ผู้เขียน หัวข้อ: ประเทศไทยออกอีด "อีดิ้ลอัฎฮา" ไม่ตรงกับประเทศซาอุฯ หุก่มว่าอย่างไร ??  (อ่าน 1128 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Muftee

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด





คำถาม :

ในเมืองไทยของเราปีนี้ มีการกำหนดอีดี้ลอัฎฮาตรงกับวันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม 2014 ซึ่งการประกาศนี้ออกมาจากสำนักจุฬาราชมนตรีแห่งประเทศไทย ด้วยการมองดวงจันทร์ แต่ในประเทศซาอุดีฯ มีการกำหนดอีดี้ลอัฎฮาปีนี้ตรงกับวันที่ 4 ตุลาคม 2014 ดังนั้น อะไรคือคำชี้ขาดของความแตกต่างในประเทศอิสลามในการกำหนดวันอีดี้ลอัลอัฎฮา ?? และอะไรคือหลักฐานของเรื่องดังกล่าว ? ฉะนั้นเมื่อความแตกต่างในการกำหนดวันอีดิ้ลอัฎฮาระหว่างประเทศของเราและประเทศซาอุดีฯ เราควรจะถือศีลอดในวันอารอฟะห์อย่างไร ?? และต้องเหนียตถือศีลอดในวันอารอฟะห์ที่มีความแตกต่างกันนี้อย่างไร ??  ชี้ขาดโดย สถาบันชี้ขาดปัญหาศาสนา ดารุลอิฟตาอฺ แห่งประเทศอียิปต์


คำตอบ :

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ผู้ทรงกรุณาปราณีเสมอ

การสรรเสริญเป็นสิทธิ์แห่งอัลลอฮ์ การกล่าวประสาทพรและกล่าวสดุดีจงประสบแก่นายของเรา มูฮัมหมัด ผู้เป็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ และจงประสบแก่วงศ์วานและอัครสาวก ร่วมถึงบรรดาผู้ดำเนินรอยตามศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์

โอ้พี่น้องผู้ทรงเกียรติ

คำถามนี้เกี่ยวพันกันถึง 2 ประเด็น ซึ่งก็คือ

1. ประเด็นด้านข้อมูลความรู้

2. ประเด็นด้านการปฏิบัติ


ในประเด็นของข้อมูลความรู้ นั้นคือ สิ่งที่เป็นมติตามบัญญัติ เนื่องจากเรื่องที่มีหลักฐานเด็ดขาดแน่นอน (القطعي) ต้องมาก่อนเรื่องที่มีหลักฐานคาดการณ์ไม่แน่ชัด (الظني) ซึ่งนั้นก็คือ การคำนวณทางดาราศาสตร์ที่เด่นชัดแน่นอนไม่สามารถที่จะคัดค้านการเห็นดวงจันทร์อย่างถูกต้องได้ และเพราะดังกล่าวนี้ ได้ยึดถือตามมติของสภาวินิจฉัยแห่งอิสลาม ที่ออกมาในปี ค.ศ.1966 และการประชุมนิติศาสตร์อิสลามได้มีมติเช่นเดียวกับการประชุมที่ญิดดะห์และที่อื่นๆ ถึงการต้องพึ่งพาอาศัยการคำนวณทางดาราศาสตร์ที่ยืนอยู่บนหลักการทางดาราศาสตร์ที่แน่นอนไปพร้อมๆ กับการยึดถือตามการเห็นดวงจันทร์ด้วยสายตาอย่างถูกต้อง และเรื่องนี้ (ผลสรุป) ก็คือ การคำนวณทางดาราศาสตร์จะถูกปฏิเสธและไม่ถูกรับรอง และแท้จริงการคำนวณทางดาราศาสตร์จะถูกนับว่าเป็น(เครื่องมือใน)การกล่าวหาแก่ผู้ที่เห็นดวงจันทร์ซึ่งเขาจะต้องอ้าง(โดยนำพยานหลักฐานมายืนยัน)


ในประเด็นความขัดแย้งนี้ ท่านอิหม่ามอัตตะกียะห์ อัซ-ซุบกีย์ ได้กล่าวในคำฟัตวาของเขาไว้ว่า ..

“เพราะแท้จริงการคำนวณทางดาราศาสตร์นั้นเป็นเรื่องที่มีหลักการแน่นอนตายตัว และการเป็นพยานและการบอกเล่านั้นเป็นเรื่องที่คาดการณ์ไม่แน่ชัด โดยเรื่องที่มีหลักฐานคาดการณ์ที่ไม่แน่ชัดถึงความเป็นจริงจะไม่สามารถคัดค้านเรื่องที่มีหลักฐานชัดเจนแน่นอนได้ เฉกเช่นเดียวกับการที่จะนำเอาเรื่องที่มีหลักฐานชัดเจนแน่นอนมาไว้ก่อนเรื่องที่เป็นการคาดการณ์ไม่ชัดเจน และการมีพยานหลักฐาน ซึ่งเงื่อนไขของพยานหลักฐานนั้นก็คือ สิ่งที่นำมาเป็นพยานหลักฐานนั้นจะต้องมีความเป็นไปได้ทั้งด้านความรู้สึก ด้านปัญญา และด้านบทบัญญัติ ดังนั้นเมื่อหลักฐานการคำนวณทางดาราศาสตร์ที่ยืนอยู่ในหลักการชัดเจนได้ถูกกำหนดให้อยู่บนความเป็นไปไม่ได้ การยอมรับการคำนวณทางดาราศาสตร์ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ตามหลักของบทบัญญัติ เพราะเนื่องจากความเป็นไปไม่ได้ของสิ่งที่ถูกนำมาเป็นหลักฐานยืนยัน และบทบัญญัติจะไม่นำมาซึ่งความเป็นไปไม่ได้ และไม่มีตัวบทจากบทบัญญัติที่ว่าคำให้การของแต่ละคนจากพยานทั้ง 2 จะถูกรับจะถูกนับ แม้ว่าพยานหลักฐานนั้นจะถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ตาม”


หลังจากนั้นท่านอิหม่ามยังได้กล่าวต่อไปว่า ..

“บางทีความลังเลใจในสิ่งที่เราได้กล่าวไปนั้นจะเกิดขึ้นกับคนโง่เขล่าเบาปัญญาบางคน และปฏิเสธที่จะกลับไปยังการคำนวณไม่ว่าจะเป็นในด้านของการสรุปและขยายความ และจะยืนกร้านต่อทุกสิ่งที่พยาน 2 คนได้นำมายืนยัน และบุคคลที่เป็นเช่นดังกล่าวนี้ จะไม่มีการสนทนาใดๆกับเขา และเราจะพูดกับบุคคลที่ใช้ความคิดนินิจพิจารณา และคนโง่เขล่าจะไม่มีการพูดคุยใดๆกับเขา”


และท่าน เชค อัล-กอลยูบีย์ ได้ถ่ายทอดจากท่าน อัล-อิบาดีย์ ลงไปในหนังสือ (حاشيته على شرح المحلي على المنهاج) ของเขาว่า ..

“เมื่อการคำนวณทางดาราศาสตร์ที่แน่นอนถูกต้องตามหลักการบ่งชี้ถึงการไม่เห็นเดือนฮิล้าล คำพูดของบรรดาผู้ที่มีคุณธรรมว่าเห็นเดือนฮิล้าลจะไม่ถูกรับ และการเป็นพยานของพวกเขาก็จะต้องถูกคัดค้าน”


หลังจากนั้นท่าน เชค อัล-กอลยูบีย์ ได้กล่าวต่อไปอีกว่า ..

“ การคำนวณทางดาราศาสตร์ที่แน่นอนถูกต้องตามหลักการเป็นสิ่งที่ชัดเจนเด่นชัด และไม่อนุญาตให้ผู้ใดถือศีลอดในขณะนั้น (ขณะที่การคำนวณทางดาราศาสตร์ที่ยืนอยู่บนหลักการที่ถูกต้องบอกว่าไม่เห็นดวงจันทร์ โดยที่มีคำพูดจากบรรดาผู้มีคุณธรรมบอกว่าเห็นดวงจันทร์) และการละเมิดต่อดังกล่าวนี้ ถือเป็นการคัดค้านและเป็นการทะนงตน"


ดังนั้น เมื่อการคำนวณทางดาราศาสตร์ที่ยืนอยู่บนหลักการที่ถูกต้องแน่นอนปฏิเสธการขึ้นของดวงจันทร์ ฉะนั้นจะไม่มีการพิจารณาคำพูดของผู้ที่อ้างในเรื่องนี้แต่อย่างใด และเมื่อการคำนวณทางดาราศาสตร์ไม่ปฏิเสธ(คือ ยอมรับ)การขึ้นของฮิล้าล ฉะนั้นในขณะนั้น การยึดถือจะต้องอยู่บนการมองด้วยสายตาในการยืนยันถึงการขึ้นของดวงจันทร์เพื่อให้ออกจาก(ข้ออ้างที่ว่า)ไม่มีการขึ้นของดวงจันทร์ด้วย


ส่วนในเรื่องที่แน่นอนและเด็ดขาดอีกเช่นเดียวกันนั้นก็คือ การที่เดือนรอมาฎอนจะไม่มีเพียงแค่ 28 วัน และจะไม่มีถึง 31 วัน แต่ทว่าเดือนรอมาฎอนนั้นก็เหมือนกับเดือนตามจันทรคติอื่นๆ ซึ่งบางทีก็มี 30 วัน หรือไม่ก็มีแค่ 29 วัน เพราะได้มีรายงานจากท่านอิบนุอุมัรได้รายงานมาว่า ท่านนะบีมูฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า ..

“เดือนนี้ก็เป็นเช่นนี้ เช่นนี้ เช่นนี้” ซึ่งหมายถึง 30 วัน หลังจากนั้นท่านนะบีก็กล่าวต่อไปว่า “และเช่นนี้ เช่นนนี้ เช่นนี้” ซึ่งหมายถึง 29 วัน และได้กล่าวอีกครั้งหนึ่งว่า 30 และอีกครั้งว่า 29” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม)


และในอีกรายงานหนึ่ง ซึ่งท่าน อิบนุ คุซัยมะห์ ได้กล่าวรายงานไว้ในหนังสือซอเฮียะห์ของเขา และท่าน อัล-หากิม ได้รายงานในหนังสือ (المستدرك) และยืนยันถึงความถูกต้องตามเงื่อนไขของท่านอัลบุคอรีย์และมุสลิม ว่า ..

“แท้จริงอัลลอฮ์ทรางกำหนดให้ฮิล้าลเป็นเครื่องบอกเวลา ดังนั้นเมื่อพวกท่านเห็นมัน ก็จงถือศีลอด และเมื่อพวกท่านเห็นมัน ก็จงละศีลอด (สิ้นสุดเดือนรอมาฎอน) ดังนั้นหากมีเมฆปกคลุมเหนือพวกท่าน ก็จงนับคำนวณมันไปให้ครบ 30 วัน และจงรู้ไว้เทิดว่า เดือนนั้นจะไม่เกิน 30 วัน"

ซึ่งท่านอิหม่าม อิบนุ รุชดีย์ ได้ถ่ายทอดการลงมติในเรื่องนี้ ไว้ในหนังสือ (بداية المجتهد) ของท่าน และบุคคลอื่นๆ ก็ได้นำมาถ่ายทอดด้วย


ส่วนในเรื่องของประเด็นการปฏิบัติ นั้น จำเป็นที่ผู้ที่อยู่ในเกณฑ์บังคับจะต้องพิจารณา 2 ประการเมื่ออยู่ในสภาพเช่นนี้ คือ

1. เดือนของการถือศีลอดจะไม่เกิน 30 วัน และจะไม่น้อยกว่า 29 วัน

2. ดังกล่าวในข้อที่ 1 จะต้องไม่ขัดกับการคำนวณทางดาราศาสตร์ที่ยืนอยู่บนหลักการที่ถูกต้องแน่นอน


และเราสามารถสรุปใจความในคำกล่าวของเรา คือ “การคำนวณทางดาราศาสตร์จะถูกปฏิเสธและไม่ถูกยอมรับก็ได้ ซึ่งหมายถึง เมื่อการมีดวงจันทร์ถูกปฏิเสธ ดังนั้น จะไม่ถูกยอมรับด้วยคำพูดของผู้ที่อ้างว่าเห็นดวงจันทร์"


ส่วนเมื่อการคำนวณเหล่านี้ได้ยืนยันการมีดวงจันทร์ พร้อมกับมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเห็นดวงจันทร์ ดังนั้นสิ่งที่มายืนยันสนับสนุนดังกล่าว ก็คือ การมองดวงจันทร์ด้วยสายตา แล้วเมื่อดวงจันทร์ถูกเห็นด้วยสายตาหรือด้วยเครื่องมืออุปกรณ์ที่ช่วยในการมอง(กล้อง) แน่นอนการเริ่มหรือสิ้นสุดเดือนจะได้รับการยอมรับ และเมื่อไม่มีใครเห็นดวงจันทร์ จะไม่มีการยืนยันการเข้าเดือนหรือสิ้นสุดเดือน


และเพื่อดำเนินไปบนหลักการดังกล่าว จึงจำเป็นในแต่ละประเทศต้องมีถ้อยคำเดียวกัน(ในประเทศนั้นๆ) ในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการยืนยันการเผยและสิ้นสุดเดือนรอมาฎอน โดยต้องอยู่ในเงื่อนไขว่า ทั้งการมองด้วยสายตาและการคำนวณทางดาราศาสตร์จะต้องไม่คัดแย้งกัน และไม่อนุญาตให้ประเทศใดยึดเอาการมองเห็นดวงจันทร์ของคนๆ หนึ่ง หรือเมืองหนึ่งเมืองใดที่การเห็นดวงจันทร์ของเขา แตกต่างจากการคำนวณทางดาราศาสตร์ที่ถูกต้องตามหลักการไปในทิศทางของการปฏิเสธ ดังนั้นเมื่อการคำนวณทางดาราศาสตร์ปฏิเสธการเผยดวงจันทร์ โดยที่เมืองๆ หนึ่งอ้างว่ามีการปรากฏดวงจันทร์ จะไม่มีการหันกลับมาเพราะการอ้างของเมืองๆ นั้น และจะไม่ยึดเอาคำพูดของเมืองๆ นั้นมาพิจารณา


ส่วนในประเด็นที่เกี่ยวข้องเดือนซุ้ลฮิจยะห์นั้น(ขอกล่าวก่อนว่า) ความผิดพลาดในเดือนซุ้ลฮิจยะห์ไม่เหมือนกับความผิดพลาดในเดือนรอมาฎอน เพราะเดือนซุ้ลฮิจยะห์นั้น เกี่ยวข้องกับการวุกุฟที่อารอฟะห์และพิธีฮัจย์อื่นๆ


ดังนั้น เมื่อการคำนวณทางดาราศาสตร์ปฏิเสธการเห็นดวงจันทร์ด้วยสายตา ฉะนั้นจะต้องยึดเอาการคำนวณเป็นหลัก และเมื่อซาอุดีฯ ยึดเอาการมองเห็นด้วยสายตาที่แตกต่างกับการคำนวณทางดาราศาสตร์ การเห็นของพวกเขาจึงไม่ใช่หลักฐานให้กับประเทศญี่ปุ่น อินเดีย หรือจีน (ซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ในทิศตะวันออกของซาอุดีฯ) มานำเป็นเกณฑ์ปฏิบัติ


เพราะเนื่องจากยึดถือสิ่งที่เป็นมติเอกฉันท์ในด้านของนิติศาสตร์อิสลามที่ว่า ..

“การเห็นฮิล้าลของชาติที่อยู่ทิศตะวันออกจะเป็นหลักฐานยืนยันว่าชาติที่อยู่ทิศตะวันตกต้องเห็นด้วย แต่จะไม่กลับกัน(คือ การเห็นฮิล้าลของชาติที่อยู่ทิศตะวันตกจะเอามาเป็นหลักฐานยืนยันว่าชาติที่อยู่ทิศตะวันออกจะเห็นดวงจันทร์ด้วยไม่ได้) ในกรณีที่ทั้งสองทิศนั้นอยู่ในเส้นรุ้งหรือละติจูดเดียวกัน แม้ว่าจะมีการดำเนินพิธีกรรมฮัจย์ในสภาพดังกล่าว นั้นก็เพื่อเป็นการรวมคำพูดของบรรดามุสลิมเข้าด้วยกัน"


วัลลอฮู่ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา อะลัม(อัลลอฮ์ทรงรอบรู้ยิ่ง)


ตอบเมื่อ : (วันที่ 30 / 9 / 2014) เลขที่ 381768


ลิ้งค์ฟัตวาจากสถาบันดารุลอิฟตาอฺ แห่งประเทศอียิปต์ : http://www.dar-alifta.gov.eg/f.aspx?ID=381768


ถอดความโดย : อาจารย์ อะห์หมัดมุสตอฟา โต๊ะลง (Mustafa) ผู้ดูแลบอร์ดนิติศาสตร์อิสลาม

ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10202618283451689&set=a.10200549828381605&type=1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ต.ค. 05, 2014, 11:25 PM โดย Muftee »
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ Muftee

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
นอกจากนี้ อาจารย์ อะห์หมัดมุสตอฟา โต๊ะลง (Mustafa) ยังกล่าวเสริมต่ออีกว่า ..

"จากการฟัตวาของอุลามะห์อัซฮัรที่ยกมาข้างต้นนั้น เพื่อต้องการชี้แจงหลักฐานในการอนุญาตให้สามารถยึดถือการคำนวณทางดาราศาสตร์เพื่อกำหนดการเริ่มและสิ้นสุดเดือน พร้อมกันนั้นก็ได้ยกหลักฐานที่จำเป็นต้องดูเดือนด้วยตามาด้วย เพื่อต้องการตัดสินว่า ทั้ง 2 หลักการนี้จะต้องดำเนินควบคู่กันไป โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้

สรุปก็คือ ประเทศไทยไม่จำเป็นต้องตามซาอุดีฯ ในการประกาศการเห็นเดือนของเขา เพราะประเทศไทยอยู่ทางทิศตะวันออกของซาอุดีฯ พร้อมกันนั้นประเทศไทยได้มีการยืนยันทั้งในด้านของดาราศาสตร์อิสลามและการเฝ้าดูดวงจันทร์ ปรากฏว่าไม่มีผู้ใดเห็น จึงเป็นผลให้สำนักจุฬาราชมนตรีออกประกาศกำหนดให้วันอี้ดี้ลอัฎฮาตรงกับวันอาทิตย์ที่ 5 และให้วันเสาร์ที่ 4 เป็นวันอารอฟะห์ (ซึ่งหากพิจารณาวันอารอฟะห์ซึ่งเมืองไทยคือวันที่ 4 และซาอุดีฯคือวันที่ 3 ก็ถือว่าเป็นวันเดียวกัน เพราะเวลาของซาอุดีช้ากว่าประเทศไทย 4 ชั่วโมง ความห่างกันของวันวุกุฟที่ซาอุดีฯ กับประเทศไทยจึงห่างกัน 20 ชั่วโมง ซึ่งไม่เกิน 24 ชั่ว แน่นอนว่ายังคงถือว่าอยู่ในวันเดียวกัน)"

ที่มา : https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10202618283451689&set=a.10200549828381605&type=1&comment_id=10202618314452464&offset=0&total_comments=13
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ต.ค. 05, 2014, 11:33 PM โดย Muftee »
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ sidsid

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 41
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
ถ้าละหมาดวันทีเช้าวันที4 ทีมะกะ เขายังนอนกันอยู่เลย จะทำก่อนมะกะ ใช้ไม่ กลุ่มใหม่ จุฬามีไม่ตาม