ผู้เขียน หัวข้อ: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม  (อ่าน 9467 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Muftee

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: ก.พ. 26, 2008, 11:43 AM »
0
sa27 ......ทางสายกลาง ในอิสลามมีด้วยหรือครับ  ผมเห็นมีแต่ ดุนยา และ อาคีร์ 
********************************************************************************

คุณ  sa27 คับ   ผม ว่าทางสายกลางตรงนี้น่าจะหมายถึง รูปแบบการดำเนินชีวิตมากกว่าครับ

คือ อิสลามมีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เป็นกลาง  ไม่สุดโต่งเหมือนบางกลุ่มดังเช่น  ในอินเดีย มีบางกลุ่ม

ที่ทำร้ายตนเอง ตามความเชื่อของเขา ซึ่งอิสลามไม่อนุมัติ  หรือ อีกหลายๆ พวกในโลกนี้

         ส่วนเรื่อง  ดุนยา กับ อาคีเราะฮฺ นั้น มันเป็นเรื่องของสถานที่  เพราะ ชีวิตมนุษย์นั้น มี 4 โลก ด้วยกัน

คือ  ........
1. โลกในครรภ์ของมารดา

2. โลกดุนยา

3. โลกแห่งสุสาน ( อะลัมบัรซัค )

4. โลกอาคีเราะฮฺ

  ดังนั้น  ไม่ว่าคนที่มีแนวคิดสุดโต่ง  หรือ สายกลาง หรือ หย่อนยาน แบบไม่เอาอะไรเลย

ก็ล้วนแล้วต้องผ่านโลกทั้ง 4 นี้ ด้วยกันทั้งนั้น........

// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ sa27

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 35
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: ก.พ. 26, 2008, 11:48 AM »
0
 salam

ขอบคุณครับที่  ช่วยขยาย ข้อความ 
จากผู้ที่ต้องการรู้จักตัวรู้ที่รู้จักตัวรู้

ออฟไลน์ คะลัคคะลุย

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 670
  • เรื่อยไป
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: ก.พ. 26, 2008, 11:50 AM »
+1
ทางสายกลาง ในอิสลามมีด้วยหรือครับ  ผมเห็นมีแต่ ดุนยา และ อาคีร์  ถ้ามีทางสายกลาง นั้นแสดงว่า คูณกำลังอยู่ระหว่าง ดุนยา กับ อาคีร์   

 แต่ในทางสายกลางนั้น ผมไม่แน่ใจ ในความเข้าใจของผู้เสนอ


คำว่าสายกลางตรงนี้ก็คือ  

لا إفراط ولا تفريط

"ไม่มีการเลยเถิดและไม่หย่อนยาน"  

วิชาตะเซาวุฟนั้น  มีทั้งตะเซาวุฟที่เลยเถิด (เช่นเชื่อว่าอัลเลาะฮ์ทรงสถิตอยู่ในสิ่งที่ถูกสร้าง เป็นต้น)  และผู้ที่ไม่มีตะเซาวุฟเอาเสียเลย (ทำอิบาดะฮ์แต่รูปภายนอกเท่านั้น)  ดังนั้นตะเซาวุฟที่อยู่บนรากฐานของอัลกุรอานและซุนนะฮ์  ก็คือตะเซาวุฟที่ไม่เลยเถิดและไม่มักง่ายจนไม่เหลือตะเซาวุฟหรือหลักอิห์ซานเลย

วัลลอฮุอะลัม  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.พ. 26, 2008, 11:52 AM โดย Chocalatah »
اللهم صل علي سيدنا محمد وعلي آل محمد وصحبه وسلم

ออฟไลน์ Muftee

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: ก.พ. 26, 2008, 11:56 AM »
0
ขอบคุณ  คุณ   Chocalatah   ครับ ....

ที่ช่วย ขยายความให้ชัดเจนยิ่งขึ้น......
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ kalib

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 10
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: พ.ค. 07, 2011, 08:04 PM »
+1
สำหรับการรำลึกถึงพระองค์ ย่อมไม่มีอะไรมากำหนดและขีดกั้น ไร้คำขีดเขียนและไร้คำที่ใช้อธิบาย...

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: พ.ค. 07, 2011, 08:46 PM »
0
หลายคนที่ศึกษาตศ็อววุฟ แต่มักจะเน้นที่เรื่อง "กะรอมะฮ์" ทั้งที่มันไม่ใช่เป้าหมายของการเรียนตะศ็อววุฟเลย แต่หลายคนกลัวคำว่า "ตศ็อววุฟ" จนไม่อยากจะแตะต้องมันด้วยซ้ำ เนื่องเพราะเขารับข้อมูลแต่ด้านลบของผู้ที่อยู่ในวงการตศ็อววุฟ หรือที่เรียกว่า "ศูฟีย์" แต่บางคนก็ได้มีหลักตศ็อววุฟอยู่ตัวเขาแล้ว แม้ไม่เคยเรียนตศ็อววุฟอย่างเป็นจริงเป็นจัง หรืออาจจะรู้จักวิชานี้ด้วยชื่ออื่นก็ตาม เพราะอัลลอฮฺย่อมทรงประทานความรู้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ - วัลลอฮุอะอ์ลัม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ kalib

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 10
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: พ.ค. 07, 2011, 11:23 PM »
+1
เพราะอะไรจึงติดอยู่กับ คำบางคำ ประโยคบางประโยค แล้วก็นำมาวิพาก ก็ในเมื่อรู้กันอยู่ว่า ต่างก็ไม่รู้..ถ้ารู้จริง

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: พ.ค. 08, 2011, 11:59 AM »
0
การเข้าสู่ "เฏาะรีเกาะฮ์-ศูฟีย์" นั้น ไม่ได้มีการปิดกั้น หรือจำกัดเฉพาะแก่บุคคลใด แต่ทว่า ความสามารถของผู้ที่เข้าถึงมันต่างหาก ว่ามีมากแค่ไหน ก็เช่นเดียวการขึ้นเป็น "มุจตะฮิด" ที่ไม่ได้มีการจำกัดเฉพาะใคร แต่ทุกคนสามารถเป็นมุจตะฮิดได้เมื่อเขาครบคุณสมบัิติของการเป็นนักมุจตะฮิดแล้ว ฉะนั้น ความอุตสาหะ จริงจัง และจริงจัง ก็อาจนำพาท่านสู่แก่นแท้ของแก่นแต่ละวิชาได้ - วัลลอฮุอะอ์ลัม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ sidsid

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 41
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: ก.ย. 10, 2013, 11:30 AM »
0
ซูฟี่ย์ จริงๆก็เป็นสิ่งดี เพียงแต่เคร่งไปหน่อยเท่านั้น หลักซูฟีย์เอามาใช่ได้ ถ้าไม่ขัดกับอัลกุรอ่านและซุนน๊ะ ตามที่หัวหน้าซูฟีย์ ยุกแรกได้กล่าวไว้ ซูฟีย์เดียวนี้มีหลายพวกเกิน กลุ่มมูดอชอบพูดว่าดะวะห์คนก่อตั่งเป็นซูฟีย์ เดียวนี้ดะวะห์พัฒนาขึ้นมากแล้ว ข้าราชการก็เข้ามาเสริมในสิ่งที่ไม่ค่อยถูกต้องให้ดีขึ้นแล้ว ถ้าดะวะห์ผิดตรงไหนไปช่วยกันแก้ไข เพราะดะวะห์เกิดมาหลังแล้ว เกิดในอินเดีย เห็นว่าเป็นสิ่งดีหลายประเทศก็นำมาใช่ สรุปว่าได้ผล คนหันมาอิหม่านมากขึ้น อินเดียใช่ได้ผล  ปีพศ 2477 เข้าไทย ปีพศ 2508

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: ก.ย. 11, 2013, 07:19 AM »
0
คิดถึงบาบอ อ.การีม วันแอเลาะ
มีความรู้สึกว่าเป็นกระทู้ที่มีคำพูดที่ทำให้จิตใจสงบ ซึ่งหายากในยุคที่มีแต่ความขัดแย้ง
และนี้เป็นส่วนหนึ่งจากงานแปลของท่านอาจารย์การีม วันแอเลาะ รอฮิมะฮุลลอฮ์ เกี่ยวกับตะเซาวุฟ อาจช่วยให้จิตใจสงบมากขึ้น หากข้อความกุรอานตกหล่น ช่วยเพิ่มเติมแก้ไขให้ถูกต้องด้วย
بسم الله الرّحمن الرّحيم
ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ
หนังสือเล่มนี้  ผมได้ถอดความมาจากต้นฉบับภาษาอาหรับ  ซึ่งเขียนโดย  มูฮัมมัด  ซักกี  อิบรอฮีมเพื่อเป็นเอกสารประกอบคำบรรยายในวิชาตะเซาวุฟของโคงการอบรมสัมมนาวิชาการอิสลาม  หลักสูตรเร่งรัด  ที่โรงเรียนอิสลามสัมพันธ์  บางบัวทอง  นนทบุรีจัดขึ้น  เป็นหนังสือที่นิยมนำมาศึกษากันอย่างแพร่หลายในสังคมมุสลิม  มีผู้สนใจเป็นจำนวนมาก  เสนอให้จัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม  แต่โครงการไม่มีงบประมาณพอที่จะสนองตอบความต้องการนั้นได้  อีกทั้งต้นฉบับก็กระจัดกระจาย  ซึ่งทางโครงการฯ  ก็ได้พยายามรวบรวมและถอดความขึ้นใหม่  ในบางส่วนที่หาไม่ได้
อัลฮัมดัลิลแลฮ์  ความต้องการของผู้สนใจเป็นจำนวนมากดังกล่าวได้รับการตอบสนองจากองค์พระผู้เป็นเจ้า  โดยการประสานงานของอาจารย์อาบิดีน  วันหวัง  ได้รับการอุปถัมภ์ในการจัดพิมพ์  เพื่อมอบเป็นวิทยาทานโดยไม่คิดมูลค่า  จำนวนหนึ่งพันเล่มจากท่านที่เคารพหลายท่านที่ได้ร่วมกันสละทุนทรัพย์และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่ร่วมกันประคับประคองให้หนังสือเล่มนี้ออกสู่สายตาของท่านทั้งหลาย
ขออัลลอฮ์ (ซ.บ.)  ได้โปรดประทานความสุข  สดชื่น  และสมหวังทั้งดุนยาและอาคิเราะฮ์  จงประสบแด่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทุกคน  และหากผู้ใดพบความผิดพลาด  ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆ  เพื่อเป็นกุศลสำหรับตัวท่าน  โปรดแจ้งให้ทราบ  เพื่อจะได้เปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องในการจัดพิมพ์ครั้งต่อไป
อับดุลการีม  วันแอเลาะ
10  พ.ย.  2532
ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ
การสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ์  ขอซอละหวาดและสลามจงประสพแด่ผู้ที่พระองค์ทรงคัดเลือก  และผู้ที่พระองค์ทรงคุ้มครอง  ทั้งในเบื้องต้นและบั้นปลาย
กองบรรณาธิการฝ่ายจัดพิมพ์  และเผยแพร่ขอเสนอสารประโยชน์ทางวิชาการที่มีความสำคัญที่สุด
ด้วยศรัทธา  และความสำรวม  และด้วยการธำรงไว้ซึ่งอำนาจแห่งอัลลอฮ์และด้วยหน้าที่แห่งการเผยแผ่ (เชิญชวน) สู่อัลลอฮ์ (ซ.บ.)  เรามีความยินดีที่จะได้เสนอข้อมูลททางวิชาการเกี่ยวกับที่มาอันบริสุทธิ์ของโลกซูฟีในอิสลามแก่ท่านทั้งหลาย  ในการจัดพิมพ์ครั้งที่สามนี้ทั้งนี้หลังจากได้ขัดเกลาและเติมต่อให้สมบูรณ์ที่สุดเราขอเสนอแด่ซูฟีมุสลิมที่ได้รับแนวทางอันถูกต้อง  และแด่ผู้ค้นคว้าแนวทางแห่งความผูกพันต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.)  และแด่ผู้ที่สนใจแสวงหาความสมบูรณ์  และความเข้าใจอันถูกต้อง  และแด่ผู้ที่มีวัฒนธรรมอันสัตย์ซื่อ  ต่อการสัมผัสธาตุแท้อันไร้มลทิน  และสดับยอมรับวิชาการ  และแด่ผู้ที่ทุ่มเทเพื่อสร้างเอกภาพขึ้นในสังคมมุสลิม  หลังจากที่ได้มีการแตกแยกเป็นคณะต่าง ๆ ที่ตัดสินปัญหากันด้วย  อารมณ์  และบุคคลนิยม  อันเป็นการตัดขาดจากห่วงยึดที่มีมาโดยตลอด
พฤติกรรมอันเป็นมรดกของอิสลามนี้  เป็นหน้าที่ของทุกคนที่เจริญรอยตาม 
ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้คือ  มูฮัมมัด  ซักกีย์  อิบรอฮีม
ตำแหน่ง   ผู้นำ  อัล-อะซีเราะฮ์  อัล-มุฮัมมะดียะห์
ตำแหน่ง   คณะกรรมการสภาสูงว่าด้วยกิจการฝ่ายอิสลาม
ตำแหน่ง     เชค  ต่อรีเกาะฮ์  อัลมุฮัมมะดียะฮ์  อัซซาลิซียะห์
คำถามที่หนึ่ง
ก.   ตะเซาวุฟในอิสลามนั้น  มีจุดมุ่งหมายอย่างไร ?
ข.   ตะเซาวุฟมีมาตั้งแต่สมัยร่อซู้ล ฯ (ซ.ล.)  จริงหรือ ?
ค.   เพราะเหตุใด  จึงให้คำนิยามแตกต่างกัน ?
ง.   เพราะเหตุใด  จึงระบุถึงแหล่งที่มาแตกต่างกัน ?
คำตอบที่หนึ่ง
ก.   จุดมุ่งหมายของตะเซาวุฟในอิสลามนั้น  รู้ได้จากคำนิยามที่ให้กันไว้หลายรูปแบบ  ซึ่งพอสรุปได้ว่า
التخل
ความว่า      “การเปลื้องหรือถอดความต่ำต้อยทั้งปวงทิ้งไป  และสวมใส่สิ่งที่ดีงามทั้งปวง  เป็นพฤติกรรมที่ก้าวไปสู่ระดับที่ใกล้ชิดและถึงพระองค์เป็นการย้อนกลับไปเริ่มต้นสถาปนาการเป็นมนุษย์และผู้พบตัวเองกับพระผู้อภิบาลของเขา  ทั้งในด้านคติกรรม  วจีกรรมพฤติกรรม  และมโนกรรม  ในสภาพการณ์ทั่ว ๆ ไปของมนุษย์”
คำนิยามดังกล่าวข้างต้นนี้  สามารถสรุปให้สั้นลงมาเหลือคำเดียวว่า     اَلتقْوَى   คือความยำเกรงระดับสูงทั้งภายนอกและภายใน  จริง ๆ แล้วตักวานั้นคือความเชื่อที่มีพฤติกรรมสนองตอบ  กล่าวคือ  สัมพัธภาพระหว่างมนุษย์กับอัลลออฮ์  (ซ.บ.)  ในลักษณะของการ  (อิบาดะห์)  ถวายความจงรักภักดีที่ต้องสวยงามและสัมพันธภาพระหว่างมนุษย์กับมนุษย์  ในทางพฟติกรรมที่ดีงาม  ดังกล่าวนี้  คือ  วะฮีที่อัลลอฮ์  (ซ.บ.)  ท่านได้ประทานมายังนะบีทุกท่าน  และบนพื้นฐานดังกล่าวนี้ทำให้มนุษย์ก้วขึ้นสู่ฐานะอันสูงส่ง
สำหรับสัญญานของตักวานั้น  คือ  การขัดเกลา  ดังอัล-กุรอานในซูเราะฮ์อัล-อะลา  โองการหนึ่งกล่าวว่า
    
ความว่า  “โดยแน่แท้ผู้ที่ขัดเกลาตัวเองนั้น   คือผู้ที่มีชัย
และกุรอานซูเราะฮ์อัซซัมซิ  อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า
    
ความว่า  “โดยแน่แท้ผู้ที่ขัดเกลามัน  คือ  ผู้ที่มีชัย”
ข.   ตามความเข้าใจดังกล่าวนั้น  ย่อมมั่นใจได้ว่า  ตะเซาวุฟนั้นมีมาตั้งแต่สมัยของท่านนะบี  ศ้อลฯ  สมัยซอฮาบะฮ์  สมัยตาบิอีน  และในสมัยถัด ๆ มา
และตะเซาวุฟที่เด่นที่สุดนั้น  จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีเช่น   มีการเชิญชวน  การต่อสู้  การมีพฤติกรรมที่ดีการซิเกร  การใช้ความคิด  และการมีสมถะ  ซึ่งทั้งหมดดังกล่าวนี้  คือส่วนประกอบของตักวา  หรือการขัดเกลาอย่างนี้แหละคือตะเซาวุฟที่มาพร้อมกับวะอีจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.)   อันหมายถึงตะเซาวุฟของกุรอาน  และซุนนะห์  ซึ่งแยกได้ว่า  ตเซาวุฟที่เรียกว่าความยำเกรง  และการขัดเกลานั้น  คือ  ตะเซาวุฟจากอัล-กุรอาน  ส่วนตะเซาวุฟที่เรียกว่าคุณธรรมนั้นคือ  ตะเซาวุฟจากอัล-ฮาดีส  และเมื่อรวมเข้าด้วยกันแล้วเรียกว่าอยู่ใน  مَقَامَ   ตำแหน่งอันสูงสุดของอิสลามดังที่พระมหาคัมภีร์อัล-กุรอานซูเราะห์  อาละอิมรอนโองการที่ 79  กล่าวว่า
           ••                    
ความว่า  “พวกท่านจงเป็นผู้รู้  ผู้ปฏิบัติเพื่อพระผู้อภิบาล  ตามที่พวกท่านศึกษาและรู้จากคัมภีร์”
ดังกล่าวนี้คือตะเซาวุฟที่เรารู้จัก   แต่หากมีตะเซาวุฟแหวกไปจากเส้นทางนี้  เราก็ไม่เกี่ยวข้องด้วยภัยพิบัติหรือโทษทัณฑ์ก็จะประสบแก่พลพรรคของตะเซาวุฟในแนวทางนั้น  ซึ่งเราจะไม่ถูกสอบสวน  เพราะมีอัลกุรอานซูเราะฮ์อัตตูร  โองการที่ 21  กล่าวไว้ว่า
      
ความว่า  “คนทุกคนนั้นต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ได้กระทำ”
พึงรู้ว่า  ตะเซาวุฟ(วิชาตเซาวุฟ)  นั้นอย่างหนึ่งและซูฟี  (ผู้รู้ตะเซาวุฟนั้นก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง)
ค.   สำหรับการที่คำนิยามของวิชาตะเซาวุฟมีอยู่หลายอย่างนั้น  ก็ขึ้นอยู่กับความเข้าใจของแต่ละคนซึ่งแต่ละคนก็จะมีความเข้าใจของตนเองน้อยบ้าง  มากบ้าง  สูงบ้าง  ต่ำบ้าง  ก็ไม่ได้เป็นการขัดกันแต่ประการใด  และแท้ที่จริงนั้น  มันก็คือสิ่งเดียวกัน  คือธาตุแท้อันเดียวกัน  เช่น  สวนที่กว้าง  ผู้คนที่เดินเข้าไปต่างก็ไปนั่งกันอยู่ตามใต้ต้นไม้  และแน่นอนแต่ละคนก็จะบรรยายถึงสภาพสวนตามลลักษณะของความรู้สึกที่เมื่อได้อยู่ใต้ต้นไม้แต่ลต้นของแต่ละคนซึ่งก็ไม่มีคนใดกล่าวว่าในสวนนี้  ไม่มีต้นไม้อื่นนอกจากต้นนี้
ไม่ว่าคำนิยามของวิชานี้  จะมีมากมายสักปานใดก็ตาม  แต่ต่างก็มุ่งหมายถึงการขัดเกลา  การตักวา  การมีคุณธรรม  ซึ่งคือ  ตำแหน่งอันสูงสุดของอิสลาม  คือตะเซาวุฟ  ในแนวทางของการฮิจเราะฮ์สู่อัลลอฮ์  ดังอัล-กุรอานซูเราะห์อัซซาริยาต  โองการที่ 50
         
ความว่า  “ดังนั้น  พวกท่านจงหนีไปหาอัลลอฮ์ (ซ.บ.)  แท้จริงฉันนี้เป็นผู้แนะนำแนวทางอันชัดแจ้งจากพระองค์เท่านั้น  (หมายถึงให้ไปหาผลบุญ  ไปหาการตออัต  ให้หนีการลงโทษ  หนีการทรยศ)”
และอัล-กุรอานซูเราะฮ์อังกะบูต  โองการที่ 26  กล่าวว่า
      
ความว่า  “แท้จริง  ฉันนอพยพไปสู่ผู้อภิบาลของฉัน”
จริง ๆ แล้ว  คำนิยามทั้งหมดที่แตกต่างกันนั้นก็คือคำนิยามเดียวกันที่ต่างให้ความสมบูรณ์ซึ่งกันและกัน
ง.   สำหรับความแตกต่างในด้านแหล่งที่มาของวิชาตะเซาวุฟนั้น  เกิดขึ้นจากศัตรูของอัลลอฮ์  (ซ.บ.)  ที่ได้พยายามทำให้ความบริสุทธิ์ต้องแปดเปื้อนมีมลทิน
ตะเซาวุฟนั้น  ก็มีรายละเอียด  มีส่วนประกอบดังกล่าวมาแล้ว  ใครก็ตามที่บิดเบือนไม่รักษาส่วนประกอบของตะเซาวุฟไว้  ก็ถือว่าผิดพลาด   หลงใหล  มิได้พิจารณาธาตุแท้ของตะเซาวุฟ  ดังนั้น  การที่เข้าใจตะเซาวุฟอย่างนั้น  แล้วก็หู่ก่มลงไปว่าไม่ถูกต้องก็เป็นเพราะตะเซาวุฟนั้นมิใช่ตะเซาวุฟที่ครบส่วนประกอบ  หรือครบเครื่องปรุง  แน่นอนต้องผิดพลาด
การที่จะถือว่า  เมื่อสิ่งนี้ผิด  สิ่งอื่นก็ผิดด้วยนั้นไม่ใช่ความถูกต้องแน่นอน    กินกับปัญญาหรือ ?   ถูกแล้วหรือ?  ที่มุสลิมจะสลัดอิสลามของเขาเนื่องจากมีมุสลิมบางกลุ่มบางพวกดื่มเหล้า หรือมั่วอยู่กับสิ่งต้องห้ามแล้วถือว่า  การกระทำของพวกเหล่านั้น  เป็นหลักฐานว่าอิสลามไม่ได้มาจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.)  เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างลึกซึ้งครับ  โอ้มวลมนุษย์เอ๋ย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 11, 2013, 07:36 AM โดย mjehoh »

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: ก.ย. 11, 2013, 07:32 AM »
0
อายะห์ภาษาอาหรับกุรอานไม่ปรากฏ เป็นโปรแกรมที่นำอายะห์กุรอานลงมา ในการพิมพ์
มีความหมายโดยสรุปเลขอายะห์ คงหาข้อมูลได้ไม่ยาก
ต่อครับ
คำถามที่สอง
ก.   ใครคือคนซูฟี ?
ข.   ทำไมจึงแตกต่างไปจากมุสลิมทั่วไป ?
ค.   คนซูฟี  กับ  คนตะกี  (คนที่มีความยำเกรง)  คนที่เป็นมุมิน  คนที่เป็นมุสลิม  หรือคนที่เป็นซิดดีก  มีความแตกต่างหรือไม่ ?
ง.   หากไม่มีข้อแตกต่างกัน  ทำไมจึงเรียกว่าคนซูฟี ?
คำตอบที่สอง
ก.   ซูฟีที่แท้จริงนั้น  คือมุสลิมตังอย่าง  บรรดาผู้นำหรืออิหม่ามทางซูฟีต่างมีทัศนะสอดคล้องกันว่าตะเซาวุฟนั้นคือ  อัล-กุรอาน  และอัล-ฮาดีสที่ยึดถือและปฏิบัติตามด้วยความจริงใจ  และอย่างมีความระมัดระวัง  ซึ่งบรรดาผู้นำหรืออิหม่ามทางซูฟีต่างกำหนดเป็นเงื่อนไขให้สานุศิษย์ยึดมั่นอยู่ในโองการจากพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานที่ว่า
          
ความว่า  “พวกท่านจงเป็นผู้รู้  ผู้ปฏิบัติเพื่อพระผู้อภิบาลตามที่พวกท่านศึกษา  และรู้จากคัมภีร์”
ความรู้  ณ ที่นี้(ที่สำคัญ)  คือ  ความรู้ทางศาสนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอัล-กุรอาน  และอัล-ฮาดีส  ซึ่งเป็นบ่อเกิดของวิชาการทุกแขนงที่ทำให้มนุษย์มีการพัฒนา  และมีอารยธรรมที่ดีงามสืบต่อกันมา  ดังนั้นวิชาตะเซาวุฟจึงเป็นวิชาที่ครอบคลุมทั้งเรื่องของศาสนาและเรื่องของดุนยา
ด้วยเหตุนี้  บรรดาผู้นำตะเซาวุฟ  เป็นสำคัญสำหรับท่าน  ญุเนด  (ร.ฮ.)  จึงกล่าวว่า
“ผู้ใดที่ไม่ถึงซึ่งความรู้ในอัล-กุรอาน  และอัล-ฮาดีส  ผู้นั้นมิใช่ซูฟี”

ซึ่งบรรดาผู้นำในทางตะเซาวุฟ  ทั้งในรุ่นแรกและรุ่นถัดมา  ต่าก็มีทัศนะสอดคล้องกัน  ท่านสามารถค้นคว้าหลักฐานจากทัศนะของพวกเขาได้ที่  อัล-กุซัยรีย์อัซซะรอนีย์  ตลอดจนที่อยู่ในสมัยเดียวกันกับท่านทั้งสองนี้และในสมัยถัด ๆ มา
ข.   ที่ว่าซูฟีแตกต่างไปจากมุสลิมทั่ว ๆ นั้น  คือ  แตกต่างกันที่  “อะมั้ล”  (ความเคร่งครัดในการปฏิบัติ)  ดังนั้น  เมื่อซูฟีได้ปฏิบัติตนตามแบบอย่าง  อีกทั้งยังมีการเชิญชวนด้วยนั้น  ซูฟีจึงมีความแตกต่างไปจากชนกลุ่มอื่น ๆ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความพยายามและการต่อสู้อย่างจริงจังของพวกเขา  ซึ่งลักษณะอย่างนี้ก็คือลักษณะเฉพาะ ที่อาจจะมีขึ้นในรูปแบบใด และในชนกลุ่มใดก็ได้
ชาวซูฟี  ถือว่าสิ่งใดที่ปวงปราชญ์มีทัศนะต่างกันนั้นเป็นสิ่งที่หะรอมทั้งนี้ก็เพื่อหลีกตัวเองออกจากสภาพอันกำกวมนั่นเอง  พวกเรารู้กันดีว่าคนในสมัยแรกเข้าทิ้ง  กล่าวคือ  ไม่สนใจของที่หะล้าลกันถึงเก้าในสิบส่วนทั้งนี้เพราะกลัวว่า  จะตกอยู่ในสภาพที่หะรอม  พวกเขายึดกันอย่างนี้อย่างจริงจัง  และพวกเขาก็พยายามกระทำในสิ่งที่พึงต้องกระทำกันอย่างจริงจังด้วย

อัลเลาะห์กล่าวว่า

ความว่า     “และสำหรับผู้คนที่ต่างระดับกันนั้นก็สืบเนื่องมาจากการกระทำของพวกเขา”
จึงได้ความว่า  ณ ที่นี้ว่า  การกระทำนั้นคือ  พื้นฐานแห่งความแตกต่าง
ค.   สำหรับความแตกต่างระหว่างคนซูฟี  กับมุสลิมหรือมุมินหรือตากีนั้น  ก็เพราะอิสลามได้กำหนดให้เรารู้จักนุษย์  ตามลักษระเฉพาะของพวกเขา  อัลลอฮ์ (ซ.บ.)  ท่านเรียกมุฮาญิรีน  อันศอร  ทั้งนี้ก็ด้วยลักษณะเฉพาะของพวกเขา  ซึ่งพวกเขาก็เป็นมุสลิมเป็นมุมิน  เป็นอัตกิยาอ์
ท่านร่อซู้ล ศ้อลฯ เรียกท่านบิล้าลว่า  บิล้าล อัล-หะบะซีย์  เรียกศุเฮบว่า  ศุเฮบอัรรูมีย์  เรียกซัลมานว่า  ซัลมาน อัล-ฟาริซีย์ตามสัญชาติของพวกเขาแตกต่างกัน  ทั้ง ๆ  ที่พวกเขาก็เป็นมุสลิม  เป็นมุมิน  เป็นอุตกิยาอ์
และอัล-กุรอานก็เรียกมุสลิมเป็นหลายอย่าง  เช่น  เรียกว่า  คอซิอีน  กอนิตีน  ตาบิอีน  มตะศ๊อดดิกีน  อาบิดดีน  ฮามิดีน  และอื่น ๆ  ทั้ง ๆที่พวกเขาเหล่านั้นก็คือ  ชาวลาอิลาฮะอิ้ลลัลลอฮ์
ดังนั้น  การเรียกมนุษย์โดยระบุลักษณะเฉพาะด้วยนั้น  คือ ซุนนะฮ์  แนวทาง ของอัล-กุรอาน  และ อัล-ฮาดีส
เมื่อชนกลุ่มนี้เป็นที่รู้จักกันในนามของ  “ซูฟียะฮ์”  จึงงไม่ได้เป็นบิดอะฮ์แต่อย่างใดที่จะเรียกพวกเขาอย่างนี้
ไฉนการเรียกอย่างนี้  จึงทำให้คิดกันไปต่าง ๆ นานา  แต่กลับไม่คิดไม่สงสัยเมื่อเรียกกันว่า  ซะละฟียะอ์ อัซฮะรียะฮ์ ซาฟีอียะฮ์   มาลิกียะฮ์  ฮัมบะลียะฮ์   หรือว่าในขณะนั้นเขาตั้งสมาคมที่มีชื่อเช่นนี้กัน  พึงสังเกตว่าเป็นคำถามที่ไม่น่าถาม  ทั้งนี้หากผู้ถามมิได้เป็นผู้คลั่งไคล้อยู่ในแนวทางที่อัปปาง

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: ก.ย. 11, 2013, 08:54 AM »
0
คำถามที่สาม
   ถาม   ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร  ทีมีผู้ปรักปรำว่า  ชาวซูฟีนั้นมีพื้นฐานมาชาวพุทธ  ชาวมะญูซีย์  หรือชาวเราะฮ์บานียะห์........  และอื่นๆ 
   ตอบ   ได้กล่าวมาแล้วว่า  ตะเซาวุฟอิสลามนั้นคือ  “รู้และกระทำตามความรู้เพื่ออัลลอฮ์”  ซึ่งมีชื่อเรียกว่า  “ร๊อบบานียะฮ์”  คือ  การศรัทธา  การปฏิบัติ  การอิบาดะฮ์  การดะวะฮ์  การมีมารยาทอันสวยงาม  ตลอดจนการทำความดีในทุกรูปแบบ  หรือคือการมีเจตนาเพื่ออัลลอฮ์ทั้งในคำพูด  ในกระทำ  และในความนึกคิดตลอดจนในการพิจารณาทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับบโลกนี้หรือที่เกี่ยวกับโลกหน้า  เป็นการยกระดับคุณค่าแห่งการเป็นมนุษย์ให้สูงขึ้นซึ่งนั้นคือเป้าหมายแห่งวะฮีของอัลลอฮ์  และคือเป้าหมายแห่งศาสนา  จากคุณลักษณะดังกล่าวนี้คือ  (การแสวงหาความสมบูรณ์)  ซึ่งเป็นฟัรดูอีน(เป็นความจำเป็นสำหรับทุก ๆ คน)   อีกทั้งเป็นการบำบัดโรคร้ายแห่งชีวิตจิตใจ  ไม่มีมนุษย์คนใดนอกจากจะพบว่า  ไม่เกินก็หย่อนหรือไม่มากก็น้อย  กล่าวคือ  หากหย่อนหรือน้อย  ก็เรียกว่า  มีโรคร้ายในจิตใจหรือในบุคลิกภาพ
   พึงรู้ว่า  ศาสนาของอัลลอฮ์นั้น  มุ่งปฏิบัติการแก้ไขในสิ่งเหล่านี้  และเมื่อวิชานี้เป็นวิชาเฉพาะดังกล่าว  การแสวงหาหรือการศึกษาวิชานี้จึงถือเป็นความจำเป็น (ฟัรดุอีนป  ทั้งในแง่ขอศาสนา  สติปัญญา  และไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นในส่วนของปัจจเจกชนหรือชุมชน  ทั้งนี้ก็เพื่อมนุษย์จะได้เป็น  “คิลาฟะตุ้ลลอฮ์”  บนพื้นแผ่นดินนี้และเพื่อจะได้ร่วมกันโปรยความรัก  ความเห็นอกเห็นใจและความสมานฉันฑ์ต่อกัน  อีกทั้งยังจะเป็นส่วนสำคัญที่นำอารยธรรมและความเจริญมาสู่มนุษย์ชาติ  โดยมีอีหม่านอันแน่แท้มั่นคงต่ออัลลอฮ์เป็นวิญญาณผลักดัน
   หลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้  มิได้เป็นสิ่งเงื่อนงำ  แม้แก่นักศึกษาหรือนักเรียนในระดับประถมศึกษา  ต่างก็รู้กันดีว่า  ข้อมูลเหล่านี้ได้มาจากคลังแห่ง อัล-กุรอาน และซุนนะฮ์
   ข้าพเจ้าไม่รู้จริง ๆ  ว่าอัล-กุรอาน  และซุนนะฮ์นั้นคัดมาจากมะญูซีย์ยะห์  บูซียะฮ์(พุทธ)  เราะฮ์บานียะฮ์  ข้าพเจ้ารู้แต่เพียงว่าความเข้าใจเช่นนั้นตกทอดมาจากการใส่ความของผู้โป้ปด  และหลงทาง
   อนึ่ง  หากนะเซาวุฟตามคำถามนั้นคือ  ปรัชญาที่มิใช่หลักความเชื่อและแนวปฏิบัติของเราแล้ว  ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับตะเซาวุฟของเรา  ดังนั้นการที่พวกเขาเอามาเป็นหลักฐานล้มล้างหรือตำหนิเรานั้นเป็นสิ่งที่สับสนปนเปกันระหว่างของแท้และของเทียม (ของถูกกับของผิด)  การที่จะกล่าวหาผู้บริสุทธิ์ว่าเป็นผู้กระทำผิดนั้น  เป็นการกระทำที่ป่าเถื่อน
   หากผู้ที่เป็นศัตรูของตะเซาวุฟ  จะได้พิจารณาเพ่งดูถึงพฤติกรรมที่ปรากฏ  แล้วมาช่วยกับเราขจัดอุตริกรรมและสิ่งต้องห้ามที่เกิดขึ้นในสมัยของเรานี้  เช่น  การใช้กลอง  ใช้ขลุ่ย  ใช้ปี่  ตลอดจนการเต้น  หรือการเรียกชื่อของอัลลอฮ์ให้ผิดเพี้ยน  และ ฯลฯ  ด้วยการ่วมมือกันในทางที่ถูก  เรียกร้องเชิญชวนให้คงเส้นคงวาอยู่ในกรอบ  ในกติกาแห่งหลักะรรมคำสอนก็จะเป็นการถูกต้องและดีกว่า  อีกทั้งยังจะได้รับทางนำจากอัลลอฮ์และผู้คนก็จะสรรเสริญ
   ณ.ที่นี้  ข้าพเจ้าขอยืนยันด้วยศักดิ์ศรีและความมั่นใจว่า  แนวทางและวิธีการที่เรียกว่าตะเซาวุฟ  หากได้ขัดกันกับอัล-กุรอาน  หรืออัล-ฮาดีสแล้ว  ไม่ว่าจะเอามาจากแหล่งใดๆ  นั่นไม่ใช่ตะเซาวุฟ  นั่นมิใช่อิสลาม
   ดังนั้น  ตะเซาวุฟจึงเป็นผลพวงของอิสลามที่เรียกว่า “เอี๊ยะห์ซาน”  ดังที่ฮาดีสของท่านนะบี ศ้อลฯ  กล่าวถึง

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: ก.ย. 11, 2013, 08:56 AM »
0
คำถามที่สี่
   ปรากฏว่า  บรรดามุสลิมในสมัยแรก  ๆ ไม่เคยรู้จักตะเซาวุฟ  นอกจากในช่วงหลังศตวรรษแรก
ก.    อิสลามจำเป็นต้องมีตะเซาวุฟด้วยหรือ?
ข.   ตะเซาวุฟเป็นสิ่งเติมแต่งขึ้นในอิสลามใช่หรือไม่?
ค.   อะไรคือความแตกต่างระหว่าง  “อัซซุฮดุ”  (การมีสมถะ)  ในอิสลามกับคำว่าตะเซาวุฟ?
คำตอบ
ก.   ใครเข้าใจว่า  บรรดาพี่น้องมุสลิมในสมัยแรกไม่เคยรู้จักตะเซาวุฟนอกจากในช่วงสามศตวรรษหลังการเผยแผ่อิสลาม ?   ความเข้าใจดังกล่าวนั้นคือ  ความสับสนทางประวัติศาสตร์  โดยปราศจากหลักฐานและหากหมายถึง  ไม่เคยรู้จักกับ  (คำว่าตะเซาวุฟ)  นอกจากหลังสามศตวรรษแรกก็ยังเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง  ทั้งนี้เพราะคนอาหรับต่างรู้จักคำว่า  ตะเซาวุฟนี้มาตั้งแตกก่อนการประกาศศาสนาอิสลามในคาบสมุทรอาหรับ  เพียงแต่ได้เอาคำนี้มาเรียกชนกลุ่มนี้  ในสมัยการรวบรวมอัล-กุรอานแลอัล-ฮาดีส  เนื่องจากความลือลั่นแห่งการเป็นวีรบุรุษและการชอบสวมใส่อาภรณ์ที่ทำด้วยขนสัตว์ของชนกลุ่มนี้  อีกทั้งเนื่องจากชนกลุ่มนี้แต่งกายอยู่ในชุดนักรบตลอดเวลา  (หมายถึงเตรียมตัวพร้อมเพื่อพลีเพื่อต่อสู้ด้วยชีวิต)
จึงสรุปได้ว่า  ตะเซาวุฟของมุสลิมนั้น  คือการเรียกร้องสู่ศักยภาพและเสรีภาพ  ภราดรภาพ  และความช่วยเหลือ  ความเป็นพี่น้อง  ความมีเอกภาพ  ทั้งหมดที่กล่าวมนี้  โดยการเร่งผลักดันให้อยู่ในระดับสูงสุด  ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสถาปนามุสลิมให้เพียบพร้อมและมีความสมบูรณ์
วิชาตะเซาวุฟนี้  ได้รวบรวมเป็นหมวดหมู่ขึ้นในช่วงเดียวกันกับการรวบรวมอัล-ฮาดีส  และได้สะพรั่งขึ้นในตอนปลายของศตวรรษที่หนึ่ง  และในตอนต้นศตวรรษที่สอง
หากจะหมายความว่า  สาระของวิชานี้  หรือคำนิยามของวิชานี้  หรือจุดมุ่งหมายของวิชานี้  ไม่เป็นที่รู้จักกันในสมัยแรก  นอกจากในสมัยถัด ๆ  มา  ความเข้าใจผิดเช่นนี้ก็เป็นเรื่องที่ไม่น่าให้อภัย  เพราะตะเซาวุฟก็คือความหมายกว้าง ๆ ของอิบาดะฮ์และจรรยาบรรณ  ซึ่งทั้งสองคำนี้  ก็ปรากฏเป็นคำสอนชัดเจนอยู่ในอัล-กุรอานและอัล-ฮาดีส  ซึ่งก็เหมือนกับวิชาอื่น ๆ  ในอิสลาม  แม้คำว่าตะเซาวุฟจะยังไม่รู้จักกันในสมัยนั้น  แต่บรรดาอิบาดะฮ์ต่าง ๆ  ตลอดจนคำสอนที่ขัดเกลาพฤติกรรมการฝึกฝนวิธีการใช้งบประมาณเวลา  และสัมพันธภาพระหว่างบ่าวกับพระผู้เป็นเจ้า  ทั้งหมดเหล่านี้มีบันทึกปรากฏชัดแล้วในศาสนาของอัลลออฮ์ (ซ.บ.)  นั่นคือวิชาตะเซาวุฟ (มนุษย์เขาเรียกกันอย่างนั้น) อย่างไรก็ตามสำหรับชื่อตะเซวุฟนั้นเป็นของใหม่  กล่าวคือเพิ่งเรียกกัน  ส่วนสาระนั้นมีมาแต่เดิม  สภาพเช่นนี้ก็เหมือนกับสภาพของวิชาศาสนาแขนงอื่น ๆ
แน่นอน  ไม่เรียกว่าเป็นบิดอฮ์เพราะในสมัยโน้นก็ไม่มีวิชาที่ชื่อฟิกฮ์  หรืออุศู้ลฯ  หรืออื่น ๆ ที่เราเรียกกันอยู่ในขณะนี้  อย่างไรก็ตาม  สำหรับสารัตถะหรือเนื้อหาของวิชานี้เป็นที่ปรากฏอยู่ในอัล-กุรอาน  และอัลฮาดีส
เมื่อได้รวบรวมหรือแยกแยะให้เป็นเรื่อง ๆ ก็ได้เรียกชื่อเป็นการเฉพาะเรื่องนั้น ๆ ตามสภาพเนื้อหาหรือผู้สนใจศึกษา  ดังนั้น  เมื่อเอ่ยคำว่า  ตะเซาวุฟ  ก็ให้หมายถึงคำสอนจากอัล-กุรอาน  และอัล-ฮาดีสที่กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้
สำหรับที่ว่าอิสลามต้องมีตะเซาวุฟด้วยหรือ ?  หากเป็นเช่นนั้น  อิสลามก็ยังไม่สมบูรณ์  เพราะยังต้องประกอบให้เกิดความสมบูรณ์ด้วยสิ่งอื่นนั้น  ขอชี้แจงว่า   อิสลามนั้น  คือการปฏิบัติตามด้วยลักษณะภายในมิฉะนั้นจะเรียกว่า  สับปลับปากอย่างหนึ่งใจอย่างหนึ่ง
การปฏิบัติตามด้วยลักษณะภายในนั้น  คือ  การศรัทธา  การบริหาร   การควบคุมหัวใจ  เราเรียกการกระทำแบบนี้ว่า  “ตะเซาวุฟ”
ตะเซาวุฟจึงไม่ใช่สิ่งอื่นจากอิสลาม  ถึงขนาดนำมากล่าวว่า  อิสลามต้องมีตะเซาวุฟ  ตะเซาวุฟจึงมีฐานะประหนึ่งแก่นของศาสนา  ซึ่งก็คือคุณธรรม  ความยำเกรงการขัดเกลา  ตลอดจนการกระทำตามความรู้เพื่ออัลลอฮ์ดังได้กล่าวมาแล้ว  จะสังเกตได้ว่า  เนื้อหาของตะเซาวุฟนี้คือเป้าหมายสูงสุดซึ่งจะมีโอกาสบรรลุสู่เป้าหมายนั้นได้ก็เฉพาะผู้ที่แสวงหา (ซาลิก)  ผู้ที่มีเจตนา  ผู้ที่ได้รสชาดแห่งธรรม
ดังกล่าวนี้แหละคือ  คำตอบของคำถามที่ว่าตะเซาวุฟนั้นคือข้อมูบใหม่ในอิสลามกระนั้นหรือ?  แม้คำถามจะยังไม่เกิดขึ้น  ก็ได้มีคำตอบที่ชัดเจน  ที่สามารถให้ความกระจ่างชัดแล้ว
คำถามอย่างนี้จะเกิดขึ้นได้หรือ?  เมื่ออัลกุรอานกล่าวว่า

ความว่า  “วันนี้เป็นวันที่ฉันได้ทำให้ศาสนาของพวกท่านสมบูรณ์แล้วและเป็นวันที่ฉันได้มอบเนี๊ยะมัตของฉันแก่พวกท่านอย่างครบครันแล้วและฉันยินดีมอบอิสลามเป็นแนวทางดำเนินชีวิตของพวกท่าน”
ตะเซาวุฟที่ถูกต้องนั้นคือ  อิสลามระดับสูง
ค.  สำหรับความแตกต่างระหว่างตะเซาวุฟกับคำว่า  อัซซุฮ์ดุ  ในอิสลามนั้น  ขอตอบว่า  ซูฟีนั้นลึกซึ้งกว่าซาฮิด  เพราะคนซาฮิด(หรือคนที่สมถะ)นั้น   เขาซาฮิดเรื่องของดุนยาซึ่งไม่มีอะไรจีรังเลย  จึงเป็นซาฮิดที่ไม่ถูกต้องเป็นลักษณะซาฮิที่โง่เขลา  แต่ลักษณะซาฮิดของซูฟีนั้นเป็นซาฮิดในสิ่งอื่นจากอัลลอฮ์กล่าวคือ  ห่างไกลสิ่งอื่นจากอัลลออฮ์  ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีอยู่ที่ไหน   
มีซูฟีท่านหนึ่งได้พบกับค่อลีฟะห์ท่านหนึ่ง  ทั้งสองได้เสวนากันแล้ว  ค่อลิฟะฮ์ท่านนั้นได้มอบของขวัญของที่ระลึกอย่างหนึ่  ซึ่งยังไม่เคยมอบให้ใครมาก่อนแต่ซูฟีไม่ยอมรับ  ทำให้ค่อลีฟะฮ์ท่านนั้นแปลกใจถึงกับกล่าวขึ้นว่า  “อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้ท่านมีสมถะ”  ซูฟีตอบว่า  “หากแต่ท่านมีสมถะมากกว่าฉัน”  คอลีฟะฮ์ถามว่า  มันเป็นอย่างไร  ช่วยอธิบาย  ซูฟีกล่าวว่า  “เพราะฉันสมถะเกี่ยวกับดุนยา  ซึ่งมันไม่มีอะไรเลย  ส่วนท่านมีสมถะในอาคิเราะฮ์  ซึ่งมีทุกสิ่งทุกอย่าง
อัซซุฮ์ดุ  ในความหมายของซูฟีนั้น  เปรียบได้กับเรื่องของดุนยานี้อยู่ในมือมิได้อยู่ในหัวใจส่วนอัซซุฮ์ดุที่มิใช่ซูฟีนั้น  เปรียบได้กับพ่อค้า  ซึ่งไม่สนใจสิ่งต่าง ๆ  ในดุนยา  เพื่อผลตอบแทนอย่างท่วมท้นในอาคิเราะฮ์ไม่เหมือนกับซูฟีที่ไม่ห้ามตัวเองต่อการที่จะไม่สนใจดุนยาที่อัลลอฮ์ทรงหะล้างให้  นอกจากจะเป็นสิ่งที่ปิดบังหรือขวางกั้นระหว่างเขากับพระผู้เป็นเจ้า
ท่านอะบุ้ลฮะซัน  อัซซาซิลีย์  เป็นพ่อค้า  เป็นเกษตรกร  และท่านซัมซุดดีน  อัดดิมยาตีย์  ก็เป็นพ่อค้าซึ่งท่านผู้นี้เปรียบได้กับดาวแห่งอุละมาอ์ซูฟีท่านเป็นผู้ก่อสร้างหอคอยแห่งเมืองดิมยาต  ด้วยทรัพย์สมบัติของท่านเองในสมัยของสุลต่านอัลเฆารีย์  ส่วนท่านอัลลัยษ์  บินซ๊ะดินนั้น  เป็นผู้เชี่ยวชาญนิติศาสตร์ที่มิศริเป็นผู้นำกลุ่มซาฮิดในมิศริ  เป็นผู้ที่ร่ำรวยที่สุดในสมัยนั้นซญึ่งทรัพย์สินอันมากมายนั้น  มิได้เป็นเหตุหักห้ามการมีสมถะอันสูงสุดของเขา  แต่กลับเป็นสะพานทำให้เขาสู่ผู้อภิบาล
นี่เป็นอุทธาหรณ์สำหรับผู้ใฝ่การเป็นซาฮิด  ซึ่งหากไม่เข้าใจอย่างถูกต้องแล้วจะกลายเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ใช้ประช์อะไรไม่ได้ (กากเดน)  ผู้ที่มีความเข้าใจถึงสมถะว่า  คือ  สมถะในสิ่งที่เป็นวัตถุนั้น  เป็นผู้ที่เข้าใจไม่ถูกต้อง  (คร่ำครึ)  ละทิ้งดุนยาเพื่อทำอิบาดะฮ์แต่เพียงประการเดียวนั่นคือผู้ที่ไม่เข้าใจหลักการที่ถูกต้องของตะเซาวุฟในอิสลาม
อัซซุฮ์ดุที่อยู่ในกรอบนั้น  ก็คือ  ซุฮ์ดุของบรรดาซฮฮาบะฮ์  ตาบิอีนตลอดจนผู้ที่อยู่ในสมัยถัด ๆ  มาซึ่งมีคุณธรรมทั้งหลาย  เช่น  ซุฮ์ดุของท่านซัยยิดินาอุมัร  บิน  อัลค๊อตต๊อบ  และอุมัร  บินอับดุลอะซีซ  ซึ่งปรากฏว่าดุนยานี้ในอุ้งมือของพวกเขา  แต่มันไม่ได้อยู่ในหัวใจของพวกเขา
สรุปแล้ว  ผู้ที่มีสมบัติเป็นกรรมสิทธิ์  คือ  ผู้ที่สมถะได้  ส่วนผู้ที่ไม่มีอะไรเป็นกรรมสิทธิ์อยู่เลยนั้น  เขาจะสมถะกับอะไร

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: ก.ย. 11, 2013, 09:03 AM »
0
คำถามที่ห้า
ก.   ไฉนท่านจึงกล่าวว่า  บรรดาผู้นำ (เชค)   วิชาตะเซาวุฟนั้น  เป็นชาวฟาริซีย์  และหรือลูกหลานของบรรดาผู้ที่บูชาดวงอาทิตย์หรือไฟ  แล้วก็อ้างว่ามีมาตั้งแต่สมัยแรกของอัล-อิสลาม
ข.   และทำไมท่านจึงกล่าวว่า  วิชาตะเซาวุฟเพิ่งสะพรั่งขึ้นเมื่อศตวรรษที่เจ็ดและในสมัยถัด ๆ ไป  แล้วก็อ้างว่า  มาจากท่านร่อซูล ศ้อลฯ
คำตอบ
ก.   โอ้  ลูกรักมันคือความมืดมิดของลุก  ทำไมลูกจึงถามคำถามอย่างนี้ขึ้นมาได้  มันเป็นคำถามที่อัลลอฮ์และร่อซูลของพระองค์ไม่ให้อภัย  ลูกไม่เคยอ่านโองการแห่งพระเจ้าที่ว่า

ความว่า  แท้จริงผู้ซึ่งมีเกียรติยิ่งในหมู่พวกท่านทั้งหลาย  ณ เบื้องอัลลอฮ์นั้น  คือผู้ที่มีความยำเกรงมากที่สุดในหมู่พวกท่านทั้งหลาย”
และโองการที่ว่า

ความว่า  “บรรดามุมินนั้น  เป็นพี่น้องกัน”
และฮาดีสของท่านศาสนทูตที่ว่า

ความว่า  “คนผิวขาวมิได้ประเสริฐกว่าคนผิวแดงคนอาหรับมิได้ประเสริฐกว่าคนอะญัม  นอกจากด้วยตักวาเท่านั้น”
และท่านไม่เคยรู้หรือว่า  ร่อซูล  ศ้อลฯ  ได้ประกาศความสัมพันธ์กับซัลมาน  อัลฟารีซีย์ขนาดไหน  ท่านเคยกล่าวว่า

ความว่า  “ซัลมานเป็นส่วนหนึ่งจากเรา  เป็นอะฮ์ลุ้ลบัยต์ด้วย”
ร่อซู้ลมิได้ถูกแต่งตั้งมายังมนุษย์ชาติทั้งมวลเพื่อแจ้งขาวดีแก่ผู้ปฏิบัติตาม  และข่าวร้ายแก่ผู้ทรยศดอกหรือ?
นั้นมันเป็นความร้อนระอุของชาวอานารยชนที่เผาผลาญมวลมนุษย์ที่ไม่คิด  ไม่มีหลักฐาน  แล้วก็พูดแล้วก็สงสัย  อยากถถามว่าอิสลามนั้น  อัลลอฮ์ประทานให้แก่ชาวอาหรับเท่านั้นกระนั้นหรือ  ส่วนผู้ที่ไม่ใชอาหรับได้ยื้อแย่งหรือปล้นสะดมเอาไป  จนกลายเป็นผู้ที่ผินหลังให้อิสลามไปเสีย
อิหม่ามบุคอรีย์  ติรมิซีย์  นะซาอีย์  อิบนุมาญะฮ์  ต๊อบรอนีย์  บัยหะกีย์  และผู้รายงานฮาดีสส่วนใหญ่นั้นมิใช่ชาวอาหรับ  ตลอดจนส่วนใหญ่จากนักอธิบายอัลกุรอาน  อย่างเช่น  ซามัดซารีย์  นัยซาบูรีย์  ตลอดจนบรรดาอุละมาอ์วิชาโวหารศาสตร์  เช่น  ญัรญานีย์  และตัฟตาซานีย์  ก็มิใช่ชาวอาหรับ
ใครคือ  ตอริก  บินซัยยาด  มูซา บิน นะศีร เขาทั้งสองเดิมเป็นทาสแต่ก็เป็นผู้บุกเบิก  ผู้สร้างรกฐานอันมั่นคงให้แก่อิสลาม  ซึ่งจารึกอยู่ในหน้าทองแห่งประวัติศาสตร์ที่กลาลเวลามิสามารถลบออกไปจากหัวใจของมุสลิมได้
โอ้ ลูกของฉัน  อัลลัยษ์ บิน ซะอัด  ผู้ซึ่งเป็นผู้นำอียิปต์  เดิมท่านผู้นี้เป็นชาวอัศบะฮน  และอีหม่ามอะห์มัด บิน ฮัมบัล เดิมเป็นชาวมิรวุ  และอิหม่ามอัตต๊อบรอนีย์  ผู้ซึ่งเป็นนักอธบายอัล-กุรอาน  เดิมเป็นชาวต๊อบร๊อสตานีย์  ท่านหะซัน  อัล-บัสริ  ดาวดวงเด่น  บิดาของท่านเป็นชาวมีซาน
จงฟังนะลูกของฉัน  นักนิติศาสตร์ของมักกะห์  อะออ์ บิน ริบาห์  นักนิติศาสตร์ของยะมัน คือ ตอวูซ บิน กัยซานนักนิติศาสตร์ยะมามะห์  คือ  ยะห์ยา บินอะบีกะษีร นักนิติศาสตร์ซีเรีย คือ มักหูล นักนิติศาสตร์แอลจีเรีย  คือมัยมูน บิน มะฮ์รอน  นักนิติศาสตร์คุรอซาน คือ อัดดอฮาก บิน มะซาฮิม นักนิติศาสตร์บัศเราะฮ์  และกูฟะฮ์  คือ อิบรอฮีม  อันนัคอีย์  และอิบนุซีรีน  ทั้งหมดที่กล่าวมานี้  เดิมมิใช่ชาวอาหรับ  แต่พวกเขาได้พยายามทุ่มเทความสามารถเพื่อการศึกษา  และคิดเพื่อม๊ะรีฟะฮ์  และเพื่อศาสนาจนกระทั่งเป็นผู้นำอย่างครบวงจร
ซิบวัยฮ์  กิซาอีย์  อิบนุมัสกะวียะฮ์  อิบนุซีนาอ์ฟารอบีย  ท่านเหล่านี้คือนักอักษรศาสตร์ที่มีชื่อเสียงต่างก็เป็นชาวฟารีซีย์ทั้งสิ้น
ใครจะประเสริฐหรือเลอเลิศกว่าใคร  มันอยู่ที่อุดมการณ์  อยู่ที่ความรู้มิใช่อยู่ที่พันธุกรรม  หรือชาติตระกูล  ท่านนบีเคยบัญชาให้  อุซามะฮ์ บิน เซด  เป็นแม่ทัพ  ซึ่งอบูบักร  และอุมัรก็อยู่  และเมื่ออุมัรต้องการให้นะบีแต่งตั้งเป็นผู้แทน  ท่านกล่าวว่า  หากซาเล็มซึ่งเป็นทาสของหุซัยฟะฮ์  ยังมีชีวิตอยู่  ฉันจะแต่งตั้งเขา 
จงพิจารณา  ข้าพเจ้าได้นำมากล่าวเพื่อเป็นแง่คิดในเรื่องนี้ด้วยเจตนาของข้าพเจ้า  บรรดาบุคคลเหล่านี้ก็คือ  น้อตหรือตะปูที่ตอกหรือขันเพื่อความแข็งแรงแห่งโครงสร้างอันมีเอกภาพของอัล-อิสลาม
ขอนำสู่คำถามของท่านที่ว่า  ผู้นำตะเซาวุฟส่วนใหญ่เป็นชาวฟารีซีย์ก็เพราะพวกเขาได้พยายามให้ความสนใจในเรื่องนี้  ก็เหมือนกับท่านผู้อื่นที่ให้ความสนใจในเรื่องอื่น ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว  พวกเขาจึงมีสิทธิ์ที่จะเป็นชนชั้นแนวหน้าในสาขาวิชานั้น ๆ  เหนือมุสลิมคนอื่น ๆ หากจะกล่าวว่าเขาทำอย่างนั้นโดยมีเจตสาเพื่อทำลายอิสลามจากเบื้องในละก็  ลองพิจารณาดู  หากเรามั่นใจว่าคนฟารีซีย์นั้นไม่ดี  หรือคนที่ไม่ใช่อาหรับนั้นไม่ดี  แน่นอนความรู้เกี่ยวกับอิสลามถึงหนึ่งในสามเราจะต้องทิ้งไป  และสิ่งแรกที่ต้องทิ้งก็คือ ฮาดีส  บุคคอรีย์  อย่างนี้จะเป็นการถูกต้องหรือเป็นตรรกแล้วหรือที่มนุษย์ผู้ครองปัญญาอันสมบูรณ์จะเข้าใจเช่นนั้น
และที่ว่า  คือลูกหลานของชาวผู้บูชาดวงอาทิตย์  หรือไฟนั้น  ก็ลองคิดดูบรรดาซอฮาบะฮ์หรืออัครสาวกนั้นเดิมก็คือมุชริกนเสียเป็นส่วนใหญ่หรืออาจกล่าวได้ว่าทั้งหมดเลยก็ได้  ต่างเป็นลูกหลานของมุชริกีนทั้งนั้น
และที่ว่า  ชาวอาหรับ  เริ่มสนใจวิชาตะเซาวุฟมากขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่เจ็ดเรื่อยมานั้น  หมายถึงก่อนจากศตวรรษดังกล่าวนั้น   มีผู้สนใจทั้งชาวอาหรับและไม่ใช่อาหรับ  ซึ่งลักษณะเช่นนี้ก็คือวิวัฒนาการของวิชาตะเซาวุฟและวิชาอื่น ๆ หรือเรื่องอื่น ๆ ที่มักจะให้ความสนใจกันอย่างกว้างขวางในระยะเริ่มๆ แล้วก็จะค่อย ๆ เหลือเพียงบางกลุ่มบางพวกที่ยังคงอนุรักษ์และให้ความสนใจ
เช่น  นักซูฟีในศตวรรษที่เจ็ด  อย่างเช่น  อะบิ้ลหะซัน  อัซซาซิลีย์  อะหมัด อัลบะดะวีย์   อิบนุดะกีกอัลอีด  นัจมุดดีน อัลคุซัยรีย์  ซะกียุดดีน อัล-มุนซีรีย์  และในศตวรรษที่หกมี  อะห์มัด อัรรอฟาอีย์ และอะบีมัดยันและในศตวรรษที่ห้ามีท่านอิหม่ามฆอซาบลีย์  และอับดุบกอเดร  และในศตวรรษที่สี่มี  อัล-ญุเนด  กับอัซซะบะบีย์  และก่อนหน้านั้นก็มี  อัล-หะซัน อัล-บัศรีย์  ซุฟยาน อัษเษารีย์  มาลิก อิบนุดีนาร  อิบรอฮีม บินดัดฮัม  ฟุดัยล์ บิน อิบาด  ซะกีก อัล-บุลกีย์  และฮาเต็ม อัล-อะศ๊อบ  ทุกๆ สมัยมาก็มีทั้งคนเชื่อและคนไม่เชื่อ  อีกทั้งมีทั้งของแท้  และของเทียม
อีกทั้งเมื่อสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นทั้งในรูปที่หล่อหลอมหรือเหลวแหลกก็เป็นเหตุทำให้ความสะพรั่งและความสนใจในวิชาตะเซาวุฟได้รับผลกระทบเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย  ลักษณะดังกล่าวนี้คือความสะพรั่งที่ข้าพเจ้าหมายถึงในตอนต้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 11, 2013, 09:07 AM โดย mjehoh »

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: ก.ย. 11, 2013, 09:08 AM »
0
คำถามที่หก
   เป็นเรื่องใส่ไคล้ที่ฟาดฟันวิชาตะเซาวุฟ
   ก.  ไม่มีที่มาจากอัล-กุรอานและอัล-ฮาดีส
   ข.  เป็นเรื่องแปลกปลอมในอัล-อิสลาม
   ค.  เป็ฯวิชาที่ให้เอี๊ยะติกอด  ในสิ่งที่ขัดกับวิชาเตาฮีด  เช่น  การเปลื้อง  การสมาคม(กลุ่ม)  และการสันโดษ
   ง.  เป็นวิชาที่ให้ยกย่องครู  ถึงกับเชื่อมั่นกันว่าครูช่วยเหลือในยามทุกข์ยาก  ครูให้คุณให้โทษได้
   จ.  เป็นวิชาที่ให้ตะวักกั้ลและไม่สนใจในสิ่งใด ๆ
คำตอบ
   ก.  ที่ว่าตะเซาวุฟไม่มีที่มาทั้งจาก  อัล-กุรอาน  และอัลฮาดีส นั้นเป็นคำถามที่ขัดกับความเป็นจริงเพราะตะเซาวุฟก็คือ  อิบาดะฮ์  จรรยาบรรณ  ตรวจสอบตัวเอง  การตัดสินใจดำเนินชีวิตในทางที่ปลอดภัย  ตลอดจนการต่อสู้กับอารมณ์และมารร้าย  หากสิ่งต่าง ๆ  เหล่านี้ถือว่าไม่มีใน อัล-กุรอานและอัล-ฮาดีส  ก็แปลว่าผู้ที่เข้าใจเช่นนั้นเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ใน อัล-กุรอาน และอัล-ฮาดีสอยู่เลย  เราได้กล่าวมาแล้วมากมายในตอนต้นว่าผู้ที่มีตะเซาวุฟในอิสลามนั้นคือมุสลิมตัวอย่าง  ซึ่งไม่มีการปฏิเสธได้นอกจากผู้ที่ตามอารมณ์ตัวเองเท่านั้น
   ข.  และด้วยเหตุผลที่ได้กล่าวมานี้  และที่ได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่ตอนต้นย่อมแสดงให้เห็นว่า  ตะเซาวุฟนั้นมาจากอะกีดะฮ์  และหลักการทั่ว ๆ ไปของอิสลามทั้งที่  สรุปและชัดเจน  หาใช่เป็นเรื่องแปลกปลอมที่เกิดขึ้นในศาสนาของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ไม่  หากแต่สิ่งแปลกปลอมนั้นคือคำถามในลักษณะเช่นนี้พึงรู้ว่านั่นคือสินค้าที่รับซื้อกันมาจากบรรดาประเทศที่ล่าเมืองขึ้น  หรือแผนทำลายอิสลามของชาวยิว
   ค.  ที่ว่าตะเซาวุฟเป็นวิชาที่ให้ความเชื่อมั่นแตกต่างไปจากวิชาเตาฮีดนั้น  นั่นมิใช่ตะเซาวุฟของมุสลิมแม้ว่าในปัจจุบันยังคงมีอยู่บ้างที่พยายามขุดสุสานแห่งความคิดที่ไม่ถูกต้องนั้นขึ้นมาอีกก็ตาม  เนื่องจากความมือความบอดที่ไม่อาจมองเห็นสัจธรรมแท้ของพวกเขาซึ่งพวกเหล่านี้เราไม่ขอพูดถึงเพราะพวกเขามีแต่ฟะนาไม่มีบะกอ
   ง.   ส่วนที่ว่าตะเซาวุฟเรียกร้องให้ยกย่องครู  และเชื่อว่าครูให้ความช่วยเหลือในยามทุกข์ยาก  อีกทั้งให้คุณให้โทษได้นั้นเป็นคำพูดที่ไม่ถูกต้อง  เพราะวิชาตะเซาวุฟเคารพครูประดุจพ่อของวิญญาน  อันได้แก่เจริญรอยตามคุณธรรมอิสลามจากครู  ดังมีฮาดีสกล่าวว่า
   
   ความว่า  “ผู้ที่ไม่ให้เกียรติผู้อาวุโสของเรา  ไม่เมตตาต่อพี่น้องของเรา  ไม่รู้จักหน้าที่พึงปฏิบัติต่อผู้รู้ของเรา  พวกเหล่านี้ไม่ใช่พวกเรา” 
   ท่านคงไม่ลืมที่อัลลอฮ์ได้สอนมารยาทให้แก่บรรดาซอฮาบะฮ์โดยให้เลียนแบบจากท่านร่อซูล ศ้อลฯ  นั่นคือ  การตามมารยาทที่ผู้ตามต้องลอกเลียนแบบจากผู้ที่ถูกตาม  (ดูซูเราะห์  อัล-หุญรอต)
   ส่วนการขอให้ครูช่วยขอดุอาอ์ให้นั้น  เป็นมารยาทของอิสลามที่กำหนดไว้  ซึ่งผู้ที่อ่านและทำความเข้ามจในบทที่ว่าด้วยการขอดุอาย่อมรู้ดี
   และที่เข้าใจว่า  ครูให้ทุกข์หรือสุขได้นั้น  ที่จริงผู้ที่ให้ทุกข์หรือสุขได้นั้น คือ อัลลอฮ์ (ซ.บ.)  เพียงพระองค์เดียว  และในเมื่อครูโกรธเนื่องจากลูกศิษย์ฝ่าฝืนหรือทรยศต่ออัลลอฮ์แล้วได้ขออุอาอ์  อัลลอฮ์ท่านก็จะโกรธเนื่องจากวะลีของพระองค์อันหมายถึงครู (เชค)  โกรธลักษณะเช่นนี้มิได้หมายความว่า  ครูคือผู้ให้ทุกข์หรือสุข  เหมือนกับฮาดีสที่ว่า

   ความว่า  “หากเขาขอฉัน  ฉันจะให้เขา  และหากเขาขอให้ฉันปกป้องฉัก็จะปกป้องให้เขา  ฮาดีษบุคอรีย์
   การที่เข้าใจกันไปอื่นจากที่กล่าวมานี้  เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องหรือยกย่องครูจนเกินไป
   จ.  ที่ว่าตะเซาวุฟเรียกร้องให้ตะวักกุล  (ไม่ต้องคิดไม่ต้องทำอะไรนอกจากหวังและรอคอยเท่านั้น)  หรือเรียกร้องให้ปฏิเสธ  หรือแอนตี้  ไม่อีนังขังขอบกับอะไรทั้งสิ้น 
   ที่จริงตะเซาวุฟที่แท้จริงที่ถูกต้องนั้น  คือ อิสลามและก็ไม่มีในอิสลามลักษณะดังกล่าวข้างต้น  หากแต่นั่นคือโรคร้ายของสังคมที่เกาะติดอยู่กับตะเซาวุฟที่ไม่ถูกต้อง
   ท่านอับดุลลอฮ์  บิน อัล-มุบาร๊อก  ท่านทำฮัจย์ปีหนึ่ง  และทำการต่อสู้ปีหนึ่ง
   ท่านซะกีก  อัล-บุลดี่  เป้นทหารม้าที่ห้าวหาญอยากตายในสมรภูมิเพื่ออิสลาม
   ท่านฮาเต็ม อัล-อะศ๊อมก็เช่นกัน  เป็นนักรบที่กล้าหาญ  ท่านเป็นผู้ที่มีอุดมการณ์  และมีความสามารสูง
   สำหรับท่านอะบาอัล-ฮะซัน  อัซซาซิลีย์  ท่านเป็นเกษตรกร  เป็นพ่อค้า
   ท่านซำซุดดีน  อัดติมยาตีย์  ท่านเป็นผู้สร้างหอคอยแห่งเมืองคิมยาตด้วยทรัพย์ส่วนตัวของท่าน  จากผลกำไรในธุรกิจการค้าของท่าน
   หากเราจะได้ติดตามศึกษาประวัติของผู้สนใจวิชาตะเซาวุฟ  หรือที่เรียกในวิชาตะเซาวุฟว่า  “มุรีด”  จะพบว่า  ต่างก็สนับสนุนให้สานุศิษย์มีงานทำ  มีผลผลิตและเราจะรู้ได้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนึ้จากท่านนะบี ศ้อลฯ  ตลอดจนบรรดาผู้อาวุโสในวิชาตะเซาวุฟในทางของอัลลอฮ์ (ซ.บ.)  ที่พวกเขามั่นใจว่า  พวกเขาจะไม่สามาถอยู่บนโลกนี้ในฐานะคิลาฟะฮ์ของอัลลอฮ์ได้  หากเขางอมืองอเท้า  หรือแบมือขอแต่เพียงประการเดียว  ดังน้น  หากพบว่าใครคนใดลุ่มหลงลงลึก  ก็มิได้หมายความว่าคนอื่น  จะเป็นเช่นนั้นด้วย
   มีในฮาดีสระบุว่า  สาวกของท่านบางคนทุ่มเทเอาจริงเอาจังกับบางเรื่องบางประการรุนแรงมากว่านักบวช  แล้วท่านนะบี ศ้อล ฯ  ได้ห้ามการกระทำเช่นนั้น  ดังนั้นการที่เห็นว่ามีบางท่านทำตัวอย่างนี้  ก็หาใช่นั่นคือกฏคือทฤษฑีที่จะนำมาเข้าใจได้ว่า  คนทั้งหมดเขาทำกันอย่างนั้น  และก็จะถือว่า  เมื่อคนอื่นไม่ทำเช่นนั้นจะถูกตำหนิกันไปหมดว่าไม่เคร่งครัด
   ผู้สนใจตะเซาวุฟ (มุรีด)  ท่านหนึ่งได้ไปพักที่บ้านครู (เชค)  ในฐานะแขกผู้มาเยือน  ท่านครูได้ต้อนรับขับสู้อยู่สามวัน  แล้วได้กล่าวแก่ท่านนั้นว่า  “โอลูกรัก  เวลาของการรับรองแขกได้หมดลงแล้ว  ท่านผู้มาเยือนกล่าวว่า  สำหรับผู้ที่งอมืองอเท้าให้คนอื่นคอยอุปการะนั้นมิใช่ซูฟีในหมู่พวกเรา  ซูฟีนั้นต้องใช้เคื่องมือทำมาหากิน  เช่น เลื่อย ฆ้อน  และ ฯลฯ  เป็นลูกประคำเพื่อการซิกรุลลอฮ์
   เดิมทีเดียวชื่อซูฟีนั้น  หมายถึง  อาฃีพ  และหน้าที่การงานต่าง ๆ ของผู้นั้น  เช่น อัดดัก๊อก อัซซัมม๊าก  อัล-วิร๊อก  อัล-ค่อว๊าศ นั้น  เรารู้จักชื่ออย่างนี้ก็เพราะพวกเขาเป็นตัวอย่างของมุสลิมที่สมบูรณ์แบบ  ทั้งในแง่อีหม่าน(อุดมการณ์)  ตลอดจนพฤติกรรม  และสัมพันธภาพอันดีงามที่มีต่ออัลลอฮ์
   ดังนั้น  การงอมืองอเท้าจึงเป็นโรคร้าย  หรือเป็นพฤติกรรมที่แปลกปลอมสอดแทรกเข้าไปในตะเซาวุฟที่ถูกต้อง  ซึ่งบรรดาอุละมาอ์ซูฟีได้ต่อต้านมาแล้วในทุกรูปแบบ

 

GoogleTagged