ผู้เขียน หัวข้อ: นิติศาสตร์อิสลามกับการถือศีลอดเดือนรอมาดอน โดย ท่าน อ.อรุณ บุญชม  (อ่าน 16105 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Islamicstudentcity

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 21
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

บิสมิลลาฮิรเราะฮ์มานิรร่อฮีม

การถือศีลอด

(อัซซิยาม)

ข้อกำหนดทางนิติศาสตร์  หลักฐาน  และเคล็ดลับการถือศีลอด

อ้างอิงจาก : หนังสืออัลฟิกฮฺ อัลมันฮะญีย์ 2/3-23  โดยท่านอาจารย์  อรุณ  บุญชม (ขออัลเลาะฮ์ทรงปกป้องและคุ้มครองท่านด้วยเถิด)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ส.ค. 29, 2008, 08:37 AM โดย al-azhary »
เด็กหอพักนานาชาติอิสลาม(มะดีนะตุลบูอูษอัลอิสลามียะฮ์)

ออฟไลน์ Islamicstudentcity

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 21
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
การถือศิลอด

คำนิยาม การบัญญัติ และเคล็ดลับ ( ฮิกมะห์ ) การถือศิลอด


คำนิยาม :

อัซซิยาม ตามหลักภาษา : หมายถึง การอดกลั้น ไม่ว่าจะเป็นการอดกลั้นคำพูด หรือการอดกลั้นอาหาร

หลักฐานในเรื่องนี้ได้แก่คำดำรัสของอัลเลาะห์ ตาอาลา ที่เล่าถึงมัรยัมว่า :

? ฉันได้บนบานว่าจะอดกลั้นไม่พูดจา เพื่อผู้ทรงเมตตายิ่ง ? ( มัรยัม 26 )

อัซซิยาม : ตามหลักศาสนา หมายถึง การอดกลั้นไม่กระทำการใดๆ ที่จะทำให้เสียการถือศิลอดตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนตะวันลับขอบฟ้า พร้อมด้วยเนียต
เด็กหอพักนานาชาติอิสลาม(มะดีนะตุลบูอูษอัลอิสลามียะฮ์)

ออฟไลน์ Islamicstudentcity

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 21
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ประวัติการบัญญัติให้ถือศิลอด :

การถือศิลอดในเดือนรอมาดอน ถูกบัญญัติให้เป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ในเดือนชะอฺบาน ปีฮิจเราะห์ที่สอง ก่อนหน้านั้นการถือศิลอดได้เป็นสิ่งที่รู้กันในประชาชาติยุคก่อนๆ เป็นอย่างดีอยู่แล้ว และในหมู่ชาวคัมภีร์ที่อยู่ในสมัยเดียวกับท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ( ซ.ล ) อัลเลาะห์ ตาอาลา ทรงตรัสว่า

? ผู้มีศรัทธาทั้งหลายเอ๋ย การถือศิลอดได้ถูกกำหนดเป็นหน้าที่เหนือพวกเจ้า เช่นเดียวกับที่ได้กำหนดเหนือบุคคลในยุคก่อนพวกเจ้ามาแล้ว แน่นอนพวกเจ้าจะมีคุณธรรม ? ( อัลบากอเราะห์ 183 )

แต่การกำหนดให้ถือศิลอดในเดือนรอมาดอนนั้น ยังไม่เคยถูกบัญญัติมาก่อนเลย ประชากรของท่านนบีมุฮำหมัด ( ซ.ล ) กับประชากรในยุคก่อนๆมีส่วนร่วมกันในการถือศิลอดเท่านั้น แต่การกำหนดให้ถือศิลอดในเดือนรอมาดอนโดยเฉพาะนั้น เกิดแก่ประชากรของท่านนบีมุฮำหมัด ( ซ.ล ) เพียงประชาชาติเดียว
เด็กหอพักนานาชาติอิสลาม(มะดีนะตุลบูอูษอัลอิสลามียะฮ์)

ออฟไลน์ Islamicstudentcity

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 21
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
หลักฐานในการบัญญัติให้ถือศิลอดเดือนรอมาดอน :

หลักฐานในการบัญญัติให้การถือศิลอดในรอมาดอนเป็นหน้าที่จำเป็น ( ฟัรดู ) ได้แก่คำดำรัสของอัลเลาะห์ ตาอาลา ที่ว่า :

? เดือนรอมาดอน เป็นเดือนที่กรุอานถูกประทานลงมาเป็นทางนำแก่มวลมนุษย์ เป็นคำแจกแจง ที่มาจากแนวทางถูกต้องและแยกสัจจธรรม ออกจากความมดเท็จ ดังนั้นคนใดในหมู่พวกท่านที่ปรากฏตัวอยู่ ( ไม่ได้เดินทาง ) ในเดือนนี้ให้เขาจงถือศิลอดเถิด ? ( อัลบากอเราะห์ 185 )

และได้แก่คำดำรัสของท่านนบี ( ซ.ล ) ที่ว่า :

? อิสลามถูกตั้งอยู่บนหลักห้าประการ ได้แก่ปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าที่ถูกสักการะโดยเที่ยงแท้ นอกจากอัลเลาะห์เท่านั้น และว่ามูฮำหมัดเป็นศาสนทูตของอัลเลาะห์ ดำรงละหมาด จ่ายซะก๊าต ประกอบพิธีฮัจย์ และถือศิลอดในเดือนรอมาดอน ? รายงานโดย บุคอรี ( 8 ) มุสลิม ( 6 ) และท่านอื่นๆ
เด็กหอพักนานาชาติอิสลาม(มะดีนะตุลบูอูษอัลอิสลามียะฮ์)

ออฟไลน์ Islamicstudentcity

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 21
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
       ข้อกำหนดของผู้ที่ไม่ถือศิลอดในเดือนรอมาดอนโดยไม่มีเหตุจำเป็นใดๆ :

       เมื่อการถือศิลอดเดือนรอมาดอน เป็นเสาหลักสำคัญประการหนึ่งของอิสลาม และเป็นหน้าที่จำเป็นที่รู้กันโดยทั่วไป ผู้ปฏิเสธการถือศิลอดว่าไม่ใช่เป็นหน้าที่ ( ฟัรดู ) ที่ต้องปฏิบัติ ผู้นั้นสิ้นสภาพการเป็นมุสลิม หมายความว่าให้ปฏิบัติต่อเขาในฐานะเป็นมุรตัด ให้เรียกตัวมาเพื่อทบทวนให้สำนึกผิด ( เตาบัต ) ถ้าหากเขาสำนึกผิดให้ยอมรับการสำนึกผิดของเขา และถ้าเขาไม่สำนึกผิด ก็จะถูกลงโทษถึงขั้นประหารชีวิต ทั้งนี้มีข้อแม้ว่าเขาไม่ใช่เป็นผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามใหม่ๆ หรือเขาอยู่ห่างไกลผู้รู้ ส่วนผู้ที่ๆไม่ถือศิลอดโดยไม่มีความจำเป็นใดๆ แต่เขาไม่ได้ปฏิเสธการถือศิลอดว่าไม่ใช่เป็นหน้าที่ ( ฟัรดู ) ที่เขาต้องปฏิบัติ เช่นเขาพูดว่า การถือศิลอดเป็นหน้าที่ของฉัน แต่ฉันไม่ปฏิบัติ ดังนี้ถือว่าเขาเป็นคนละเมิด เป็นคนชั่ว ไม่ถึงขั้นการสิ้นสภาพการเป็นมุสลิม และถือเป็นหน้าที่ของผู้นำมุสลิมจะต้องคุมขังเขา และให้เขางดอาหารและเครื่องดื่มในเวลากลางวันเพื่อให้เขาได้ถือศิลอด แม้เป็นเพียงรูปภายนอกก็ตาม
เด็กหอพักนานาชาติอิสลาม(มะดีนะตุลบูอูษอัลอิสลามียะฮ์)

ออฟไลน์ Islamicstudentcity

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 21
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
       เคล็ดลับ ( ฮิกมะห์ ) และคุณประโยชน์บางประการของการถือศิลอด :

       มุสลิมทุกคนต้องทราบก่อนว่า การถือศิลอดเดือนรอมาดอนเป็นอิบาดะห์ที่อัลเลาะห์กำหนดให้เป็นหน้าที่ต้องปฏิบัติ ความหมายที่ว่าเป็นอิบาดะห์ ก็คือมุสลิมจะต้องน้อมรับมาปฏิบัติด้วยความเต็มใจในฐานะเป็นบ่าวของอัลเลาะห์ โดยไม่ต้องมองไปที่ผลลัพธ์ของการถือศิลอดว่าจะให้ผลแก่เขาเป็นประการใดเมื่อได้ปฏิบัติเช่นนี้แล้ว ก็ไม่ขัดข้องที่จะมองดู และพิจารณาเคล็ดลับต่างๆของพระเจ้าที่แฝงไว้กับการถือศิลอด และอิบาดะห์อื่นๆ ไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยว่าข้อกำหนดต่างๆ ของอัลเลาะห์ทั้งหมดนั้นมีเคล็ดลับแฝงอยู่และเป็นคุณประโยชน์แก่บ่าวของพระองค์ แต่ไม่บังคับให้บ่าวของพระองค์ต้องรับรู้คุณประโยชน์และเคล็ดลับเหล่านั้น

       เป็นที่แน่นอนว่าในการถือศิลอดนั้น ย่อมมีคุณประโยชน์และเคล็ดลับแฝงอยู่มากมาย ซึ่งบางส่วนก็ได้รับการเปิดเผยแล้ว แต่คงเหลืออีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการเปิดเผย และส่วนหนึ่งที่ได้รับการเปิดเผยแล้วก็คือ :

      1. การถือศิลอดที่ปฏิบัติถูกต้อง จะปลุกและเร่งเร้าจิตใจของมุสลิมให้เกิดสำนึกขึ้นว่าตนเองถูกควบคุม และติดตามดูพฤติการณ์จากอัลเลาะห์ ตาอาลา ทั้งนี้เพราะในเวลากลางวันผู้ที่ถือศิลอดจะเกิดความหิวและกระหาย เขาเกิดความหยากอาหารและเครื่องดื่ม แต่ความรู้สึกของเขาที่ว่ากำลังถือศิลอดอยู่จะขัดขวางเขาไว้ไม่ให้เขากระทำตามความต้องการและตามจิตปรารถนา เพื่อสนองคำบัญชาของอัลเลาะห์เจ้า และในช่วงของการต่อสู้กันนี้ หัวใจของเขาจะตื่น ความสำนึกว่าถูกควบคุมและติดตามดูพฤติการณ์ จากอัลเลาะห์ ตาอาลา เพิ่มสูงขึ้น เขาจะรำลึกอยู่เสมอถึงความยิ่งใหญ่และเกรียงไกรของพระองค์ และจะรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าเขาเป็นบ่าวที่ต้องยอมรับและสนองตอบคำบัญชาของพระองค์

       2 . เดือนรอมาดอนเป็นเดือนศักศิทธิ์และสำคัญยิ่ง ที่อัลเลาะห์ให้บ่าวของพระองค์บรรจุความดีและกุศลต่างๆ ให้เต็มทั้งเดือนและเพื่อทำให้ความหมายของความเป็นบ่าวของอัลเลาะห์ เป็นจริงขึ้นมา ซึ่งการดังกล่าวนั้นจะเกิดขึ้นได้ยาก ตราบที่ยังมีสำรับอาหารและถาดเครื่องดื่มวางอยู่เบื้องหน้ากระเพาะเต็มไปด้วยอาหารที่คอยรบกวนสมาธิและมันสมอง การถือศิลอดในเดือนนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะทำให้ภารกิจและหน้าที่ของความเป็นบ่าวสมบูรณ์

       3.  การถือศิลอดจะช่วยขัดเกลาและขำระนิสัยที่หยาบกร้านตลอดจนความเห็นแก่ตัวให้นุ่มนวลและลดน้อยลง

       4 . หลักสำคัญที่ทำให้สังคมมุสลิมเจริญรุ่งเรืองก็คือการที่มุสลิมมีความเอื้ออาทรและเมตตาสงสารซึ่งกันและกัน เป็นการยากที่คนรวยจะเกิดมีความเมตตาสงสารคนยากจนอย่างแท้จริงขึ้นได้ โดยไม่มีความเจ็บปวดของความขัดสน และความขืนขมของความหิวโหยมาสลับฉากความร่ำรวย และความอิ่มหนำสำราญ ดังนั้นการถือศิลอดในเดือนรอมาดอน จะเป็นตัวกระตุ้นและเร่งเร้าคนรวยให้มีความเมตตาและสงสารคนยากจนได้ดีที่สุด
เด็กหอพักนานาชาติอิสลาม(มะดีนะตุลบูอูษอัลอิสลามียะฮ์)

ออฟไลน์ Islamicstudentcity

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 21
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
การเข้าสู่เดือนรอมาดอน


       จะเข้าสู่เดือนรอมาดอน ด้วยประการหนึ่งจากสองประการดังต่อไปนี้ :

       หนึ่ง : เห็นหิลาล ( ดวงจันทร์เสี้ยว ) ในเวลากลางคืนของวันที่สามสิบ ( หมายถึงวันที่ยี่สิบเก้าค่ำลง ) ของเดือนชะบาน ทั้งนี้โดยมีพยานที่มีคุณธรรมหนึ่งคนมายืนยันต่อหน้ากอดี ว่าตนได้เห็นดวงจันทร์เสี้ยวแล้ว

       สอง : ครบเดือนชะบานสามสิบวัน ในกรณีที่เห็นดวงจันทร์เสี้ยวได้ลำบากเพราะมีเมฆบดบังหรือไม่มีพยานทีมีคุณธรรมมาให้การยืนยันว่าตนได้เห็นเดือนเสี้ยวแล้ว ดังนั้นให้ปล่อยเดือนชะบานไปจนครบสามสิบวัน เพราะถือว่าเป็นต้นเดิมเมื่อไม่มีอะไรมาโต้แย้งเป็นอย่างอื่น

       หลักฐานในทั้งสองประการนี้ : ได้แก่คำของท่านนบี ( ซ.ล ) ที่ว่า :

       ? ท่านทั้งหลายจงถือศิลอดเพราะเห็นเดือนเสี้ยว และจงละศิลอดเพราะเห็นเดือนเสี้ยว ดังนั้นถ้าหากมีเมฆเกิดขึ้นเหนือพวกท่าน ก็ให้พวกท่านปล่อยเดือนชะบานให้ครบสามสิบวันเถิด ? รายงานโดยบุคอรี ( 1810 ) และมุสลิม ( 1080 )

       ? เล่าจากอิบนิอับบาส ( ร.ด ) ได้กล่าวว่า มีชาวอาหรับจากชนบทคนหนึ่งมาหาท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ( ซ.ล ) แล้วพูดขึ้นว่า แท้จริงฉันเห็นเดือนเสี้ยวของรอมาดอน ท่านกล่าวว่า เจ้าจะปฏิญาณได้ไหมว่าไม่พระเจ้าที่ถูกสักการะโดยเที่ยงแท้นอกจากอัลเลาะห์ เท่านั้น เขาตอบว่า ครับ ท่านกล่าวอีกว่า เจ้าจะปฏิญาณได้ไหมว่า มุฮำหมัดเป็นศาสนทูตของอัลเลาะห์ เขาตอบว่าได้ครับ ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ จึงกล่าวขึ้นว่า บิลานเอ๋ย เจ้าจงประกาศให้ประชาชนทราบเถิดว่า พวกเขาจงถือศิลอดในวันพรุ่งนี้ ? อิบนุฮิบบานกล่าวว่าเป็นฮาดิษซอเฮียะฮ์ ( มะวาริด ซอมอาน 870 ) และฮากิม ( 1/ 424 )

       เมื่อเห็นเดือนเสี้ยวในเมืองหนึ่งชาวเมืองใกล้เคียงจำเป็นต้องถือศิลอดตามชาวเมืองในเมืองที่เห็นด้วย แต่ชาวเมืองที่ห่างไกลกันไม่จำเป็นต้องถือศิลอดตาม เพราะเมืองที่ใกล้กัน เช่น ดามัสกัด ฮิมด์ และฮะลับ มีสภาพเหมือนเป็นเมืองเดียวกัน ซึ่งไม่เหมือนกับเมืองที่ไกลๆ กัน เช่น ดามัสกัด ไคโร และมักกะห์
เด็กหอพักนานาชาติอิสลาม(มะดีนะตุลบูอูษอัลอิสลามียะฮ์)

ออฟไลน์ Islamicstudentcity

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 21
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
       หลักที่ใช้ในการพิจารณาว่าเป็นเมืองที่ไกลกันก็คือมีมัตละอ์ ( ตำแหน่งขึ้นตกของดวงอาทิตย์ ) ต่างกัน

       หลักฐานในเรื่องดังกล่าว :

       ฮาดิษ ที่มุสลิม ( 1087 ) ได้รายงานจากกุรัยบ์ ว่า :

       ข้าพเจ้าได้เข้าสู่รอมาดอนขณะที่ข้าพเจ้าอยู่ในเมืองชาม ข้าพเจ้าเห็นเดืนเสี้ยวในคืนวันศุกร์ หลังจากนั้นข้าพเจ้าได้เดินทางมาที่เมืองมะดีนะห์ ในตอนปลายเดือนนั้น อิบนุอับบาส ( ร.ด ) ได้ถามข้าพเจ้าว่า พวกท่านเห็นเดือนเสี้ยวเมื่อไหร่? ข้าพเจ้าว่า พวกเราเห็นเดือนเสี้ยวในคืนวันศุกร์ เขาถามอีกว่า ท่านเห็นมันด้วยหรือ ข้าพเจ้าตอบว่า ถูกแล้ว และประชาชนก็เห็นมัน พวกเขาได้ถือศิลอด และมุอาวียะห์ ก็ได้ถือศิลอด เขากล่าวขึ้นว่า พวกเราเห็นมันคืนวันเสาร์ ดังนั้นเราจะต้อถือศิลอดเรื่อยไปจนกว่าจะครบสามสิบวัน หรือจนกว่าเราจะเห็นมัน ฉันถามว่า ท่านยังไม่พอหรือที่มุอาวียะห์เห็นและถือศิลอด เขาตอบว่า ไม่ ดังที่กล่าวนี้ ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ( ซ.ล ) ได้ใช้พวกเรา .

       ผู้รู้กล่าวว่า : ในกรณีของชาวเมืองที่อยู่ไกล ที่ยังไม่จำเป็นต้องถือศิลอดนั้น ถ้าหากมีคนจากเมืองที่เห็น เดินทางไปยังเมืองที่อยู่ไกล ให้เขาถือศิลอดตามชามเมืองนั้น แม้ตัวเขาเองจะถือศิลอดครบสามสิบวันแล้วก็ตาม เพราะการที่เขาเดินทางไปยังเมืองนั้นทำให้เขากลายเป็นสมาชิกคนหนึ่งของเมืองนั้นไป ข้อบังคับที่ใช้อยู่กับชาวเมืองนั้นก็จะต้องนำมาใช้บังคับเขาด้วยเช่นกัน ส่วนคนที่เดินทางไปจากเมืองที่ยังไม่เห็นฮิลาล ไปยังเมืองที่เห็นฮิลาลกันแล้ว ให้เขาออกจากการถือศิลอดพร้อมกับชาวเมืองนั้น โดยไม่คำนึงว่าเขาจะถือศิลอดได้ยี่สิบแปดวัน เพราะเดือนนั้นอาจเป็นเดือนขาดที่มียี่สิบเก้าวัน หรือเขาถือศิลอดได้ยี่สิบเก้าวัน เพราะเดือนนั้นอาจเป็นเดือนเต็มที่มีสามสิบวัน ก็ตาม แต่ในกรณีที่เขาถือศิลอดได้เพียงยี่สิบแปดวันนั้นเขาจำเป็นต้องถือศิลอดชดใช้ ( กอดออ์ ) อีกหนึ่งวัน เพราะเขายังถือศิลอดไม่ครบเดือนทั้งนี้เพราะเดือนอาหรับจะไม่มียี่สิบแปดวัน อย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่ายี่สิบเก้าวัน และอย่างมากไม่เกินสามสิบวัน

       คนหนึ่งออกเดินทางจากเมืองที่กำลังเป็นอีด ไปยังเมืองหนึ่งอยู่ห่างไกลและชาวเมืองกำลังถือศิลอดกัน เขาจำเป็นต้องอดอาหาร ( อิมซาก ) ตลอดวันนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับชาวเมืองนั้น
เด็กหอพักนานาชาติอิสลาม(มะดีนะตุลบูอูษอัลอิสลามียะฮ์)

ออฟไลน์ Islamicstudentcity

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 21
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
เงื่อนไขที่ทำให้จำเป็นต้องถือศิลอด

และเงื่อนไขที่จะทำให้การถือศิลอดมีผลใช้ได้


       ผู้ที่ครบเงื่อนไขดังต่อไปนี้ คือผู้ที่จำเป็นต้องถือศิลอดเดือนรอมาดอน

       1.  อิสลาม :

       ดังนั้นการถือศิลอดจะไม่บังคับแก่ผู้ไร้ศรัทธา ( การเฟร ) หมายความว่าจะไม่ถูกเรียกร้องให้มาทำการถือศิลอดในดุนยานี้ เพราะเขาไม่ได้เข้าอยู่ในอิสลาม ตราบที่เขาไม่ได้เข้าอยู่ในอิสลามก็ไม่มีความหมายอะไรที่เขาจะถือศิลอด และไม่มีความหมายที่จะเรียกร้องให้เขามาถือศิลอด ส่วนในอาคีเราะห์นั้นผู้ไร้ศรัทธาจะต้องถูกลงโทษ

       2.  อยู่ในเกณฑ์บังคับขอศาสนา :

       หมายถึงเป็นมุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะ มีสติปัญญาสมบูรณ์ ถ้าหากมีลักษณะไม่ครบสองประการนี้ เขาก็ไม่อยู่ในเกณฑ์บังคับ เมื่อไม่อยู่ในเกณฑ์บังคับของศาสนา เขาก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่ใดๆทางศาสนา

       หลักฐานในเรื่องดังกล่าว :

       ได้แก่ฮาดิษ อะลี ( ร.ด ) ที่รายงานจากท่านนบี ( ซ.ล ) ว่า :
       ? ปากกา ( การบังคับของศาสนา ) ได้ถูกยกออกจากสามคนนี้ คือคนนอนหลับจนกว่าจะตื่นนอน จากเด็กจนกว่าจะบรรลุศาสนภาวะ และจากคนบ้าจนกว่าจะได้สติ ? รายงานโดย อะบูดาวูด ( 4403 ) และบุคคลอื่น

       3.  ไม่มีอุปสรรคขัดขวางการถือศิลอด หรือไม่มีอุปสรรคที่ทำให้อนุญาตละศิลอด

       สำหรับอุปสรรคที่ขัดขวางการถือศิลอดได้แก่ :

       ก . มีเลือดประจำเดือน ( ฮัยด์ ) หรือ น้ำคาวปลาหลังการคลอดบุตร ( นิฟาส ) ในช่วงใดช่วงหนึ่ง ของเวลากลางวัน

       ข . เป็นลม สลบ หรือเป็นบ้าตลอดทั้งวัน ถ้าหากหายจากอาการดังกล่าว แม้เพียงครู่เดียวในเวลากลางวัน ถือว่าอุปสรรคดังกล่าวหายไป เขาจำเป็นต้องอดอาหาร ( อิมซาก ) ในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ของวันนั้น
เด็กหอพักนานาชาติอิสลาม(มะดีนะตุลบูอูษอัลอิสลามียะฮ์)

ออฟไลน์ Islamicstudentcity

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 21
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ส่วนอุปสรรคที่ทำให้อนุญาตละศิลอดได้แก่ :

       1.  อาการป่วยที่จะทำให้เกิดอันตรายอย่างยิ่ง หรือเจ็บปวด หรือ ทรมานอย่างยิ่ง สำหรับอาการป่วย หรือ อาการเจ็บปวด ที่ทวีความรุนแรงขึ้นถึงขั้นกลัวว่าจะเสียชีวิต จำเป็นต้องละศิลอดทันที

       2.  การเดินทางไกลซึ่งที่มีระยะทางไม่น้อยกว่า 83 กิโลเมตร โดยมีเงื่อนไขว่าเป็นการเดินทางที่ศาสนาอนุญาต และการเดินทางนั้นใช้เวลาทั้งวัน

       ถ้าหากตอนเช้าเขาถือศิลอดอยู่กับบ้าน แล้วออกเดินทางในตอนกลางวัน ก็ไม่ยินยอมให้เขาละศิลอด

       หลักฐานในข้ออุปสรรคสองประการนี้ : ได้แก่คำดำรัสของอัลเลาะห์ ตาอาลา ที่ว่า :

       ? ผู้ใดป่วยหรืออยู่ในการเดินทาง ให้เขาชดใช้การถือศิลอดในวันอื่น ? ( อัลบากอเราะห์ 185 )

         3.  ไม่สามารถถือศิลอดได้ ผู้ที่ไม่สามารถทำการถือศิลอดได้ เพราะชราภาพ หรือป่วยเรื้อรัง หมดหวังที่จะหาย ไม่จำเป็นต้องถือศิลอด เพราะการถือศิลอดบังคับกับผู้ที่มีความสามารถเท่านั้น

       หลักฐานในเรื่องนี้ : ได้แก่คำดำรัสของอัลเลาะห์ ตาอาลา ที่ว่า :

       ? เหนือผู้ที่ไม่สามารถทำการถือศิลอดได้ จะต้องเสียค่าปรับเป็นอาหารมอบแก่คนยากจน ? ( อัลบากอเราะห์ 184 )

       บางกิรออะห์อ่าน ( ยุเตาวะกูนะฮู )  หมายความว่าพวกเขาถูกกำหนดให้ถือศิลอด แต่พวกเขาไม่สามารถปฏิบัติได้
อิบนุอับบาส ( ร.ด) กล่าวว่า คือชาย หญิงที่ชราภาพ ไม่สามารถถือศิลอดได้ ให้เขาจ่ายอาหารแก่คนยากจนแทนการถือศิลอดทุกวัน รายงานโดย บุคอรี ( 4235 )
เด็กหอพักนานาชาติอิสลาม(มะดีนะตุลบูอูษอัลอิสลามียะฮ์)

ออฟไลน์ Islamicstudentcity

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 21
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
รุกุ่น ( องค์ประกอบสำคัญ ) ของการถือศิลอด


       การถือศิลอดจะเกิดขึ้นได้ต้องมีองค์ประกอบสำคัญสองประการ คือ :

       หนึ่ง - ตั้งเจตนา ( เนียต ) :

       คือตั้งเจตนาทำการถือศิลอดด้วยหัวใจ การใช้แต่ปากกล่าวถ้อยคำยังถือว่าใช่ไม่ได้ และไม่มีเงื่อนไขว่าต้องใช้ปากกล่าวถ้อยคำที่จะใช้ตั้งเจตนา หลักฐานที่ว่าการตั้งเจตนาเป็นองค์ประกอบสำคัญได้แก่ ฮาดิษที่ท่านนบี ( ซ.ล ) กล่าวว่า :

       ?การกระทำต่างๆที่จะมีผลใช้ได้นั้นต้องมีการตั้งเจตนา ? รายงานโดย บุคอรี ( 1 ) และมุสลิม ( 1908 )

       ถ้าหากเป็นการตั้งเจตนาเพื่อการถือศิลอดในเดือนรอมาดอน จำต้องประกอบด้วยสิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ :

       1.  ต้องตั้งเจตนาในเวลากลางคืน :

       คือต้องมีการตั้งเจตนาในเวลากลางคืนก่อนแสงอรุณขึ้น ถ้าหากไม่ได้มีการตั้งเจตนาเอาไว้ในตอนกลางคืน เช่นมาตั้งเจตนาภายหลังแสงอรุณขึ้นแล้ว การตั้งเจตนาใช้ไม่ได้ และเมื่อการตั้งเจตนาใช่ไม่ได้ การถือศิลอดก็ใช่ไม่ได้

       หลักฐานในเรื่องดังกล่าวได้แก่ฮาดิษที่ท่านนบี ( ซ.ล ) กล่าวว่า :

      ? ผู้ใดไม่ได้ตั้งเจตนาทำการถือศิลอดเอาไว้ในเวลากลางคืน ก็ไม่มีการถือศิลอดสำหรับเขา? รายงานโดย ดารุกุตนี ( 2/172 ) ดารุกุตนี กล่าวว่า ผู้รายงานฮาดิษนี้เชื่อถือได้ และรายงานโดย บัยฮะกี ( 4/202 )

       2.  ต้องระบุเจาะจงให้แน่ชัด :

       โดยต้องระบุประเภทของการถือศิลอดให้ชัดเจน หากเป็นการถือศิลอดในเดือนรอมาดอนเขาก็ต้องตั้งเจตนาว่า ? ข้าพเจ้าตั้งใจถือศิลอดในวันพรุ่งนี้เป็นฟัรดูเดือนรอมาดอน ? ถ้าหากเขาตั้งเจตนาว่าเป็นการถือศิลอดเฉยๆ โดยไม่ระบุไปว่าเป็นการถือศิลอดเดือนรอมาดอน การตั้งเจตนาของเขาใช้ไม่ได้ เพราะฮาดิษ ที่ว่า :

       ? การกระทำต่างๆ ที่จะมีผลใช้ได้นั้นต้องมีการตั้งเจตนา ? ที่ได้กล่าวผ่านมาแล้ว ว่า :

       ? แต่ละคนจะได้รับสิ่งที่ตนตั้งเจตนาไว้ ? หมายความว่า การกระทำจะเป็นไปตามการตั้งเจตนาที่จะกระทำของเขา

       3.  ต้องตั้งเจตนาซ้ำ :

       หมายความว่าต้องมีการตั้งเจตนา ( เนียต ) ถือศิลอดทุกคืนก่อนแสงอรุณขึ้น สำหรับการถือศิลอดในวันถัดไป การตั้งเจตนาเพียงครั้งเดียว จะใช้กับการถือศิลอดตลอดทั้งเดือนไม่ได้ เพราะการถือศิลอดเดือนรอมาดอนไม่ใช่เป็นอีบาดะห์เดียว แต่เป็นหลายอีบาดะห์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ตลอดเดือน ซึ่งแต่ละอีบาดะห์ ต้องมีเจตนาที่เป็นอิสระต่อกัน ( 1)

        ส่วนการถือศิลอดที่เป็นสุนัตนั้น ไม่ได้มีเงื่อนไขว่าต้องตั้งเจตนา ( เนียต ) ในเวลากลางคืน และไม่มีเงื่อนไขว่าต้องระบุเจาะจง ดังนั้นการตั้งเจตนาก่อนตะวันคล้อยโดยที่เขายังไม่ได้กระทำการใดๆที่ทำให้เสียศิลอดเลยตั้งแต่แสงอรุณขึ้น หรือตั้งเจตนาถือศิลอดเฉยๆ สำหรับการถือศิลอดที่เป็นสุนัต ถือว่ามีผลใช้ได้แล้ว

      หลักฐานในเรื่องนี้ได้แก่ฮาดิษอาอะชะห์ ( ร.ด ) ท่านนบี ( ซ .ล ) ได้กล่าวแก่เธอในวันหนึ่งว่า :

       ? พวกท่านมีอาหารเช้าไหม? อาอิชะห์ตอบว่า ไม่มี ท่านกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นฉันถือศิลอด ? รายงานโดย ดารุกุตนี

----------------
(1) อนุญาตให้ตามมัซฮับ มาลิกี ได้ในเรื่องการเหนียตถือศีลอดตลอดทั้งเดือน  โดยเนียตในคืนแรกครั้งเดียว  เพื่อป้องกันการลืมเหนียตทุก ๆ คืน (ผู้แปล)
เด็กหอพักนานาชาติอิสลาม(มะดีนะตุลบูอูษอัลอิสลามียะฮ์)

ออฟไลน์ Islamicstudentcity

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 21
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
สอง : อดกลั้นไม่กระทำสิ่งที่จะทำให้เสียการถือศิลอด :

       สิ่งที่ทำให้เสียการถือศิลอดมีหลายประการ :

       1.  การกิน การดื่ม :

       เมื่อเกิดจากเจตนา ไม่ว่าอาหารหรือเครื่องดื่มจะเล็กน้อยขนาดไหนก็ตาม ถ้าหากเขากินและดื่มโดยลืมไปว่าตัวเองถือศิลอด ไม่ว่าจะกินและดื่มมากขนาดไหนก็ตาม การถือศิลอดของเขาก็ไม่เสีย

       หลักฐานในเรื่องนี้ได้แก่ฮาดิษอะบูฮุรอยเราะห์ ( ร.ด ) ว่า ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ( ซ.ล ) ได้กล่าวว่า :

       ? ผู้ใดลืมขณะที่ถือศิลอด และเขาได้กินหรือดื่ม ให้เขาจงถือศิลอดให้ตลอดเถิดเพราะแท้ที่จริงอัลเลาะห์เป็นผู้ให้อาหารและน้ำดื่มแก่เขา ? รายงานโดย มุสลิม ( 1155 ) และบุคอรี ( 1831 )

       2.  มีวัตถุเข้าไปถึงภายในจากทางทวารที่เปิด :

       คำที่ว่า วัตถุ หมายถึงสิ่งที่มองเห็นด้วยตา คำที่ว่าภายใน หมายถึง โพลงสมอง หรือลึกลงไปเกินลูกกระเดือกถึงกระเพาะและลำไส้
       คำที่ว่าทวารที่เปิด ได้แก่ ปาก รุหู รูทวารหน้า และทวารหลัง ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย
       การหยอดหู ทำให้เสียการถือศิลอด เพราะหูเป็นทวารที่เปิด
       การหยอดตา ไม่ทำให้เสียการถือศิลอด เพราะตาไม่ใช่ทวารเปิด
       การสวนทวารหนัก ทำให้เสียการถือศิลอด เพราะรูทวารเปิด
       การฉีดยาเข้าเส้น ไม่ทำให้เสียการถือศิลอด เพราะเส้นไม่ใช่ทวารเปิด
       ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องกระทำโดยเจตนา ถ้าหากกระทำโดยลืม ก็ไม่เกิดผลเสีย โดยเทียบเคียง ( กิยาส ) กับการกินและการดื่ม
หากแมลงวันหรือยุง หรือฝุ่นละอองตามทางเข้าไปถึงภายใน ก็ไม่เสียการถือศิลอดอีกเช่นกัน เพราะเป็นการยากลำบากที่จะป้องกันได้
การกลืนน้ำลายตนเอง ก็ไม่ทำให้เสียการถือศิลอด
       ถ้าหากกลืนน้ำลายที่มีนายิสปะปนอยู่ เช่นคนที่มีเลือดออกที่เหงือก และเขาไม่ได้ล้างปากให้สะอาด แม้น้ำลายจะขาวก็ตาม ทำให้เสียการถือศิลอด
       ถ้าหากบ้วนปากหรือสูดน้ำเข้าจมูกขณะอาบน้ำละหมาด น้ำที่บ้วนปากหรือที่ใช้สูดเข้าจมูกนั้นพลาดเข้าไปข้างใน ไม่ทำให้เสียการถือศิลอดถ้าหากเขาไม่ได้ทำให้น้ำเข้าปากหรือจมูกลึกเกินไปขณะบ้วนปากหรือสูดเข้าจมูก แต่ถ้าหากเขาปล่อยให้น้ำเข้าลึกเกินไปก็ทำให้เสียการถือศิลอด เพราะเขาได้กระทำสิ่งที่เป็นข้อห้ามไม่ให้กระทำขณะถือศิลอด
       ถ้าหากมีเศษอาหารติดอยู่ตามซอกฟัน และมันได้หลุดติดไปกับน้ำลายลงไปภายในโดยไม่ได้มีเจตนา ให้พิจารณาดังนี้ ถ้าเขาไม่สามารถแยกอาหารออกจากน้ำลาย และบ้วนอาหารทิ้งไปได้ ก็ไม่เสียการถือศิลอด เพราะสุดวิสัย และไม่เป็นผู้ประมาท และถ้าหากเขาสามารถแยกได้แต่ไม่ยอมแยกก็ถือว่า เสียการถือศิลอด เพราะเขาบกพร่องและประมาท
       ถ้าหากถูกบังคับ ให้กินและดื่มก็ไม่เสียการถือศิลอดอีกเช่นเดียวกัน เพราะกระทำไปโดยไม่สมัครใจ
เด็กหอพักนานาชาติอิสลาม(มะดีนะตุลบูอูษอัลอิสลามียะฮ์)

ออฟไลน์ Islamicstudentcity

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 21
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
       3.  จงใจทำให้อาเจียน :

       การจงใจทำให้อาเจียน ถือเป็นสิ่งที่ทำให้เสียการถือศิลอด แม้ผู้ถืดศิลอดจะมั่นใจว่าไม่มีสิ่งใดกลับเข้าไปภายในอีกเลยก็ตาม แต่ถ้าหากเขาไม่สามารถฝืนการอาเจียนไว้ได้ ก็ไม่ทำให้เสียการถือศิลอดแม้จะรู้ว่ามีบางอย่างที่ออกมากลับเข้าไปภายในอีก โดยที่เขาไม่ได้เจตนาก็ตาม
หลักฐานในเรื่องนี้ได้แก่ฮาดิษที่อะบูฮูรอยเราะห์ (ร.ด) ได้รายงานว่า ท่านนบี ( ซ. ล ) กล่าวว่า :

       ? ผู้ใดไม่สามารถฝืนการอาเจียนไว้ได้ ขณะที่เขาถือศิลอด เขาไม่จำเป็นต้องชดใช้ และหากเขาจงใจให้อาเจียน ให้เขาจงชดใชเถิด ? นำออกรายงานโดย อะบูดาวูด ( 2380 ) ติรมีซี ( 720 ) และท่านอื่น

       4.  ร่วมประเวณีโดยเจตนา :

       แม้ไม่ถึงขั้นหลั่งอสุจิก็ตาม หลักฐานในเรื่องนี้ คือดำรัสของอัลเลาะห์ ตาอาลาที่ว่า :

       ? ท่านทั้งหลายจงกินและจงดื่ม จนกว่าเส้นด้ายสีขาว จากเส้นด้ายสีดำ ของแสงอรุณจะปรากฏแก่พวกท่านจากนั้นให้พวกท่านจงถือศิลอดให้ครบถึงกลางคืนเถิด และท่านทั้งหลายอย่าสัมผัสพวกนาง ขณะพวกท่านเอียะตีกาฟอยู่ในมัสยิด ? ( อัลบากอเราะห์ 187 )

       คำที่ว่าเส้นด้ายขาว คือ แสงอรุณของเวลากลางวัน คำที่ว่าเส้นด้ายดำ ความมืดของเวลากลางคืน คำที่แสงอรุณขึ้น หมายถึง แสงอรุณที่ขอบฟ้าซึ่งเป็นสิ่งบ่งบอกว่าสิ้นสุดเวลากลางคืนและเริ่มเข้าสู่เวลากลางวัน คำที่ว่า และท่านทั้งหลายอย่าสัมผัสพวกนาง หมายถึงอย่าร่วมประเวณีกับพวกนาง

       ถ้าหากได้ร่วมประเวณีโดยลืมว่าตนถือศิลอด ไม่ทำให้เสียการถือศิลอด โดยเทียบเคียง ( กียาส ) กับการกินและการดื่มโดยลืม
เด็กหอพักนานาชาติอิสลาม(มะดีนะตุลบูอูษอัลอิสลามียะฮ์)

ออฟไลน์ Islamicstudentcity

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 21
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
       5.  กระทำให้อสุจิหลั่ง :

       คือกระทำให้อสุจิหลั่งด้วยการสัมผัส จูบ เป็นต้น หรือโดยใช้มือ ถ้าหากผู้ถือศิลอดเจตนา กระทำก็ถือว่าเสียศิลอด ส่วนกรณีไม่สามารถอดกลั้นไม่ให้หลั่งได้ ก็ไม่เสียการถือศิลอด

       การจูบภรรยาขณะถือศิลอดในเดือนรอมาดอนถือเป็น มักรูห์ตะห์รีม สำหรับบุคคลที่การจูบของเขาทำให้เกิดความกำหนัด ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงก็ตาม เพราะการกระทำดังกล่าว ถือเป็นการล่อแหลมที่จะเสียศิลอดได้

       สำหรับการจูบไม่ก่อให้เกิดกำหนัด ที่ดียิ่งสำหรับเขาคือการไม่จูบเพื่อเป็นการปิดประตูที่จะนำไปสู่การเสียศิลอด

       มุสลิม ( 1106 ) ได้รายงานจากอะอีชะห์ ( ร.ด ) ว่า :

       ? ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ( ซ . ล ) เคยจูบฉันขณะที่ท่านถือศิลอด จะมีใครในหมู่พวกท่านที่จะสามารถควบคุมความต้องการของตนเองได้ เหมือนกับที่ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ( ซ . ล ) ควบคุมความต้องการของท่าน?

        ผู้รู้กล่าวว่า คำพูดของอาอิชะห์ ( ร.ด ) หมายความว่า พวกท่านควรระมัดระวังเรื่องการจูบ พวกท่านอย่าสำคัญตนผิดว่าพวกท่านสามารถควบคุมความต้องการของตังเองได้เหมือนท่านนบี ( ซ . ล ) ที่ควบคุมความต้องการของตัวท่านได้ การจูบของท่านจึงไม่น่าไปสู่การหลั่งหรือเกิดกำหนัด แต่พวกท่านจะไม่สามารถเช่นนั้น

       6.  มีเลือดประจำเดือนหรือนิฟาส :

       เพราะเลือดทั้งสองเป็นอุปสรรคขัดขวางการถือศิลอด สตรีคนใดที่มีเลือดประจำเดือนหรือนิฟาสเกิดขึ้นในช่วงใดของเวลากลางวันขณะถือศิลอด ถือว่าเสียการถือศิลอดของนาง และจำเป็นนางต้องชดใช้ การถือศิลอดในภายหลัง บุคอรี ( 298 ) และมุสลิม ( 80 ) ได้รายงานจากอบีสะอีด ( ร.ด) ว่าท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ( ซ.ล ) ได้กล่าวถึงผู้หญิงขณะที่ท่านถูกถามเกี่ยวกับความบกพร่องในเรื่องศาสนาของนางว่า :

       ? เมื่อนางมีเลือดประจำเดือน นางไม่ต้องละหมาด และไม่ต้องถือศิลอดไม่ใช่หรือ ? ?

       7.  เป็นบ้าและสิ้นสภาพการเป็นอิสลาม :

       ทั้งสองประการนี้เป็นอุปสรรคที่จะทำให้การถือศิลอดมีผลใช้ได้ เพราะขาดคุณสมบัติ ของผู้ที่ทำอีบาดะห์

       ดังกล่าวมานี้ ผู้ที่ถือศิลอดจะต้องอดกลั้นไม่กระทำสิ่งที่ทำให้เสียการถือศิลอดต่างๆ เพื่อให้การถือศิลอดของตนมีผลใช้ได้ เริ่มตั้งแต่แสงอรุณขึ้น จนตะวันลับขอบฟ้า ถ้าหากผู้ถือศิลอดกระทำสิ่งที่ทำให้เสียการถือศิลอด โดยเชื่อว่าแสงอรุณยังไม่ขึ้น แต่ปรากฏว่าความเชื่อของเขาไม่ตรงความจริงการถือศิลอดของเขาใช่ไม่ได้ และเขาจะต้องอดอาหารตลอดวันนั้น เพื่อให้เกียรติแก่รอมาดอน และจะต้องชดใช้ในภายหลังด้วย

       และเช่นเดียวกับกรณีดังกล่าว ถ้าหากเขาละศิลอดในตอนค่ำโดยเชื่อว่าตะวันลับขอบฟ้าแล้ว แต่ปรากฏว่าตะวันยังไม่ลับขอบฟ้า การถือศิลอดของเขาใช้ไม่ได้และจำเป็นต้องชดใช้ในภายหลัง
เด็กหอพักนานาชาติอิสลาม(มะดีนะตุลบูอูษอัลอิสลามียะฮ์)

ออฟไลน์ Islamicstudentcity

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 21
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ระเบียบของการถือศิลอดและสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติขณะถือศิลอด


       ระเบียบของการถือศิลอด

       สำหรับการถือศิลอดมีระเบียบหลายประการพอสรุปได้ดังต่อไปนี้ :

       1.  รีบละศิลอด :

       คือรีบละศิลอดทันทีภายหลังตะวันลับขอบฟ้า หลักฐานในเรื่องนี้ คือฮาดิษ บุคอรี ( 1856 ) และมุสลิม ( 1098 ) ที่รายงานจาก สะหัล    บุตร สะอัด ( ร.ด ) ว่าท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ( ซ.ล ) กล่าว่า :

       ? มนุษย์จะยังคงอยู่ในความดี ตราบที่พวกเขารีบละศิลอด? และที่ดีนั้นควรละศิลอดด้วยอินทผาลัมสด หรือแห้ง ถ้าหากไม่มีให้ละศิลอดด้วยน้ำ

       ติรมีซี ( 696 ) และอบูดาวูด ( 3356 ) ได้รายงานว่าท่านนบี ( ซ.ล ) :

       ? เคยละศิลอดก่อนละหมาด ด้วยอินทผาลัมสด ถ้าไม่มีก็ด้วยอินทผาลัมแห้ง และถ้าไม่มีท่านก็จะดื่มน้ำหลายอึก เพราะมันทำให้สะอาด ?

       2.  รับประทานอาหารดึก ( สะฮูร ) :

       คือการรับประทานอาหารภายหลังเที่ยงคืนไปแล้ว หลักฐานในเรื่องนี้ได้แก่ ฮาดิษ บุคอรี ( 1823 ) และมุสลิม ( 1095 ) ได้รายงานจากท่านนบี ( ซ.ล ) ว่าท่านได้กล่าวว่า :

      ? ท่านทั้งหลายจงรับประทานอาหารดึก เพราะในอาหารดึกนั้นมีความเพิ่มพูน ?

       ส่วนเคล็ดลับที่สุนัตให้รับประทานอาหารดึกนั้น เพื่อให้แข็งแรงสามารถถือศิลอดในวันรุ่งขึ้นได้ ฮากิมได้รายงานในหนังสือ มุสตัดร๊อก ของเขา ( 1/425 ) ว่าท่านนบี ( ซ.ล ) ว่า :

      ? ท่านทั้งหลายจงเอาอาหารดึกมาช่วยการถือศิลอดในเวลากลางวันเถิด ?

        เข้าเวลาอาหารดึก เมื่อเข้าเวลาเที่งคืน การรับประทานอาหารดึกไม่ว่าจะมากหรือเล็กน้อย หรือเพียงแค่ดื่มน้ำ ก็ถือว่าได้รับความประเสริฐแล้ว

       อิบนุฮิบบานได้รายงานในหนังสือ ซอเฮี๊ยะของเขาว่าท่านนบี ( ซ.ล ) ได้กล่าวว่า :

       ? ท่านทั้งหลายจงรับประทานอาหารดึกเถิด แม้เป็นน้ำเพียงอึกเดียวก็ตาม ? ( มะวาริดุซซอมอาน 884 )

       3.  ควรรับประทานอาหารดึกในเวลาใกล้รุ่ง :

       โดยกะเวลาให้การรับประทานและดื่มน้ำเสร็จก่อนแสงอรุณขึ้นเล็กน้อย หลักฐานในเรื่องนี้ได้แก่ ฮาดิษ ที่อิหม่าม อะห์หมัดได้รายงานไว้ในหนังสือ มุสนัดของเขา ( 5/147 ) จากท่านนบี ( ซ .ล ) ว่า :

       ? ประชากรของฉันจะคงอยู่ในความดี ตราบที่พวกเขารีบละศิลอด และล่าช้าการรับประทานอาหารดึก ?

       และบุคอรี ( 556 ) ได้รายงานจากอะนัส ( ร.ด ) ว่าท่านนบี ( ซ.ล ) และ เซต บุตร ซาบิต ได้รับประทานอาหารดึก เมื่อทั้งสองรับประทานอาหารดึกเสร็จ ท่านนบี ( ซ . ล ) ได้ลุกขึ้นและไปละหมาดพวกเราถามอะนัสว่า ช่วงเวลาระหว่างที่ทั้งสองเสร็จจากการรับประทานอาหารดึกและเขาทั้งสองเข้าไปละหมาดห่างกันเท่าใด ? เขาตอบว่า เท่ากับช่วงที่คนหนึ่งอ่านกรุอ่านได้สิบห้าอายะห์
เด็กหอพักนานาชาติอิสลาม(มะดีนะตุลบูอูษอัลอิสลามียะฮ์)

 

GoogleTagged