อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะมาตุลลอฮฺ วะบารอกาตุ
ขอขุดนะคะ...
และเสริมด้วย

คำว่า الله นั้น คือชื่่อของซาตที่วายิบต้องมีและสมควรสำหรับทุกๆการสรรเสริญ คำว่า الله เดิมๆแล้วคือ اله (อีล่าฮุน) ตกอยู่บนวาซาน فعال (ฟีอฺ่าลุน) และคำว่า اله (อีล่าฮุน) เป็น اسم جنس สำหรับทุกๆสิ่งที่ถูกกราบไหว้ ถึงแม้ว่าจะเป็นพระเจ้าที่แท้จิงหรือไม่ก็ตาม และชาวอาหรับ(อุลามาอฺซอรอฟ)ก็ได้ทำการถอดอักษรฮัมซัฮ (الهمزة) ออก เพื่อที่จะให้คำดังกล่าวนั้นเบาขึน (ง่ายต่อการออกเสียง กล่าวคือ เวลาเติมอาลิฟลามลงไปจะได้ไม่ต้องอ่านว่า الاله (อัลอิล่าฮุ)แต่สามารถอ่านได้เลยว่า الله (อัลลอฮุ) ดังนั้นจึงกลายเป็น له (ล่าฮุน) จากนั้นอาลิฟลามก็ถูกเติมลงไปบนคำว่า له (ล่าฮุน) เพื่อที่จะทำให้เป็นอีเซ่มมะอฺรีฟะห์ จึงกลายเป็น الله (อัลลอฮุ) แต่อุลามาอฺซอรอฟบางท่านกล่าวว่า คำว่า الله เดิมทีแล้วคือคำว่า الاله (อัลอิล่าฮุ) จากนั้นฮัมซะห์ที่สองก็ถูกถอดออกไป เพื่อที่จะให้คำดังกล่าวนั้นเบาขึน จากนั้นลามตัวแรกก็ถูกผนวก(รวม)มาอยู่ในลามตัวที่สอง จึงกลายมาเป็น الله (อัลลอฮุ) และคำว่า الله ก็ได้ถูกใช้สำหรับพระเจ้าที่ถูกเคารพบูชาอย่างแท้จริง (المعبود بحق) เพราะคำว่า الله คืออีเซ่มที่มีความมะอฺรีฟะห์(คำนามที่ถูกเจาะจง)มากที่สุด (اعرف المعارف) วัลลอฮุอะอฺลัม
رب (ร็อบบุน) ในภาษาอาหรับแปลว่าผู้ดูแล, ผู้ปกป้อง
الله มาจากกริยา สามอักษร اله (อะลิฮะ) แปลว่ารัก
الله จึงมีความหมายว่า "ผู้ถูกรัก"
การทำอิบาดะฮฺ หรือการเคารพภักดีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ได้เกิดมาโดยไม่มีเหตุผล
การทำอิบาดะฮฺในอิสลามจึงเกิดมาจากความรักของบ่าวที่มีต่อพระเจ้าของเขา
....ต่อ "อัลลอฮฺ ผู้ที่ถูกรัก"
มุสลิมควรภูมิใจที่มีพระเจ้าให้เกียรติผูกพันธ์กับบ่าวของพระองค์ “ด้วยความรัก”
อิสลามเป็นประชาชาติที่มีพระเจ้าเป็น "ผู้ที่ถูกรัก"
ชุกรอนคำตอบจาก : http://unussorn.spaces.live.com/?_c11_BlogPart_BlogPart=blogview&_c=BlogPart&partqs=amonth%3D8%26ayear%3D2005
เนื่องจากได้อ่านกระทู้ต่างๆในเว็บไซต์ที่
กำลังวิพากษ์วิจารณ์กันเรื่องละคร "ฟ้าจรดทราย"
ซึ่งเป็นเรื่องราวที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสังคมมุสลิมของเรา
และแน่นอนว่า...ด้วยเหตุที่ผู้ที่ประพันธ์เรื่องนั้นขึ้นมามิใช่มุสลิม
(ตามประวัติ)เพียงแต่ได้คลุกคลีกับสังคมมุสลิม
คลุกคลีกับชนชาติอาหรับมาบ้าง เลยทำให้งานเขียนชิ้นนั้น
ที่ถูกกล่าวขวัญมานานแล้วนั้น ขาดความเข้าอกเข้าใจ
และเข้าถึงในแก่นแท้ของศาสนาอิสลาม แก่นแท้ของการเป็น
ผู้นับถือศาสนาอิสลามไป...มุสลิมหลายคนที่เคยอ่านและเคยได้ดู
เรื่องราวที่เกิดขึ้นใน "ฟ้าจรดทราย" จึงอาจขัดหู ขัดตา ขัดใจ
อยู่อย่างแน่นอน...
ซึ่งน่าเสียดายที่เรื่องราวที่ถูกเรียบเรียงเอาไว้้ด้วยสำนวนที่น่าอ่าน
เช่นนั้น ได้ขาดความหมายที่แท้จริงของสังคมมุสลิม
เพราะทุกๆคำสั่ง ทุกๆการกระทำของมุสลิมเรานั้น
ย่อมมีวิทยปัญญาซ่อนอยู่ทั้งนั้น ซึ่งคนที่เขียนเรื่องนั้นขึ้นมา
ยังเข้าไม่ถึงวิทยปัญญาดังกล่าว...
สำหรับข้าน้อยจึงพูดได้แค่ว่า "ฟ้าจรดทราย"
เป็นแค่นิยายและละครที่ให้แค่ความสนุก ตื่นตาตื่นใจ
กับฉากสวยๆ และพระนางที่ชวนให้หลงใหลใฝ่ฝัน
เพียงแค่นั้นจริงๆ...
ซึ่งในกระทู้ร้อนต่างๆตามเว็บไซต์
มีส่วนหนึ่งที่ผู้ที่มิใช่มุสลิมได้ออกมาพูดในเชิงว่า
เรื่องราวในละครนั้น มิได้กล่าวถึงคำว่า "อัลลอฮฺ"เลย
แต่กล่าวถึง "พระเจ้า" "พระเป็นเจ้า"
ไม่มีอะไรที่พาดพิงไปถึง "อัลลอฮฺ"เลย
ทำไมมุสลิมถึงได้ร้อนพล่าน เดือดพล่านขนาดนั้นด้วย...
ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า ผู้ที่พูดนั้น ก็ยังไม่รู้เลยว่าคำว่า "อัลลอฮฺ"
ที่มุสลิมเรียกจนติดปากอยู่นั้น ตามความหมาย
และความนัย และตามความรู้สึกในจิตใจเมื่อเอ่ยคำๆนี้นั้น
คุณค่าและความหมายนั้นเป็นเช่นไร และคืออะไร
แต่ก็ยังออกมาวิพากษ์วิจารณ์แบบสุดฤทธิ์สุดเดช...แบบสุดโต่ง
เพราะคำว่า "อัลลอฮฺ" นั้นเป็นภาษาอาหรับที่ถูกเจาะจงเอาไว้
เป็นการรวมตัวของคำ มีรากเดิม...มีที่มาที่ไป...
หากจะเทียบกับคำในภาษาไทย
คำว่า "พระเจ้า" ก็คงจะใกล้เคียงที่สุดแล้ว
แต่คำว่า "พระเจ้า"ในภาษาไทยนั้น ก็มิอาจครอบคลุมถึง
ความหมายที่ยิ่งใหญ่ของคำว่า "อัลลอฮฺ"ได้หมด...
เหมือนคำว่า "รอซู้ล" ที่คำว่า "ศาสนทูต" ในภาษาไทย
ก็มิอาจครอบคลุมถึงความหมายและความรู้สึกที่แท้จริง
ยามที่เราได้กล่าวคำๆนั้นออกมาได้หมด...
มุสลิมเราจึงเรียก เจ้าของพระนามอันยิ่งใหญ่ เรียกผู้เป็น
เจ้าของทุกสรรพสิ่งว่า "อัลลอฮฺ"
และเพื่อให้ต่างศาสนิกในแต่ละประเทศที่ไม่เข้าใจภาษาอาหรับ
และไม่เข้าใจในอิสลาม
เข้าใจว่าเรากำลังกล่าวถึงสิ่งใด เราจึงจำต้องเลือกใช้
คำที่ใกล้เคียงกับภาษาของคนเหล่านั้น...
ซึ่งภาษาไทยก็คือ พระเจ้า ญี่ปุ่นก็คือ คามิซาม่ะ...
ซึ่งแท้จริงแล้ว "อัลลอฮฺ" นั้น
อยู่เหนือคำว่า "พระเจ้า"ในภาษาไทย
และ คำว่า "คามิซาม่ะ" ในภาษาญี่ปุ่น
เพราะสองภาษาดังกล่าวนัั้น โดยความหมายแล้ว
ไม่สามารถครอบคลุมความหมายของคำว่า "อัลลอฮฺ"
ได้หมดนั่นเอง
การขาดการศึกษาให้ถ่องแท้ในสิ่งที่ตนนำมาเสนอ
หรือนำมาวิพากษ์วิจารณ์ให้ในที่สาธารณะทั่วไปรับรู้นั้น
หรือการจะออกมาตอบโต้ในสิ่งต่างๆโดยปราศจาก
การศึกษา หาข้อมูลก่อนล่วงหน้านั้น
นอกจากจะไม่ให้อะไรที่แท้จริงแก่ผู้อื่นแล้ว
อาจจะเป็นการสร้างความร้าวฉานในสังคมได้
โดยที่ผู้ที่กระทำก็ไม่อาจคำนวณค่าเสียหายจากการกระทำ
ดังกล่าวได้เลย...
จึงไม่น่าแปลกใจ ที่ทุกวันนี้...เรายังคงทะเลาะกันด้วยเรื่องที่
บรรพบุรุษของเราก็เคยขัดแย้งกันมาก่อน
เพราะตราบใดที่เราไม่ยอมอ่าน ไม่ยอมศึกษาสิ่งที่บรรพบุรุษ
ของเราเคยมีการขัดแย้งกันมาก่อน
ให้เข้าใจด้วยใจทีี่อยากจะเข้าใจจริงๆ
ว่าทำไมสิ่งเหล่านั้นถึงได้กลายเป็นข้อขัดแย้ง...
มิใช่เพราะแค่เพียงอยากจะเอาชนะกัน...
เราก็อาจจะได้เห็นได้เข้าใจ เพื่อที่เราจะได้หยุด
และคิดทุกครัั้งก่อนทำการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนั้น
แล้วละเว้นเอาไว้ในส่วนที่เราเองก็ยังไม่เข้าใจ
และยังหาคำตอบของมันไม่ได้...
เพราะการพูดถึงสิ่งที่ได้ศึกษามา
โดยละเว้นสิ่งที่จะกล่าวในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจหรือยังไปไม่ถึง
ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าสำหรับเราและผู้อื่น
ที่เราจะกล่าวบางอย่างออกไปโดยที่เราก็หาได้เข้าใจสิ่ง
เหล่านั้นเลย...
และแน่นอนว่า ทุกคนย่อมมีข้อผิดพลาดหรือเข้าใจผิดไปบ้าง
กับสิ่งที่ตัวเองศึกษามาหรือเรียนรู้มา...
ซึ่งหากเรายอมรับฟังและรับรู้สิ่งที่ผู้อื่นนำมาตักเตือน
และพยายามแก้ไขเปล่ียนแปลง ยอมรับผิดในสิ่งนั้นๆ...
สิ่งนี้ก็ย่อมเป็นเกียรติแก่เรามากกว่าที่เราจะแก้ตัวไปแบบน้ำขุ่นๆ
ทั้งๆที่เราก็รู้ว่าเรานั้นเป็นผู้ผิดพลาดไปแล้ว...
และภัยที่น่ากลัวอีกอย่างก็คือ อัตตา เราหลายๆคนต่างเชื่อมั่นว่า
ตัวเรานั้น สติปัญญาของเรานั้นได้รับรู้สิ่งที่ถูกต้อง
และที่เรายึดมั่นอยู่นั้นถูกต้องแล้ว...เราจึงไม่คิดจะเชื่อหรือฟังใคร
แม้แต่เขาจะพยายามพูดในสิ่งที่ใจของเรา สติปัญญาของเรา
ก็ยอมรับว่ามันคือสิ่งที่ดีกว่า...เมื่อใดที่เรามองว่า
สิ่งทีี่เราเป็นอยู่ สิ่งที่เราคิดอยู่นั้นถูกต้องแบบร้อยเปอร์เซ็นแล้ว
เราก็ไม่ต่างจากแก้วที่มีน้ำอยู่เต็มแล้ว จะเติมอะไรไปก็ไม่ได้แล้ว
อิสลามนั้นคือ สัจธรรมร้อยเปอร์เซ็นสำหรับข้าน้อย
เพราะหัวใจของข้าน้อยเชื่อในอัลลอฮฺ
เชื่อในสิ่งที่พระองค์ยืนยันไว้...
แต่ด้วยสติปัญญาของข้าน้อยที่จะศึกษาอิสลามนั้น
ยังไม่เต็มร้อย และคงจะไม่มีวันที่จะเต็มร้อยแน่ๆ
จึงพยายามเหลือพื้นที่ในหัวสมองและหัวใจเอาไว้
เติมในส่วนท่ียังขาดเอาไว้...เผื่อเอาไว้ว่าที่เรารู้มานั้น
อาจไม่ถูกต้องเสมอไป...
เพราะเมื่อความจริงปรากฏ...ความเท็จก็จะมลายหายไป...
ซึ่งการที่เราจะแยกสติปัญญา แยกความรู้สึก(นัฟซู)
แยกหัวใจออกจากกันเพื่อจะได้พบถึงที่มาของมูลเหตุต่างๆนั้น
ว่าเกิดจากสิ่งใด ย่อมเป็นสิ่งที่ดี
แต่เราจะแยกสิ่งดังกล่าวออกจากตัวเราไปคงไม่ได้เลย...
เพราะมันอยู่ด้วยกันในตัวของเรา แม้จะแตกต่างกันก็ตาม...
การบอกว่า ใจเราศรัทธาในสิ่งหนึ่งโดยที่เราไม่ยอมให้
สติปัญญาของเราได้ไตร่ตรองและศึกษาสิ่งเหล่านั้น
โดยไม่ยอมให้อารมณ์หรือนัฟซูของเราได้คล้อยตามสิ่งเหล่านั้น
มันย่อมจะเกิดการขัดกันในตัวของเรา...
และเราอาจสับสนบนหนทางที่เราบอกกับใจเรามาเสมอว่า
เรานั้นศรัทธาในสิ่งนั้นๆอยู่ขึ้นมาก็ได้ในสักวัน...
แล้วอาจจะเกิดคำถามขึ้นมาว่า "แท้จริงแล้ว เราเป็นใคร" ขึ้นมา
มันเป็นปัญหามานักต่อนักแล้วที่คนที่ข้าน้อยรู้จัก
ได้กล่าวว่า "ทำไมวันนึงที่ฉันตื่นขึ้นมา แล้วเกิดคำถามว่า
ฉันนั้นเป็นใคร และเกิดมาทำไม..."
แน่นอนว่า หากเราได้รับการศึกษาสัจธรรมของชีวิต
คำถามดังกล่าวอาจจะไม่โผล่มาเยี่ยมเราก็ได้
เพราะว่า...แท้จริงแล้ว "อัลลอฮฺ" ได้ตอบคำถามเหล่านั้นเอาไว้
ในวจนะของพระองค์ที่อยู่ในบรรดาคัมภีร์ที่มาจากพระองค์แล้ว
ขึ้นอยู่กับเราว่า จะศึกษามันเพื่อจะได้รู้และเลิกถามคำถาม
เหล่านั้นอย่างจริงจังแล้วหรือยัง...
กระทู้นี้จึงเป็นประโยชน์อย่างมากที่จะทำให้เราได้รู้จักกับ
"อัลลอฮฺ" มากขึ้นกว่าเดิมที่เคยรู้จักมา...
ต้องขออภัยที่อาจมีเนื่อหาส่วนที่นำออกไปนอกประเด็นบ้างนะคะ
วัสลาม