ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของดอกเบี้ย  (อ่าน 4305 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Mustafa

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 55
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +5
    • ดูรายละเอียด

السلام عليكم ورحمة الله وبركاته
بسم الله الرحمن الرحيم

ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของดอกเบี้ย

   ก่อนที่เราจะพูดถึงประวัติความเป็นมาของดอกเบี้ย เราควรรู้ถึงฮูก่ม (ข้อชี้ขาด) ของดอกเบี้ยตามบทบัญญัติของประชาชาติในยุคก่อนอิสลามเสียก่อน เช่นบทบัญญัติที่ลงมายังประชาชาติยิว และคริสเตียน และอย่างไรที่ระบบดอกเบี้ยได้แพร่กระจายไปทั่วโลก

   แน่นอนอัลลอฮฺทรงห้ามดอกเบี้ยแก่พวกยิว ซึ่งพวกเขาก็รู้ดีถึงเรื่องนี้ และพวกเขาก็ได้ปฏิบัติตาม โดยไม่นำระบบดอกเบี้ยมาใช้กับธุรกิจในหมู่ยิวด้วยกัน แต่พวกเขาถือว่าเป็นที่อนุมัติให้ใช้ระบบดอกเบี้ยกับผู้ที่ไม่ใช่ยิวได้ ซึ่งได้มีมาในคัมภีร์เตารอดเล่มที่ 5 บทที่ 23 ว่า “สำหรับผู้อื่น (ผู้ที่ไม่ใช่ยิว) ท่านสามารถกู้ยืมโดยมีดอกเบี้ยได้ แต่สำหรับพี่น้องของท่าน (ชาวยิวด้วยกัน) อย่าได้กู้ยืมโดยมีดอกเบี้ย”

   และที่มาของเรื่องนี้ก็คือ การที่ชาวยิวมองคนต่างศาสนาว่าเป็นเชื้อชาติที่ต่ำต้อย คัมภีร์เตารอดถึงแม้ว่าจะถูกบิดเบือน แต่ก็มีบางส่วนที่ยังคงอยู่ หนึ่งในนั้นก็คือ การห้ามในเรื่องของดอกเบี้ย แต่พวกยิวก็บิดเบือนตัวบทโดยถือว่า อนุญาตให้พวกเขาทำธุรกิจโดยมีดอกเบี้ยกับศาสนิกอื่นได้

   ส่วนศาสนาคริสเตียน ก็ได้ถูกห้ามในเรื่องนี้เช่นกัน ดังที่มีมาในคัมภีร์อินญีลว่า “เมื่อพวกท่านให้ผู้อื่นกู้ยืมโดยหวังสิ่งตอบแทน ไหนกันความประเสริฐซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกยอมรับให้กับพวกท่าน...แต่ทว่าพวกท่านทั้งหลายจงทำดีเถิด และจงให้กู้ยืมโดยไม่มุ้งหวังสิ่งที่จะได้กลับคืนมา แน่นอนผลบุญของพวกท่านก็คือสิ่งตอบแทน”

   จากตัวบทนี้ บรรดาหัวหน้านักบวชต่างก็ลงมติเป็นเอกฉันท์ว่า ดอกเบี้ยเป็นสิ่งต้องห้ามอย่างเด็ดขาด

   ข้อห้ามให้เรื่องดอกเบี้ยไม่เคยถูกละเมิดด้วยน้ำมือของบรรดานักบวชทั้งสองศาสนา ยิ่งไปกว่านั้นข้อห้ามในเรื่องดอกเบี้ยยังได้ออกมาจากปากของบรรดานักปราชญ์ที่มีชื่อเสียง เช่น อารอสโต และอัฟลาโตนซึ่งเป็นนักปราชญ์ชาวยูนานซึ่งเขาได้กล่าวไว้ในหนังสือของเขาว่า “การกู้ยืมโดยมีดอกเบี้ยไม่เป็นที่อนุมัติแก่ผู้ใด”

   ส่วนชาวอาหรับในยุคก่อนอิสลาม ถึงแม้ว่าพวกเขาจะทำธุรกิจโดยมีดอกเบี้ย แต่พวกเขาก็ยังมองว่าดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่ต่ำต้อย และไร้เกียรติอยู่ดี ไม่มีหลักฐานที่จะชี้ชัดถึงเรื่องดังกล่าวมากไปกว่าการที่ชาวกุเรชได้ทำการบูรณะกะบะห์ โดยขอเรี้ยรายทรัพย์สินเงินทองจากบ้านหลายหลังคาเรือนที่ไม่ทำธุรกิจเกี่ยวกับดอกเบี้ย เพราะไม่ต้องการให้เงินที่ฮารอม (เงินต้องห้าม) เข้ามามีส่วนในการสร้างกะบะห์ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ดังที่ท่านอบูวาฮับ บุตรท่านอาบีด บุตรท่านอิมรอน บุตรท่านมัคซูมได้ประกาศว่า “โอ้กลุ่มชนชาวกุเรชเอ๋ย  ! พวกท่านอย่าได้นำรายได้ใด ๆ ของพวกท่านเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างกะบะห์ นอกจากจะต้องมาจากรายได้ที่ดีเท่านั้น และอย่าได้นำเอาเงินทองของโสเภณีเข้ามาร่วมในการสร้างกะบะห์ และอย่าเอาเงินที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยเข้ามา และอย่าได้เอาสิ่งที่ทุจริตมาสร้างกะบะห์”

   ดังนั้นเมื่อดอกเบี้ยเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับทุกศาสนาแล้ว อย่างไรที่มันได้ถูกเริ่ม และแพร่กระจายไปทั่วโลกได้ ?

   แน่นอนชาวอาหรับในยุคญาฮิลียะห์ (ยุคก่อนอิสลาม) ทำธุรกิจโดยนำเอาดอกเบี้ยเขามามีส่วนเกี่ยวข้อง ต่อมาอิสลามได้มาห้ามถึงเรื่องนี้ และได้ปิดประตูเพื่อป้องกันการนำเอาระบบดอกเบี้ยมาใช้ แม้กระทั่งสิ่งที่คลุมเครือหรือสงสัยว่าเป็นดอกเบี้ยก็ถูกห้าม เช่นเดียวกับการที่ท่านศาสดามูฮัมหมัดได้สั่งห้ามขายอินทผลัมเกรดต่ำ 2 เซออฺ ด้วยกับอินทผลัมเกรดดี 1 เซออฺ และผู้คนก็ปฏิบัติตามคำสั่งห้ามดังกล่าวอย่างเคร่งคัด และทำลายระบบดอกเบี้ยลง เช่นเดียวกับชาวคริสเตียนในยุคต้น ๆ ที่พวกเขากู้ยืมกันโดยไม่มีดอกเบี้ย เพราะพวกเขาถือว่าดอกเบี้ยเป็นสิ่งต้องห้าม ส่วนชาวยิวพวกเขาถือว่าดอกเบี้ยเป็นสิ่งต้องห้ามในหมู่พวกเขา แต่สำหรับศาสนิกอื่น พวกเขาสามารถขูดเลือดขูดเนื้อด้วยระบบดอกเบี้ยได้ แต่ถึงอย่างไร ชาวยิวก็ยังถือว่าดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจอยู่ดี

   จนกระทั่งมาถึงท้ายศตวรรษที่ 16 ยุโรปเริ่มละเมิดและฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพระเจ้าในเรื่องของดอกเบี้ย ในปี ค.ศ. 1593 ได้วางข้อยกเว้นในข้อห้ามของดอกเบี้ยในทรัพย์สินของคนบางกลคน โดยอนุญาตให้ลงทุนโดยนำเอาระบบดอกเบี้ยมาใช้ได้ ซึ่งจะต้องผ่านการอนุมัติจากตุลาการเสียก่อน

   หลังจากนั้น ก็ได้เกิดการฉวยโอกาสของคนใหญ่คนโต ในการดำเนินธุรกิจที่มีดอกเบี้ย โดยเฉพาะผู้นำบางคนที่นำเอาระบบดอกเบี้ยมาใช้อย่างเปิดเผย ตัวอย่างเช่น ในปี 1692 ลุยซ์ที่ 14 ได้กู้ยืมโดยมีดอกเบี้ย และในปี 1860 สันตะปาปาที่ 9 ทำธุรกิจโดยใช้ระบบดอกเบี้ย

   แต่ดอกเบี้ยก็ยังไม่แพร่หลายสักเท่าไร และไม่ถือว่าเป็นกฎหมายที่ยอมรับกัน จนกระทั่งหลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศส การปฏิวัติในครั้งนี้ ก็คือการปฏิวัติทางด้านศาสนา การเมืองการปกครองแบบขุนนางศักดินา และระบอบกษัตริย์

   ส่วนหนึ่งจากกฎหมายทางด้านศาสนาซึ่งเป็นที่รู้จักกันในยุโรป ก็คือข้อห้ามในเรื่องของดอกเบี้ย ข้อตัดสินในการห้ามดอกเบี้ยก็ได้ถูกยกเลิกไป ด้วยกับการออกกฎหมายอื่นมาแทน การออกกฎหมายโดยยกเลิกข้อห้ามในเรื่องดอกเบี้ยก็ได้เกิดขึ้น ด้วยกับน้ำมือของกลุ่มยิวในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส เพื่อสนองความละโมบของพวกเขาเอง ด้วยสาเหตุดังกล่าว ธนาคารที่ใช้ระบบดอกเบี้ยจึงได้เกิดขึ้น เพื่อให้ความฝันของพวกเขาในการครอบงำทรัพย์สินทั่วโลกเป็นความจริง ดอกเบี้ยได้เป็นที่อนุญาตไปแล้ว และได้มีมติจากสมัชชาสหประชาชาติในฝรั่งเศส โดยออกมาวันที่ 12 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1789 ว่า “อนุญาตให้ทุกคนสามารถจัดการบริหารทรัพย์สินโดยใช้ระบบดอกเบี้ยได้ ซึ่งจะต้องอยู่ในขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้” ฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกที่ละเมิดต่อบทบัญญัติทางด้านศาสนา และปลดศาสนาออกจากการดำรงชีวิต หลังจากนั้นยุโรปก็ได้ดำเนินรอยตามฝรั่งเศสในการละเมิดข้อบังคับทางด้านศาสนา หนึ่งในนั้นก็คือ ข้อห้ามในเรื่องของดอกเบี้ย ในช่วงเวลาดังกล่าวนี่เอง มีนักลงทุนชาวยิวเป็นจำนวนมากได้เริ่มปฏิวัติอุสาหกรรม พวกเขาต้องการเงินเพื่อที่จะนำมาลงทุนโครงการต่าง ๆ จนทำให้นักลงทุนที่ไม่ใช่ยิวต่างถอยหนีจากการลงทุนในโครงการใหม่ ๆ เพราะกลัวขาดทุน

   ส่วนชาวยิวก็ได้เริ่มปล่อยดอกเบี้ยให้กับพวกเดียวกัน เพราะถือว่าในการกู้ยืมโดยมีดอกเบี้ยที่เป็นกำไรนั้น คือหลักค้ำประกัน ถึงแม้ว่าผู้ขอกู้จะขาดทุนก็ตาม เมื่อชาวยิวได้ครอบครองกิจการต่าง ๆ และเข้ามาปกครองการบริหารในยุโรป ก็หมายถึงการที่พวกยิวสามารถปกครองและครอบครองโลกทั้งหมด จากจุดนี้เอง พวกยิวได้กำหนดการทำธุรกิจที่มีระบบดอกเบี้ยกับประเทศที่อยู่ภายใต้การปกครองของตะวันตก จนทำให้ระบบดอกเบี้ยแพร่กระจายไปในทุกธุรกิจการค้า และธนาคารต่าง ๆ จนกระทั่งทุกวันนี้ยิวยังครอบครองเศรษฐกิจและธนาคารต่าง ๆ ของโลกไว้ในกำมือ

   แน่นอนชาวยิวก็คือผู้อยู่เบื้องหลังการกระจายระบบดอกเบี้ยไปทั่วโลก และผู้ที่ทำธุรกิจโดยใช้ระบบดอกเบี้ยก็คือส่วนหนึ่งจากผู้ที่รับใช้ยิว และเป็นพนักงานในการเพิ่มงบดุลให้กับยิว การกระจายดอกเบี้ยเปรียบเสมือนการกระจายโรคทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และจริยธรรมในสังคม

ความเป็นมาของธนาคาร

   คำว่า “แบงค์” ผันมาจากคำว่า “แบงโค” ซึ่งเป็นภาษาอิตาลี มีความหมายว่า “โต๊ะอาหาร” เพราะว่าผู้ซื้อขายตั๋วแลกเงินจะต้องมีโต๊ะหนึ่งตัววางอยู่ข้างทาง ซึ่งบนโต๊ะก็จะมีเงินตราไว้เพื่อทำการค้า ซึ่งผู้ซื้อขายตัวแลกเงินส่วนใหญ่เป็นชาวยิว

   ปรากฏว่าในอดีต ธนาคารคือผู้เก็บรักษาทรัพย์สินเงินทอง ของมีค่า และผลผลิตทางการเกษตรที่ชาวบ้านนำมาฝากไว้ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ธนาคารคือสถานที่ที่ปลอดภัยในการเก็บรักษาเงินทอง และเพชรพลอยอันมีค่า โดยถือว่าการฝากเป็นการว่าจ้าง บรรดาเจ้าของธนาคารจะให้พันธบัตรแก่ผู้ที่นำทรัพย์สินมาฝาก เพื่อเป็นเอกสารยืนยันการฝาก ซึ่งสามารถใช้ในการถอนเงินตราที่เขาต้องการได้ ต่อมาได้มีการพัฒนากระบวนการการธนาคาร โดยเหล่าพ่อค้าที่เอาทรัพย์สินมาฝากธนาคารได้เริ่มใช้พันธบัตรในกลุ่มพวกเขา เพื่อทำการซื้อขาย และชดใช้หนี้ เพราะการใช้พันธบัตรจะเบาและสะดวกในการพกพามากกว่าการใช้เงินหรือทอง ในขณะที่เจ้าของธนาคารมีความรู้สึกว่า ยังมีเงินเป็นจำนวนมากอยู่ในคลังของตน

   ผู้ที่นำทรัพย์สินมาฝากไว้กับธนาคารมีความรู้สึกอุ่นใจในการทำธุรกิจแลกเปลี่ยนด้วยกับพันธบัตร ในขณะที่ทรัพย์สินจริง ๆ ของเขายังอยู่กับเจ้าของธนาคาร นานครั้งที่ผู้ฝากจะมาถอนเงินไปใช้ ดังนั้นเจ้าของธนาคารจึงเกิดความคิดที่จะฉวยโอกาสนี้ ทำผลประโยชน์ให้กับตัวเองด้วยกับทรัพย์ที่นำมาฝากไว้ แล้วพวกเขาก็ได้เริ่มปล่อยกู้ โดยมีดอกเบี้ย และพวกเขาก็ใช้จ่ายเสมือนกับว่าเขาคือเจ้าของทรัพย์สินเหล่านั้นจริง ๆ

   เมื่อกระบวนการทางธนาคารนี้พัฒนาขึ้น จนทำให้พันธบัตรมาแทนที่ทองในการทำธุรกิจค้าขาย เหล่าเจ้าของธนาคารก็เริ่มที่จะให้ผู้คนเข้ามากู้ยืมพันธบัตรแทนการกู้ยืมเงินทอง ด้วยวิธีการเช่นนี้ ทำให้เจ้าของธนาคารไม่ต้องคืนทรัพย์สินที่นำมาฝาก คืนแก่ผู้ฝาก และไม่ต้องให้กู้ยืมโดยเป็นตัวทรัพย์สินจริง ๆ แก่ผู้ขอกู้ จนทำให้เจ้าของธนาคารกลายเป็นมหาเศรษฐีจากรากฐานของทรัพย์สินของผู้อื่นที่นำมาฝาก และพวกเขาก็เริ่มจ่ายเงินปันผลหรือดอกเบี้ยให้กับผู้ที่เอาทรัพย์สินเงินทองมาฝาก เพื่อเป็นการชักจูงให้พวกเขานำเงินทองมาฝาก และกระบวนการการฝากก็ได้เปลี่ยนมาเป็นการบวนการการกู้ยืม

   ด้วยสาเหตุดังกล่าว บทบาทของธนาคารจึงกลายเป็นสื่อกลางระหว่างคนหลาย ๆ คนที่มีทรัพย์สินที่ไม่สามารถนำมาลงทุนด้วยตัวเองได้ และระหว่างผู้ที่มีความต้องการทรัพย์สินเงินทองเพื่อนำไปลงทุน.

والله أعلم

ออฟไลน์ คะลัคคะลุย

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 670
  • เรื่อยไป
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของดอกเบี้ย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เม.ย. 13, 2008, 06:30 PM »
0
 salam

ญะซากัลลอฮ์ครับ บัง Mustafa
اللهم صل علي سيدنا محمد وعلي آل محمد وصحبه وسلم

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของดอกเบี้ย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ส.ค. 28, 2010, 11:24 AM »
0
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته
بسم الله الرحمن الرحيم

ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของดอกเบี้ย

      ความเป็นมาของธนาคาร

   คำว่า “แบงค์” ผันมาจากคำว่า “แบงโค” ซึ่งเป็นภาษาอิตาลี มีความหมายว่า “โต๊ะอาหาร” เพราะว่าผู้ซื้อขายตั๋วแลกเงินจะต้องมีโต๊ะหนึ่งตัววางอยู่ข้างทาง ซึ่งบนโต๊ะก็จะมีเงินตราไว้เพื่อทำการค้า ซึ่งผู้ซื้อขายตัวแลกเงินส่วนใหญ่เป็นชาวยิว

   ปรากฏว่าในอดีต ธนาคารคือผู้เก็บรักษาทรัพย์สินเงินทอง ของมีค่า
และผลผลิตทางการเกษตรที่ชาวบ้านนำมาฝากไว้ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ธนาคารคือสถานที่ที่ปลอดภัยในการเก็บรักษาเงินทอง และเพชรพลอยอันมีค่า
โดยถือว่าการฝากเป็นการว่าจ้าง บรรดาเจ้าของธนาคารจะให้พันธบัตรแก่ผู้ที่นำทรัพย์สินมาฝาก
เพื่อเป็นเอกสารยืนยันการฝาก ซึ่งสามารถใช้ในการถอนเงินตราที่เขาต้องการได้
ต่อมาได้มีการพัฒนากระบวนการการธนาคาร
โดยเหล่าพ่อค้าที่เอาทรัพย์สินมาฝากธนาคารได้เริ่มใช้พันธบัตรในกลุ่มพวกเขา
เพื่อทำการซื้อขาย และชดใช้หนี้ เพราะการใช้พันธบัตรจะเบาและสะดวกในการพกพามากกว่าการใช้เงินหรือทอง
ในขณะที่เจ้าของธนาคารมีความรู้สึกว่า ยังมีเงินเป็นจำนวนมากอยู่ในคลังของตน

   ผู้ที่นำทรัพย์สินมาฝากไว้กับธนาคารมีความรู้สึกอุ่นใจในการทำธุรกิจแลกเปลี่ยนด้วยกับพันธบัตร
ในขณะที่ทรัพย์สินจริง ๆ ของเขายังอยู่กับเจ้าของธนาคาร นานครั้งที่ผู้ฝากจะมาถอนเงินไปใช้
ดังนั้นเจ้าของธนาคารจึงเกิดความคิดที่จะฉวยโอกาสนี้ ทำผลประโยชน์ให้กับตัวเองด้วยกับทรัพย์ที่นำมาฝากไว้
แล้วพวกเขาก็ได้เริ่มปล่อยกู้ โดยมีดอกเบี้ย และพวกเขาก็ใช้จ่ายเสมือนกับว่าเขาคือเจ้าของทรัพย์สินเหล่านั้นจริง ๆ

   เมื่อกระบวนการทางธนาคารนี้พัฒนาขึ้น จนทำให้พันธบัตรมาแทนที่ทองในการทำธุรกิจค้าขาย
เหล่าเจ้าของธนาคารก็เริ่มที่จะให้ผู้คนเข้ามากู้ยืมพันธบัตรแทนการกู้ยืมเงินทอง
ด้วยวิธีการเช่นนี้ ทำให้เจ้าของธนาคารไม่ต้องคืนทรัพย์สินที่นำมาฝาก คืนแก่ผู้ฝาก
และไม่ต้องให้กู้ยืมโดยเป็นตัวทรัพย์สินจริง ๆ แก่ผู้ขอกู้ จนทำให้เจ้าของธนาคาร
กลายเป็นมหาเศรษฐีจากรากฐานของทรัพย์สินของผู้อื่นที่นำมาฝาก
และพวกเขาก็เริ่มจ่ายเงินปันผลหรือดอกเบี้ยให้กับผู้ที่เอาทรัพย์สินเงินทองมาฝาก
เพื่อเป็นการชักจูงให้พวกเขานำเงินทองมาฝาก และกระบวนการการฝากก็ได้เปลี่ยนมาเป็นการบวนการการกู้ยืม

   ด้วยสาเหตุดังกล่าว บทบาทของธนาคารจึงกลายเป็นสื่อกลางระหว่างคนหลาย ๆ คน
ที่มีทรัพย์สินที่ไม่สามารถนำมาลงทุนด้วยตัวเองได้ และระหว่างผู้ที่มีความต้องการทรัพย์สินเงินทองเพื่อนำไปลงทุน.

والله أعلم

ญะซากัลลอฮุคอยรอนผู้นำเสนอมากๆเลยค่ะ  myGreat: myGreat: myGreat:

คนที่คิดระบบนี้ขึ้นมา ฉลาดและมีจิตวิทยาที่ดีมากเลยนะคะ  ทำให้ได้คิดว่า...
ใครหนอที่จะรวยที่สุด แล้วระบบธนาคารโลกนั้นเป็นอย่างไร
สงสัยคงต้องไปหาอ่านอีกรอบ จะได้ตรองดูกันอีกทีน่ะค่ะ... no: no: no:

วัสสลามค่ะ

"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
Re: ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของดอกเบี้ย
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ส.ค. 28, 2010, 10:21 PM »
0
ลงมาลึกพอสมควร
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของดอกเบี้ย
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มี.ค. 18, 2013, 10:06 PM »
0
ขุดแล้วก็ขุดอีกค่ะ...

เราจะได้รู้ว่า...กำเนิดของ"ธนาคาร"กับ "ดอกเบี้ย"
เป็นเช่นไร

ถ้าถามว่าทุกวันนี้ไม่ยุ่งเกี่ยวกับดอกเบี้ยเลย
คงไม่ได้แล้ว เพราะระบบโดยรวมมันมีดอกเบี้ย
หมุนเวียนอยู่ในระบบ...แม้แต่ถนนหนทางที่เราใช้เดิน
ก็หนีไม่พ้น แม้แต่เครื่องสาธารณูปโภคก็หนีไม่พ้น...
ไม่มีใครหนีมันพ้น นอกเสียจากว่าเราจะเลี่ยงมันให้ถึงที่สุด

มีคนนึงในชีวิตที่ทำให้ข้าน้อยซาบซึ้งถึงคำว่า"ผู้นำ"
นั่นคือ "ผู้นำครอบครัว"ที่ข้าน้อยรัก...
คนผู้นี้ไม่เคยมีบัญชีธนาคาร ไม่เป็นหนี้เพราะยืมเงินใคร
โดยให้เหตุผลว่า ตอนไปยืมใครเขา
ก็ไม่มีใครเขาให้ยืม เลยเลิกยืมเงินคนอื่นเขา...
ส่วนเหตุผลที่เขาไม่ให้ยืม ก็คงหนีไม่พ้นกลัวว่าเราไม่มีคืน...

ดังนั้น...ท่านผู้นี้จึงบอกว่า...อัลลอฮฺทรงเมตตาแล้ว
เพราะการที่ใครไม่ให้ยืมเช่นนี้ ส่งผลทำให้เราไม่เป็นหนี้ใคร

เมื่อก่อนอดดูแคลนผู้นำครอบครัวไม่ได้ที่ดูจะสมถะเกินไป
ไม่ได้ดั่งใจเรา เราอยากมีพ่อที่ขับรถเก๋ง
มีพ่อที่สวมเสื้อสูทเท่ๆเอาไว้อวดเพื่อน มีพ่อที่ไม่ได้แต่งตัว
มอมแมม ทำงานกลางแดดเปรี้ยงๆจนตัวไหม้เกรียม
หาความมีสง่าราศีไม่ได้...เราอายกับการมีพ่อแบบนั้น

แต่แปลกที่เมื่อโตขึ้น เห็นโลกมากขึ้นและย้อนมองพ่อของตัวเองอีกครั้ง...

ภาพพ่อที่กำลังสร้างบ้านกลางแดดเปรี้ยงๆ
ภาพพ่อที่ไม่เคยเอาที่ดินแม้แต่แปลงเดียวไปจำนองธนาคาร
ภาพพ่อที่ไม่เคยมีเจ้าหนี้เอาปืนมาขู่ไล่ที่

ภาพเหล่านั้นทำให้ความคิดในวัยเด็กเปลี่ยนไป

พ่อไม่เคยมีบัญชีธนาคาร แต่เราก็ไม่เคยรู้เลยว่า
พ่อเก็บเงินไว้ที่ไหน แล้วมันมีมากเท่าไหร่...
แต่พ่อมีให้เราทุกครั้งที่เราร้องขอด้วยความจำเป็น...

หากใครว่าพ่อเราเชยเพราะกดเอทีเอ็มไม่เป็น
บัดนี้ ข้าน้อยไม่รู้สึกอายเลยสักนิดกับการมีพ่อแบบนี้

เพราะเข้าใจแล้วว่า...พ่อพยายามเลี่ยงสิ่งใด...

แล้วยังสอนให้ลูกๆพยายามเลี่ยงดอกเบี้ยให้ถึงที่สุด
แม้ว่าทุกวันนี้จะยากเหลือเกิน...

แต่อย่างน้อยเราก็ได้รู้ว่า...พ่อของเรา ผู้นำคนนี้
เขาเลี่ยงได้ และพยายามเลี่ยงมาสุดกำลังตลอด...

ซึ่งข้าน้อยเองก็หนีไม่พ้น เพราะยังต้องกดเงินจากธนาคาร
ผ่านเอทีเอ็ม...

ตอนนี้จึงพยายามศึกษาดูอยู่ว่า ธนาคารอิสลาม
แตกต่างจากธนาคารอื่นๆอย่างไร...

แล้วธนาคารอิสลามนั้น มีดอกเบี้ยไหลเวียนอยู่ในระบบ
หรือไม่อย่างไร...ซึ่งเราจะไม่ยึดตรงที่คำที่ใช้เรียก
แต่ยึดตรงที่ความหมายของมัน...

เพราะอย่างไร ดอกเบี้ย ก็คือ ดอกเบี้ย
เป็นดอกที่เกิดมาจากเบี้ยหรือดอกผลของเงิน...
มิใช่ดอกผลของการงานที่เรากระทำอยู่ดี...

ปล.กลับมาอ่านประวัติของธนาคารอีกรอบ
แล้วให้ขนลุกนะคะ เมื่อก่อนเคยฝันหวานตอนได้ดูละคร
ที่พระเอกเราเป็นลูกเจ้าของธนาคารผู้ร่ำรวย
มาวันนี้...อ่านมาถึงตรงนี้...ก็คิดได้ว่า...
หากวันนี้มีลูกเจ้าของธนาคารผู้ร่ำรวยมาจีบ
มาขอแต่งงาน...เราจะตกลงแต่งงานกับเขาหรือเปล่า...

^^

เหมือนจะได้คำตอบ...เพราะ

ในสมัยญาฮิลียะฮ์นั้น  พวกเขาแต่งงานเพื่อเกียรติยศ ,

พวกยาฮูดีย์แต่งงานเพราะทรัพย์สิน ,

พวกนะซอรอแต่งงานเพราะความสวย 

และประชาชาตินี้แต่งงานเพราะมีศาสนา...


ได้แต่วอนขอองค์พระผู้อภิบาลให้เราเป็นประชาชาติ
ที่แต่งงานเพราะมีศาสนา....อามีนๆ

วัสลามค่ะ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มี.ค. 18, 2013, 10:10 PM โดย nada-yoru »
"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ BasemDeen

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 260
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของดอกเบี้ย
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มี.ค. 18, 2013, 10:54 PM »
0
ขุดมาเลยคับ ผมไม่มีจอบ myGreat:

ออฟไลน์ pudpong

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 10
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของดอกเบี้ย
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มี.ค. 19, 2013, 09:26 PM »
0
สาระดี ขอบคุณครับ  :salam:

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของดอกเบี้ย
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มิ.ย. 02, 2017, 09:32 PM »
0
“โอ้ศรัทธาชน ทั้งหลาย สูเจ้าทั้งหลายจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด
และสูเจ้าทั้งหลาย จงละทิ้งสิ่งที่เหลืออยู่ จากดอกเบี้ย
หากว่าสูเจ้าทั้งหลาย เป็นศรัทธาชน
ดังนั้น หากสูเจ้าทั้งหลายไม่ปฏิบัติ สูเจ้าทั้งหลาย ก็จงรับรู้ถึงสงครามจากอัลลอฮฺ
และศาสนทูตของพระองค์เถิด
และหากสูเจ้าทั้งหลาย สำนึกผิดแล้ว 
ดังนั้น สำหรับสูเจ้าทั้งหลาย ก็คือทรัพย์ต้นทุนของสูเจ้า (ที่มีสิทธิเอาคืน) ...”

(สูเราะฮฺอัล-บะกอเราะฮฺ  อายะฮฺที่ 278-280)

สงครามจากอัลลอฮ์ช่างน่าหวั่นและน่ากลัวมากๆค่ะ...
เราไม่มีทางที่จะเอาชนะอัลลอฮ์ได้แน่นอน...

ฉะนั้น เลี่ยงได้ก็ขอให้เลี่ยงดอกเบี้ยกันให้ถึงที่สุดนะคะ...


ปล.ขุดแล้วขุดอีก หลังจากที่กลับมาอ่านทบทวน
การอ่านซ้ำๆมีข้อดีคือ เราจะได้อะไรไม่เท่ากันในทุกๆครั้งทีี่อ่าน
ที่เหนือกว่านั้นคือ สถานการณ์ปัจจุบันในชีวิตเราสามารถช่วยให้เรา
สังเคราะห์ความรู้ที่เราได้กลับไปอ่านทบทวนซ้ำๆให้เพิ่มพูนขึ้นจากเดิม...

^^
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิ.ย. 02, 2017, 09:35 PM โดย nada-yoru »
"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

 

GoogleTagged