ทัศนะของสะละฟุศศอลิห์เกี่ยวกับคืนนิศฟุชะอฺบาน
ท่านมุฮัมมัด บิน อิสหาก (เสียชีวิต ฮ.ศ. 227) ได้กล่าวบันทึกประวัติศาสตร์ในยุคสะลัฟไว้ความว่า
ذِكْرُ عَمَلِ أَهْلِ مَكَّةَ لَيْلَةَ النِّصْفِ مِنْ شَعْبَانَ وَاجْتِهَادِهِمْ فِيهَا لِفَضْلِهَا وَأَهْلُ مَكَّةَ فِيمَا مَضَى إِلَى الْيَوْمِ إِذَا كَانَ لَيْلَةُ النِّصْفِ مِنْ شَعْبَانَ، خَرَجَ عَامَّةُ الرِّجَالِ وَالنِّسَاءِ إِلَى الْمَسْجِدِ، فَصَلَّوْا، وَطَافُوا، وَأَحْيَوْا لَيْلَتَهُمْ حَتَّى الصَّبَاحَ بِالْقِرَاءَةِ فِي الْمَسْجِدِ الْحَرَامِ، حَتَّى يَخْتِمُوا الْقُرْآنَ كُلَّهُ، وَيُصَلُّوا، وَمَنْ صَلَّى مِنْهُمْ تِلْكَ اللَّيْلَةَ مِائَةَ رَكْعَةٍ يَقْرَأُ فِي كُلِّ رَكْعَةٍ بِالْحَمْدُ، وَقُلْ هُوَ اللهُ أَحَدَ عَشْرَ مَرَّاتٍ، وَأَخَذُوا مِنْ مَاءِ زَمْزَمَ تِلْكَ اللَّيْلَةَ، فَشَرِبُوهُ، وَاغْتَسَلُوا بِهِ، وَخَبَّؤُوهُ عِنْدَهُمْ لِلْمَرْضَى، يَبْتَغُونَ بِذَلِكَ الْبَرَكَةَ فِي هَذِهِ اللَّيْلَةِ، وَيُرْوَى فِيهِ أَحَادِيثُ كَثِيرَةٌ
“กล่าวถึงการปฏิบัติของชาวมักกะฮ์ในคืนนิศฟุชะอฺบานและการที่พวกเขาทุ่มเทให้แก่ความประเสริฐของคืนนั้น ชาวมักกะฮ์ตั้งแต่อดีตจนถึงวันนี้ (หมายถึงในยุค ฮ.ศ. 200) เมื่อถึงคืนนิศฟุชะอฺบาน ผู้คนทั่วไปทั้งชายและหญิงต่างออกไปที่มัสยิดอัลฮะรอม แล้วพวกเขาก็ทำการละหมาด เฏาะวาฟ ทำการฟื้นฟูค่ำคืนของพวกเขาด้วยการอ่านอัลกุรอ่านจบทั้งหมดในมัสยิดฮะรอมถึงยามรุ่งสาง แล้วพวกเขาก็ทำการละหมาด และผู้ใดจากพวกเขาได้ทำการละหมาดในค่ำคืนนั้น 100 ร็อกอะฮ์ และอ่านซูเราะฮ์อัลฮัมด์(ฟาติฮะฮ์)ในทุกร็อกอะฮ์พร้อมกับกุลฮุวัลเลาะฮ์ 10 ครั้ง และเอาน้ำซัมซัมในคืนนั้นมาดื่มและอาบ และได้เก็บน้ำนั้นไว้ให้แก่บรรดาผู้ป่วย พวกเขากระทำสิ่งดังกล่าวเพื่อแสวงหาบะรอกะฮ์ในค่ำคืนนี้และมีหะดีษมากมายที่ถูกรายงานเกี่ยวกับสิ่งดังกล่าว”ดู อะบูอับดิลลาฮ์ มุฮัมมัด บิน อิสหาก บิน อับบาส อัลมักกีย์ อัลฟากิฮีย์, อักฺบารมักกะฮ์ ฟี ก่อดีมิฮี วะ ฮะดีษิฮ์, ตะห์กีก: อับดุลมาลิก อับดิลลาฮ์ ฮุดัยช์ (เบรูต: ดารุ คิฎร์, พิมพ์ครั้งที่ 2, ฮ.ศ. 1414), เล่ม 3, หน้า 84.
ท่านอิบนุ อัลฮาจญฺ กล่าวว่า
وَبِالْجُمْلَةِ فَهَذِهِ الَّلْيَلَةُ وَإِنْ لمَ ْتَكُنْ لَيْلَةَ الْقَدْرِ فَلَهَا فَضْلٌ عَظِيْمٌ وَخَيْرٌ جَسِيْمٌ، وَكَانَ السَّلَفُ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمْ يُعَظِّمُوْنَهَا وَيُشَمِّرُوْنَ لَهَا قَبْلَ إِتْيَانِهَا، فَمَا تَأْتِيْهِمْ إِلاَّ وَهُمْ مُتَأَهِّبُوْنَ لِلِقَائِهَا وَالْقِيَامِ بِحُرْمَتِهَا، عَلَى مَا قَدْ عُلِمَ مِنْ اِحْتِرَامِهِمْ لِلشَّعَائِرِ
“โดยสรุปแล้ว ค่ำคืน(นิศฟุชะอฺบาน)นี้ หากแม้ว่าจะไม่ใช่คืนลัยละตุลก็อดร์ก็ตาม สำหรับค่ำคืน(นิศฟุชะอฺบาน)นั้นถือว่ามีความประเสริฐอย่างยิ่งและเป็นคืนแห่งความดีงามใหญ่หลวง เพราะชาวสะลัฟจะให้ความสำคัญกับคืนนี้และพวกเขาเตรียมพร้อมสำหรับคืนนิศฟุชะอฺบานก่อนที่จะมาถึง ดังนั้นคืนนิศฟุชะอฺบานจะไม่มาถึงนอกเสียจากว่าพวกเขาจะเตรียมพร้อมที่จะพบกับค่ำคืนนั้นและให้เกียรติตามที่รู้กันแล้ว(ข้างต้น)ว่าพวกเขาให้เกียรติต่อเอกลักษณ์ต่างๆ (ของคืนนิศฟุชะอฺบาน)”อิบนุลฮาจญ์ มุฮัมมัด บิน มุฮัมมัด อัลอับดะรีย์, อัลมัดค็อล (ไคโร: มักตะบะฮ์ ดารุตตุร็อษ, ม.ป.ป.), เล่ม 1, หน้า 299.
ท่านอัลฮาฟิซ อิบนุ ฮะญัร อัลอัสก่อลานีย์ได้กล่าวว่า “ท่านอัลค็อลล้าล ได้รายงานไว้ในหนังสือ ความประเสริฐของเดือนร่อญับ ด้วยสายรายงานจากท่านคอลิด บิน มะอฺดาน เขากล่าวว่า “ในหนึ่งปี มีอยู่ 5 คืน ซึ่งผู้ใดหมั่นทำความดีในคืนเหล่านั้น โดยหวังผลบุญและเชื่อในสัญญาของอัลเลาะฮ์ที่จะให้ผลบุญในคืนเหล่านั้น พระองค์ก็จะให้เขาได้เข้าสวรรค์ คือ คืนแรกของเดือนระญับโดยเขาหมั่นทำอิบาดะฮ์ในยามกลางคืนและถือศีลอดในยามกลางวันของเดือนรอญับ, คืนอีดิลฟิตร์, คืนอีดิลอัฏฮา, คืนอาชูรออ์, และคืนนิศฟุชะอฺบาน”ดู อิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์, อัตตัลคีศ อัลหะบีร, ตะห์กีก: อะบุ อาซิม หะซัน บิน อับบาส บิน กุฏบ์(ไคโร: มุอัซซะซะฮ์ อัรริซาละฮ์, พิมพ์ครั้งที่ 1, ฮ.ศ.1416/ค.ศ.1995), เล่ม 2, หน้า 161.
ท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวว่า
لَيْلَةُ النِّصْفِ مِنْ شَعْبَانَ فَقَدْ رُوِيَ فِي فَضْلِهَا مِنَ الأَحَادِيْثِ الْمَرْفُوْعَةِ وَالآثَارِ مَا يَقْتَضِيْ : أَنَّهَا لَيْلَةٌ مُفَضَّلَةٌ وَأَنَّ مِنَ السَّلَفِ مَنْ كَانَ يَخُصُّهَا بِالصَّلاَةِ فِيْهَا...لَكِنَّ الَّذِيْ عَلَيْهِ كَثِيْرٌ مِنْ أَهْلِ الْعِلْمِ؛ أَوْ أَكْثُُرُهُمْ مِنْ أَصْحَابِنَا وَغَيْرِهِمْ : عَلَى تَفْضِيْلِهَا، وَعَلَيْهِ يَدُلُّ نَصُّ أَحْمَدَ، لِتَعَدُّدِ الأَحَادِيْثِ الوَارِدَةِ فِيْهَا، وَمَا يُصَدِّقُ ذَلِكَ مِنَ الآثَارِ السَّلَفِيَّةِ، وَقَدْ رُوِيَ بَعْضُ فَضَائِلِهَا فِي الْمَسَانِيْدِ وَالسُّنَنِ. وَإِنْ كَانَ قَدْ وُضِعَ فِيْهَا أَشْيَاءُ أُخَرُ
“คืนนิศฟุชะอฺบานนั้น ได้ถูกรายงานเกี่ยวกับความประเสริฐของมันโดยบรรดาหะดีษและคำพูดต่างๆ (ของสะลัฟ) ซึ่งให้นัยว่า คืนนิศฟุชะอฺบานเป็นคืนที่มีความประเสริฐ และยังมีสะลัฟบางส่วนเจาะจงการละหมาดเป็นพิเศษในคืนนิศฟุชะอฺบาน...แต่ทัศนะของนักวิชาการมากมายหรือส่วนมากจากปราชญ์ของเราและอื่นๆ ถือว่าคืนนิศฟุชะอฺบานมีความประเสริฐ และคำพูดของอิหม่ามอะห์หมัดก็ได้ระบุไว้ เพราะมีหลายหะดีษรายงานเกี่ยวกับมันและยังมีคำพูดของเหล่าสะลัฟมายืนยัน และความประเสริฐบางประการของคืนนิศฟุชะอฺบานนั้นได้ถูกรายงานไว้ในตำราหะดีษต่างๆ ถึงแม้ว่าจะมีการกุบางอย่างขึ้นมาในหะดีษเหล่านั้นด้วยก็ตาม”อิบนุตัยมียะฮ์, อิกตะฎออฺ อัศศิร่อฏิลมุสตะกีม, ตะห์กีก: นาซิร บิน อับดิลกะรีม อัลอักล์ (ริยาฎ: มักตะบะฮ์ อัรรุชด์), เล่ม 2, หน้า 631.
ท่านอัลฮาฟิซ อิบนุฮะญัรได้กล่าวเช่นกันว่า
رَوَى الْخَطِيْبُ فِي غُنْيَةِ الْمُلْتَمِسِ بِإِسْنَادٍ إِلَى عُمَرَ بْنِ عَبْدِ الْعَزِيْزِ أَنَّهُ كَتَبَ إِلَى عَدِيِّ بْنِ أَرْطاَة: عَلَيْكَ بِأَرْبَعِ لَيَالٍ فِي السَّنَةِ، فَإِنَّ اللهَ يَفْرَغُ فِيْهِنَّ الرَّحْمَةَ: أَوَّلِ لَيْلَةِ مِنْ رَجَبٍ، وَلَيْلَةِ النِّصْفِ مِنْ شَعْبَانَ، وَلَيْلَةِ الْفِطْرِ، وَلَيْلَةِ النَّحْرِ.
“ท่านอัลคอฏีบ ได้รายงานไว้ในหนังสือ ฆุนยะฮ์ อัลมุลตะมิส ด้วยสายรายงานถึงท่าน อุมัร บิน อับดุลอะซีซ ว่า ท่านได้ทำการเขียนสารถึงอะดีย์ บิน อัรเฏาะอะฮ์ ความว่า “ในหนึ่งปีนั้นท่านจงหมั่นเอาใจใส่ใน 4 คืน เพราะอัลเลาะฮ์ตะอาลาจะทรงประทานความเมตตาในคืนเหล่านั้น คือ คืนแรกของเดือนร่อญับ คืนนิศฟุชะอฺบาน คืนอีดิลฟิตร์ และคืนอีดิลอัฏฮา”เรื่องเดียวกัน.
ท่านอิบนุรอญับ กล่าวว่า “ท่านสะอีด บิน มันซูร รายงานว่า ได้เล่าให้เราทราบ โดย อบู มะอฺชัร จาก อบูฮาซิมและมุฮัมมัด บิน ก็อยซ์ จากท่าน อะฏออ์ บิน ยะซาร เขากล่าวว่า “ไม่มีคืนใดหลังจากคืนลัยละตุลก็อดร์ที่จะประเสริฐยิ่งไปกว่าคืนนิศฟุชะอฺบาน ซึ่งอัลเลาะฮ์จะทรงประทานความเมตตาสู่ฟากฟ้าชั้นล่าง แล้วพระองค์ก็จะทรงประทานอภัยโทษแก่ปวงบ่าวทั้งหมด นอกจาก ผู้ตั้งภาคี ผู้สร้างความขุ่นเคืองต่อกัน และผู้ที่ตัดญาติขาดมิตร”ดู อับดุรเราะห์มาน บิน อะห์หมัด อิบนุรอญับ, ละฏออิฟ อัลมะอาริฟ, ตะห์กีก: อามิร บิน อะลี ยาซีน (ริยาฎ: ดารุ อิบนิ คุซัยมะฮ์, พิมพ์ครั้งที่ 1, ฮ.ศ.1428/ค.ศ.2007), หน้า 327.
ท่านอิมามชาฟีอีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลอุมม์ ความว่า
وَبَلَغَنَا أَنَّهُ كَانَ يُقَالُ: إِنَّ الدُّعَاءَ يُسْتَجَابُ فِي خَمْسِ لَيَالٍ: فِي لَيْلَةِ الْجُمُعَةِ، وَلَيْلَةُ الأَضْحَى، وَلَيْلَةِ الفَطْرِ، وَأَوَّلِ لَيْلَةٍ مِنْ رَجَبٍ، وَلَيْلَةِ النِّصْفِ مِنْ شَعْبَانَ ...وَأَنَا أَسْتَحِبُّ كُلَّ مَا حَكَيْتُ فِي هَذِهِ الليَالِيْ مِنْ غَيْرِ أَنْ تَكُوْنَ فَرْضاً
“ได้รับทราบถึงเราว่า แท้จริงดุอาอฺจะถูกตอบรับ(เป็นพิเศษ) ในห้าคืน คือ คืนวันศุกร์ คืนอีดอัฏฮา คืนอีดิลฟิตร์ คืนแรกของเดือนร่อญับ และคืนนิศฟุชะอฺบาน...ดังนั้นฉันรัก(ที่จะให้กระทำ)สิ่งที่ฉันได้รายงานในบรรดาคืนเหล่านี้ โดยไม่ใช่เป็นฟัรฎูแต่อย่างใด”ดู มุฮัมมัด บิน อิดรีส อัชชาฟีอีย์, อัลอุมม์, ตะห์กีก: ริฟอัต เฟาซีย์ อับดุลมุฏฏอลิบ (มันซูเราะฮ์, พิมพ์ครั้งที่ 1, ฮ.ศ.1422/ค.ศ.2001), เล่ม 2 หน้า 485; ดู มุห์ยุดดีน บิน ชะร็อฟ อันนะวาวีย์, อัลมัจญฺมูอฺ ชัรห์อัลมุฮัซซับ, ตะห์กีก: มะห์มูด มัฏเฏาะร่อญีย์ (เบรูต: ดารุลฟิกร์, พิมพ์ครั้งที่ 1, ฮ.ศ.1426/ค.ศ.2005), เล่ม 5, หน้า47-48.
ท่านอัฏเฏาะบะรอนีย์ ได้กล่าวว่า
سَمِعْتُ عَبْدَ اللهِ بْنَ أَحْمَدَ بْنِ حَنْبَلٍ يَقُوْلُ: سَمِعْتُ أَبِي يَقُوْلُ فِي مَعْنىَ حَدَيْثِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: إِنَّ اللهَ عَزَّ وَجَلَّ يَطَّلِعُ فِي لَيْلَةِ النِّصْفِ مِنْ شَعْبَانَ عَلَى عِبَادِهِ فَيَغْفِرُ لأَهْلِ الأَرْضِ إِلاَّ لِمُشْرِكٍ أَوْ مُشَاحِنٍ قَالَ : اَلْمُشَاحِنُ : هُمْ أَهْلُ الْبِدَعِ الَّذِيْنَ يُشَاحِنُوْنَ أَهْلَ الإِسْلاَمِ وَيُعَادُوْنَهُمْ
“ฉันได้ยิน อับดุลเลาะฮ์ บุตร อิมามอะห์หมัด(บิน ฮัมบัล) กล่าวว่า ฉันได้ยินบิดาของฉันได้กล่าวเกี่ยวกับความหมายของหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า “แท้จริงอัลเลาะฮ์จะมองลงมายังปวงบ่าวของพระองค์ในคืนนิศฟุชะอฺบาน พระองค์จะทำการอภัยโทษแก่บ่าวของพระองค์ที่อยู่บนผืนแผ่นดินนอกจากผู้ตั้งภาคีและผู้บาดหมางต่อกัน บิดากล่าวว่า ผู้บาดหมางนั้น คือพวกบิดอะฮ์ที่ขุ่นเคืองต่อบรรดามุสลิมและเป็นศัตรูต่อพวกเขา”ดู อะบุลกอซิม สุลัยมาน บิน อะห์มัด อัฏเฏาะบะรอนีย์, อัดดุอา, ตะห์กีก: มุฮัมมัด สะอีด บิน มุฮัมมัด ฮะซัน อัลบุคอรีย์ (เบรูต: ดารุลบะชาอิร อัลอิสลามียะฮ์, พิมพ์ครั้งที่ 1, ฮ.ศ.1407/ค.ศ.1987), หน้า 1071-1072.
ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ได้กล่าวว่า
وَأَمَّا لَيْلَةُ النِّصْفِ فَقَدْ رُوِيَ فِي فَضْلِهَا أَحَادِيْثُ وَآثَارُ، وَنُقِلَ عَنْ طَائِفَةٍ مِنَ السَّلَفِ أَنَّهُمْ كَانُوْا يُصَلُّوْنَ فِيْهَا، فَصَلاَةُ الرَّجُلِ فِيْهَا وَحْدَهُ قَدْ تَقَدَّمَهُ فِيْهِ سَلَفٌ وَلَهُ فِيْهِ حُجَّةٌ فَلاَ يُنْكَرُ مِثْلُ هَذَا، أَمَّا الصَّلاَةُ جَمَاعَةً فَهَذَا مَبْنِيٌّ عَلَى قَاعِدَةٍ عَامَّةٍ فِي الاِجْتِمَاعِ عَلَى الطَّاعَاتِ وَالْعِبَادَاتِ
“สำหรับคืนนิศฟุชะอฺบานนั้น ได้มีบรรดาหะดีษและคำกล่าวของเศาะฮาบะฮ์รายงานถึงความประเสริฐของคืนนิศฟุชะอฺบาน และได้ถูกถ่ายทอดรายงานจากปราชญ์สะลัฟกลุ่มหนึ่งซึ่งได้ทำการละหมาด(สุนัต)ในคืนนิศฟุชะอฺบาน ดังนั้นการที่ชายคนหนึ่งได้ทำการละหมาดคนเดียวนั้น ได้มีสะลัฟกระทำมาก่อนหน้าแล้ว ซึ่งก็เป็นหลักฐานยืนยันแก่เขา ดังนั้นจึงไม่มีการตำหนิการกระทำเช่นนี้ สำหรับการละหมาดเป็นญะมาอะฮ์(ในคืนนิศฟุชะอฺบาน)นั้น ดังกล่าวนี้อยู่บนหลักการทั่วไปในการร่วมกันทำการฏออัตและอิบาดะฮ์”ดู อิบนุตัยมียะห์, มัจญฺมูอฺ อัลฟาตาวา (อัลมะดีนะฮ์อัลมุเนาวะฮ์: มุญัมมะอฺ อัลมาลิก ฟะฮัด, ฮ.ศ.1425/ค.ศ.2004), เล่ม 23, หน้า 132.
ดังนั้นเมื่อสะละฟุศศอลิห์ผู้มีคุณธรรมหลายท่าน เช่น ท่านคอลิต บิน มะอฺดาน ท่านมักฮูล ท่านลุกมาน บิน อามีร ท่านอิสฮาก บิน รอฮะวัยฮฺ ท่านอัลเอาซะอีย์ ท่านอิมามชาฟิอีย์ ท่านอิมามอะห์มัด และปราชญ์สะลัฟท่านอื่น ๆ ได้ให้ความสำคัญกับคืนนิศฟุชะอฺบาน การตามในเรื่องความดีงามของพวกเขาย่อมไม่หลงทาง เพราะอัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงตรัสความว่า “และท่านจงตามแนวทางของผู้ที่กลับไปสู่ข้าเถิด” [ซูเราะห์ลุกมาน, อายะห์: 15] ฉะนั้นบรรดาปราชญ์สะลัฟดังกล่าวย่อมเป็นผู้ที่มีหัวใจกลับไปสู่อัลเลาะฮ์ตะอาลาอย่างมิต้องสงสัยใดๆ