ผู้เขียน หัวข้อ: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม  (อ่าน 9342 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ philosophy

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« เมื่อ: ส.ค. 21, 2007, 08:19 PM »
0

                                        โดย ชัยคฺ ดร. ยูซุฟ อัล-เกาะเราะฏอวียฺ    ญิฮาด ภาลาวัน แปลและเรียบเรียง                                                                                              แนวคิดซูฟี  คือ รูปแบบหนึ่งของการใช้ชีวิตในการบำเพ็ญเพียร(เพื่อให้บรรลุถึงระดับขั้นบางอย่าง) การทำความเคารพภักดีเช่นนี้ได้รับการยอมรับโดยทุกศาสนา  แม้ว่าแนวทางการปฏิบัติของศาสนาต่างๆจะแตกต่างกัน





ดังเช่นในอินเดีย  ชนชั้นที่ต่ำกว่าชองชาวฮินดูมีแนวโน้มที่จะสุดโต่ง   โดยพวกเขาการสร้างความเจ็บปวดให้กับตัวเองเพียงเพื่อการบรรลุเป้าหมายอันสูงส่งของจิตวิญญาณ ลักษณะเดียวกันนี้ถูกนำไปใช้ศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะการรักษาพรหมจรรย์   


เช่นเดียวกัน ในเปอร์เซียมีลัทธิหนึ่งที่เรียกว่า มนี  ขณะที่ในกรีซมีอีกกลุ่มเป็นที่รู้จักว่า อัร รูวากิยีน )คนผู้ปฏิเสธชีวิตที่สะดวกสบาย(  อันที่จริงจริงในประเทศอื่นอีกจำนวนมาก มีกลุ่มที่คล้ายคลึงกันซึ่งเป็นพวกสุดโต่งในความเชื่อของพวกเขา 


อิสลามแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับความเชื่อทั้งหมดนี้  อิสลามนำแนวทางสายกลางมาสู่ชีวิตและวิธีการระลึกถึงพระเจ้าของเขา  อิสลามมองมนุษย์เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกนึกคิด จิตวิญาณ และร่างกาย   และอิสลามทำให้ประจักษ์ว่าองค์ประกอบเหล่านี้ทั้งหมดต้องการได้รับเอาใจใส่เป็นพิเศษ


นี่คือสิ่งที่ท่านนบีมุฮัมมัดได้ทำให้กระจ่างชัดกับศอฮาบะฮฺ(สหาย)ของท่าน อับดุลลอฮฺ อิบนฺ อัมรฺ อิบนฺ อัลอาศ  ผู้ทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺอย่างเกินเลย   เขาจะลดการกินการดื่ม  การนอน และการให้สิทธิต่อภรรยาของเขาท่านนบี ได้ตักเตือนเขาในเรื่องนี้ว่า  ? ตาของท่านมีสิทธิเหนือตัวของท่าน  และร่างกายของท่านมีสิทธิเหนือตัวของท่าน  และครอบครัว(ภรรยา)ของท่านก็มีสิทธิเหนือตัวของท่าน จงให้สิทธิของแต่ละคนตามที่เขามี ?


เช่นเดียวกันศอฮาบะฮฺบางคนมาที่บ้านของท่านนบี เพื่อถามภรรยาของท่านว่าท่านนบี  ได้ทำอิบาดะฮฺอย่างไร  หลังจากที่ได้รับทราบรายละเอียดของการทำอิบาดะฮฺของท่าน พวกเขาพบว่าพวกเขาตามหลัง(ในการทำอิบาดะฮฺของ)ท่านนบี


พวกเขาคิดว่าพวกเขายังทำไม่ได้ตามมาตรฐานที่ผู้ศรัทธาที่แท้จริงต้องทำ   นอกจากนี้พวกเขามองไม่เห็นเหตุผลว่า ทำไมพวกควรทำอิบาดะฮฺน้อยกว่าหรือไม่เท่ากับที่ท่านบีได้ทำ  ในเมื่อท่านได้รับการอภัยโทษจากบาปทั่งหมดของท่านอย่างแน่นอนแล้ว   ดังนั้นพวกเขาจึงสาบานว่าจะเริ่มทำกระทำอิบาดะฮฺที่อย่างจริงจังมากขึ้น


คนหนึ่งจากพวกเขาสาบานว่า  เขาจะรักษาการถือศีลอดโดยไม่หยุด (ไม่ละศีลอดเลย)    อีกคนสาบานว่าเขาจะไม่ยุ่งกับผู้หญิงจะไม่แต่งงาน  ขณะที่คนที่สาม กล่าวว่าเขาจะรักษาการละหมาดในเวลากลางคืนโดยไม่หลับนอน  เมื่อเรื่องนี้รู้ถึง   ท่านนบีท่านก็เรียกพวกเขามารวมกันและได้กล่าวตักเตือนพวกเขาว่า  ?ขอสาบานต่ออัลลอฮฮฺ ฉันเป็นผู้ที่เกรงกลัวอัลลอฮฺที่สุดในหมู่พวกท่าน แต่ฉันก็ถือศีลอดและละศีลอด ฉันละหมาดและฉันก็นอน และฉันก็แต่งงานกับผู้หญิง ใครก็ตามที่ไม่ปฏิบัติตามแบบฉบับของฉัน ก็ไม่ใช่พวกฉัน?  นี่แสดงให้เห็นว่าอิสลามรักษาความเป็นสายกลางในทุกเรื่อง                                                                                                                                                     


อย่างไรก็ตาม ผู้คนมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติแนวคิดซูฟีเพื่อเป็นวิธีการช่วยเหลือพวกเขาจากความวุ่นวายของลัทธิวัตถุนิยม ที่สร้างความเสียหายต่อพวกเขา อันเป็นผลมาจากการที่พวกเขามุ่งสร้างความมั่งคั่งและความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจให้กับตัวพวกเขา 


ทั้งหมดนี้นอกจากที่จะทำให้พวกเขาตกเป็นทาสของชีวิตที่ฟุ่มเฟือยแล้ว พวกเขายังถูกควบคุมโดยแนวความคิดที่เลื่อนลอยอีกด้วย  เป็นผลให้ความศรัทธาในศาสนา(อะกีดะฮฺ)ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของปรัชญาและเทววิทยา( ซึ่งนำเข้ามาจากภายนอก โดยเฉพาะกรีก - ผู้แปล) และเรื่องนี้ได้นำไปสูข้อโต้แย้งที่บ้าคลั่ง ซึ่งทำผู้คนละเลยในด้านจิตวิญญาณของชีวิตอย่างสมบูรณ์แบบ   


ขณะที่บรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนิติศาสตร์อิสลาม(ฟิกฮฺ)กลับล้มเหลวที่จะไปให้ลึกกว่านี้   แทนที่จะพยายามในการทำความเข้าใจในด้านจิตวิญญาณของการทำอิบาดะฮฺ(ซึ่งเป็นด้านที่ลึกซึ้ง ? ผู้แปล)  พวกเขากลับเพียงยึดอยู่กับรูปแบบภายนอกของมัน  เรื่องนี้ได้ทำให้กำเนิดกลุ่มศาสนาที่เป็นที่รู้จักกันว่า ซูฟี  ซึ่งได้เข้ามาเติมช่องว่างที่ถูกละเลยโดยนักเทววิทยา(นักวิชาการด้านอะกีดะฮฺ)และนักนิติศาสตร์(นักวิชาการด้านฟิกฮฺ) ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปแล้วว่า ในระยะหลังพวกเขาล้มเหลวในการเปลี่ยนแปลงผู้คนในด้านจิตวิญญาณ     


ซูฟีให้ความสำคัญอย่างมากในการตรวจสอบมนุษย์ ในแง่ของความรู้สึกภายในของเขา มิใช่สิ่งที่เขาได้ปฏิบัติจริง พวกเขามุ่งสนใจในเรื่องของจิตใจภายในมากกว่าภายนอก จุดมุ่งหมายหลักของพวกเขาคือเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์ใหม่  เพื่อที่จะช่วยให้พวกเขาบรรลุถึงความงดงามในด้านจิตวิญญาณ  ซูฟีคนหนึ่งได้กล่าวว่า  ?มารยาทที่ดีงาม คือสิ่งที่ทำให้เป็นซูฟีที่ดี?  แท้จริง ซูฟีในยุคแรกได้เป็นตัวอย่างที่ดีโดยยึดมั่นคำสอนอิสลาม ที่ได้นำมา จากอัลกุรอานอันรุ่งโรจน์และแบบอย่างของท่านศาสดา   นอกจากนี้ พวกเขาทำการเผยแผ่อิสลามอย่างดีเลิศ  แท้จริงแล้วผู้คนจำนวนมากเข้ารับอิสลามโดยบรรดาซูฟีผู้ยิ่งใหญ่เหล่านี้ ผู้ที่พยายามอย่างสุดความสามารถในการเข้าร่วมสงครามต่อสู้กับความเชื่อนอกรีต  ผู้ไม่เชื่อในพระเจ้า  และผู้ตั้งภาคี


ในทางตรงกันข้าม ประวัติศาสตร์ก็ได้บันทึกตัวอย่างอันเลวร้ายที่เริ่มจากซูฟีบางคน ซึ่งได้คิดค้นแนวคิดที่ไม่มีรากฐานในอิสลาม ส่วนหนึ่งของแนวความคิดเหล่านี้ คือการสร้างความแตกต่างระหว่างความแท้จริง(ฮะกีกัต)กับการการรับรู้ภายนอก(อย่างผิดๆ) ในความหมายที่ว่ามนุษย์ไม่ควรถูกตัดสินโดยการกระทำที่เปิดเผยภายนอก(สิ่งที่เราสามารถรับรู้ได้)  แต่เขาควรจะถูกตัดสินโดยสภาวะของจิตใจของเขา(สิ่งภายในที่เขารู้สึกอย่างแท้จริง)   ด้วยการใช้แนวคิดนี้ ทำให้คนหนึ่งอาจจะพบข้อแก้ตัวบางอย่างสำหรับความผิดของเขา  พวกเขายังกล่าวอีกว่า ความรู้สึกภายในของซูฟีคือบ่อกำเนิดแห่งทางนำ และด้วยความรู้สึกนี้เองทำให้เขาว่าสิ่งใดเป็นสิ่งฮะลาล(อนุมัติ)และสิ่งใดเป็นสิ่งฮะรอม(ต้องห้าม)     


นั่นคือเหตุผลว่าทำไมพวกเขาชี้ถึงความบกพร่องของนักฮะดีษ(ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับคำพูดของท่านนบีมุฮัมมัด)เสมอ คือนักฮะดีษนั้นต้องรายงานตัวบทว่า ?คนนั้นรายงานจากคนนี้ คนนั้นได้กล่าวว่าดังนี้?(ซึ่งเป็นวิธีการทางวิชาการฮะดีษ)  พวกเขาตัดสินว่าการรายงานเช่นนี้เชื่อถือไม่ได้  ตรงกันข้ามคำกล่าวที่เป็นจริงต้องถูกรับรองโดย ซูฟี โดยควรจะเริ่มกล่าวว่า  ?ฉันได้รับแรงบันดาลใจจากพระเจ้าของฉัน?  พวกเขายังเคยกล่าวเยาะเย้ยนักฮะดีษว่า   ?ท่านชื่นชอบการรายงานคำกล่าวจากมนุษย์ที่ต้องตาย แต่พวกเรา ? ซูฟี -  คำกล่าวของพวกเรามาจากอัลลอฮฺ ผู้มีชีวิตนิรันดร์ ?   ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงอ้างว่าพวกเขาได้ติดต่อกับสวรรค์ได้โดยตรง


แนวความคิดที่ไม่มีเหตุผลนำซูฟีไปสู่การทำให้สาวกของพวกเขากลายเป็นคนไร้คุณค่า  พวกเขากล่าวว่า ?ต่อหน้าอาจารย์ซูฟีสาวกจะเปรียบเสมือนกับซากศพที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ซึ่งถูกควบคุมโดยผู้ที่อาบน้ำศพ ?   ไม่เพียงเท่านั้น  พวกเขาได้ทำแม้กระทั่งยึด สิทธิของสาวกในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากอาจารย์  ซึ่งพวกเขาคิดว่าการกระทำเช่นนี้เป็นจุดเริ่มของความล้มเหลว             


แท้จริงกล่าว   ความเข้าใจที่ผิดๆของซูฟีกลุ่มนี้ดังกล่าว ทำความเสียหายให้กับคนหนุ่มสาวในทุกวันนี้ ผู้ซึ่งถูกควบคุมโดยความไม่รู้โดยการนำเอาทุกสิ่งที่พวกเขาได้ยินมาปฏิบัติ   ผลของบุคลิกภาพที่เปราะบางอย่างเลยเถิดของพวกซูฟี ที่อยู่ภายใต้อำนาจของชัยคฺพวกเขาเช่นนี้   ทำให้พวกซูฟีแทบจะช่วยตัวเองไม่ได้เสมือนกับ คนตายที่อยู่ในมือของสัปเหร่อ หรือ ผู้ที่อาบน้ำศพ   ดังนั้นพวกเขาจึงพัฒนาทัศนะคติทั้งที่เป็นลบและเมินเฉยต่อการกดขี่และความอธรรม  เนื่องจากสิ่งที่อาจารย์ซูฟีของพวกเขากล่าวแก่พวกเขาว่า ?จงมอบส่วนของซีซาร์ให้กับซีซาร์ และให้พระเจ้าเป็นผู้ดูแลมนุษย์?


อย่างไรก็ตาม ดังเช่นแสงสว่างในถ้ำมืด  อุลามาอฺ อะหฺลุซซุนนะฮฺ บางท่านรวมทั้ง คนยุคแรก(สลัฟ)ได้พยายามอย่างที่สุดในการปฏิรูปแนวคิดซูฟีจำนวนมากด้วยกับคำสอนของอัลกุรอานและแบบอย่างของท่านศาสดา


หนึ่งในอุลามาอฺผู้ยิ่งใหญ่  ซึ่งไม่สามารถปฏิเสธความพยายามของท่านในงานนี้(คือการปฏิรูปแนวคิดซูฟี) คืออัลลามะฮฺ อิบนฺ กอยยิม ผู้ที่เขียนหนังสือชื่อ มะดาริจ อัซ-ซาลิกีน อิลา มะนาซิล อัซซาอิริน ซึ่งหนังสือเล่มนี้ถูกเขียนเพื่ออธิบายหนังสือที่เขียนโดย ชัยคฺ อิสมาอีล อัลฮัรวียฺ อัลฮัมบาลี  ที่ชื่อ มะนาซิล อัซซาอิริน อิลา มะกอมัต อิยากานะอฺบุดู วะ อิยากานัสตะอีน หนังสือนี้มีสามชุด  ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการประสานระหว่างแนวความคิดซูฟีและคำสอนของอัลกุรอานและซุนนะฮฺ 


เราควรใช้แนวความคิดซูฟีในสิ่งที่สอดคล้องกับคำสอนของอิสลาม ดังเช่นการเรียกร้องไปสู่คุณค่าอันสูงส่งของความรักซึ่งกันและกัน รวมทั้งสอนอีกคนหนึ่งในการขจัดความเจ็บป่วยของจิตใจและการบรรลุถึงความงดงามทางจิตวิญญาณ


แท้จริง มีตัวอย่างซูฟีที่ดีๆอยู่ โดยอาจมีข้อยกเว้นเล็กๆน้อยๆบางประการ  ซึ่งพวกเขาทำให้เราเข้าใจถึงรูปแบบการเคารพภักดีได้ดีขึ้น ท่านอิมาม ฆอซาลี คือหนึ่งในลักษณะซูฟีสายกลางเช่นนี้  โดยแนวคิดของท่านไปในแนวทางเดียวกับคำสอนของอิสลาม



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ส.ค. 21, 2007, 10:52 PM โดย al-azhary »

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ส.ค. 22, 2007, 10:04 AM »
0
สิ่งที่เจ้าของกระทู้ได้นำเสนอนี้  เราได้อะไรจากบทความนี้ครับ??  ช่วยวิจารณ์กันหน่อย

ออฟไลน์ musalmarn

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 796
  • เพศ: ชาย
  • สักวัน... ฉันจะขี่ม้า
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
    • ชมรมศาสนศึกษา แผนกอิสลาม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ส.ค. 22, 2007, 02:55 PM »
0
อิสลาม คือ ทางสายกลาง ^^

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ส.ค. 23, 2007, 12:53 PM »
0
อิสลาม คือ ทางสายกลาง ^^

นั่นก็หมายความว่า  อยู่ยกเหมาฮุกุ่มซูฟีย์  ต้องแยกแยะว่าซูฟีย์แนวทางใดที่ผิดและซูฟีย์แนวทางใดที่ถูกต้อง   ;D

ออฟไลน์ musalmarn

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 796
  • เพศ: ชาย
  • สักวัน... ฉันจะขี่ม้า
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
    • ชมรมศาสนศึกษา แผนกอิสลาม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ส.ค. 23, 2007, 05:10 PM »
0
^
^
^

ถูกต้องครับ บังนูรุ้ลฯ

ออฟไลน์ azri

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 36
  • จะรู้จักพระเจ้าได้อย่างไรในเมื่อตัวเองยังไม่รู้จัก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ก.ย. 16, 2007, 03:04 PM »
0
อิสลาม คือ ทางสายกลาง ^^


                 กลางคืออะไร               คือพอดีไม่มากไปไม่น้อยไปใช่ไหม
               สมมุติว่า
                ถ้าผมกินข้าวได้ 2 ถ้วยคืออิ่มพอดี
                บังและห์กินข้าวได้ 4 ถ้วยคืออิ่มพอดี
                บังซุปกินข้าวได้  6 ถ้วยคืออิ่มพอดี
                                                แล้วอะไรล่ะคือกลาง

                                      ผมบอกฟัรดู 5 เวลาน่ะพอดีแล้ว
                                      บังและห์บอก ไม่ได้ต้องมีสุนัต เติมนิดหน่อยจึงจะพอดี
                                      บังซุปบอกไม่ได้ต้องเก็บตกสุนัตร่อวาติบทั้งหมดจึงจะใช้ได้


                                        เพราะฉะนั้นพอดีของผมก็คือพอดีของผม
                                                           พอดีของบังและห์ก็คือพอดีของบังและห์
                                                           พอดีของบังซุปก็คือพอดีของบังซุป
                                       
                                                          จะบอกว่าคนทำมากกว่าผิดหรือคนทำน้อยกว่าผิดจึงไม่สมควร จริงไหม
                                                         ทางสายกลาง(ไม่ตึง ไม่หย่อน)ของแต่ละคน จึงไม่เท่ากัน



                                              ซูฟีนั้นคือผู้ที่อีหม่านจนกระทั่ง หันหลังให้ดุนยาทั้งหมดแม้แต่ตัวของเขาเอง ยอมรับในเอกภาพของพระเจ้า
                                       
                                        คุณมีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงด้วยตัวคุณเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าได้ไหม
                                                คำตอบคือไม่ได้แม้กระทั่งจะกระพริบตา ถ้าอัลลอฮไม่อนุตมัติ
                                     
                                           สูเจ้าจะไม่สมประสงค์สิ่งใด เว้นแต่พระผู้อภิบาลทรงประสงค์เท่านั้น
                                       
                                       แล้วคุณมีอะไรที่เป็นของคุณ
                                           คำตอบคือ..........

                                      ไอ้ที่คิดว่าเป็นคุณในความเป็นจริงน่ะไม่ใช่ของคุณแต่เป็นของอัลลอฮ
                                          เพราะคุณคือ อดามู่           และนี่ก็คือแนวคิดของพวกซูฟี
                                      การจะเป็นนักซูฟีไม่ใช่เรื่องง่ายๆเพราะต้องทิ้งทุกๆอย่าง(ดุนยา)แล้วจะมีกี่คนที่ทำได้
                     ทางที่เหมาะสมคือ เป็นนักตอรีกัตจนชำนาญ แล้วพัฒนาเป็นนักตะเซาวฟจนชำนาญจึงจะกระเถิบไปเป็นนักซูฟี
                                  เพราะนักซูฟีนั้นทั้งลึกมากและละเอียดยิบมากไม่งั้นโอกาสพลาดก็สูงมากๆเช่นกัน
                                             และไม่ได้หมายความว่าอยู่ๆจะเป็นนักซูฟีเลยไม่ได้
                                                   ได้  แต่จะมีซักกี่คนที่กล้าทิ้งแม้กระทั่งตัวเองล่ะ  และถ้าพื้นไม่แน่นโอกาสพลาดก็สูงมากๆ(ขนาดคนมีพื้นพอประมาณยังพลาดเลย)

                                 และคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เขาทำมันผิด ถ้าเขาเข้าสู่สภาวะที่อัลลอฮให้เขาอยู่เหนือกฎเกณฑ์ของมนุษย์ล่ะ

                                 ดูภายนอกมันอาจจะผิดสำหรับคุณแต่ถูกสำหรับเขา เพราะเลเวลต่างกันคุณจึงไม่สามารถทำแบบเขาได้
                         (ถ้าคุณสามารถใช้ก้อนหินซื้อของแทนเงินได้คุณก็อาจจะทำแบบเขาได้ เพราะ เงินกะก้อนหินในมุมมองของเขามันก็มีค่าเท่ากันไม่ต่างกัน)
                         (ถ้าคุณสามารถละหมาด2ร่อกะอัตเพื่อให้ทรายที่อยู่ตรงหน้าเป็นทองได้ เพื่อใช้จ่าย เท่าที่จำเป็นก็โอเคนะ)
                                    แต่ถ้าทำไม่ได้เพราะคุณยังไม่เข้าสู่สภาวะที่อัลลอฮทรงประสงค์ให้อยู่เหนือกฎเกณฑ์ก็อย่าไปตำหนิในการกระทำของพวกเขาโดยที่คุณไม่มีวันเข้าใจ
                            (บรรดาวาลียุลลอฮนั้นด้วยการอนุมัติของอัลลอฮทำให้ธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ยินยอมที่จะให้พวกเขาใช้งาน)                                             
                                       มีบ่อยๆครั้งที่คนธรรมดาไม่อาจเข้าใจถึงสิ่งที่เขาทำ แนวความคิดของเขา
                                        ตัวอย่างง่ายๆก็คือนบีมูซากับนบีคิรเดรในกุรอานไง
                                          ขนาดนบีมูซา ยังไม่เข้าใจในการกระทำของนบีคิรเดรเลย
                                      แล้วเราผู้โง่เขลามีหรือจะเข้าใจในบรรดานักซูฟีที่ลึกซึ้ง

                                        ทั้งหมดที่โพสมาเพียงแค่จะชี้ว่า   มองที่ตัวเองก็พอแล้ว มองที่อื่นถ้าเข้าใจก็เสมอตัว แต่ถ้าไม่เข้าใจ ปัญหาก็เกิด
                      และก็เป็นคิลาฟียะมากมายก่ายกองที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ เพียงเพราะนัฟซู(ของคนที่ยังไม่สามารถควบคุมมันได้)เท่านั้นเอง

                   มองที่ตัวเอง และจงมองอย่างพิจารณาถึงสภาพความเป็นจริงแล้วเมื่อพระองค์ประสงค์ให้เข้าใจก็จะเข้าใจเอง
                                   (เราก็เปรียบเสมือนโลกๆหนึ่ง อาณาจักรๆนึงเช่นกัน คุณคิดว่าจะรู้จักตัวคุณครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมเลยกระนั้นหรือ
                                                                          คุณสามารถรู้จักทุกๆสิ่งในโลกทั้งใบมั๊ยล่ะ
                                        จะรู้จักผู้สร้าง ก็ด้วยกับสิ่งถูกสร้าง และสิ่งที่ถูกสร้างที่ใกล้ตัวที่สุดก็คือ คุณ)
                                         (คุณเองยังไม่รู้จักตัวเองที่แท้จริงเลย แล้วยังไปมองสิ่งอื่นที่ไกลตัวทำไม)

                                                           สูเจ้ามิได้พิจารณาที่ตัวของสูเจ้าเองดอกหรือ 



                                                      รักพระเจ้าให้มากๆ      ซอลาวาตให้เยอะๆ    อย่างอื่นเฉยๆไว้               



                                                                                                                                จากมุอัลลัฟผู้ยะเฮล ผู้ต่ำต้อยและโง่เขลา......                 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 17, 2007, 01:24 PM โดย azri »
ใจฉันเปรียบได้ยังทุกรูปแบบ
ดังทุ่งหญ้าสำหรับเนื้อทราย    ดังโบสถ์สำหรับพระคริสต์
ดังวิหารสำหรับรูปเคารพ        ดังกะบะห์สำหรับผู้แสวงบุญ
ดังแผ่นจารึกของเตารอต       และ ดังคู่มือของกุรอาน
 
ฉันดำเนินบนศาสนาแห่งความรัก
ไม่ว่าวิถีของอูฐแห่งรักเป็นเช่นใด
นั่นแหละ ศาสนาและศรัทธาของฉัน

ออฟไลน์ sehar

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 2
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พ.ย. 27, 2007, 08:26 PM »
0
ผมชอบ มุมมองของazriนะคับ
            ขอถามนิดนึงนะคับเง่ายๆเลยคับ
                        @ คุณละหมาด 5 เวลาทุกวันคุณจะตัดดุลยาออกไปขณะละหมาดคุณทำได้ไหมคับ ถ้าไม่มีคนแนะแนวทาง ผมก็ไม่เถียงนะคับถ้ามีคนทำได้ จิงหรือ  เช่น ขณะคุณละหมาดคุณอาจจะคิดโน้นคิดนี้ ผ้าตากไว้ที่ราวยังไม่ได้เก็บฝนตกเดี๋ยวเปียก อุ้ยต้มน้ำปิดเตาแกสหรือยังเนีย หรืออีกมากหมายแล้วแต่คนจะคิด
                           แล้วคุณจะทำไงให้ใจนิ่งและให้จิตบริสุทธิ์จริงๆๆ
                        @ การเรียนให้รู้จักตัวเอง คือ ฟัรดูอีน แก่ทุกคน แล้วคุณล่ะรู้จักตัวเองหรือยัง ?ทุกคนคงทราบกันนะคับว่าอัลลอฮ'เป็นผู้สร้างร่างกายของเรา แล้วคุณล่ะทำร่างกาย  ให้สมกับเป็นของพระองฮ์ หรือป่าวล่ะคับ
                        @ ผมเคยอ่านบทความ เขาเขียนว่าวิชา ซูฟี คือวิชาทีเรียนรู้จักตัวเอง ถึงจะรู้จักอัลเลาะฮ์   แต่ถ้าหากไม่รู้จักตัวเองก็จะไม่รู้จักอัลเลาะฮ์ นั้นเอง
                           wink:ทำร่างกายให้บริสุทธิ์นั้นง่ายมาก แต่จะทำให้จิตสงบและบริสุทธิ์นั้นยากยิ่งหนัก
                         

ออฟไลน์ ItQan

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 177
  • Reflection
  • Respect: +50
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พ.ย. 28, 2007, 09:19 AM »
0
 salam

นักนิติศาสตร์ เชี่ยวชาญเรื่องชารีอัต กฎหมายต่างๆ
นักอุศูลียีน เชี่ยวชาญเรื่องหลักศรัทธา อิลมุลกาลาม
และซูฟี เชี่ยวชาญเรื่องของจิตใจ (นัฟซู)

แต่ทั้งสามอย่างนี้ก็ต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน การขาดอย่างหนึ่งอย่างใด ย่อมไม่ใช่สายกลาง แต่ก็ไม่ได้ห้ามใครคนคนหนึ่งคนใดมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านนั้นๆ

เชคอับดุลกอดิร อัลญีลานี ได้กล่าวไว้ในงานเขียนของท่านว่า "จงบินไปสู่อัลลอฮฺด้วยปีกแห่งอัลกุรอานและอัลซุนนะฮฺ"

อัลกุรอานและซุนนะฮฺนั้นเป็นแหล่งข้อมูลอันยิ่งใหญ่ของทุกคน ทั้งนักนิติศาสตร์ นักอุศูลียยีน และซูฟี เพียงแต่การเข้าถึงของแต่กลุ่มต่างกัน

ดังนั้น เรามั่นใจว่า ทางสายกลาง ก็คือ ทางแห่งกิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮฺอย่างแท้จริง

أللهم اخرجنا من ظلمات الوهم وأكرمنا بنور الفهم ... آمين يارب العالمين
โอ้อัลเลาะฮ์ ขอพระองค์ทรงให้เราออกห่างจากความมืดมนแห่งความคิดคลุมเครือ  และให้เกียรติเราได้วยรัศมีแห่งความเข้าใจ... อามีน ยาร็อบ

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พ.ย. 28, 2007, 03:45 PM »
0
ดังนั้น เรามั่นใจว่า ทางสายกลาง ก็คือ ทางแห่งกิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮฺอย่างแท้จริง

เป็นถ้อยคำที่สมควรเขียนมันด้วยน้ำหมึกทอง^^
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ sehar

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 2
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พ.ย. 28, 2007, 03:47 PM »
0
 salam ผมมีบทความมาให้อ่านน่าสนใจดี น่าจะเป็นแนวทาง ของคน ซูฟี
                 คำว่า "ตอรีกัต" เป็นคำพูดศัพท์เฉพาะของกลุ่มชนมุสลิมในประเทศไทยเราที่มักนิยมใช้พูดกัน ในด้านความเป็นจริงแล้ว ถ้าจะออกเสียงในตามหลักภาษาอาหรับในคำนี้ ต้องออกเสียงว่า "ตอรีกอฮฺ" ซึ่งแปลว่า "แนวทาง"
  
   แต่อิสลามในประเทศไทยเรานั้น มิค่อยพิถีพิถันในเรื่องของการใช้ศัพท์ หรือหลักไวยากรณ์เท่าใดนัก เรียกกันไปตามค่านิยมเสียมากกว่าลักษณะดังกล่าวคำว่า "ตอรีกอฮฺ" จึงมีการเรียกเพี้ยนกันออกไปในหลายรูปแบบ หรือหลายสำเนียง เช่น เรียกเป็น ตอรีกัตบ้าง ตอเรกบ้าง เป็นต้น
   แต่ไม่ว่ากลุ่มใด จะใช้สำเนียงเรียกอย่างใดก็ตาม ในความหมายของแต่ละผู้เรียกนั้นมิได้เปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งมีความหมายที่ตรงกันหมด นั่นหมายถึงแนวทาง หรือหนทาง ถ้าเราจะเรียกแนวทางเฉยๆ ก็จะดูกว้างเกินไปทำให้เกิดการสับสนได้ หนังสือเล่มนี้จึงใช้ชื่อเต็มๆว่า "ตอรีกอตุ้ลลอฮฺ" แนวทางไปสู่อัลเลาะห์ หรือแนวทางแห่งอั้ลอิสลาม
   สำหรับคำว่า "ตอรีกัต" บางท่านเข้าใจไขว้เขว หรือมีความสับสนอยู่บ้างในคำ คำนี้อาจมีบางท่านที่ยังไม่เคยผ่านหูเลยก็มี จึงขอเรียนชี้แจงว่า คำว่า "ตอรีกัต" นั้น เป็นพื้นฐานแนวทางการปฏิบัติของมุสลิมทุกคน เช่นการเป็นอิสลามของเราต้องมีพื้นฐานออกเป็น 4 ลักษณะ เช่น
# อิหม่าน
# อิสลาม
# เตาฮีด
# มะอฺรีฟัต
  
   นี่เป็นพื้นฐานแห่งการเป็นอิสลาม มุสลิมทุกคนเมื่อเขาได้ชื่อว่าเป็นอิสลามแล้ว เขาจะต้องเข้าใจพื้นฐานทั้ง 4 อย่างนี้ด้วยกันทุกคน เพียงแต่บางท่านอาจจะยังไม่เข้าใจถึงการเรียบเรียงพื้นฐานทั้ง 4 ประการนี้เท่านั้น
   คำว่า "ตอรีกัต" ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเราเข้าใจในพื้นฐานของการเป็นอิสลามแล้ว ต่อไปจะต้องมีความเข้าใจถึงความรู้ในหลักการปฏิบัติ ซึ่งได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะเช่นเดียวกัน พอสรุปย่อให้เข้าใจเบื้องต้นก่อนคือ

# ชารีอัต
# ตอรีกัต
# ฮะกีกัต
# มะอฺรีฟัต
   คำว่า "ชารีอัต"  หมายถึง หลักการปฏิบัติตามฮุ่ก่มซาเราะอฺ โดยการทำตามห้ามตามใช้ของท่านศาสดา(ซ.ล.) ใช้อย่างอย่างไร ห้ามอย่างไร นั่นแหละเรียกว่า หลักชารีอัต
   คำว่า "ตอรีกัต"  หมายถึง แนวทางที่เราจะกลับไปสู่พระองค์ ก็เอาหลักการปฏิบัติตามห้ามตามใช้นั่นแหละ เป็นแนวทางเรียกว่า หลักตอรีกัต แต่เนื่องด้วยนักวิชาการเห็นว่า มันเป็นลักษณะเดียวกับหลักชารีอัต จึงมิค่อยได้เอ่ยถึงคำว่า ตอรีกัต จึงมักจะถูกละเลยโดยมิได้พูดถึง
   คำว่า "ฮะกีกัต"  หมายถึงคำว่า "ฮัก" แปลว่า ของแท้ หรือของจริงที่ ออกมาจากภายในที่เราเรียกว่า วิชาภายใน แล้วแสดงออกมา ให้เห็นเป็นวิชาภายนอก ที่เรียกว่าหลักชารีอัต
   คำว่า "มะอฺรีฟัต"  หมายถึง ตัวรู้จักที่แท้จริง
   เมื่อผู้ปฏิบัติ มีความเข้าใจในคำว่า "ชารีอัต" "ตอรีกัต" "ฮะกีกัต" แล้ว ก็จะออกมาเป็นตัวมะอฺรีฟัต หมายถึงการรู้จักพระเจ้าอย่างแท้จริง สิ่งที่กำลังจะเน้นในขณะนี้คือคำว่า "ตอรีกัต" เพราะคำว่า "ตอรีกัต" ในข้อเขียนที่เป็นภาษาอาหรับนั้น มีความหมายเกินกว่าคำที่ได้กล่าวผ่านมาแล้ว ความหมายเต็มๆ มีดังนี้

  "ตอรีกัต"
  ในคำว่า "ตอรีกัต" นั้น มีความหมายใดบ้าง จะได้ถอดออกมาดังนี้
อักษร "ตอ" มีความหมายว่า "เราต้องตออัตภักดีต่ออัลเลาะห์ ตออัตภักดีต่อร่อซู้ล"
อักษร "รอ" มีความหมายว่า "รีฎอ" ( แปลว่า ยินยอม) หมายถึงเรายอมให้แก่อัลเลาะห์ทุกอย่าง ไม่ว่าเราจะประสพการทุกข์ยากประการใดในชีวิต
อักษร "ยา" มาจากคำว่า "ยะเก่น" ( แปลว่า เชื่อมั่นในอัลเลาะห์องค์เดียว )
อักษร "ก๊อฟ" มาจากคำว่า "กอน่าอะฮ์" (แปลว่า พอใจในสิ่งที่มีอยู่ )
อักษร "ตา" มาจากคำว่า "ตั๊กวา" ( แปลว่า เกรงกลัว ) หมายถึงเกรงกลัวอัลเลาะห์

   จากความหมาย 5 อักษรนี้จะเป็นตัวชี้บ่งถึงความเป็น อัลอิสลามในตัวมนุษย์ว่า การที่เราได้ชื่อว่าเป็นผู้เดินทางกลับไปสู่อัลเลาะห์นั้น เรามีความพร้อมมากน้อยเพียงใด ภายใต้จิตสำนึกของเรานั้นมีคุณลักษณะครบ 5 ประการนี้หรือยัง เช่น ตออัต ยินยอม เชื่อมั่น เพียงพอ เกรงกลัว
   ใน 5 ความหมายนี้ชี้ให้เห็นว่า มุสลิมคนใดที่สามารถปฏิบัติตัวได้ตามหลัก 5 ประการนี้ นั่นแสดงให้เห็นว่า เขาผู้นั้นแหละเป็นผู้อยู่ในแนวทางตอรีกัตอย่างแท้จริง เขาจะประสพความสำเร็จทั้งโลกนี้และโลกหน้า และใน 5 อักษรนี้ มิใช่จะมีเฉพาะ 5 ความหมายนี้เท่านั้น แม้หากไปรวมกับคำอื่นก็จะมีความหมายต่างกันออกไป แต่ในที่นี้ได้ให้ความหมายเฉพาะคำว่า "ตอรีกัต" เท่านั้น เพราะผู้เดินทางสู่อัลเลาะห์ต้องยึดมั่นใน 5 ความหมายนี้ ถ้าหากยังไม่ยึดมั่นใน 5 ความหมายนี้ ก็ยังไม่ถือว่า เขาเป็นชาวตอรีกัต



ตอรีกัตมี 2 ความหมาย

      ในคำว่า "ตอรีกัต" นั้นได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ความหมาย คำว่า "ตอรีกัต" ในความหมายแรกนั้นหมายความว่าเป็นตอรีกัตของบุคคลทั่วไป เป็นแนวทางที่เป็นไปตามหลักชารีอัต จึงถูกเรียกว่า ตอรีกัตในทางชารีอัต และเขาก็ได้ยึกหลักการปฏิบัตินั่นแหละเป็นแนวทาง เหตุที่คำว่า "ตอรีกัต" ถูกแบ่งออกเป็น 2 ความหมาย ก็เพราะว่าจากตัวบทแห่งอายะฮฺกุรอาน ในซูเราะห์ ที่ 5 อายะฮฺที่ 38 ได้กล่าวว่า

"โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงเกรงกลัวอัลเลาะห์ และจงแสวงหาสื่อไปสู่อัลเลาะห์"    

     การถูกแบ่งออกเป็น 2 ความหมายก็ตรงคำว่า "สื่อ" นั่นแหละ ความหมายที่ 1 คือกลุ่มชนชารีอัตทั่วไปยึดเอาการปฏิบัติอามั้ล อิบาดัตเป็นสื่อเข้าหาอัลเลาะห์
     ความหมายที่ 2 ชนอีกกลุ่มหนึ่งยึดอามั้ลอิบาดัตเป็นหลักเหมือนกัน แต่ต้องมีครูเป็นสื่อกลางเพื่อชี้แนะ แต่การยึดครูเป็น สื่อเพื่อชี้แนะนำทางไปสู่อัลเลาะห์อย่างเหนียวแน่นนั้น ชนกลุ่มนี้เลยถูกเรียกว่า "คนตอเรก" หรือ คนตอรีกัต" แล้วแต่จะเรียกกัน แต่การยึดครูเป็นสื่อเข้าหาอัลเลาะห์ในลักษณะนี้ กลับกลายเป็นเป้าโจมตีของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย โดยอ้างว่ายึดครูไม่ได้บ้าง เป็นชีริกบ้าง บางกลุ่มก็ว่า ทำไมจะต้องมีครูเป็นสื่อด้วย
     ถ้าจะขยายความเรื่อง สื่อ นั้นคงจะต้องใช้คำอธิบายกันอีกมาก แต่ขณะนี้กำลังจะเน้นว่า ทำไมจะต้องยึดเอาครูเป็นสื่อด้วยสาเหตุที่ "คนตอรีกัต" ยึดเอาครูเป็นสื่อนั้น เพราะมีตัวบทจากอัลฮาดิษที่ชี้ให้เห็นว่าครูนั้นแหละสามารถจะช่วยลูกศิษย์ได้ในวันกิยามะห์ ฮาดิษนั้นมีข้อความว่า

"ในวันปรภพ 3 คนต่อไปนี้จะช่วยสงเคราะห์ผู้อื่นได้ 1)บรรดานบี 2)บรรดานักปราชญ์ 3)ผู้ตายซะฮีด"
(รายงานโดยอิบนุมายะห์ จากอุสมาน บินอัฟฟาน)

    นี่เป็นเหตุผลส่วนหนึ่งจากหลายส่วน ที่กลุ่มชนชาวตอรีกัตเลือกยึดแนวทางของครูเป็นสื่อนำ จะว่าไปแล้วเรื่องของการยึดครูนี้ต่างก็ยึดด้วยกันทั้งนั้น แต่จะรู้ตัวเองหรือเปล่าเท่านั้นเอง เพราะมีบางคนยึดครูเป็นหลักโดยไม่รู้ตัวเอง ก็มีให้เห็นอยู่มากมาย ตัวอย่างเช่น พอมีปัญหาเรื่องศาสนาเกิดขึ้น หรือปัญหาของคนตอรีกัตว่า ทำไมคนตอรีกัตเขาจึงนับถือ ยกย่องครูของเขาเหลือเกิน ก็นำปัญหานี้ไปถามกับโต๊ะครูต่างๆ ว่าเป็นเช่นไร บังเอิญปัญหานี้ไปเจอกับฝ่ายที่เขาไม่เห็นด้วย ก็เลยบอกว่าไม่ได้นะ ผิดนะ คนพวกนี้ใช้ไม่ได้ กำลังจะทำชีริก เมื่อคำตอบออกมาเป็นเช่นนี้ บุคคลที่ไม่ถามก็ยึดเอาคำตอบของโต๊ะครูผู้นั้นเป็นข้อชี้ขาดว่าผิดใช้ไม่ได้
    ตรงนี้แหละที่บอกว่าไม่ยึกครู แต่เวลานี้เขาได้ยึดเอาคำพูดของครูมาเป็นข้อตัดสินชี้ขาด ทั้งๆที่ตัวเองเข้าใจว่ายึดครูนั้นไม่ได้ แต่ก็เอาคำพูดของครูนั้นมาตัดสิน นั่นแสดงให้เห็นว่าเขาได้ยึดแนวทางของครูเข้าให้แล้วโดยที่เขาก็ไม่รู้ตัวเอง แล้วก็บอกว่ายึดครูนั้นไม่ได้
    สำหรับกลุ่มชนตอรีกัตก็กล่าวว่า มนุษย์ทุกคนต้องมีครูด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีมนุษย์คนใดหรอกที่สามารถมีความรู้โดยไม่มีครูชี้แนะ เมื่อมีครูเป็นผู้ชี้แนะเรา ก็ยึดเอาแนวทางของครูนั่นแหละมาดำเนินชีวิต
    แม้ท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ.ล.) อัลเลาะห์ยังใช้ให้ท่านญิบรอเอลมาคอยเป็นครูผู้ชี้แนะ และเพื่อให้เป็นแบบอย่างกับมนุษย์โลก แล้วก็เป็นแบบอย่างกันเรื่อยมา จนอุลามาอฺท่านมีคำกล่าวว่า

"ผู้ใดไม่มีครู ผู้นั้นเอาชัยตอนทำครู"  
    แต่การยึดแนวทางของครูในกลุ่มชนตอรีกัตนั้น มิได้หมายความว่ายึดแนวทางของครูแบบทั่วไป เช่น ครูหรืออาจารย์ที่จบมาจากไคโรบ้างมะดีนะห์บ้าง หรือครูที่จบมาจากต่างประเทศที่ใดที่หนึ่งในเรื่องของศาสนา แต่คนตอรีกัตก็มิได้ปฏิเสธว่า บุคคลดังกล่าวนั้นใช้ไม่ได้ ท่านเหล่านั้นต่างก็เป็นคนดีมีความรู้ด้วยกันทั้งสิ้น และให้ความเคารพยกย่องท่านเหล่านั้นเสมอ
    แต่เท่าที่คนตอรีกัตพิจรณานั้นได้พิจรณาไปถึงเรื่องวิชาการสอน การศึกษาของนักวิชาการต่างๆ ที่บรรดาคณาจารย์หลายท่านได้ใช้เวลา การศึกษาจนจบต่างประเทศ จนได้รับปริญญามาในระดับต่างๆกัน
    ถ้าเราจะพิจรณากันไปแล้ว ส่วนใหญ่ท่านมักจะมีความเชี่ยวชาญไปในด้านวิชาฟิกกอฮฺเสียมากกว่า เพราะวิชาฟิกกอฮฺนั้นหมายถึง นิติศาสตร์อิสลาม ว่ากันด้วยเรื่องกฏหมายอิสลาม ข้อชี้ขาด ข้อตัดสินว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก เมื่อได้สำเร็จกันออกมาแล้ว ก็จะนำพาไปสู่การมีชื่อเสียง เกียรติยศ คนในสังคมจะต้องยอมรับเขาว่า เป็นบุคคลที่มีความรู้
   แต่จุดมุ่งหมายของกลุ่มชนตอรีกัต มิใช่จะผูกมัดอยู่กับหลักวิชาฟิกกอฮฺเพียงอย่างเดียว เพราะหลักวิชาฟิกกอฮฺนั้นเป็นหลักการปฏิบัติ ซึ่งมีกฎระเบียบอยู่ เมื่อทำได้ตามกฎระเบียบของหลักวิชาก็ถือว่า เพียงพอแล้ว อีกประเด็นหนึ่งคนตอรีกัตถือว่า จุดนี้เป็นหลักวิชาภายนอก สิ่งที่เขาต้องการอีกอย่างหนึ่งนั่นคือวิชาภายใน วิชาภายในที่เราเรียกว่า "ฮะกีกัต" และหลักวิชานี้จะศึกษาได้ก็อยู่ในหมวดหมู่ของหลักวิชา "ตะเซาวุฟ" หรือ "เอี๊ยะซาน" บางท่านเรียกวิชานี้ว่า "อั๊คล๊าก"
   เอาเป็นว่าท่านถนัดเรียกชื่อใดไม่สำคัญ เพียงแต่ให้เข้าใจว่าชื่อที่ได้กล่าวมานี้ เขาเรียกว่าวิชาภายใน ก็แล้วกัน และเป็นที่รู้กันอยู่ว่า การที่เราจะศึกษาวิชาฮะกีกัต หรือวิชาภายใน นั้น หาผู้เชี่ยวชาญนั้นยากมากเพราะถ้าจะอาศัยนักวิชาการส่วนใหญ่ เขาก็มักจะเชี่ยวชาญไปในด้านวิชาฟิกกอฮฺ เสียมากกว่า จึงทำให้กลุ่มชนตอรีกัตหันมาศึกษาต่อด้วย วิชาภายใน เพื่อให้ครบสมบูรณ์นั่นเอง ประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่งของกลุ่มชนตอรีกัต นั่นก็คือคำว่า "มุบายิอะห์" หรือ การรับสายตอรีกัตนั่นเอง

มุบายิอะห์ หรือการรับสายตอรีกัต

    คำว่า "มุบายิอะห์" คืออะไร คำว่า "มุบายิอะห์" มีความหมายลึกซึ้งมาก และมีรายละเอียดพอควร และขณะนี้ยังไม่เป็นการเหมาะสมที่จะกล่าวถึง แต่ก็จำเป็นต้องให้ความหมายไปตามหลักภาษาก่อน คำว่า "มุบายิอะห์" คือการมีการให้สัตยาบันระหว่างศิษย์กับครู โดยเอาหลักฐาน มาจากอัลกุรอาน ในซูเราะห์ที่ 48 อายะห์ที่ 10 พระองค์ทรงกล่าวว่า

"แท้จริงบรรดาผู้ร่วมทำสัญญา(ร่วมรบ)กับเจ้านั้น อันที่จริงเขาได้ทำสัญญากับอัลเลาะห์โดยตรง อำนาจแห่งอัลเลาะห์ย่อมอยู่เหนือมือของพวกเขาดังนั้นผู้ใดที่ละเลยสัญญา ที่จริงเท่ากับเขาละเลยแก่ตัวเขาเอง และผู้ใดทำตามสัญญาอย่างครบสมบูรณ์ ตามที่อัลเลาะห์ได้ทรงให้สัญญาไว้ แน่นอนที่สุด พระองค์ทรงประทานรางวัลอันยิ่งใหญ่แก่เขา"

   จากตัวบทแห่งอายะห์กุรอานที่ได้กล่าวไว้ ตอรีกัตทุกสายได้นำมาเป็นหลักฐานในการออกมุบายิอะห์ให้กับลูกศิษย์ เพื่อเป็นการทำสัญญากันในการเป็นศิษย์กับครู ฝ่ายลูกศิษย์ก็ให้สัญญาว่า จะยึดเอาครูเป็นผู้ชี้แนะในการรู้จักอัลเลาะห์ และทำตัวให้ได้ไกล้ชิดต่ออัลเลาะห์ เมื่อได้สัญญากันแล้ว ลูกศิษย์ก็จะยึดเอาครูนั้นเป็นสื่อกลางในการชี้แนะในการเข้าหาอัลเลาะห์ ดังอายะห์กุรอานที่กล่าวผ่านมาแล้ว ที่มีความหมายว่า

"โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงเกรงกลัวอัลเลาะห์ และจงแสวงหาสื่อไปสู่อัลเลาะห์"
    การทำสัญญากับครู การให้สัตยาบันกับครู บางท่านอาจเข้าใจ ว่าแค่การเป็นครูกับลูกศิษย์นั้น จำเป็นจะต้องถึงกลับให้สัตยาบัน กันด้วย หรือ  มันมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน ในกลุ่มชนตอรีกัต เขาถือว่าต้องมีความสำคัญ ถ้าไม่สำคัญอัลเลาะห์จะไม่นำมากล่าวไว้ในอัลกุรอาน
    สิ่งที่สำคัญพอที่จะนำมาเปิดเผยกันได้ในที่นี่ นั่นก็คือ สัญญากันว่า จะเป็นศิษย์กับครูกันตลอดไป ทั้งดุนยาและอาคีเราะห์ มิใช่จะเป็นศิษย์กับครูกันเฉพาะดุนยา ความสำคัญมีอยู่ตรงนี้ อีกอย่างหนึ่งตัวบทจากอัลฮาดิษก็ได้กล่าวผ่านมาแล้วว่า ในวันอาคีเราะห์นั้น อุลลามาอฺเท่านั้นสามารถช่วยลูกศิษย์ได้ ดังนั้นจึงต้องสัญญากันให้เป็นครูผู้นำในวันอาคีเราะหืด้วย มิใช่เอาเฉพาะดุนยา
    ดังนั้น เมื่อได้สัญญาเป็นศิษย์กับครูกันแล้ว ลูกศิษย์ก็จะต้องเชื่อฟังในการชี้แนะของครู โดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ครูก็จะเป็นผู้ชี้แนะในหลักการอิบาดัตต่างๆ ว่า ทำอย่างไรจึงจะได้ไกล้ชิดอัลเลาะห์อย่างรวดเร็ว หรือทำให้เข้าถึงอัลเลาะห์ได้ ซึ่งเป็นเรื่อง่ายๆ ให้กับบรรดาลูกศิษย์ ลูกศิษย์จะต้องเชื่อฟังครู เพราะสัญญากันแล้ว แม้หากลูกศิษย์ผู้หนึ่งผู้ใดโต้แย้งหรือคัดค้าน อาจจะต้องขาดในการเป็นศิษย์กับครูได้
    เว้นแต่ลูกศิษย์จะขอคำปรึกษาจากครูในข้อสงสัยต่างๆ เช่น ลูกศิษย์จะมีคำปรึกษาว่า "ครูครับ เรื่องอย่างนี้ หรืองานอย่างนี้อย่างนั้นมันขัดกับหลักการไหม"
    ตรงนี้แหละครูก็จะเป็นผู้อธิบายให้ฟังว่า ที่ผิดนั้นอย่างไร ที่ถูกนั้นอย่างไรเพื่อให้ลูกศิษย์เกดิความยะเก่น มั่นใจโดยไม่มีการคลุมเครือ
                                                                                                                            waalaikumussalam

ออฟไลน์ คนเดินดิน

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1620
  • ขอให้ได้รับความโปรดปรานจากพระผู้ทรงเมตตาด้วยเถิด
  • Respect: +17
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: พ.ย. 28, 2007, 03:53 PM »
0
 :jazakallah

แต่คุ้น ๆ เหมือนเคยได้อ่านในหนังสือ  ตอรีกอตุ้ลลอฮ์ 1เลยค่ะ

ที่มาจากแหล่งเดียวกันรึเปล่าค่ะ
เพราะรู้ดีว่าเป็นเพียงหนึ่งคนที่อ่อนแอ  จึงทำให้คำนึงถึงคุณค่าของหนึ่งชีวิต  โปรดชี้แนะแนวทางที่เที่ยงตรงด้วยเถิด  ยาร็อบบี  سَلَّمْنَا مُسْلِمِيْنَ وَمُسْلِمَاتٍ فِي الدُّنْيَا وَ الأخِرَةِ

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: พ.ย. 30, 2007, 01:14 AM »
0
อัสสลามุ อลัยกุม

          ขอเสนอเรื่องซูฟียฺด้วยคนนะครับ พอดีมีหนังสือเกี่ยวกับเรื่องอยู่เหมือนกัน ซึ่งเป็นงานวิจัยอะครับ ลองอ่านกันดูนะ ผิดถูกยังงัย เชิญวิพากษ์วิจารณ์ได้ครับ

----------------------------------------------------------------------------------------------

หลักการและทฤษฎีของซูฟียฺ

              หลังศตวรรษที่ 3 แห่งฮิจเราะฮฺศักราช  (ศตวรรษที่ 9 แห่งคริสต์ศักราช) สำนักคิดซูฟียฺได้แตกออกเป็นสาขาต่างๆ มากมาย  มีระบบคำสอน และทฤษฎีที่แตกต่างกันไป  ซึ่งไม่สามารถแยกแยะลงไปได้ว่า สำนักคิดใดมีแนวทางที่ถูกต้องที่สุด  แต่อย่างไรก็ตาม เราสามารถนำหลักการสำคัญๆ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมารวมกล่าวไว้ดังต่อไปนี้  เช่น

               หลักการเรื่องพระผู้เป็นเจ้า

               แนวคิดของนักปรัชญาซูฟียฺในเรื่องพระผู้เป็นเจ้า จะมีความแตกต่างจากฝ่ายจารีตนิยมซูฟียฺ (หมายถึง ซูฟียฺที่ปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลามอย่างถูกต้อง) เช่นคำปฏิญาณตนในส่วนแรกที่ว่า "ลา อิลาฮะ อิ้ลลัลลอฮฺ" ฝ่ายจารีตนิยม จะให้ความหมายว่า "ไม่มีสิ่งใดคู่ควรจะถวายราชสักการะ นอกจากอัลลอฮฺ" แต่นักปรัชญาซูฟียฺจะให้ความหมายว่า "ไม่มีสิ่งใดอยู่ นอกจากอัลลอฮฺ" (อิมรอน มะลูลีม,2534:164)  ดังนั้นซูฟียฺจึงถือว่าพระผู้เป็นเจ้าเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ (Ultimate Reality) เพียงสิ่งเดียวเท่านั้น  สิ่งอื่นเป็นเพียงมายา หรือสิ่งหลอกลวง  ชาวซูฟียฺจึงถือว่าจุดหมายของชีวิต คือ  การกลับเข้าไปรวมอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า  พวกเขาจึงตั้งทฤษฎี "ฟะนาอฺ" ขึ้นมา

------------------------------------------------------------------------------

อ้างอิงจาก : สามารถ  มีสุวรรณ. ม.ป.ป. ปรัชญาซูฟียฺของ ฆ่อซาลียฺ (ศึกษาวิเคราะห์หนังสือ "บิดายะฮฺ อัลฮิดายะฮฺ, หน้า 19). กรุงเทพฯ : อิสลามิค อะเคเดมี.

ออฟไลน์ jihad

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 17
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ก.พ. 21, 2008, 12:37 AM »
0

 salamผมกำลังสใจศึกษาแนวทางนี้ขออนุติขุดกระทู้นะครับ

                                                                             
                                     
                                   
                                 และคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เขาทำมันผิด ถ้าเขาเข้าสู่สภาวะที่อัลลอฮให้เขาอยู่เหนือกฎเกณฑ์ของมนุษย์ล่ะ

                                 ดูภายนอกมันอาจจะผิดสำหรับคุณแต่ถูกสำหรับเขา เพราะเลเวลต่างกันคุณจึงไม่สามารถทำแบบเขาได้
                         (ถ้าคุณสามารถใช้ก้อนหินซื้อของแทนเงินได้คุณก็อาจจะทำแบบเขาได้ เพราะ เงินกะก้อนหินในมุมมองของเขามันก็มีค่าเท่ากันไม่ต่างกัน)
                         (ถ้าคุณสามารถละหมาด2ร่อกะอัตเพื่อให้ทรายที่อยู่ตรงหน้าเป็นทองได้ เพื่อใช้จ่าย เท่าที่จำเป็นก็โอเคนะ)
                                    แต่ถ้าทำไม่ได้เพราะคุณยังไม่เข้าสู่สภาวะที่อัลลอฮทรงประสงค์ให้อยู่เหนือกฎเกณฑ์ก็อย่าไปตำหนิในการกระทำของพวกเขาโดยที่คุณไม่มีวันเข้าใจ
                            (บรรดาวาลียุลลอฮนั้นด้วยการอนุมัติของอัลลอฮทำให้ธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ยินยอมที่จะให้พวกเขาใช้งาน)                                             
                                       มีบ่อยๆครั้งที่คนธรรมดาไม่อาจเข้าใจถึงสิ่งที่เขาทำ แนวความคิดของเขา
                                        ตัวอย่างง่ายๆก็คือนบีมูซากับนบีคิรเดรในกุรอานไง
                                          ขนาดนบีมูซา ยังไม่เข้าใจในการกระทำของนบีคิรเดรเลย
                                      แล้วเราผู้โง่เขลามีหรือจะเข้าใจในบรรดานักซูฟีที่ลึกซึ้ง

                                     
เรื่องดังกล่าวจริงๆแล้วผม็ไม่ทราบเหมือนกันแต่...
ลองมองกลับไปถึงยุคบรรณพชนที่ดีเลิศที่สุด
ว่าเขามีเรื่องอย่างนี้ไหม (หรือว่ามีแต่ผมไม่ทราบก็ช่วยกรุณาบอกด้วย)

ใช่เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺอาจจะให้เขาได้
แต่ว่าขนาดศอหาบะฮฺยังไม่มีเรื่องเหล่านี้เลย
ผมจึงยัง "ไม่แน่ใจ"ว่าเรื่องวลียุลอฮฺเป็นเรื่องที่เชื่อถือและมีความถูกต้องหรือไม่
วอนผู้รู้ช่วยไขให้กระจ่างด้วยครับ

และอีกคำหนึ่งที่มีคนบอกว่า "วลียุชชัยฏอน"ล่ะ
จะมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารยิ์เหมือนกับวลียุลลลอฮฺหรือเปล่า

เป็นเรื่องที่ต้องระวังให้ดี

วัสลาม

ออฟไลน์ คะลัคคะลุย

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 670
  • เรื่อยไป
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ก.พ. 21, 2008, 06:20 PM »
0
ชาวซูฟียฺจึงถือว่าจุดหมายของชีวิต คือ  การกลับเข้าไปรวมอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า  พวกเขาจึงตั้งทฤษฎี "ฟะนาอฺ" ขึ้นมา

------------------------------------------------------------------------------

อ้างอิงจาก : สามารถ  มีสุวรรณ. ม.ป.ป. ปรัชญาซูฟียฺของ ฆ่อซาลียฺ (ศึกษาวิเคราะห์หนังสือ "บิดายะฮฺ อัลฮิดายะฮฺ, หน้า 19). กรุงเทพฯ : อิสลามิค อะเคเดมี.

หนังสือปรัชญาของ ฆ่อซาลีย์ นี้  แปลตะเซาวุฟแบบทะแม่งๆ เหมือนกับว่าไม่สันทัดตะเซาวุฟในรูปแบบลึกซึ้ง
اللهم صل علي سيدنا محمد وعلي آل محمد وصحبه وسلم

ออฟไลน์ sa27

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 35
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: ก.พ. 26, 2008, 11:23 AM »
0
 salam

ดังนั้น เรามั่นใจว่า ทางสายกลาง ก็คือ ทางแห่งกิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮฺอย่างแท้จริง


เป็นถ้อยคำที่สมควรเขียนมันด้วยน้ำหมึกทอง^^


ทางสายกลาง ในอิสลามมีด้วยหรือครับ  ผมเห็นมีแต่ ดุนยา และ อาคีร์  ถ้ามีทางสายกลาง นั้นแสดงว่า คูณกำลังอยู่ระหว่าง ดุนยา กับ อาคีร์  ในส่วนตัว ผมกำลังทำดุนยา (ตามสิ่งที่ผมรู้และนำมากระทำ และต้องส่งผลถึงอาคีร์ด้วย ) โดยมีอาคีร์ มากำกับ ( คือผลตอบแทนในสิ่งที่เรากำลังจะทำ) ดังนั้น ในความคิด ในการลงมือกำทำ ของเรา จึงมีความหวังและมีที่มาที่ไป จะไม่มีคำว่า จะถูก  จะผิด  จะดี  จะไม่ดี  มีแต่คำว่า ถูก ผิด ดี ไม่ดี 

 แต่ในทางสายกลางนั้น ผมไม่แน่ใจ ในความเข้าใจของผู้เสนอ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.พ. 26, 2008, 11:31 AM โดย sa27 »
จากผู้ที่ต้องการรู้จักตัวรู้ที่รู้จักตัวรู้

 

GoogleTagged