11.ครอบครัวมุสลิมต้องมีเมตตาต่อมนุษย์
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : مَنْ لاَ يَرْحَمِ النَّاسَ لاَ يَرْحَمْهُ اللهُ
( رواه أحمد والبخارى ومسلم والترمذي )
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า ผู้ใดไม่มีความเมตตาต่อมนุษย์ เขาก็จะไม่ได้รับความเมตตาจากอัลลอฮฺ"
ข้อคิดจากหะดีษ
1.ท่านนบี สอนให้เรามีเมตตา เห็นใจ และทำความดีต่อเพื่อนมนุษย์
2.อัลลอฮฺทรงมีความเมตตาเสมอโดยเฉพาะต่อผู้ที่มีความศรัทธาและเชื่อฟังอัลลอฮฺ
3.บุคคลใดที่ไม่มีความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันแล้วเขาก็จะไม่ได้รับความเมตตาจากอัลลอฮฺเช่นกัน
12.ครอบครัวมุสลิมภรรยาต้องศอลิหะฮฺ
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : الدُّنْيَا مَتَاعٌ وَخَيْرُ مَتَاعِ الدُّنْيَا الْمَرْأَةُ الصَّالِحَةُ
(رواه مسلم )
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า โลกนี้คือปัจจัยแห่งความสุขและปัจจัยแห่งความสุขที่ดีที่สุดในโลกนี้คือสตรีที่มีคุณธรรม"
ข้อคิดจากหะดีษ
1.นบี ได้ประกาศว่าโลกนี้เป็นสิ่งอำนวยประโยชน์ชั่วคราว ซึ่งแน่นอนอะคีเราะฮฺนั้นเป็นสิ่งอำนวยประโยชน์ที่ถาวรชั่วนิรันดร
2.สิ่งอำนวยประโยชน์ในโลกนี้มีทั้งที่ดี ที่ดีที่สุดและที่ไม่ดี สำหรับสิ่งอำนวยประโยชน์ที่ดีที่สุดคือสตรีมุสลิมะฮฺที่มีคุณธรรม
3.มุสลิมะฮฺจะต้องพยายามแสวงหาความประเสริฐให้แก่ตัวเองด้วยการเสริมคุณธรรมในชีวิต
13.ครอบครัวมุสลิมภรรยาต้องคอยช่วยเหลือสามีในเรื่องอาคีเราะฮฺ
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : لِيتَّخِذَ أَحَدُكُمْ قَلْبًا شَاكِرًا وَلِسَانًا ذَاكِرًا وَزَوْجَةً مُؤْمِنَةً تُعِيْنُهُ عَلَى أَمْرِ الآخِرَةِ
( صَحِيْحُ الْجَامِع : 2176 )
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า คนหนึ่งจากพวกท่านจงแสวงหา (สิ่งเหล่านี้ให้เป็นของเขา คือ ) หัวใจที่เปี่ยมด้วยขอบคุณอัลลอฮฺ ลิ้นที่ขยันกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ และภรรยาที่คอยช่วยเหลือเขาเพื่อประโยชน์ในโลกอะคีเราะฮฺ"
ข้อคิดจากหะดีษ
สามประการที่มุสลิมจำต้องเสริมสร้างและแสวงหาเพื่อให้เป็นของตัวเองอย่างสมบูรณ์
1.เสริมสร้างจิตใจเปี่ยมด้วยความซาบซึ้ง สำนึกในความโปรดปรานของอัลลอฮฺด้วยการขอบคุณพระองค์
2. ลิ้นที่เปี่ยมด้วยรำลึกต่ออัลลอฮอย่างสม่ำเสมอ
3.ภรรยาคุณธรรมมีความศรัทธาที่บริสุทธ์ พร้อมช่วยเหลือและร่วมมือกับสามีในการปฎิบัติสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอาคีเราะฮฺ
4.สามประการที่นบีได้แนะนำให้แก่เรานั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างปัจเจกบุคคลและครอบครัวคุณธรรมสู่ความภาสุขในวันอาคีเราะฮฺ
14.ครอบครัวมุสลิมต้องรับผิดชอบในหน้าที่
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : كُلُّكُمْ رَاعٍ وَكُلُّكُمْ مَسْؤُوْلٌ عَنْ رَعِيَّتِهِ وَالأَمِيْرُ رَاعٍ وَالرَّجُلُ رَاعٍ عَلَى أَهْلِ بَيْتِهِ وَالْمَرْأَةُ رَاعِيَةٌ عَلَى بَيْتِ زَوْجِهَا وَوَلَدِهِ فَكُلُّكُمْ رَاعٍ وَكُلُّكُمْ مَسْؤُوْلٌ عَنْ رَعِِ
( رواه البخارى ومسلم )
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า ท่านทั้งหลายมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบและท่านทั้งหลายจะถูกสอบสวนเกี่ยวกับการ ปฎิบัติหน้าที่ของท่าน ผู้นำมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ สามีมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อครอบครัวในบ้านของเขาและภรรยามีหน้าที่ต้อง รับผิดชอบในบ้านของสามีและลูกๆของเขา ดังนั้นท่านทั้งหลายมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบและท่านทั้งหลายจะถูกสอบสวน เกี่ยวกับการปฎิบัติหน้าที่ของท่าน"
ข้อคิดจากหะดีษ
1.ท่านนบี ได้ระบุว่ามุสลิมทุกคนถูกกำหนดให้มีหน้าที่และต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
2.อามีรซึ่งเป็นผู้นำในระดับสูงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบมากกว่าคนอื่น สามีซึ่งเป็นผู้นำในระดับครอบครัวมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว และภรรยาซึ่งเป็นผู้จัดการในบ้านของสามีมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบดูแลความ เรียบร้อยในบ้านโดยเฉพาะเอาใจใส่ และอบรมลูกๆให้เป็นคนดี มีคุณธรรม
3. การปฎิบัติหน้าที่ต้องปฎิบัติด้วยความสุจริตใจ และมีความรับผิดชอบ
4.ทุกๆ หน้าที่ต้องรับผิดชอบนั้นจะถูกประเมินและสอบสวนในวันอะคีเราะฮฺ ผู้ใดที่ปฎิบัติอย่างดี เขาจะได้รับการตอบแทนที่ดี และผู้ใดที่ละเว้น หรือบกพร่องต่อหน้าที่เขาจะต้องรับโทษอย่างเหมาะสม
15.ครอบครัวมุสลิมภรรยาต้องภัคดีต่ออัลลอฮฺ เชื่อฟังสามี
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : إِذَا صَلَّتْ الْمَرْأَةُ خَمْسَهَا وَصَامَتْ شَهْرَهَا وَحَفِظَتْ فَرْجَهَا وَأَطَاعَتْ زَوْجَهَا، قِيْلَ لَهَا: ادْخُلِيْ الْجَنَّةَ مِنْ أَيِّ أَبْوَابِ الْجَنَّةِ شِئْتِ
( صحيح الجامع : 660 )
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า เมื่อสตรีได้ทำการละหมาด 5 เวลา ) ต่อวัน ) ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน รักษาอวัยวะเพศของนาง ( ด้วยการห่างไกลจากการผิดประเวณี) และเชื่อฟังสามีของนาง นางก็จะถูกเชื้อเชิญว่า จงเข้าสวรรค์ทางประตูใดก็ได้ตามที่นางปรารถนา"
ข้อคิดจากหะดีษ
กิจวัตรสำคัญของภรรยาที่ศอลิหะฮฺมีคุณธรรมคือ
1. ภักดีต่ออัลลอฮฺด้วยการละหมาด 5 เวลาต่อวัน และถือศีลอดในเดือนเราะมะฏอน เป็นต้น
2. รักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของตัวเองจากการกระทำในสิ่งก่อให้เกิดความเสียหายโดยเฉพาะรักษาอวัยวะเพศของพวกนางจากสิ่งที่ต้องห้าม
3. รักษาสิทธิสามีซึ่งส่วนหนึ่งคือการเชื่อฟังสามี
4. ภรรยาที่มีคุณธรรมย่อมจะได้รับความโปรดปรานจากอัลลอฮฺด้วยการตอบแทนที่สมกับความดีงามที่ได้กระทำไว้ต่อพระองค์ ต่อตัวเองและต่อสามี
16.ครอบครัวมุสลิมต้องปฎิบัติตามไม่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺ
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : لاَ طَاعَةَ لِمَن لَمْ يُطِعِ اللهَ
( صحيح الجامع : 7521 )
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า ไม่เป็นที่อนุญาตให้เชื่อฟังผู้ที่ไม่เชื่อฟังอัลลอฮฺ"
ข้อคิดจากหะดีษ
1. การเชื่อฟังและปฎิบัติตามผู้นำในครอบครัวและสังคมเป็นหลักสำคัญในอิสลาม
2. งื่อ นไขสำคัญของการเชื่อฟังและปฎิบัติตามคนหนึ่งคนใดคือผู้นั้นจะต้องไม่เป็นผู้ ที่ฝ่าฝื่นคำสอนของอัลลอฮฺ หรือ ในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงไม่อนุญาต
3. อิสลามเสริมสร้างครอบครัวและสังคมให้มีจิตสำนึกและยึดมั่นในคุณธรรมเพื่อได้มาซึ่งความผาสุข
17.ครอบครัวมุสลิมภรรยาต้องไม่เป็นผู้ที่เลวร้าย
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : يَا عَائِشةُ لاَ تَكُوْنِيْ فَاحِشَةً
( مسلم )
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า โอ้ อาอิซะฮฺ เธออย่าเป็นผู้หญิง ( ภรรยา ) ที่เลวทราม"
ข้อคิดจากหะดีษ
1. นบี ต้องการให้ภรรยามีคุณธรรม มีกริยามารยาทที่ดีงาม มีศักดิ์ศรีสมกับภรรยาของผู้นำประชาชาติมุสลิมและแม่ของบรรดามุมินีน
2. คำตักเตือนของนบี อันนี้เป็นคำตักเตือนที่ครอบคลุมถึงบรรดาภรรยาคนมุสลิมทุกคนด้วย
3. คำว่า ฟาหิชะฮฺ หมายถึง การกระทำ คำพูดและมารยาทที่เลวทราม
4. ภรรยาที่มีคุณธรรมต้องไม่ใช้คำพูดที่หยาบคาย ไม่กระทำสิ่งที่เลวทรามและปราศจากมารยาทที่น่าเกลียดในตัวเธอ
18.ครอบครัวมุสลิมต้องรักษาจริธรรมคุณธรรมภายในบ้าน
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : وَلاَ تَأْذَنُ فِى بَيْتِهِ إِلاَّ بِإِذْنِهِ
( البخارى )
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า และภรรยาจะต้องไม่อนุญาตให้(คนหนึ่งคนใด)เข้าในบ้านของสามีเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้เป็นสามีก่อน"
ข้อคิดจากหะดีษ
1.ภรรยาตามหน้าที่ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของสามีจะกระทำสิ่งใดตามอำเภอใจไม่ได้
2.ภรรยาที่มีคุณธรรมต้องรักษาเกียรติยศและศักดิ์ศรีของสามีโดยไม่อนุญาตให้คนอื่นเข้าในบ้านของสามีหากยังไม่ไดรับอนุญาตจากผู้เป็นสามี
3.อิสลามมีมาตรการอย่างรัดคุมในการป้องกันจากการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสี่อมในด้านจริธรรมคุณธรรม
4.สามีภรรยาต้องเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของแต่ละคนเพื่อสร้างครอบครัวคุณธรรมสู่สังคมอุดมสุข
19.ครอบครัวมุสลิมต้องร่วมมือในการภักดีต่ออัลลอฮฺ
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : إِذَا اسْتَأْذَنَتْ امْرَأَةُ أَحَدِكُمْ إِلَى الْمَسْجِدِ فَلاَ يَمْنَعُهَا
(رواه البخارى ومسلم )
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า เมื่อภรรยาของสามีคนหนึ่งคนใดของพวกท่านได้ขออนุญาตไปมัสญิด ก็จงอย่าห้ามนาง"
ข้อคิดจากหะดีษ
1.เป็นที่อนุมัติสำหรับสตรี หรือ ภรรยาที่จะออกไปมัสญิด
2.สามีไม่ควรห้ามเมื่อภรรยาขออนุญาตไปมัสญิดเพื่อทำอิบาดะฮฺโดยเฉพาะละหมาดญะมาอะฮฺเมื่อไม่มีสาเหตุใดที่ต้องห้าม
3.สามีภรรยาต้องร่วมช่วยกันสร้างคุณธรรมในครอบครัวด้วยการภักดีต่ออัลลอฮฺและมีความตั้งใจอันสูงส่งที่จะแสวงหาความประเสริฐยังสม่ำเสมอ
20.ครอบครัวมุสลิมต้องมองโลกในแง่ดีเสมอ
قَالَ رَسُوْلُ الله : لاَ يَفْرَكْ مُؤْمِنٌ مُؤْمِنَةً إِنْ كَرِهَ مِنْهَا خَلْقًا رَضِيَ مِنْهَا آخَرَ
( رواه مسلم )
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า ชายผู้ศรัทธาคนหนึ่งจะต้องไม่รังเกียจหญิงผู้ศรัทธา ถ้าหากว่าเขาไม่พอใจในนิสัยอย่างหนึ่งที่ไม่ดีในตัวเธอ ย่อมพอใจกับนิสัยที่ดีอีกอย่างหนึ่งในตัวเธอ"
ข้อคิดจากหะดีษ
1. มนุษย์ย่อมไม่มีใครปลอดจากข้อบกพร่องในแง่ต่างๆ เช่นเดียวกับ สตรี หรือภรรยาผู้มีศรัทธาย่อมจะต้องมิไร้คุณลักษณะที่ดีไปเสียทุกคน
2. กฎเกณฑ์อย่างหนึ่งที่สามารถมาประยุกต์ใช้ได้ในทุกๆกรณีในการคบค้าสมาคมกับคนอื่นคือควรมองภาพในแง่บวก มิใช่มองในแง่ลบเสมอ
3. ภรรยาต้องพยายามสร้างบุคลิกภาพและจริยธรรมอิสลามอย่างสมบูรณ์ที่สุดให้แก่ตัวเองและสามีต้องพยายามเข้าใจภรรยาเสมอ
21.ครอบครัวมุสลิมสามีต้องเป็นผู้ที่ประเสริฐที่สุด
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : خَيْرُكُمْ خَيْرُكُمْ لأَِهْلِهِ وَأَنَا خَيْرُكُمْ لأَِهْلِيْ
(صحيح الجامع : 3266)
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า ผู้ที่ประเสริฐที่สุดในหมู่พวกท่านได้แก่บุคคลที่ปฎิบัติทำดีที่สุดต่อครอบ ครัวของเขาและฉันเป็นผู้ปฎิบัติทำดีที่สุดต่อครอบครัวของฉันในหมู่พวกท่าน"
ข้อคิดจากหะดีษ
1.นบี ได้ทำแบบอย่างที่ดีในการปฎิบัติต่อครอบครัว พร้อมกล่าวยกย่องผู้ที่ปฎิบัติดีต่อครอบครัวของเขา
2.การ ทำดีต่อครอบครัวหมายถึงการปฏิบัติตามที่กฎหมายอิสลามกำหนดไว้ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่บกพร่องและไม่ละเลยต่อหน้าที่เว้นแต่ที่เกินความสามารถที่จะปฏิบัติได้
3.สามีต้องพยายามเรียนรู้และเอาแบบอย่างจากนบีเกี่ยวกับบทบาทของท่านต่อครอบครัว
22.ครอบครัวมุสลิมต้องมีจริธรรมที่งดงามที่สุด
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : أَكْمَلُ الْمُؤْمِنِيْنَ إِيْمَانًا أَحْسَنُهُمْ خُلُقًا
( صحيح الجامع :1230 )
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า บรรดามุอฺมินที่มีความศรัทธาที่สมบูรณ์ที่สุด คือ บุคคลที่มีมารยาทดีที่สุดในหมู่พวกเขา"
ข้อคิดจากหะดีษ
1.อิสลามให้ความสำคัญกับความสมบูณ์ของอีหม่านและความดีงามของจริธรรม
2.การมีจรรยามารยาทที่ดีงามสามารถยกระดับอีหม่านให้อยู่ในความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3.บุคคล ครอบครัวที่ประเสริฐที่สุดคือผู้ที่มีทั้งอีหม่านและจริยธรรม คุณธรรมอยู่ในตัว
23.ครอบครัวมุสลิมต้องสุภาพ อ่อนโยน นุ่มนวล
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : إِذَا أَرَادَ اللهُ بِأَهْلِ بَيْتٍ خَيْرًا أَدْخَلَ عَلَيْهِمْ الرِّفْقَ
( صحيح الجامع : 303 )
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า เมื่ออัลลอฮฺทรงประสงค์ความดีให้แก่ครอบครัวหนึ่งครอบครัวใด พระองค์จะทรงให้พวกเขามีความประพฤติดี สุภาพอ่อนโยน"
ข้อคิดจากหะดีษ
1.เป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮฺที่จะทรงประสงค์ให้แก่ครอบครัวหนึ่งครอบครัวใดได้รับความดีและประทานคุณลักษณะความดีงาม
2.เอกลักษณ์สำคัญของครอบครัวคุณธรรมและอุดมสุขคือครอบครัวที่มีคุณลักษณะละมุนละม่อม นุ่มนวล
3.สามีภรรยาต้องแสวงหาความดีให้แก่ครอบครัวด้วยการพึ่งอัลลอฮฺและต้องประดับประดาจริธรรมอันงดงามโดยเฉพาะความสุภาพ อ่อนโยน
24.ครอบครัวมุสลิมต้องรู้จักให้ให้เกียรติแขกผู้เยี่ยม
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : مَنْ كَانَ يُؤْمِنُ باللهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ فَلْيُكْرِمْ ضَيْفَهُ
( متفق عليه)
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า บุคคลใดก็ตามที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอะคิเราะฮฺเขาจงให้เกียรติแก่แขกของเขา"
ข้อคิดจากหะดีษ
1.ความสำคัญของการศรัทธาต่ออัลลอฮฺและต่อวันอะคีเราะฮฺ
2.อิสลามสอนศรัทธาชนให้มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นด้วยการให้เกียรติซึ่งกันและกัน
3.การให้เกียรติแก่แขกผู้มาเยี่ยมเป็นสัญญาณหนึ่งแห่งความศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอะคีเราะฮฺ
4.การไม่เอาใจใส่ต่อแขกผู้มาเยี่ยมเป็นสัญญาณแห่งความบกพร่องในอีหม่าน
25.ครอบครัวมุสลิมต้องเอาใจใส่กับเพื่อนบ้าน
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : لَيْسَ الْمُؤْمِنُ بِالَّذِىْ يَشْبَعُ وَجَارُهُ جَائِعٌ إِلَى جَنْبِه
(صحيح الجامع : 5382)
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า ไม่เป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริงสำหรับผู้ที่อิ่มเอิบ ในขณะเพื่อนบ้านของเขาหิวโหย"
ข้อคิดจากหะดีษ
1. อีหม่านที่สมบูรณ์จำเป็นต้องเสริมด้วยจริยธรรม คุณธรรมที่ดีงามอย่างสม่ำเสมอ
2.สาเหตุหนึ่งที่ทำให้อีหม่านไม่สมบูรณ์คือการไม่เอาใจใส่กับเพื่อนบ้าน
3. ผู้ศรัทธาที่ประเสริฐจะไม่ยอมให้เพื่อนบ้านของเขาอยู่ในความอดยากไม่มีกินในขณะเขานั้นนอนหลับค้างคืนด้วยท้องอิ่มเอิบ
26.ครอบครัวมุสลิมต้องมีความสัมพันธ์ดีกับเครือญาติ
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : لاَ يَدْخُلِ الْجَنَّةَ قَاطِعُ رَحِمٍ
( متفق عليه )
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า ผู้ที่ตัดขาดความสัมพันธ์จากเครือญาติจะไม่ได้เข้าสวรรค์"
ข้อคิดจากหะดีษ
1.อัลลอฮฺทรงได้เตรียมสวรรค์และนรกไว้แล้วสำหรับมนุษย์
2.มนุษย์มีทั้งคนที่มีสิทธิเข้าสวรรค์และผู้ที่ไม่มีสิทธิด้วยสาเหตุต่างๆ
3.สาเหตุหนึ่งที่ทำให้มนุษย์ไม่ได้เข้าสวรรค์คือละเว้นการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเครือญาติ
4. มุสลิมจะต้องไม่ตัดขาดจากเครือญาติจะด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม ยิ่งเครือญาติที่เป็นพ่อและแม่ พี่และน้อง
27.ครอบครัวมุสลิมต้องรู้ว่าการอดทนคือความสำเร็จ
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : النَّصْرُ مَعَ الصَّبْرِ وَالْفَرَجُ مَعَ الْكَرْبِ وَإِنَّ مَعَ الْعُسْرِ يُسْراً
( صحيح الجامع :6806)
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า ชัยชนะจะมากับความอดทนเสมอ ความบรรเทาทุกข์จะมากับความยากลำบากและความยากจะมาพร้อมๆกับความง่ายเสมอ"
ข้อคิดจากหะดีษ
1.การใช้ชีวิตในโลกนี้เราอาจจะเผชิญปัญหาอุปสรรค์และความยากลำบากต่างๆนานาซึ่งเป็นกฎเกณฑ์และการทดสอบจากอัลลอฮฺ
2.ท่านนบี ได้ให้หลักการต่อสู้เพื่อเอาชนะอุปสรรค์ วิกฤต และความทุกข์ในชีวิตคือการใช้ความอดทน อดกลั้นและความมั่นใจต่อสัญญาของอัลลอฮฺ
3. ความสำเร็จ ความสงบสุข และความง่ายมักจะเกิดขึ้นพร้อมๆกับความยากลำบาก และความทุกข์เสมอ
28.ครอบครัวมุสลิมต้องสามัคคีกัน
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : لاَ تَخْتَلِفُوْا، فَإِنَّ مَنْ كَانَ قَبْلَكُمْ اخْتَلَفُوْا فَهَلَكُوْا
( رواه البخارى )
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า พวกเจ้าอย่าขัดแย่งกัน แท้จริงชนรุ่นก่อนหน้านี้พวกเขาเคยขัดแย่งกันและพวกเขาได้พินาศไปแล้ว"
ข้อคิดจากหะดีษ
1.อิสลามกำชับและส่งเสริมความสมัคคีและสมานฉันท์ในครอบครัวและสังคม
2.ความขัดแย่งกันเป็นสิ่งที่ห้ามในอิสลามเพราะจะนำมาซึ่งความแตกแยก ความเสียหาย และความหายนะแก่ประชาชาติ
3.ความหายนะและความพินาศเคยเกิดขึ้นกับชนรุ่นก่อนเนื่องจากความขัดแย่งกัน
4.มุสลิมต้องพยายามสร้างความเป็นเอกภาพ ปรองดองและหลีกเหลี่ยงความแตกแยก
29.ครอบครัวมุสลิมต้องพอเพียง
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : إِذَا نَظَرَ أَحَدُكُمْ إِلَى مَنْ فُضِّلَ عَلَيْهِ فِى الْمَالِ وَالْخَلْقِ فَلْيَنْظُرْ إِلَى مَنْ هُوَ أَسْفَلَ مِنْهُ
( رواه البخارى )
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า เมื่อคนหนึ่งจากพวกเจ้ามองเห็นคนที่มีทรัพย์สินและรูปร่างหน้าตาดีกว่าเขาก็จงให้มองดูผู้ที่ต่ำกว่าเขา"
ข้อคิดจากหะดีษ
1.ในสังคมมีทั้งคนที่มีฐานะดีและรูปร่างตาหน้าตาดีและมีคนที่ด้อยกว่า
2.การที่นบี ได้แนะนำให้เรามองดูคนที่ต่ำกว่าเรานั้นก็เพื่อให้เกิดความสำนึกต่อความโปรด ปรานของอัลลอฮฺซึ่งเรานั้นยังดีกว่าคนอื่นและไม่อิจฉาต่อผู้ที่ดีกว่าเรา
3.ครอบ ครัวมุสลิมต้องสร้างจิตใจให้พึ่งพอใจในสิ่งที่ตนเองมีและรู้จักชุโกรกับสิ่ง อัลลอฮฺกำหนดให้โดยไม่รู้สึกอิจฉาคนอื่น พร้อมไม่ละความพยายามและใช้ความสามารถที่จะให้ดีกว่านั้น
30.ครอบครัวมุสลิมต้องรู้จักความร่ำรวยที่แท้จริง
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : لَيْسَ الْغِنَى عَنْ كَثْرَةِ الْعَرَضِ وَلَكِنَّ الْغِنَى غِنَى النَّفْسِ
(متفق عليه)
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า ความร่ำรวย ( ที่แท้จริง) ไม่ใช่เพราะมีทรัพย์สินที่มากมาย แต่ความร่ำรวย ( ที่แท้จริง) นั้นคือความร่ำรวยทางจิตใจ"
ข้อคิดจากหะดีษ
1. ท่านนบี ได้ให้ความเข้าใจเกี่ยวกับนิยามความร่ำรวยที่ถูกต้อง
2. ผู้ที่มีทรัพย์สินอันมากมายมักจะถือว่าเป็นคนร่ำรวย แต่ตามทัศนะของท่านนบี ยังไม่ถือเป็นคนร่ำรวยที่แท้จริง หากขาดความอารี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
3. ผู้ที่ร่ำรวยที่สุดคือคนรวยด้วยน้ำใจ เห็นอกเห็นใจและเมตตาต่อคนอื่นถึงแม้ว่าเขาไม่ได้มีทรัพย์สินมากมายก็ตาม
อ้างอิงจาก
forward mail.