซีย์นี้ เพื่อตอบโต้ผู้ที่อ้างว่า ‘ชัยค์ที่ทำการขัดเกลาจิตวิญญาณนั้นจะได้ขาดตอนไปแล้ว’ เพราะความเดชานุภาพของอัลลอฮฺนั้นแผ่คลุม(ในทุกยุคสมัยซึ่งพระองค์สามารถทำให้วะลียุลลอฮ์ผู้ขัดเกลาจิตวิญญาณมีในทุกยุคสมัยได้ไม่ใช่ไปคิดไปครูของฉันตายไปแล้วและสิ้นสุดโดยไม่มีผู้ใดมาแทนได้อีกแล้ว)”อิบนุอะญีบะฮ์, ตัฟซีรอัลบะห์รุลมะดี๊ด, เล่ม 1, หน้า 149.

ดังนั้นการอธิบายอัลกุรอานแบบอิชารีย์ของปราชญ์ซูฟีย์ในบางอายะฮ์นั้น ไม่ใช่เป็นการอธิบายถ้อยคำของอายะฮ์อัลกุรอาน แต่เป็นการเข้าใจอายะฮ์อัลกุรอานในเชิงเปรียบเทียบ(กิยาส)

เช่น อัลลอฮฺตะอาลาทรงตรัสว่า “โองการใดที่เรายกเลิก หรือเราทำให้มันลืมเลือนไปนั้น เราจะนำสิ่งที่ดีกว่าโองการนั้นมา หรือสิ่งที่เท่าเทียมกับโองการนั้น”

ปราชญ์ซูฟีย์ ได้ทำการเทียบเคียงอายะฮ์นี้ว่า “อัลลอฮฺตะอาลาจะไม่ให้วะลียุลลอฮ์คนใดจากไปนอกจากพระองค์จะนำวะลียุลลอฮ์ที่ดีกว่าหรือเท่าเทียมกันมาทดแทน”

ซึ่งถือว่าเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกับหลักการของความเป็นจริงที่วะลียุลลอฮ์ จะยังคงมีอยู่จนถึงวันกิยามะฮ์

นี่ก็คือหลักการที่ท่านอิบนุตัยมียะฮ์เอง ก็ได้บอกเอาไว้เกี่ยวกับตัฟซีรแบบอิชารีย์ว่า

وَأَمَّا أَرْبَابُ الْإِشَارَاتِ الَّذِينَ يُثْبِتُونَ مَا دَلَّ اللَّفْظُ عَلَيْهِ وَيَجْعَلُونَ الْمَعْنَى الْمُشَارَ إلَيْهِ مَفْهُومًا مِنْ جِهَةِ الْقِيَاسِ وَالِاعْتِبَارِ فَحَالُهُمْ كَحَالِ الْفُقَهَاءِ الْعَالِمِينَ بِالْقِيَاسِ ؛ وَالِاعْتِبَارِ وَهَذَا حَقٌّ إذَا كَانَ قِيَاسًا صَحِيحًا لَا فَاسِدًا وَاعْتِبَارًا مُسْتَقِيمًا لَا مُنْحَرِفًا

“สำหรับปราชญ์ซูฟีย์ที่ยืนยันข้อบ่งชี้ของถ้อยคำ(อัลกุรอาน)และพวกเขาทำให้ความหมายที่ถูกบ่งชี้นั้น เข้าใจได้ในด้านของการเทียบเคียงและหลักวิเคราะห์พิจารณา ดังนั้นสภาพของพวกเขาก็คือสภาพของนักปราชญ์ฟิกห์ที่รู้เกี่ยวกับหลักการเทียบเคียง(กิยาส)และการวิเคราะห์พิจารณา และดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องเมื่อมีการเทียบเคียงที่ถูกต้องโดยไม่เสื่อมเสียและเป็นการวิเคราะห์พิจารณาที่เที่ยงตรงไม่เบี่ยงเบน” มัจญฺมูอฺ อัลฟะตาวา, เล่ม 2, หน้า 28.

ซึ่งการตัฟซีรอิชารีย์ดังกล่าวนี้ ท่านอิบนุตัยมียะฮ์เองนำมาใช้ เช่น คำตรัสของอัลลอฮฺตะอาลาที่ว่า “จะไม่สัมผัสมัน(คือเล่มอัลกุรอาน เป็นต้น) นอกจากผู้ที่สะอาด” แล้วท่านอิบนุตัยมียะฮ์ได้อธิบายอายะฮ์นี้แบบอิชารีย์และเทียบเคียงว่า “บรรดาความหมายของอัลกุรอานนั้น จะไม่สามารถลิ้มรสมันได้หรอกนอกจากผู้ที่มีหัวใจสะอาด” ดู อิบนุตัยมียะฮ์, มัจญฺมูอฺ อัลฟะตาวา, เล่ม 13, หน้า 242.

ผมจึงอยากถามผู้เป็นปรปักษ์กับวะลียุลลอฮ์ในเชิงพฤติกรรม ว่า มีสะลัฟท่านใดบ้างที่อธิบายอัลกุรอานแบบท่านอิบนุตัยมียะฮ์นี้และการอธิบายอัลกุรอานนั้นถูกจำกัดและแช่แข็งเพียงแค่การอธิบายแบบสะลัฟเท่านั้นใช่หรือไม่? และการอธิบายอัลกุรอานเชิงวิทยาศาสตร์และเชิงการเมือง เป็นบิดอะฮ์ลุ่มหลงหรือไม่เพราะไม่มีในยุคสะลัฟ?

ดังนั้นผู้เป็นปรปักษ์จงเข้าใจและเลิกให้ร้ายกับวะลียุลลอฮ์ อะบุลอับบาส อัลมุรซีย์ ได้แล้วครับ

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً