ผู้เขียน หัวข้อ: แนวทางแห่งการเรียนรู้  (อ่าน 4080 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ philosophy

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
แนวทางแห่งการเรียนรู้
« เมื่อ: ส.ค. 24, 2007, 02:59 PM »
0

السلام عليكم
เรื่องใหม่วันนี้คือ...طريقةالدراسة ...แนวทางการศึกษา
ผู้รู้ท่านใดสนใจในเรื่องที่ดีก็ขอเชิญเข้ามาเสวนาได้เลยครับ...
   بسم الله الرحمن الرحيم
  ความจำเป็นในการเรียนการสอนและในการแสวงหาความรู้เป็นหน้าที่หนึ่งที่อัลลอฮฺกำหนดเป็นภารกิจเหนือมุสลิมซึ่งความรู้เกี่ยวกับการเรียนกับการแสวงหาความรู้นั้นมีความคล้ายคลึงกันในหลายๆด้านในขณะเดียวกันหน้าที่ประการหนึ่งของมุสลิมคือ การเป็นมนุษย์ที่มีความรู้ในระดับสูงและต้องพยายามใช้ความรู้ที่มีอยู่นั้นมาพัฒนาเพิ่มความเจริญรุ่งเรืองแก่ศาสนาและประเทศชาติ ซึ่งขบวนการสอนวิชาความรู้นั้นเป็นหน้าที่อันประเสริฐยิ่งที่อัลลอฮฺทรงกำหนดไว้ โดยที่ขบวนการนี้ได้เริ่มจากพระเจ้าผู้ทรงสร้างสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย กล่าวคือ พระองค์เป็นผู้ทรงสอนวิชาความรู้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ในหมู่บ่าวของพระองค์และบ่าวเหล่านั้นก็จะทำการสอนถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมานั้นแก่ประชาชาติของเขาเพื่อสร้างสรรค์สังคมที่มีอารยธรรม คุณธรรมและความศรัทธาต่ออัลลอฮฺ
      เป็นที่รับทราบโดยทั่วไปแล้วว่าการเรียนนั้นเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่จะต้องมีการพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้ได้รูปแบบที่ดีที่สุดและสอดคล้องกับการพัฒนาการทางด้านสติปัญญาและร่างกาย สิทธิเสรีภาพและความสำนึกที่มนุษย์มีต่อพระเจ้าและสิ่งถูกสร้างทั้งหลายในโลกนี้ การเรียนนั้นสามารถทำได้ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งนี้เนื่องจากว่าความหมายของการเรียนนั้น คือ กระบวนการแสวงหาความรู้และเสริมสร้างทักษะ พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนลักษณะนิสัยที่บุคคลแต่ละคนสามารถกระทำได้

ดังอัลลอฮฺตรัสในอัลกุรอานว่า
ความว่า จงอ่านด้วยพระนามแห่งพระเจ้าของเจ้าผู้ทรงบังเกิด ทรงบังเกิดมนุษย์จากก้อนเลือด จงอ่านเถิดและพระเจ้าของเจ้านั้นผู้ทรงใจบุญยิ่ง ผู้ทรงสอนให้ใช้ปากกา ผู้ทรงสอนมนุษย์ในสิ่งที่เขาไม่รู้

       จากพระดำรัสของอัลลอฮฺข้างต้นสามารถเข้าใจได้ว่าการที่พระองค์ทรงบัญชาให้เรียนนั้นเป็นการเรียกร้องที่ต้องสนองตอบให้ได้และการได้มาซึ่งความรู้นั้นจะต้องผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การอ่านผลงานวิชาการของผู้รู้ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การโต้ตอบ การศึกษาวิจัยเพื่อหาความรู้ในสาขาใดสาขาหนึ่งเป็นต้น

      แหล่งความรู้เพื่อการเรียนรู้นั้นมีหลายแหล่ง ซึ่งอัลกุรอานได้รับการถือว่าเป็นแหล่งการเรียนรู้หลักโดยเฉพาะสำหรับมุสลิมและมนุษยชาติโดยทั่วไป ในขณะที่หะดิษได้รับการถือว่าเป็นแหล่งลำดับที่ 2 ซึ่งโดยหลักการแล้วหะดิษหมายถึง สิ่งที่มาจากท่านรอซูลทั้งที่เป็นคำพูด การกระทำ และการยอมรับ สำหรับแหล่งการเรียนรู้ลำดับที่ 3 คือ สติปัญญาซึ่งเป็นอวัยวะที่มีอยู่จริงแต่มิอาจสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ และไม่อาจล่วงรู้ถึงขอบเขตของมันได้เช่นกันอย่างไรก็ตามผลที่เกิดจากสติปัญญานั้นสามารถสัมผัสได้ หลังจากผ่านกระบวนการคิดอย่างสมบูรณ์แล้วและแหล่งที่ 4 คือ ประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นที่อ้างอิงทบทวนกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งประวัติศาสตร์นั้นเป็นความรู้ที่มีลักษณะพิเศษ เพราะเป็นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ชาติมากมาย

      ส่วนหนึ่งของประโยชน์จากการหาความรู้สาขาใดสาขาหนึ่งนั้น คือ ด้วยการใช้ความรู้นั้นมนุษย์สามารถตัดสินใจกระทำการใดๆได้อย่างถูกต้องสามารถก่อให้เกิดผลดีต่อตนเองสังคมโดยรวมทั้งยังช่วยสนับสนุนให้สังคมและประเทศชาติครอบครองทรัพยากรธรรมชาติเพื่อผลประโยชน์ของชนในชาติทุกคน และด้วยความรู้นั้นจะเป็นสาเหตุให้ปัจเจกบุคคลและสังคมมีความเข้มแข็ง และมั่นคงโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ศึกษาหาความรู้ทั้งภาคบังคับต่อตนเอง( Fardu ain ) และภาคบังคับต่อสังคม ( Fardu kifayah ) นั้นจะเป็นที่โปรดปรานของอัลลอฮฺ รอซูลของพระองค์ และมวลมนุษย์ทั้งหลาย อีกทั้งได้รับเกียรติในชีวิตทั้งโลกนี้และโลกหน้าและยังได้รับเกียรติและการยกย่องจากสังคมอีกด้วย

      ในอีกด้านหนึ่งด้วยการมีความรู้นั้น มนุษย์จะเข้าใจถึงคุณลักษณะอันสูงส่ง การมีอำนาจสูงสุดและความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺอีกทั้งยังสามารถเข้าใจถึงวิทยาปัญญาของการสร้างโลกและจักรวาลนี้ ส่งผลให้ผู้ที่มีความรู้นั้นมีความศรัทธาและยำเกรงต่ออัลลอฮฺมากขึ้น ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่า หน้าที่ในการเรียนรู้นั้นเป็นหน้าที่หนึ่งที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศชาติ อันเป็นการสอดคล้องกับการพัฒนาตามการเรียกร้องของอิสลาม ทั้งอัลกุรอานและอัลหะดิษต่างก็กำชับประชาชาติมุสลิมให้แสวงหาความรู้ ดังปรากฏในหลายแห่งเช่น อัลลอฮฺทรงตรัสว่า
  ความว่า ผู้ที่เขาเป็นผู้ภักดีในยามค่ำคืนในสภาพของผู้สุญูด และผู้ยืนละหมาดโดยที่เขาหวั่นเกรงต่อโลกอาคีเราะห์และหวังความเมตตาของพระเจ้าของเขา (จะเหมือนกับผู้ที่ตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺกระนั้นหรือ) จงกล่าวเถิด (มุฮัมหมัด) บรรดาผู้รู้ และบรรดาผู้ไม่รู้จะเท่าเทียมกันหรือ แท้จริงบรรดาผู้มีสติปัญญาเท่านั้นจะใคร่ครวญ และอัลลอฮฺทรงตรัสว่า
ความว่า และเรามิได้ส่งผู้ใดมาก่อนหน้าเจ้านอกจากเป็นผู้ชายที่เราได้วะฮีย์แก่พวกเขา ดังนั้นพวกเจ้าจงถามบรรดาผู้รู้หากพวกเจ้าไม่รู้
ในส่วนของหะดิษนั้นมีรายงานหลายหะดิษเช่น ท่านรอซูลได้กล่าวไว้ว่า

طلب العلم فريضةعلي كل مسلم
 ความว่า การแสวงหาความรู้นั้นเป็นหน้าที่ของบรรดามุสลิมทุกคน

และในอีกหะดิษหนึ่งท่านรอซูลกล่าวไว้ความว่า มนุษย์มี 2 จำพวก คือ ผู้มีความรู้และผู้แสวงหาคาวมรู้และไม่มีความดีใดๆนอกจากคน 2 จำพวกดังกล่าว ...
  วันนี้แค่นี้ก่อนครับ...
والسلام
 

ออฟไลน์ กูปีเยาะฮฺสะอื้น

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1679
  • เพศ: ชาย
  • ที่สุดแห่งชีวิต
  • Respect: +14
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวทางแห่งการเรียนรู้
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ส.ค. 30, 2007, 02:18 PM »
0
จงแสวงหาวิชาความรู้ตั้งแต่อยู่ในเปลจนถึงหลุมฝังศพ
มีหลักเกณฑ์ ยึดหลักการ มีหลักฐาน มั่นหลักธรรม

ออฟไลน์ del_dangerous

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 178
  • เพศ: ชาย
  • ถ้าชีวิตยังไม่สิ้นก็ต้องดิ้นกันต่อไป
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวทางแห่งการเรียนรู้
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ส.ค. 30, 2007, 06:32 PM »
0
การศึกษาตามทัศนะของอิสลาม

ด้วยพระนามของอัลลอฮ ผู้ทรงเมตตาปราณีเสมอ

         บรรดาสิ่งที่อัลลอฮสร้างขึ้น ชีวิตมนุษย์แตกต่างไปจากสรรพสิ่งอย่างอื่นอย่างเห็นได้ชัด มนุษย์มีสาระ2 ประการ คือ ทางชีววิทยากับสังคมวิทยา สาระทางชีววิทยาก็คือ มนุษย์ดำรงรักษาและถ่ายทอดโดยการผสมพันธุ์และให้กำเนิด ส่วนสาระทางสังคมของชีวิตมนุษย์ก็คือ ดำรงและถ่ายทอดโดยการศึกษา "แล้วการศึกษาคืออะไรเล่า?" นี่เป็นคำถามเบื้องต้นที่เป็นเครื่องฝึกฝนจิตใจของนักปรัชญาและนักคิดทั้งหลายตั้งแต่โสคราตีส เพลโต อริสโตเติล เรื่อยลงมาถึงยุคของจอร์น ดิวอี้ บอกตรงๆว่าคำว่า "การศึกษา" นี้มีความหมายกว้างขวางและให้คำจำกัดความเหมาะเจาะอย่างยิ่ง นักชีววิทยา นักบวช นักจิตวิทยา นักปรัชญา นักการศาสนา รัฐบุรุษ ครู พ่อค้า คนขายของ หรือแม้แต่ช่างศิลป์ ต่างให้คำจำกัดความแตกต่างกันมากพลโต กล่าวว่า"การศึกษา" คือ "การพัฒนาของร่างกายและวิญญาณในความงามและสมบูรณ์ทุกประการเท่าที่เขาสามารถกระทำ"อริสโตเติล กล่าวว่า "การศึกษาพัฒนาคุณวุฒิความสามารถของคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางจิตใจ เพื่อว่าคนสามารถชื่นชมความจริง ความงาม ความดี อันเป็นความสุขที่สมบูรณ์ที่สุด"

         จอร์น ดิวอี้ ให้ความหมายการศึกษาไว้ว่า "เป็นการพัฒนาการความสามารถทุกอย่างในแต่ละบุคคลที่พึงทำให้เขาควบคุมสิ่งแวดล้อม และเติมความพึงพอใจให้เขา"ส่วนคำโบราณของไทยมีกล่าวว่า "การศึกษาทำให้ปัญญาแตกฉานดั่งหญ้าแพรก แหลมคมดั่งเข็ม มีความรู้มากดั่งเมล็ดมะเขือ และคงความจำในความรู้นั้นดั่งเกลือรักษาความเค็ม"

          ผู้เขียนเป็นผู้น้อย ไม่บังอาจล่วงเกินไปสรุปว่า คำจำกัดความของใครเหมาะเจาะกว่าหรือสมเหตุสมผลกว่า แต่เพื่อให้เรามาเข้าใจความหมายการศึกษามากขึ้น ผู้เขียนจะ

ขออธิบายคำว่า การศึกษาทางนิรุกติศาสตร์

         คำอธิบายทางนิรุกติศาสตร์ว่าด้วยการศึกษา
         คำว่า "การศึกษา" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า การเล่าเรียน ฝึกฝน และอบรม ส่วนภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Education" ซึ่งมาจากภาษาลาตินว่า "Educare" หมายความว่า การเลี้ยงดู ดังนั้นคำว่า EDUCAT,NUTRIX, INSTITUIT, PAEDAGOGUS, DOCITMAGISTER หมายความว่า "แม่เป็นผู้ให้กำเนิด แม่นมเป็นผู้กล่อมเกลี้ยงถนอม ครูฝึกเป็นผู้ฝึกฝน ครูเป็นผู้สอน"นักทฤษฎีบางท่านให้คำอธิบายว่า EDUCATE ต่างไป คำว่า E หมายความว่า "ออกจาก"และคำว่า DUCO หมายความว่า "นำ" คำว่า EDUCATE จึงหมายความว่า "การนำออกมา" หรือ "การดึงออกมา" ซึ่งสิ่งที่ดีที่สุดในตัวมนุษย์ หรืออาจอธิบายสรุปได้ว่า ความรู้ทั้งหลายมีติดตัวเด็กมาแต่กำเนิด เพียงหาวิธีดึงเอาปัญญาและความรู้ทั้งหลายให้หลั่งไหลออกมาเขียนถึงตอนนี้ หากจะร่ายยาวถึงทัศนะทางการศึกษาของนักคิดต่างๆ หรือทางนิรุกติศาสตร์ให้ละเอียดยิบ ผู้เขียนคิดว่า เดี๋ยวจะยืดเยื้อคุยกันไม่รู้เรื่อง จึงขอเข้ารื่องเกี่ยวกับการศึกษาตามทัศนะของอิสลามดีกว่า ทั้งนี้ เพื่อผู้อ่านจะได้เบิกสายตาดูมุมมองทางการศึกษาว่ามีลักษณะพิเศษอย่างไร

ที่มาของการศึกษาในทัศนะอิสลาม

            อิสลามไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า ความรู้ทั้งหลายมีติดตัวเด็กมาแต่กำเนิด และก็ไม่เห็นด้วยกับทัศนะที่ว่าความรู้นั้นมาจากมนุษย์ แต่ทว่าอิสลามถือว่า ความรู้นั้นมาจากอัลลอฮ ฉะนั้น แน่นอนว่าการศึกษาอย่างแรกที่มนุษย์จะต้องแสวงหาคือ การรู้จักอัลลอฮหรือศึกษาหาความรู้ที่มาจากอัลลอฮ พูดง่ายๆคือ อิสลามเน้นการศึกษาเพื่อให้ผูกพันกับอัลลอฮก่อน และการศึกษาเพื่อให้ผูกพันดังกล่าวนั้นจะต้องผ่านกระบวนการขัดเกลาทางศีลธรรม และอบรมทางจิตวิญญาณ กล่าวคือ แต่ละบทเรียนจะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับศีลธรรมก่อน ทั้งนี้เพราะศีลธรรมเป็นอุดมการณ์เบื้องต้นของการศึกษาในอิสลาม

         ผู้อ่านครับ...ผู้อ่านจะเห็นได้อย่างชัดเจนนะครับว่าที่มาของการศึกษาในทัศนะอิสลามแตกต่างจากที่มาของการศึกษาในทัศนะอื่นอย่างขาวกับดำ นอกจากนั้น อิสลามมีทัศนะว่า การศึกษาที่ถูกต้องนั้นต้องมีเป้าหมายชัดเจน เพราะหากไร้จุดเป้าหมายแล้วไซ้ร ก็หามีประโยชน์ไม่ในการศึกษา

         เป้าหมายของการศึกษาในอิสลาม

         เป้าหมายแรก รู้จักอัลลอฮก่อน อย่างอื่นว่ากันทีหลัง การศึกษาหรือเรียนรู้เพื่อให้รู้จักอัลลอฮ คือ เป้าหมายแรกของอิสลาม ทั้งนี้เพราะอัลลอฮคือพระเจ้า และผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่ง เมื่อรู้จักอัลลอฮแล้วสิ่งที่จำต้องศึกษาต่อมาก็คือศาสนาของอัลลอฮและศาสนาของอัลลอฮก็คืออิสลามนั่นเอง ซึ่งการศึกษาและเข้าใจอิสลามนี้สำคัญมากดั่งท่านร่อซูล (ซ.ล) ได้กล่าวว่า "ใครที่อัลลอฮทรงปราถนาเขาด้วยความดี พระองคก็จะให้เขาเข้าใจศาสนา"

         อิหม่ามฮะซัน อัล-บันนา กล่าวว่า "สิ่งแรกที่นักเรียนจำเป็นต้องเรียนรู้ก็คือได้รู้จักศาสนาของอัลลอฮ" และในที่นี้ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างถึงหลักสูตรการศึกษาในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนมาก อย่างเช่น ในประเทศซาอุดิอารเบียจะพบว่าหลักสูตรการศึกษาชั้นประถมของซาอุฯ จะเน้นเรื่องการรู้จักอัลลอฮและรู้จักศาสนาของอัลลอฮ

         เป้าหมายที่สอง รู้จักอัลลอฮก็ต้องมีศีลธรรมด้วย เพียงรู้จักอัลลอฮ แต่ไร้ศีลธรรมถือว่าไม่ถูกต้องในทัศนะของการศึกษาในอิสลาม กล่าวคือ การศึกษาเพื่อฝึกฝนและขัดเกลาทางศีลธรรมเป็นเรื่องจำเป็น นักศึกษาทุกคนจำเป็นต้องมีคุณธรรมประจำใจ และทราบถึงเป้าหมายของนักศึกษาในการหาความรู้นั้น ต้องไม่ใช้เพื่อการหาอำนาจเงินทองความรุ่งเรือง โอ้อวด หรือแข่งขันกับคนอื่น แต่ทว่า ต้องศึกษาเพื่อขัดเกลาตนเองให้ใกล้ชิดกับอัลลอฮมากยิ่งขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ขออ้างคำพูดของอิหม่ามฆอซาลี ที่ว่า "เป้าหมายของการศึกษานั้น คือการเข้าใกล้อัลลอฮโดยปราศจากความยะโสโอหัง"

         เป้าหมายที่สาม เอาโลกนี้และโลกหน้า แต่โลกหน้าคือบั้นปลาย มุมของอิสลามในเรื่องการศึกษามิใช่ทัศนะที่แคบตีบสมองลีบ ด้วยเพียงแค่เจาะจงให้ศึกษาเฉพาะทางธรรมหรือทางโลกทางใดทางหนึ่ง แต่อิสลามเรียกร้องให้ทุกคนศึกษาทั้งทางธรรมและทางโลกควบคู่กันไป ดั่งคำกล่าว "จงทำงานเพื่อชีวิตในโลกนี้เหมือนกับว่าท่านจะไม่ตาย และจงทำดีเพื่อโลกหน้าเสมือนดั่งว่าท่านจะตายในวันพรุ่งนี้" หรือแม้แต่อุอาอที่มุสลิมมักขอพรเสมอก็ยังขอทั้งสองโลกในเวลาเดียวกัน ดังคำดุอาอที่ว่า "พระผู้อภิบาลของเรา ขอทรงโปรดให้ความดีแก่เราในโลกนี้และโลกหน้า และปกป้องเราจากการลงโทษของไฟนรก"สรุปแล้ว อิสลามให้สนใจหรือศึกษาเรื่องราวของโลกนี้และโลกหน้า แต่ทว่า
โลกหน้านั้นคือบั้นปลาย

         เป้าหมายที่สี่ การศึกษานั้นต้องมีประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวมเพื่อร่วมกันทำอิบาดะห์ต่ออัลลอฮ อิสลามไม่ได้บอกให้ศึกษาหาความรู้ที่ไร้ประโยชน์ หรือเน้นแค่ตัวเขาโดยไม่มอบอะไรให้ต่อสังคมส่วนรวม แต่อิสลามเน้นถึงความรู้ที่มีประโยชน์ดังคำดุอาอที่ร่อซูล (ซ.ล) ได้เคยกล่าวว่า "โอ้อัลลอฮ ฉันขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากความรู้ที่ไร้ประโยชน์"

         นอกจากนั้นอิสลามยังส่งเสริมให้ทุกคนศึกษาหาความรู้เพื่อส่วนรวมด้วย ซึ่งผู้เขียนขออ้างคำกล่าวของนักเขียนตะวันตกท่านหนึ่งที่ให้ทัศนะเห็นด้วยในเรื่องนี้ คือมอนโร (The History of Education) ว่ามุสลิมได้มีบทบาทสำคัญในด้านการแพทย์ การผ่าตัด เภสัชศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฯลฯ พวกเขาได้ประดิษฐ์ลูกตุ้มนาฬิกา และสอนชาวยุโรปให้รู้จักเข็มทิศและดินปืน

         กล่าวให้ชัดอีกอย่างหนึ่งก็คือ การศึกษาของอิสลามนั้น นอกจากจะเน้นในเรื่องศาสนา ศีลธรรมจิตใจ หรือมีประโยชน์ต่อตัวเองแล้ว แต่การศึกษานั้นจะต้องมีส่วนประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาสังคมส่วนรวมด้ว เป้าหมายที่ห้า ศึกษาสายอาชีพทางเทคนิคและอุตสาหกรรมเพื่อการเลี้ยงชีพ อันจะนำไปสู่การเป็นบ่าวที่ดีของอัลลอฮ การศึกษาของอิสลามไม่ได้ปล่อยปละละเลยที่จะไม่ยอมสนับสนุนให้มนุษย์มีความสามารถในการประกอบอาชีพเพื่อความอยู่รอดชีวิตเขา แต่แท้จริงแล้วอิสลามส่งเสริมให้ศึกษาสายอาชีพด้วย ซึ่งเรื่องนี้ อิบนุสินา ได้กล่าวว่า "เมื่อเด็กจบการศึกษาอัล-กุรอ่านและภาษาศาสตร์แล้ว เขาควรจะได้เสาะแสวงหาอาชีพที่เขาปราถนาจะมุ่งไปทางนั้น..." กล่าวคือเขาควรจะฝึกอาชีพจนกว่าเขาจะมีงานทำโดยสุจริตตามแนวทางของศาสนาและศีลธรรมอันดี แม้อิสลามจะถือว่าศีลธรรมต้องมาก่อน แต่ก็มิใช่ว่าอิสลามละเลยในเรื่องการฝึกอาชีพเพื่อแสวงหาปัจจัยยังชีพ เป้าหมายที่หก อย่าเก็บงำความรู้ แต่ต้องเผยแพรด้วย อิสลามต้องการให้ทุกคนศึกษาหาความรู้มาปฏิบัติและเผยแพร่ความรู้ออกไปดังคำกล่าวของท่านร่อซู้ล (ซ.ล) ที่กล่าวว่า "จงเผยแพร่จากฉัน แม้เพียงโองการเดียว"

         ขณะเดียวกัน อิสลามก็ไม่ได้หยุดยั้งแต่เพียงเรียกร้องให้ผู้ศึกษาหาความรู้ และเผยแพรความรู้ออกไปเท่านั้น แต่ยังให้เขาศึกษาค้นคว้าต่อไปอีก ดังคำกล่าวที่ว่า "มนุษย์จะไดรับความรู้ตราบเท่าที่เขาแสวงหาความรู้ ถ้าหากเขาคิดว่าเขามีความรู้ทุกอย่างแล้ว เขาก็จะกลายเป็นผู้ที่โง่เขลา

http://www.kmitl.ac.th
ชีวิตคือการเดินทาง สิ่งที่ดีใจคือไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ แต่สิ่งที่น่าเสียใจ คือ ย้อมกลับไปไม่ได้

ออฟไลน์ noor

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 5
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวทางแห่งการเรียนรู้
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ส.ค. 31, 2007, 08:33 PM »
0
ความพินาศจะประสบกับผู้ไม่สอน ไม่รียน และไม่ฟัง (อบูดารฺดาอฺ)

 

GoogleTagged