ปัญหาผู้ให้เช่ากับผู้ขอเช่า (เดือนหน้าควรย้ายออก?)

หลายคน ณ ที่นี่ครั้งหนึ่งอาจเคยเป็นผู้เช่า หรือ บางคนอาจเป็นผู้ให้เช่า ปัญหาเจ้าของบ้านและผู้เข้ามาอยู่อาศัยย่อมเกิดกันอยู่เสมอส่วนใหญ่แล้วน่าจะเกิดจากผู้ให้เช่านั้นก็คือเจ้าของบ้านซึ่งในบางพื้นที่มีเรียกร้องค่าใช่จ่ายในการซ่อมแซมจากผู้เช่า ทั้งๆที่ว่าไม่ใช่บ้านของเขา ในบางทีทำให้ผู้เช่าหงุดหงิดเมื่อเจอกับสถานการณ์ดังกล่าว ดังนั้นเราลองมาดูประเด็นในเรื่องนี้ในทางวิชานิติศาสตร์อิสลามเผื่อเป็นข้อมูลคร่าวๆให้ได้รับทราบกัน
เป็นเรื่องจำเป็นให้แก่ผู้ให้เช่านั้นมอบกุญแจบ้านหมายถึงกุญแจของช่องเสียบไม้หรือเหล็กขนาดยาวที่ติดกับประตูให้กับผู้เช่า และถ้าหากผู้เช่าทำมันให้หายก็จำเป็นแก่เจ้าของบ้านนั้นเอาให้ใหม่อาจจะมีสำรองไว้หรือต้องเปลี่ยนใหม่ ส่วนกุญแจอื่นๆนั้นไม่จำเป็นที่ผู้เช่านั้นจะมอบให้กับผู้เช่า อาทิเช่น แม่กุญแจ เฉกเช่นเดียวกับบรรดาสังหาริมทรัพย์ทั้งหลาย เฟอร์นิเจอร์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า แอร์ พัดลม และอื่น ๆ
และจำเป็นเช่นกันต่อผู้ให้เช่าในการบูรณะซ่อมแซมบ้าน การซ่อมรอยรั่วของหลังคา เปลี่ยนประตูที่ชำรุด และปรับปรุงซ่อมแซมสิ่งที่แตกหักภายในบ้าน เช่น พื้นแตก เสาบ้านร้าว และสำนวนที่ว่า"จำเป็น"(วาญิบ)แก่ผู้ให้เช่านั้น มิได้หมายความว่าผู้ให้เช่าจะได้รับบาปถ้าหากไม่กระทำสิ่งดังกล่าวให้กับผู้เช่า แต่ทว่าให้ผู้ขอเช่านั้นมีสิทธิพิจารณาว่าจะเลือกทำการดำเนินการเช่าต่อไปหรือจะยกเลิก เมื่อมีการลดทอนหรือขาดความสมบูรณ์ในการใช้ประโยชน์ เช่น เจ้าของบ้านไม่ยอมซ่อมห้องน้ำให้ในส่วนของชักโครก หรือ ประตูบ้านไม่ดี เจ้าของบ้านก็ไม่ยอมรีบเร่งมาแก้ปัญหาในจุดดังกล่าวก็ให้ผู้ขอเช่าพิจารณาเอา "ทนได้ก็อยู่ไม่ได้ก็ไปเสีย"
ส่วนสำหรับตัวผู้เช่าก็จำเป็นบนเขาในการที่จะต้องทำความสะอาดบริเวณรอบบ้าน กวาดขยะ หรือ สิ่งปฏิกูล ทั้งหลาย และตัวผู้เช่านั้นเป็นผู้ที่ได้รับไว้วางในสิ่งที่เช่ามาไม่ว่าบ้านหรือสิ่งอื่นๆ กล่าวคือ หากมิได้สัพเพร่า หรือ เลินเล่อ ในการใช้งานระหว่างเช่า ก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย และถ้าหากประมาทหรือสัพเพร่า เช่น เป็นคนขี้ลืมแถมยังชอบตั้งของไม่เป็นที่จนกุญแจสูญหาย หรือ เกิดไฟลุกลามเนื่องจากลืมปิดแก็ซจนได้รับความเสียหาย ก็ย่อมที่จะต้องชดใช้ โดยค่าช่ายจ่ายและภาระนั้นจะเกิดกับผู้เช่าในกรณีนี้.
__________________________________________________________________________
ดูเพิ่มเติม
فتح المعين بشرح قرة العين بمهمات الدين صــ 277-274