ผู้เขียน หัวข้อ: นิติศาสตร์อิสลามกับการถือศีลอดเดือนรอมาดอน โดย ท่าน อ.อรุณ บุญชม  (อ่าน 16383 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Islamicstudentcity

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 21
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
       4.  ควรต้องสงวนถ้อยคำ :

       โดยละทิ้งคำพูดประเภทโกหก ด่า นินทา ยุแหย่ และต้องควบคุมจิตใจ ไม่ให้เกิดกำหนัดต่างๆ เช่นการมองดูเพศตรงข้าม และฟังเพลง เป็นต้น บุคอรี ( 1804 ) ได้รายงานจาก อะบูฮูรอยเราะห์ ( ร.ด ) ว่า :

       ? ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ( ซ.ล ) ได้กล่าวว่า ผู้ใดไม่ละทิ้งคำพูดเท็จ และไม่เลิกกระทำการโป้ปด อัลเลาะห์จะไม่ทรงเกี่ยวข้องอะไรกับการที่เขาอดอาหารและเครื่องดื่ม ?

       ที่จริงแล้วการด่าทอ การโกหก การนินทา และการยุแหย่นั้น ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องห้าม ( ฮะรอม ) อยู่ในตัวของมันเองอยู่แล้ว แต่ที่นำมาเกี่ยวข้องกับผู้ที่ถือศิลอด ก็เพราะนอกจากเป็นบาป แล้ว มันยังทำลายผลบุญของการถือศิลอดอีกด้วย แม้ว่าการถือศิลอดจะมีผลใช้ได้และพ้นการบังคับ ของศาสนาก็ตาม ทั้งนี้เพราะสิ่งที่กล่าวมานี้จัดอยู่ในระเบียบของการถือศิลอด ที่ผู้ถือศิลอดต้องดำเนินตาม

       5.  ควรอาบน้ำยกฮะดัษใหญ่ ( ญูนุบ ) ก่อนแสงอรุณขึ้น :

      เพื่อให้ร่างกายสะอาดก่อนที่จะเริ่มต้นถือศิลอด ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า การมีญูนุบ จะทำการถือศิลอดไม่ได้ แต่ที่ดีนั้นควรอาบน้ำยกฮาดัษ ญูนุบ ก่อนแสงอรุณขึ้น หลักฐานในเรื่องดังกล่าว ได้แก่ ฮาดิษที่บุคอรี ( 1825 .1830 ) ได้รายงานว่า :

     ? ท่านนบี ( ซ.ล ) มีญูนุบที่ไม่ใช่เกิดจากความฝัน หลังจากนั่นท่านได้อาบน้ำและทำการถือศิลอด ?

       สำหรับสตรีที่หมดเลือดประจำเดือน และเลือดนิฟาส ก็ควรอาบน้ำยกฮาดัษก่อนแสงอรุณขึ้นถ้าเลือดหยุดก่อนหน้านั้น
 
       6.  ควรระยับการกรอกเลือด การเจาะเส้นเลือด และการกระทำคล้ายกับสองอย่างนี้ :

       เพราะจะทำให้ร่างกายของผู้ถือศิลอดอ่อนเพลีย และผู้ถือศิลอดไม่ควรซิมอาหารและใช้ลิ้นแตะอาหาร เพราะกลัวว่าจะมีสิ่งใดหลุดเข้าไปถึงเขตภายใน ซึ่งจะทำให้เสียการถือศิลอด
เด็กหอพักนานาชาติอิสลาม(มะดีนะตุลบูอูษอัลอิสลามียะฮ์)

ออฟไลน์ Islamicstudentcity

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 21
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
       7.  ควรกล่าวขณะละศิลอดว่า :

       ? ข้าแด่อัลเลาะห์เจ้า ข้าพเจ้าถือศิลอดเพื่อพระองค์ท่าน ข้าพเจ้าละศิลอดด้วยปัจจัยยังชีพ ( ริสกี ) ของพระองค์ท่าน ความากระหายมลายไป เส้นเลือดชุ่มน้ำ ผลบุญปรากฏหากอัลเลาะห์ประสงค์ ?

       8.  ควรเลี้ยงอาหารละศิลอดแก่ผู้ถือศิลอด :

       โดยการเลี้ยงอาหาร และถ้าหากไม่สามารถเลี้ยงอาหารได้ ก็ให้อินทผาลัม หรือน้ำดื่มในการละศิลอด

       ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ( ซ.ล ) กล่าวว่า :

       ? ผู้ใดเลี้ยงอาหารละศิลอดแก่ผู้ถือศิลอด เขาจะได้รับผลบุญเท่ากับผู้ถือศิลอด โดยไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันเลย ?

       9.  ทำทานให้มาก อ่านและทบทวนอัลกรุอ่าน เอี๊ยะตีกาฟในมัสยิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสิบวันสุดท้ายของรอมาดอน :

       เล่าจากอนัส ( ร.ด ) ว่า ได้มีผู้ถามว่า ? โอ้ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ การทำทานอะไรประเสริฐที่สุด ? ท่านตอบว่า การทำทานในรอมาดอน ? รายงานโดย ติรมีซี ( 663 )

        บุคอรี ( 1803 ) และมุสลิม ( 2308 ) รายงานว่า ญิบรีลได้พบท่านนบี ( ซ.ล ) ทุกปี ในรอมาดอนจนสิ้นเดือน ญิบรีลจะนำอัลกรุอ่านมานำเสนอต่อท่านนบี ( ซ.ล ) สำหรับเรื่องเอี๊ยะตีกาฟ จะนำมากล่าวไว้ท้ายเรื่องการถือศิลอด

       สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ ( มักรูห์ ) ในขณะถือศิลอด :

       สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติขณะถือศิลอดใด้แก่สิ่งที่ขัดกันกับระเบียบของการถือศิลอดดังได้กล่าวมาแล้ว บางอย่างจัดเข้าอยู่ในประเภท มักรูห์ตันซีห์ เช่น ล่าช้าในการละศิลอดและรีบรับประทานอาหารดึก ( สะฮูด ) และบางอย่างจัดเข้าอยู่ในประเภท สิ่งที่ต้องห้าม ( หะรอม ) เช่น การนินทา การยุแหย่ และการพูดปด
เด็กหอพักนานาชาติอิสลาม(มะดีนะตุลบูอูษอัลอิสลามียะฮ์)

ออฟไลน์ Islamicstudentcity

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 21
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
 
ชดใช้การถือศิลอดเดือนรอมาดอน ฟิดยะห์ และกัฟฟาเราะห์


       1.   คนเดินทางและคนป่วย :

       ผู้ใดที่ขาดการถือศิลอดในเดือนรอมาดอน เพราะสาเหตุเดินทางหรือป่วย เขาจำเป็นต้องชดใช้ การถือศิลอดวันที่ขาดนั้นก่อนถึงรอมาดอนของปีถัดไป ถ้าหากเขาไม่ชดใช้โดยมีเหตุจำเป็น จนถึงรอมาดอนปีถัดไปเขาก็มีบาป และจำเป็นต้องชดใช้พร้อมจ่าย ฟิดยะห์ คือต้องจ่ายอาหารที่ใช้บริโภคเป็นส่วนมากในเมืองนั้นเป็นค่าปรับวันละหนึ่งมุดให้แก่คนยากจน และยิ่งจำนวนปีผ่านไปโดยที่เขายังไม่ได้ชดใช้การถือศิลอด จำนวนค่าปรับก็จะเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น อาหารจำนวนหนึ่งมุด มีปริมาณเท่ากับการใช้มือของคนรูปร่างปานกลางสองข้าง กอบขึ้นมาครั้งหนึ่งเต็มๆ หรือมีน้ำหนักประมาณ 600 กรัม

       สำหรับผู้ที่มีอุปสรรคเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นมีอาการป่วยเรื้อรังจนถึงรอมาดอนของปีถัดไป เขาจำเป็นต้องชดใช้เมื่อหายเป็นปกติแล้ว ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าปรับในเรื่องชดใช้แต่อย่างใด

       ถ้าหากเขาเสียชีวิตไปโดยยังไม่ได้ชดใช้การถือศิลอดที่ขาด ซึ่งในเรื่องนี้มีสองกรณีคือ
       1.บางทีเขาเสียชีวิตไปก่อนที่จะมีความสามารถชดใช้การถือศิลอดได้
       2.หรือเสียชีวิตไปภายหลังจากมีความสามารถจะชดใช้ได้แล้ว แต่เขาละเลยยังไม่ชดใช้

       สำหรับกรณีแรกไม่มีบาปในเรื่องนี้ติดตัวเขา เพราะเขาไม่ใช้เป็นผู้ละเลย
       ส่วนในกรณีที่สอง เขามีบาป เพราะเขาเป็นผู้ละเลย และสุนัตให้วะลี ของเขาถือศิลอดแทนวันที่เขาขาดการถือศิลอด

       คำว่าวะลีในที่นี้หมายถึงญาติของเขาคนใดก็ได้ หลักฐานในเรื่องนี้ ได้แก่ฮาดิษที่บุคอรี ( 1851 ) และมุสลิม ( 1174 ) ได้รายงานจากอะอีชะห์ ( ร.ด ) ว่าท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ( ซ.ล ) ได้กล่าวว่า :

       ? ผู้ใดเสียชีวิตไปในสภาพที่มีการถือศิลอดติดอยู่เหนือเขา ให้วะลีของเขาทำการถือศิลอดแทน ?

       บุคอรี ( 1852 ) และมุสลิม ( 1148 ) รายงานจาก อิบนิอับบาส ( ร.ด ) ได้กล่าวว่า ชายคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ( ซ.ล ) แล้วกล่าวว่า :
 
       ? โอ้ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ มารดาของข้าพเจ้าเสียชีวิตโดยมีการถือศิลอดหนึ่งเดือนติดตัวอยู่ ข้าพเจ้าจะถือศิลอดชดใช้แทนได้ไหม ? ท่านตอบว่า ได้ หนี้ที่ติดอัลเลาะห์อยู่สมควรต้องชดใช้ยิ่ง ?

       บุคคลที่ไม่ได้เป็นญาติของผู้ตายจะถือศิลอดแทนผู้ตายไม่ได้ เว้นแต่เมื่อได้ขออนุญาตถือศิลอด แทนจากญาตคนใดคนหนึ่งของผู้ตายเสียก่อน ถ้าหากถือศิลอดแทนโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือโดยผู้ตายไม่ได้สั่งเอาไว้ การถือศิลอดแทนผู้ตายมีผลใช้ไม่ได้
ในกรณีที่ไมมีผู้ใดถือศิลอดแทนผู้ตาย ให้จ่ายเป็นอาหารแทนวันละหนึ่งมุด ส่วนที่จ่ายเป็นอาหารนี้ให้เอามาจากกองมรดกเหมือนการชดใช้หนี้สินที่ต้องเอามาจากกองมรดกของผู้ตายเช่นเดียวกัน ถ้าหากผู้ตายไม่มีมรดก อนุญาตให้จ่ายแทนได้ และถือว่าพ้นตัวผู้ตาย

       ติรมีซี ( 817 ) ได้รายงานจาก อิบนุอุมัร ( ร.ด ) ว่า :

       ? ผู้ใดตายโดยมีการถือศิลอดติดตัวอยู่หนึ่งเดือน ให้มีผู้จ่ายอาหารแทนเขาทุกวันต่อทุกหนึ่งคนยากจน ?

       และอะบูอาวุด ( 2401 ) ได้รายงานจาก อิบนิอับบาส ( ร.ด ) ว่า :

       ? เมื่อชายคนหนึ่งป่วยในเดือนรอมาดอน แล้วเขาเสียชีวิต โดยไม่ได้ถือศิลอดให้จ่ายอาหารแทนเขา ?
เด็กหอพักนานาชาติอิสลาม(มะดีนะตุลบูอูษอัลอิสลามียะฮ์)

ออฟไลน์ Islamicstudentcity

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 21
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
       2 .  คนชรา คนไร้ความสามารถ และผู้ป่วยที่ไม่มีความหวังว่าจะหาย :

       เมื่อคนชราสูงอายุมีความจำเป็นต้องละศิลอด เขาจำเป็นต้องจ่ายอาหารเป็นทานวันละหนึ่งมุดจากอาหารที่คนส่วนใหญ่ใช้รับประทาน หลังจากนั้นทั้งตัวเขาและญาตของเขาไม่จำเป็นต้องกระทำใดๆอีก

       บุคอรี ( 4235 ) ได้รายงานจาก อะตออ์ ว่า เขาได้ยินอิบนุอับบาส ( ร.ด ) อ่าน :

       ? และเหนือผู้ที่ ( ไม่ ) มีความสามารถถือศิลอด จ่ายฟิดยะห์ เป็นอาหารแก่คนยากจน ? ( อัลบากอเราะห์ 184 ) อิบนุอับบาสได้กล่าวว่า อายะห์นี้ไม่ได้ถูกยกเลิก แต่หมายถึงคนชราสูงอายุทั้งชายและหญิง ที่ไม่สามารถถือศิลอดได้ ให้เขาจ่ายอาหารแทนทุกวันต่อทุกหนึ่งคนยากจน

       และมีสิ่งที่จำเป็นต้องทราบก็คือคนป่วยที่ไม่มีหวังว่าจะหายนั้น ใช้ข้อบังคับอย่างเดียวกับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถถือศิลอดได้ คือให้เขาละศิลอด และจ่ายอาหารแทนวันละหนึ่งมุด จากอาหารที่คนส่วนใหญ่ใช้รับประทาน

       3.  หญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่ให้นมทารก :

       เมื่อหญิงที่ตั้งครรภ์และหญิงที่ให้นมทารกละศิลอด บางครั้งนางอาจกลัวเป็นอันตรายกับตนเองหรืออาจกลัวเป็นอันตรายกับทารก
ถ้าหากนางกลัวจะเกิดอันตรายกับตนเอง ก็จำเป็นต้องชดใช้การถือศิลอดที่ขาดเท่านั้นก่อนที่รอมาดอนหน้าจะมาถึง

       ติรมีซี ( 715 ) และอะบูดาวุด ( 2408 ) และคนอื่น ๆ ได้รายงานจากอะนัส อัลกะอ์บีย์ ( ร.ด ) จากท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ( ซ.ล ) ว่า :

       ? ความจริงอัลเลาะห์ ตาอาลา ได้ผ่อนปรนการถือศิลอด และครึ่งหนึ่งของละหมาดให้คนเดินทางและได้ผ่อนปรนการถือศิลอด ให้แก่หญิงมีครรภ์ และหญิงที่ให้นมทารก ? คือผ่อนผันให้ย่อละหมาด และละศิลอดพร้อมทั้งต้องชดใช้ภายหลัง
 
       และถ้าหากนางละศิลอดเพราะกลัวจะเป็นอันตรายต่อทารก โดยนางกลัวว่าจะแท้งถ้าหากถือศิลอด หรือกลัวว่าจะมีน้ำนมน้อยไม่พอเลี้ยงทารก นางจำเป็นต้องชดใช้การถือศิลอดในวันที่นางละศิลอดและจำเป็นต้องจ่ายอาหารที่คนส่วนใหญ่ใช้รับประทานอีกวันละหนึ่งมุด เป็นทาน
อะบูดาวุด ( 2318 ) รายงานจาก อิบนิอับบาส ( ร.ด ) ว่า :

       ? เหนือผู้ที่ ( ไม่ ) สามารถถือศิลอด ต้องจ่ายฟิตยะห์ เป็นอาหารแก่คนยากจน ? ( อัลบากอเราะห์ 184 ) อิบนุอับบาส กล่าวว่า :

       ( มันเป็นข้อผ่อนผันสำหรับคนชราทั้งชายและหญิงที่ไม่สามารถถือศิลอดได้ ให้เขาละศิลอดและจ่ายอาหารแทนทุกวันต่อทุกคนหนึ่งคนยากจน หญิงที่มีครรภ์และหญิงที่ให้นมทารกเมื่อกลัวทารกจะเป็นอันตราย ให้ละศิลอด ( ต้องชดใช้ ) และจ่ายอาหาร )
เด็กหอพักนานาชาติอิสลาม(มะดีนะตุลบูอูษอัลอิสลามียะฮ์)

ออฟไลน์ Islamicstudentcity

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 21
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
กัฟฟาเราะห์ในรอมาดอน


       เหตุที่ทำให้จำเป็นต้องจ่ายกัฟฟาเราะห์ :

       คือการทำให้การถือศิลอดในรอมาดอนด้วยการร่วมประเวณี โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ร่วมประเวณีรู้ตัวว่ากำลังถือศิลอด และรู้ว่าการร่วมประเวณีขณะถือศิลอด เป็นสิ่งต้องห้าม ( หะรอม ) และไม่ใช่เป็นผู้ได้รับการการผ่อนผันให้ละศิลอดด้วยการเดินทาง

       ดังนั้นถ้าหากผู้ที่ร่วมประเวณีขณะถือศิลอด กระทำไปโดยลืมว่ากำลังถือศิลอด หรือไม่รู้ว่าการร่วมประเวณีขณะถือศิลอดเป็นสิ่งต้องห้าม หรือร่วมประเวณีขณะถือศิลอดอื่นที่ไม่ใช่ในเดือนรอมาดอน หรือจงใจทำให้เสียศิลอดด้วยอย่างอื่นที่ไม่ใช่การร่วมประเวณี หรือเป็นผู้เดินทางไกลที่ได้รับการผ่อนผันให้ละศิลอด และเขาได้ร่วมประเวณี ทุกกรณีที่กล่าวมานั้นไม่ต้องจ่ายกัฟฟาเราะห์ แต่เขาจำเป็นต้องถือศิลอดชดใช้

       ใครที่จำเป็นต้องจ่ายกัฟฟาเราะห์ :

       สามีที่ร่วมประเวณีขณะถือศิลอดรอมาดอน เป็นผู้จำเป็นต้องจ่ายกัฟฟาเราะห์แต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ส่วนภรรยาหรือหญิงที่ถูกร่วมประเวณีด้วยนั้น ไม่จำเป็นต้องจ่ายกัฟฟาเราะห์แต่อย่างใดแม้จะถือศิลอดด้วยก็ตาม เพราะความผิดของผู้กระทำหนักกว่า ดังนั้นจึงเป็นการเหมาะสมแล้วที่เขาถูกศาสนาบังคับให้จ่ายกัฟฟาเราะห์

       กัฟฟาเราะห์คืออะไร :

       สำหรับกัฟฟาเราะห์ในกรณีที่ทำให้เสียการถือศิลอดรอมาดอน ด้วยการร่วมประเวณีนั้นคือ ต้องปล่อยทาสทีมีศรัทธาจะเป็นหญิงหรือชายก็ได้จำนวนหนึ่งคน ถ้าหากไม่มีทาส หรือเขาไม่สามารถจัดหาทาสมาได้ ให้เขาถือศิลอดสองเดือนติดต่อกันไป ถ้าหากเขาไม่มีความสามารถถือศิลอดสองเดือนได้ ให้เขาจ่ายอาหารแก่คนยากจนหกสิบคน คนละหนึ่งมุด เป็นอาหารที่คนส่วนใหญ่ในเมืองนั้นใช้รับประทาน และถ้าหากไม่มีความสามารถกระทำทุกอย่างที่กล่าวมา กัฟฟาเราะห์ก็จะติดตัวเขาตลอดไปจนกว่าจะสามารถกระทำประการหนึ่งประการใดได้

       หลักฐานในเรื่องนี้ได้แก่ฮาดิษที่บุคอรี ( 1834 ) มุสลิม ( 1111 ) และคนอื่นๆ ได้รายงานจากอะบูฮูรอยเราะห์ ( ร.ด ) ที่กล่าวว่า :

        "ขณะที่พวกเรานั่งอยู่กับท่านนบี ( ซ.ล ) นั้นได้มีชายคนหนึ่งมาหาท่านแล้วกล่าวขึ้นว่า โอ้ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ฉันคงพินาศแน่ ท่านถามว่า เจ้าเป็นอะไรหรือ ? เขาตอบว่า ฉันร่วมประเวณีกับภรรยาขณะที่ฉันถือศิลอด ในรายงานหนึ่งว่า ในเดือนรอมาดอน ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ( ซ.ล ) กล่าวว่า เจ้ามีทาสที่จะปลดปล่อยไหม ? เขาตอบว่าไม่มี ท่านถามว่า เจ้าจะถือศิลอดสองเดือนติดต่อกันได้ไหม ? เขาตอบว่า ไม่ได้ ท่านถามว่า มีอาหารแจกแก่คนยากจนหกสิบคนไหม ? เขาตอบว่าไม่มี อะบูฮูรอยเราะห์ กล่าวว่า ท่านนบี ( ซ.ล ) นิ่ง ขณะที่พวกเราตกอยู่ในสภาพเช่นนั้นได้มีผู้นำตะกร้า ที่สานด้วยใบอินทผาลัม ที่มีอินทผาลัมบรรจุอยู่มาให้ท่านนบี ( ซ.ล ) ท่านกล่าวขึ้นว่า คนที่ถามอยู่ไหน ? เขาตอบอยู่ที่นี่ ท่านกล่าวว่า จงเอานี่ไปและนำไปแจกจ่าย ชายคนนั้นถามว่าแก่คนที่ยากจนกว่าฉันอย่างนั้นหรือ ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ? ไม่มีครอบครัวใดระหว่างสอง ฮัรเราะห์ เป็นชื่อเรียกสถานที่ในมะดีนะห์ซึ่งเป็นบริเวณที่มีหินลาวาสีดำ นี้ยากจนยิ่งกว่าครอบครัวของฉัน ท่านนบี ( ซ. ล ) หัวเราะจนเห็นเขี้ยวของท่าน แล้วท่านก็กล่าวว่า จงนำมันไปเป็นอาหารแก่ครอบครัวของเจ้าเถิด"

       ผู้รู้กล่าวว่า : ศาสนาไม่ยินยอมให้คนยากจน ที่สามารถจ่ายอาการเป็นกัฟฟาเราะห์ได้ นำอาหารนั้นไปจ่ายให้ครอบครัวของตน และสิ่งที่เป็นกัฟฟาเราะห์ต่างๆ ก็เช่นกัน ไม่ยินยอมให้จ่ายแก่ครอบครัวของตน เรื่องที่กล่าวในฮาดิษเป็นกรณีพิเศษ ( คุซูซีย์ ) เฉพาะชายคนนั้นเท่านั้น

       และอีกสิ่งหนึ่งที่ควรรู้ก็คือ ผู้ที่ร่วมประเวณีนั้นนอกจากต้องจ่ายกัฟฟาเราะห์แล้ว ยังจำเป็นต้องชดใช้การถือศิลอดในวันที่เขาทำให้เสียด้วยการร่วมประเวณีอีกด้วย และจำนวนกัฟฟาเราะห์จะเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มวันที่เขาทำให้เสียการถือศิลอดด้วยการร่วมประเวณี ดังนั้นถ้าหากเขาร่วมประเวณีขณะถือศิลอดรอมาดอนสองวันเขาจำเป็นจะต้องจ่ายสองกัฟฟาเราะห์ พร้อมทั้งต้องชดใช้การถือศิลอดสองวัน ถ้าหากเขาร่วมประเวณีสามวัน ก็ต้องจ่ายสามกัฟฟาเราะห์ เป็นต้น
เด็กหอพักนานาชาติอิสลาม(มะดีนะตุลบูอูษอัลอิสลามียะฮ์)

ออฟไลน์ Islamicstudentcity

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 21
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อัสลามุอะลัยกุม :  เรียบร้อยแล้วครับ อาจารย์  หากมีอะไรจะให้รับใช้โปรดติดต่อมาได้ครับ  แต่เย็นนี้ขอไปกินแกงส้มฝีอาจารย์น่ะครับ  พาเพื่อนๆ ไปด้วย  วัสลาม .
เด็กหอพักนานาชาติอิสลาม(มะดีนะตุลบูอูษอัลอิสลามียะฮ์)

ออฟไลน์ น้องปุ้มปุ้ยเองค่ะ ^^

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 27
  • เพศ: หญิง
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ญะซากัลลอ   พี่ Islamicฯ ด้วยค่ะ
นำเคล็ดลับ และหลักการ เกี่ยวกับการถือศีลอด ซึ่ง ใกล้เข้ามาทุกทีแล้ว


อ่าน ยังไม่จบค่ะ
แล้วจะมา เก็บเกี่ยวเป็นระยะ ๆ นะคะ   ;D ;D
หน้าตาดี เพราะจิตใจงาม ^^

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
อัสลามุอะลัยกุม :  เรียบร้อยแล้วครับ อาจารย์  หากมีอะไรจะให้รับใช้โปรดติดต่อมาได้ครับ 

وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته

ญะซากัลลอฮ์  สำหรับการพิมพ์นำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่พี่น้อง  หากมีอะไรจะให้ช่วยก็จะติดต่อไป  อินชาอัลเลาะฮ์

والسلام
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
ญะซากัลลอ   พี่ Islamicฯ ด้วยค่ะ
นำเคล็ดลับ และหลักการ เกี่ยวกับการถือศีลอด ซึ่ง ใกล้เข้ามาทุกทีแล้ว


อ่าน ยังไม่จบค่ะ
แล้วจะมา เก็บเกี่ยวเป็นระยะ ๆ นะคะ   ;D ;D

ถูกต้องครับ  การอ่านก็ต้องเก็บเกี่ยวเป็นระยะ ๆ ในยามว่าง  เพื่อศึกษาความรู้แล้วนำไปปฏิบัติจริงในร่อมะฏอนที่จะมาถึงนี้
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ บุคคลธรรมดา

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 433
  • live&learn in Islam
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
อัสลามุอะลัยกุ้ม ค่ะ

หัวข้อ อินเทรนด์ มาก ๆ
ญะซากัลลอฮฺ น้องอิสลามิค จ้า
รอมาดอน เป็นช่วงเวลาที่ต้องกอบโกยผลบุญกันให้มาก ๆ
เพราะ เป็นช่วงปลอดชัยฏอน
อดตื่นเต้นไม่ได้ เหมือนกัน
เพราะ จริง ๆ ณ ช่วงเวลานั้น ก็ต้องถูกทดสอบมาก
 ในเวลางาน บางครั้ง ต้องเผชิญกับแรงกดดดันจากสภาพงาน
และคนทำงานด้วยกันอีก ซึ่งแน่นอน มันมักจะมีหลุด สบถ และ อาการเกรี้ยวกราด
แต่ เมื่อรำลึกอยู่เสมอว่า อยู่ในช่วงถือศีลอด ก็จะสงบลงได้ไม่ยาก
เพราะ เราต้องสำรวมทั้งกาย วาจาใจ เพื่อองค์ อัลลอฮฺ ตะอาลา

 ;D ;D
ถ้าหากว่าเราจะข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่งที่เต็มไปด้วยแอ่งปลักโคลน
แน่นอนที่สุด เราจะถึงฝั่งนั้นในสภาพที่เปรอะเปื้อนด้วยโคลน...
โคลนที่อยู่ในแอ่งนั้น มันจะทิ้งร่องรอยที่เท้าของเรา
และในที่ที่ เราได้เหยียบย่างไป

                        "อัลชะฮีด ซัยยิด กุฏุบ"

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
อัสลามุอะลัยกุ้ม

     กระทู้นี้น่าจะเป็นกระทู้ที่เสวนาเกี่ยวกับฮุกุ่มการถือศีลอด  หากพี่น้องท่านใดมีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการถือศีลอด  ก็น่าจะถามกันมาแล้วร่วมเสวนากัน  ก็จะดีไม่น้อยเลยครับ

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
อัสลามุอะลัยกุ้ม

     กระทู้นี้น่าจะเป็นกระทู้ที่เสวนาเกี่ยวกับฮุกุ่มการถือศีลอด  หากพี่น้องท่านใดมีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการถือศีลอด  ก็น่าจะถามกันมาแล้วร่วมเสวนากัน  ก็จะดีไม่น้อยเลยครับ

وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته

จะพยายามศึกษาจากตำราต่าง ๆ ของนักปราชญ์ฟิกห์นิติศาสตร์อิสลามเกี่ยวกับเรื่องการถือศีลอด  แล้วนำมาเสนอแก่บรรดาพี่น้องครับ  อินชาอัลเลาะฮ์

والسلام
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
ฮุกุ่มการถือศีลอดกับการอาบน้ำ

ท่านอิมาม อัลลามะฮ์  อัซซัยยิด อัลบักรีย์  ฟัตวาว่า

หลักการดังกล่าวมี 3 กรณี

1.  ทำให้เสียศีลอดโดยไม่มีข้อแม้ใด ๆ  ไม่ว่าเอาน้ำเข้าไปในสิ่งที่เป็นโพรงแบบลึกเกินไปหรือไม่ก็ตาม  ดังกล่าวนี้  คือ  เมื่อน้ำพลาดเข้าไปในอวัยวะที่เป็นโพรง ในขณะที่กระทำสิ่งที่ศาสนาไม่ได้ใช้  เช่นการดำลงไปในน้ำ - เพราะการดำน้ำถือว่าเป็นมักโระห์สำหรับผู้ถือศีลอด  และเช่นอาบน้ำเพื่อให้เย็นสบายหรือเพื่อชำระร่างกายให้สะอาด 

2.  ทำให้เสียศีลอด  หากเขาทำให้น้ำเข้าลึกเกินไป  กรณีนี้คือ  เมื่อน้ำพลาดเข้าไปในขณะที่บ้วนปากที่ศาสนาได้ใช้ตอนทำการอาบน้ำละหมาด

3.  ไม่ทำให้เสียศีลอดเลย  หากแม้นว่านำน้ำเข้าลึกเกินไปก็ตาม  กรณีนี้คือ  ในขณะที่ปากเปื้อนนะยิส  ซึ่งจำเป็นต้องทำให้น้ำเข้าไปลึก ๆ เพื่อล้างนะยิสที่ปากของผู้ถือศีลอดและอื่นจากผู้ถือศีลอด  เพื่อให้มีการชำระล้างสิ่งที่อยู่เขตภายนอก(ที่เปื้อนนะยิส)

สำหรับผู้ที่อาบน้ำญุนุบนั้น  หากอาบน้ำแล้วน้ำพลาดเข้าไปอวัยวะที่เป็นโพรงโดยไม่ได้ดำลงไปในน้ำ  ถือว่าไม่เสียศีลอด  แต่ถ้าหากมุดลงไปในน้ำ  แล้วน้ำพลาดเข้าไปในรูหู  ถือว่าเสียศีลอด 

อ้างอิงจาก : หนังสือ อิอานะฮ์ อัฏฏอลิบีน  เล่ม 2 หน้า 365 - 367 ดารุลฟิกร์

วัลลอฮุอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 04, 2007, 06:48 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ บาชีร

  • ปีสามสักที
  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2164
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +59
    • ดูรายละเอียด
สิ่งที่มักรูฮฺระหว่างการถือศิลอด

1)การชิมอาหาร
2)การดูดเลือดเสีย
3)การเคี้ยว เช่นเคี้ยวหมากฟรั่ง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 11, 2007, 03:36 AM โดย bashir »
นักเรียนปีสาม กฎหมายอิสลาม อัซฮัร ไคโร

ออฟไลน์ บาชีร

  • ปีสามสักที
  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2164
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +59
    • ดูรายละเอียด
สิ่งที่มักรูฮฺระหว่างการถือศิลอด

1)การชิมอาหาร


เว้นแต่ว่า หากต้องการในการเคี้ยวเช่น ขนมปังเพื่อเด็ก ที่ไม่มีใครสามารถจะทำให้เด็กคนนั้น
หรือเคี้ยว เพื่อจะตะฮฺนีกให้กับเด็ก
ดังนั้นจึงไม่มักรูฮฺ

2)การดูดเลือดเสีย
ภาษาอรับเรียกว่า ฮิยามะฮฺ
มักรูฮฺ ทั้งผู้ที่ดูดเลือดให้คนอื่น
และผู้ที่ถูกดูดเลือด
(ดูดเลือดในที่นี้ไม่ใช่ดูดกับปากนะครับ แต่มีสิ่งที่ใช้ดูด)

3)การเคี้ยว เช่นเคี้ยวหมากฟรั่ง
มักรูฮฺก็คือสิ่งนั้นจะไม่แตกออก
แต่ถ้าหากมั่นใจว่ามีบางส่วนจากวัตถุนั้นโดยตั้งใจว่ามันเข้าไปยังภายใน
จึงทำให้เสียบวช ดังนี้แหละจึงหะรอมการเคี้ยว
นักเรียนปีสาม กฎหมายอิสลาม อัซฮัร ไคโร

 

GoogleTagged