ผู้เขียน หัวข้อ: อธิบายฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ  (อ่าน 16801 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
Re: ฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: ก.ย. 01, 2007, 02:12 PM »
0
ดังนั้น  ถ้าหากเราป่วยแล้วทานยา แสดงว่าเราได้ทำตามกฏระเบียบที่อัลเลาะฮ์ทรงวางไว้ให้แก่มนุษย์  หากพระองค์ทรงรู้มาก่อนแล้วว่าไม่หายป่วย (กอฏออฺ) โรคก็จะไม่หายตามนั้น(กอดัร)  แต่เราให้ริฏอพอใจต่อสิ่งที่พระองค์กอฏออฺกอดัร และให้มีความอดทน  พระองค์จะตอบแทนผู้ที่อดทนอย่างคณานับไม่ได้  แต่หากพระองค์ทรงให้หายจากป่วย  หัวใจของเราก็จงยาเกนมั่นใจว่ามันเป็นกอฏออฺกอดัรที่พระองค์ทรงประทานความโปรดปรานแก่เราหลังจากลิ้นของเราก็จำเป็นต้องทำการสรรเสริญและชุโกรต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา

      แสดงว่าการที่อัลเลาะฮ์ให้ป่วยต่อไปหรือให้หายจากป่วย  ย่อมเป็นความดีงามแก่บ่าวทั้งสิ้น  แต่ต้องขึ้นอยู่กับสภาวะจิตใจของเขาว่า  จะผูกพันกับอัลเลาะฮ์อย่างถูกต้องแค่ใหน

ออฟไลน์ almadany

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 346
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อธิบายฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: ก.ย. 02, 2007, 10:37 AM »
0
มาให้กำลังใจกระทู้ฮิกัมต่อไปครับ.....ตอนนี้ได้ห้าฮิกัมแล้ว....

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: อธิบายฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: ก.ย. 05, 2007, 11:58 PM »
0
ฮิกัมที่หก

ท่านอิมาม อิบนุอะฏออิลแหละฮ์  กล่าวว่า

  لاَ يَكُنْ أَمَدُ تَأَخُّرِ الْعَطَاءِ مَعَ الْإلْحَاحِ فِى الدُّعَاءِ مُوْجِباًَ لِيَأْسِكَ ، فَهُوَ ضَمِنَ لَكَ الْإِسْتِجَابَةَ فِيْمَا يَخْتَارُهُ لَكَ ، لَا فِيْمَا تَخْتَارُهُ لِنَفْسِكَ ، وَفِى الْوَقْتِِ  الَّذِيْ يُرِيْدُ لَا فِى الْوَقْتِ الَّذِيْ تُرِيْدُ

 "อย่าให้การประวิงเวลาจากการให้โดยพร้อมกับ(ท่าน)มีการรบเร้าในการขอดุอาอ์นั้น  ทำให้ท่านสิ้นหวัง , ดังนั้นพระองค์ได้ประกันการตอบรับให้แก่ท่านแล้วในสิ่งที่พระองค์ทรงเลือกเฟ้นให้แก่ท่าน , ไม่ใช่ในสิ่งที่ท่านเลือกให้กับตัวเอง , และ(พระองค์ได้ประกันการตอบรับดุอาอ์)ในเวลาที่พระองค์ทรงประสงค์(จะให้)ไม่ใช่ในเวลาที่ท่านประสงค์(จะได้)"

หากมีคนหนึ่งกล่าวว่า  ฉันได้มอบหมายบรรดาสิ่งที่ฉันต้องการทางโลกดุนยานี้ไปยังการประกันของอัลเลาะฮ์ตาอาลาและสัญญาที่พระองค์จะทรงประทานให้  ขณะเดียวกันนั้นฉันก็ได้สำทับการขอดุอาอ์ไปด้วย  แต่ทว่ากระทั่งถึงวันนี้ฉันยังไม่ได้รับการตอบรับดุอาอ์ของฉันเลย  ทั้งที่ฉันเองก็ไว้วางใจในสัญญาของพระองค์  แต่ฉันได้รอคอยเป็นเวลานาน  และแล้วฉันก็ไม่รับสิ่งที่ตองการ  ซึ่งดังกล่าวนี้ท่านอิมามอิบนุอะฏออิลและฮ์ ได้กล่าวตอบไว้ว่า :

 "อย่าให้การประวิงเวลาจากการให้โดยพร้อมกับ(ท่าน)มีการรบเร้าในการขอดุอาอ์นั้น  ทำให้ท่านสิ้นหวัง , ดังนั้นพระองค์ได้ประกันการตอบรับให้แก่ท่านแล้วในสิ่งที่พระองค์ทรงเลือกเฟ้นให้แก่ท่าน , ไม่ใช่ในสิ่งที่ท่านเลือกให้กับตัวเอง , และ(พระองค์ได้ประกันการตอบรับดุอาอ์)ในเวลาที่พระองค์ทรงประสงค์(จะให้)ไม่ใช่ในเวลาที่ท่านประสงค์(จะได้)"

การขอดุอาอ์หมายถึง  การวอนขอที่เกิดจากสภาวะของจิตใจที่มีต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา  ซึ่งสภาวะของจิตใจนี้  จะเกิดขึ้นได้ด้วยเงื่อนไข 2 ประการ :

ประการที่หนึ่ง : หัวใจและความรู้สึกต้องอยู่ในสภาวะที่ตื่นและทั้งสองต้องมีสถาวะที่นอบน้อบยอมตนต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลาอย่างแท้จริง

ประการที่สอง :  ผู้ที่ทำการขอดุอาอ์  ต้องเริ่มด้วยการเตาบะฮ์ต่ออัลลอฮ์ตาอาลาจากบรรดาความผิดต่าง ๆ ที่เขาได้ก่อขึ้น และจงทำให้การเตาบะฮ์ที่จริงใจของเขานั้นเป็นตัวช่วยเหลือในการขอดุอาอ์ของเขา

ดังนั้น  ถ้าหากเขาได้ทำการขอต่ออัลเลาะฮ์เพียงแค่กล่าวด้วยลิ้นแต่หัวใจของเขาไม่มีความรู้สึกนอบน้อมยอมตนต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา  โดยหัวใจและความรู้สึกมุ่งแต่เรื่องอื่น  ซึ่งแท้จริงแล้ว  ลักษณะดังกล่าว  ย่อมไม่เรียกว่าการวอนขอดุอาอ์ตามหลักการของศาสนา  ฉะนั้นเมื่อเขาได้ทำการค้นหาบทดุอาอ์ต่าง ๆ จากตำราที่เขาบอกว่า ถ้าขอดุอาอ์บทนี้แล้ว  จะได้อย่างนั้น  อัลเลาะฮ์จะทรงประทานอย่างนี้  แต่กระนั้นมันคงเหลือแค่ความฝันลม ๆ แล้ง ๆ ที่อยู่ในความนึกคิดของเขา  จากนั้นเขาก็ทำการร้องทุกข์และน้อยใจต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา  โดยกล่าวว่า  ฉันได้ทำการขอดุอาอ์แล้ว  แต่พระองค์ไม่ทราบตอบรับดุอาอ์ของฉัน  แล้วใหนล่ะที่พระองค์ทรงตรัสว่า

وَقَالَ رَبُّكُمُ ادْعُونِي أَسْتَجِبْ لَكُمْ

 "และองค์อภิบาลของพวกเจ้าได้ตรัสว่า พวกเจ้าจงขอต่อข้าเถิด ข้าจะตอบสนองพวกเจ้าอย่างแน่นอน" อัลฆอฟิร(อัลมุอฺมิน) : 60

เพราะฉะนั้น  บุคคลที่ยังคงทำการฝ่าฝืนต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา  โดยที่ขณะเดียวกันเขาได้ทำการมุ่งขอดุอาอ์ต่อพระเจ้าที่เขากำลังกระทำการฝ่าฝืนอยู่  แล้วเขาก็ขอให้พระองค์ประทานสิ่งต่าง ๆ ที่เขาต้องการ  ก็แสดงว่าเขาผู้นั้นเป็นคนที่ไร้ความคิด ยิ่งกว่านั้น  เขายังปฏิบัติต่อพระองค์อย่างไม่สมเหตุสมผลอีกด้วย

ดังนั้น  เมื่อครบเงื่อนไขต่าง ๆ และระเบียบต่าง ๆ ทั้งหมดในการขอดุอาอ์นั้น  อัลเลาะฮ์ก็จะทำตอบสนองรับดุอาอ์และให้บรรลุสิ่งที่ท่านต้องการ  แต่ท่านจงระวังความคิดที่ว่าการตอบรับหมายถึงอัลเลาะฮ์ทรงประทานให้ทุกในทุก ๆ อักษรที่ท่านได้ขอดุอาอ์  แต่ทว่าความจริงการตอบสนองรับดุอาอ์ที่อัลเลาะฮ์ตาอาลาทรงสัญญาต่อปวงบ่าวของพระองค์นั้นย่อมมีความหมายที่ครอบคลุมและกว้างขวางกว่ามากมายนัก

เช่น  ฉันได้ทำการขอดุอาอ์ต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา กับสิ่งหนึ่งด้วยลักษณะที่เฉพาะเจาะจงอย่างนั้นอย่างนี้  โดยฉันคิดว่าสิ่งต่าง ๆ ที่ขอ ได้มีการประกันสำหรับเป้าหมายและความดีงามต่าง ๆ ที่ฉันต้องการแล้ว  แต่ทว่า  อัลเลาะฮ์ตาอาลาทรงรอบรู้สิ่งเร้นลับทั้งในบรรดาฝากฟ้าและแผ่นดิน  รอบรู้เหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น   พระองค์ทรงรู้ว่าสิ่งที่ฉันขอและคิดว่ามันเป็นสิ่งดีนั้น  ความจริงแล้วมันไม่ดีจริงตามนั้น  ยิ่งกว่านั้น  มันกลับเป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม  ดังนั้น อัลเลาะฮ์ตาอาลาก็ทรงผันเปลี่ยนสิ่งที่เราได้เคยขอให้ได้รับความดีงามที่พระองค์ทรงประสงค์จะให้  เพราะเป็นความเมตตาเอ็นดูต่อฉัน  โดยพระองค์ได้ทรงประทานความดีงามที่ฉันได้เคยคาดคิดมากก่อน  และนี้ก็คือความหมายจากคำตรัสของพระองค์ ความว่า

وَعَسَى أَن تَكْرَهُواْ شَيْئاً وَهُوَ خَيْرٌ لَّكُمْ وَعَسَى أَن تُحِبُّواْ شَيْئاً وَهُوَ شَرٌّ لَّكُمْ وَاللّهُ يَعْلَمُ وَأَنتُمْ لاَ تَعْلَمُونَ

" แต่พวกทีพวกเจ้ารังเกียจสิ่งหนึ่ง โดยที่สิ่งนั้นอาจเป็นความดีสำหรับพวกเจ้าก็ได้ และบางทีพวกเจ้าชอบในสิ่งหนึ่ง โดยสิ่งนั้น อาจจะเป็นความเลวร้ายสำหรับพวกเจ้าก็ได้ และอัลเลาะฮฺทรงรู้ โดยที่พวกเจ้าไม่รู้ " อัลบะกอเราะฮฺ 216

ดังนี้แหละ ที่ท่านอิมามอิบนุอะฏออิลและฮ์ ได้กล่าวไว้ในฮิกัมที่ว่า "ดังนั้นพระองค์ได้ประกันการตอบรับให้แก่ท่านแล้วในสิ่งที่พระองค์ทรงเลือกเฟ้นให้แก่ท่าน"

ความผิดพลาดอีกประการหนึ่ง  ที่เกิดขึ้นกับผู้คนบางส่วน   คือคนหนึ่งจากพวกเขาได้ทำการขอดุอาอ์ โดยมีเงื่อนไขครบ  คือทำการเตาบะฮ์ต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา  ส่งกลับคืนสิทธิต่าง ๆ ให้กับเจ้าของ  ทำการขอดุอาอ์ให้ความรู้สึกที่ตั้งใจและนอบน้อมต่อพระองค์  หลังจากนั้น  เขาจึงเฝ้าต่ออัลเลาะฮ์วันแล้ววันเล่าคืนแล้วคืนเล่า  บางครั้งเขารอการตอบรับดุอาอ์ภายในไม่กี่ชั่วโมง  เพื่อให้พระองค์ทรงตอบสนองรับดุอาอ์  แต่แล้วเวลาได้ผ่านไปอย่างยาวนานโดยเขาไม่ได้รับตอบสนองในสิ่งที่เขาต้องการ  ดังนั้น  เขาจึงมีความอึดอัดใจ  และกล่าวในใจว่า  นี่ฉันได้ขอดุอาอ์แล้วน่ะ  แต่ทำไมจึงไม่ถูกตอบสนองรับให้แก่ฉัน!

ดังกล่าวคือความมัวหมองของหัวใจที่มาครอบงำจิตใจของมนุษย์  ซึ่งเป็นผลมาจากความอยากได้ตามสิ่งที่ฝันและหวังไว้

ดังนัน  อะไรคือข้อผิดพลาดเกี่ยวกับกรณีนี้?

ข้อผิดพลาดก็คือ  พวกเขาเหล่านั้นคิดว่าดุอาอ์ที่อัลเลาะฮ์ทรงบัญชาใช้ให้ขอนั้น  เป็นสื่อที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมาย  หมายถึง  การพึ่งพาดุอาอ์นั้น - ตามที่พวกเขาคิดเข้าใจกันคือ -  เพราะมีสาเหตุหนึ่งที่เขาต้องการให้เกิดขึ้นตามที่เขาประสงค์หรือเพราะมีเหตุร้ายเกิดขึ้น  ดังนั้น  เขาความต้องการได้ถูกตอบสนองหรือเหตุร้ายได้พ้นผ่านไปแล้ว  จึงไม่มีความต้องการใด ๆ ที่จะต้องขอดุอาอ์....ดังนั้น  พวกเขาจึงต้องคอยโศรกเศร้าหลังจากที่ขอดุอาอ์แล้ว  เพราะดุอาอ์ไม่ได้รับการตอบสนอง  และแล้วพวกเขาก็มั่นใจว่าการขอดุอาอ์นั้นคงไม่มีประโยชน์เสียแล้ว  ความเบื่อหน่ายที่จะขอจึงเกิดขึ้น  เนื่องจากพวกเขาคิดว่า ดุอาอ์คือสื่อที่จะนำไปสู่เป้าหมาย  โดยที่พวกเขาไม่รู้เลยว่า  ความจริงแล้วดุอาอ์คือเป้าหมายไม่ใช่สื่อ

ความจริงในตัวของดุอาอ์เองนั้น  เป็นอิบาดะฮ์  ซึ่งมันคือเป้าหมายไม่ใช่สื่อ(ที่จะนำไปสู่เป้าหมาย)  การขอดุอาอ์เป็นการเผยให้เห็นถึงความบ่าวที่มีต่ออัลเลาะฮ์ผู้ทรงปกครอง   และบ่าวล้วนความมีความต้องการไปยังผู้เป็นนายอยู่ในทุกเวลาเพื่อให้ตอบสนองสิ่งต่าง ๆ ที่บ่าวต้องการ  และหน้าที่อันสำคัญยิ่งของบ่าวก็คือ การประกาศถึงความเป็นทาสบ่าวที่มีต่อนาย  พยายามเผยให้เห็นถึงความต้องการต่อพระองค์อย่างเสมอ

บางครั้งท่านอาจจะคิดไปว่า  อัลเลาะฮ์ทรงตรัสให้ดุอาอ์นั้นอยู่พร้อมกับการตอบรับ  ในอายะฮ์ที่ว่า

وَقَالَ رَبُّكُمُ ادْعُونِي أَسْتَجِبْ لَكُمْ

 "และองค์อภิบาลของพวกเจ้าได้ตรัสว่า พวกเจ้าจงขอต่อข้าเถิด ข้าจะตอบสนองพวกเจ้าอย่างแน่นอน" อัลฆอฟิร(อัลมุอฺมิน) : 60

ซึ่งท่านอาจจะจินตนาการไปว่า  การขอดุอาอ์นั้นมาจากท่าน  ส่วนการตอบรับต้องมาจากพระองค์  ดังนั้นเมื่อดุอาอ์ไม่ได้รับการตอบรับ  แสดงว่าดุอาอ์นั้นคงไม่ดี!  ซึ่งความจริงแล้ว  ความหมายของอายะฮ์ไม่ใช่เป็นอย่างนั้น  เพราะอายะฮ์ดังกล่าวได้บ่งถึงความเป็นบ่าวของมนุษย์ที่มีต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา คือคำตรัสของพระองค์ที่ว่า "พวกเจ้าจงขอต่อข้าเถิด" คือเป็นคำสั่งใช้เฉย ๆ ที่ไม่มีข้อแม้ใด ๆ พระองค์สั่งให้ขอเราก็น้อบรับมาปฏิบัติโดยมิได้เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขหรือสภาพการณ์ใดสภาพการณ์หนึ่งเลย  และหลังจากนั้นพระองค์ทรงให้การสัญญาว่า "ข้าจะตอบสนองพวกเจ้าอย่างแน่นอน" ซึ่งหมายถึงการตอบสนองอันเพราะความเมตตาและความโปรดปรานจากพระองค์ที่มีต่อปวงบ่าวเท่านั้น  มิใช่หมายถึง  พระองค์ได้สั่งใช้ให้ขอดุอาอ์โดยวางข้อแม้กำกับต่อพระองค์เองว่าต้องทำการตอบรับตามที่ได้สัญญาไว้  เพราะการสัญญานั้นไม่ใช่ประหนึ่งสินค้าที่บ่าวจะได้รับเพราะเขาได้ทุ่มเทราคาที่เป็นดุอาอ์

ดังนั้น  การขอดุอาอ์กับการตอบรับนั้นต้องแยกกัน  เพราะดุอาอ์เองนั้นก็ถือว่าเป็นอิบาดะฮ์ที่จำเป็นต้องสำหรับผู้ที่รู้ว่าตนเองเป็นบ่าวของอัลเลาะฮ์และเขาจะต้องดำรงสิทธิความเป็นบ่าวต่อพระองค์โดยมิต้องพิจารณาถึงผลที่จะได้รับ  นี้ก็คือความหมายของวจนะของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า "ดุอาอ์นั้น คือ อิบาดะฮ์" (รายงานโดยอิมามอะห์มัดและคนอื่น ๆ )  ส่วนการตอบรับนั้นเป็นความโปรดปรานและความเป็นเกียรติที่มาจากอัลเลาะฮ์ตาอาลา

เพราะฉะนั้น  เมื่อบ่าวคนหนึ่งได้ทำการขอดุอาอ์  เขาต้องไม่คิดว่า อัลเลาะฮ์ต้องตอบรับตามสัญญา  แต่เราขอเพราะว่าเป็นบ่าวที่ต่ำต้อยที่ต้องวอนขอต่อพระองค์ในทุกสภาพการณ์  และพระองค์ก็จะทรงทำการตอบรับดุอาอ์ในเวลาที่พระองค์ทรงประสงค์  ตอบรับด้วยความเมตตาและความโปรดปรานของพระองค์  ดังนั้น  เราก็ต้องรอคอยการตอบรับโดยอย่าเบื่อหน่ายหรือกังวลใจ  เพราะการขอดุอาอ์และการรอคอยการตอบรับนั้นล้วนเป็นอิบาดะฮ์ทั้งสิ้น  ยิ่งกว่านั้น  การขอดุอาอ์และการรอคอยย่อมเป็นหัวใจและวิญญานของอิบาดะฮ์  ด้วยเหตุดังกล่าวนี้  ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวว่า 

إِنْتِظَارُ الْفَرَجِ عِبَادَةٌ

"การรอคอยความสัมฤทธิ์ผลนั้นคืออิบาดะฮ์"

ดังนี้ก็คือความหมายส่วนที่สองของฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ที่ว่า "และ(พระองค์ได้ประกันการตอบรับดุอาอ์)ในเวลาที่พระองค์ทรงประสงค์(จะให้)ไม่ใช่ในเวลาที่ท่านประสงค์(จะได้)"

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: อธิบายฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: ก.ย. 06, 2007, 12:23 AM »
0
ดู ๆ แล้ว ฮิกัมที่หกนี้  จะไม่ย่อสักเท่าไหร่นะครับ  นำเสนอซ่ะยืดยาวเลย  :D
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: อธิบายฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: ก.ย. 06, 2007, 01:43 AM »
0
ฮิกัมที่เจ็ด

ท่านอิมาม อิบนุอะฏออิลแหละฮ์  กล่าวว่า

لاَ يُشَكِّكَنَّكَ فِى الْوَعْدِ عَدَمُ وُقُوْعِ الْمَوْعُوْدِ وَإِنْ تَعَيَّنَ زَمَنُهُ ، لِئَلَّا يَكُوْنَ ذَلِكَ قَدْحاً فِىْ بَصِيْرَتِكَ وَإِخْمَاداً لِنُّوْرِ سَرِيْرَتِكَ

"อย่าทำให้ท่านสงสัยในสัญญาโดยการไม่เกิดสิ่งที่ถูกสัญญานั้น  ถึงแม้นว่าได้เจาะจงเวลาของสัญญาไว้แล้วก็ตาม  เพื่อไม่ให้สิ่งดังกล่าว(ความสงสัย)นั้น  ทำให้มีการตำหนิเกิดขึ้นในตาใจของท่านและเพื่อไม่ให้รัศมีในหัวใจของท่านมอดลงไป"

(แปะไว้ก่อนเดี๋ยวมานำเสนออธิบาย..อินชาอัลเลาะฮ์) ;D
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^
Re: ฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: ก.ย. 06, 2007, 09:02 AM »
0


1. การวางแผนที่ถูกสรรเสริญ  คือการวางแผนชีวิต  กล่าวคือวางแผนกระทำสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงมอบภาระตกหนักแก่เรา  เช่นวางแผนที่จะทำละหมาดและทำอิบาดะฮ์ฟัรดูและสุนัตต่าง ๆ  วางแผนการทำมาหากินเลี้ยงดูครอบครัว  เป็นต้น  เพราะท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "การวางแผนคือครึ่งหนึ่งของการดำเนินชีวิต"  ดังนั้น  ท่านอิบนุอะฏออิลและห์จึงกล่าวว่า "ท่านจงพักผ่อนจิตใจของท่าน"  ไม่ได้กล่าวว่า "ท่านจงพักผ่อนร่างกายของท่าน"  เพราะการทำงานทุ่มเทแรงกายนั้นนักปราชญ์ตะเซาวุฟให้การส่งเสริมเป็นอย่างยิ่ง

แสดงว่าคนเรานั้นจะมีความสุขมันอยู่ที่จิตใจ  มีหัวใจที่ได้พักใจต่ออัลเลาะฮ์

คนที่ทำงานหนักและไม่พักใจกลุ่มกลัวขาดทุน  ย่อมเป็นทุกข์หนัก

คนรวยมีกินมีใช้แต่จิตใจยังยึดติดกับทรัพย์สินกลัวกิจการไม่รุ่ง  ย่อมเป็นทุกข์หนักพอสมควร

ทำงานหนักและพักใจด้วยการมอบหมายต่ออัลเลาะฮ์  ย่อมเป็นความสุขและได้ผลบุญเยอะ

เพราะว่า : -

ท่านอิบนุอะฏออิลและห์จึงกล่าวว่า "ท่านจงพักผ่อนจิตใจของท่าน"  ไม่ได้กล่าวว่า "ท่านจงพักผ่อนร่างกายของท่าน"  เพราะการทำงานทุ่มเทแรงกายนั้นนักปราชญ์ตะเซาวุฟให้การส่งเสริมเป็นอย่างยิ่ง  ;)


อัสลามมุอะลัยกุม

พยายามไล่อ่านอยู่ค่ะ - -' (ยากนักนิ่)
แต่เห็นภาพเลยอันนี้ .. มุสลิมเราได้ประโยชน์จากการละหมาดดุฮริ อัสริ มาก ๆๆๆ (เวลาอื่นก็ได้นะ)
เพราะทำงงานหนัก ๆ แล้วได้อาบน้ำละหมาดเย็น ๆ แล้วเอาหน้าผากไปซูหยุด รุ้สึกดีมากมาย ..

ถ้ามุสลิมเราไม่ได้ละหมาดวันละห้าเวลานี่ เราจะอยู่กันยังไงเนอะ ^^

อัลลอฮุอักบัร  อัลฮัมดุลิ้ลลา


อีกทริกนึง เผื่อพี่น้องเอาไปใช้กัน
หลังละหมาดหรือขอดุอาเสร็จ .. ลองนั่งนิ่ง ๆ แล้วทบทวนสิ่งที่ตัวเองทำผ่านมา
รวมถึงสิ่งที่ตัวเองกำลังจะทำ  (ขอดุอาให้ประสบความสำเร็จไปด้วย)

อินชาอัลลอฮฺ เวริค

(เขียนเตือนตัวเองด้วย เด๋วนี้ไม่ได้ทำนานแล้ว)

อาจมาต่อ (มั้ง)

มะอัสลาม ^^ (มันเกี่ยวกับฮิกัมไหมนี่)
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: ฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: ก.ย. 06, 2007, 09:24 AM »
0
อัสลามมุอะลัยกุม

พยายามไล่อ่านอยู่ค่ะ - -' (ยากนักนิ่)

وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته

ฮิกัมก็ต้องยากแหละ   ก็ต้องพยายามอ่านกันไป  โดยที่จิตใจต้องมีสมาธิให้มาก ๆ  เพราะฮิกัมเป็นตะเซาวุฟระดับปานกลาง   หากสนใจมาก ๆ อ่านประจำ ๆ ก็จะเข้าใจไปเอง  แต่ต้องหมั่นทำอิบาดะฮ์และซิกรุลลอฮ์ให้มาก ๆ ก็จะช่วยให้เข้าใจได้เยอะ  ขนาดเด็กสายศาสนาเองก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจแจ่มแจ้งเลยครับ  แล้วคนที่ไม่ได้เรียนศาสนาโดยตรงล่ะ  เห็นภาพเลย  ยังไงก็พยายามน่ะครับ  ;D
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 06, 2007, 09:26 AM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: อธิบายฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: ก.ย. 06, 2007, 09:30 AM »
0
อีกอย่างหนึ่งครับ  ผมขอแนะนำสำหรับพี่น้องที่สนใจศึกษาฮิกัม  สมควรอ่านฮิกัมวันละหนึ่งฮิกัมนะครับ   อ่านไปเรื่อย ๆ  ติดตามไปเรื่อย ๆ  ไม่ใช่รอให้นำเสนอหลาย ๆ ฮิกัม แล้วค่อยอ่านทีเดียวเลย  อย่างนี้งง จับต้นชนปลายไม่ค่อยถูกแน่ ๆ  :D
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: อธิบายฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: ก.ย. 07, 2007, 01:03 AM »
0
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته

ผมเคยได้รับข้อความจากท่าน papah ว่า ท่านจะทำการปริ้นเกี่ยวกับวิชาตะเซาวุฟไปอ่าน   คือท่านจะอ่านหลาย ๆ เที่ยว  ผมมั่นใจว่าดังกล่าวเป็นแบบอย่างที่ดี  การอ่านตะเซาวุฟหลาย ๆ เที่ยวนั้น  จะทำให้ความเข้าใจบังเกิด   อ่านอย่างตั้งใจแต่ละจบนั้น  ความเข้าใจไม่คงเดิม  อีกทั้งยังจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  ไม่ลองไม่รู้ครับ

والسلام
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
Re: อธิบายฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: ก.ย. 07, 2007, 07:45 PM »
0
เพราะฉะนั้น  เมื่อบ่าวคนหนึ่งได้ทำการขอดุอาอ์  เขาต้องไม่คิดว่า อัลเลาะฮ์ต้องตอบรับตามสัญญา  แต่เราขอเพราะว่าเป็นบ่าวที่ต่ำต้อยที่ต้องวอนขอต่อพระองค์ในทุกสภาพการณ์  และพระองค์ก็จะทรงทำการตอบรับดุอาอ์ในเวลาที่พระองค์ทรงประสงค์  ตอบรับด้วยความเมตตาและความโปรดปรานของพระองค์  ดังนั้น  เราก็ต้องรอคอยการตอบรับโดยอย่าเบื่อหน่ายหรือกังวลใจ  เพราะการขอดุอาอ์และการรอคอยการตอบรับนั้นล้วนเป็นอิบาดะฮ์ทั้งสิ้น  ยิ่งกว่านั้น  การขอดุอาอ์และการรอคอยย่อมเป็นหัวใจและวิญญานของอิบาดะฮ์  ด้วยเหตุดังกล่าวนี้  ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวว่า 

إِنْتِظَارُ الْفَرَجِ عِبَادَةٌ

"การรอคอยความสัมฤทธิ์ผลนั้นคืออิบาดะฮ์"

ดังนี้ก็คือความหมายส่วนที่สองของฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ที่ว่า "และ(พระองค์ได้ประกันการตอบรับดุอาอ์)ในเวลาที่พระองค์ทรงประสงค์(จะให้)ไม่ใช่ในเวลาที่ท่านประสงค์(จะได้)"

วัลลอฮุอะลัม

     การขอดุอาอ์เป็นเรื่องอิบาดะฮ์  การรอคอยการตอบรับจากอัลเลาะฮ์ก็เป็นเรื่องอิบาดะฮ์  เมื่อเวลาอัลเลาะฮ์ก็จะทรงประทานให้เอง เรามีศิษย์แค่ขอดุอาอ์และรอคอย ความเมตตาและความโปรดปรานของพระองค์  นั่งคือสัจธรรมขอรับพี่น้อง

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
Re: อธิบายฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: ต.ค. 12, 2007, 01:53 PM »
0
รอมะดอนไม่มีเวลาสำหรับการนำเสนอ  ดังนั้นหลังรอมะดอนก็นำเสนอกันต่อไปน่ะขอรับ ฮิกัม ศาสตร์แห่งตะเซาวุฟ  myGreat:

ออฟไลน์ almadany

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 346
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อธิบายฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: ต.ค. 13, 2007, 12:37 PM »
0
ฮิกัมที่เจ็ด

ท่านอิมาม อิบนุอะฏออิลแหละฮ์  กล่าวว่า

لاَ يُشَكِّكَنَّكَ فِى الْوَعْدِ عَدَمُ وُقُوْعِ الْمَوْعُوْدِ وَإِنْ تَعَيَّنَ زَمَنُهُ ، لِئَلَّا يَكُوْنَ ذَلِكَ قَدْحاً فِىْ بَصِيْرَتِكَ وَإِخْمَاداً لِنُّوْرِ سَرِيْرَتِكَ

"อย่าทำให้ท่านสงสัยในสัญญาโดยการไม่เกิดสิ่งที่ถูกสัญญานั้น  ถึงแม้นว่าได้เจาะจงเวลาของสัญญาไว้แล้วก็ตาม  เพื่อไม่ให้สิ่งดังกล่าว(ความสงสัย)นั้น  ทำให้มีการตำหนิเกิดขึ้นในตาใจของท่านและเพื่อไม่ให้รัศมีในหัวใจของท่านมอดลงไป"

(แปะไว้ก่อนเดี๋ยวมานำเสนออธิบาย..อินชาอัลเลาะฮ์)

พ้นรอมะดอนแล้ว....อธิบายฮิกัมองค์ความรู้แห่งตะเซาวุฟต่อคัรบ....

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
Re: อธิบายฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: พ.ย. 20, 2007, 01:08 PM »
0
ฮิกัมไม่สมควรปล่อยให้ว่างเว้นน่ะครับ wink:

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: อธิบายฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: พ.ย. 30, 2007, 09:05 PM »
0
ฮิกัมที่เจ็ด

ท่านอิมาม อิบนุอะฏออิลแหละฮ์ กล่าวว่า

لاَ يُشَكِّكَنَّكَ فِى الْوَعْدِ عَدَمُ وُقُوْعِ الْمَوْعُوْدِ وَإِنْ تَعَيَّنَ زَمَنُهُ ، لِئَلَّا يَكُوْنَ ذَلِكَ قَدْحاً فِىْ بَصِيْرَتِكَ وَإِخْمَاداً لِنُّوْرِ سَرِيْرَتِكَ

"อย่าทำให้ท่านสงสัยในสัญญาโดยการไม่เกิดสิ่งที่ถูกสัญญานั้น ถึงแม้นว่าได้เจาะจงเวลาของสัญญาไว้แล้วก็ตาม เพื่อไม่ให้สิ่งดังกล่าว(ความสงสัย)นั้น ทำให้มีการตำหนิเกิดขึ้นในตาใจของท่านและเพื่อไม่ให้รัศมีในหัวใจของท่านมอดลงไป"

หมายถึงสัญญาที่อัลเลาะฮ์ทรงสัญญาจะให้นั้น ไม่ว่าจะเป็นการขอดุอาอ์หรือผลที่จะได้รับการปฏิบัติศาสนกิจต่าง ๆ ที่อัลเลาะฮ์ทรงสัญญาจะประทานให้ หากแม้นว่าสิ่งที่เราขอจะไม่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เราต้องการ ท่านก็อย่าสงสัยในสัญญาดังกล่าว ดังนั้น ท่านจงมีมารยาทต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา ทั้งคำพูดและจิตใจ และจงเชื่อมั่นว่า การล่าช้าในการประทานสิ่งที่พระองค์ทรงสัญญาไว้นั้นมิใช่เป็นสิ่งที่น่าตำหนิ เพราะบางครั้งสัญญาอาจจะมีเงื่อนไขหรือมีข้อแม้ที่พระองค์จะทรงทำตามสัญญา เนื่องจากบางช่วงเวลาไม่เหมาะสมที่เราจะได้รับซึ่งพระองค์ทรงรู้ดี เพราะฉะนั้น ท่านจงผลักความครางแครงที่อยู่ในหัวใจของท่านออกไป เพื่อมิให้การเห็นเพียงแต่ภายนอกหรือการคิดขึ้นมาเองตามสติปัญญาที่บกพร่องนี้ เป็นข้อตำหนิในจิตใจของท่านและทำให้รัศมีที่อยู่ในหัวใจมอดลงไป เพราะเมื่อความสงสัยได้เกิดขึ้น ความยะเกนในอัลเลาะฮ์ก็จะลดน้อยลง และเมื่อความยะเกนลดน้อยลง รัศมีแห่งความยะเกนในอัลเลาะฮ์ก็จะสูญหายไป

กิตาบุลลอฮ์ได้กล่าวยืนยันไว้มากมายเกี่ยวกับคำสัญญาต่าง ๆ ที่อัลเลาะฮ์ทรงให้คำมั่นไว้แก่บรรดามุสลิมีนต่อสิ่งที่พวกเขาได้วอนขอและดุอาอ์ แต่มีเงื่อนไขว่า หากบรรดามุสลิมีนปฏิบัติตามสัญญาด้วยกับสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงบัญญัติใช้
หนึ่งจากบรรดาคำสัญญาที่อัลเลาะฮ์ทรงให้คำมั่นแก่ปวงบ่าวของพระองค์ที่ได้ปฏิบัติตามสิ่งที่พระองค์ทรงกำชับและวางบทบัญญัติไว้แก่พวกเขานั้น คือ

อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า

إِنَّا لَنَنصُرُ رُسُلَنَا وَالَّذِينَ آمَنُوا فِي الْحَيَاةِ الدُّنْيَا وَيَوْمَ يَقُومُ الْأَشْهَادُ

"แท้จริงเราจะช่วยเหลือบรรดาร่อซู้ลของเรา และบรรดาผู้ศรัทธาอย่างแน่นอน ทั้งในชีวิตของโลกนี้ และวันที่ซึ่งปวงพยานจะยืนขึ้นเป็นพยาน" ฆอฟิร 51

فَأَوْحَى إِلَيْهِمْ رَبُّهُمْ لَنُهْلِكَنَّ الظَّالِمِينَ وَلَنُسْكِنَنَّـكُمُ الأَرْضَ مِن بَعْدِهِمْ ذَلِكَ لِمَنْ خَافَ مَقَامِي وَخَافَ وَعِيدِ

"ดังนั้นพระเจ้าของพวกเขาทรงวะฮีย์ให้แก่พวกเขา (บรรดาร่อซู้ล) ว่า แน่นอน เราจะทำลายพวกอธรรม และแน่นอน เราจะให้พวกท่านพำนักในแผ่นดิน หลังจากพวกเขา นั่นสำหรับผู้ที่กลัวต่อการเผชิญหน้าข้า และกลัวต่อสัญญาการลงโทษของข้า" อิบรอฮีม 13-14

وَنُرِيدُ أَن نَّمُنَّ عَلَى الَّذِينَ اسْتُضْعِفُوا فِي الْأَرْضِ وَنَجْعَلَهُمْ أَئِمَّةً وَنَجْعَلَهُمُ الْوَارِثِينَ

"และเราปรารถนาที่จะให้ความโปรดปรานแก่บรรดาผู้ที่อ่อนแอในแผ่นดินและเราจะทำให้พวกเขาเป็นหัวหน้าและทำให้พวกเขาเป็นผู้รับมรดา" อัลก่อซ๊อซ 5

مَنْ عَمِلَ صَالِحاً مِّن ذَكَرٍ أَوْ أُنثَى وَهُوَ مُؤْمِنٌ فَلَنُحْيِيَنَّهُ حَيَاةً طَيِّبَةً وَلَنَجْزِيَنَّهُمْ أَجْرَهُم بِأَحْسَنِ مَا كَانُواْ يَعْمَلُونَ

"ผู้ใดปฏิบัติความดีไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิงก็ตาม โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธา ดังนั้นเราจะให้เขาดำรงชีวิตที่ดีและแน่นอนเราจะตอบแทนพวกเขาซึ่งรางวัลของพวกเขา ที่ดียิ่งกว่าที่พวกเขาได้เคยกระทำไว้" อัลนะห์ลิ 97

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِن تَنصُرُوا اللَّهَ يَنصُرْكُمْ وَيُثَبِّتْ أَقْدَامَكُمْ

"โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย หากพวกเจ้าสนับสนุน (ศาสนาของ) อัลลอฮ์พระองค์ก็จะทรงสนับสนุนพวกเจ้าและจะทรงตรึงเท้าของพวกเจ้าให้มั่นคง" มุฮัมมัด 7

ดังนั้น ผู้คนมากมายที่อ่านผ่านบรรดาอายะฮ์ต่าง ๆ เหล่านี้ และพวกเขาก็ทราบดีว่าคำสัญญาต่าง ๆ ที่อัลเลาะฮ์ทรงให้คำมั่นไว้นั้น มีให้แก่บรรดามุสลิมีนที่ปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของพระองค์ และเมื่อพวกเขาได้พิจารณ์ใคร่ครวญ ก็จะพบว่า คำสัญญาต่าง ๆ ของอัลเลาะฮ์นั้น ส่วนมากไม่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ บรรดามุสลิมมีนส่วนใหญ่มิได้มีชีวิตที่ดีตามที่อัลเลาะฮ์ทรงสัญญาไว้ และพวกเขาก็ไม่ได้รับการช่วยเหลือตามที่พระองค์ทรงสัญญาไว้กับพวกเขาเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกัน พวกที่อธรรมกลับลอยนวลอยู่อย่างสุขสบาย และคอยริดรอนสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น โดยที่อัลเลาะฮ์ก็มิได้ทรงทำลายพวกเขาตามที่พระองค์ทรงสัญญาไว้

อะไรคือพื้นฐานที่ทำให้เกิดสาเหตุดังกล่าว?

พื้นฐานที่ทำให้เกิดสาเหตุดังกล่าวคือ ทุกครั้งที่มนุษย์ห่างไกลจากอัลเลาะฮ์ จมปลักอยู่กับเรื่องราวของดุนยา สิทธิต่าง ๆ ของอัลเลาะฮ์ที่พึงมีต่อเขานั้นจะลดน้อยลงจากจิตใจของเขา และความอยากปรารถนาและความหวังลม ๆ แล้ง ๆ ของเขานั้น บางครั้งเขาก็เห็นว่ามันเป็นสิทธิของอัลเลาะฮ์ที่พึงประทานให้แก่เขา

ซึ่งเสมือนกับมนุษย์คนหนึ่ง เมื่อเขาเห็นว่าตนเองทำละหมาดฟัรดู 5 เวลา มุ่งเดินทางเพื่อทำฮัจญ์ที่บัยตุลลอฮ์พร้อมกับผู้คนทั้งหลาย และทำการถือศีลอดในเดือนรอมะดอน เขาก็มั่นใจว่าตนเองได้ปฏิบัติหน้าที่ทุก ๆ อย่างเพื่ออัลเลาะฮ์แล้ว และเขาคิดว่าสมควรที่จะได้รับการตอบแทนที่อัลเลาะฮ์ทรงสัญญาไว้ในอัลกุรอาน

และทุกครั้งที่มนุษย์คนหนึ่งมีความมะริฟะฮ์ต่ออัลเลาะฮ์และบรรดาซีฟาตของพระองค์มากขึ้น และยังห่างไกลจากการจมปลักอยู่กับเรื่องราวของดุนยา สิทธิต่าง ๆ ของอัลเลาะฮ์ก็จะมีความยิ่งใหญ่และสำคัญต่อจิตใจของเขา  ท่านลองจินตนาการถึงชายหนุ่มคนหนึ่ง ที่ทำการมุ่งมั่นหวนกลับไปหาอัลเลาะฮ์ ซึ่งเขาจะพบว่าตนเองได้รับการชี้นำด้วยการทำละหมาด 5 เวลา มีความสามารถละเลิกจากสิ่งที่น่ารังเกียจและบาปใหญ่ที่เคยกระทำอยู่ โดยเขาคิดว่าตนเองได้ถึงขั้นระดับผู้สัจจริงแล้ว

ดังนั้น เมื่อเขาเอิบอิ่มด้วยสัจธรรมต่าง ๆ ของอิสลาม การมะริฟะฮ์ต่ออัลเลาะฮ์และบรรดาซีฟาตของพระองค์ได้เพิ่มทวีคูณ เขาก็จะรู้สึกว่ามีความบกพร่อง  โดยเขาจะเห็นช่องทางต่าง ๆ ที่ทำให้เขาหลงลืมอัลเลาะฮ์และขาดความตั้งใจในละหมาด และเห็นว่าเขากระทำเพียงแค่ฟัรดูโดยละเลยส่วนเสริมให้สมบูรณ์จากสิ่งที่เป็นสุนัต ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้ ทำให้ตนเองเพิ่มพูนการฏออัตและมีความปราณีตในการปฏิบัติศาสนกิจยิ่งขึ้น  ดังนั้นเมื่อเขาได้ลิ้มรสสัจธรรมต่าง ๆ ของอิสลาม ความรักต่ออัลเลาะฮ์ได้เพิ่มทวีคูณ เขาก็จะหวนกลับไปพิจารณาการตออัตภักดีต่าง ๆ ซึ่งในสายตาของเขามันกลับกลายเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยที่ไม่สามารถเทียบเท่าสิทธิอันยิ่งใหญ่ของอัลเลาะฮ์ได้เลยและไม่สามารถเทียบเท่าเนี๊ยะอฺมัตอันมากที่พระองค์ทรงประทานให้ ฉะนั้น เขาจึงเพิ่มทวีคูณการตออัตต่ออัลเลาะฮ์ยิ่งขึ้นไปอีกจนกระทั่งการตออัตของเขามีความบริสุทธิ์จากความมัวหมองทั้งหลาย

ท่านไม่พิจารณาตัวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมดอกหรือ? ท่านเป็นมนุษย์ที่มะริฟะฮ์ต่ออัลเลาะฮ์มากที่สุด มีความรัก เกรงขาม และเกรงกลัวต่ออัลเลาะฮ์มากที่สุด

ดังนั้นท่านจึงเป็นมนุษย์ที่มีความรู้สึกบกพร่องต่ออัลเลาะฮ์มากที่สุดและรู้สึกไร้ความสามารถที่จะทำการชุโกรต่ออัลเลาะฮ์ได้อย่างแท้จริงและอ่อนแอต่อสิทธิต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงใช้ ฉะนั้น ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงดื่มด่ำในการอิสติฆฟาร เสมือนกับคนฝ่าฝืนที่กำลังขอลุหโทษจากความผิด และนี้ก็คือความหมายของวจนะของท่านที่ว่า

إنه ليغان على قلبي ، فأستغفر الله فى اليوم والليلة مئة مرة

"แท้จริงหัวใจของฉันจะถูกทำให้ขุ่นมัว ดังนั้น ฉันจึงทำการอิสติฆฟารต่ออัลเลาะฮ์ในหนึ่งวันและหนึ่งคืน ถึง 100 ครั้ง"

ดังนั้น อัลเลาะฮ์ตาอาลาจะไม่บิดพลิ้วสัญญาที่พระองค์ทรงให้คำมั่นไว้แก่บรรดาผู้ที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ด้วยความสัจจริงและบริสุทธิ์ใจ แต่ทว่าบรรดามุสลิมีนที่รู้จักและสามารถปฏิบัติตามงามไขได้นั้น ก็คือบุคคลที่มะริฟะฮ์ต่ออัลเลาะฮ์อย่างแท้จริงและจิตใจของพวกเขาเต็มไปด้วยความรักและให้เกียรติต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา มิใช่บุคคลที่อ้างตนเองว่าเป็นอิสลามหรืออ้างว่าตามอัลกุรอานและซุนนะฮ์เท่านั้น เพราะตราบใดที่หัวใจของพวกเขาไม่รู้ถึงสิทธิของตนเองที่มีต่ออัลเลาะฮ์ ไม่รู้สึกถึงความอ่อนแอหรือความบกพร่องยอมยอมจำนนท์ต่อพระองค์ พวกเขาก็จะไม่สามารถรับรู้ได้ถึงความหมายคำตรัสของอัลเลาะฮ์ตาอาลาที่ว่า "นั่นสำหรับผู้ที่กลัวต่อการเผชิญหน้าข้า และกลัวต่อสัญญาการลงโทษของข้า" ซึ่งมาจากโองการที่ว่า

فَأَوْحَى إِلَيْهِمْ رَبُّهُمْ لَنُهْلِكَنَّ الظَّالِمِينَ وَلَنُسْكِنَنَّـكُمُ الأَرْضَ مِن بَعْدِهِمْ ذَلِكَ لِمَنْ خَافَ مَقَامِي وَخَافَ وَعِيدِ

"ดังนั้นพระเจ้าของพวกเขาทรงวะฮีย์ให้แก่พวกเขา (บรรดาร่อซู้ล) ว่า แน่นอน เราจะทำลายพวกอธรรม และแน่นอน เราจะให้พวกท่านพำนักในแผ่นดิน หลังจากพวกเขา นั่นสำหรับผู้ที่กลัวต่อการเผชิญหน้าข้า และกลัวต่อสัญญาการลงโทษของข้า" อิบรอฮีม 13-14

และพวกเขาจะไม่เข้าใจความหมายของอายะฮ์ต่อไปนี้เช่นกันว่า

وَأَوْفُواْ بِعَهْدِي أُوفِ بِعَهْدِكُمْ وَإِيَّايَ فَارْهَبُونِ

"และพวกเจ้าจงปฏิบัติ ตามสัญญาของฉันให้ครบ ส่วนฉัน จะปฏิบัติตามสัญญาของฉันที่ทำกับพวกสูเจ้าให้ครบด้วย และเฉพาะฉันเท่านั้น ที่พวกสูเจ้าต้องเกรงกลัว" อัลบะกอเราะฮ์ 40

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: อธิบายฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ฉบับย่อ
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: ธ.ค. 03, 2007, 11:43 AM »
0
ดังนั้น ผู้คนมากมายที่อ่านผ่านบรรดาอายะฮ์ต่าง ๆ เหล่านี้ และพวกเขาก็ทราบดีว่าคำสัญญาต่าง ๆ ที่อัลเลาะฮ์ทรงให้คำมั่นไว้นั้น มีให้แก่บรรดามุสลิมีนที่ปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของพระองค์ และเมื่อพวกเขาได้พิจารณ์ใคร่ครวญ ก็จะพบว่า คำสัญญาต่าง ๆ ของอัลเลาะฮ์นั้น ส่วนมากไม่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ บรรดามุสลิมมีนส่วนใหญ่มิได้มีชีวิตที่ดีตามที่อัลเลาะฮ์ทรงสัญญาไว้ และพวกเขาก็ไม่ได้รับการช่วยเหลือตามที่พระองค์ทรงสัญญาไว้กับพวกเขาเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกัน พวกที่อธรรมกลับลอยนวลอยู่อย่างสุขสบาย และคอยริดรอนสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น โดยที่อัลเลาะฮ์ก็มิได้ทรงทำลายพวกเขาตามที่พระองค์ทรงสัญญาไว้

เมื่อมีคนหนึ่งได้สงสัยในสัญญาต่าง ๆ ของอัลเลาะฮ์  และเห็นว่าเขาน่าจะได้รับการประทานเกียรติจากอัลเลาะฮ์ตะอาลา  หรือเขาเห็นว่าสังคมของเราในวันนี้สมควรที่จะได้รับการพัฒนา  ได้รับการช่วยเหลือ  มีความเป็นอยู่ที่ดีตามอัลเลาะฮ์ได้ทรงสัญญาไว้  ดังนั้นความสังสัยของเขาอันนี้  เป็นข้อบ่งชี้ถึงจิตใจที่มัวหมองและรัศมีของหัวใจได้มอดดับลงไป  ตามที่ท่านอิมามอิบนุอะฏออิลและฮ์กล่าวไว้ 

พวกละเมิดและอธรรมที่ตัดสายใยความผูกพันระหว่างพระผู้สร้างของพวกเขานั้น  พระองค์จะเปิดประตูแห่งความสุขสำราญต่อหน้าพวกเขา  ให้ดุนยาทั้งหมดสนองตามสิ่งที่อารมณ์พวกเขาต้องการ  เพื่อให้พวกเขาเพิ่มความละเมิดและเมามาย  ดังนั้นการลงโทษที่อัลเลาะฮ์ทรงตระเตรียมให้กับพวกเขานั้นย่อมรุนแรงยิ่งนัก  แล้วพระองค์ก็จักลงโทษพวกเขาอย่างเฉียบขาดเลยทีเดียว

ท่านจงใคร่ครวญบรรดาตัวบทอัลกุรอานที่ได้ตอกย้ำหลักการดังกล่าว  ดังนี้

อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า

رُّبَمَا يَوَدُّ الَّذِينَ كَفَرُواْ لَوْ كَانُواْ مُسْلِمِينَ ذَرْهُمْ يَأْكُلُواْ وَيَتَمَتَّعُواْ وَيُلْهِهِمُ الأَمَلُ فَسَوْفَ يَعْلَمُونَ

"บางที่พวกไร้ศรัทธารู้สึกยินดีหากพวกเขาได้เป็นผู้ยอมสวามิภักดิ์  เจ้าจงปล่อยพวกเขาบริโภคและเสพสุขเถิด  และให้พวกเขาเพลิดเพลินไปกลับความเพล้อฝัน (ลม ๆ แล้ง ๆ)ของพวกเขา  แล้วแต่ไปพวกเขาก็จะรู้" อัลฮิจร์ 2-3

سَنَسْتَدْرِجُهُم مِّنْ حَيْثُ لاَ يَعْلَمُونَ وَأُمْلِي لَهُمْ إِنَّ كَيْدِي مَتِينٌ

"เราจะชักนำพวกเขาทีละขั้นตอน (สู่การลงโทษ) โดยพวกเขาไม่รู้  และข้าจะประวิง(การลงโทษ)พวกเขา (ต่อไปอีกก็ได้) แท้จริงแผนการณ์ของข้าย่อมมั่นคงยิ่งนัก" อัลอะร๊อฟ 182-183

وَلاَ تَحْسَبَنَّ اللّهَ غَافِلاً عَمَّا يَعْمَلُ الظَّالِمُونَ إِنَّمَا يُؤَخِّرُهُمْ لِيَوْمٍ تَشْخَصُ فِيهِ الأَبْصَارُ

"และเจ้า (มุฮัมมัด) อย่าคิดว่า อัลเลาะฮ์เป็นผู้ละเลยต่อสิ่งที่เหล่าทุจริตชนประพฤติไว้  ความเป็นจริงพระองค์ทรงประวิงพวกเขาไว้  รอจนว่าจะถึงวันหนึ่ง  ซึ่งดวงตาของพวกเขาจะเบิกกว้าง (ด้วยความตกใจสุดขีด) ใน (วัน) นั้น" อิบรอฮีม 42

นี้คือวิถีทางของอัลเลาะฮ์ที่มีต่อบรรดาตัวบทอัลกุรอานเหล่านี้  ซึ่งมันได้อธิบายในสิ่งที่ท่านได้เห็น  บรรดาพวกโง่เขลาส่วนมากมีความแปลกใจที่ประชาชาติที่อธรรมและลุ่มหลงกลับอยู่ในความสุขสำราญอย่างไร้ขอบเขต  แต่ก็เสมือนกับสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่ามันเป็นความสุขอันน้อยนิดที่ไม่จีรัง  มันเป็นสิ่งเพลิดเพลิน  ที่ทำให้ผุ้ที่มองได้เกิดความสุข  มีความปลอดภัยและรู้สึกปิติยินดี   แต่ทว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นนั้น  ภายในได้แบกรับความทุกข์ระทมและความเจ็บปวดเอาไว้  ดังนั้นเมื่อกาลเวลาที่ซ่อนเร้นซึ่งไม่มีผู้ใดรู้นอกจากอัลเลาะฮ์  ได้ระเบิดเมล็ดพันธุ์แห่งความทุกข์ระทมและทำลายพวกเขาเหล่านั้นที่กำลังเสวยสุขอยู่  และข้อยืนยันอันนี้ก็คือคำตรัสของอัลเลาะฮ์ตาอาลา  ที่ว่า

 حَتَّى إِذَا فَرِحُواْ بِمَا أُوتُواْ أَخَذْنَاهُم بَغْتَةً فَإِذَا هُم مُّبْلِسُونَ

"จนกระทั่งเมื่อพวกเขายินดีต่อสิ่งที่พวกเขาถูกประทานให้  เราก็จะจัดการพวกเขาโดยฉับพลัน  เมื่อนั้นพวกเขาก็จะพินาศ" อิบรอฮีม 44

ดังนั้น  หากวันนี้มีคนหนึ่งกล่าวว่า  เราคือบรรดามุสลิมีนที่อัลเลาะฮ์ทรงปิดกั้นเราจากสัญญาต่าง ๆ ของพระองค์ที่ทรงให้คำมั่นแก่เรา  ส่วนพวกเขาคือพวกปฏิเสธ  ละเมิด  และอธรรม  ซึ่งอัลเลาะฮ์ทรงให้เกียรติแก่พวกเขาด้วยการประทานความช่วยเหลือและปัจจัยต่าง  ๆ  ฉะนั้นถ้อยคำกล่าวของเขานี้มิใช่อื่นใด  นอกจากเป็นความมัวหมองในจิตใจและเขาได้ทำการหันเหจากคำตรัสของอัลเลาะฮ์  ซึ่งหากเขาได้พิจารณาใคร่ครวญ  ก็จะทราบถึงหลักการและวิถีทางต่าง ๆ ซึ่งพระองค์ทรงปฏิบัติอยู่บนพื้นฐานของมันที่มีต่อบรรดาบ่าวที่ศรัทธาและปฏิเสธ  ผู้ที่ได้รับทางนำหรือหลงทาง

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged