ผู้เขียน หัวข้อ: อธิบายฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ  (อ่าน 16778 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

بسم الله الرحمن الرحيم

บทนำ

เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันวิกฤตทางด้านจิตวิญญาณอันมีทิฐิที่กำลังพัดโหมกระหน่ำความรู้สึกของมนุษย์
ได้เป็นปัจจัยทำให้จิตสามัญสำนึก มีการเน้นถึงเรื่อง จิตแพทย์ จิตวิทยา การบำบัดจิตใจ และเป็นปัจจัยเสริมให้มนุษย์หันไปสนใจวิถีทางใหม่ๆ ในการเผชิญกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน

เมื่อเราพิจารณาถึงประวัติศาสตร์ประชาชาติอิสลาม เราจะพบว่า การบำบัดจิตใจ ขัดเกลาจิตวิญญาณ และการทำให้จิตใจมีความผูกพันอยู่กับอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ได้เป็นผลงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่มาจากความคิดของบรรดาปวงปราชญ์ของโลกอิสลาม ที่ได้มาจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์ จึงไม่เป็นที่สงสัยว่า สิ่งดังกล่าวนี้เป็นเป้าหมายของชาริอะฮ์ที่มีความสุนทรียภาพในตัวของมัน

สิ่งที่กระผมจะนำเสนอแก่ท่านผู้อ่านที่เคารพนี้ คือหนังสือ อัล- ฮิกัม ของท่าน ปรมาจารย์ อิมาม อิบนุ อะฏออิลและฮ์ อัลอิสกันดะรีย์ (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮ์) ปราชญ์ผู้เรื่องนาม และมีความโดดเด่นในศาสตร์ตะเซาวุฟ หนังสือ อัล- ฮิกัม เป็นตำราเล่มหนึ่งที่บรรดานักปราชญ์ของ อัล- อัซฮัร ได้ทำการพื้นฟู อธิบาย และทำการสอนจวบจนถึงปัจจุบัน

คำว่า "อัล- ฮิกัม" เป็นพหูพจน์จากคำว่า "อัลฮิกมะฮ์" ซึ่งหมายถึง "วิทยปัญญา หรือ องค์ความรู้ที่ทรงคุณประโยชน์อันมากมาย" ท่านฮาญีย์ ค่อลิฟะฮ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ กัชฟุ อัซซุนูน ว่า "หนังสือ อัล- ฮิกัม เป็นหนังสือที่รวมไว้ซึ่งบรรดาวิทยปัญญาหรือองค์ความรู้อันลึกซึ้ง ที่ถูกร้อยเรียงมาจากถ้อยคำของนักปราชญ์ตะเซาวุฟ(ซูฟีย์) ในขณะที่ท่านอิบนุอะฏออิลและฮ์ได้ประพันธ์เสร็จ ท่านก็ได้นำเสนอแก่อาจารย์ คือ ท่านอบุลอับบาส อัลมุรซีย์ ซึ่งอาจารย์ของท่านได้ทำการพิจารณาและกล่าวว่า "โอ้ ลูกเอ๋ย ในแผ่นกระดาษนี้ เธอได้นำมาซึ่งจุดมุ่งหมายของหนังสืออัลเอี๊ยะหฺยาอ์(หมายถึง หนังสือเอี๊ยะหฺยาอฺ อุลูมิดดีน ของท่านอิมาม อัลฆ่อซาลีย์) หรือมากกว่านั้น"

วัลลอฮุอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ส.ค. 29, 2007, 09:34 AM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: ฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ส.ค. 26, 2007, 03:09 AM »
0
ฮิกัมที่หนึ่ง

ท่านอิมาม อิบนุอะฏออิลแหละฮ์  กล่าวว่า 

مِنْ عَلاَمَاتِ اْلِإعْتِمَادِ عَليَ الْعَمَلِ نُقْصَانُ الرَّجَاءِ عِنْدَ وُجُوْدِ الزَّلَلِ

"ส่วนหนึ่งจากบรรดาเครื่องหมายการยึดเพียงแค่การปฏิบัติ  คือความหวังจะลดลง  ในขณะที่มีบรรดาสิ่งที่ผิดพลาด"

หมายถึง : ท่านอิบนุอะฏออิลและห์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ  ต้องการที่จะตักเตือนแก่เรา ถึงการระวังในเรื่องการแสวงหาความพึงพอพระทัยและผลการตอบแทนจากอัลเลาะฮ์  ด้วยการยึดอะมัลที่เราทำ  เช่นการละหมาด  การถือศีลอด  การบริจาคทาน  ป็นต้น  แต่ทว่าให้เรายึดความเมตตา  ความโปรดปราน  ของอัลเลาะฮ์ตาอาลา

หลักฐานในสิ่งดังกล่าว  คือ หะดิษของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า :

‏ ‏ لن يدخل أحدا منكم عمله الجنة قالوا ولا أنت يا رسول الله قال ولا أنا إلا أن ‏ ‏يتغمدني ‏ ‏الله منه بفضل ورحمة

 "จะไม่ทำให้คนใดจากพวกท่านได้เข้าสวรรค์ด้วยกับอะมัลของเขา  ซอฮาบะฮ์กล่าวถามว่า  "ท่านก็ไม่ได้เข้าหรือ โอ้ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ?" ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ตอบว่า "ไม่แม้กระทั่งฉัน นอกจากอัลเลาะฮ์ทรงปกคลุมกับฉันด้วยความเมตตาและความโปรดจากพระองค์" รายงานโดย บุคอรีและมุสลิม

ดังนั้น   อะมัลจึงไม่มีค่าอันใดที่จะทำให้ได้เข้าสวรรค์หรอกครับ  แต่ให้ท่านปฏิบัติอะมัลต่าง ๆ  เพื่อแสวงหาความพึงพอพระทัยจากอัลเลาะฮ์  โดยหวังให้พระองค์ทรงประทานความโปรดปราน , การอภัยโทษ แก่เรา   ไม่ใช่หวังผลการตอบแทนจากตัวของอะมัลนั้น

เพราะฉะนั้น  บุคคลใดที่ยึดติดกับตัวอะมัลดังกล่าว  เขาก็จะสิ้นหวังต่ออัลเลาะฮ์หรือความหวังของเขาจะลดหลั่นลงไปเมื่อเขาพลาดทำความชั่วขึ้นมา  นั่นก็เพราะเขายึดติดกับตัวอะมัล  แต่หากเขายึดติดกับความหวังในความโปรดปรานต่อพระองค์นั้น  ความหวังของเขาจะไม่ลดลงอย่างแน่นอน

วัลลอฮุอะลัม     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ส.ค. 28, 2007, 06:57 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: ฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ส.ค. 26, 2007, 05:12 AM »
0
ฮิกัมที่สอง

ท่านอิมาม อิบนุอะฏออิลแหละฮ์  กล่าวว่า 

إِرَادَتُكَ التَّجْرِيْدَ مَعَ إِقَامَةِ اللهِ إِيَّاكَ فِى الَأسْبَابَ مِنَ الشَّهْوَةِ الْخَفِيَّةِ ، وَإِرَادَتُكَ اْلَأسْبَابَ مَعَ إِقَامَةِ اللهِ إِيَّاكَ فِى التَّجْرِيْدِ اِنْحِطَاطٌ عَنِ اْلهِمَّةِ اْلعَلِيَّةِ

"ท่านต้องการปลดเปลื้องตน(ออกจากมูลเหตุการกระทำ)พร้อมกันนั้นอัลเลาะฮ์ทรงให้ท่านอยู่ในมูลเหตุการกระทำต่าง ๆ  ย่อมเป็นส่วนหนึ่งจากกิเลิสที่แฝงอยู่  และท่านต้องการบรรดามูลเหตุการกระทำต่าง ๆ ซึ่งพร้อมกันนั้นอัลเลาะฮ์ทรงให้ท่านอยู่ในสภาวะการปลดเปลื้อง(ตนเองจากบรรดามูลเหตุการกระทำต่าง ๆ )ย่อมเป็นการลดปณิธานอันสูงส่ง"

คำว่า   اْلَأسْبَابَ  หมายถึง บรรดามูลเหตุการกระทำต่าง ๆ  กล่าวคือ  ท่านจะพบว่าตนเองนั้นไม่ว่าจะเคลื่อนไหวไปใหนก็จะอยู่ในโลกแห่งการทำงานแสวงหาปัจจัยต่าง ๆ โดยหลีกหนีไม่พ้น

คำว่า  التَّجْرِيْدِ  หมายถึง  การปลดเปลื้องตนเอง  กล่าวคือ  ท่านพบว่าตนเองไม่ได้อยู่ในโลกแห่งการทำงานแสวงหาปัจจัยต่าง ๆ   และท่านไม่มีหนทางใดที่จะไปสู่การกระทำนั้นได้  เพราะจะท่านอยู่ในสถานะภาพที่อัลเลาะฮ์ทรงให้มีความสะดวกสบายเกี่ยวกับปัจจัยยังชีพและมีความสามารถที่จะมุ่งทำอิบาดะฮ์และรับใช้ศาสนาของพระองค์

"ท่านต้องการปลดเปลื้องตน(ออกจากมูลเหตุการกระทำ)พร้อมกันนั้นอัลเลาะฮ์ทรงให้ท่านอยู่ในมูลเหตุการกระทำต่าง ๆ  ย่อมเป็นส่วนหนึ่งจากกิเลิสที่แฝงอยู่"

เช่น  ผู้ชายหนึ่ง  อัลเลาะฮ์ได้ทรงให้เขามีภาระหน้าที่รับผิดชอบครอบครัว  มีภรรยาและมีบุตร  แน่นอนว่า เขาต้องมีมูลเหตุต่าง ๆ ที่ชักนำให้ไปสู่การแสวงหาปัจจัยยังชีพ  มีความขยันขันแข็งในการทำงาน   แต่ชายคนนั้น (มีความพยายามที่จะยกระดับตนเองให้มีความยำเกรง  มีการยึดมั่นในเตาฮีดต่ออัลเลาะฮ์ และยกระดับตนเองให้มีการตะวักกัลมอบหมายต่อพระองค์)  เขาได้กล่าวกับตนเองว่า "ฉันไม่ต้องการที่จะไปตลาดและขยันขันแข็งทำงานแสวงหาปัจจัยยังชีพแล้ว เพราะฉันมั่นใจในคำตรัสของอัลเลาะฮ์ตาอาลาที่ว่า "ดังนั้นพวกท่านทั้งหลายจงแสวงหาปัจจัยยังชีพ(ริสกี)จากอัลเลาะฮ์เถิด" อัลอังกะบูต 17 และฉันมั่นใจว่าปัจจัยยังชีพต่าง ๆ ทั้งหมดอยู่ในอำนาจของอัลเลาะฮ์  ดังนั้นฉันจึงละทิ้งจากเรื่องดุนยาและงดการทำงานที่ตลาดเพื่อไปสู่การทำอิบาดะฮ์ต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา  โดยอ้างอัลเลาะฮ์ตาอาลาเพียงพระองค์เดียวเท่านั้นที่จะทรงประทานให้  โดยที่พร้อมกันนั้นจิตใจของเขาก็ยังปรารถนาที่จะได้ริสกีแบบลึก ๆ  แต่ในขณะเดียวกันเขาพยายามให้ผู้คนเห็นว่าตัวเขาเองสมถะละทิ้งดุนยาเพื่อไปสู่อัลเลาะฮ์  ซึ่งสิ่งดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นความผิดพลาดอันใหญ่หลวงตามมาตรฐานของหลักศาสนา  เพราะว่าเขากำลังเสียมารยาทต่ออัลเลาะฮ์  เนื่องจากพระองค์ทรงให้อยู่ในสภาวะของการมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลครอบครัว  โดยท่านมอบความไว้วางใจให้กับอัลเลาะฮ์และนำมันมาใช้กับครอบครัวด้วย  ดังนั้น  เมื่อเขามอบความไว้วางใจต่ออัลเลาะฮ์โดยไม่ทำงานแสวงหาริสกี  แล้วเขาจะทำให้ภรรยาและครอบครัวมีความไว้วางใจต่ออัลเลาะฮ์เหมือนกันเขาได้อย่างไร  เพราะครอบครัวต้องการปัจจัยยังชีพ

ดังนั้น  แนวทางที่ถูกต้องการคือให้ทำขยันทำงานเลี้ยงดูครอบครัวและเมื่อเสร็จจากงาน ก็ทำอิบาดะฮ์  ทำการซิกรุลลอฮ์  อ่านอัลกุรอาน  ในช่วงเวลาที่อำนวยให้

"และท่านต้องการบรรดามูลเหตุการกระทำต่าง ๆ พร้อมกันนั้นอัลเลาะฮ์ทรงให้ท่านอยู่ในสภาวะการปลดเปลื้อง(ตนเองจากบรรดามูลเหตุการกระทำต่าง ๆ )ย่อมเป็นการลดปณิธานอันสูงส่ง"

แต่ยังมีบุคคลบางส่วนที่อัลเลาะฮ์ทรงให้เขาปราศจากการทำงานหรือแสวงหาปัจจัยยังชีพหรือยังไม่พร้อมที่จะทำงาน  กล่าวคือ นาย ก. เป็นชายคนหนึ่งที่ไม่มีภาระต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับภรรยาและบุตรของตน และที่เขาเองนั้นก็มีค่าใช้จ่ายเพียงพอในการดำรงชีวิต  แต่มีปัจจัยสองประการที่มาชักนำในจิตใจของเขา

ปัจจัยแรกกล่าวกับเขาว่า :  ท่านยังจะต้องบากบั่นทำงานเพื่อให้มีปัจจัยเพียงพอกับท่านอยู่อีกหรือ?  เหตุใดค่าใช้จ่ายที่มีอยู่นั้นท่านยังไม่เพียงพอ ? เหตุใดท่านจึงไม่สละเวลาไปแสวงหาวิชาความในหลักการของศาสนา  ทุ่มเทเวลาเพื่อทำอิบาดะฮ์ต่ออัลเลาะฮ์และรับใช้ศาสนาของพระองค์?

ปัจจัยที่สองกล่าวกับเขาว่า :  ท่านจงลุกขึ้นแล้วไปแสวงหาริสกีเพิ่มเติมเถิด  จงบากบั่นตรากตรำทำงานและทำการค้าขาย  และท่านจงแสวงหามูลเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้ท่านมีความร่ำรวยและสุขสำราญ  เพราะอัลเลาะฮ์ทรงไม่โปรดปรานบ่าวผู้ที่ว่างงาน และท่านอุมัรได้เข้าไปหาบรรดาบุคคลที่ไม่ทำงานในมัสยิดแล้วตีพวกเขาด้วยกับไม้เรียว

ตอนนี้ท่านกำลังดูว่า  ชายคนนี้สมควรทำอย่างไร และการเรียกร้องอันใดที่เขาสมควรจะตอบรับ?   ท่านอิบนุอะฏออิลและฮ์  กล่าวตอบว่า :

"และท่านต้องการบรรดามูลเหตุการกระทำต่าง ๆ พร้อมกันนั้นอัลเลาะฮ์ทรงให้ท่านอยู่ในสภาวะการปลดเปลื้อง(ตนเองจากบรรดามูลเหตุการกระทำต่าง ๆ )ย่อมเป็นการลดปณิธานอันสูงส่ง"

หมายถึง  เมื่อท่านต้องการที่จะพึ่งพาความเกียจคร้าน  โดยอาศัยทรัพย์สินที่ตนเองมีอยู่มากมายอย่างเพียงพออยู่แล้ว  ท่านก็กิน  ดื่ม  ละเล่นอย่างเพลิดเพลิน  และมุ่งแต่จะนอนพักผ่อนจนตาย  ดังนั้น ท่านจงรู้ไว้เถิดว่า  นี้มันเป็นการดำเนินชีวิตของสัตว์เดรัจฉาน

แต่หากว่าท่านมีเป้าหมายที่มุ่งสู่การศึกษาเล่าเรียนในเรื่องของหลักการศาสนาของอัลเลาะฮ์และรับใช้เกี่ยวกับเรื่องศาสนาของพระองค์  โดยไม่สนใจตำแหน่งในทางดุนยาและไม่สนใจหนทางต่าง ๆ เพื่อให้ได้ริสกีเพิ่มพูนขึ้นเท่าทวีคูณ  ดังนั้น  เป้าหมายนี้แหละ คือหนทางที่ถูกต้องและเป็นพฤติกรรมที่เป็นแบบอย่าง  ซึ่งเหมาะกับผู้ที่มีปณิธานอันสูงส่ง  และพระองค์ก็ประสงค์ให้ท่านทำงานนี้

วัลลอฮุอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ส.ค. 26, 2007, 05:59 AM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
Re: ฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ส.ค. 26, 2007, 08:31 AM »
0
อัสลามุอะลัยกุ้มพี่น้อง

    ในที่สุดฮิกัมฉบับย่อ  ก็ได้รับการตอบรับ  และทำให้พี่น้องเข้าใจง่ายแบบพอสังเขป  ขออัลเลาะฮ์ทรงตอบแทนน้องเว๊บมาสเตอร์ของเราครับ  ;)

วัสลามพี่น้อง

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
Re: ฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ส.ค. 26, 2007, 08:43 AM »
0
ฮิกัมที่สอง

ท่านอิมาม อิบนุอะฏออิลแหละฮ์  กล่าวว่า 

 وَإِرَادَتُكَ اْلَأسْبَابَ مَعَ إِقَامَةِ اللهِ إِيَّاكَ فِى التَّجْرِيْدِ اِنْحِطَاطٌ عَنِ اْلهِمَّةِ اْلعَلِيَّةِ

" และท่านต้องการบรรดามูลเหตุการกระทำต่าง ๆ ซึ่งพร้อมกันนั้นอัลเลาะฮ์ทรงให้ท่านอยู่ในสภาวะการปลดเปลื้อง(ตนเองจากบรรดามูลเหตุการกระทำต่าง ๆ )ย่อมเป็นการลดปณิธานอันสูงส่ง"

     ผมขอบอกว่า ฮิกัมนี้มีตัวอย่างอื่นอีกที่เห็นได้ชัด เรื่องชีวิตของคนกำลังเรียน  ประสบการณ์ 30 กว่าปีที่ผมเคยเห็น คนเรียนที่แต่งงานนั้นส่วนมากจะถูกลดและถูกริดรอนเรื่องการเรียน

     ท่อนหนึ่งของฮิกัมนี้ คืออัลเลาะฮ์ได้ทรงให้เรามีได้มีโอกาสเรียน  โดยพ่อแม่ส่งเงินมาให้  และเราก็ไม่ได้ต้องไปทำงานเลี้ยงชีพ  ถือว่าอัลเลาะฮ์ทรงให้เราตัจญ์รีด  มีเวลาศึกษาหาวิชาความรู้เกี่ยวหลักการศาสนาของอัลเลาะฮ์ได้เต็มที่  สิ้นเดือนพ่อแม่ก็ส่งเงินมาให้  ถือว่าเป็นสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงอำนวจความสะดวกแก่เราในการ ตัจญ์รีด  แต่เราดันไปต้องการอัลอัสบาบ  คือต้องการจะแต่งงานด้วย  ซึ่งหากแต่งงานแล้วก็ต้องทำมาหากินเลี้ยงดูครอบครัว  หรือปล่อยให้ภรรยาอยู่ที่เมืองไทย  คิดหนักในภาระหน้าที่ของตน  ดังกล่าว จึงทำให้ปณิธานความตั้งใจในเรื่องการร่ำเรียนหลักการศาสนาจึงต่ำลง  บางคนอยู่ปีสี่  ยอมเลิกเรียนกลับเมืองไทยไปอยู่กับภรรยา  อันนี้เขาเรียกว่าปณิธานการเล่าเรียนล่มสลาย  ;D  ชอบทวนกระแสที่อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ให้เราเป็น 

    ดังนั้น  พี่น้องอย่าว่ายน้ำโต้คลื่นเลยครับเดี๋ยวแรงมันจะหมด    ;D

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
Re: ฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ส.ค. 26, 2007, 09:47 AM »
0
หลักฐานในสิ่งดังกล่าว  คือ หะดิษของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า :

‏ ‏ لن يدخل أحدا منكم عمله الجنة قالوا ولا أنت يا رسول الله قال ولا أنا إلا أن ‏ ‏يتغمدني ‏ ‏الله منه بفضل ورحمة

 "จะไม่ทำให้คนใดจากพวกท่านได้เข้าสวรรค์ด้วยกับอะมัลของเขา  ซอฮาบะฮ์กล่าวถามว่า  "ท่านก็ไม่ได้เข้าหรือ โอ้ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ?" ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ตอบว่า "ไม่แม้กระทั่งฉัน นอกจากอัลเลาะฮ์ทรงปกคลุมกับฉันด้วยความเมตตาและความโปรดจากพระองค์" รายงานโดย บุคอรีและมุสลิม

ดังนั้น   อะมัลจึงไม่มีค่าอันใดที่จะทำให้ได้เข้าสวรรค์หรอกครับ  แต่ให้ท่านปฏิบัติอะมัลต่าง ๆ  เพื่อแสวงหาความพึงพอพระทัยจากอัลเลาะฮ์  โดยหวังให้พระองค์ทรงประทานความโปรดปราน , การอภัยโทษ แก่เรา   ไม่ใช่หวังผลการตอบแทนจากตัวของอะมัลนั้น

       ฮิกัมที่หนึ่งนี้  ได้ทำการตอบโต้พวกมั๊วตะซิละฮ์ ที่เชื่อว่าคนเราจะได้เข้าสวรรค์ก็เพราะอะมัล ที่อัลเลาะฮ์จำเป็นต้องตอบแทนแก่บรรดาผู้ศรัทธา ทั้งที่ความจริงแล้ว  ไม่มีอะไรมาเป็นกฏบังคับให้อัลเลาะฮ์ต้องตอบแทนผู้ใด  แต่พระองค์จะตอบแทนเพราะพระองค์ได้ทรงสัญญาบอกไว้ในอัลกุรอานแล้วพระองค์ก็จะให้บรรดาผู้กระทำได้เข้าสวรรค์ด้วยความโปรดปรานและความเมตตาของพระองค์

ออฟไลน์ almadany

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 346
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ส.ค. 26, 2007, 12:50 PM »
0
อัสลามุอะไลกุ้ม....

ขอให้กระทู้นี้...เป็นกระทู้เชิงวิชาการที่ดีที่สุดแห่งเว๊บไซต์แห่งนี้ครับ.....

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
Re: ฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ส.ค. 27, 2007, 12:37 PM »
0
ฮิกัมที่สอง

ท่านอิมาม อิบนุอะฏออิลแหละฮ์  กล่าวว่า 

إِرَادَتُكَ التَّجْرِيْدَ مَعَ إِقَامَةِ اللهِ إِيَّاكَ فِى الَأسْبَابَ مِنَ الشَّهْوَةِ الْخَفِيَّةِ ، وَإِرَادَتُكَ اْلَأسْبَابَ مَعَ إِقَامَةِ اللهِ إِيَّاكَ فِى التَّجْرِيْدِ اِنْحِطَاطٌ عَنِ اْلهِمَّةِ اْلعَلِيَّةِ

"ท่านต้องการปลดเปลื้องตน(ออกจากมูลเหตุการกระทำ)พร้อมกันนั้นอัลเลาะฮ์ทรงให้ท่านอยู่ในมูลเหตุการกระทำต่าง ๆ  ย่อมเป็นส่วนหนึ่งจากกิเลิสที่แฝงอยู่  และท่านต้องการบรรดามูลเหตุการกระทำต่าง ๆ ซึ่งพร้อมกันนั้นอัลเลาะฮ์ทรงให้ท่านอยู่ในสภาวะการปลดเปลื้อง(ตนเองจากบรรดามูลเหตุการกระทำต่าง ๆ )ย่อมเป็นการลดปณิธานอันสูงส่ง"

   ความจริงฮิกัมนี้ต้องการจะบอกว่า  ให้จิตใจของเรามีมารยาทต่ออัลเลาะฮ์  พร้อมยอมจำนนท์ในสิ่งที่พระองค์ทรงให้เป็นและให้เราเป็นอยู่ตามความเหมาะสมที่พระองค์ทรงประทานให้แก่เรา

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: ฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ส.ค. 28, 2007, 06:50 PM »
0
อัสลามุอะไลกุ้ม....

ขอให้กระทู้นี้...เป็นกระทู้เชิงวิชาการที่ดีที่สุดแห่งเว๊บไซต์แห่งนี้ครับ.....

อินชาอัลเลาะฮ์ครับ  ช่วย ๆ กันขอดุอาอ์กันครับ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: ฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ส.ค. 28, 2007, 06:52 PM »
0
ฮิกัมที่สาม

ท่านอิมาม อิบนุอะฏออิลแหละฮ์  กล่าวว่า 

سَوَابِقُ اْلهِمَمِ لَا تَخْرِقُ أَسْوَارَ اْلَأقْدَارِ

"ปณิธานที่มีอยู่ก่อนนั้น  ไม่สามารถเจาะ(ทำลาย)บรรดากำแพงแห่งการกำหนดสภาวะได้หรอก"

 اْلهِمَمِ  (อัลฮิมัม) หมายถึง  ความมุ่งมั่นตั้งใจที่อัลเลาะฮ์ทรงเปิดโอกาสให้แก่มนุษย์ในการย่างก้าวเข้าไปทำกิจการต่าง ๆ ของพวกเขา  เช่นการค้าขาย , อุตสาหะกรรม , การศึกษา , และอื่น ๆ  ซึ่งบรรดาความมุ่งมั่นตั้งใจนี้  แม้ว่าจะมีความเอาจริงเอาจังอยู่ในหัวใจสักแค่ใหน  มันก็ไม่สามารถเจาะทำลายบรรดากำแพงแห่งการกำหนดสภาวะไปไม่ได้หรอก

เป้าหมายของท่านอิมามอิบนุอะฏออิลและฮ์นั้น  ท่านได้กล่าวว่า  โอ้ลูกหลานของอาดัม  ท่านจงบากบั่นทำงานตามที่ท่านชอบและจงแสวงหาผลได้ที่จะได้รับตามที่ท่านต้องการ  และจงทำงานต่าง ๆ ตามที่อัลเลาะฮ์ให้ท่านกระทำอยู่ให้สุดความสามารถ  แต่ท่านจงรู้ไว้เถิดว่า  การงานต่าง ๆ ที่ท่านได้กระทำนั้น  ไม่ว่าจะทุ่มเทมากน้อยแค่ใหนอย่างไร  มันย่อมไร้ผล หากไปค้านกับการกำหนดสภาวะของอัลเลาะฮ์ตาอาลา

กอฏออฺของอัลเลาะฮ์  คือ  การรู้ของพระองค์ที่มีมาแต่เดิมกับทุก ๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  ส่วนกอดัร  คือ  การดำเนินไปหรือการเกิดขึ้นของสรรพสิ่งต่าง ๆ โดยสอดคล้องกับการรู้ของอัลเลาะฮ์ที่มีมาตั้งแต่เดิม  ดังนั้น  การที่อัลเลาะฮ์ทรงรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ของจักรวาลก่อนที่มันจะเกิดขึ้นนั้น  เขาเรียกว่า กอฏออฺ  และเมื่อเหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้น (โดยที่มันจะไม่เกิดขึ้นนอกจากสอดคล้องกับการรู้ของอัลเลาะฮ์)  นั่นแหละเขาเรียกว่า กอดัร

เช่น เราป่วย  แล้วเราจะทำอย่างไร?  ทั้งที่เรารู้ว่าไม่สามารถจะฝืนการกำหนดสภาวะกอฏออฺและกอดัรของอัลเลาะฮ์ไม่ได้  หรือว่าไม่ต้องทานยา  เพื่อการกำหนดของอัลเลาะฮ์ที่จะให้หาย?   ขอตอบว่า : การที่เราจะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งพร้อมกับเชื่อมั่นในอัลเลาะฮ์นั้น  ต้องเกี่ยวพันกับคำบัญชาใช้ของพระองค์และต้องปฏิบัติตามระเบียบที่อัลเลาะฮ์ทรงวางไว้ให้กับจักรวาลแห่งนี้   หมายถึง  พระองค์ทรงบัญชาใช้แก่เราว่า  หากเราหิวก็ต้องกิน  เมื่อเรากระหายก็ต้องดื่ม  หากเราป่วยก็ต้องหายามารับประทาน  และพระองค์ทรงบัญชาใช้ให้เราปกป้องรักษาและระวังจากสิ่งที่ทำให้เกิดโรค  ความเจ็บป่วย  และความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ตัวเรา  หลังจากนั้นพระองค์ทรงบัญชาใช้ให้เรายาเกนมั่นใจว่าพระองค์ทรงสร้างทุก ๆ สิ่ง และทรงใช้ให้เราปฏิบัติตามหน้าที่ที่พระองค์ทรงบัญชาใช้ "พึงทราบเถิด! พระองค์ทรงสิทธิ์บันดาลและบัญชา(บริหาร)" อัลอะอฺร๊อฟ : 54

ดังนั้น  ถ้าหากเราป่วยแล้วทานยา แสดงว่าเราได้ทำตามกฏระเบียบที่อัลเลาะฮ์ทรงวางไว้ให้แก่มนุษย์  หากพระองค์ทรงรู้มาก่อนแล้วว่าไม่หายป่วย (กอฏออฺ) โรคก็จะไม่หายตามนั้น(กอดัร)  แต่เราให้ริฏอพอใจต่อสิ่งที่พระองค์กอฏออฺกอดัร และให้มีความอดทน  พระองค์จะตอบแทนผู้ที่อดทนอย่างคณานับไม่ได้  แต่หากพระองค์ทรงให้หายจากป่วย  หัวใจของเราก็จงยาเกนมั่นใจว่ามันเป็นกอฏออฺกอดัรที่พระองค์ทรงประทานความโปรดปรานแก่เราหลังจากลิ้นของเราก็จำเป็นต้องทำการสรรเสริญและชุโกรต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: ฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ส.ค. 28, 2007, 06:54 PM »
0
ฮิกัมที่สี่

ท่านอิมาม อิบนุอะฏออิลแหละฮ์  กล่าวว่า 

أَرِحْ نَفْسَكَ مِنَ الْتَدْبِيْرِ ، فَمَا قَامَ بِهِ غَيْرُكَ عَنْكَ لاَ تَقُمْ بِهِ لِنَفْسِكَ

"ท่านจงพักผ่อนจิตใจของท่านจากการวางแผนเถิด  ดังนั้นสิ่งที่ผู้อื่นจากท่าน(คืออัลเลาะฮ์)ได้ดำเนินการแทนท่านแล้วนั้น  ท่านก็อย่าดำเนินการให้กับจิตใจของท่านเอง"

ก่อนอื่นผมขอกล่าวเรื่องการวางแผนก่อน  กล่าวคือการวางแผนมี 2 ประเภท

1. การวางแผนที่ถูกสรรเสริญ  คือการวางแผนชีวิต  กล่าวคือวางแผนกระทำสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงมอบภาระตกหนักแก่เรา  เช่นวางแผนที่จะทำละหมาดและทำอิบาดะฮ์ฟัรดูและสุนัตต่าง ๆ  วางแผนการทำมาหากินเลี้ยงดูครอบครัว  เป็นต้น  เพราะท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "การวางแผนคือครึ่งหนึ่งของการดำเนินชีวิต"  ดังนั้น  ท่านอิบนุอะฏออิลและห์จึงกล่าวว่า "ท่านจงพักผ่อนจิตใจของท่าน"  ไม่ได้กล่าวว่า "ท่านจงพักผ่อนร่างกายของท่าน"  เพราะการทำงานทุ่มเทแรงกายนั้นนักปราชญ์ตะเซาวุฟให้การส่งเสริมเป็นอย่างยิ่ง

2. การวางแผนที่ถูกตำหนิ  คือการวางแผนผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น  ซึ่งเป็นการวางแผนที่ค้านกับความเป็นทาสบ่าว  เช่นเขาทำการค้าขาย  เขาวางแผนว่าต้องได้กำไรเท่านั้นเท่านี้  , หากฉันทำสิ่งนี้ฉันต้องได้เท่านั้น , หากฉันไม่ทำมันแบบนั้นมันก็จะไม่เกิดแบบนี้หรอก , หากฉันสอบก็ต้องได้คะแนนเท่านั้นเท่านี้  เป็นต้น  ซึ่งการวางแผนเช่นนี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกตำหนิ  เพราะผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นตามที่เราได้วางแผนนั้น  เป็นสิทธิ์ของอัลเลาะฮ์ผู้ทรงรู้ตั้งแต่เดิมแล้ว(กอฏออฺ) ว่ามันจะเกิดขึ้นอย่างไร  และผลก็เกิดขึ้นมาตาม(ที่อัลเลาะฮ์ทรงรู้มาแล้ว)นั้น(กอดัร)   เราจะไปกำหนดให้เป็นไปตามที่เราคาดวางแผนไว้นั้น  ถือเป็นการคิดวางแผนล้ำหน้าอัลเลาะฮ์ตาอาลา  ซึ่งขัดกับคุณลักษณะของการเป็นทาสบ่าวผู้ต่ำต้อย

ดังนั้น  หากเราวางแผนทำการค้าขายว่าต้องได้กำไรเท่านั้นเท่านี้  แต่ผลลัพธ์ออกไม่ตรงตามเป้าที่เราได้หวังไว้  จิตใจของเราก็จะผิดหวังเป็นทุกข์ที่ไม่ได้ตามที่เราคาดการณ์ไว้  และอย่างเช่นเราทำการสอบ  หากเราคาดหวังตามที่เราจะเอา  แต่ผลออกมาไม่ได้ตามนั้น  เราก็จะคิดมากไม่พอใจกับผลลัพธ์ที่ออก (เช่นมีนักศึกษาบางคนฆ่าตัวตายเพราะสอบไม่ผ่านตามข่าว)  ทั้งที่ทั้งหมดนั้น  อัลเลาะฮ์ผู้ทรงกำหนดสภาวะมันมาแล้ว  ดังนั้น  หากเราได้มอบการวางแผนนี้ให้กับอัลเลาะฮ์  เราก็จะสบายใจ  ได้แค่ใหนเราก็ริฏอพอใจสิ่งที่พระองค์ทรงประทานให้   หากได้น้อยก็จงอดทนพยายามอุตสาหะมันต่อไป  แต่หากอัลเลาะฮ์ทรงผลลัพธ์ออกมาดี  เราก็ทำการชุโกรต่ออัลเลาะฮ์  เพราะฉะนั้น  ความอดทนกับการชุโกร จึงเป็นความดีงามทั้งสิ้น 

ท่านจงทุ่มเทแรงกายเพื่อกระทำสิ่งที่พระองค์ทรงใช้โดยพักผ่อนจิตใจโดยฝากผลลัพธ์ให้แก่อัลเลาะฮ์ตาอาลา

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: ฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ส.ค. 28, 2007, 07:42 PM »
0
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته

พี่น้องท่านใหนอ่านฮิกัมแล้วไม่ค่อยเข้าใจหรือต้องการถามเพิ่มเติม  ก็อย่าได้เกรงใจนะครับ  เพราะจะพยายามอธิบายฮิกัมให้ร่วมสมัยและให้เห็นภาพในปัจจุบันกันมากที่สุด  อินชาอัลเลาะฮ์

والسلام

al-azhary
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ส.ค. 28, 2007, 07:49 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: อธิบายฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ส.ค. 29, 2007, 09:25 AM »
0
ฮิกัมที่ห้า

ท่านอิมาม อิบนุอะฏออิลแหละฮ์  กล่าวว่า

إِجْتِهَادُكَ فِيْمَا ضُمِنَ لَكَ ، وَتَقْصِيْرُكَ فِيْمَا طُلِبَ مِنْكَ ، دَلِيْلٌ عَلىَ إِنْطِمَاسِ الْبَصِيْرَةِ مِنْكَ

"การพากเพียรบากบั่น(จิตใจ)ของท่านในสิ่งที่ถูกประกันให้แก่ท่านแล้ว , และการทำให้บกพร่องของท่านในสิ่งที่ท่านถูกใช้  ย่อมเป็นหลักฐานบ่งชี้ถึง  ความบอดของตาใจจากท่าน"

อัลเลาะฮ์ตาอาลา ทรงตรัสความว่า

 وَمَا خَلَقْتُ الْجِنَّ وَالْإِنسَ إِلَّا لِيَعْبُدُونِ مَا أُرِيدُ مِنْهُم مِّن رِّزْقٍ وَمَا أُرِيدُ أَن يُطْعِمُونِ

 "และข้ามิได้บันดาลญินและมนุษย์ขึ้นมา  นอกจากพวกเขาต้องทำการนมัสการ  ต่อข้าเป็นที่สุด  และข้ามิพึงปรารถนาโชคผลใด ๆ จากพวกเขาและข้ามิหวัง  ที่จะให้พวกเขาต้องให้อาหารแก่ข้า" อัซซาริยาต : 56-57

พระองค์ทรงตรัสเช่นกันว่า

وَأْمُرْ أَهْلَكَ بِالصَّلَاةِ وَاصْطَبِرْ عَلَيْهَا لَا نَسْأَلُكَ رِزْقاً نَّحْنُ نَرْزُقُكَ وَالْعَاقِبَةُ لِلتَّقْوَى

"และเจ้าจงใช้ให้ครอบครัวของเจ้าทำละหมาด  และจงมีความอดทนเพื่อการนั้น   เราไม่ขอ(ริสกี)ปัจจัยใด ๆ จากพวกเจ้า  เราต่างหากที่ให้(ริสกี)ปัจจัยแก่พวกเจ้า  และความสุขบั่นปลายย่อมเป็นของผู้ยำเกรง" ฏอฮา : 132

สองอายะฮ์นี้ได้บอกแก่เราว่า  อัลเลาะฮ์ตาอาลา ทรงให้มนุษย์อยู่บนภาระหน้าที่ที่เขาต้องกระทำเพื่ออัลเลาะฮ์  กล่าวคือ  เขาต้องกระทำการที่แสดงความเป็นบ่าวด้วยการทำอิบาดะฮ์ต่อพระองค์  และอัลเลาะฮ์ตาอาลาทรงมีหน้าที่แห่งความโปรดปรานต่อมนุษย์  ในการประกันริสกีปัจจัยยังชีพต่าง ๆ ให้แก่พวกเขาได้อำนวยสุข   กล่าวคือ  พระองค์ทรงใช้ให้เราทำอิบาดะฮ์ , ใช้ให้เรากระชับให้ครอบครัวทำการละหมาด  โดยที่พระองค์จะทรงประกันและประทานริสกีปัจจัยยังชีพให้

สรุปคือ  มีสองประการที่เราสมควรพิจารณา  กล่าวคือ  มีประการหนึ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงสั่งใช้เรา เช่นการงานเกี่ยวกับเรื่องอิบาดะฮ์  และยังมีอีกประการหนึ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงประกันให้แก่เราแล้วนั่นคือริสกี   เมื่อเราอ่านฮิกัมนี้แล้ว  จึงดูเหมือนว่าไม่ส่งเสริมให้เราทำงานเลี้ยงชีพ  ซึ่งความจริงไม่ใช่อย่างนั้น  เพราะความจริงแล้วก็คือ  จำเป็นบนเราต้องทุ่มเทแรงกายแรงความคิดเพื่อปฏิบัติภาระหน้าที่ที่ถูกมอบให้แก่เรา  โดยให้เราเชื่อต่อหลักประกันต่าง ๆ ที่อัลเลาะฮ์ทรงจะประทานให้แก่เรา  ดังนั้น  สิ่งดังกล่าวจึงไม่ทำให้เราต้องคิดหนักหรือทำให้จิตใจของเราต้องแบกรับความยากลำบากต่อสิ่งดังกล่าวเลย   คือ ทุ่มเทแรงกายให้เต็มที่ แต่แรงใจต้องคิดว่า ผลที่ได้มานั้น ไม่ว่าจะมากหรือน้อยเพียงใด  อัลเลาะฮ์ก็ทรงประกันริสกีให้แก่เราตามที่พระองค์ทรงประสงค์  หากได้มากก็ทำการชุโกร  หากได้น้อยก็จงอดทนบากบั่นพากเพียรทุ่มเทการทำงานต่อไปโดยไม่ละหมาดทิ้งอิบาดะฮ์ต่อพระองค์ 

แต่ก็ยังมีมนุษย์บางคนที่ทุ่มเทบากบั่นพากเพียรอย่างหนักในสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงประกันให้แก่พวกเขาแล้ว  จนทำให้พวกเขาต้องละทิ้งอิบาดะฮ์ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงใช้กับพวกเขา  ซึ่งดังกล่าวนี้  เป็นหลักฐานบ่งชี้ว่า  พวกเขาเหล่านั้นมีตาใจที่มือบอด  ตามที่ท่านอิบนุอะฏออิลและฮ์ได้กล่าวไว้  เพราะสิ่งดังกล่าว ได้บ่งถึงว่า พวกเขาไม่ไว้ใจในคำสัญญาต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา ที่ว่า  "เราต่างหากที่ให้(ริสกี)ปัจจัยแก่พวกเจ้า"  ดังนั้น  การบากบั่นเพียงพยายามทำงานแสวงหาปัจจัยยังชีพในสิ่งที่พระองค์ทรงประกันให้แล้วจนทำให้ละเลยบกพร่องในอิบาดะฮ์  เป็นการบากบั่นเพียรพยายามที่ถูกตำหนิตามเป้าหมายของฮิกัมที่ท่านอิบนุอะฏออิลและฮ์กล่าวไว้ในที่นี้ครับ

แต่ถ้าหากพวกเพียรทำงานโดยมีเจตนาที่ดี  ย่อมเป็นอิบาดะฮ์  เป็นนัยยะหนึ่งของการญิฮาดในหนทางของอัลเลาะฮ์ตาอาลา

ท่านอัฏฏ๊อบรอนีย์ได้รายงานไว้ในหนังสือ มั๊วะญัมอัลกะบีร  จากหะดิษของกะอับ บิน อัจญเราะฮ์ ว่า  "แท้จริงท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้ออกมาข้างนอกพร้อมกับกลุ่มหนึ่งจากซอฮาบะฮ์  ดังนั้น พวกเขาจึงเห็นผู้ชายคนหนึ่ง  ได้ออกไปทำงานตั้งแต่เช้า  และพวกเขาได้เห็นเขาขมักขเม้นในการทำงานจนทำให้พวกเขาต้องฉงนใจ  ซอฮาบะฮ์คนหนึ่งจึงกล่าวว่า :  โอ้ อนิจฉาเอ๋ย  หากเขาคนนี้ได้(ทำงานทุ่มเท)ในหนทางของอัลเลาะฮ์(ก็จะเป็นการดี)  ดังนั้น  ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า  หากเขาได้ออกไปทำงานเพื่อ(เลี้ยงดู)บุตรของเขาที่ยังเล็กอยู่  เขาย่อมอยู่ในหนทางของอัลเลาะฮ์ (ฟีซะบีลิลลาฮ์)  และหากเขาออกไปทำงานเพื่อ(เลี้ยงดู)บิดามารดาที่แก่ชรา  เขาย่อมอยู่ในหนทางของอัลเลาะฮ์ และหากเขาได้ออกไปทำงานเพื่อครอบครัว  เขาย่อมอยู่ในหนทางของอัลเลาะฮ์  และหากเขาได้ออกไปทำงานเพื่อให้มีความโอ่อ่าภาคภูมิและมีทรัพย์สินสะสมมาก ๆ  เขาย่อมอยู่ในหนทางของชัยฏอน"  ซุบฮานัลลอฮ์!!

วัลลอฮุอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ส.ค. 29, 2007, 09:33 AM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
Re: ฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ก.ย. 01, 2007, 12:57 PM »
0
1. การวางแผนที่ถูกสรรเสริญ  คือการวางแผนชีวิต  กล่าวคือวางแผนกระทำสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงมอบภาระตกหนักแก่เรา  เช่นวางแผนที่จะทำละหมาดและทำอิบาดะฮ์ฟัรดูและสุนัตต่าง ๆ  วางแผนการทำมาหากินเลี้ยงดูครอบครัว  เป็นต้น  เพราะท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "การวางแผนคือครึ่งหนึ่งของการดำเนินชีวิต"  ดังนั้น  ท่านอิบนุอะฏออิลและห์จึงกล่าวว่า "ท่านจงพักผ่อนจิตใจของท่าน"  ไม่ได้กล่าวว่า "ท่านจงพักผ่อนร่างกายของท่าน"  เพราะการทำงานทุ่มเทแรงกายนั้นนักปราชญ์ตะเซาวุฟให้การส่งเสริมเป็นอย่างยิ่ง

แสดงว่าคนเรานั้นจะมีความสุขมันอยู่ที่จิตใจ  มีหัวใจที่ได้พักใจต่ออัลเลาะฮ์

คนที่ทำงานหนักและไม่พักใจกลุ่มกลัวขาดทุน  ย่อมเป็นทุกข์หนัก

คนรวยมีกินมีใช้แต่จิตใจยังยึดติดกับทรัพย์สินกลัวกิจการไม่รุ่ง  ย่อมเป็นทุกข์หนักพอสมควร

ทำงานหนักและพักใจด้วยการมอบหมายต่ออัลเลาะฮ์  ย่อมเป็นความสุขและได้ผลบุญเยอะ

เพราะว่า : -

ท่านอิบนุอะฏออิลและห์จึงกล่าวว่า "ท่านจงพักผ่อนจิตใจของท่าน"  ไม่ได้กล่าวว่า "ท่านจงพักผ่อนร่างกายของท่าน"  เพราะการทำงานทุ่มเทแรงกายนั้นนักปราชญ์ตะเซาวุฟให้การส่งเสริมเป็นอย่างยิ่ง  ;)

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
Re: อธิบายฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: ก.ย. 01, 2007, 01:06 PM »
0
พระองค์ทรงตรัสเช่นกันว่า

وَأْمُرْ أَهْلَكَ بِالصَّلَاةِ وَاصْطَبِرْ عَلَيْهَا لَا نَسْأَلُكَ رِزْقاً نَّحْنُ نَرْزُقُكَ وَالْعَاقِبَةُ لِلتَّقْوَى

"และเจ้าจงใช้ให้ครอบครัวของเจ้าทำละหมาด  และจงมีความอดทนเพื่อการนั้น   เราไม่ขอ(ริสกี)ปัจจัยใด ๆ จากพวกเจ้า  เราต่างหากที่ให้(ริสกี)ปัจจัยแก่พวกเจ้า  และความสุขบั่นปลายย่อมเป็นของผู้ยำเกรง" ฏอฮา : 132

       อายะฮ์นี้แบ่งออกเป็นสองประเด็น  คือ ทำให้อิบาดะฮ์ต่ออัลเลาะฮ์อย่างไม่ขาดตกบกพร่องตออัตต่ออัลเลาะฮ์จริงๆ  แล้วพระองค์ก็จะทรงประทานริสกีให้  นั่นคือสัญญาของอัลเลาะฮ์   ใครไม่เชื่อก็ต้อง...??  :)

 

GoogleTagged